fbpx

เคลื่อนย้ายโมเลกุลผ่านแว่น VRนักเคมีคิดค้นยาผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง

อาจต้องขอบคุณวงการเกมที่ทำให้เทคโนโลยี 4Sight นำมาใช้ได้เร็วกว่าที่คิด เพราะผู้นำการเขียนโค้ดให้เครื่องมือนี้เป็นอดีตนักพัฒนาวิดีโอเกม และด้วยเทคโนโลยีนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถยื่นมือเข้าไปหมุน ย่อ ขยาย โมเลกุลได้ตามชอบใจ

Reason to Read

  • บริษัทคิดค้นยาสร้างเครื่องมือจากเทคโนโลยี VR ที่ทำให้นักเคมีสามารถหยิบจับโมเลกุลขึ้นมาหมุน ย่อ ขยาย ได้ตามใจชอบ แถมมีฟังก์ชันเหมือนการเล่นเกมคือ นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่คนละที่สามารถเข้ามาทำงานในห้องเดียวกันได้ผ่านโลกเสมือนจริงเหมือนกับการกดปุ่ม Join เข้าเล่นเกมที่มีผู้เล่นหลายคน

การหยิบจับหรือใช้ปลายนิ้วลากภาพเสมือนจริงไปมาในอากาศ ฟังดูเป็นนวัตกรรมที่ล้ำและเห็นได้แต่ในภาพยนตร์แนวไซไฟ (Sci-Fi) เท่านั้น แต่เมื่อโลกได้เริ่มรู้จักกับเทคโนโลยี VR หรือภาพเสมือนจริง เรื่องเหล่านั้นก็ฟังดูเกิดขึ้นได้ไม่ยากอีกต่อไป โดยล่าสุด นอกจากการนำไปใช้สร้างประสบการณ์ใหม่ในการเล่นเกม กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ก็นำเทคโนโลยีนี้มาต่อยอดเพื่อใช้คิดค้นยา ซึ่งทำให้คนสามารถยื่นมือเข้าไปจับดูโมเลกุลเพื่อหาจุดผิดพลาดได้

Iron Man Hologram GIF - Find & Share on GIPHY

ลุ่มนักเคมีจากบริษัทชื่อ C4X Discovery ซึ่งเป็นบริษัทคิดค้นยาสัญชาติอังกฤษ  ได้นำเทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ VR (Virtual Reality) มาใช้จำลองโครงสร้างของโมเลกุลที่มีความซับซ้อน โดยตั้งชื่อเครื่องมือนี้ว่า 4Sight ที่ช่วยให้นักคิดค้นยาสามารถหยิบจับโมเลกุลมาหมุน ย่อ ขยาย ได้ตามใจชอบ เพื่อดูว่าพวกมันมีการเคลื่อนที่หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างไร เพราะสิ่งสำคัญในการคิดค้นยาตัวหนึ่งคือ การลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาให้ได้มากที่สุด และเพื่อจะทำเช่นนั้นได้ ผู้คิดค้นต้องทำให้โมเลกุลมีรูปร่างที่ถูกต้องและเข้ากันได้กับกลุ่มโปรตีนที่เป็นเป้าหมาย

“การเคลื่อนย้ายโมเลกุลไปรอบๆ โดยใช้เมาส์และคีย์บอร์ดเป็นเรื่องที่ยากมากๆ แต่ตอนนี้จะง่ายขึ้นเพียงแค่เราจับมันขึ้นมา” เครก ฟ็อกซ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของบริษัท C4X Discovery กล่าว โดยการใช้เทคโนโลยี VR เข้ามาช่วยจะลดข้อผิดพลาดระหว่างขั้นตอนการคิดค้นยา และทำให้นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่กันคนละพื้นที่สามารถเข้ามาทำงานในห้องเดียวกันผ่านเทคโนโลยี VR ได้อีกด้วยhttps://www.youtube.com/embed/DUn21r309dc?feature=oembed

ส่วนสาเหตุที่ทำให้เทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้กับงานวิทยาศาสตร์ได้เร็วขึ้นก็ต้องขอบคุณวงการเกม เพราะบริษัทแห่งนี้จ้างอดีตนักพัฒนาวิดีโอเกมมาเป็นหัวหน้าฝ่ายเขียนโค้ด โดยฟิลิปส์ มูวางะ (Philip Muwanga) อดีตนักพัฒนาเกม บอกว่า เครื่องมือนี้ใช้ซอฟต์แวร์ชนิดเดียวกัน  “เนื่องจากผมมาจากอุตสาหกรรมเกม ผมเลยสร้างเครื่องมือนี้เหมือนกับว่าผมกำลังสร้างเกมอยู่ พวกเราพยายามสร้างมันให้ดูสนุกและใช้งานง่าย ซึ่งพวกเขาก็ใช้มันราวกับว่ากำลังเล่นเกมเช่นเดียวกัน”

ทั้งนี้นักเคมีได้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวนี้สร้างผลงานไว้บ้างแล้ว ด้วยการพัฒนายาตัวหนึ่งได้สำเร็จ ซึ่งตอนนี้ถูกใช้เพื่อรักษาอาการติดสารเสพติดอยู่ ส่วนนักชีวเคมีกลุ่มหนึ่งก็กำลังใช้ในการพัฒนายาที่หวังว่าจะสามารถช่วยรักษาโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง และพาร์กินสัน

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ