fbpx

SpaceTech เมื่อเทคโนโลยีอวกาศกำลังก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนไทย

ภาคอวกาศ ภาคพื้นดิน และภาคฐานข้อมูล เมื่อรวมกันก็สามารถเกิดเป็นแรงขับเคลื่อนในเศรษฐกิจอวกาศได้ โดยหลักๆ ‘เอกชัย ภัคดุรงค์’ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส บมจ.ไทยคม พร้อมให้ข้อมูลในด้าน ‘Space Economy Development in Thailand’ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและเห็นภาพ จึงขอเริ่มที่เรื่องระบบนิเวศของกิจการอวกาศกันก่อน ระบบนิเวศของกิจการอวกาศไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ไกลตัว ระบบนิเวศของกิจการอวกาศที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมีหลักๆ อยู่ 4 รูปแบบ B2B ระหว่างภาคธุรกิจกับภาคธุรกิจ B2C ระหว่างภาคธุรกิจกับผู้บริโภค Short implementation timespan แบบใช้ระยะการทำงานสั้น Long implementation timespan แบบใช้ระยะการทำงานยาว ซึ่งโมเดลที่ทำให้เกิดเป็นธุรกิจอวกาศคือสร้างสิ่งที่อยากจะสร้างกับสร้างสิ่งที่ตอบโจทย์ประชาชน จากเดิมที่หลายคนรู้จักว่าเทคโนโลยีอวกาศเป็นเพียงแค่การสื่อสารคมนาคมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วมันมีบทบาทมากกว่านั้น ยกตัวอย่าง Space Applications ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน 1.Broadband and Broadcast การสื่อสารคมนาคม อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม 2.Remote Sensing ใช้ดาวเทียมถ่ายภาพเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในภาคส่วนต่างๆ ได้ เช่น การเกษตร การประมง […]Read More

AgTech ผสานความแข็งแกร่งภาคการเกษตรเข้ากับนวัตกรรม

AgTech AI Consortium Synergy for AgriFuture โครงการที่มีแนวคิดดึงเอาศักยภาพความแข็งแกร่งของภาคการเกษตรอันเป็นที่โดดเด่นของประเทศมายกระดับประยุกต์เข้ากับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อการพัฒนาในหลายๆ ภาคส่วน อาทิ ด้านการเกษตร ด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงด้านบุคลากรโดยเฉพาะบุคลากรรุ่นใหม่ ก่อนที่เราจะกล่าวถึง AgTech เทรนด์ที่น่าสนใจมากสำหรับประเทศเรา มาทำความรู้จักกันสักหน่อยว่า AgTech หรือ Agriculture Technology นั้นคืออะไร? คำตอบคือเป็นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการพัฒนาคุณภาพการเกษตร ทั้งในด้านการสร้างผลผลิต การอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร หาแนวทางการทำการเกษตรที่เหมาะสม แม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูงสุด การรวมพลังผู้เชี่ยวชาญทุกฝ่ายผลักดันกลุ่มคนรุ่นใหม่เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเกษตร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติหรือ NIA ร่วมกับ SCG WEDO และเครือข่ายมหาวิทยาลัยนำร่อง ในปีนี้มี 3 มหาวิทยาลัยได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรานารี ร่วมมือกันบ่มเพาะเสริมพลังให้กับเหล่าบุคลากรรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนิสิต นักศึกษาที่มีความรู้ ความสนใจในด้านการเกษตร ด้านนวัตกรรม และด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย โดยมุ่งเน้นความสำคัญแบบ 3+2 3 สิ่งแรก ประกอบด้วย 1.AI หรือปัญญาประดิษฐ์ […]Read More

MedTech อุปสรรค การแก้ปัญหา และอนาคตของเทคโนโลยีเกิดใหม่

นวัตกรรม MedTech ถือเป็นเรื่องดีจากสถานการณ์เลวร้ายอย่างการแพร่ระบาดโควิด ที่ทำให้นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และนักพัฒนาเทคโนโลยีหลายแขนง มีเป้าหมายการพัฒนาเทคโนโลยีที่ชัดเจนเจาะจง รวมทั้งเป็นโอกาสให้นำงานวิจัยที่เคยทำมาต่อยอดสู่การแก้ปัญหาด้านการแพทย์อย่างเร่งด่วน เกิดเป็นผลงานที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและ เพิ่มความมั่นคงด้านสุขภาพให้กับคนไทยไปพร้อมกัน แต่กว่าสตาร์ทอัพในกลุ่ม MedTech แต่ละรายจะมาถึงจุดที่พัฒนาผลงานได้เป็นรูปธรรม ก็ต้องเจอกับอุปสรรคความท้าทายไม่น้อย ในงานนวัตกรรมแห่งชาตินี้มีตัวแทนสตาร์ทอัพด้าน MedTech ในด้าน Digital, 3D Robotics, and Synthetic Biotechnologyอย่าง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ผู้ผลิตยาและวัคซีนจากพืช บริษัท Meticuly จำกัด กลุ่มวิศวะที่พัฒนาด้านการขึ้นรูปโลหะมาสู่การทำชิ้นส่วนมนุษย์จำลองเพื่อการแพทย์ บริษัท ดิจิโปรสไมล์ จำกัด โปรแกรมและการสั่งงานผ่านชิ้นงามสามมิติเพื่อการดูแลรักษาฟัน และ บริษัท มิโอทรีดี จำกัด (Lumio 3D) บริษัทสตาร์ทอัพที่เน้นสแกนสามมิติคุณภาพสูงในหลายอุตสาหกรรมแม้กระทั่งโบราณวัตถุที่ผันตัวมาสู่การสแกนอวัยวะส่วนต่าง ๆในร่างกายมนุษย์เพื่อการแพทย์ MedTech แต่ละรายล้วนมีปัญหาและอุปสรรคกว่าจะก้าวมาถึงจุดนี้ แต่มีจุดร่วมที่คล้ายกัน นั่นคือ เกิดขึ้นเพื่อต้องการแก้ปัญหาทางการแพทย์ และเกือบทั้งหมดเริ่มต้นมาจากการการมองเห็นความเป็นไปได้ ที่จะใช้นวัตกรรมที่ตนเองคิดขึ้นแก้ปัญหาให้กับแพทย์ในการรักษาคนไข้ในทางใดทางหนึ่ง จากการรับรู้ข้อมูลที่เกิดจากการสื่อสารเชื่อมโยงกับกลุ่มเครือข่ายแพทย์ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ที่แตกต่างมากที่สุดคือการเริ่มต้นของใบยาฯ ที่เกิดขึ้นเพราะมีโควิดเป็นตัวเร่งและทำให้นักวิจัยต้องลุกขึ้นนำงานวิจัยที่มีอยู่มาต่อยอดด้วยตัวเองและก้าวกระโดดจากการทดลองในคนมาสู่การทดลองกับมนุษย์เพื่อเป้าหมายการผลิตยาและวัคซีนจากพืชเพื่อเพิ่มทางเลือกและความมั่นคงได้การแพทย์ให้กับคนไทยในอนาคต […]Read More

How-To เปลี่ยนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยี

ศุภชัย เจียรวนนท์ Chairman of the Digital Council of Thailand และผู้บริหารระดับสูงจากเครือซีพี ร่วมให้ทิศทางพัฒนาประเทศไทยไปสู่ศูนย์กลางเทคโนโลยี ในงาน ‘STARTUP X INNOVATION THAILAND EXPO 2021 ในหัวข้อ “Thailand Innovation Hub: Center of Excellence for Deep Tech” ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ ปัจจุบันความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงนวัตกรรม เป็นปัจจัยหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ ประเทศใดจะมีความสามารถพัฒนาทางการแข่งขันได้ดีแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้ การต่อยอดเทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จะอยู่ใน 5 กลุ่มนี้ ได้แก่ BIOTECH, NANOTECH, ROBOTICS, DIGITAL และ SPACE Technology 4 กลุ่มแรกคนไทยอาจจะคุ้นเคยกันบ้างแล้ว ส่วนในเรื่องของ Space Tech อาจจะอยู่ในขีดวงจำกัด แต่ไทยก็ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ไม่ล้าหลังและอยู่ระหว่างการพัฒนาอย่างจริงจัง […]Read More

STARTUP X INNOVATION THAILAND EXPO 2021

อีเว้นต์เสมือนจริง ที่จะเปิดประตูสู่โลกแห่ง Deep Tech นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมโลกใบเดิม..   กลับมาอีกครั้งกับงาน Startup x Innovation Thailand Expo 2021 (SITE 2021) บิ๊กอีเว้นต์แห่งปีที่หลายคนตั้งตารอ แม้ว่าสถานการณ์โรคระบาดจะยังไม่คลี่คลาย แต่เพื่อให้สมศักดิ์ศรีงานใหญ่ของวงการสตาร์ทอัพและนวัตกรรม ในปีนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ในฐานะพ่องานใหญ่ยังคงจัดเต็ม ทั้งรูปแบบการจัดงานที่ยิ่งใหญ่และพิเศษกว่าที่เคย ด้วยการพาทุกคนไปเปิดท่องโลกแห่งเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) ซึ่งกำลังเป็นที่จับตามองว่า จะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงและพลิกโฉมประเทศไทยทุกภาคส่วนอย่างไร พร้อมตื่นตาตื่นใจไปกับการจัดงาน ในรูปแบบ Virtual Event หรือ อีเว้นต์เสมือนจริง ที่ไม่ใช่แค่เป็นการพลิกโฉมจากอีเว้นต์ปกติ ที่ผู้คนมารวมตัวกัน มาอยู่บนโลกออนไลน์เท่านั้น แต่ยังจัดเต็มด้วยหลากหลายลูกเล่นในงานที่อัจฉริยะกว่าเดิม ทั้งการสร้างประสบการณ์เสมือนจริงแบบไร้รอยต่อด้วยนิทรรศการรูปแบบ 360’ virtual exhibition ให้ความรู้สึกเสมือนเดินอยู่ในงานจริง สามารถพูดคุยกับผู้ประกอบการได้แบบเรียลไทม์ เหนือกว่าด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชมกับนิทรรศการในโลกเสมือนผ่านการสร้างตัวตนของผู้เข้าชม (Avatar)  เบื้องหลังการกลับมา…ที่ต้องปังกว่าเดิม! ใครที่เคยได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งหรือติดตามงาน Startup x Innovation Thailand Expo มาตั้งแต่ปีที่แล้ว […]Read More

จะดีแค่ไหนถ้าใช้ “ เสียง ” ของคุณเป็น “รหัสปลดล็อก” ได้!!

เมืองไทยประกันชีวิต ให้คุณ สะดวกมากขึ้น! ปลอดภัยมากขึ้น! มั่นใจมากขึ้น! ด้วย “บริการยืนยันตัวตนด้วยเสียง (Voice Biometrics)”  บริการที่สร้างความมั่นใจให้กับคุณว่าข้อมูลจะได้รับการป้องกันเป็นอย่างดีด้วยนวัตกรรมด้านความปลอดภัยที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพมายืนยันตัวบุคคลด้วย “เสียงพูด” โดยใช้เสียงของคุณปลดล็อกการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว • สะดวกขึ้น เมื่อใช้บริการ Call Center 1766 • รวดเร็วขึ้น สามารถเข้าถึงบริการได้เลย • ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ด้วยนวัตกรรมใหม่ด้านการบริการ ลงทะเบียนใช้บริการยืนยันตัวตนด้วยเสียง (Voice Biometrics) ได้ง่ายๆ ที่ 1. Video Call ผ่าน MTL Click Application (ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 17.00 น.) 2. โทร. 1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง 3. ศูนย์บริการลูกค้าเมืองไทยประกันชีวิตทั่วประเทศ (ในวันและเวลาทำการ) พิเศษ! […]Read More

เป็นลูกค้าเมืองไทยประกันชีวิต แค่คิดก็ยิ้มกว้างกว่าใคร!

บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ใส่ใจความสุขและความคุ้มค่าของลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญพร้อมอำนวยความสะดวกด้านกรมธรรม์ประกันภัยให้กับลูกค้าผ่านบริการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังพร้อมดูแลลูกค้าในทุกช่วงของชีวิตด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ ช่องทางการขายที่หลากหลาย ผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุก Journey ในแบบที่มีความเฉพาะตัวของบุคคล (Personalization) มากยิ่งขึ้น ด้วยการให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก และลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกจากบ้านในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ยังไม่คลี่คลาย ผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ การพัฒนาบริการ Video Call ที่ให้ลูกค้าทำธุรกรรมผ่านออนไลน์ได้ง่ายเพียงโทร.1766 รวมถึงบริการเสริมพิเศษทั้งด้านไลฟ์สไตล์ต่างๆ และด้านสุขภาพที่หลากหลายให้กับลูกค้าทุกท่าน เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ให้สามารถใช้บริการได้สะดวกทุกที่ ทุกเวลา อาทิ • สิทธิพิเศษเมืองไทย Smile Emagazine ให้คุณอัปเดตทุกเทรนด์ของความสุข เฉพาะที่นี่ที่เดียว อ่านฟรีทุกเดือน! เพียงแจ้งอีเมลมายังบริษัทฯ  • แคมเปญพิเศษ Big Thanks for YOUR VOICES ร่วมลุ้นรับรางวัลแทนคำขอบคุณ รวมมูลค่ากว่า 800,000 บาท* รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3rorJfW (*ใบอนุญาตเลขที่ 383/2564) […]Read More

Dancing with a Baker นวัตกรรมขนมปังแห่งแรกของไทย แบรนด์อารมณ์ดี คู่ใจสายรักสุขภาพ

เมื่อพูดถึงอาหารสุขภาพ ก็มักจะเจออาหารที่ไม่ค่อยคุ้นลิ้นสักเท่าไร ยิ่งถ้าเป็นสายคาร์บเลิฟเวอร์แต่เซย์โนความอ้วน จะมองหาขนมปังที่ต้องอร่อยและเป็นมิตรกับสุขภาพ หรือถ้าเป็นสายคีโต หรือแพ้กลูเตน การจะได้กินขนมปังสักชิ้นคงลืมไปได้เลย สารพัดความต้องการของคนโหยขนมปังมีหลากหลาย แต่เชื่อไหมว่ากลับมีขนมปังแบรนด์ไทยที่สามารถตอบโจทย์นี้ได้หมด จบทั้งเทสตี้ (Tasty : รสชาติ) และ เฮลธ์ตี้ (Healthy : สุขภาพ) กับ ‘Dancing with a Baker’ แบรนด์ขนมปังไร้แป้ง ไร้น้ำตาล จากการริเริ่มของ ตรัย สัสตวัฒนา และ พีรดา ศุภรพันธ์ คู่รักอดีตที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ที่จับพลัดจับผลูหยิบจับงานอดิเรกและประสบการณ์การลดน้ำหนักของตัวเอง มาครีเอทขนมปังสูตรเฉพาะนี้ และกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ ชีวิต 130 กิโลกรัม ที่มาของการคิดค้นสูตรขนมปังไร้แป้ง ไร้น้ำตาล ที่มาของชื่อแบรนด์แสนน่ารักนี้ เกิดจากไอเดียของ ‘ตรัย’ หนุ่มอารมณ์ดี อดีตเจ้าของน้ำหนัก 130 กิโลกรัม ในยามที่วานภรรยาช่วยหยิบวัตถุดิบขณะที่เขาทำอาหาร ความที่ภรรยาไม่ค่อยได้เข้าครัว ไม่รู้ว่าของเก็บไว้ตรงไหน กิริยาก็จะเหมือนหมุนตัวเต้นรำอยู่กลางครัว ทำให้ตรัยผุดคำว่าDancing with a Baker […]Read More

Zeekdoc: ทางเฉพาะสำหรับ ‘หมอเฉพาะทาง’

ขึ้นชื่อว่าอาการเจ็บไข้ได้ป่วย คงไม่มีใครอยากจะประสบพบเจอ เพราะร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย ย่อมเป็นสิ่งที่น่าพึงปรารถนา และทำให้ชีวิตดำเนินไปอย่างราบรื่น ทำทุกสิ่งได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ แต่ถึงอย่างนั้นแล้ว เรามนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ก็ย่อมหลีกหนีความเจ็บป่วยไม่พ้น มากบ้าง น้อยบ้าง แต่สำหรับคนที่เจ็บป่วยด้วย ‘โรคเฉพาะทาง’ ที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นพิเศษ น่าจะลำบากยิ่งกว่า เพราะหมอผู้ที่มีทักษะชำนาญ ไม่ได้พบเจอกันได้ง่ายๆ ในโรงพยาบาลทั่วทุกแห่ง บางคน อาจจะต้องเดินทางไปกลับ ใช้เวลาหลายชั่วโมง เพื่อรับการรักษา เสียทั้งเงิน เวลา แต่ก็กลายเป็นเรื่องที่ได้แต่ทำใจ มันจะดีหรือไม่ ถ้าหากมีแอปพลิเคชัน ‘ทางเฉพาะ’ เพื่อค้นหา ‘หมอเฉพาะทาง’ ที่สามารถนัดหมาย สอบถาม และเข้ารับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และด้วยคำถามเดียวกันนี้เอง ที่ทำให้ ฟ้า – วลัยพรรณ ฉันทร์มิตรกุล อดีตผู้แทนยา ดีกรีเภสัชกรจากรั้วจามจุรี ได้ร่วมกับเพื่อนๆ พัฒนาแพลตฟอร์ม ‘Zeekdoc’ ที่ช่วยให้ผู้ใช้งาน สามารถค้นหา ‘แพทย์เฉพาะทาง’ หรือที่เรียกกันว่า ‘แพทย์อนุสาขา’ ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น GM Live ได้ร่วมพูดคุยในรายละเอียด ทั้งจุดเริ่มต้น […]Read More

ITAX: ให้ ‘ภาษี’ เป็นเรื่องง่าย ถูกกฎหมาย และเท่าเทียม

ในบทความชิ้นนี้ จะมาพูดถึงเรื่องของ ‘ภาษี’… ช้าก่อน อย่าพึ่งเบือนหน้าหนี! รู้ว่าเป็นเรื่องที่อาจทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายไปบ้าง เพราะลงว่าเป็นเรื่องภาษีแล้ว นอกเหนือจากเงินที่ต้องจ่ายให้กับภาครัฐซึ่งห้ามขาด ห้ามช้า มิฉะนั้นนอกจากจะถูกคิดคำนวณย้อนหลังแล้ว กระบวนการกรอกเอกสารและคำนวณหักลบต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ไม่สู้จะเอื้อให้กับผู้เสียภาษีเลยแม้แต่น้อย ถ้ามีตัวช่วยที่ทำให้ภาษีนั้น ‘เป็นเรื่องง่าย’ และสะดวกได้ในไม่กี่ขั้นตอน จะดีกว่าหรือไม่ ความคาใจเหล่านี้ เกิดขึ้นในความคิดของ ผศ.ดร. ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ หรือ ดร.มิก นักเศรษฐศาสตร์การเงินแห่งมหาวิทยาลัยสยาม ผู้มองว่าภาษีนั้นเป็นเรื่องสำคัญและควรเป็นเรื่องง่าย จนเกิดเป็นแพลตฟอร์ม  ‘ITAX’  ที่ช่วยให้กระบวนการเสียภาษี สามารถทำได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ยุ่งยากอย่างที่เคยเป็น  ซึ่ง GM Live ได้ร่วมพูดคุยถึงมุมมองด้านการเงิน ด้านเศรษฐศาสตร์ และทิศทางของ ITAX กับธุรกิจสตาร์ทอัพในภายภาคหน้า รับรองว่า บทสนทนานี้ จะไม่น่าเบื่อ เหมือนตอนกรอกใบภาษีแน่นอน… ไม่ใช่ไม่อยากเลี่ยง แต่ที่ยอมเสี่ยง เพราะ ‘ไม่รู้จะทำอย่างไร’ เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่า มีคนถูกปรับฐานหลีกเลี่ยงภาษีกันอยู่เป็นประจำ และค่าปรับย้อนหลังที่เป็นอัตราทบต้นนั้น ก็ทำให้ต้องปาดเหงื่อหรือล้มพับลง ณ ที่ยืนกันไปเลย ทำให้สงสัยอยู่เสมอว่าทำไมถึงไม่ยอมเสียภาษี ทำไมถึงยอมเสี่ยง […]Read More