เรื่อง : สุชา ภาพ : ตะวันวาด วนวิทย์ เพราะ ‘สี’ ส่งผลต่ออารมณ์ สมุดสีแพนโทนที่เห็นจึงเป็นอาวุธที่ ไผ่-พงศ์รพี จีนาพันธุ์ ใช้มันต่อกรกับงานออกแบบในฐานะที่ปรึกษาและสร้างสรรค์ หรือ Brand Creator ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการสร้างยอดขายให้หลากหลายธุรกิจ SME รวมถึงองค์กรชั้นนำ “ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้คือแมวที่ดี” นี่เป็นประโยคจดจำของท่านผู้นำ ‘เติ้ง เสี่ยวผิง’ ที่เขาใช้มันเป็นคัมภีร์ในการทำงานออกแบบ โดยเจ้าตัวสรุปเป็นประโยคท่องขึ้นใจสำหรับตัวเองและทีมว่า ‘อย่าแค่สวย ต้องขายได้’ ซึ่งการจะขายได้หรือขายไม่ได้สำหรับไผ่ เขาเชื่อมาโดยตลอดว่าขึ้นอยู่กับอารมณ์“ง่ายๆ เลยนะครับ เรามีเวลาแค่ 3 วินาทีแรก ให้เขาชอบแล้วซื้อเลย แน่นอน, มันต้องมี Visual ก่อน เวลา 3 วินาที ต้องสะกดและทำหน้าที่ Visual Hook คือเกี่ยวตาเอาไว้ให้ได้ เพราะถ้าใช้เวลามากกว่านี้คนจะเริ่มสับสน “แน่นอน, ลูกค้าหยิบของจากเชลฟ์ขึ้นมาโดยสัญชาตญาณคือเห็นแล้วปิ๊ง ถ้าตัดสินใจซื้อ นั่นคือเราประสบความสำเร็จ งานออกแบบ มันเรียกร้องความสนใจได้” แปลความได้ว่า […]Read More
เรื่อง : สันทัด โพธิสา ภาพ : อนุวัตน์ เดชธำรงวัฒน์ ช้าก่อนครับ…อย่าเพิ่งก้มลงมองเบื้องล่างอย่างนั้น มันก็ไม่ผิดอะไรหรอก ที่จะมองอาวุธสุดเลิฟชิ้นนั้น ทว่าอาวุธรักสำหรับผู้ชายในที่นี้ เรากำลังหมายถึง เครื่องไม้เครื่องมือที่ผู้ชายใช้มันในการประกอบอาชีพ พัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จที่มุ่งหวังเคลียร์นะครับ,และเอาเป็นว่า GM ขอชวนคุณมาเปิดคลับเล็กๆ ที่เราเชื้อเชิญหนุ่มๆ ที่มีความน่าสนใจ โดยเฉพาะอาชีพของพวกเขาที่ต้องมี ‘อาวุธรัก’แน่นอน, พวกเขาใช้มันทำมาหากิน ประการที่สำคัญกว่านั้น แม้มันจะไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่เคยเปล่งเสียงวาจาใดๆ ออกมาให้เป็นเรื่องหลอนๆ ทว่า ‘อาวุธรัก’ ก็ได้สอนอะไรต่อมิอะไรให้กับหนุ่มๆ เหล่านี้ มากมายหลายอย่างเชียวละครับ… อาวุธรักในซีเมเจอร์ 4 ปีเศษ นับตั้งแต่ออกอัลบั้มชุดแรก Cyantist ผู้คนทำความรู้จักกับเขาจากบทเพลงรักชิลล์ๆ เท่ๆ อาทิ Please, ทางของฝุ่น หรือ อ้าว ทว่าอีกภาพหนึ่งที่หลายคนจดจำ อะตอม-ชนกันต์ รัตนอุดม นั่นคือ ศิลปินหนุ่มที่ต้องมีกีตาร์ติดตัวข้างกาย ประหนึ่งอาวุธคู่ใจที่พร้อมพาออกท่องทั่วยุทธจักรแห่งเสียงดนตรี “ผมมีกีตาร์ไม่เยอะ กีตาร์โปร่ง 2 ตัว กีตาร์ไฟฟ้าอีก 1 […]Read More
เรื่อง : สุชา ภาพ : ตะวันวาด วนวิทย์ กล้องถ่ายรูป เป็นอุปกรณ์บันทึกแสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์ในลักษณะจำลองการทำงานออกมาจากดวงตาของมนุษย์ รูปถ่ายที่เราเห็นจึงเปรียบเสมือนภาพที่นัยน์ตาคนเราบันทึกไว้ในความทรงจำ ที่สำคัญมันคือการวาดภาพขึ้นจากแสง ‘ตะวันวาด’ กับอาวุธรักของเขาคือ ‘กล้องถ่ายรูป’ ช่างสอดคล้องเหมือนถูกกำหนดไว้เนิ่นนานเท่าอายุของเจ้าตัวคือ 28 ปีผ่าน GM รู้จัก ตั้ง-ตะวันวาด วนวิทย์ ผ่านงานเขียนเรื่องท่องเที่ยวของคุณแม่-วดีลดา เพียงศิริ หรือพี่อุ๋มอิ๋ม ของแวดวงคนเขียนหนังสือ บ่อยครั้งเธอชอบหนีลูกออกไปท่องเที่ยว กับบ่อยหนมักจะหนีบลูกชายหัวแก้วหัวแหวนคนนี้ไปทำหน้าที่ช่างภาพส่วนตัว และไม่หนีบเปล่า ยังแอบเม้าธ์ถึงตากล้องผ่านงานเขียนให้พวกเราอมยิ้ม นึกภาพตามทริปดีๆ ที่สะท้อนสายใยความรักและผูกพันระหว่างแม่กับลูก “แม่ชอบเอาลูกไปขายครับ ในงาน” หนุ่มตั้งหัวเราะเมื่อถูกตั้งคำถามเรื่องที่เขาตกเป็นเหยื่อให้แม่เอาไปเม้าธ์สนุกในงานเขียนเรื่องท่องเที่ยว แต่จะว่าไปก็เพราะแม่นี่แหละครับ มีส่วนส่งเสริมให้เขาได้พบเจอกับ ‘อาวุธรัก’ ที่รักมากที่สุด และวันนี้มันแทบจะกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของชายหนุ่ม เพราะเขาพกกล้องถ่ายรูปติดตัวตลอดเวลา แม้ยามนอน “ใช่ครับ, มันอยู่ข้างตัวผมตลอด เพราะไม่รู้เลยจริงๆ ว่าภาพที่อยากกดชัตเตอร์มันจะมาตอนไหน บางทีอยู่ในห้องนอน แล้วมีอะไรตรงหน้าต่างที่ผมอยากถ่ายเก็บไว้ ดังนั้น กล้องจึงต้องสแตนด์บายพร้อมตลอดเวลา สำหรับผม กล้องถ่ายภาพที่ดีคือกล้องที่ไปกับเราได้ทุกที่” ย้อนกลับไปสมัยเรียนมัธยมฯ หนุ่มตั้งได้กล้องถ่ายรูปตัวแรกจากการร้องขอแม่ […]Read More
เ รื่ อ ง : พ ช ร สู ง เ ด่ น ภ า พ : ก ฤ ษ ณ ะ ว ง ค์ ค ม ‘มังกรหลากสี’ ผลงานวิจัยว่าด้วยการขยายอิทธิพลและพันธกิจเผยแพร่อารยธรรมจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความพยายามที่จะ ‘รู้เขารู้เรา’ แม้จะไม่ใช่เพื่อไปออกรบตามเจตจำนงของตำราพิชัยสงคราม หากเพื่อทำความเข้าใจทั้งความเป็นมาในความยิ่งใหญ่ยาวนานของอารยธรรมจีน การเติบโตก้าวกระโดดในปัจจุบัน และความแน่วแน่ต่อยุทธศาสตร์สู่เป้าหมายในอนาคต เพื่อที่จะรับมือกับจีนได้ด้วยความรู้ ความเข้าใจ ไม่ใช่อคติที่ฟังกันมาว่าจีนเป็นอย่างไร เพราะมังกรหลากสีนี้ไม่ได้มีสีเดียว หากเปลี่ยนแปลงปรับตัวตลอดเวลา ‘ศาสตราจารย์ ดร.ยศ สันตสมบัติ’ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคม-วิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้คร่ำหวอดในวงการงานพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านอุษาคเนย์ มีหนังสือออกมามากมาย เช่น แม่น้ำแห่งชีวิต, ชนชายแดนกับการก้าวข้ามพรมแดน, คน พรมแดน รัฐชาติ ฯลฯ […]Read More
เ รื่ อ ง : ณั ฐ พ ล ศ รี เ มื อ ง ภาพ : พิ ช ญุ ต ม์ ค ช า รั ก ษ์ เวลาพูดถึงปรัชญาจีน ถ้าไปถามคนทั่วๆ ไปที่ไม่ได้เรียนวิชาปรัชญามาจะนึกถึงอะไร สุภาษิตจีน สามก๊ก ฮวงจุ้ย สารทจีน ฯลฯ อย่างนั้นหรือเปล่า? มากกว่านั้นก็อาจจะคุ้นเคยกับชื่อของขงจื๊อหรือเต๋าเราอาจจะแวดล้อมไปด้วยสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมจีนหรือคติจีนเต็มไปหมด แต่เมื่อพูดถึงปรัชญาจีนในแง่วิชาการจริงๆ ที่ต้องมีการวิเคราะห์อธิบายอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่แค่พูดคำคมก็เป็นปรัชญาแล้ว กลับเป็นอีกเรื่องเป็นอีกเรื่องชนิดที่ว่ามีคนเรียนคนสอนอยู่เพียงหยิบมือ และขาดแคลนความรู้ชนิดที่ว่าหนังสือ ‘กระแสธารปรัชญาจีน’ หนึ่งในผลงานจำนวนมากของ ศาสตราจารย์ ดร.สุวรรณา สถาอานันท์ ที่ตีพิมพ์เมื่อ 20 ปีก่อนยังได้รับการพิมพ์ซ้ำและขายได้เสมือนของใหม่ ทั้งที่จริงๆ ควรจะมีอะไรใหม่ๆ มาทดแทนได้แล้วอาจารย์สุวรรณาเล่าให้ฟังว่าเกษียณจากภาควิชาปรัชญา คณะอักษร-ศาสตร์ […]Read More
เ รื่ อ ง : พ ช ร สู ง เ ด่ น ภ า พ : อ นุ วั ต น์ เ ด ช ธำ ร ง วั ฒ น์ นับจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง โลกก็ดูจะเข้าสู่ระเบียบโลกครั้งใหม่เปลี่ยนจากสนามรบไปเป็นสนามการค้า หลายทฤษฎีเชื่อว่าความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะระหว่างประเทศมหาอำนาจที่กุมกลไกตลาดโลกอย่างจีน-สหรัฐอเมริกาจะเป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้ความสัมพันธ์ด้านอื่นนั้นดีขึ้นตามมา โลกกำลังเดินหน้าเข้าหากันสู่ความเป็นเสรี หากในวันนี้ที่ต่างฝ่ายต่างมีโจทย์สำคัญ สหรัฐอเมริกาต้องการกลับมา ‘ยิ่งใหญ่อีกครั้ง’ ส่วนจีนเองก็มีโจทย์สำคัญในการดำรงไว้ซึ่ง พรรคคอมมิวนิสต์เช่นกัน ความสัมพันธ์เศรษฐกิจที่เชื่อมโยงสองยักษ์ใหญ่เข้าไว้ด้วยกัน เคยป้องกันความขัดแย้ง กลับเป็นปมที่มัดแน่นจนต้องเล่นเกมชักเย่อระหว่างกันไปมา สงครามการค้า ที่ค้างคาตั้งแต่ปีที่แล้ว สหรัฐฯ จะขึ้นภาษีนำเข้าหรือไม่ จีนจะส่งแร่แรร์เอิร์ธ วัตถุดิบสำคัญในการผลิตอิเล็กทรอนิกส์อยู่ไหม คำถามอีกมากมายที่ไร้ข้อยุติในปีที่ผ่านมา ที่ไม่ได้ส่งผลแค่ว่าเราจะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีของประเทศใด แต่นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดระเบียบโลกใหม่อย่างปฏิเสธไม่ได้ เมื่อขั้วอำนาจทั้งสองฝ่ายเลือกที่จะแยกตัวออกจากกัน ‘อาจารย์ ดร.อาร์ม […]Read More
เ รื่ อ ง : ณั ฐ พ ล ศ รี เ มื อง ภ า พ : อ นุ วั ต น์ เ ด ช ธำ ร ง วั ฒ น์ ดร.นรีรัตน์ รัตนพรวิเศษกุล หรือ ‘ลิลลี่’ เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ที่บ้านทำธุรกิจหลายอย่างกับทางเมืองจีน จบปริญญาโทและปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยในประเทศจีน และได้ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศจีนราวกับเป็นบ้านหลังที่สอง จึงไม่น่าแปลกใจที่เธอจะมีความรู้ความเข้าใจใน ‘ความเป็นจีน’ ตั้งแต่วัฒนธรรมการใช้ชีวิตร่วมสมัย ไปจนถึงการเจรจาทำธุรกิจ นอกจากนี้เธอยังมีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับภาคส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวางจีนนั้นเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ผู้ประกอบการธุรกิจทุกคนเล็งเห็นโอกาส แต่กระนั้นการที่จะนำสินค้าสักหนึ่งผลิตภัณฑ์เข้าไปกระจายในประเทศจีนจนถึงมือผู้บริโภค คงไม่ได้ง่ายดายอย่างใจคิด มีอุปสรรคนานาที่รออยู่ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันด้านรูปแบบของสินค้า โมเดลธุรกิจใหม่ๆ หรือกฎของทางภาครัฐที่เกี่ยวกับเรื่องการนำเข้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว […]Read More
เ รื่ อ ง : C a p t a i n T h o r ถ้าไม่โรแมนติกจนเกินเหตุ กล้าเอาความจริงมายันกัน ณ บรรทัดนี้เลยก็ได้ครับ…โยนคำถามใส่ผู้ชาย 100 คน รับรองว่าต้องมีหยิบติดเกิน 90 เชียวละ ตอบว่าชอบผู้หญิงผมยาวมากกว่าผู้หญิงผมสั้น – แต่บังเอิญวันนี้ผมดันเกิดอยากเป็น 10 หน่อในกลุ่มน้อยนิดนั่น แล้วคุณล่ะ? ‘ฟ้าใส – ปวีณสุดา ดรูอิ้น’ อย่าบอกนะครับว่าคุณไม่รู้จัก…ไม่รักเธอ หลังก้าวลงจากเวทีประกวด Miss Universe 2019 ที่ผ่านมา ผู้ชายทุกคนเกิดอาการตกหลุมรักนางงามเลือดผสมไทย-แคนาเดี้ยนคนนี้เข้าจังเบอร์ เธอเป็นหญิงสาวเอเชียเพียงคนเดียวที่ผ่านเข้ารอบ 1 ใน 5 คนสุดท้ายบนเวทีประกวดนางงามจักรวาลเมื่อล่าสุด ความสวยจึงไม่ใช่ประเด็นที่เราต้องพูดพล่าม แต่ความฉลาดและเป็นที่รักของคนไทยทั้งประเทศนี่สิ ต่อให้ผมทำหนังสือด่วนพิเศษถึงท่าน บอ.กอ. เรื่องขอเพิ่มหน้ากระดาษก็คงบรรยายถึงเธอคนนี้ได้ไม่หมด วันนี้ GM จับฟ้าใสเปลี่ยนลุคจากหญิงสาวผมยาว […]Read More
จังหวะที่เขาจับกรรไกรขึ้นมาซอยเส้นผมตรงหน้านั้นพลิ้วแล่นเสียจนเราเชื่อว่ามันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่งอกเพิ่มออกมาจากฝ่ามืออันทรงพลัง ไม่ใช่แค่หั่นออก แต่กรรไกรยังทำหน้าที่กำหนดเส้นและแสกทรงให้มีมิติของระดับสั้นและยาว ไม่นับปัตตาเลี่ยนคู่ใจที่เขาใช้ไถแต่งขอบล่างให้เรียบเตียนตามท่วงทำนองบทเพลงบลูส์ที่ได้ยินผ่านแผ่น ภายในร้าน The Overhead Barbershop บนชั้น 6 ห้างพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน “เพลงบลูส์มีต้นกำเนิดจากคนผิวสี มันฟังนุ่ม ผ่อนคลาย ผมอยากให้ลูกค้าผ่อนคลายเวลาเข้ามาในร้านนี้ และใช้เวลาอยู่กับเราประมาณสัก 30 นาที” ในฐานะช่างตัดผมวินเทจ แน่นอน, กรรไกรและปัตตาเลี่ยน สองสิ่งนี้คือ ‘อาวุธรัก’ ของ ต๊ะ-จิรายุ ขอบุญ “เพราะมันเป็นเครื่องมือที่ผมใช้ทำมาหากิน ทุกครั้งที่ตัด ผมจะใช้ปัตตาเลี่ยนอย่างต่ำ 2 ตัว ตัวเล็กเอาไว้กันขอบ ตัวใหญ่เอาไว้ตัดผม มันดูวินเทจย้อนยุค แต่ที่จริงเป็นตัวใหม่ ที่ชอบตัวนี้เพราะมันคม ถ้ามันไม่คมจะตัดผมไม่เข้า และกินหนังศีรษะ “ส่วนกรรไกรที่ใช้ประจำคือ 2 ตัวนี้ครับ” ต๊ะว่าพลางหยิบกรรไกรตัวโปรดขึ้นมาโชว์ มันเป็นกรรไกรสเตนเลสขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับขนาดฝ่ามือของเขา “ผมไม่ได้ใช้ของแพงอะไรมาก แต่ใช้ที่มันถูกกับเรา…” ต๊ะว่างั้น “เคยหล่นไหม” ต๊ะทวนคำถาม “ถ้าหล่นก็แค่เก็บมาใช้ใหม่ (ยิ้มกวน) ผมทำหล่นบ่อยนะ แต่ถ้าให้ดีอย่าทำหล่นดีกว่า […]Read More
การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ ปี 2560 – 2562 ที่ผ่านมา ได้เตรียมความพร้อมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจการเงินของไทยให้สามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะข้างหน้า ธปท. ตระหนักดีว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นและตลาดเงินตลาดทุนโลกจะผันผวนมากขึ้น จึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีคิดสำหรับแผนยุทธศาสตร์ ธปท. ฉบับใหม่ (ปี 2563 – 2565) โดยนำความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะต้องเผชิญในอนาคตเป็นตัวตั้งและจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งตอบโจทย์ความท้าทายเหล่านั้น BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณสุทิวัส หงส์พูนพิพัฒน์ สำนักข่าวไทย อสมท. มาร่วมพูดคุยกับ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. ถึงผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ ธปท. ปี 2560 – 2562 และทิศทางของแผนยุทธศาสตร์ ธปท. ฉบับใหม่ ที่จะมุ่งรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศภายใต้ความท้าทายสำคัญ 7 ประการ ก้าวที่ผ่านมาของ ธปท.คุณสุทิวัส : ก่อนจะคุยกันถึงแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี ฉบับใหม่ของ ธปท. ขอให้ท่านผู้ว่าการช่วยเล่าถึงผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ […]Read More