fbpx

อนุช อาภาภิรม บางคำถามในปัจจุบันถึงอนาคตในศตวรรษที่ 21

ภาค 1 เท้าความถึงอดีต การมองอนาคต (Foresight) กลายเป็นอีกคำหนึ่งที่พูดถึง กันมากในสหรัฐอเมริกา ในโมงยามที่โลกเต็มไปด้วยปัญหา หลายคนเชื่อว่าการให้ความสำคัญกับอนาคตศึกษา (Futurology) น่าจะเป็นทางออกที่สวยงาม ทางหนึ่ง ที่ทำให้มนุษยชาติรอดพ้นจากวิกฤติ หน่วยงานอย่าง RAND Corporation หรือ NIC (National Intelligence Council) ของสหรัฐอเมริกาที่ทำการศึกษาวิจัยในศาสตร์ต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานของมูลสำหรับการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ การศึกษา สังคมศาสตร์ กลายเป็นหน่วยงานที่มีความหมายอย่างมากของสหรัฐอเมริกา โมเดลในการศึกษาเรื่องอนาคตในสหรัฐอเมริกาเริ่มมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1960 และกลายเป็นแบบอย่างให้อีกหลายประเทศในเอเชียนำไปใช้เพื่อการวางแผนพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และจีน     ไม่รู้ว่าเพราะอนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง และศาสนาพุทธสอนให้เราอยู่กับปัจจุบันหรืออย่างไร ทำให้ประเทศไทยหาหน่วยงานที่ศึกษาวิจัยเรื่องนี้ได้น้อยมาก แม้กระทั่งผู้ที่ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังก็ดูท่าจะมีท่านผู้นี้เพียงท่านเดียว บทความพิเศษ เรื่อง ‘อนาคตศึกษาในศตวรรษที่ 21’ ที่ตีพิมพ์เป็นตอนๆ อยู่ในมติชนสุดสัปดาห์ เขียนโดย อนุช อาภาภิรม นักคิดนักเขียนอีกท่านหนึ่งที่ศึกษาเรื่องอนาคตศึกษาอย่างจริงจัง จะว่าไปแล้วอนุชอาจเปรียบได้กับ เวนเดลล์ เบลล์ (Wendell Bell เกิดเมื่อปี […]Read More

วรุธ สุวกร กับปรัชญาการทำงาน คิดถึง ห่วงใย ดูแล

วันนี้ GM พามาพูดคุยเจาะลึกชีวิตและการทำงานของคุณวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ‘ซีอีโอหัวใจเกินร้อย’ คุณคงสงสัยว่าทำไมเราจึงเรียกท่านเช่นนั้น ลองอ่านบทสัมภาษณ์นี้จะรู้เองครับ พร้อมแล้วไปทำความรู้จักคุณวรุธให้มากยิ่งขึ้น ในเรื่องการทำงาน ผลงาน ตัวตน ความคิด ไลฟ์สไตล์ ตลอดจนวิสัยทัศน์และมุมมองที่ไม่ธรรมดาของท่านคุณวรุธสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นมินิเอ็มบีเอ รุ่น 12 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับตั้งแต่อายุ 22 ปี ท่านมุ่งมั่นเริ่มต้นเส้นทางอาชีพกับ ทีโอที (สมัยนั้นใช้ชื่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากครอบครัวและคุณพ่อที่ทำงานที่นี่อยู่แล้ว คุณวรุธเห็นว่าความรู้ความสามารถของท่านเหมาะสมกับลักษณะงานของที่นี่ ประจวบเหมาะกับสมัยนั้น ทีโอที เพิ่งเริ่มการดำเนินงานในด้านตรวจสอบบัญชีและการเงิน ชายหนุ่มผู้มุ่งมั่นจึงสนุกกับงานที่ทำ จากนั้นท่านก็ได้สั่งสมประสบการณ์ในการทำงานฝ่ายบัญชีการเงิน และฝ่ายบริหารผลประโยชน์ จนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา รวมแล้วคุณวรุธทำงานใน ทีโอที เป็นเวลายาวนานถึง 33 ปีเลยทีเดียว “ผมได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างตลอดช่วงเวลาที่ทำงานใน ทีโอที ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่หลากหลาย ได้เรียนรู้ระบบราชการ หลักการทำธุรกิจแบบเอกชน ได้ร่วมงานกับบุคลากรหลายประเภท ที่สำคัญคือได้เรียนรู้เทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทุกอย่างมีคุณค่ากับชีวิตผมมากครับ”เมื่อต้องทำงานร่วมกับคนที่มีลักษณะแตกต่างหลากหลาย คุณวรุธยึดหลักความตรงไปตรงมา […]Read More

พิชัย วาศนาส่ง วิเคราะห์ชีวิต

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2493 ท่านบอกว่าเงินที่หามาได้ส่วนมากในชีวิต หมดไปกับค่า ‘หนังสือและแผ่นเสียง’ เป็นการยากที่จะนิยามบุรุษผู้นี้ว่าท่านคือใคร และทำอะไรมาบ้างตลอดชีวิตกว่า 80 ปี จะเรียกว่า กูรูสารพัดด้าน-อาจารย์-นักเขียน-สถาปนิก-ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์-นักจัดรายการวิทยุ-ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี-ประธานกรรมการบริษัท แต่หลังชื่อของ พิชัย วาศนาส่ง มักจะตามด้วยคำว่า ‘นักวิเคราะห์ข่าว’ อยู่เสมอ จนคำนี้กลายเป็นยี่ห้อของท่านไปเสียแล้ว ในวันที่บ้านเรามีคนเล่าข่าวเกลื่อนทั่วโทรทัศน์ บางถ้อยคำของท่านอาจทำให้คนรุ่นใหม่ต้องหยุดฟังเสียหน่อย แม้บางคนจะมองว่า ในอีกด้านความชราจะหมายถึงการพ้นสมัย แต่แน่ใจหรือว่า บุรุษผู้นี้พ้นสมัย โดยเฉพาะเมื่อมองจากมุมมองของท่าน และโปรดอย่าลืมว่า เราสามารถเรียนรู้ชีวิตทางลัดจากผู้อาวุโสได้เสมอ พิชัย วาศนาส่ง เคยเป็นผู้บรรยายสดทางโทรทัศน์ในวันที่ยานอวกาศอะพอลโล 11 ไปถึงดวงจันทร์ นอกจากนี้ ท่านยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ออกรายการโทรทัศน์นานที่สุดตั้งแต่ยุคช่อง 4 บางขุนพรหมจนถึงยุคปัจจุบัน เคยถูกคุมขังที่เรือนจำบางขวาง เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าร่วมกบฏ 26 มีนาคม 2520 ที่นำโดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ ระหว่างที่ถูกจองจำก็แปลหนังสือชื่อ ‘ตำราพิชัยสงครามของซุนวู’ แม้จะหันมาสนใจเรื่องเบาๆ อย่าง การทำอาหาร ท่านก็รู้ลึกซึ้งจนถึงขั้นวิเคราะห์รากของวัฒนธรรมการกินทั่วโลกได้อย่างถึงพริกถึงขิง เป็นนักเขียนที่เขียนหนังสือไว้มากมายชนิดที่เจ้าตัวเองก็จำได้ไม่หมด และอาชีพดั้งเดิมอย่างสถาปนิก ท่านก็เคยเป็นถึงนายกสมาคมสถาปนิกสยามแห่งประเทศไทยมาแล้ว […]Read More

ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ทำไมวิทยาศาสตร์-วิทยาศาสตร์ทำไม

ต้องยอมรับว่า สังคมไทยถูกมองว่าเป็นสังคม ‘ไสย-ใส’ คือทั้งซื่อใสและคิดแบบคุณไสยไปด้วยในตัว ความซื่อใสเป็นคุณสมบัติที่ดี และที่จริง คุณไสยก็ไม่เลวนัก ถ้าเราจะทำความรู้จักมันอย่างถ่องแท้ ปัญหาก็คือ เรามักจะเข้าหา ‘ไสย’ อย่าง ‘ใสๆ’ ไม่รู้เท่าทัน แล้วในที่สุด เราก็มักหลงใหลอย่างใสซื่อ ซึ่งเป็นความหลงใหลชนิดพันธุ์ที่ทั้งน่ารักและน่ากลัว น่ารักเพราะเป็นความหลงที่บริสุทธิ์ และน่าพรั่นกลัวด้วยความบริสุทธิ์เดียวกันในโลกที่การตลาดเป็นธงนำ สิ่งที่ทำให้เราหลงใหลได้เช่นเดียวกับ ‘ไสย’ มีความหมายกว้างขวาง ซับซ้อน และแนบเนียนมากขึ้น เราถูกหลอกอยู่ทุกวี่วัน ไม่ใช่ด้วยผีหรือหมอผี แต่ด้วยความคิดและกระแสที่มองไม่เห็น มันพุ่งผ่านอายตนะเข้ามากระทบภายในของเราตลอดเวลาด้วยยุทธวิธีต่างๆ ไม่ใช่เพียงเพื่อล้วงเอาเงินในกระเป๋าของเราเท่านั้น แต่ยังล้วงเอาความคิด ความเชื่อ ศรัทธา ปัญญา ออกไปจากสมองของเรา เหลือทิ้งความคิดผิดเพี้ยนไว้ (ไม่ว่าจะอยู่ในนามของมายาคติหรือมิจฉาทิฐิ) ให้เป็นสมบัติ ถ้าเราอ่อนแอ เราก็จะเชื่อง่าย แล้วเราก็หลงคำถามก็คือ แล้วเราจะทำอย่างไรดี ปลายปีอย่างนี้ GM เลือกคุยกับคนที่ (ถูก) ขนานนามว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ เขาไม่ใช่คนเคร่งขรึมเดินลูบหนวดเคราอยู่ในมหาวิทยาลัย แต่เป็นผู้ชายอารมณ์ดีที่ร่ำเรียนมาด้านวัสดุศาสตร์จนจบปริญญาเอกจาก Georgia Institute of Technology และทำงานให้กับ MTEC (National […]Read More

อนุสรณ์ ติปยานนท์

ในโลกสองใบของนักเขียนเอ่ยชื่อ อนุสรณ์ ติปยานนท์ หนอนหนังสือหลายคนคงรู้จักดีในฐานะนักเขียนฝีมือดีที่มีลีลาและสำนวนการเขียนอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยชุดอักษรที่เต็มไปด้วยความลึกลับวูบไหว แฝงอารมณ์เปลี่ยวเหงาท่ามกลางบริบทรอบตัวอันแปลกแยก ที่ปรากฏในงานเขียนชิ้นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนวนิยาย ‘ลอนดอนกับความลับในรอยจูบ’ และ ‘8 1/2 ริกเตอร์ การตามหาหัวใจที่สาบสูญ’ หรือ รวมเรื่องสั้น ‘H2O ปรากฏการณ์แตกตัวของน้ำบนแผ่นกระดาษ’ ที่นอกจากจะทำให้อนุสรณ์มีแฟนนักอ่านเหนียวแน่นจำนวนหนึ่งแล้ว งานเขียนของเขายังได้รับการยกย่องและชื่นชมว่ามีความใกล้เคียงกับงานเขียนของ ฮารูกิ มุราคามิ (Haruki Murakami) นักเขียนชาวญี่ปุ่นที่มีแฟนนักอ่านให้การติดตามทั่วโลกถึงขนาดที่เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘มุราคามิเมืองไทย’ เลยทีเดียว ล่าสุด ‘เคหวัตถุ’ (Household Objects) รวมเรื่องสั้นเล่มที่สองที่หยิบจับข้าวของเครื่องใช้ในบ้านมาเล่าเรื่องของเขา ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลซีไรต์ประจำปี 2551 แม้จะพลาดรางวัลไป แต่ดูเหมือนในบรรดารายชื่อรวมเรื่องสั้นที่เข้าชิงด้วยกัน ‘เคหวัตถุ’ ของอนุสรณ์นั้นมีความแปลกใหม่และท้าทายผู้อ่านมากที่สุด GM จึงสนใจใคร่พูดคุยกับนักเขียนหนุ่มคนนี้ คนที่เราเห็นว่ายืนนำอยู่หน้ากระแส ลุ่มลึก ครุ่นคิด มีวิถีชีวิตแบบคนเมือง และถือเป็นผู้ชายแบบ GM คนหนึ่งโดยแท้ที่สำคัญ งานเขียนของอนุสรณ์ยังชนะใจนักอ่านหลายๆ คน บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อสะท้อนความคิดของนักเขียนที่น่าจับตามองที่สุดอีกคนหนึ่งของประเทศนี้ออกมาให้ผู้อ่านได้รับรู้กันในฐานะที่นักเขียนเป็นคนเพียงไม่กี่กลุ่มที่เดินทางสลับไปมาระหว่างโลกภายในและโลกภายนอก โลกที่คิดเห็นกับโลกที่เป็นอยู่จริง-ซึ่งบางที,นักเขียนเองก็อาจแยกมันไม่ออกแล้วอะไรเล่า คือสิ่งที่นักเขียนอย่างอนุสรณ์พบเจอตลอดการเดินทางนี้ ! อนุสรณ์ ติปยานนท์ […]Read More

บัญชา ชุมชัยเวทย์ ผ่าวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ !

จากคำว่า ‘ซับไพรม์’ มาถึงคำว่า ‘วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์’ จากการล้มของเลห์แมน-สถาบันการเงินระดับยักษ์อันดับ 4 ของอเมริกา ดูเหมือนโลกเศรษฐกิจกำลังพังทลาย ! คำถามก็คือ วิกฤติที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา จะลุกลามเป็นโดมิโนมาถึงเมืองไทย มาถึงตัวเราหรือเปล่า โดยเฉพาะในยุคที่ข่าวสารข้อมูลแพร่หลายรวดเร็วเหมือนไฟลามทุ่ง และธุรกรรมทางการเงินก็พันพัวกันซับซ้อนเหมือนฝูงงูผสมพันธุ์ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองบอกเราว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่น่าจะกระทบกระเทือนเมืองไทย แต่ดูหน้าตาและเครดิตในอดีตของคณะรัฐมนตรีหลายคนแล้ว ผู้ฟังยังปลงใจให้เชื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ยินผ่านหูไม่ได้ด้วยเหตุนี้ บ่ายวันที่ 25 กันยายน 2551 GM จึงอยากชวนคุณไปจับเข่าคุยกับ บัญชา ชุมชัยเวทย์ คนหนุ่มที่ ‘คลุก’ อยู่กับข้อมูลข่าวสารในเรื่องเศรษฐกิจ ทั้งในระดับชาติและระดับโลก ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค นาทีนี้ต้องถือว่าเขาเป็นคนหนุ่มในสายงานนี้ ที่ถ่ายทอดความรู้และข้อมูลออกมาได้ชัดเจน ตรงเป้า เคลียร์ และเข้าใจง่ายที่สุดคนหนึ่ง แม้เขาจะทำงานมากมายตลอดวัน 7 วัน ใน 1 สัปดาห์ แต่ GM ก็หาโอกาสบุกเข้าไปถึงห้องส่ง เพื่อนั่งถกกับเขาเนื้อๆ เน้นๆ ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นที่อีกซีกโลกหนึ่ง ทำความเข้าใจกับมันด้วยการ ‘แลไปข้างหลัง’ พร้อมกับขอให้เขา ‘มองไปข้างหน้า’ เพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง และสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด จะเกี่ยวพันกับตัวเราในเมืองไทยอย่างไรบางคำตอบฟังแล้วบรรเทาใจลงได้บ้างแต่เชื่อไหม, […]Read More

ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ทางตัน ทางเลือก หรือทางรอด !

ในห้วงยามที่สังคมไทยอยู่ในภาวะสุญญากาศ กลับไม่ได้ ไปไม่ถึงในทุกๆ เรื่อง GM เล่มนี้จึงนำเสนอเรื่องทางออกของสังคมไทยในทุกๆ มิติว่าแต่ใครล่ะที่สมควรจะเป็นผู้ให้คำตอบในเรื่องที่ยากยิ่งและคลุมเครือ ได้ดีเท่า ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์เพราะไม่ว่าจะมองจากมุมไหน จะในฐานะที่เป็นนักประวัติศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพาประจำปี พ.ศ. 2545 หรือเป็นนักคิด-นักเขียนที่เชื่อในพลังความรู้ของสามัญชนจนมีผลงานทางวิชาการเผยแพร่ออกเป็นหนังสือมากกว่า 20 เล่ม หรือเป็นนักวิชาการเพียงไม่กี่คนที่ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้แก่คนที่เป็นฐานล่างสุดของพีระมิดแห่งสังคมไทย เห็นได้จากการเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ‘มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน’ (ร่วมกับ รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม) เว็บไซต์ที่ให้ความรู้แก่คนในสังคมโดยไม่จำกัดคุณวุฒิและวัยวุฒิ หรือจะอยู่ในฐานะอะไรก็ตาม ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็เป็นคนที่เราอยากเงี่ยหูฟังความเห็นมากที่สุดคนหนึ่งและเชื่อว่าคุณผู้อ่าน GM ก็คงคิดเหมือนกันต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์ว่าด้วยสังคมไทยในมิติทางการเมืองปัจจุบันที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายไร้ทางออกอันเกี่ยวโยงไปถึงประวัติศาสตร์ทางสังคมการเมืองไทยที่ผ่านมาอย่าแปลกใจหากพบคำคุ้นๆ ตา อาทิ ‘ทักษิณ’, ‘สมัคร’, ‘สนธิ’, ‘พันธมิตร’, ‘รัฐประหาร’, ‘รัฐธรรมนูญ’ หรือแม้แต่คำที่เราพูดและใช้กันอย่างชินปากจนกลายเป็นคำมักง่ายไปแล้วอย่าง ‘ประชาธิปไตย’ แฝงตัวอยู่ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้อ่านแล้วเผื่อจะนึกออกว่าหลังจากที่ประชาธิปไตยอยู่ติดริมฝีปากคนไทยมาแล้ว 76 ปี (ถ้าเป็นคนก็อยู่ในระดับเตรียมจัดงานแซยิดได้แล้ว) สังคมไทยได้อะไร เรียนรู้อะไร หรือเติบโตมากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่และในขณะที่ประชาธิปไตยแบบที่เรารู้จักมักคุ้นนี้กำลังดำเนินไปอย่างน่ารักน่าลุ้น สังคมไทยจะเดินไปสู่หนใด PART I :   LOOKING BACK […]Read More

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล Uncensored

สัตว์วิกาลที่ไม่ยอมสูญพันธุ์ แบบเรียนเล่มหนึ่งที่นักเรียนภาพยนตร์แทบทุกคนในอเมริกาและอีกหลายคนทั่วโลกใช้ศึกษาและค้นคว้าคือหนังสือชื่อ Film Art ว่ากันว่า-หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนคัมภีร์ไบเบิลของภาพยนตร์ ในฉบับตีพิมพ์ครั้งล่าสุด Film Art จัดผลงานของ เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ให้เป็นภาพยนตร์แขนงใหม่ที่เกิดขึ้น เคียงข้างผลงานของผู้กำกับระดับตำนานของโลกคนอื่นๆ อภิชาติพงศ์เติบโตในครอบครัวหมอในจังหวัดขอนแก่น ที่บ้านของเขาจะฉายภาพยนตร์ 8 มิลลิเมตรสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งกิจกรรมนี้ของครอบครัวเป็นแรงบันดาลใจแรกๆ ที่ทำให้เขาหลงใหลในพลังลึกลับของภาพเคลื่อนไหว อภิชาติพงศ์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และปริญญาโทวิจิตรศิลป์ สาขาภาพยนตร์ สถาบันศิลปะชิคาโก จากนั้นจึงเปิดบริษัท Kick the Machine และเริ่มต้นผลิตภาพยนตร์และวิดีโอตั้งแต่ปี 2533 โดยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตภาพยนตร์ไม่กี่คนในประเทศไทยที่ทำงานนอกระบบสตูดิโอ ภาพยนตร์เรื่อง ‘สุดเสน่หา’ (Blissfully Yours) ได้รับรางวัล Un Certain Regard จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ปี 2545 และภาพยนตร์เรื่อง ‘สัตว์ประหลาด!’ (Tropical Malady) ได้รับรางวัล Jury Prize จากเทศกาลเดียวกัน ในปี 2547 ล่าสุด อภิชาติพงศ์เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพยนตร์ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ […]Read More

ดร. ธนวรรธน์ พลวิชัย พยากรณ์เศรษฐกิจ

นอกจากจะเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแล้ว ดร. ธนวรรธน์ พลวิชัย ยังมีตำแหน่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งอีกตำแหน่งหนึ่ง นั่นก็คือการเป็นผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกัน ถ้าคุณชอบฟังคำพูดของหมอดู ไม่ว่าจะไปดูด้วยตัวเอง หรือนั่งฟังผ่านสื่อ ว่าบ้านเมืองจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เชื่อว่าคุณต้องอยากรู้จักกับ ดร. ธนวรรธน์ ไม่น้อย ก็โธ่! ชื่อศูนย์ที่เขานั่งเป็นผู้อำนวยการอยู่นั้นน่ะ มันแสดงตัวชัดเจนไม่ใช่หรือว่าทำหน้าที่คล้ายกับ ‘หมอดู’ อยู่โทนโท่ ที่สำคัญ ดร. ธนวรรธน์ ก็ยอมรับเองด้วยว่า การพยากรณ์เศรษฐกิจก็มีอะไรๆ คล้ายกับการดูหมออยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ! เมื่อมองไปรอบตัว คุณจะเห็นความไม่แน่นอนของอะไรๆ เต็มไปหมด ตั้งแต่เรื่องใกล้ๆ ตัว อย่างเช่น น้ำมันจะขึ้นราคาพรุ่งนี้หรือเปล่า หมูจะแพงไปถึงไหนกัน ข้าวสารล่ะ-ราคาจะเป็นอย่างไร โบนัสกลางปีจะออกไหม ไล่ไปจนถึงเรื่องระดับรัฐบาล ใครจะมาดูแลเศรษฐกิจ แล้วเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร หุ้นจะถึงพันจุดไหม รวมไปถึงเรื่องระดับโลก อย่างซับไพรม์ ค่าเงินดอลลาร์-บาท หรือการผงาดของจีนและอินเดีย ไม่มีอะไรแน่นอนสักอย่าง แต่ทุกอย่างล้วนเอื้อมมือของมันเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างใกล้ชิด ด้วยเหตุนี้ GM จึงเชื่อว่าเรากำลังต้องการ ‘หมอดู’ อย่างเร่งด่วน แต่จะเป็นหมอดูประเภทเลข 7 […]Read More

ธนา เธียรอัจฉริยะ เปลี่ยนมุมคิด ชีวิตเปลี่ยน

85 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ลืมโทรศัพท์มือถือไว้ที่บ้านในตอนเช้า ยอมเสียเวลากลับไปเอาที่บ้าน…รวมทั้งผมด้วยโทรศัพท์มือถือกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเราตั้งแต่เมื่อไหร่กัน ? ถ้าให้เด็กสมัยนี้นึกภาพสมัยที่คนรุ่นก่อนนัดกันแบบไม่มีเครื่องมือสื่อสารใดๆ เลย คงนึกกันไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร ทุกวันนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่กลายเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดแขนงหนึ่งของโลก ทั้งเรื่องของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ความนิยมของผู้ใช้แปรผันตามกันไปกับความก้าวหน้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีมากเสียจนคนรุ่นก่อนอาจตกใจว่าโทรศัพท์สมัยนี้ทำได้แทบจะทุกอย่าง   ในบ้านเรา สงครามระหว่างค่ายมือถือเป็นเรื่องชวนติดตามไม่แพ้พล็อตละครหลังข่าว เรื่องราวของการแย่งชิงที่นั่งในตลาด การเข้าไปพัวพันกับเรื่องการเมือง โมเดลธุรกิจใหม่ๆ ของบางค่ายที่กลายเป็นข่าวระดับปรากฏการณ์ เรื่องพวกนี้ไม่เคยห่างหายจากหน้าหนังสือพิมพ์ของเรา ฉะนั้น คงเป็นการดีไม่น้อยหาก GM จะหาโอกาสไปคุยกับคนเก่งๆ ในแวดวงนี้ดูบ้างสักหน ธนา เธียรอัจฉริยะ เป็นคนหนึ่งที่น่าสนใจ ด้วยวิธีการคิดที่แตกต่าง ทำให้แบรนด์อย่างแฮปปี้ที่เขาปลุกปั้น ติดตลาดได้อย่างรวดเร็ว และด้วยยอดผู้ใช้บริการของแทคที่เพิ่มทะลักในช่วง 2 ปีหลังอีก ไหนจะเป็นผู้บริหารตั้งแต่อายุยังหนุ่มแน่น (Chief Commercial Officer) เป็นนักเขียนตัวจริงที่ยอดขายหนังสือ ‘Happy คนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคน’ ที่ขายไปแล้วกว่า 20,000 เล่ม ซึ่งทำให้เรารู้ว่า ธนามีลูกบ้าใช้ได้ แคมเปญล่าสุด Impossible Race ที่จับเอาผู้บริหารระดับวีไอพี 100 คนของแทคมาวิ่ง 10 กิโลเมตรโดยตั้งเป้าว่า 80 คนในนั้นต้องวิ่งให้ได้ อาจเป็นสิ่งที่ย้ำว่า […]Read More