ถ้าหากไปเที่ยวสวีเดนแล้วเห็นคน ‘จ่ายเงินด้วยมือ’ ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะตอนนี้ประเทศสวีเดนกำลังพยายามเข้าสู่สังคมไร้เงินสดแบบล้ำสมัย ด้วยการฝังไมโครชิปจิ๋วที่ใช้แทนเงินสดลงในมือ ทำให้ชาวสวีเดนสามารถซื้อของและจ่ายเงินได้ทันทีเพียงแค่ยกมือขึ้นมาสแกนแทนการควักบัตรเครดิตขึ้นมารูดจ่าย …ฟังดูเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและน่าสนใจไม่น้อย เห็นด้วยไหม? Reason to Read นอกจากไมโครชิปที่ฝังจะใช้แทนเงินสดและบัตรเครดิตแล้ว ก็ยังสามารถตรวจสอบสุขภาพให้เราได้เหมือนกับนาฬิกาอัจฉริยะที่ใส่บนข้อมือ หรือทำหน้าที่เป็นคีย์การ์ด ใช้สแกนเข้าออกอาคารหรือที่ทำงานได้เช่นกัน หลายประเทศกำลังมุ่งหน้าสู่สังคมไร้เงินสด เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ที่ผู้คนใช้ชีวิตผูกพันกับเทคโนโลยี ซึ่งประเทศสวีเดนก็เป็นหนึ่งในหลายประเทศเหล่านั้นเช่นกัน ทว่าในขณะที่คนประเทศอื่นๆ นิยมควักการ์ดออกมารูดจ่าย หรือจิ้มโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ ชาวสวีเดนกลับมีวิธีที่ล้ำสมัยกว่านั้นคือ การฝังไมโครชิปใช้แทนเงินสดลงใต้ผิวหนังเสียเลย ปัจจุบันมีชาวสวีเดนประมาณ 4,000 คน ที่เข้ารับการฝังไมโครชิปลงใต้ผิวหนังเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคาดว่าอีกหลายล้านคนก็กำลังจะตามมาด้วยความตั้งใจเป็นผู้บุกเบิกเพื่อทำให้วิธีนี้ได้รับความนิยมไปยังประเทศอื่นๆ ด้วย โดยชิปจิ๋วที่มีขนาดประมาณเมล็ดข้าวสารจะถูกฝังลงใต้ผิวหนังบริเวณมือระหว่างนิ้วชี้และนิ้วโป้ง เมื่อผู้ฝังชิปทำการซื้อของในร้านค้า ก็สามารถชำระเงินได้ทันทีเพียงแค่ยกมือขึ้นมาสแกนแทนการหยิบบัตรขึ้นมารูดจ่าย ทว่าประโยชน์ของชิปจิ๋วยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะนอกจากใช้แทนเงินสดหรือบัตรเครดิต มันก็ยังสามารถคอยตรวจสอบสุขภาพของเราได้เหมือนกับนาฬิกาอัจฉริยะที่ใส่บนข้อมือ หรือกระทั่งทำหน้าที่เป็นคีย์การ์ดใช้สแกนเข้าอาคารหรือออฟฟิศ โดยอดีตช่างเจาะร่างกาย โจวาน เอสเตอร์ลุนด์ (Jowan Österlund) ที่ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยี Biohax International เป็นผู้ริเริ่มเทคโนโลยีการฝังไมโครชิป และตั้งชื่อให้เทคโนโลยีนี้ว่า ‘Moonshot’ ซึ่งเขาบอกว่ามีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ติดต่อเข้ามาด้วยความสนใจ แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนกังวลก็คงไม่พ้นเรื่อง ‘ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว’ ที่แม้ว่าผู้ริเริ่มเทคโนโลยีจะยืนยันว่า ‘ปลอดภัย’ แต่หากเหตุอาชญากรรมไซเบอร์ที่มีให้เห็นกันบ่อยๆ ในช่วงหลายปีมานี้ ก็ทำให้เทคโนโลยีฝังชิปน่าเป็นกังวลไม่น้อย […]Read More
อาจต้องขอบคุณวงการเกมที่ทำให้เทคโนโลยี 4Sight นำมาใช้ได้เร็วกว่าที่คิด เพราะผู้นำการเขียนโค้ดให้เครื่องมือนี้เป็นอดีตนักพัฒนาวิดีโอเกม และด้วยเทคโนโลยีนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถยื่นมือเข้าไปหมุน ย่อ ขยาย โมเลกุลได้ตามชอบใจ Reason to Read บริษัทคิดค้นยาสร้างเครื่องมือจากเทคโนโลยี VR ที่ทำให้นักเคมีสามารถหยิบจับโมเลกุลขึ้นมาหมุน ย่อ ขยาย ได้ตามใจชอบ แถมมีฟังก์ชันเหมือนการเล่นเกมคือ นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่คนละที่สามารถเข้ามาทำงานในห้องเดียวกันได้ผ่านโลกเสมือนจริงเหมือนกับการกดปุ่ม Join เข้าเล่นเกมที่มีผู้เล่นหลายคน การหยิบจับหรือใช้ปลายนิ้วลากภาพเสมือนจริงไปมาในอากาศ ฟังดูเป็นนวัตกรรมที่ล้ำและเห็นได้แต่ในภาพยนตร์แนวไซไฟ (Sci-Fi) เท่านั้น แต่เมื่อโลกได้เริ่มรู้จักกับเทคโนโลยี VR หรือภาพเสมือนจริง เรื่องเหล่านั้นก็ฟังดูเกิดขึ้นได้ไม่ยากอีกต่อไป โดยล่าสุด นอกจากการนำไปใช้สร้างประสบการณ์ใหม่ในการเล่นเกม กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ก็นำเทคโนโลยีนี้มาต่อยอดเพื่อใช้คิดค้นยา ซึ่งทำให้คนสามารถยื่นมือเข้าไปจับดูโมเลกุลเพื่อหาจุดผิดพลาดได้ ลุ่มนักเคมีจากบริษัทชื่อ C4X Discovery ซึ่งเป็นบริษัทคิดค้นยาสัญชาติอังกฤษ ได้นำเทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ VR (Virtual Reality) มาใช้จำลองโครงสร้างของโมเลกุลที่มีความซับซ้อน โดยตั้งชื่อเครื่องมือนี้ว่า 4Sight ที่ช่วยให้นักคิดค้นยาสามารถหยิบจับโมเลกุลมาหมุน ย่อ ขยาย ได้ตามใจชอบ เพื่อดูว่าพวกมันมีการเคลื่อนที่หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างไร เพราะสิ่งสำคัญในการคิดค้นยาตัวหนึ่งคือ การลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาให้ได้มากที่สุด และเพื่อจะทำเช่นนั้นได้ ผู้คิดค้นต้องทำให้โมเลกุลมีรูปร่างที่ถูกต้องและเข้ากันได้กับกลุ่มโปรตีนที่เป็นเป้าหมาย […]Read More
เด็กหญิงในชนบทที่ชื่นชมและหลงใหลในประโยคทองของ นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) เมื่อ 50 ปีก่อน ในเดือนนี้เธอจะกลายเป็นนักโบราณคดีอวกาศที่มหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส ในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย Reasons to Read เด็กหญิงในชนบทที่ชื่นชมและหลงใหลในประโยคทองของ นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) เมื่อ 50 ปีก่อน ในเดือนนี้เธอจะกลายเป็นนักโบราณคดีอวกาศที่มหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส ในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ภารกิจกลับขึ้นไปบนดวงจันทร์อีกครั้งจะเป็นเรื่องยากลำบากมาก เนื่องจากมีปัญหาเรื่องฝุ่นบนดวงจันทร์ที่มีความสามารถในการกัดกร่อน ฝุ่นนี้ไม่ได้มีผลกระทบมากมายต่อปอดมนุษย์ แต่มันก็มีผลอย่างมากต่อวัสดุที่ผลิตยาน ก่อนปี ค.ศ. 1960 ถ้าบอกว่ามนุษย์จะขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์คงไม่มีใครเชื่อ แต่มันก็เกิดขึ้นจริงไปแล้วเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ปี ค.ศ.1969 ถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ เมื่อ นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) มนุษย์คนแรกได้ประทับรอยเท้าบนดวงจันทร์ และยังทำให้เกิดกระแสคลั่งดวงจันทร์หรือ ‘Moom Mania’ ไปทั่วโลก กระทั่งวันนี้กระแสคลั่งดวงจันทร์ก็ยังไม่ได้เลือนหายไปจากมนุษยชาติ ซึ่งนอกเหนือจากความพยายามในการนำยานอวกาศลงจอดบนดวงจันทร์ให้ได้อีกครั้งของชาติมหาอำนาจต่างๆ แล้ว เราก็ยังเห็นร่องรอยของกระแสดังกล่าวได้ผ่านตัวเด็กในวันนั้นที่วันนี้เติบโตขึ้น และอยู่ในแวดวงอาชีพที่พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากภารกิจอพอลโล 11 (Apollo 11) […]Read More
เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาได้ว่าเราจะตอบสนองอย่างไรเมื่อเผชิญหน้ากับภัยพิบัติร้ายแรง เพราะความเครียดที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันนั้นแตกต่างจากความเครียดในเหตุการณ์ที่เป็นเรื่องของความเป็นความตายอย่างมาก Reason to Read เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาได้ว่าเราจะตอบสนองอย่างไรเมื่อเผชิญหน้ากับภัยพิบัติร้ายแรง เพราะความเครียดที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันนั้นแตกต่างจากความเครียดในเหตุการณ์ที่เป็นเรื่องของความเป็นความตายอย่างมาก ปัญหาในโลกสมัยใหม่ก็คือคนจำนวนมากกำลังเผชิญกับความเครียดอย่างต่อเนื่องหรือเรื้อรังและสมองก็จะอยู่ในโหมดเอาตัวรอดตลอดเวลา ซึ่งทำให้สูญเสียความสามารถในการใช้เยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าไปอย่างมาก หนังไซ-ไฟที่ว่าด้วยเรื่องของวันโลกาวินาศหรือภัยพิบัติร้ายแรงระดับโลกที่มักจะมีฉากต่อสู้หรือการทำลายล้างแบบวินาศสันตะโรที่ชวนตื่นตาตื่นใจ น่าจะเป็นหนังที่หลายคนชื่นชอบและไม่เคยเบื่อที่จะเห็นฉากเหล่านี้ในหนังเรื่องแล้วเรื่องเล่า แต่ถ้าฉากสุดโหดในหนังเรื่องโปรดเกิดขึ้นกับคุณจริงๆ คุณจะทำอย่างไร? จะเป็นฮีโร่ที่ดูแลคนอื่นๆ และหาทางรอดชีวิตจนได้ หรือจะเป็นคนที่ช็อกกับเหตุการณ์ตรงหน้าจนทำอะไรไม่ถูก? คำถามด้านบนหลายคนอาจจะเคยลองคิดเล่นๆ มาแล้วตอนดูหนัง ก่อนจะพบว่าไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกันถ้าต้องเผชิญกับเหตุการณ์นั้นจริงๆ ซึ่งนั่นแหละคือสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับวันโลกาวินาศของคุณ ศาสตราจารย์แซนดี้ แมคฟาร์เลน (Sandy McFarlane) ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาความเครียดจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ของมหาวิทยาลัยแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย และยังเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานในการรักษาบาดแผลทางใจมากว่าสี่ทศวรรษ อธิบายว่า “หลายครั้งมันก็เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาได้ว่าเราจะตอบสนองอย่างไรเมื่อเผชิญหน้ากับภัยพิบัติร้ายแรง เพราะความเครียดที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันนั้นแตกต่างจากความเครียดในเหตุการณ์ที่เป็นเรื่องของความเป็นความตายอย่างมาก บ่อยครั้งที่เราก็ไม่สามารถสร้างสถานการณ์เหล่านั้นขึ้นมาในใจได้ ดังนั้น เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ชวนสยองขวัญหรือน่าหวาดกลัวอย่างรุนแรง ก็จะไม่มีความเข้าใจหรือไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เจอได้” แม้แต่คนที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีสำหรับการรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก ก็สามารถพบได้เช่นกันว่าพวกเขาไม่สามารถจัดระเบียบความคิดตัวเองได้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับมันจริงๆ ถ้าอย่างนั้นลองมาดูกันว่าโดยทั่วไปคนเราสามารถตอบสนองในรูปแบบใดได้บ้างเมื่อต้องเผชิญกับภัยพิบัติร้ายแรง การตอบสนองแบบสู้หรือหนี (Fight-or-Flight Response) อย่างที่บอกไปแล้วว่าถ้าถึงคราวเคราะห์และต้องเจอกับตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายเรามักจะเลือกไม่ถูกว่าควรจะทำอะไร แต่ถ้าทำอะไรไม่ถูกจริงๆ การหนีจากภัยที่อยู่ตรงหน้าก็เป็นเรื่องเข้าท่าเหมือนกัน การตอบสนองแบบนี้เรียกว่า ‘การตอบสนองโดยการหนี’ ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Flight ที่แปลว่า บิน เปรียบเทียบว่าเป็นการบินหนี ก็คือเมื่อเกิดความกลัวต่อสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้าก็ถอนตัวหนีไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย แน่นอนว่าการตอบสนองด้วยการหนีไม่ได้มีประโยชน์เสมอไป โดยเฉพาะเมื่อคุณอยู่ในจุดที่ต้องรับผิดชอบหรือต้องเป็นผู้นำ แต่ศาสตราจารย์แมคฟาร์เลน […]Read More
เชื่อไหมว่าคืนหนึ่งเราฝันมากกว่าหนึ่งรอบ ซึ่งบางคนก็สามารถจำความฝันและตื่นมาเล่าได้เป็นเรื่องเป็นราว ในขณะที่บางคนกลับจำไม่ได้ว่าตัวเองฝันถึงอะไรบ้าง แต่เราจะฝันได้ก็ต้องนอนให้หลับก่อน เพราะฉะนั้น เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับกันก่อนดีกว่า เชื่อไหมว่าคืนหนึ่งเราฝันมากกว่าหนึ่งรอบ ซึ่งบางคนก็สามารถจำความฝันและตื่นมาเล่าได้เป็นเรื่องเป็นราว ในขณะที่บางคนกลับจำไม่ได้ว่าตัวเองฝันถึงอะไรบ้าง แต่เราจะฝันได้ก็ต้องนอนให้หลับก่อน เพราะฉะนั้น เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับกันก่อนดีกว่า เท่าที่เรารู้คือเมื่อหัวถึงหมอน ตาปิด ก็หลับไปเหมือนไม่มีอะไรซับซ้อน แต่จริงๆ แล้วการนอนหลับของมนุษย์มีวงจรซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงคือ ช่วงหลับธรรมดา (NON-Rapid eye movement sleep) หรือ ช่วง NON-REM ช่วงนี้จะเป็นการหลับลึกลงไปเรื่อยๆ เริ่มตั้งแต่ระยะที่มีอาการเริ่มง่วง ไประยะหลับตื้น หลับปานกลาง และหลับลึก เหมือนนับ 1 2 3 4 พอดำดิ่งไปจนถึงระยะหลับลึก วงจรการหลับก็จะถอยกลับมาที่หลับปานกลาง หลับตื้น มาจนถึงระยะแรกอีกครั้ง เหมือนนับ 4 3 2 1 วงจรนี้จะใช้เวลาประมาณ 80 นาที จากนั้นจึงจะเข้าสู่ช่วงหลับฝัน (Rapid eye movement sleep) หรือช่วง […]Read More
ได้ยินแค่ชื่อหลายคนอาจจะนึกถึงอีกคำหนึ่ง นั่นคือ วีแกน (Vegan) ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่ไม่บริโภคสิ่งของที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เพื่อต่อต้านการทารุณสัตว์ในกระบวนการผลิต แต่จริงๆ แล้วเป็นคนละกลุ่มกัน เพียงแต่มีอุดมการณ์ในรูปแบบที่คล้ายกัน ได้ยินแค่ชื่อหลายคนอาจจะนึกถึงอีกคำหนึ่ง นั่นคือ วีแกน (Vegan) ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่ไม่บริโภคสิ่งของที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เพื่อต่อต้านการทารุณสัตว์ในกระบวนการผลิต แต่จริงๆ แล้วเป็นคนละกลุ่มกัน เพียงแต่มีอุดมการณ์ในรูปแบบที่คล้ายกัน คำว่า ฟรีแกน (Freegan) ก็มาจากคำว่า Free บวกกับคำว่า Vegan และใช้เรียกกลุ่มคนที่ต่อต้านระบบบริโภคนิยมและทุนนิยมโดยเฉพาะเรื่องอาหาร พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นฟรีแกนก็คือกลุ่มคนที่นำขยะที่ยังไม่ควรเป็นขยะมาใช้ประโยชน์เพื่อลดปริมาณของเสียให้กับโลก ซึ่งต้นทางของขยะเหล่านี้ส่วนมากก็จะมาจากห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ หรือซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำที่มักจะโละสินค้าตามวันหมดอายุที่กำหนดหรือเพียงแค่สภาพบอบช้ำเล็กๆ น้อยๆ ทั้งที่จริงๆ ยังสามารถบริโภคได้ คำว่า ‘ฟรีแกน’ ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1995 โดยคือ คีธ แม็คเฮนรี่ (Keith McHenry) นักกิจกรรมเพื่อสังคมซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม Food Not Bombs ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือคนยากจน คนที่หิวโหย และต่อต้านความรุนแรง ซึ่งมีสาขาอยู่ที่ประเทศไทยด้วย จากนั้นฟรีแกนก็กระจายตัวไปทั่วโลกทั้งในอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมัน นิวซีแลนด์ อังกฤษ […]Read More
นโยบายกวาดล้างการคอร์รัปชันของ สี จิ้นผิง ทำให้มีเจ้าหน้าที่และนักการเมืองถูกลงโทษกว่า 1 ล้านคน ซึ่งผลที่ตามมาคือ ประเทศจีนมีประชากรยากไร้ลดลงถึง 12 ล้านคน! ปัจจุบันประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของจีนมานานกว่า 7 ปีแล้ว และการกุมอำนาจปกครองประเทศจีนด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ที่หลายต่อหลายประเทศต่อต้าน ก็ดูเหมือนจะไม่ใช่ปัญหาร้ายแรงสำหรับจีนเสียเท่าไหร่ อาจด้วยความเอาจริงเอาจังของ สี จิ้นผิง ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ จนทำให้ประเทศจีนพัฒนาเทียบชั้นประเทศผู้นำโลกได้สำเร็จ และครั้งนี้ก็เช่นกัน แม้จะไม่ใช่นโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือการผูกมิตรระหว่างประเทศ ทว่านโยบายต่อต้านคอร์รัปชันที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ก็ดูเหมือนจะส่งผลดีต่อจีนอย่างเกินคาด ในการประชุมผู้นำเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง กล่าวเตือนเจ้าหน้าที่และนักการเมืองว่า นักการเมืองทุกคนต้องไม่ใช้นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันเป็นข้ออ้างในการละเลยหน้าที่ หรือหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่ยากลำบาก ก่อนเสริมอีกว่า “เจ้าหน้าที่ทุกคนควรสร้างมาตรฐานแก่การบริหารประเทศยุคใหม่ และตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีใครทำงานที่ไร้ประโยชน์ หรืออยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลยนอกจากกินไปวันๆ หรือมีคนขี้เกียจไม่ตั้งใจทำงาน” การกล่าวเตือนเช่นนี้เป็นไปได้ว่า มีนักการเมืองละเลยหน้าที่เนื่องจากกลัวการตัดสินใจผิดพลาด หรือเกิดการคอร์รัปชันจนกลัวว่าต้องมีส่วนในการรับผิดชอบ เนื่องจากนับตั้งแต่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ขึ้นดำรงตำแหน่ง ก็มีการกวาดล้างการคอร์รัปชันอย่างจริงจังไม่ว่าจะเป็นผู้มีอิทธิพลมากหรือน้อยแค่ไหนก็ตาม ทำให้มีเจ้าหน้าที่และนักการเมืองกว่า 1 […]Read More
ทำไมนักฟุตบอลชายถึงได้ค่าตอบแทนมากกว่า… เป็นประเด็นที่น่าหาคำตอบอยู่เหมือนกัน เพราะความต่างของจำนวนเงินไม่ใช่น้อยๆ เมื่อเทียบแล้วนักเตะหญิงทีมชาติสหรัฐฯ ที่เพิ่งชนะแชมป์ฟุตบอลโลกปี 2019 ได้เงินรางวัลเพียง 250,000 เหรียญฯ ต่อคนเท่านั้น Reasons To Read เมแกน ราปิโน เริ่มคุกเข่าเคารพเพลงชาติสหรัฐฯ ตาม โคลิน เคเปอร์นิก นักกีฬาอเมริกันฟุตบอลที่ริเริ่มการกระทำนี้ เพื่อประท้วงนโยบายเหยียดสีผิวของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ นักบอลหญิงทีมชาติที่คว้าแชมป์โลกครั้งนี้ได้รับเงินรางวัลต่อคนเพียง 250,000 เหรียญฯ เท่านั้น ขณะที่นักเตะชาย หากได้ถ้วยแชมป์เมื่อปี 2018 จะได้ค่าตอบแทนมากถึง 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ การแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2019 จบลงด้วยชัยชนะของทีมชาติสหรัฐอเมริกา (USWNT) ที่ทำประตูชนะทีมชาติเนเธอแลนด์ไปได้ 2 ต่อ 0 โดยประตูแรกมาจากการยิงลูกโทษของ “เมแกน ราปิโน” กัปตันทีมชาติฟุตบอลหญิงแห่งสหรัฐฯ ที่หลายคนเรียกเธอว่าฮีโร่ เนื่องจากการปฏิเสธการร้องเพลงชาติก่อนลงสนาม และเป็นผู้เรียกร้องความเท่าเทียมให้แก่วงการนักกีฬาหญิง เมแกน ราปิโน นักฟุตบอลหญิงสัญชาติอเมริกาวัย 33 ปี ผู้เป็นเจ้าของปลอกแขนกัปตันทีมชาติ เริ่มเล่นฟุตบอลตั้งแต่สมัยเรียนไฮสกูล ลงเล่นให้ทีมเยาวชนตั้งแต่ปี […]Read More
ถ้ารัฐจะมาสอดส่องข้อมูลบางอย่างโดยอ้างว่าเพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัย คุณจะยินยอมไหม? ระหว่างความเป็นส่วนตัวกับความปลอดภัย คุณจะเลือกอะไร? Reasons to Read หน่วยงานชั้นนำของสหรัฐทั้ง FBI และ ICE ได้นำภาพถ่ายจากกรมทะเบียนรถยนต์มาใช้ในการค้นหาบุคคลด้วยเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของทะเบียน ในบรรดารัฐต่างๆ ของสหรัฐ มีจำนวน 21 รัฐที่อนุญาตให้รัฐบาลเข้าถึงข้อมูลประชาชนได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งศาลหรือหมายจับ แต่สำหรับรัฐวอชิงตันการจะทำอย่างนั้นได้จำเป็นต้องมีคำสั่งศาลเท่านั้น เมื่อไม่นานมานี้โรงเรียนแห่งหนึ่งในนครนิวยอร์ก มีไอเดียที่จะเพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยในโรงเรียนด้วยการติดตั้งระบบจดจำใบหน้าเพื่อใช้สแกนจับผู้ต้องสงสัยที่อาจเข้ามาก่ออาชญากรรมภายในโรงเรียน หลังจากที่ช่วงก่อนหน้านี้เกิดเหตุกราดยิงในสหรัฐบ่อยครั้ง แต่บรรดาผู้ปกครองกลับไม่เห็นด้วยกับความคิดดังกล่าวเพราะมองว่าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของเด็กๆ สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เมืองซานฟรานซิสโกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ผู้ออกกฎหมายในซานฟรานซิสโกได้โหวตให้ห้ามการใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าโดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งถือเป็นเมืองแรกในสหรัฐอเมริกาที่ออกมาต่อต้านเรื่องดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลในเรื่องของความเป็นส่วนตัวของชาวอเมริกัน และขณะที่เรื่องนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในสหรัฐ ก็มีแนวโน้มว่าความกังวลในหมู่ประชาชนที่กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวนั้นจะเพิ่มมากขึ้น เพราะล่าสุดมีรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ (Washington Post) ระบุว่า หน่วยงานชั้นนำของสหรัฐทั้งสำนักงานสอบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation – FBI) และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร (Immigration and Customs Enforcement – ICE) ได้นำภาพถ่ายจากกรมทะเบียนรถยนต์ (Department of Motor Vehicles – DMV) […]Read More
หลายคนคงนึกไม่ถึงหรือไม่ได้ตระหนักว่าโลกาภิวัตน์ก็มีวันหมดอายุเหมือนกัน แต่นั่นไม่ใช่สำหรับ ไมเคิล โอซัลลิแวน (Michael O’Sullivan) เจ้าของหนังสือ ‘The Leveling: What Next After Globalization’ Reason to Read หลายคนคงนึกไม่ถึงหรือไม่ได้ตระหนักว่าโลกาภิวัตน์ก็มีวันหมดอายุเหมือนกัน แต่นั่นไม่ใช่สำหรับ ไมเคิล โอซัลลิแวน (Michael O’Sullivan) เจ้าของหนังสือ ‘The Leveling: What Next After Globalization’ ไมเคิลเชื่อว่าในอนาคตโลกของเราจะแบ่งออกเป็นสองขั้ว ได้แก่ ‘เลเวลเลอร์’ และ ‘เลวีอาธาน’ และจะถูกครอบงำโดยพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างน้อยสามแห่ง ได้แก่ อเมริกา สหภาพยุโรป และเอเชีย (ที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง) ซึ่งจะมีแนวทางที่แตกต่างกันมากขึ้นในนโยบายเศรษฐกิจ เสรีภาพ สงคราม เทคโนโลยี และสังคม หลายทศวรรษมานี้เราอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า ‘โลกาภิวัตน์’ (Globalization) หรือ โลกไร้พรมแดนที่ไม่ว่าอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นจะแพร่กระจายไปทั่วโลก ประชาคมโลกสามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ คำนี้ถูกนำมาใช้โดยนักเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. […]Read More