fbpx

รู้จักหรือเปล่า ‘กลุ่มฟรีแกน’ ผู้พิทักษ์โลกด้วยการคุ้ยขยะ?

ได้ยินแค่ชื่อหลายคนอาจจะนึกถึงอีกคำหนึ่ง นั่นคือ วีแกน (Vegan) ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่ไม่บริโภคสิ่งของที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เพื่อต่อต้านการทารุณสัตว์ในกระบวนการผลิต แต่จริงๆ แล้วเป็นคนละกลุ่มกัน เพียงแต่มีอุดมการณ์ในรูปแบบที่คล้ายกัน

ได้ยินแค่ชื่อหลายคนอาจจะนึกถึงอีกคำหนึ่ง นั่นคือ วีแกน (Vegan) ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่ไม่บริโภคสิ่งของที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เพื่อต่อต้านการทารุณสัตว์ในกระบวนการผลิต แต่จริงๆ แล้วเป็นคนละกลุ่มกัน เพียงแต่มีอุดมการณ์ในรูปแบบที่คล้ายกัน

คำว่า ฟรีแกน (Freegan) ก็มาจากคำว่า Free บวกกับคำว่า Vegan และใช้เรียกกลุ่มคนที่ต่อต้านระบบบริโภคนิยมและทุนนิยมโดยเฉพาะเรื่องอาหาร

พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นฟรีแกนก็คือกลุ่มคนที่นำขยะที่ยังไม่ควรเป็นขยะมาใช้ประโยชน์เพื่อลดปริมาณของเสียให้กับโลก ซึ่งต้นทางของขยะเหล่านี้ส่วนมากก็จะมาจากห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ หรือซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำที่มักจะโละสินค้าตามวันหมดอายุที่กำหนดหรือเพียงแค่สภาพบอบช้ำเล็กๆ น้อยๆ ทั้งที่จริงๆ ยังสามารถบริโภคได้

คำว่า  ‘ฟรีแกน’ ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1995 โดยคือ คีธ แม็คเฮนรี่ (Keith McHenry) นักกิจกรรมเพื่อสังคมซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม Food Not Bombs ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือคนยากจน คนที่หิวโหย และต่อต้านความรุนแรง ซึ่งมีสาขาอยู่ที่ประเทศไทยด้วย

จากนั้นฟรีแกนก็กระจายตัวไปทั่วโลกทั้งในอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมัน นิวซีแลนด์ อังกฤษ ฯลฯ ในแต่ละประเทศก็จะถูกเรียกในชื่อที่ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่นในอเมริกาเหนือจะเรียกว่า ‘Dumpster Diving’ หรือ ‘Urban Foraging’

ออสเตรเลียเรียกว่า Skip Dipping เยอรมันเรียกว่า Containern นิวซีแลนด์เรียกว่า Doing the duck ส่วนในอังกฤษจะมีชื่อเรียกหลายคำ ไม่ว่าจะเป็น Skipping, Bin Raiding และ Skipitarianism

ถึงจะเรียกไม่เหมือนกันแต่อุดมการณ์ของพวกเขาก็คือสิ่งเดียวกัน และคนที่เป็นฟรีแกนก็มีทั้งคนจน คนรวย หรือแม้แต่คนที่ทำงานวิชาชีพต่างๆ เช่น วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ ก็สามารถเป็นฟรีแกนได้ ขอแค่มีอุดมการณ์เดียวกันเป็นพอ

นอกเหนือจากการเก็บอาหารที่ถูกโละก่อนเวลาอันควรมาบริโภคแบบไม่ต้องควักตังค์ในกระเป๋าซื้อให้สิ้นเปลืองแล้ว ฟรีแกนบางคนก็ยังมีการนำขยะที่เป็นของใช้สภาพดีไปขายต่อสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

ที่ต้องใช้คำว่าเป็นกอบเป็นกำก็เพราะของที่พวกเขาเคยหามาได้จากกองขยะนั้นมีตั้งแต่เสื้อผ้า เครื่องประดับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงของหรูๆ

 เคยมีข่าวว่ากลุ่มฟรีแกนในสิงคโปร์รวบรวมข้าวของที่หามาได้ไปมอบให้กับแรงงานข้ามชาติในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น นำไปจับสลากของขวัญปีใหม่ ซึ่งของที่เหล่านั้นมีทั้งกระเป๋าถือยี่ห้อ Coach และ Louise Vuitton ลำโพง Sony โซนี่ โทรทัศน์ แล็ปท็อป ซึ่งทั้งหมดยังอยู่ในสภาพดีมาก

ข้าวของเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นข้อเสียของระบบบริโภคนิยมและทุนนิยมที่ทำให้คนให้ความสำคัญกับสัญญะบางอย่างมากกว่าคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งของ ทำให้มีของดีๆ ถูกทิ้งเกลื่อนไปหมดเพียงเพราะหมดความหมายในเชิงสัญญะและก่อให้เกิดปัญหาขยะล้นโลกอย่างทุกวันนี้

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ