เป็นเวลานับร้อยปี ตั้งแต่มีประดิษฐกรรมที่เรียกว่า ‘เครื่องบิน’ จากมันสมองและสองมือของพี่น้องตระกูลไรท์ ผู้ใฝ่ฝันว่ามนุษยชาติจะสามารถโบยบินบนท้องนภาได้อย่างเสรีเยี่ยงนก และทลายขีดจำกัดด้านพรมแดน ย่นระยะเวลาแห่งการเดินทางจากเดือน เหลือเพียงวัน และชั่วโมง มาในปัจจุบัน ประดิษฐกรรมนั้น ถูกพัฒนา ทั้งด้านศักยภาพ ขีดความสามารถ และประสิทธิภาพ จนกลายเป็นอีกหนึ่งวิธีการเดินทางที่เป็นเรื่องสุดแสนจะธรรมดาสามัญ ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต่างต้องมี เพื่อให้สามารถติดต่อค้าขาย ไปมาหาสู่กันได้อย่างอิสระ และ ‘การบินไทย’ สายการบินแห่งชาติ สายการบินของคนไทย ก็ไม่ต่างกัน เป็นเวลาถึงหกทศวรรษ ที่การบินไทย ได้รับใช้และเป็นหน้าตาให้แก่ประเทศ โบกธงไทยลัดฟ้าไปสร้างความภาคภูมิใจแก่คนไทย ทั้งมาตรฐานการให้บริการ ความสามารถในการขับขี่ จนถึงประสิทธิภาพของเครื่องบินที่ไม่เป็นสองรองใคร หากแต่ในสภาวะวิกฤติ COVID-19 ที่กำลังสุมรุมเร้า ก่อให้เกิดสภาวะชะงักงันทั้งภาคสังคม เศรษฐกิจ และการค้าขาย ธุรกิจการบินคือหนึ่งในภาคที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วง และการบินไทยก็กำลังถูกท้าทายด้วยบททดสอบครั้งสำคัญอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เมื่อผลประกอบการลดลง ขนาดองค์กรที่มีองคาพยพเกินจะแบกรับ ในเวลาที่เชื้อร้ายยังต้องอยู่กับเราไปอีกโดยไม่รู้เท่าไร การบินไทย จะฝ่าฟันวิกฤตินี้ออกไปอย่างไร และจะผงาดมาเป็นองค์กรแบบไหน หลังเวลาอันยากลำบากสิ้นสุดลง GM Magazine ได้รับเกียรติอย่างสูง ที่ได้ร่วมพูดคุยกับ ชาญศิลป์ ตรีนุชกร การกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ […]Read More
ท๊อป-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์หรือ ‘Bitkub’ แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล หรือ ‘Cryptocurrency’ ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ เมื่อปีที่แล้ว GM ได้พูดคุยกับหนุ่มคนนี้ในหัวข้ออันหลากหลาย ทั้งชีวิต ความฝัน มุมมองต่อเทคโนโลยี และความเชื่อมั่นที่มีต่อสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งจะมาเปลี่ยนแปลงโลกแห่งการเงิน เป็นเนื้อหาที่ต้องยอมรับว่า ช่วยเปิดโลกและความเข้าใจใหม่ๆ เป็นอย่างยิ่ง มาในวันนี้ สถานการณ์โลกเปลี่ยน เศรษฐกิจเปลี่ยนผลกระทบจาก COVID-19 ที่เคยเป็นเพียง ‘ไข้ไร้ชื่อ’ กลายเป็นวิกฤติระดับโลกที่มวลมนุษยชาติอาจต้องอยู่กับการแพร่ระบาดนี้ไปอีกระยะหนึ่ง ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจใหญ่น้อย แต่เงินตราและสินทรัพย์ดิจิทัลกลับยังคงเคลื่อนตัวไปอย่างไม่หยุดนิ่งและรวดเร็ว นั่นคือเหตุผลที่ทางทีมงานกองบรรณาธิการได้เชิญท๊อป-จิรายุส มาพูดคุยกันอีกครั้ง หลังผ่านไปเพียง 1 ปี เกี่ยวกับความคืบหน้าในการบริหารงาน มุมมองที่มีต่ออนาคต ของเงินตราสกุลดิจิทัล และโลกทัศน์ เมื่อบริษัทเติบโตมากขึ้นและมีสิทธิ์ที่จะกลายเป็น ‘บริษัท Unicorn’ ตัวแรกของประเทศไทย เขาคนเดิม กับมุมมองใหม่ๆ ที่ GM พร้อมใจนำเสนอในบทสัมภาษณ์บรรทัดต่อไป… ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา นอกเหนือจาก Bitkub แล้ว ทำอะไรอย่างอื่นอีกบ้างท๊อป-จิรายุส: หลักๆ จะเกี่ยวข้องกับ […]Read More
ความตื่นตัวทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางที่เกิดขึ้นทั่วโลก และประเทศไทยเองก็ให้ความใส่ใจกับทิศทางดังกล่าวอย่างไม่ได้นิ่งนอนใจ ซึ่งหน่วยงานที่กำหนดแนวทาง รวมถึงนโยบายเพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่าง ‘สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม’ ก็ได้ทำหน้าที่นี้อย่างต่อเนื่อง รอบด้าน และพิจารณาทุกปัจจัยอย่างถี่ถ้วน หากแต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่มีพลวัตซับซ้อน ทิศทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน การใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่จริงจังยิ่งกว่าที่เคย รวมถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้สิ่งที่เคยง่าย ยากขึ้นอย่างทวีคูณ เช่นนั้นแล้ว นโยบายที่ออกไป จึงต้องมีความละเอียดอ่อน และผ่านการคิดอย่างพิเคราะห์ยิ่งกว่าเดิม และผู้ที่จะให้คำตอบได้ดีที่สุด คงหนีไม่พ้นผู้ที่เกี่ยวเนื่องกับการกำหนดนโยบายโดยตรง ซึ่ง GM Magazine ได้รับเกียรติจาก มนต์สังข์ ภู่ศิริวัฒน์ รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มาร่วมพูดคุย รวมถึงให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน กับแนวทางการกำหนดนโยบาย และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดของประเทศไทยในภายภาคหน้า ซึ่งน่าจะช่วยให้เห็นภาพของสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น GM : หน้าที่ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมในส่วนใดบ้าง มนต์สังข์ : หลักๆ คือการออกนโยบายให้คนไปปฏิบัติตาม เช่น กรมควบคุมมลพิษ ต้องมีแนวทางที่ทำให้ไม่เหลือขยะตกค้าง เป็น ‘Zero Waste’ โดยแท้จริง หรือว่ากันตามมติรัฐมนตรี แต่ทั้งนี้ ทางสำนักฯ ไม่สามารถไปออกเป็นกฎเพื่อบังคับใช้ได้ ทำได้แค่เพียงกำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติแต่เพียงเท่านั้น ซึ่งก็ต้องขึ้นกับภาคส่วนต่างๆ […]Read More
เรื่อง: แซม ตันสกุล เข้าสู่ปี 2022 เห็นได้ชัดว่าโลกการเงินเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก เป็นโลกที่ต้องเร่งตามให้ทัน หากยังจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อการบริโภค ชำระเงิน โอนเงินทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะ SME หรือธุรกิจขนาดใหญ่ก็จำเป็นต้องเข้าใจและเข้าถึงโลกการเงินให้ทันอยู่เสมอ ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในโลกการเงินอย่างมาก จนหลายๆ ประเทศแอบอิจฉา หลายครั้งเมื่อผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมหรือไปพูดในงานสัมมนาที่ต่างประเทศ ก็จะกล่าวถึงเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology or Fintech) ในประเทศไทยอยู่บ่อยครั้ง และมักจะได้รับเสียงชื่นชมว่า ประเทศไทยเรานั้นเหนือกว่าประเทศอื่นๆ อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะสงสัยว่าเรื่องจริงหรือไม่ ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ เช่น พร้อมเพย์ (PromptPay) บริการโอนเงินและรับเงินที่แทบทุกคนต้องเคยใช้ ก็เป็นเทคโนโลยีแรกในการโอนเงินด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือหมายเลขบัตรประชาชน ที่ทำให้ธุรกรรมการเงินของคนไทยสะดวกขึ้นมาก โดยที่สิงคโปร์ เจ้าพ่อเรื่องการเงินก็พัฒนาและออก PayNow หลังจากนั้นในอีก 2 ปีต่อมา หรืออย่างเช่นในตอนนี้ที่ทุกคนสามารถเปิดบัญชี สมัครบัตรเครดิต หรือสินเชื่อผ่านโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชัน ด้วยเทคโนโลยี e-KYC (Know Your Customer) ที่มีชื่อเป็นทางการว่าNational Digital ID (NDID) ซึ่งพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของบล็อกเชน (Blockchain) […]Read More
สุขภาพร่างกายที่ดี คือสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต การพักผ่อนที่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่สมดุล การควบคุมกิจวัตรในแต่ละวัน ทุกสิ่งต้องประกอบควบคู่กันจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้ อย่างไรก็ตามเรื่องของ โรคภัยและความเจ็บป่วย คือเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นปกติ และถ้าไม่หนักหนาจนเกินไปแล้วละก็ ‘ร้านขายยา’ จะเป็นที่พึ่งพิงแรกของผู้ป่วยซึ่งจะเดินเข้าไปปรึกษาและซื้อหาเวชภัณฑ์เพื่อบรรเทาอาการในเบื้องต้นให้ทุเลาลง หากแต่ความรวดเร็วในสังคม ความซับซ้อนของโรคที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้การไปร้านขายยา เริ่มเป็นสิ่งที่ห่างไกล ไม่นับรวมคำแนะนำจากเภสัชกรผู้ชำนาญการ ในการวินิจฉัยโรคประจำบ้านเบื้องต้น แทนการไปพบแพทย์ตามสถานพยาบาล ซึ่งต้องได้มาตรฐาน และถูกต้องเหมาะสม และนั่น คือปณิธานสำคัญ ของบริษัท เฮลท์ลีด จำกัด (มหาชน) เจ้าของแบรนด์ร้านขายยา ‘iCare’, ‘Pharmax’, ‘Vitaminclub’ และ ‘Superdrug’ ที่ เภสัชกรธัชพล ชลวัฒนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ยึดถือเป็นแนวทาง และได้มาร่วมพูดคุยกับ GM Magazine ในแง่มุมต่างๆ ทั้งฟังก์ชันของร้านขายยาในปัจจุบัน ทิศทางการดำเนินงานของบริษัท และเป้าหมายเมื่อบริษัทเข้าสู่ความเป็นมหาชน ร้านยา และบทบาทของเภสัชกร ขึ้นชื่อว่าร้านขายยา แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คน ไม่ว่าจะในระดับใด แต่ในทางหนึ่ง ก็ชวนให้สงสัยไม่ได้ ว่าในกระบวนการทำงานของเภสัชกรในร้านขายยา แตกต่างจากการไปพบแพทย์ตามสถานพยาบาลมากน้อยแค่ไหน […]Read More
ถ้าหากจะกล่าวกันถึง ‘งานเขียน’ และ ‘งานภาพ’ แล้วนั้น แม้จะมีวิธีการ และขั้นตอนที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองศาสตร์ ก็มีจุดร่วมแก่นกลางที่คล้ายคลึงกัน คือการเรียบเรียงสิ่งที่อยู่ในมโนสำนึก และจินตภาพ จากสิ่งที่ผู้ทำงานนั้นคุ้นเคย ให้ออกมาอยู่ในสิ่งสำเร็จสุดท้าย ที่ผู้เสพรับ จะสามารถมีส่วนร่วม และนึกตามได้ งานเขียน เขียนเพื่อให้ผู้อ่านนึกภาพตาม และ งานภาพ ลงเส้นเพื่อให้ผู้พบเห็น ได้นึกเรื่องราวที่อยู่ในแต่ละเส้นสายและสีสัน … แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าหาก ‘งานเขียน’ บางชิ้น ก่อกำเนิดขึ้น จากจินตนาการถึงสิ่งที่ไม่อยู่ในสำนึกของคนปกติทั่วไป? จะเป็นอย่างไร ถ้าหากผู้เขียนงานชิ้นนั้น ไต่เส้นแห่งความบ้าคลั่ง เดินทางไปสู่ห้วงมหรรณพอนธกาล ที่ไม่เคยมีใครไปถึง? และจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าหากจะมีคนพยายามตีความสภาวะอันคลุ้มคลั่งเหล่านั้น ให้ออกมาเป็น ‘เส้นสาย’ แห่งงานภาพ? ทุกอย่างดูซ้อนทับ สับสน และย้อนแย้ง แต่นั่น อาจจะเป็นคำจำกัดความที่ชัดเจนที่สุด ของงานเขียน และงานภาพในสาย ‘Cosmic Horror’ หรือที่เรียกกันว่า ‘ความบ้าคลั่งแห่งจักรวาล’ อันเป็นงานสุด Niche ที่เริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดมากขึ้น จากความนิยมที่มีต่อนวนิยายสายจักรวาลบ้าคลั่งของ ‘Howard […]Read More
ในภาวะที่เศรษฐกิจยังคลุมเครือจากพิษ COVID-19 หลายธุรกิจเข้าสู่ขาลงแบบจำใจ แต่กับธุรกิจขนส่งกลับมีแต่สดใส ส่วนหนึ่งเป็นผลพลอยได้จากการโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจอีคอมเมิร์ซและช้อปปิ้งออนไลน์ต่างๆ อย่างที่รู้ๆ กัน ผู้คนเลี่ยงออกจากบ้านเพราะไม่อยากเสี่ยงรับเชื้อ COVID-19 โดยไม่จำเป็น แต่การจับจ่ายยังอยู่ ‘ธุรกิจ’ และ ‘ชีวิต’ (สายช้อป) จึงหันมาพึ่งพาบริการ ‘สั่งซื้อสินค้าส่งตรงถึงมือ’ ที่ครั้งหนึ่งเป็น ‘ทางเลือก’ แต่วันนี้กลายเป็น ‘ความเคยชิน’ ไปซะแล้ว จึงไม่แปลกที่ธุรกิจโลจิสติกส์ยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งแบบ B2B หรือ B2C จะหันมาเทน้ำหนักในการนำเทคโนโลยีมาช่วยเสริมศักยภาพ ไม่ใช่แค่ส่งสินค้าได้ทันใจความต้องการของผู้บริโภคเท่านั้น แต่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนด้วย SKYFROG จึงเป็นเต็งหนึ่งของซอฟต์แวร์โลจิสติกส์บริหารจัดส่งสินค้า ในรูปแบบแอปพลิเคชันที่เข้ามาเติมเต็มช่องว่างนี้ ด้วยจุดเด่นการเป็น AI การเป็น Vehicle Routing Planning (VRP : ระบบคำนวณหาเส้นทางอัตโนมัติ) โลจิสติกส์ : ธุรกิจไม่มีวันตาย ความน่าสนใจของ SKYFROG ไม่ได้โดดเด่นเรื่องระบบเท่านั้น แต่เป็นเทคโนโลยีที่ริเริ่มและพัฒนาโดยฝีมือคนไทย ยืนหยัดในวงการโลจิสติกส์มานานกว่า 7 ปี ตั้งแต่ยุคที่ธุรกิจขนส่งยังไม่บูมเท่าทุกวันนี้ และคำว่า ‘ไทยแลนด์ […]Read More
ในโลกยุคปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า แนวทาง ‘ประชาธิปไตย’ เป็นรูปแบบการปกครองที่ถูกยอมรับในระดับสากล ในการแก้ไขปัญหา การปกครอง และการสร้างสังคมที่ทั่วถึงกันในบริบทที่หลากหลาย ทั้งเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของประชาชน แต่กระนั้นแล้ว สำหรับประเทศไทย วิวัฒนาการของประชาธิปไตยก็ยังคงมีส่วนที่สามารถปรับปรุง เรียนรู้ และแก้ไข เพื่อให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ที่ถาโถม และรวดเร็วในด้านต่างๆ ไม่นับรวมความขัดแย้งที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้ ที่ไม่มีทีท่าว่าจะจบสิ้นลงไปได้ง่ายๆ และ ‘สถาบันพระปกเกล้า’ ก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยวิชาการ ที่ยืนหยัดเพื่อทำการศึกษา วิจัย และพัฒนาแนวทางแห่ง ‘ประชาธิปไตย’ ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ อย่างแข็งขันโดยตลอดมา GM ได้รับเกียรติอย่างสูง จาก ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ที่ได้มาร่วมพูดคุยถึงแนวทางในการบริหารงานสถาบัน รูปแบบการจัดการเรียนการสอน และเป้าประสงค์ที่สถาบันพร้อมจะมุ่งหน้าไป พร้อมบทสัมภาษณ์ ‘ผู้ร่วมเรียนในสถาบัน’ จากหลากหลายสายวิชาชีพ เพื่อไปสู่หนทางแห่ง ‘ประชาธิปไตย’ ที่ตอบสนองต่อยุคสมัยได้อย่างเท่าทัน GM:หน้าที่ของอาจารย์ในฐานะเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ศาสตราจารย์วุฒิสาร: ในประเด็นนี้ เราอาจจะต้องพูดกันถึงเรื่องของขอบเขตอำนาจหน้าที่ของสถาบัน ซึ่งผมในฐานะเลขาฯ ก็มีหน้าที่ดำเนินนโยบายให้เป็นไปตามแผนและยุทธศาสตร์ของสถาบัน ซึ่งก็คือพัฒนาระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยผ่านเครื่องมือของการศึกษาอบรมให้กับบุคลากร ไม่ว่าจะวงงานรัฐสภา ข้าราชการ […]Read More
ในโลกยุคปัจจุบัน ที่ทุกสิ่งเคลื่อนตัวไปอย่างรวดเร็ว ข่าวสาร ความเป็นไป และกระแสของสิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาในแต่ละช่วงเวลา ไหลบ่าท่วมท้น จนหลายสิ่งกลายเป็น ‘ความธรรมดา’ และผู้คนโหยหา ‘ความพิเศษ’ แม้จะเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย ถวิลมองสีสันใหม่ๆ แม้จะเป็นระยะสั้นๆ เมื่อสิ่งเก่าเริ่มชืดชา และหลบหายจากไป ‘ความธรรมดา’ กลายเป็นสิ่งที่ดูไม่พึงปรารถนา ในสังคมที่ทุกคนอยากจะเป็น ‘ใครสักคน’ ที่ ‘ไม่ธรรมดา’ และได้รับการเหลียวมองกลับมาบ้าง … แต่ก็อีกหลายครั้งเช่นกัน ที่ความ ‘ธรรมดา’ อันแสนเรียบง่าย สามารถยืนหยัดครองใจ แม้จะไม่มีย่างก้าวที่ฉับไว แต่เดินไปอย่างมั่นคง แข็งแรง ชัดเจนในจุดยืน และสร้างพื้นที่ส่งต่อคุณค่าจากรุ่นสู่รุ่น แม้ต้องใช้เวลา และไม่อาจเห็นผลได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้น ก็คุ้มค่าและยั่งยืน เช่นเดียวกับแบรนด์ ‘นันยาง’ ผู้ผลิตรองเท้านักเรียน ‘นันยาง’ และรองเท้าแตะ ‘ช้างดาว’ ที่ยึดมั่นใน ‘ความธรรมดา’ แต่ครองใจผู้บริโภคมากว่าเจ็ดสิบปี ซึ่ง GM Magazine ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ดร.จักรพล จันทวิมล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท […]Read More
การตกอยุ่ในสถานการณ์ของความเป็นคุณแม่เลี้ยงเดียวนั่นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินที่จะรับมือ เพราะเมื่อสภาพการณ์ต่างๆ ทำให้ต้องตัดสินใจไปในทิศทางนั้น การนั่งจมอยู่กับความคิดความผิดหวังและ เสียใจอยู่กับความผิดพลาดไม่ใช่ทางออกที่ดีต่อทั้งตัวเองและลูกๆ แต่การลุกขึ้นมาแล้วจัดการชีวิตโดยมองโลกจากความเป็นจริงต่างหากที่จะทำให้ทุกอย่างดำเนินไปได้ เช่นเดียวกับสาวสวยบุคลิกสดใสคนนี้ บุ๊ง กัณฐมณี เชาวนธำรง บล๊อกเกอร์และ YouTuber ด้านอาหาร และ lifestyle ภายใต้ชื่อ Close To Heaven Blog: https://www.closetoheavens.com FB Fanpage: https://www.facebook.com/closetoheavenblog YouTube channel: https://www.youtube.com/c/BoonkCloseToHeaven ที่ทั้งตระเวณชิมอาหาร ท่องเที่ยว ทำอาหาร ขนม เบเกอรี่ พร้อมกับการทำ homemade bakery ขายทาง online ร้านเบเกอรี่ https://www.facebook.com/closetoheavenbakery โดยที่ก่อนหน้าที่คุณบุ๊งจะผันตัวเองมาเป็นบล๊อกเกอร์สาวจนเป็นที่รู้จักของสายนักชิมอย่างทุกวันนี้ เธอเคยทำงานด้านฝ่ายบุคคล หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า HR ที่ Maersk Group Thailand บริษัทเดินเรือยักษ์ใหญ่จากเดนมาร์ก แล้วไปศึกษาต่อปริญญาโท แต่เธอเรียนไปได้เพียงครึ่งทางก็ต้องกลับประเทศไทยเพราะเศรษฐกิจไม่ดี โดยเธอได้เข้ามาช่วยงานบริษัทของทางบ้านซึ่งทำธุรกิจขายเหล็กก่อสร้าง และหลังจากแต่งงานมีลูกคุณบุ๊งวางมือทุกอย่างเพื่อออกมาเลี้ยงลูกเป็น […]Read More