fbpx

ทำไมเราจึงจำความฝันไม่ได้?

เชื่อไหมว่าคืนหนึ่งเราฝันมากกว่าหนึ่งรอบ ซึ่งบางคนก็สามารถจำความฝันและตื่นมาเล่าได้เป็นเรื่องเป็นราว ในขณะที่บางคนกลับจำไม่ได้ว่าตัวเองฝันถึงอะไรบ้าง แต่เราจะฝันได้ก็ต้องนอนให้หลับก่อน เพราะฉะนั้น เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับกันก่อนดีกว่า

เชื่อไหมว่าคืนหนึ่งเราฝันมากกว่าหนึ่งรอบ ซึ่งบางคนก็สามารถจำความฝันและตื่นมาเล่าได้เป็นเรื่องเป็นราว ในขณะที่บางคนกลับจำไม่ได้ว่าตัวเองฝันถึงอะไรบ้าง แต่เราจะฝันได้ก็ต้องนอนให้หลับก่อน เพราะฉะนั้น เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับกันก่อนดีกว่า

เท่าที่เรารู้คือเมื่อหัวถึงหมอน ตาปิด ก็หลับไปเหมือนไม่มีอะไรซับซ้อน แต่จริงๆ แล้วการนอนหลับของมนุษย์มีวงจรซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงคือ

ช่วงหลับธรรมดา (NON-Rapid eye movement sleep) หรือ ช่วง NON-REM ช่วงนี้จะเป็นการหลับลึกลงไปเรื่อยๆ เริ่มตั้งแต่ระยะที่มีอาการเริ่มง่วง ไประยะหลับตื้น หลับปานกลาง และหลับลึก เหมือนนับ 1 2 3 4

พอดำดิ่งไปจนถึงระยะหลับลึก วงจรการหลับก็จะถอยกลับมาที่หลับปานกลาง หลับตื้น มาจนถึงระยะแรกอีกครั้ง เหมือนนับ 4 3 2 1 วงจรนี้จะใช้เวลาประมาณ 80 นาที

จากนั้นจึงจะเข้าสู่ช่วงหลับฝัน (Rapid eye movement sleep) หรือช่วง REM ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที แล้ววนกลับมาเข้าสู่ ช่วง NON-REM เริ่มนับ 1 2 3 4 และ 4 3 2 1 เพื่อเข้าสู่ช่วงหลับฝันอีกรอบ

วงจรการนอนจะวนๆ อยู่อย่างนี้ทั้งคืน โดยทุกครั้งที่เข้าสู่ช่วงหลับฝันหรือช่วง REM จะนับว่าเป็น 1 รอบการนอน ในหนึ่งคืนจะมีจำนวนรอบการนอนประมาณ 3-6 รอบ

การจดจำความฝันที่เกิดขึ้นในช่วง REM นั้นอาจถูกกำหนดโดยรูปแบบความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างบุคคลและการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกายในช่วงกลางคืน

ในช่วง REM ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดจะสูงขี้นและอาจเกิดจากการแทรกแซงการสื่อสารระหว่างพื้นที่สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมความทรงจำ ทำให้บางคนไม่สามารถจำความฝันได้นั่นเอง

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ