fbpx

เมื่อ ‘ท่อตัน-ปั้มแตก’ จุดประกายสตาร์ทอัพ ‘Fixzy’ แอปฯ หาช่างซ่อมรายแรกของไทย

ในวันที่ท่อตัน น้ำไม่ไหล ไฟรั่ว ปั๊มน้ำไม่ทำงาน คุณอาจปวดหัวกับการเจอช่างที่แก้ปัญหาไม่ตรงจุด หรือวุ่นวายกับการขอเบอร์ช่างจากเพื่อนบ้าน  ใครจะรู้…ว่าช่างที่แนะนำกันมาปากต่อปากจะไว้ใจได้แค่ไหนกัน เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่า ช่างที่เปิดประตูต้อนรับให้เข้ามาซ่อมบ้าน อาจเป็นคนเดียวกับมิจฉาชีพ ประเภทรับงานทั้งที่ไม่ถนัด หรือทิ้งงานไว้กลางทางกับปัญหาที่ยังคาราคาซัง!  คำติดหูอย่าง “ช่างจอมหลอกลวงในตำนาน” จึงกลายเป็นหนึ่งในปัญหาปวดใจสุดคลาสสิคของคนที่มองหาช่างซ่อมบ้าน  แต่สำหรับ รัชวุฒิ พิชยาพันธ์ อดีตโปรแกรมเมอร์ กลับไม่ได้มองปัญหานี้แบบผ่านเลยไป และเช่นเดียวกับคนที่เคยประสบปัญหาแบบเดียวกัน เขากลับหยิบยก Pain Point เหล่านี้มาขบคิดและกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘Fixzy’ (ฟิกซี่) แอปพลิเคชันค้นหาช่างซ่อม ที่ปัจจุบันกลายเป็นแอปฯ สุดเจ๋งคว้ารางวัล Winner สาขา Best Life Helper จาก ASEAN Rice Bowl Startup Awards 2019 และได้รับความไว้วางใจจากคนเมืองยุคใหม่ ที่จะเปลี่ยนเรื่องการซ่อมบ้านที่เคยกวนใจ เป็นเรื่องง่ายและอุ่นใจมากขึ้น จากไอเดียสู่การลงมือทำ ไม่ง่ายอย่างทื่คิด  อดีตโปรแกรมเมอร์ เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ เจ้าของผับ เจ้าของนิตยสาร และนักพัฒนาแอปพลิเคชัน อย่างรัชวุฒิกระโดดเข้าสู่การเป็นสตาร์ทอัพประเภท Prop Tech […]Read More

‘TASKET’ เมล็ดพันธุ์สตาร์ทอัพเพื่อชาว Gen Z คู่คิดหาที่ฝึกงานให้นักศึกษา ยุคหลังโควิด

ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่สร้างผลกระทบครั้งใหญ่ให้หลายธุรกิจลุกขึ้นมาปรับตัว เพื่อความอยู่รอด ส่งผลให้อนาคตของ สตาร์ทอัพระดับเมล็ดพันธุ์ ที่เพิ่งจะเริ่มต้นหย่อนเมล็ดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา อาจถึงขั้นต้องพับโปรเจ็คต์หรือชะลอการลงทุนชั่วคราว หากแต่ยังมีเมล็ดพันธุ์หนึ่งที่ค่อยๆ เติบโตเป็นต้นกล้าและท้าทายลมพายุที่โหมกระหน่ำอย่างไม่หวั่นเกรง เมล็ดพันธุ์นั้นมีชื่อว่า ‘Tasket’ Tasket  เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยมีธงในการก่อตั้งเว็บไซต์ คือ เพื่อค้นหาสถานที่ฝึกงานในธุรกิจ Tech Startup ให้กับนักเรียนและนักศึกษากลุ่ม Gen Z  ภายใต้การริเริ่มจากไอเดียของ โจทาโร่ เซร่า CEO & Co-Founder ของ Tasket  ก่อนเปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการในช่วงเดือนมีนาคมปี 2563 มีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ ค้นหาสถานที่ฝึกงานที่น่าสนใจทั้งในกลุ่ม Tech Startup และธุรกิจอื่นๆ ให้กับนักศึกษา, พัฒนาทักษะของนักศึกษาให้เป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน และคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติโดดเด่นแก่บริษัทชั้นนำของไทย  แม้การเชื่อมต่อนักศึกษากับองค์กรอาจดูไม่ใช่เรื่องซับซ้อน หากแต่ในความเป็นจริง ‘ช่องว่าง’ ในการตามหาคนให้เหมาะสมกับงานยังเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายองค์กรไม่อาจปฏิเสธได้ บวกกับพิษโควิด-19 ที่ทำให้อัตราการว่างง่านของบัณฑิตจบใหม่มีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 8 แสนคนภายในปีนี้ (อ้างอิงข้อมูลจากสภาองค์กรนายจ้างแห่งประเทศไทย) ทำให้โจทาโร่ […]Read More

‘Knowcean’ ทะเลความรู้โลกยุค 4.0 เรียนรู้เรียลไทม์ติวเตอร์แบบ one-by-one

ปี 1999 คือ ปีที่ Elliott Masie ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา บัญญัตินิยามใหม่ของการเรียนออนไลน์ว่า ‘E-Learning’ แต่กว่าการเรียนออนไลน์จะได้รับความนิยมแพร่หลายและเติบโตแบบก้าวกระโดดก็ใช้เวลาเกือบ 18 ปี (2017) กระทั่งโควิด-19 เปลี่ยนโลกแห่งการศึกษาในชั่วข้ามคืน ส่งผลให้การเรียนออนไลน์กลายวิถีใหม่จาก ‘กระดานดำ’ สู่ ‘แท็บเล็ต’ เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพใหม่ในชื่อ ‘Knowcean’ เติบโตอย่างรวดเร็ว หากเรานำคำว่า ‘Knowledge’ (ความรู้) บวกกับ ‘Ocean’ (มหาสมุทร) จะได้นิยามใหม่แห่งการศึกษาที่เรียกว่า  “มหาสมุทรแห่งความรู้ ” อันเป็นที่มาของชื่อ Knowcean  เว็บไซต์ที่เชื่อมต่อผู้คนในแวดวงการศึกษาเข้าด้วยกัน พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ พื้นที่ออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ “ศิษย์พบครู” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการเข้าถึงบุคคลากรทางการศึกษา และความรู้นอกตำราที่ถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ของ “รุ่นพี่สู่รุ่นน้อง”  Knowcean ก่อตั้งโดย 4 คนรุ่นใหม่อย่าง ปรางฉาย พิลาดิษฐ์ (CEO)  จิโรจ  แก้วมณี (CPO) พรหมพัฒน์ ไชยเดช (CTO) และ ตันติวรากรณ์ […]Read More

Horganice: ใส่ใจและบริการในงานบริหาร ‘ที่อยู่อาศัย’

บ้านพักอาศัยแบบถาวรเป็นฝันของใครหลายๆ คน แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจและความจำเป็นที่แตกต่าง หลายคนจำต้องเลือกพักในสถานที่ ‘ชั่วคราว’ อย่างเช่นหอพัก หรือ อพาร์ทเมนท์ ที่มีการจัดเก็บรายเดือน เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และก็อีกเช่นกัน ที่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ดูจะเป็นความยุ่งยาก ทั้งฝั่งผู้พักอาศัย และฝั่งผู้เป็นเจ้าของ ทั้งการวางบิล การคำนวณค่าไฟ ค่าน้ำ รวมถึงการตามค่าเช่าตกค้าง กลายเป็นความยุ่งเหยิงที่ไม่สิ้นสุด  จะดีแค่ไหน  ถ้าหากมีใครมาช่วยขมวดทุกกระบวนการเหล่านี้ ให้สะดวก และง่ายขึ้น จบทุกขั้นตอนให้เสร็จเหลือเพียงรายละเอียดปลายทางในช่วงปลายเดือน?  GM Live  ได้มีโอกาสร่วมพูดคุยกับ เฟิร์ส – ธนวิชญ์ ต้นกันยา CEO หนุ่มของบริษัท Horganice (หอแกไนซ์) ผู้ให้บริการระบบจัดการหอพักรูปแบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ เป็นตัวกลางที่เชื่อมประสานระหว่างผู้เช่ากับผู้เป็นเจ้าของ ให้ทุกอย่างง่าย สะดวก และหมดปัญหาเรื่องอึดอัดขัดข้องในระหว่างทาง ที่นอกจากจะเป็นการสนทนาที่เปี่ยมไปด้วยพลังของคนหนุ่มถึงที่มาที่ไป แนวคิด และวิธีการของบริษัทแล้ว เรายังได้เห็นภาพที่เขามองไปข้างหน้า มุมมองของเขาที่มีต่อธุรกิจ Startup ในอนาคต รวมถึงการมีส่วนร่วมของเขากับ ‘ภาครัฐ’ ในการเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสู้กับวิกฤติ COVID-19 ที่กำลังรุมเร้าอยู่ในขณะนี้  เขาคือตัวอย่างของคนหนุ่มไฟแรง ที่มีทั้งความมุ่งมั่น […]Read More

MYBAND: ผู้สร้างวัฒนธรรมดนตรีสดถูกลิขสิทธิ์ ให้เป็นเรื่องง่าย

โซลูชั่นสุดคูลที่ฟังดูจะช่วยแก้ปัญหาสุดคลาสสิคของวงการดนตรี ที่มักมีการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่เสมอจนมองเป็นเรื่องปกติ กว่ามาถึงจุดนี้ไม่ได้โลกสวยอย่างที่คิด แต่ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาสตาร์พอัพเล็กๆ อย่าง MYBAND ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าโมเดลธุรกิจนี้แก้ปัญหาได้จริงและสร้างรายได้จริง!  จากประสบการณ์ที่เติบโตในวงการดนตรีมานาน จากการเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลง และนักจัดงานอีเว้นท์ ทำให้ กรรณ ศิธาพัฒน์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท มายแบนด์คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด มองเห็นปัญหาจากสองฝ่าย ทั้งการจัดหาวงดนตรีเพื่อแสดงในงานต่างๆ และอีกด้านกับเพลงที่นักดนตรีนำมาร้องที่มีความกังวลเรื่องลิขสิทธิ์ จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง MYBAND ที่ให้ผู้มองหาวงดนตรีได้เลือกและจองวงดนตรีร้องเพลงถูกลิขสิทธิ์มาจัดแสดง  ก้าวแรกของสองปีที่เสียไป แต่ไม่เสียเปล่า “ผมจบคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรมา ตอนนั้นความรู้ด้านเทคโนโลยีก็แค่ผู้ใช้งาน เว็บจอง Booking, Agoda ทั่วไป ตอนนั้นผมสนใจแพลตฟอร์มลักษณะนี้ ใช้แล้วรู้สึกสะดวกดี ก็คิดว่าอยากลองทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดนตรีในลักษณะนี้บ้าง” ดังนั้นความคิดแรกที่ผุดขึ้นในหัวของเขา ถ้าจะใช้เครื่องมือดิจิทัลเริ่มต้นธุรกิจ ก็ต้องเป็น ‘แอปพลิเคชั่น’ เท่านั้น ทั้งที่ไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีเลย  แต่ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ กรรณใช้เวลาเป็น 2-3 วันร่างไอเดียที่อยู่ในหัวออกมาเป็นภาพวาดว่าหน้าตาของแอปฯ จะออกมาเป็นอย่างไรทีละหน้า เพื่อนำไปคุยกับโปรแกรมเมอร์และเว็บดีไซเนอร์ น่าเสียดายเวลาผ่านไป 2 ปีก็ยังไม่ได้แอปพลิเคชั่นเป็นเรื่องเป็นราว จนเบนเข็มมาเป็นรูปแบบเว็บไซต์  สองปีที่เสียไป […]Read More

Factorium: แอปพลิเคชัน ‘กระดูกสันหลัง’ แห่งโรงงาน

แล้วลองจินตนาการว่า ถ้ากระบวนการเหล่านี้ หยุดชะงัก ขัดข้อง หรือมีปัญหา จะเกิดอะไรขึ้น?  นั่นทำให้งาน ‘ซ่อมบำรุง’ และ ‘ดูแลรักษา’ เป็นสิ่งที่เคียงคู่กันมาอย่างไม่ห่าง แต่กระนั้น ด้วยจำนวนเครื่องจักรที่มากมาย และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่จำกัด มันจะมีสิ่งใดที่สามารถช่วยให้กระบวนการเหล่านี้ ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น?  GM Live ได้มีโอกาสนั่งร่วมสนทนากับ บาส – สิทธิกร นวลรอด CEO และ Co-Founder ของบริษัท System Stone ผู้ผลิตแอปพลิเคชัน ‘Factorium’ ที่ช่วยดูแลกระบวนการตรวจสอบโรงงานอย่างครบวงจร ที่สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ มีโรงงานทั่วประเทศที่ใช้แอปพลิเคชันนี้ไปแล้วกว่า 3,500 โรงงาน  สิ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของเขานั้น มาจากสิ่งใด เขามองภาพรวมในแวดวง Startup และอุตสาหกรรมเป็นแบบไหน และความคาดหวังสูงสุดที่ Factorium ต้องการ ‘จะไปให้ถึง’ อยู่ที่จุดใด  เชื่อเถอะว่า นี่จะเป็นการสนทนาที่ ‘มีกระบวนการ’ แต่ ‘น่าอภิรมย์’ อย่างยิ่ง […]Read More

ส่งเสริมนักรบทางเศรษฐกิจรุ่นใหม่ ฝ่าภัยโควิด พาไทยก้าวไกลไป 4.0

อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ ซึ่งก็เริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ ภาคธุรกิจ จนถึงภาคสังคม ที่ยังคงอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของความไม่ลงรอยในหลากหลายปัจจัย เป็นวาระที่ ‘สิ่งเก่า’ เริ่มถูกตั้งคำถาม และ ‘สิ่งใหม่’ เริ่มกลายมาเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง  ถึงแม้ว่า COVID-19 จะยังไม่ผ่านพ้นไปในเร็ววัน แต่การปรับตัวเพื่อให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อให้สอดรับกับความเป็นไปในระดับสากล จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับธุรกิจ ‘Startup’ ที่ไม่เพียงแต่จะเป็นรูปแบบที่เติบโตขึ้นอย่างกว้างขวาง แต่ยังได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ภายในองค์กรขนาดเล็ก ที่ไม่ต้องใหญ่โต มีความคล่องตัว ลื่นไหล และสามารถปรับได้กับโลกยุค 4.0 ที่เทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสารช่วยทลายกำแพง และลดข้อจำกัดของรูปแบบการทำงานอย่างเดิมๆ ให้หมดสิ้นไป  แน่นอนว่า Startup ไทย ยังอยู่ในระยะที่อาจจะเรียกได้ว่า ‘เริ่มต้น’ เมื่อเทียบกับตลาดสากล ยังต้องการ การฟูมฟัก สนับสนุน ประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมระบบนิเวศ (Ecosystem) เพื่อเอื้อให้เกิดการเติบโตของธุรกิจ โดยเฉพาะในภาวะการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ครั้งนี้ที่ต้องให้ความใส่ใจมากกว่าการแพร่ระบาดครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมา  จากสภาวการณ์ดังกล่าว สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) จึงได้ออกโครงการส่งเสริม ธุรกิจ Startup ซึ่งปีนี้เป็นปีที่สอง […]Read More

ปักหมุด! แอปซื้อ – ขายรถมือสองจำนวนมาก ให้ราคาโดนใจ

แอปพลิเคชัน “CARRO WHOLESALE” สามารถทำการซื้อ-ขายเกิดขึ้นได้ง่ายและได้วงกว้างกว่าเดิม เพราะสามารถซื้อ-ขายข้ามภูมิภาค และสามารถได้ราคาได้ดีกว่าเดิม เพียงแค่ใช้แอปพลิเคชัน “CARRO WHOLESALE” เป็นตัวช่วยลดช่องว่างของระยะทาง และระยะเวลาให้กับเจ้าของธุรกิจวงการรถยนต์มือสอง นอกจากนี้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานออนไลน์ หรือ เรียลไทม์แล้วยังสามารถมีอำนาจการต่อรองราคาโดยผู้ขายสามารถระบุราคาที่ต้องการขายได้และผู้ซื้อสามารถประมูลราคา โดยสามารถทำได้เองตามขั้นตอนง่ายๆที่สำคัญโอกาสการขายรถเพียงครั้งเดียวสามารถเข้าถึงผู้ซื้อทั่วประเทศไทยกว่า 5,000 รายซึ่งแอปพลิเคชันนี้จะตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน และเห็นการเคลื่อนไหวของการประมูล เช่นราคาสูงและต่ำสุด, จำนวนบิดหรือจำนวนการประมูล, จำนวนดีลเลอร์ที่เข้ามาดูรถหรือเข้าประมูลรถเป็นต้น เพียงดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน “CARRO Wholesale” จากใน iOS หรือใน Google Play และทำตามขั้นตอนง่ายๆ ตามนี้เลย 1.เปิด แอปพลิเคชัน แล้วเข้าสู่ระบบ ด้วยหมายเลขโทรศัพท์ของคุณ จากนั้นระบบจะส่งหมายเลข OTP ไปให้ทาง SMS กรอกแล้วกดยืนยัน 2.เมื่อเข้าสู่หน้าหลักได้แล้ว ให้กด “สมัครเป็นดีลเลอร์” พร้อมกรอกข้อมูลเพื่อยืนยันตัวตน 3.เมื่อทำขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว คุณจะได้สถานะเป็นดีลเลอร์ ซึ่งมีสิทธิ์ในการเสนอราคารถได้ 4.กด “ยืนยัน” เมื่อต้องการเสนอราคา และเมื่อหมดเวลา ระบบจะประกาศ ผู้เสนอราคาได้ นับว่าเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันที่ควรมีติดไว้ […]Read More