fbpx

ปิยะชาติ (อาร์ม) อิศรภักดี CEO BRANDi กับบทบาท ‘ตัวแทนธุรกิจโลก’ ในเวทีสูงสุดด้านความยั่งยืนของ UN

โลกของการทำธุรกิจในอดีตไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ ล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายที่สำคัญเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือ การสร้าง ‘ผลกำไร’ แต่ในปัจจุบันจะเห็นว่าโลกกำลังเผชิญกับทั้งปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างรุนแรง ทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนทั้งวิถีและวิธีในการทำธุรกิจใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ภาคธุรกิจไม่สามารถยึดเส้นทางแบบเดิมในการทำธุรกิจเพื่อสร้างผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมี ‘ทางสายใหม่’ ที่ใส่ใจในการสร้างคุณค่าต่อผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมๆ กับการสร้างการเติบโตและผลกำไรอย่าง ‘ยั่งยืน’  GM Magazine เล่มนี้ได้รับเกียรติจากคุณปิยะชาติ (อาร์ม) อิศรภักดี CEO, BRANDi and Companies หรือ ‘BRANDi’ ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ระดับองค์กร เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตและการเติบโตอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นตัวแทนประเทศไทยไปร่วมพูดคุยในเวทีที่สำคัญระดับโลกหลากหลายเวที มาอธิบายพร้อมช่วยบอกวิธีในการติดกระดุมเม็ดแรกอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างการเติบโตของทั้งระบบนิเวศให้เกิดความยั่งยืน เหตุผลหรือแรงบันดาลใจที่ทำให้สนใจเรื่องแบรนด์ จนมาเป็น BRANDi ในทุกวันนี้  ปิยะชาติ : ผมมองว่ามนุษย์สนใจเรื่องธุรกิจโดยธรรมชาติ อย่างตัวผมที่จบด้านวิศวฯ ก็เห็นว่ามีวิศวกรจำนวนมากที่หันมาทำธุรกิจ แต่ตอนก่อนที่จะก่อตั้ง BRANDi ขึ้นมา ก็ใช้เวลาในการสำรวจธุรกิจหลากหลายรูปแบบ และสั่งสมองค์ความรู้ต่างๆ จากนั้นถึงตกผลึกว่าอะไรคือสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจจริงๆ ผมพบว่าธุรกิจในปัจจุบันมีอายุสั้นลงกว่าเดิมมาก มีงานวิจัยว่าธุรกิจจะมีอายุเพียง 2-3 ปี แตกต่างจากแบรนด์ที่เป็นสิ่งที่อยู่ได้นาน […]Read More

GLOBISH แพลตฟอร์ม ที่มอบโอกาสให้ทุกคนที่ต้องการพัฒนาตัวเอง

เด็กไทยเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เด็กก็จริง แต่สุดท้ายเมื่อเข้าสู่โลกของการทำงาน หลายคนก็ยังติดปัญหาไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้ดั่งใจ จุ๊ย – ชื่นชีวัน วงษ์เสรี Co-Founder GLOBISH สถาบันสอนภาษารูปแบบออนไลน์ อันดับต้นๆ ของไทย ในฐานะ EdTech Startup ที่มุ่งพัฒนาการศึกษาด้วยเทคโนโลยีให้เติบโตอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่ปีที่ 9 ก็เป็นคนหนึ่งที่เคยประสบปัญหาเช่นนี้ เธอและผู้ร่วมก่อตั้งจึงอยากสร้างประตูแห่งโอกาส เพื่อแก้ Pain Point ให้คนไทย แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ เส้นทางของ GLOBISH ล้มลุกคลุกคลานไม่เบา ซึ่ง 2 ปีแรกที่จับทางไม่ถูก ธุรกิจก็เกือบเจ๊ง พอทุกอย่างเริ่มจะไปได้สวย ก็มาเจอสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เหมือนจะเป็นโอกาสให้กับธุรกิจ แต่ก็ต้องเผชิญกับสารพัดความท้าทาย อะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จ ที่ทำให้ GLOBISH ข้ามผ่านอุปสรรคมานับครั้งไม่ถ้วน และ ก้าวต่อไปของ GLOBISH คืออะไร ไปหาคำตอบพร้อมกัน จากธุรกิจเพื่อสังคม สู่ “EdTech Startup” “ช่วงที่เริ่มต้น GLOBISH ก็ยังไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นสตาร์ทอัพ แต่มองว่าเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ช่วง 2 ปีแรก […]Read More

Baiya แพลตฟอร์มเทคโนโลยีการแพทย์ ยกระดับสุขภาพและชีวิตคนไทย

ใบยา ไฟโตฟาร์มเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ Deep Tech สัญชาติไทยที่ก่อตั้งมาเป็นเวลาเกือบห้าปีแล้ว ก่อนการระบาดของโควิด-19 เกิดขึ้น​ จากการพัฒนาต่อยอดงานวิจัย CU Innovation Hub ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างสรรค์เทคโนโลยีทางการแพทย์โดยใช้พืชเป็นแหล่งผลิต ‘รีคอมบิแนนท์โปรตีน (Recombinant Protein)’ ให้บริการด้านการวิจัย และพัฒนาผลิตเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ และผลิตยารักษาโรค กระทั่งมาถึงการคิดค้นวิจัยวัคซีนโควิดและล่าสุดกับชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด Baiya Rapid Covid-19 IgG/IgM Test kit™ ซึ่งใช้เทคโนโลยี Baiyapharming พัฒนาโปรตีนของไวรัส SAR-CoV-2 สำหรับใช้ในโครงการวิจัย ในโรงพยาบาล และสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ นับเป็นความภูมิใจของวงการแพทย์ไทยอย่างแท้จริง “Co-founder ในบริษัทมีสองท่านนะคะ คือรองศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลเจริญ ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยี ตัวดิฉันเองซึ่งจบปริญญาตรีจากเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาโทกับปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ทำงานวิจัยเชิงนโยบายเกี่ยวกับเรื่องราคายามานาน แล้วส่วนตัวเองก็เป็นแม่มีลูกนะคะ ไปเรียนที่ต่างประเทศจริงๆ ก็ไม่ได้อยากกลับมาเมืองไทย แต่กลับมาด้วยเหตุผลส่วนตัว พอกลับมาเมืองไทยก็รู้สึกว่าประเทศนี้แห้งแล้ง เติบโตไม่ได้ แต่อย่าลืมว่า ประเทศไม่เปลี่ยนได้ด้วยคนที่พูดหรอกค่ะ แต่เปลี่ยนได้ด้วยคนที่ลงมือทำ […]Read More

Gensurv Robotics ผู้ผลิตหุ่นยนต์เคลื่อนที่ ฝีมือคนไทย ที่ฝันอยากยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย

ในวันที่หุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น ตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน หรือแม้แต่เวลาไปใช้บริการที่ร้านอาหาร ยังไม่นับถึงโรงงานอุตสาหกรรม ที่เริ่มมีการนำหุ่นยนต์เคลื่อนที่ มาทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อก้าวไปให้ทันกับโลกธุรกิจใบเดิมที่ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป จากความสนใจ สู่ Passion ในการปั้นธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ถ้าย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว หุ่นยนต์เคลื่อนที่ ไม่เพียงเป็นเรื่องที่ดูไกลตัว และยังเป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนสูง จากจุดนี้เอง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ เปิ้ล–วีรมน ปุรผาติ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Gensurv Robotics รวมตัวกับกลุ่มวิศวกรที่ชื่นชอบและสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์เคลื่อนที่ เพื่อพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีดังกล่าว “เราเริ่มต้นจากการพัฒนาเรือหุ่นยนต์อัตโนมัติบนผิวน้ำ และ เรือดำน้ำ ที่ใช้ในการสำรวจ เพื่อลดความเสี่ยง ระยะเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพในการสำรวจ ต่อมา เราตั้งใจขยายกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้น จึงหันมาวิจัยและพัฒนาโซลูชั่นหุ่นยนต์ขนส่ง ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจโลจิสติกส์” นำ Pain Point มาต่อยอดเป็นโซลูชันที่ตรงใจลูกค้า วีรมน เล่าว่า หนึ่งใน Pain Point ของลูกค้ากลุ่มนี้ คือ ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน บวกกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ต้องทำงานในโรงงานแทบจะ 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจในยุคอุตสาหกรรม […]Read More

cWallet ตัวช่วยผู้ประกอบการไทย บริหารจัดการ Carbon footprint

ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นสัญญาณที่ทำให้ทั่วโลกต้องหันมาให้ความสำคัญกับภารกิจ ‘Net Zero Emissions’ หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 มากขึ้น แน่นอนว่า การจะบรรลุภารกิจดังกล่าวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ แต่หนึ่งในปัญหาที่ภาคธุรกิจส่วนใหญ่กำลังเผชิญคือ การขาดตัวช่วยในการบริหารจัดการปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ของการประกอบธุรกิจ (Carbon Footprint) หา Insight ก่อนออกสตาร์ทภารกิจช่วยโลก (ร้อน) จากจุดนี้เองทำให้ แนท–นัชชา เลิศหัตถศิลป์ ตัดสินใจรวมกลุ่มกับคนที่มีไอเดียตรงกันอีก 8 คน เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม cWallet ระบบติดตามและบริหาร Carbon Footprint ช่วยให้องค์กรตรวจสอบและควบคุมการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นตัวช่วยสำหรับผู้ประกอบการไทย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่ เติบโตด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เน้นความยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งในการพาประเทศไทยไปสู่เป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมาย “Net Zero Emissions” ให้ได้ภายในปี 2065 “ก่อนจะลงมือพัฒนาแพลตฟอร์ม ได้ไปคุยกับทั้งฝั่งภาครัฐและภาคธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจว่า ทิศทางของประเทศไทยจากนี้จะเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันเราต้องการรู้อินไซต์ของภาคธุรกิจว่าเขาติดปัญหาในส่วนไหน ซึ่งปัญหาที่เจอหลักๆ คือ ขาดเครื่องมือในการวัดปริมาณ Carbon […]Read More

ความสำเร็จ 3 ประการ Collaboration-Ecosystem-Internationalization ผลสำเร็จจาก “หุ้นส่วนนวัตกรรม” จากงาน SITE 2023

งานสตาร์ทอัพและอินโนเวชั่น ไทยแลนด์ เอ็กซ์โป 2023 (STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2023) หรือ SITE 2023 ภายใต้แนวคิด INNOVATION PARTNERSHIP – TOGETHER WE GROW ร่วมสร้าง “หุ้นส่วนนวัตกรรม” เพื่อนำไทยสู่ชาตินวัตกรรม ในปีนี้จบลงแล้ว พร้อมนัดหมายการจัดงานต่อเนื่องปีต่อไป ปลายเดือนมิถุนายน 2024 บทสรุปของ SITE 2023 ที่กลับมาจัดเชิงกายภาพ (On site) เต็มรูปแบบในปีนี้หลังจากห่างหายไป 3 ปี ทำให้ “หุ้นส่วนนวัตกรรม” ตามธีมที่จัด มารวมตัวกันคึกคักภายในงาน รวมแล้วในปีนี้ผู้เข้าชมงานกว่า 15,000 คน และยังคงมีการเข้าชมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ https://site.nia.or.th/ ประมาณ 300,000 คน ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมการแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวสรุปถึงงาน SITE […]Read More

Trash Lucky ความสำเร็จที่เริ่มต้นจากฟรีเทคโนโลยี

ใช้แค่ฟรีเทคโนโลยี ก็ขับเคลื่อนความสำเร็จให้สตาร์ทอัพได้ เป็นเรื่องไม่เกินจริง เพราะสิ่งสำคัญของธุรกิจสำหรับ บริษัท Trash Lucky จำกัด ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการรีไซเคิลขยะ อยู่ที่การเข้าใจลูกค้าที่เป็นศูนย์กลางทำให้ขยายขอบเขตไปสู่คำตอบในการสร้างสินค้าและบริการ จนนำไปสู่การเติบโตยิ่งกว่าก้าวกระโดด เพราะแค่เดือนแรกที่เริ่มต้นธุรกิจก็สามารถเติบโตเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ไปถึง 500% Trash Lucky ทำอะไร และทำได้อย่างไร วรวิทย์ วงษ์เล็ก (กอล์ฟ) ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท Trash Lucky จำกัด เล่าว่า ธุรกิจของบริษัทฯตั้งแต่วันแรกคือการคิดทำโครงการรีไซเคิลขยะลุ้นโชค โดยให้คนแยกขยะที่บ้านแล้วส่งมาบริจาคที่บริษัทเพื่อแลกกับคะแนนแล้วนำไปลุ้นโชค “เทคโนโลยีที่เราใช้ง่ายมา เซ็ตแพลตฟอร์มให้ลูกค้าสมัครสมาชิก​ เพื่อเก็บข้อมูลดูคนที่สมัครเข้ามาเป็นใคร ไม่มีการโปรโมตเพราะทุกคนมีของ(ขยะ) เริ่มจากบอกเพื่อนและคนรอบตัวของทุกคนในบริษัทฯเป็นลูกค้าใกล้ตัว แพลตฟอร์มที่ว่าก็คือกูเกิลฟอร์ม ใช้ฟรีใคร ๆ ก็ใช้ได้​ การสื่อสารกับลูกค้าก็ใช้อีเมลเป็นข้อมูลจริงแค่ไม่เรียลไทม์ แค่เดือนแรกที่ทำทะลุเป้าไป 500% ถือว่าเอ็มวีพีที่ประสบความสำเร็จแล้ว (MVP-Most Viable Product คือ การสร้างฟีเจอร์น้อยที่สุดเพื่อทดสอบตลาด) จากนั้นก็ค่อยๆต่อยอดทำระบบของตัวเองเพื่อขยายไปยังลูกค้ากลุ่มใหม่” วรวิทย์ กล่าว่า ระบบหลังบ้านของ Trash Lucky จะเน้นประสิทธิภาพ​ เพราะต้องการลดการปล่อยคาร์บอนให้น้อยที่สุดตามแนวทางการทำธุรกิจรีไซเคิล และทุกครั้งที่ทำอะไรใหม่จะทำเอ็มวีพีเสมอ […]Read More

BOI-MAI-สรรพากร-กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมใจส่งเสริมอินโนเวชั่นบิซเนสในไทย

งาน SITE 2023 ปีนี้ทำให้คำว่าหุ้นส่วนนวัตกรรมเป็นที่รู้จักกันทั่วไปมากขึ้น แต่หุ้นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อน ผลักดันให้สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ๆ เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ยังต้องอาศัยสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานภาครัฐช่วยสนับสนุน ซึ่ง 4 หน่วยงานสำคัญให้การขานรับมานาน อีกทั้งยังทำงานสอดรับกันที่จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมสตาร์ทอัพ​ เพื่อเป็นส่วนขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ด้วยความหวังว่าจะเพิ่มสัดส่วนของสตาร์ทอัพไทยให้มีโอกาสทางธุรกิจเพิ่มขึ้น BOI ปรับลดขนาดธุรกิจรับการส่งเสริมการลงทุน วรกาญจน์ โกศลพิศิษฐ์กุล ผู้อำนวยการกองเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI-บีโอไอ) กล่าวว่า โดยทั่วไปคนมองภาพการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจของบีโอไอไปที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ระดับพันล้านหมื่นล้าน แต่จริง ๆ แล้วบีโอไอให้การสนับสนุนการลงทุนกับธุรกิจที่มีขนาดการลงทุนตั้งแต่ 1 ล้านบาท และมีการปรับลดสำหรับเอสเอ็มอีลงเหลือเพียงการลงทุนเริ่มต้นที่ 5 แสนบาทเท่านั้นในปัจจุบัน โดยส่งเสริมในประเภทกิจการมากกว่า 400 ประเภท​ ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่าครอบคลุมทุกกิจกรรมธุรกิจที่ทำอยู่ในเมืองไทย ซึ่งสามารถเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพที่จะเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอได้ไม่ยากเช่นกัน โดยหากไม่ติดต่อด้วยตัวเอง ก็สามารถหาข้อมูลและติดต่อผ่านเว็บไซต์ boi.go.th ที่จะมีรายละเอียดขั้นตอนการขอส่งเสริมหรือขอรับคำปรึกษาไว้โดยละเอียด รวมทั้งจากการร่วมออกบูธของบีโอไอในงานต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่งาน SITE 2023 ขณะที่ความเคลื่อนไหวด้านการลงทุนที่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มสตาร์ทอัพในการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ง่ายและเร็วขึ้น โดยช่วง 1 ปีที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงาน ก.ล.ต. ร่วมกันพัฒนา ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) ขึ้น […]Read More

GISTDA จัดการปัญหา “ฝุ่น” บนโลก ด้วยนวัตกรรมอวกาศ

มีนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่บูรณณาการข้อมูลจากหลายส่วนมารวมกันเพื่อใช้วิเคราะห์หาปัญหาที่แท้จริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกทาง จนถึงขั้นนำไปสู่นโยบายการแก้ปัญหาระยะยาวเพิ่มขึ้นในหลายหน่วยงานของภาครัฐ ด้วยการนำนวัตกรรมเข้ามาเป็นหัวใจในการขับเคลื่อน เหมือนเช่นการทำงานของ GISTDA ซึ่งใช้นวัตกรรมจากอวกาศดึงข้อมูลจากดาวเทียม นำข้อมูลที่สามารถเก็บและตรวจจับได้มาวิเคราะห์เพื่อการแก้ปัญหาฝุ่นPM 2.5 หลังจากที่คนไทยเคยรู้จัก GISTDA จากการใช้ข้อมูลผ่านดาวเทียมในการแก้ปัญหาวิกฤตน้ำท่วมมาแล้วครั้งหนึ่ง ที่ทำให้การทำงานของ GISTDA ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและรู้ปัญหาที่แท้จริงร่วมกัน ซึ่งไม่เพียงทำให้คนไทยคุ้นเคยและรู้จักเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศมากขึ้น ยังทำให้ปัญหาฝุ่นที่คลี่คลายลง และเกิดแรงบันดาลใจด้วยว่า ปัญหาฝุ่นที่เคยมองว่าเกินแก้ไข มีแนวโน้มที่จะร่วมกันทำให้จบปัญหาได้ในรุ่นเราอีกด้วย ตัวอย่างการทำงานของ GISTDA และแพลตฟอร์ม Traffy Fondue และอีกหลาย ๆ แอปพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลที่ได้มาตรฐานเหล่านี้ คือผลลัพธ์ของการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สะท้อนมิติของภาครัฐที่เริ่มต้นสร้าง Open Data ที่นอกจากทำให้ประชาชนเข้าถึงได้ ยังจะนำไปสู่การพัฒนาเชิงนโยบายจากการที่ทุกคนได้รับรู้ข้อมูลตระหนักถึงปัญหาร่วมกันและเป็นแนวทางสร้างความโปร่งใสเพิ่มขึ้น จากข้อมูลที่ช่วยดึงภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามารับผิดชอบร่วมกัน จากกระบวนการมีส่วนร่วมที่หลั่งไหลเข้ามา อย่างเช่นกรณีการแก้ปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่ GISTDA จะมาเล่าให้ฟัง ทั้งยังสร้างโอกาสการพัฒนาองค์ความรู้ต่อยอดทำให้เกิดนวัตกรรมและสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นมาจากการโอกาสให้เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ฝุ่น​P.M 2.5 และการทำงานของ GISTDA ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) อธิบายลักษณะของฝุ่นรวมถึงฝุ่น​P.M […]Read More

บริหารข้อมูล สร้างสมาร์ทซิตี้ จบปัญหาเมืองด้วยแพลตฟอร์ม Traffy Fondue

เรื่องของดาต้า หรือ ข้อมูล สามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานของภาครัฐได้อย่างไร มากน้อยขนาดไหน เราจะสามารถขับเคลื่อนการแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยข้อมูลได้จริงหรือไม่ และดาต้ามีส่วนช่วยสร้างสมาร์ทซิตี้ได้อย่างไร ชวนมาดูความสำเร็จของการจบปัญหาเมืองในแพลตฟอร์มเดียวด้วย Traffy Fondue ซึ่งถือเป็นกรณีศึกษา การใช้งานที่สะท้อนให้เป็นภาพว่า การมีข้อมูลที่ดีและเข้าถึงได้ง่าย เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับการตัดสินใจแก้ปัหาและนำไปสู่การบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลกระทบสูง โดย ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม นักวิจัยอาวุโสสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แพลตฟอร์มการแก้ปัญหาเมืองที่มีชื่อเล่นว่า Traffy Fondue เกิดขึ้นมาได้ครบ 1 ปีในเดือนมิถุนายน 2566 นี้ แต่เป็นที่รู้จักจนได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมมากมาย มีเป้าหมายการพัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคล 3 ฝ่าย หนึ่ง-สำหรับประชาชนคนทั่วไปที่ต้องพบเจอปัญหาต่าง ๆ ให้แจ้งเรื่องไปยังหน่วยงานผู้ดูแลได้สะดวกและรวดเร็ว สอง-สำหรับเจ้าที่รับเรื่องและปฏิบัติงานแก้ไข เพื่อให้รับเรื่องได้อย่างรวดเร็ว และสาม-สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหาร ดร.วสันต์ เล่าว่า คอนเซ็ปต์การพัฒนาแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ใช้เทคโนโลยีหมือนกับแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร หรือเรียกรถ คือทำอย่างไรให้ผู้ใช้แจ้งปัญหาได้ง่าย คนแก้ปัญหาก็รับรู้ตำแหน่งรู้หน้างานง่าย เพื่อแก้ปัญหาเดิม ที่เวลาประชาชนพบปัญหา แค่คิดว่าจะต้องแจ้งหน่วยงานไหน แล้วแจ้งอย่างไร ต้องผ่านกี่ขั้นตอน มาเป็นป้อนปัญหาลงบนแพลตฟอร์ม […]Read More