หนึ่งในเทคโนโลยีหลักที่ขับเคลื่อนเมตาเวิร์ส คือ บล็อกเชน ที่สามารถระบุความเป็นเจ้าของและยืนยันองค์ประกอบต่างๆ ในโลกดิจิทัลและเมตาเวิร์ส การใช้งานบล็อกเชนในเมตาเวิร์ส จึงเป็นเหมือนตัวกรองข้อมูลที่ทำให้โลกเสมือนกับโลกจริงมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ในการเชื่อมต่อกัน แต่อย่างไรนั้นต้องฟังจากตัวจริงในวงการกับกลไกเบื้องหลังเมตาเวิร์สของไทยที่ยังต้องลงทุนเพื่อพัฒนาองค์ประกอบอีกหลายด้าน กฤษดา รองรัตน์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงการดำเนินงานของบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับโลกดิจิทัลโดยเฉพาะว่า บริษัททำงานด้านบล็อกเชน จัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือของ 6 ธนาคาร ขณะที่ สุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แผนกธุรกิจคลาวด์ ประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด มาเล่าให้ฟังถึงการพัฒนาบริการของหัวเว่ยที่เกี่ยวข้องและจะส่งเสริมการพัฒนาโลกดิจิทัลและเมตาเวิร์สในไทยว่า นอกจากคอสซูเมอร์บิสซิเนสที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักหัวเว่ย ทั้งจาก สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ หัวเว่ยยังมีธุรกิจที่หลากหลายที่คนไทยอาจจะไม่รู้ว่าหัวเว่ยทำด้วย เช่น มีธุรกิจรถยนต์ในจีน เป็นบริษัทที่มีสิทธิบัตรมากที่สุดในโลก เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีที่ใช้ในองค์กร เป็นผู้นำในตลาดไวไฟ 6 และไวไฟ 7 (“EHT-Extremely High Throughput) ที่ทำให้ไวไฟทำงานได้อย่างเสถียรและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการเป็นผู้ให้บริการคลาวด์บิสซิเนสยูนิตที่มีส่วนแบ่งตลาดอันดับสามในไทย แต่มีระยะห่างจากเบอร์ 1-2 ไม่เกิน […]Read More
แวดวงการศึกษาเป็นอีกเป้าหมายที่เชื่อว่าเมตาเวิร์สจะเข้าไปมีบทบาทเปลี่ยนแปลงรูปแบบและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนเชื่อมต่อกันด้วยเมตาเวิร์สที่จะกลายเป็นสถานที่ที่สาม มีเนื้อหามากมายให้เรียนรู้ และเป็นที่ฝึกทักษะที่ช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา แต่ประเทศไทยจะไปถึงจุดที่ใช้เมตาเวิร์สปฏิวัติการเรียนรู้ได้ดีแค่ไหน ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณะบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง นำประสบการณ์ใช้งานเมตาเวิร์สที่ลาดกระบัง ซึ่งมีการตั้งศูนย์เมตาเวิร์สขึ้นมาแล้ว จะมาแชร์ประสบการณ์และชี้ให้เห็นแนวโน้มและโอกาสของเมตาเวิร์สที่จะเข้ามีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบการศึกษาไทยได้อย่างไรบ้าง “ไม่ว่าเราสนใจเมตาเวิร์สหรือไม่ แต่โลกกำลังผลักดันเราไปทางนั้น” ผศ.ดร.อันธิกา เกริ่นนำถึงเมตาเวิร์สที่ทำให้คนที่อาจจะไม่เคยสนใจ รู้สึกอยากรู้จักเมตาเวิร์สขึ้นมาทันที ตามที่คนรู้จักกันทั่วไป เมตาเวิร์ส หมายถึงโลกสามมิติที่ผสมผสานทั้งโลกจริงและโลกเสมือนเข้าไว้ด้วยกันแบบไร้รอยต่อ ที่จะทำให้ผู้คนสามารถเข้าไปใช้ชีวิต ทั้งทำงาน พักผ่อน เล่นเกม พบปะพูดคุย สังสรรค์ รวมทั้งมีกิจกรรมร่วมกันได้เหมือนกิจกรรมต่าง ๆ ในโลกจริง โดยมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นพื้นฐานและปัจจุบันต้องอาศัยอุปกรณ์ เช่น มือถือ อุปกรณ์สวมศีรษะ ฯลฯ เป็นเครื่องมือในการเข้าถึง ผศ.ดร.อันธิกา เล่าว่า ที่ผ่านมาคณะสถาปัตยฯ มีประสบการณ์กับการพัฒนาเมตาเวิร์ส เช่น เปิดตัว KMITL Metaverse ศูนย์การเรียนรู้เมตาเวิร์สครบวงจร เพื่อใช้ในการเรียนการสอนรวมทั้งเปิดให้ผู้สนใจภายนอกเข้าไปศึกษาและใช้งานได้ พร้อมกับมีการจัดกิจกรรมหลายอย่างของมหาวิทยาลัยที่ทำในรูปแบบเมตาเวิร์ส โดยเฉพาะเพื่อเลี่ยงข้อจำกัดที่ทำให้ผู้คนไม่สามารถมาพบปะกันได้ด้วยตัวตนจริง ๆ ในช่วงโควิด ทำให้เมตาเวิร์สที่เริ่มก่อตั้งขึ้นพัฒนาไปมากกว่าแค่เรื่องการเรียนการสอนเพียงอย่างเดียว “ในโลกการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับเมตาเวิร์ส แม้ปัจจุบันเมตาเวิร์สจะยังมีขีดจำกัดในเรื่องของความเร็วอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ต่าง ๆ […]Read More
ภาพรวมและมุมมองเรื่องการลงทุนในสตาร์ทอัพในช่วงปีที่ผ่านมา ในฐานะ VC และ Angel Investor ประเด็นปัญหาจากประสบการณ์การลงทุน รวมไปถึงสิ่งที่ตามมาหลังโควิด-19 การทยอยเปิดเมืองต่างๆ ของทั่วโลกส่งผลอย่างไรต่อการลงทุนในสตาร์ทอัพทั้งในไทยและต่างประเทศ อีกทั้งมุมมองการสร้างแรงดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศสำหรับธุรกิจนวัตกรรมในประเทศไทยจากนี้ไปจะเป็นเช่นไร นักลงทุนตัวจริงมีคำตอบ ธนพงษ์ ณ ระนอง ประธานกรรมการบริหาร สมาคมไทยธุรกิจผู้ประกอบเงินร่วมลงทุน (Tvca) ให้ภาพรวมสตาร์ทอัพไว้ว่า บริษัทร่วมลงทุน ตั้งแต่ช่วงเริ่มจากแองเจิลฟันด์ ก่อนจะพัฒนามาถึงวีซีในซีรีส์ต่างๆนั้น เข้าใจดีว่าสตาร์ทอัพเป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงสูง นักลงทุนส่วนใหญ่จึงใช้วิธีทยอยลงทุนเพื่อร่วมเติบโตไปกับสตาร์ทอัพตั้งแต่ระยะเริ่มต้นหรือศูนย์จนผ่านกระบวนการ Exit ก่อนที่วีซี (Venture Capital) จะมารับช่วงลงทุนต่อ ซึ่ง Tvca จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งจะนับเป็นการระดมทุนรอบใหม่ของสตาร์อัพ ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Tarad.Com และ E-Frastructure Group ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในฐานะแองเจิลฟันด์ว่า โดยส่วนตัวจะใช้วิธีลงปริมาณมากหรือหลายบริษัท ทั้งแบบพิจารณาความเป็นไปได้ของธุรกิจและจากความชอบ เพราะรู้ว่าอัตรารอดของสตาร์ทอัพมีน้อย ไม่ใช้ทุกบริษัทจะประสบความสำเร็จ แต่แองเจิลฟันด์จะใช้วิธีลงทุนร่วมหุ้นแต่น้อย และคอยให้คำแนะนำปรึกษา ซึ่งอาจจะไปด้วยกันได้เติบโตหรือล้มเหลว แยกย้าย แต่แองเจิลฟันด์รู้ดีอยู่แล้วว่าอัตราความสำเร็จของสตาร์ทที่จะเติบโตแบบทวีคูณ หรือ Exponential น้อยมาก บางรายอาจจะสำเร็จแต่ไม่โตก็ไม่เรียกว่าเป็นสตาร์ทอัพ ดังนั้น […]Read More
ตั้งแต่เจอสถานการณ์โควิด ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นแล้วว่า ต่อให้เป็นองค์กรขนาดใหญ่ก็ไม่สามารถอยู่แบบเดิมได้อีกแล้ว แต่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจและการลงทุนเพื่อให้พร้อมรับมือกับความท้าทายและอยู่รอด องค์กรใหญ่ระดับแนวหน้าของไทยอย่าง เอไอเอส และ ปตท. ที่ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากองค์กรขนาดเล็ก ใช้โอกาสนี้พลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสใหม่ทางธุรกิจด้วยนวัตกรรม แน่นอนประสบการณ์จากองค์กรใหญ่เป็นเรื่องที่น่าศึกษาเสมอ มาดูกันว่าวิกฤตโควิดสร้างโอกาสอะไรให้กับเอไอเอสและปตท. อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม เอไอเอส โควิดไม่ใช่วิกฤตใหญ่ครั้งแรกของเอไอเอส การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีแต่ละครั้งสร้างวิกฤตให้ต้องหาทางรอดเสมอ จากยุคที่คนคุยโทรศัพท์ มานิยมใช้ SMS จนถึงยุคอินเทอร์เน็ต ที่เอไอเอสต้องหาทางรอดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและผู้บริโภค จนมาถึงยุคอะไรดีต้องหามาให้ลูกค้า แม้กระทั่งการจัดหาคอนเทนต์บันเทิงเข้ามาให้บริการ ปรับตัวให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค ปรับตัวเองไปสู่ดิจิทัลเซอร์วิสที่ไม่จำกัดโดยใช้นวัตกรรมด้านโทรคมนาคม ปรับตัวโดยมีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง และพัฒนามาตามแผนในยุคของ Digitalization อย่างต่อเนื่อง กระทั่งองค์กรอนามัยโลกประกาศโควิดแพร่ระบาด และรัฐบาลสั่งล็อคดาวน์ “จากวิกฤต ณ วันนั้นที่ทำให้พนักงานไปทำงานไม่ได้ แต่แค่เพียงข้ามคืนก็ทำให้พนักงานเอไอเอสกลายเป็นพ่อค้าแม่ค้าบนเฟซบุ๊ค การหยุกชะงักเพราะวิกฤตทำให้อยู่ในโหมด ไม่ Do ก็ Die กลายเป็นโอกาสให้คิดและลงมือทำในสิ่งที่อาจจะไม่เคยทำอย่างรวดเร็ว เหมือนที่เราเห็นการปรับตัวของผู้คนเข้าหาดิจิทัลเร็วขึ้นกว่าเดิม 3-4 ปีเพราะมีโควิด รวมถึงกิจกรรมบางอย่างที่ไม่คิดว่าจะเกิดได้ในโลกดิจิทัลก็เกิดขึ้น เช่น ขี่จักรยานทิพย์ วิ่งทิพย์ ฯลฯ ซึ่งมีวิจัยของแมคคินซี่บอกไว้ว่า โควิดทำให้ผู้บริโภครับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้เร็วกว่าเดิมถึง […]Read More
จากภาพความเป็นเมืองของกรุงเทพมหานคร มาสู่การพัฒนาระดับประเทศ ภายใต้กรอบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ชุมชนจะมีบทบาทอย่างไรต่อการพัฒนาด้านสังคม วิโรจน์ นรารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) มาร่วมชี้ให้เห็นชุมชนทั่วไทยที่จะมีบทบาทอยู่ในเกือบทุกมิติและกระบวนการพลิกโฉมไทย ตามหมุดหมายการพัฒนาที่ปักธงไว้ ในหัวข้อ “ชุมชนกับการพัฒนาด้านสังคม ภายใต้กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13” ในงาน SITE 2022 “แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่จะพลิกโฉมประเทศไทย ในอีก 5 ปีข้างหน้าไปสู่สังคมก้าวหน้าและมีคุณภาพอย่างยั่งยืน ภายใต้การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ประเทศไทยจะต้องก้าวทันพลวัตของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นั่นหมายความว่าคนไทยจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพเป็นที่มาให้มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาครอบคลุมหลายมิติ ซึ่งมีชุมชนเป็นส่วนสำคัญที่จะมีบทบาทต่อการพัฒนามิติเหล่านั้นในหลาย ๆ ด้าน” วิโรจน์ กล่าว ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 13 กำหนดการพลิกโฉมประเทศแบ่งเป็น 4 มิติการพัฒนา รวม 13 หมุดหมาย ได้แก่ มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย 6 หมุดหมาย โดยมีสองหมุดหมายที่ชุมชนจะมีบทบาทโดยตรงและถือเป็นเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจหลักของประเทศในเรื่อง การท่องเที่ยวที่จะเน้นพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและยั่งยืน และส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นชุมชนในฐานะเจ้าของสถานที่จะมีบทบาทโดยตรงในการร่วมคิดร่วมพัฒนา กับเป้าหมายด้านการเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูงซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าชุมชนของประเทศส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรม มิติที่ 2 ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดไว้สองเป้าหมายในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ กับการลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มิติที่ […]Read More
ผู้ว่ากทม.ยกคำนักประพันธ์เอกของโลก วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ ที่ว่า “คนคือเมือง” เป็นแนวทาง ชี้ให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาเมือง ต้องให้คนเป็นศูนย์กลาง และแก้ปัญหาของคนเป็นหลัก โดยนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นไฮเทคโนโลยีหรือเรื่องยาก แต่ต้องสามารถตอบโจทย์ผู้คนได้อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และยั่งยืน ขณะเดียวกันก็ต้องทำด้วยความยุติธรรมและเข้าใจ หลายเรื่องมีบทพิสูจน์แล้วจากระยะเวลา 10 วันที่เข้ามารับตำแหน่ง รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บรรยายในหัวข้อ “Re-Imagination Mega-City: Bangkok towards City of Innovation” ในงาน SITE 2022 ที่จัดโดยเอ็นไอเอ NIA ยกตัวอย่างบประพันธ์ของวิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ เป็นแนวทาง คนก็คือเมือง ถ้าปราศจากคน สภาพพื้นที่ที่แค่สิ่งก่อสร้างก็คงไม่มีความเป็นเมือง ฉะนั้นการพัฒนาเมืองต้องเน้นที่คนเป็นหลัก โดยเฉพาะแนวโน้มของการเป็นเมือง (Urbanization) ที่จะมีผลกระทบต่อคนในเมืองจำนวนมาก พร้อมเปิดเผยว่า จากการพิจารณากรุงเทพฯในภาพรวมพบอินไซต์ที่เป็นความท้าทาย 3 เรื่องสำคัญได้แก่ หนึ่ง-ความหนาแน่นของเมือง สอง-การเป็นพื้นที่ทำงานเฉพาะทาง และสาม-ความไม่เท่าเทียม ความหนาแน่นแบบไม่มีประสิทธิภาพ เป็นปัญหาที่นำมาซึ่งปัญหาอื่น ๆ ของเมืองอีกมาก เช่น […]Read More
คุณต้องทดลองถูกผิดกี่ครั้ง สมัครงานกี่ตำแหน่ง ลงมือทำกี่อาชีพ กว่าจะค้นพบตัวตน ความชอบ และเป็นเจ้าของความฝันที่คุณอยากทำ ให้มันเกิดขึ้นได้จริงๆ วิชาญ ชัยจำรัส หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท แฮนด์ดี้วิง จำกัด เขาเองก็เคยผ่านเส้นทางการค้นหาตัวตนและความฝันก่อนจะถึงทุกวันนี้ ทั้งการเป็นนักพัฒนาโปรแกรม อาจารย์มหาวิทยาลัย พนักงานบริษัท ฟรีแลนซ์เซอร์ กว่าจะเจอธุรกิจที่พร้อมจะกระโจนเข้าใส่ ทุ่มเททั้งตัวและหัวใจ เพื่อสร้างในสิ่งที่ดีกว่า และกล้าบอกว่า นี่แหละคือสิ่งที่ใช่! ก่อเกิดกำเนิดเป็นแพลตฟอร์ม MoveMax เทคโนโลยีสุดล้ำ นวัตกรรมที่มุ่งจะสร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมขนส่งให้แก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการในด้านใดก็ตาม MoveMax จะช่วยตอบโจทย์และแก้ปัญหาด้านการบริหารธุรกิจการขนส่งสินค้าครบวงจรให้ได้ประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด “ถ้านิยาม MoveMax ด้วยคำจำกัดความสั้นๆ ก็คือ แพลตฟอร์ม ที่เข้ามาช่วยให้การขนส่งและกระจายสินค้าเป็นเรื่องที่ง่าย มีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนสูงสุดด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาขับเคลื่อน” รอยยิ้มที่ปลายทางคือแรงบันดาลใจ หลักการทำธุรกิจของ MoveMax เน้นที่การเติบโตร่วมกันกับลูกค้า และหาวิธีซื้อใจด้วยการสร้างความคุ้นชินก่อนที่จะนำเทคโนโลยีเข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เพราะวิชาญมองว่าการที่วันหนึ่งจะนำแพลตฟอร์ม ซึ่งมีความสามารถล้ำยุคไปให้ลูกค้า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะใครจะเปิดใจรับอย่างง่ายดาย สุดท้ายเขาจึงได้ค้นพบว่าความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าคืออะไร “เราพบว่าความต้องการของลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่ซอฟท์แวร์ที่มาทำหน้าที่ในการจัดการข้อมูลเท่านั้น เราก็เลยตั้งใจว่าจะพัฒนาตนเองบนหลักการที่ว่าเราไม่ใช่ซอฟท์แวร์ แต่เราคือ Solution ที่ทำให้การขนส่งเป็นเรื่องง่ายจบที่เราแค่ระบบเดียว เราจึงโฟกัสไปที่สามเรื่อง 1. สามารถเข้าไปช่วยลดต้นทุนให้กับลูกค้าได้อย่างไร 2. […]Read More
ถ้าหากถามถึงวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ลำดับต้นๆ ที่นึกถึงนั้นคือ ‘ผ้า’ หรือ ‘สิ่งทอ’ เพราะนอกจากอาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคแล้ว เครื่องนุ่งห่มก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่ช่วยก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์และขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง ผ้าหลากชนิด หลายขนาด ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามหลายครั้งที่จำนวนการผลิตและการป้อนเข้าสู่ตลาดผ้ามีมากเกินกว่าความต้องการ ถูกทิ้งค้างในโกดัง ก่อนที่จะถูกปล่อยขายไปในราคาต่ำหรือกำจัดอย่างสูญเปล่า ผ้าที่ตกสำรวจเหล่านั้น คือความสูญเสียที่ไม่อาจประเมินค่าได้ทั้งในแง่คุณค่า และในแง่เศรษฐกิจ และเมื่อ ‘ความจำเป็น’ กับ ‘ความฝัน’ มาพบกัน จึงก่อเกิด ‘moreloop’ แพลทฟอร์มรับซื้อขายผ้าคงค้างโกดัง ในรูปแบบสินค้าแปรรูปที่ คุณอมรพล หุวะนันทน์ หนึ่งผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มอร์ลูป จำกัด ได้มุ่งหวังจะให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และผลักดันแนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามหลัก ‘Circular Economy’ ที่จะตามมา เพราะความฝัน กับความจำเป็น ก่อเกิดเป็นไอเดียเพื่อความยั่งยืน สำหรับคุณอมรพล หนึ่งในผู้ก่อตั้งนั้น เขาไม่ใช่หน้าใหม่กับวงการ Startup แต่อยู่กับธุรกิจนี้มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง รวมถึงเคยร่วมก่อตั้งในแพลทฟอร์ม Startup มาแล้ว “จริงๆ ต้องบอกว่าสมัยก่อน ก็เป็นพนักงานเงินเดือนทั่วไปครับ จนกระทั่งได้ไปเรียนหลักสูตรการสร้างธุรกิจ […]Read More
การรับประทานผักผลไม้ มีประโยชน์ต่อร่างกาย นี่อาจจะเป็นสิ่งที่ได้รับการสอนในวิชาว่าด้วยโภชนาการ วิทยาศาสตร์การอาหาร แน่นอนว่าการรับประทานอาหารจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี เสริมสร้างร่างกายให้เกิดความแข็งแรง ปลอดภัยจากโรค และมีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ แต่ในความเป็นจริงของการเกษตรยุคปัจจุบัน ความต้องการที่นอกเหนือจากการรับประทานในครัวเรือน ได้ยกระดับไปสู่การเพาะปลูกเพื่อการค้าขายและส่งออก มาตรฐานอุตสาหกรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบ หน้าตา รสชาติ และการวัดผลปัจจัยต่างๆ อย่างรัดกุม การใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ ได้ราคาที่สูง ไม่โดนกดราคาจากกระบวนการ จึงเป็นเรื่องที่ยากจะหลีกเลี่ยง และส่งผลต่อสุขภาพของผู้รับประทานในปลายทาง นั่นทำให้เทรนด์ของ ‘อาหารออร์แกนิก’ หรือผักผลไม้ที่ปลอดสาร ส่งตรงจากไร่ ให้คุณค่าที่ครบถ้วน กลายเป็นที่นิยมในรอบหลายปีที่ผ่านมา แต่ในทางหนึ่ง ผลิตผลออร์แกนิก ก็เป็นสิ่งที่หาตลาดรองรับได้ยาก และไม่ใช่เกษตรกรทุกรายจะมีต้นทุนหรือช่องทางที่จะสามารถทำได้ และนั่นคือจุดที่ก่อให้เกิดเป็นแนวคิดเบื้องต้นของ ‘Happy Grocers’ แพลทฟอร์มเพื่อผลผลิตทางการเกษตรออร์แกนิก โดย คุณสุธาสินี สุดประเสริฐ และเพื่อนผู้ร่วมก่อตั้ง ที่หวังจะพาตัวเอง เป็นหนึ่งในช่องทางการรับซื้อ ขนส่ง และเชื่อมโยงเกษตรกรกับผู้บริโภคสายออร์แกนิก ให้สามารถพบเจอและตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างลงตัว เมื่อ COVID-19 ก่อเกิดเป็น ‘ความจำเป็น’ และ ‘ทางแก้ปัญหา’ สำหรับวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 หลายธุรกิจนับเป็น ‘วิกฤติ’ […]Read More