ขุดไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต deconstructing the labyrinth จู่ๆ เธอก็โผล่เข้ามาในแวดวงวรรณกรรม พร้อมกับนวนิยายที่ทำให้หลายคนอ่านจบแล้วต้องร้องว้าว! และถามว่า “เธอเป็นใคร” ว่ากันตามจริง วีรพร นิติประภา ไม่ใช่คนแปลกหน้าของเรา เพราะย้อนกลับไปเมื่อ 3 ทศวรรษก่อน เธอคือบรรณาธิการของนิตยสารเกย์ในตำนานอย่าง ‘นีออน’ ซึ่งอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกันกับนิตยสาร ‘หนุ่มสาว’ ที่ ปกรณ์ พงศ์วราภา ปลุกปั้นมากับมือ และเป็นผู้ชักชวนเธอเข้าสู่วงการ หลังจากวนเวียนอยู่กับเรื่องราวของชายรักชายจนอิ่มตัว วีรพรออกไปหาความท้าทายใหม่ในสายงานโฆษณา ซึ่งในภายหลังเธอก็ทนกับงานพร็อพพาแกนดาแบบนั้นไม่ได้ จึงกลับมาดำรงตำแหน่ง ‘คุณนาย บ.ก.’ ให้กับนิตยสารเด็กแนวผู้มาก่อนกาล ซึ่งนั่นถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิตของเธอ จากนั้นมีอันต้องไปทำมาหาเลี้ยงชีพ และเป็นแม่บ้านสมองใส เลี้ยงลูกและเลี้ยงแมวอยู่กับบ้าน ก่อนที่เธอจะนั่งลงใช้เวลา 3 ปี กับงานอดิเรกในการสร้างสรรค์ ‘ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต’ อันเป็นนวนิยายเรื่องแรก เสียงตอบรับดีเกินคาดสำหรับผู้เขียนหน้าใหม่ มันป่าวประกาศตัวเองว่าเป็นนวนิยาย ‘น้ำเน่า’ ซึ่งดูทรงแล้ว มันก็น้ำเน่าจริงๆ นั่นแหละ เพียงแต่ถ้าคุณอ่านลงไปมากกว่านั้น คุณก็อาจจะตั้งคำถามขึ้นมาว่า ทำไมนวนิยายน้ำเน่าจะต้องพร่ำบอกย้ำๆ ซ้ำๆ ว่าตัวเองเป็นนวนิยายน้ำเน่าขนาดนั้นด้วย …นวนิยายน้ำเน่า…โฆษณาพร็อพพาแกนดา…มายาคติในวัฒนธรรมร่วมสมัย…และไส้เดือนตาบอดที่กินดิน ขี้ออกมาเป็นดิน […]Read More
POLITICAL & MEDIA LANESCAPE ส่องภูมิทัศสื่อสารและการเมืองไทย ณ ห้องประชุมในตึกสูงเด่นบนถนนบางนา-ตราด ที่เมื่อก่อนคนมักจะเรียกกันติดปากว่า ตึกเนชั่น ผู้บริหารระดับสูง 4 คน เคลียร์ทุกคิวเพื่อมานั่งคุยกับ GM เกี่ยวกับภารกิจใหญ่ครั้งใหม่ คือ ทีวีดิจิตอลที่พวกเขาเพิ่งไปประมูลมาได้ 2 ช่อง ในสนนราคากว่า 3,500 ล้านบาท และกำลังจะเริ่มออกอากาศในอีกไม่กี่วันนี้แล้ว นอกจาก สุทธิชัย หยุ่น ในฐานะหัวเรือใหญ่แล้ว อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ในฐานะกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ เนชั่น แชนแนล เทพชัย หย่อง ผู้หวนคืนรังหลังกลับมาจากไทยพีบีเอส เขาจะมาคุมช่องข่าวใหม่ และ ดวงกมล โชตะนา ผู้ดูแลกรุงเทพธุรกิจทีวี และจะมาคุมช่องสาระบันเทิงใหม่ แน่นอนว่าไม่มีใครกล้าปฏิเสธความเป็นเบอร์หนึ่งในสายข่าวของเครือเนชั่น ที่พวกเขาแสดงให้เห็นมาตลอดว่านำหน้าคนอื่น ในการนำคอนเทนต์เดินทางข้ามสื่อ GM คอยจับตาดูเขาเสมอ เมื่อมีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นในวงการ […]Read More
BE COMING WELL ROUNDED ความกลมกลืนของอุดมคติและชีวิต เราได้เห็น นิ้วกลม-สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ ในบทบาทของพิธีกรโทรทัศน์หลายรายการ ขณะที่ในบทบาทของการเป็นนักเขียน เขาก็ยังคงดำรงสถานะเป็นนักเขียนเบสต์เซลเลอร์ และจำนวนคนที่ต่อแถวขอลายเซ็นในงานสัปดาห์หนังสือก็ยังยาวเหยียดเหมือนเดิมปี 2013 ที่กำลังจะผ่านไป น่าจะเป็นปีที่นิ้วกลมก้าวขึ้นถึงจุดสุดยอดของชีวิต เขามีรายการแฟนพันธุ์แท้ตอนของตัวเอง และล่าสุดถึงกับจัดทอล์กโชว์ของตัวเองอีกด้วย ในช่วงหนึ่งของการสนทนา นิ้วกลมพูดถึงแนวคิดของปรัชญาหลังสมัยใหม่ ที่มองว่าชีวิตเราไม่ใช่ Being หรือการสถิตดำรงอยู่อย่างเดิมตลอดไป แต่แท้จริงแล้ว คนเราอยู่ในภาวะของการ Becoming หมายถึงทุกคนกำลังเปลี่ยนไปสู่อะไรบางอย่างตลอดเวลาเขาเองยอมรับว่าทุกมิติของชีวิต ก็อยู่ในภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปสู่อะไรบางอย่างตลอดเวลาเช่นกัน จุดยืนทางการเมือง ความคิดเห็นที่โพสต์ผ่านสเตตัสเฟซบุ๊ค อุดมคติส่วนตัว ความรักกับชิงชิง-แฟนสาว ความสัมพันธ์ในครอบครัวกับพ่อและแม่ เรื่อยมาจนถึงความสำเร็จ ชื่อเสียง และคำวิพากษ์วิจารณ์แรงๆ หรือเรียกง่ายๆ ว่าด่านั่นแหละ ฯลฯ คำถามที่จะตามมาคือ ณ จุดสุดยอดนี้ เขากำลัง Becoming ไปเป็นอะไร เขากำลังคิดอะไรอยู่ และจุดสุดยอดถัดไปจากนี้คือที่ไหน “ขีดจำกัดของคนเรานั้นอาจไม่ได้อยู่ที่ตัวเรา แต่อยู่ตรงที่เรายอมเสียอะไรในชีวิตไปบ้าง” เขาพูดให้เราได้ฉุกคิด เขาได้เรียนรู้ขีดจำกัด และหาวิธีใช้ชีวิตอย่างสมดุล กลมกลืน ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เขาจะบอกว่า วันหนึ่งเขาก็จะไม่ฮิต […]Read More
However mean your life is, meet it and live it. – Henry David Thoreau – ความขัดแย้งเริ่มปะทุขึ้นมาทันที ในที่ประชุมกองบรรณาธิการ GM เมื่อมีคนเสนอให้เราทำสัมภาษณ์ใหญ่ มิตซูโอะ ชิบาฮาชิ หรืออดีตพระมิตซูโอะ คเวสโก ผู้ลาสิกขาไปแต่งงานกับ สุทธิรัตน์ มุตตามะระ หรือสีกาแอน ซึ่งทั้งสองเพิ่งรู้จักกันมาได้เพียงไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น เรื่องมันมาถึงขนาดนี้แล้ว พุทธศาสนายังบอบช้ำไม่พออีกหรือ? – ฝ่ายคอนเซอร์เวทีฟแย้งมาด้วยแนวคิดประมาณนี้ หลังจากที่เรื่องราวฉาวโฉ่และคำติฉินนินทามากมาย แพร่กระจายอยู่ในโซเชียลมีเดียไปทั่ว เกี่ยวกับสีกาสาวที่ร้ายกาจ สึกพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดแห่งยุคสมัย ถึงอย่างไรก็ตาม เขามีคุณค่า ในเชิงข่าว มีฮิวแมนอินเทอเรสต์สูงที่สุดในช่วงเวลานี้นะ – ฝั่งที่ไม่สนใจคุณค่าเชิงนามธรรมใดๆ นอกเหนือจากการได้ทำหน้าที่สื่อมวลชน จะเสนอขึ้นมาแนวนี้ เพราะเห็นว่าทั้งสองคนเดินสายออกรายการทีวี ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ และนำหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คเล่มใหม่ ‘ความในใจ…อาจารย์มิตซูโอะ’ ออกวางขายอย่างเอิกเกริก ถึงอย่างไรก็ตาม คนเรามันก็เท่านี้ไม่ใช่เหรอ บางครั้งเราได้รับคำชม บางครั้งเราได้รับคำนินทา เรื่องราวในชีวิตของคนที่กำลังเจอมรสุมหนัก เราเรียนรู้ความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง […]Read More
บทสัมภาษณ์ ศศิน เฉลิมลาภ ในคราวนี้ เป็นเหมือนหนังภาคต่อจากบทสัมภาษณ์ในเล่มเดือนเมษายนที่ผ่านมา เมื่อ GM ได้ไปร่วมล้อมวงคุยกับนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมหลายท่าน โดยมีศศินร่วมเป็นหนึ่งอยู่ในนั้น GM ได้ถามถึงความหวังและอนาคตของสิ่งแวดล้อม นักวิชาการท่านอื่นบอกเล่าถึงการใช้พลังงานทางเลือก นวัตกรรมของเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงนวัตกรรมทางสังคม การรวมพลังประชาชนผ่านสื่อใหม่ๆ ที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อมและจิตสำนึกของผู้คนไปในทางที่ดีขึ้นวันนั้นศศินดูมีสีหน้าวิตกกังวล เขาบอกเล่าสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอยู่หลายจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผืนป่าตะวันตก อันเป็นฐานที่มั่นสำคัญของเขาเอง พร้อมทั้งแสดงความเหน็ดเหนื่อยกับการทำหน้าที่ของตนเอง ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ว่ายังไม่สามารถทำงานอย่างได้ผลนักเขาเปรยขึ้นมาว่าศัตรูของนักสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป เมื่อคนรุ่นใหม่มีปรัชญาแบบใหม่ รูปแบบการสื่อสารแบบใหม่ และเขากำลังตามความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ทันคอนเสิร์ตเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เขาเคยจัดแล้วได้รับการตอบรับอย่างมากในสมัยก่อน พอมาวันนี้มันกลับดูเชยสิ้นดี เช่นเดียวกันกับเรื่องจิตสำนึกและคุณค่านามธรรมทั้งหลาย ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครพูดถึงกันแล้วในยุคสมัยนี้ปรัชญาใหม่คืออะไร? … การสื่อสารใหม่คืออะไร? …GM มีโอกาสย้อนกลับมานั่งคุยกับเขาอย่างละเอียดอีกครั้ง หลังจากที่เขาเพิ่งหายเหน็ดเหนื่อยจากการเดินเท้า 13 วันเต็มๆ จากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ เพื่อรณรงค์คัดค้านรายงาน EHIA เพื่อก่อสร้างเขื่อนแห่งใหม่คณคงได้ติดตามเรื่องราวการเดินเท้าที่แสนโด่งดังครั้งนี้ และพอรู้ถึงผลดีและผลร้ายของเขื่อนแม่วงก์กันมาบ้างแล้ว GM จึงอยากชวนศศินคุยในประเด็นสิ่งแวดล้อมที่กว้างและลึกกว่านั้นวันนี้ศศินดูมีสีหน้าปลอดโปร่ง และเปี่ยมด้วยพลังในการทำงานอนุรักษ์ของเขามากขึ้น และดูเหมือนเขาพร้อมแล้วที่จะตอบคำถามเหล่านั้นอย่างชัดเจน GM: เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา คุณยังคุยกับ GM อยู่เลย ว่าคุณเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรุ่นเก่า ที่กำลังท้อถอยกับการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ ศศิน : ก็นี่แหละครับ […]Read More
INVESTIGATING INVESTIGATIVE JOURNALISM คนรุ่นเราคงไม่คุ้นเคยกับการนั่งอ่านหนังสือพิมพ์บนโต๊ะอาหารยามเช้ากันอีกต่อไปแล้ว ทุกวันนี้ เรานั่งจิบกาแฟยามเช้าแกล้มด้วยรายการคุยข่าวสัพเพเหระทางโทรทัศน์ คลอไปกับข้อมูลข่าวสารมากมายมหาศาล บนหน้าจอสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ในฝ่ามือ ทั้งที่เมื่อไม่นานมานี้ หนังสือพิมพ์เคยมีพลังอำนาจล้นเหลือ มันมีเสน่ห์ตรงที่ความมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ มันเคยเป็นที่พำนักของข่าวเจาะ ข่าวซีฟ ข่าวสืบสวนสอบสวน และความคิดเห็นอันหลากหลาย เราเคยได้เติมอาหารสมองในยามเช้าด้วยข่าวและข้อเขียนชั้นดีจากที่นี่อิทธิพลของหนังสือพิมพ์ในการกำหนดประเด็นทางสังคมกำลังเสื่อมคลายลง พร้อมๆ กับพลังในการทำข่าวแบบเจาะลึกถึงกึ๋นของนักข่าวก็ลดน้อยถอยลงไปเช่นกัน ในขณะที่สื่ออื่นๆ แทรกเข้ามาในชีวิตประจำวันเรามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกสื่อใหม่ที่ส่งสารผ่านช่องทาอิเล็กทรอนิกส์ล้วนๆ อย่างอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียแล้วข่าวและข้อเขียนชั้นดี จะไปอยู่ที่ไหนล่ะ?ในเช้าวันนี้ ทีมงาน GM ทิ้งหน้าจอทีวีอันคุ้นเคย และเก็บดีไวซ์ทุกชนิดใส่กระเป๋าไว้ เพื่อจะได้มีสมาธิในการจิบกาแฟ แกล้มบทสนทนากับ ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ เพื่อหาคำตอบนี้เขาคือนักข่าวชั้นครู อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชนและประชาชาติธุรกิจ หลังจากที่ถูกให้ออกจากตำแหน่งมาเมื่อสองปีก่อน ในปัจจุบันเขาเป็นผู้อำนวยการสถาบันอิศราผลงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนของตัวเขาและทีมงาน ที่สะท้านสะเทือนสังคมไทย ยกตัวอย่างเช่น การเปิดโปงทุจริต ส.ป.ก. 4-01 ในปี 2537 ข่าวการทุจริตธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ เปิดโปงการแจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สินเท็จของนักการเมือง และเปิดโปงการซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ได้กระทำผิด และเป็นที่มาของประโยค ‘บกพร่องโดยสุจริต’ ถึงแม้ห้องทำงานของสำนักข่าวอิศราจะคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นหมึกและกระดาษ กองหนังสือและเอกสารทับถม มีเครื่องพิมพ์ดีดเก่าๆ วางกองอยู่ที่มุมห้อง […]Read More
ในห้องทำงานของ เกรียงไกร กาญจนะโภคิน มองผ่านกระจกหน้าต่างออกไป เห็นท้องฟ้ายามเย็นที่ฉ่ำฝนมาหลายชั่วโมงแล้ว แน่นอนว่าตอนนี้ข้างนอกคงรถติดสาหัส ทีมงาน GM จึงไม่จำเป็นจะต้องรีบร้อนอะไร เราอยากจะใช้เวลานั่งคุยและชักภาพเขาให้นานขึ้นอีกสักหน่อยมีกีตาร์เบสเกือบสิบตัววางเรียงเป็นตับอยู่ด้านข้างโต๊ะทำงานตัวใหญ่ “เพราะเห็น พอล แม็กคาร์ตนีย์ เล่นเบสแล้วเท่นี่แหละ เป็นแรงบันดาลใจให้ผมหัดเล่นเบส” เกรียงไกรพูดพลางหยิบเบส Rickenbacker 4001 C ขึ้นมาสะพาย เขาไปนั่งผ่อนคลายอารมณ์ที่ริมหน้าต่างการเล่นเบสมีความหมายอะไรซุกซ่อนอยู่อีกหรือเปล่า? เบสเป็นเครื่องดนตรีที่คอยนำทางและเกื้อหนุนให้เครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ โดดเด่นขึ้นมา ในขณะที่ผู้เล่นเบสมักจะยืนอยู่แถวหลัง และในเงามืดบนเวที GM ถามเขา “ผมแค่ไม่ชอบจำโน้ต เล่นเบสจึงสนุกกว่า จำแค่โครงสร้างคร่าวๆ แล้วก็ไปแจมกับคนอื่นได้หมด” เขาเล่าถึงการตั้งวงดนตรีเล่นสนุก เพื่อสันทนาการกันภายในบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ ประสบความสำเร็จแบบดาวรุ่งพุ่งแรง มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2533 เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นไปถึงจุดหนึ่ง ก็แตกตัวออกมาเป็นบริษัทย่อยๆ อีก 17 ธุรกิจในเครือ จนกลายเป็นอาณาจักรของธุรกิจงานอีเวนท์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย เกรียงไกรลุกขึ้นแล้วเดินไปหยิบกรอบรูปมายื่นให้เราดู เป็นกระดาษหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นหน้าหนึ่ง ที่เขาตัดเก็บไว้ตั้งแต่เมื่อเกือบสิบปีก่อน ภาพเขากำลังประสานมือกับน้องชายฝาแฝด เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน “น้องชายผมชอบเล่นกีตาร์” เขาเล่าถึงน้องชายที่ต้องเดินทางไปๆ มาๆ ต่างประเทศ […]Read More
IS THE PUNCH BOWL STILL HERE? เศรษฐกิจไทย ห้ามกะพริบตา!! “… to take away the punch bowl just as the party gets going.” | วิลเลียม แมคเชสนีย์ มาร์ติน ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ในยุคทศวรรษ 1950s | ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อ้างถึงคำกล่าวนี้ขึ้นมา เมื่อถูก GM ถามถึงจุดยืนและหลักการของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการกำหนดนโยบายทางการเงิน ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเราทุกคน ในช่วงที่ผ่านมา นักธุรกิจและนักการเมืองส่วนหนึ่ง มองผู้ว่าการฯ คนนี้ ว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาค่าเงินบาทแข็งเกินไป ด้วยการปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศสูง ในทางตรงข้าม นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งกลับสนับสนุนแนวทาง ที่พยายามจะรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในประเทศ โดยใช้ดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมืออย่างเคร่งครัด รัดกุม ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ อาจจะยังไม่เข้าใจเลยว่าค่าเงินแข็งและดอกเบี้ยจะส่งผลต่อปากท้องของตนเองอย่างไร ความยากลำบากอยู่ตรงนี้! ท่ามกลางกระแสความร้อนแรงของเศรษฐกิจไทย […]Read More
ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก และท่ามกลางความร้อนแรงของเศรษฐกิจไทย ที่หลายคนกำลังเฝ้ามองด้วยสายตาหวาดระแวงบทความเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ที่อ่านเข้าใจง่ายหลายชิ้น จากคมความคิดของ ดร. วิรไท สันติประภพ ได้ถูกกล่าวถึง และถูกส่งต่ออย่างแพร่หลายอยู่ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง บทเรียนจาก Mugabe, คำตอบจากสแกนดิเนเวียนโมเดล, Need or Greed? คำถามสำคัญจากองค์ทะไลลามะ ดร. วิรไท สันติประภพ เป็นนักเศรษฐ-ศาสตร์หนุ่มรุ่นใหม่ ได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘นักเศรษฐศาสตร์พเนจร’ ให้สอดคล้องกับชื่อคอลัมน์ที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เขาเคยมีประสบการณ์การทำงานที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หลังจากที่จบปริญญาเอกมาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก่อนที่จะกลับมาทำงานในเมืองไทย เป็น Think Tank ให้กับ ธารินทร์ นิมมาน- เหมินท์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัยที่ประเทศไทยกำลังจมจ่อมอยู่ในวิกฤติต้มยำกุ้ง หลังจากนั้นเขามีประสบการณ์ทำงานในภาคเอกชนมาอย่างโชกโชน จนล่าสุด เขาลาออกจากงานประจำเหล่านั้นมาเกือบครึ่งปีแล้ว โดยยังเหลืองานพาร์ตไทม์ ช่วยเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชนบางแห่งและที่ทีดีอาร์ไอ นอกจากนี้ก็ทำงานเพื่อสังคม ให้กับมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ มูลนิธิอานันทมหิดล หอจดหมายเหตุพุทธทาส เป็นกรรมการให้แอร์เอเชียฟาวน์เดชั่น ที่มาเลเซีย และเป็นกรรมการกำกับดูแลกิจการขององค์การอนามัยโลก ที่กรุงเจนีวาเขาบอกว่าการได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์พเนจรแบบนี้ อาจจะช่วยให้เขาสามารถค้นหาคุณค่าที่แท้จริงของการเป็นนักเศรษฐ-ศาสตร์ เป็นโอกาสที่เขาจะได้ใช้ความรู้ทางด้านนี้ มาทำงานวิชาการที่มีประโยชน์อย่างแท้จริงกับโลกและผู้คนรอบตัว GM: งานวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ […]Read More
คุยทุกเรื่องในขีวิติที่ผ่านมา ผมเคยใช้ชีวิตแบบ ‘เยอะ’ และ ‘มาก’ มาก่อน ซึ่งต่อมาผมพบว่าชีวิตอย่างนั้นมัน ‘เหนื่อย’ และ ‘รกรุงรัง’ เกินไป ผมจึงค่อยๆ ลองลดทอนและปรับเปลี่ยนชีวิตกลับคืนสู่ความเรียบ-ง่าย-น้อย ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้ผมรู้สึกเบา สบาย ไม่วุ่นวาย และมีความสุข จากบทส่งท้ายในหนังสือ Try โดย วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ไม่น่าเชื่อ! ชายหนุ่มตรงหน้าเรา คนที่เคย ‘เยอะ’ และ ‘มาก’ คนนี้กำลังพูดถึงเงื่อนไขในการมีความสุข 4 ข้อของอัลแบร์ต กามูส์ ถ้าคุณจำได้ 10 กว่าปีก่อน เขายังเคยบอกใครๆ ว่าเขาเหมือน เจอร์รี่ แม็คไกวร์ ตัวละครที่แสดงโดย ทอม ครูซ ชายหนุ่มผู้ตกงานกะทันหัน และต้องพยายามไขว่คว้าดิ้นรน เพื่อให้ประสบความสำเร็จ ชั่วลัดนิ้วมือ จากเจอร์รี่ แม็คไกวร์ เขาจะกลายเป็นอัลแบร์ต กามูส์ ไปได้อย่างไรกัน? เงื่อนไขที่จะมีความสุขของกามูส์ มีอยู่ด้วยกัน 4 ข้อ […]Read More