เรื่อง: บุญรัตน์ ศักดิ์บูรณพงษา ขึ้นชื่อว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เรื่องที่แก้ไขกันง่ายๆ เพียงเวลาแค่ปีสองปี และเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทั้งโลกให้ความสำคัญ เมื่อหันกลับมามองประเทศไทย ก็ต้องยอมรับว่าเผชิญหน้ากับปัญหานี้ไม่ต่างจากประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ยิ่งช่วงเวลา 10 ปีหลังที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องกับความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ รอบด้านอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน จนทำให้หลายคนหันมาตระหนักแล้วว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด ยิ่งมาเจอสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ยิ่งเหมือนเคราะห์ซ้ํากรรมซัด จนบางทีมองข้ามปัญหาสิ่งแวดล้อมไป เพราะมุ่งแต่ไปโฟกัสปัญหาปากท้องและปัญหาด้านสุขภาพก่อน แต่ขอบอกเลยว่า เรื่องสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเรามากกว่านั้น GM Club ฉบับนี้ขอพาไปสำรวจสเตตัสสิ่งแวดล้อมไทย ผ่านมุมมอง ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล หรือที่เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เรียก ‘อาจารย์โอ’ รองคณบดีด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน และอาจารย์ประจำภาควิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการหนุ่มรุ่นใหม่มากประสบการณ์ หนึ่งในผู้ขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อมจากหลายบทบาท ทั้งการเป็นหนึ่งในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านที่ 5 (ด้านคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม), หัวหน้าโครงการ Sensor for All อุปกรณ์ติดตามข้อมูลด้านคุณภาพอากาศ และปริมาณฝุ่น PM2.5, วิศวกรสิ่งแวดล้อมและผู้ทรงคุณวุฒิอีกสารพัดโครงการ รวมถึงเป็นผู้ดำเนินรายการด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม Envi […]Read More
เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘เมือง’ หรือ City นั้น แน่นอนว่าไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่อันประกอบขึ้นจากตึกรามบ้านช่อง หรือสถาปัตยกรรมที่ตั้งเรียงราย หากแต่เป็นการผสานรวมวิถีชีวิต วัฒนธรรม กิจกรรม และผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลาย มารวมอยู่ในพื้นที่หนึ่ง นั่นทำให้ศาสตร์แห่งงานเมืองคือความท้าทาย ไม่ว่าจะพิจารณาจากมุม หรือบริบทใดก็ตาม และงานด้าน ‘ผังเมือง’ ก็เป็นส่วนประกอบที่ไม่อาจขาดไปได้ ในการขับเคลื่อนการพัฒนารอบด้่าน แน่นอนว่ายังส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณ เพื่อเอื้อต่อประโยชน์สูงสุด ทั้งในส่วนสุขอนามัย ความปลอดภัยด้านสาธารณะ การปันส่วนของสาธารณูปโภคอย่างน้ำประปา ไฟฟ้า โทรมนาคม และการขนส่ง รวมถึงการอนุรักษ์ย่านสำคัญที่ไม่ได้ส่งผลในเชิงธุรกิจแต่มีมูลค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ คำว่า “ผังเมือง” จึงมีความหมายและมิติที่ลึกซึ้ง เกินกว่าแค่การขีดเส้น ลากสี และเขียนกำกับว่าพื้นที่ไหน ใช้ทำอะไร เชื่อว่ายังมีความเข้าใจที่คลาดเคลือนหรือไม่รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานทีรับผิดชอบด้านนี้โดยตรง และครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่ทางทีมกองบรรณาธิการ GM Magazine ได้รับเกียร์4ติจาก รองศาสตราจารย์ พนิต ภู่จินดา อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกสมาคมนักผังเมืองแห่งประเทศไทย ผู้มีประสบการณ์ในงานด้านผังเมืองมาอย่างยาวนานกว่าสองทศวรรษ ได้อธิบายเพื่อความเข้าใจและเห็นถึงภาพความสำคัญของ “ผังเมือง” อย่างรอบด้านทั้งในส่วนนิยาม ความสำคัญเกี่ยวกับเนื้องาน ที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะกรณีโรงงานกิ่งแก้ว จนถึงแนวทางที่จะเกิดขึ้น […]Read More
ในการเดินทาง และการเติบโต หลายครั้ง มาด้วยรูปแบบที่แตกต่างกัน บ้างมาด้วยเหตุการณ์อันน่าประทับใจ แต่ก็มีไม่น้อย ที่มาพร้อมกับ ‘รสชาติ’ ที่เคี่ยวกลั่นออกมาเป็นสิ่งที่ซับซ้อน พาย้อนกลับไปยังต้นกำเนิดที่เต็มเปี่ยม เฉกเช่นเดียวกับ ‘กาแฟ’ เครื่องดื่มสีดำรสเข้มข้น ที่ในหนึ่งแก้ว สามารถเป็นได้ในทุกสิ่งที่หลากหลาย ในต้นสายธารอันไม่จำกัด บ่งบอกถึงเรื่องราวที่สลับซับซ้อนของมัน และการเรียนรู้ในสิ่งที่ทำให้กาแฟ เป็นกาแฟในหนึ่งแก้ว ไม่ได้จบอยู่แค่เพียงขั้นตอนการชงดื่ม แต่ยังรวมไปถึงกระบวนการขั้นต้นของการเพาะปลูก การคัดเลือก และเข้าใจในความชอบของตนเอง นี่คือการเดินทางและการเติบโตที่แท้ อันเป็นเส้นทางที่ คุณชวลิต จิตภักดี กรรมการ บริษัท บวรเทพ จำกัด ผู้บริหาร ร้านกาแฟสัญชาติไทยสุดล้ำ na bowon ROBO X CAFE , ร้านอาหารตำรับไทย ณ บวร และ อาจารย์พิเศษ ด้านการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เรียนรู้ สัมผัส และถ่ายทอดออกมาด้วยใจรัก จริงจัง และล้ำลึก ผ่านบทสัมภาษณ์ที่เราได้รับเกียรติร่วมพูดคุยและนำมาถ่ายทอดกันในครั้งนี้ จุดเริ่มต้นของการชื่นชอบกาแฟ คงจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กที่เกิดเป็นคนใต้ […]Read More
เรื่อง : บุญรัตน์ ศักดิ์บูรณพงษา ภาพ: พิชญุตม์ คชารักษ์ ทศวรรษที่ผ่านมา โลกของอสังหาริมทรัพย์ก้าวกระโดดอย่างไม่เคยมีมาก่อน จะด้วยมิติของ Digital Disruption (ดิจิทัล ดิสรัปชั่น) หรือด้วยดีมานด์ของตลาดและผู้บริโภคที่มีความซับซ้อนมากขึ้นก็ตาม ในยุคหนึ่งอาคาร-อสังหาริมทรัพย์ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองมากนัก มาสู่ยุคที่อาคารต้องวิวัฒน์ตัวเองเพื่อตอบสนองความต้องการและแข่งขันเพื่อครอบครองพื้นที่ทางการตลาด เช่น อาคารอัจฉริยะ หรือ Green Building อย่างที่เรียกว่า ‘อสังหาริมทรัพย์ 4.0’ (Real Estate 4.0) การบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ด้วยโซลูชั่นเดิมๆ จึงไม่อาจตอบโจทย์อีกต่อไป ไม่แปลกที่ PropTech (Property Technology) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการระบบต่างๆ ของอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ให้มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หนึ่งในพร็อพเทคที่น่าจับตามองและไม่ควรมองข้าม ณ เวลานี้ คือ ‘Digital Twin’ (ดิจิทัล ทวิน) เทคโนโลยีที่มีจุดกำเนิดมาจากนาซ่าใช้ในภารกิจกู้ภัย Apollo 13 และต่อมานำมาใช้วางแผนซ่อมบำรุงต่างๆ กรณีที่มีข้อจำกัดไม่สามารถเข้าตรวจสอบสถานที่จริงได้เมื่ออุปกรณ์นั้นอยู่นอกโลก ถึงวันนี้ไม่จำเป็นต้องผลิตยานอวกาศ อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ที่มีความซับซ้อนสูงก็นำ Digital Twin มาใช้ ทั้งอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ […]Read More
เรื่อง: สุกฤษฏิ์ บูรณสรรค์ ภาพ: พิชญุตม์ คชารักษ์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในเวลาที่ผ่านมา ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจจนเกิดการปรับตัว ขยับรูปแบบ รวมถึงต้องทำความเข้าใจกับการมาถึงของสิ่งใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว ชนิดที่เรียกว่าถาโถมโหมกระหน่ำกันเข้ามาไม่ขาดสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคสมัยแห่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งการคิดค้นนวัตกรรมหนึ่งอาจกลายเป็นจุดพลิกผันสำคัญ ที่เปลี่ยนกระบวนทัศน์และความเข้าใจของผู้คนจากหน้ามือเป็นหลังมือกันเลยทีเดียว และแน่นอนว่า สำหรับ ‘องค์กรขนาดใหญ่’ ที่มีรูปแบบการดำเนินงานตายตัว มีกรอบระเบียบแบบแผน ต่างได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลง บางองค์กรรับมือทันทวงที ในขณะทีบางองค์กรก็ไม่ทันตั้งตัว แต่การเปลี่ยนแกนหลักขององค์กรหรือบริษัทขนาดใหญ่ทั้งองคาพยพ เพื่อสอดรับกับการเลื่อนไหลของความเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้โดยง่าย และถ้ากระทำโดยไม่ระมัดระวัง อาจจะกระเทือนถึงรากฐาน และสร้างความเสียหาย รวมถึงทำลายข้อได้เปรียบทางด้านการแข่งขันที่สั่งสมมาจนหมดสิ้น เช่นนั้นแล้ว อีกทางเลือกหนึ่งที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน คือการ ‘แตกหน่อ’ ของ ‘บริษัทลูก’ ที่ทำหน้าที่เป็น ‘หัวหอก’ ไปสู่พื้นที่ทางธุรกิจใหม่ ซึ่งมีความคล่องตัว มีอิสระ ภายใต้การกำกับดูแลของ ‘บริษัทแม่’ โดยได้รับการสนับสนุนจากต้นทางในด้านระบบการจัดการ ทรัพยากร จนถึงโอกาสทางความร่วมมือต่างๆ ที่บริษัทสตาร์ทอัพธรรมดาไม่สามารถทำได้ บทสัมภาษร์ในเล่มนี้ เป็นการถ่ายทอดการสนทนาจากGM Talk ในเพจ GM Live ทั้งผู้ดำเนินรายการและแขกรับเชิญทั้งสองท่านร่วมถกกันในประเด็นที่น่าสนใจ เกี่ยวกับธุรกิจเล็ก […]Read More
ในสภาวการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ กับทุกภาคส่วน รวมถึงธนาคาร ทำให้บทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับธนาคาร ต้องขยับไปสู่รูปแบบใหม่ ความคุ้นเคยใหม่ ความ ‘ปกติ’ แบบใหม่ รูปแบบของธนาคารในภายภาคหน้าจะเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และท้าทายอย่างยิ่ง GM ได้รับเกียรติจาก คุณประภาส ทองสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มาบอกเล่าถึงทิศทาง ‘Next Normal’ ย่างก้าวต่อไปในการ ‘Forward’ ครั้งใหญ่ของ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ที่มุ่งมั่นจะไปให้ถึง Next Normal ของ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คืออะไร ประภาส : ในสภาวะ COVID-19 พฤติกรรมการใช้บริการธนาคารของผู้คนก็เปลี่ยนแปลงไป ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จึงปรับปรุงในส่วนการให้บริการ และแอปพลิเคชันให้หลากหลาย แข็งแรงมากขึ้นสิ่งหนึ่งที่ชัดเจน คือ ทางธนาคารต้องตอบสนองให้เร็ว การดูแลลูกค้าภายใต้นโยบายของภาครัฐ ทำสิ่งนั้นให้ครบถ้วน […]Read More
บนเส้นทางชีวิตของนักธุรกิจหนุ่มไฟแรง ดีไซเนอร์ชื่อดัง ดีกรีนักเรียนนอก อย่าง กันต์ รตนาภรณ์ ซีอีโอ Maison de Bangkok กับการก้าวที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน จนวันที่เดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนของชีวิต เขาค้นพบเส้นทางแห่งความสุขบนวิถีของงานศิลปะ ถึงขั้นจัดนิทรรศการภาพวาดเดี่ยวครั้งแรกของตัวเอง Guntaraที่ “มาดิ” (Madi) ก่อนที่ 4 ภาพจากนิทรรศการครั้งนี้จะถูกนำไปโชว์ที่แกลอรี่ในงานนิทรรศการศิลปะครั้งใหญ่ของฮ่องกง และในเดือนพฤษภาคมเขาจะเดินทางไปที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา “ผมเป็นหนึ่งคนที่ใช้ชีวิตตามกระแสโลก พอเริ่มต้นทำงาน ก็ห่างไกลความสุขออกไปทุกที ไปยึดติดกับกิเลสบนทางโลกมาก เมื่อผมได้ตระหนักรู้ มันเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต จุดที่ผมรู้สึกว่าอยากจะมีความสุขเหมือนตอนเด็กๆ ก็เลยอยากจะเอาศิลปะกลับมา” กันต์ รตนาภรณ์ เกริ่นถึงทีมาของการแสดงคอลเลคชั่นงานศิลปะ “Life is Art’ ของเขา บรรยากาศงานนิทรรศการภาพวาดเดี่ยวครั้งแรกของ Guntara หรือ กันต์ รตนาภรณ์ เจ้าของแบรนด์ชั้นนำ อย่าง YoloBrandTanTanและ Maison de Bangkok บนชั้น 2 ของคาเฟ่สีขาวย่านเจริญกรุง “มาดิ” (Madi) นั้นสัมผัสได้ถึงแต่ละช่วงชีวิตของหนุ่มกันต์ ศิลปินเจ้าของผลงานที่สะท้อนผ่านภาพเขียนทั้งหมด […]Read More
ในโลกยุคปัจจุบันความสำคัญทางด้าน ‘พลังงาน’ เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความมั่นคงของประเทศ ไม่ว่าจะในระดับครัวเรือนหรือระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ‘พลังงาน’ ที่การสันดาปของเชื้อเพลิงเปรียบเสมือนเส้นเลือดดำ ทำให้องคาพยพต่างๆ ดำเนินไปโดยไม่ติดขัด ‘พลังงาน’ จึงเป็นเรื่องที่ถูกให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจ สังคม จนถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดใดๆ จะเกิดขึ้น ปัจจัยนี้ยังคงต้องเดินหน้าต่อไป และชื่อของ ‘ไทยออยล์’ คือชื่อที่การันตีคุณภาพแห่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เป็นประดุจกระดูกสันหลังของการผลิตเชื้อเพลิง เป็นต้นน้ำแห่งอุตสาหกรรมพลังงานมาอย่างยาวนานกว่าหกทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 บวกรวมกับวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ที่เข้ามากระทบ อย่างไม่คาดคิด กับการ ‘Shift’ หรือเปลี่ยนผ่านของกระแสเชื้อเพลิง สะอาด พลังงานหมุนเวียน ที่เริ่มถูกกล่าวถึงอย่างแพร่หลาย ไทยออยล์ ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งหมายจะย่างก้าวไปสู่ระดับ ‘องค์กรร้อยปี’ จะต้องทำสิ่งใด คิดอย่างไร และเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปโฉมใด ในวาระที่กำลังจะมาถึงนี้ GM Magazine ได้รับเกียรติจาก คุณวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ผู้อยู่กับแวดวงพลังงาน รวมถึงสายงานด้านบริหารมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีความผูกพันกับองค์กรไทยออยล์มาหลายสิบปี ได้มาร่วมพูดคุยถึงเส้นทางในสายอาชีพ สถานการณ์พลังงานในปัจจุบัน […]Read More
ธรรมชาติสร้างเพศสภาวะทางกายภาพเอาไว้แตกต่างกัน เป็น ‘ทวิลักษณ์’ ที่มีลักษณะเฉพาะ ที่มีการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม จนถึง ‘อาการที่เกี่ยวกับเพศนั้นๆ’ เอาไว้ ที่แต่ละเพศต่างต้องเผชิญ ที่ส่งผลต่อด้านสุขภาวะ และการดำเนินชีวิตโดยรวมที่ไม่อาจมองข้ามได้ และแน่นอน การทำความเข้าใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในเพศของตนเอง โดยเฉพาะ ‘อาการของเพศหญิง’ ที่ผู้ชายควรรู้ ก็จะช่วยให้รับมือ ป้องกัน และดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม ซึ่ง คุณหมอโอฬาริก มุสิกวงศ์ สูตินรีแพทย์ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จะมาอธิบายถึง ‘5 ภาวะของผู้หญิง ที่ผู้ชายควรรู้’ ที่จะช่วยให้ทั้งสองเพศ ได้เข้าใจในสภาวะดังกล่าว และรับมือได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น –Pregnancy (ตั้งครรภ์) การตั้งครรภ์หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องของผู้หญิงเพียงฝ่ายเดียว แต่ความจริงแล้วบทบาทของว่าที่คุณพ่อ มีส่วนสำคัญมากในการประคับประคองการตั้งครรภ์ ไปจนถึงคลอด ให้ดีตลอดรอดฝั่ง เพราะเมื่อตั้งครรภ์แล้วผู้หญิงจะมีการปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ การลุกการนั่งจะขยับตัวทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา จากที่ร่างกายต้องรับน้ำหนักของการตั้งครรภ์ อาการแพ้ท้อง กินไม่ได้ อาเจียน นอนไม่หลับ รวมถึงอารมณ์ที่เปลี่ยนเพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป หงุดหงิดง่ายขึ้น เสียใจง่ายกว่าเดิม ดังนั้นคุณผู้ชายจำเป็นรู้ถึงการเปลี่ยนแผลงเรื่องนี้ […]Read More
คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ‘อุตสาหกรรมพลังงาน’ คือปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ช่วยให้ภาคส่วนต่างๆ ดำเนินเติบโต ต่อไปได้ อย่างในสมัยก่อนมียุคที่เรียกว่า ‘โชติช่วงชัชวาล’ ที่เป็นผลมาจากการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เริ่มที่ ‘แหล่งเอราวัณ’ นำมาสู่การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศครั้งใหญ่ ปัจจุบัน แหล่งเอราวัณ ภายใต้การดูแลของ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้ผลิตก๊าซธรรมชาติให้กับคนไทยอย่างต่อเนื่องมาแล้ว 40 ปี และในเมษายนปีหน้า แหล่งเอราวัณจะเปลี่ยนผ่านจากเชฟรอนไปสู่ผู้ดูแลใหม่ GM ได้รับเกียรติจาก คุณชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ซึ่งเข้ามารับไม้ต่อในช่วงเวลาอันสำคัญนี้ ร่วมพูดคุย แสดงวิสัยทัศน์ ถึงทิศทางที่เชฟรอนจะก้าวต่อไปในโลกที่ตลาดพลังงานได้เติบโต เปลี่ยนแปลง การแสวงหาความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศให้ยั่งยืนสืบไป จากจุดเริ่มต้น กับเวลาเกือบ 3 ทศวรรษ ในเส้นทางสายพลังงาน ในเบื้องแรกที่ได้พบเจอ อดที่จะรู้สึกไม่ได้ว่า คุณชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง ประธานกรรมการบริหารคนใหม่ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด นั้นดูหนุ่มกว่าที่คิด เป็นความประทับใจแรกในการพูดคุยกัน แต่คำตอบที่ได้รับกลับมานั้น ทำให้ต้องแปลกใจอยู่ไม่น้อย ด้วยประสบการณ์ทำงานที่เติบโตในเส้นทางสายพลังงานมาตลอด […]Read More