มีนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่บูรณณาการข้อมูลจากหลายส่วนมารวมกันเพื่อใช้วิเคราะห์หาปัญหาที่แท้จริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกทาง จนถึงขั้นนำไปสู่นโยบายการแก้ปัญหาระยะยาวเพิ่มขึ้นในหลายหน่วยงานของภาครัฐ ด้วยการนำนวัตกรรมเข้ามาเป็นหัวใจในการขับเคลื่อน เหมือนเช่นการทำงานของ GISTDA ซึ่งใช้นวัตกรรมจากอวกาศดึงข้อมูลจากดาวเทียม นำข้อมูลที่สามารถเก็บและตรวจจับได้มาวิเคราะห์เพื่อการแก้ปัญหาฝุ่นPM 2.5 หลังจากที่คนไทยเคยรู้จัก GISTDA จากการใช้ข้อมูลผ่านดาวเทียมในการแก้ปัญหาวิกฤตน้ำท่วมมาแล้วครั้งหนึ่ง ที่ทำให้การทำงานของ GISTDA ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและรู้ปัญหาที่แท้จริงร่วมกัน ซึ่งไม่เพียงทำให้คนไทยคุ้นเคยและรู้จักเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศมากขึ้น ยังทำให้ปัญหาฝุ่นที่คลี่คลายลง และเกิดแรงบันดาลใจด้วยว่า ปัญหาฝุ่นที่เคยมองว่าเกินแก้ไข มีแนวโน้มที่จะร่วมกันทำให้จบปัญหาได้ในรุ่นเราอีกด้วย ตัวอย่างการทำงานของ GISTDA และแพลตฟอร์ม Traffy Fondue และอีกหลาย ๆ แอปพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลที่ได้มาตรฐานเหล่านี้ คือผลลัพธ์ของการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สะท้อนมิติของภาครัฐที่เริ่มต้นสร้าง Open Data ที่นอกจากทำให้ประชาชนเข้าถึงได้ ยังจะนำไปสู่การพัฒนาเชิงนโยบายจากการที่ทุกคนได้รับรู้ข้อมูลตระหนักถึงปัญหาร่วมกันและเป็นแนวทางสร้างความโปร่งใสเพิ่มขึ้น จากข้อมูลที่ช่วยดึงภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามารับผิดชอบร่วมกัน จากกระบวนการมีส่วนร่วมที่หลั่งไหลเข้ามา อย่างเช่นกรณีการแก้ปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่ GISTDA จะมาเล่าให้ฟัง ทั้งยังสร้างโอกาสการพัฒนาองค์ความรู้ต่อยอดทำให้เกิดนวัตกรรมและสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นมาจากการโอกาสให้เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ฝุ่นP.M 2.5 และการทำงานของ GISTDA ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) อธิบายลักษณะของฝุ่นรวมถึงฝุ่นP.M […]Read More
เรื่องของดาต้า หรือ ข้อมูล สามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานของภาครัฐได้อย่างไร มากน้อยขนาดไหน เราจะสามารถขับเคลื่อนการแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยข้อมูลได้จริงหรือไม่ และดาต้ามีส่วนช่วยสร้างสมาร์ทซิตี้ได้อย่างไร ชวนมาดูความสำเร็จของการจบปัญหาเมืองในแพลตฟอร์มเดียวด้วย Traffy Fondue ซึ่งถือเป็นกรณีศึกษา การใช้งานที่สะท้อนให้เป็นภาพว่า การมีข้อมูลที่ดีและเข้าถึงได้ง่าย เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับการตัดสินใจแก้ปัหาและนำไปสู่การบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลกระทบสูง โดย ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม นักวิจัยอาวุโสสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แพลตฟอร์มการแก้ปัญหาเมืองที่มีชื่อเล่นว่า Traffy Fondue เกิดขึ้นมาได้ครบ 1 ปีในเดือนมิถุนายน 2566 นี้ แต่เป็นที่รู้จักจนได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมมากมาย มีเป้าหมายการพัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคล 3 ฝ่าย หนึ่ง-สำหรับประชาชนคนทั่วไปที่ต้องพบเจอปัญหาต่าง ๆ ให้แจ้งเรื่องไปยังหน่วยงานผู้ดูแลได้สะดวกและรวดเร็ว สอง-สำหรับเจ้าที่รับเรื่องและปฏิบัติงานแก้ไข เพื่อให้รับเรื่องได้อย่างรวดเร็ว และสาม-สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหาร ดร.วสันต์ เล่าว่า คอนเซ็ปต์การพัฒนาแพลตฟอร์ม Traffy Fondue ใช้เทคโนโลยีหมือนกับแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร หรือเรียกรถ คือทำอย่างไรให้ผู้ใช้แจ้งปัญหาได้ง่าย คนแก้ปัญหาก็รับรู้ตำแหน่งรู้หน้างานง่าย เพื่อแก้ปัญหาเดิม ที่เวลาประชาชนพบปัญหา แค่คิดว่าจะต้องแจ้งหน่วยงานไหน แล้วแจ้งอย่างไร ต้องผ่านกี่ขั้นตอน มาเป็นป้อนปัญหาลงบนแพลตฟอร์ม […]Read More
WENDAYS คือชื่อของผลิตภัณฑ์แผ่นอนามัยและผ้าอนามัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้หญิง มุ่งเน้นความอ่อนโยน กระชับรับสรีระร่างกาย ทำให้ผู้หญิงมั่นใจในการใช้ชีวิตมากขึ้น ความแตกต่างที่ครองใจลูกค้าคือการเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก เลือกใช้วัตถุดิบที่ปราศจากสารอันตรายและปราศจากการย้อมสี ตัวบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัย และบางส่วนสามารถนำไปย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เป็นนวัตกรรมที่คิดค้นโดย เหวิน-ชวิศา เฉิน ซึ่ง ณ วันนี้ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ Wendays ProViotic อาหารเสริม ชนิดแคปซูลสำหรับช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และปรับสมดุลภายในร่างกาย รวมทั้งแอปพลิเคชัน Talk to Peach ที่ปรึกษาเรื่องเพศออนไลน์ กับนักเพศวิทยา แบบไม่เปิดเผยตัวตน “ก่อนหน้านี้คือไม่ได้คิดว่าจะมาเป็นสตาร์ทอัพ ไม่ใช่ความฝัน แค่รู้สึกว่าทุกอย่างถึงเวลาพอดี ก็ทำงานเหมือนคนอื่นๆ ทั่วไป เคยทำดิจิทัล เอเจนซี่ ทำในส่วนของดิจิทัล มาร์เกตติ้ง แล้วก็เริ่มมาเป็นผู้จัดการโครงการ มีโอกาสได้ทำงานกับพี่ๆ ที่เป็นเจ้าของสตาร์ทอัพ ทำให้เหวินได้เห็นคนที่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง เราเห็นการต่อสู้ดิ้นรนของพวกเขา ว่ายากแค่ไหนพวกเขาก็ไปต่อ เหมือนแรงบันดาลใจที่ถูกส่งมาเรื่อยๆ เป็นเชื้อเพลิง เป็นพลังที่เราสั่งสมและซึมซับมาตลอด พอโควิด-19 ถึงจุดเปลี่ยน บริษัทที่เราทำงานปิดตัวลง เราต้องมาเลือกแล้วว่าเราจะไปทำงานที่ไหนดี ทำตามความฝันที่เรามีปัญหาเรื่องนี้ ที่เราอยากจะแก้ไขดี ก็เป็นจุดที่กระตุ้นเราว่า เธอต้องทำแล้วนะเหวิน ถ้าไม่ทำตอนนี้ทำตอนไหน ถ้าเรามัวแต่รอแล้วใครจะแก้ปัญหานี้ […]Read More
เอชจี โรโบติกส์ ผลิตและพัฒนาคิดค้นหุ่นยนต์ และอากาศยานแบบไร้คนขับ (Unmanned aerial vehicle) โดยทีมวิศวกรไทยที่มีประสบการณ์ดำรงอยู่มายาวนานมากกว่า 10 ปี โดยเป็นโดรนเพื่อการเกษตรและการสำรวจสำหรับเกษตรกรไทยนำมาใช้และสร้างมูลค่าผลผลิตทางการ เกษตรที่เพิ่มพูน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป โดยมี ดร.มหิศร เป็นผู้นำ พร้อมด้วยทีมงานนับร้อยชีวิตที่มี Passion เกี่ยวกับหุ่นยนต์อย่างแรงกล้า มีความจริงใจในการทำงาน พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ถาโถมเข้ามา ตื่นขึ้นมาทำงานทุกวันโดยไม่มีคำว่าเบื่อหน่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อจะเปลี่ยนแปลงประเทศและชีวิตของใครบางคนให้ดีขึ้น โดยใช้หุ่นยนต์เป็นเครื่องมือ “จุดเริ่มต้นเกิดจากกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่แข่งขันหุ่นยนต์ Robocup ที่มีการจัดแข่งขันในประเทศไทย ช่วงต้นปี ค.ศ. 2000-2003 เป็นกลุ่มนักศึกษาที่มารวมกลุ่มกันซึ่งสลับกันได้แชมป์รายการ หลังจากนั้นในช่วงประมาณปี 2006-2008 ต่างก็เติบโตแยกย้ายไปเรียนต่อในต่างประเทศทั้งที่ญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป แต่ยังมีการติดต่อพูดคุยกันตลอด ซึ่งทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันคือต้องการจัดตั้งบริษัท หลังจากนั้นปี ค.ศ. 2011 ก็ได้มีการจดทะเบียนบริษัทขึ้นมาซึ่งเรายึดกับหลักการ “First Who, Then What” ซึ่งเป็นคำพูดที่อยู่ในหนังสือ Good to Great ที่เขียนโดย Jim Collins ซึ่งมียอดขายมากกว่าสี่ล้านเล่มทั่วโลก หมายถึงการที่เราต้องหาคนที่เหมาะสมมาร่วมมือกันในการทำงานก่อน […]Read More
“เราจะเห็นอนาคตได้ ถ้าเราเป็นคนสร้างอนาคตนั้นขึ้นมาเอง” ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวไว้เนื่องในฐานะประธานในพิธีเปิดงาน สตาร์ทอัพและอินโนเวชั่น ไทยแลนด์ เอ็กซ์โป 2023 (STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2023) หรือ SITE 2023 ภายใต้แนวคิด INNOVATION PARTNERSHIP – TOGETHER WE GROW ร่วมสร้าง “หุ้นส่วนนวัตกรรม” เพื่อนำไทยสู่ชาตินวัตกรรม เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ในงานนี้ ได้กล่าวถึงมุมมองต่อ หุ้นส่วนนวัตกรรม ซึ่งเป็นธีมงานหลักของปีนี้ว่า จะเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมได้ตามเป้าหมาย โดยให้แนวคิดว่า “นวัตกรรม” ไม่ได้เป็นเพียงแค่สิ่งอำนวยความสะดวก แต่ได้กลายเป็น “อนาคตของการยกระดับคุณภาพชีวิต คุณภาพสังคม และคุณภาพเศรษฐกิจ” ที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ การผลักดันนวัตกรรมสู่ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี ให้กลายเป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (Innovation-Based Enterprise) เป็นส่วนสำคัญของการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และยกระดับความสามารถเดิมที่มีให้สูงขึ้นไปในระดับสากล และจะช่วยแก้ปัญหารวมทั้งสร้างโอกาสใหม่ […]Read More
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือNIA เปิดงาน Startup x Innovation Thailand Expo 2023 (SITE 2023) อย่างเป็นทางการ ณ เวทีกลาง ห้อง Ballroom 4 ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 22 มิถุนายน 2023 นี้ โดยมี ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มั่นใจหลัง เอ็นไอเอ ดำเนินงานเสริมสร้างสตาร์ทอัพ มาต่อเนื่องตลอด 8 ปี ทำให้ Startup Ecosystem ไทยเติบโตแข็งแกร่งและมีความหลากหลาย ถึงเวลาพร้อมเดินหน้าสู่ชาตินวัตกรรม โดยเป็นตัวกลางผสานความร่วมมือและสนับสนุนระหว่างภาครัฐ การศึกษา ภาคเอกชน และกลุ่มสตาร์ทอัพ ทั้งรุ่นบุกเบิกและที่กำลังจะเติบโตขึ้นมา ร่วมเป็นหุ้นส่วนนวัตกรรม ผลักดันประเทศไทยเติบโตด้านนวัตกรรมแบบก้าวกระโดดตามเป้าหมาย ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ […]Read More
noBitter คือ Mini Plant Factory โรงงานปลูกพืชขนาดเล็กใจกลางเมืองที่สามารถควบคุมปริมาณสารตกค้างในพืชได้ด้วยตัวเอง เป็นผลิตภัณฑ์ผักสดปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพพร้อมกินและกำลังต่อยอดสู่นวัตกรรมสารสกัดที่ อยู่ในขั้นพัฒนาเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ โดยมี ดร.วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการนวัตกรรม ซึ่งเป็นผู้นำทัพพร้อมทีมงานช่วยกันสร้างพื้นที่ว่างให้มีคุณค่าต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น และเชื่อหรือไม่ว่า noBitter เริ่มต้นความรู้จากศูนย์สู่ปัจจุบันนี้ที่เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านผักสดปลอดภัยจากฟาร์มแนวตั้ง ที่กำลังคิดค้นต่อยอดสินค้าและบริการไปไม่สิ้นสุด “ตัวผมเองเริ่มจากไม่รู้อะไรเลย ศึกษาอ่านอินเทอร์เน็ต ดูยูทูป ไปงานแสดงสินค้าต่างๆ เก็บเกี่ยวความรู้มาเรื่อยๆ สนุกตรงที่เราเจอเรื่องที่เราไม่รู้ เหมือนโลกใหม่อีกใบ ซึ่งแตกต่างจากโลก Software Digital ที่ผมเคยรู้จัก แต่พอได้สัมผัสกับพืชพรรณธรรมชาติ ก็เป็นอีกโลกหนึ่งที่ได้ไปผ่อนคลาย แต่ในขณะเดียวกันก็พบจุดที่น่าสนใจ เพราะการที่ได้เริ่มอะไรก่อนคนอื่น สั่งสมประสบการณ์ตรงนี้ไปเรื่อยๆ วันหนึ่ง เรามี Know How มากพอและเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีตรงนี้ให้คนอื่นต่อไปได้ แต่ถ้าวันนั้นมาถึงก็อาจจะเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างหนึ่งเพราะนั่นแปลว่า เราเผชิญกับสภาวะโลกร้อนอย่างแท้จริง” จากพื้นที่ว่างสู่การส่งมอบความปลอดภัย จุดเริ่มต้นของ noBitter ในปี 2018 คือการใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์โดยการเอาเกษตรในร่มไปไว้ในตึกด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Indoor Vertical Farm ทำให้สามารถปลูกพืชที่ไหนก็ได้ในเมืองและยังสร้างประโยชน์ต่อประเทศไทยมากกว่าแค่ใช้พื้นที่ว่างและทำฟาร์มผักแนวตั้ง “ผมและทีมงานเริ่มต้นแนวคิดการปลูกผักที่สยามสแควร์ซอย 2 ใน Co-working space […]Read More
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาขน) หรือ NIA ชวนคนไทย นับถอยหลังสู่งาน “สตาร์ทอัพและอินโนเวชันไทยแลนด์ เอ็กซ์โป 2023” (STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2023: SITE 2023) งานมหกรรมนวัตกรรมและเครือข่ายสตาร์ทอัพไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 หลังจากเริ่มต้นจัดงานครั้งแรกเมื่อปี 2018 จนกลายเป็นงานนวัตกรรมแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนเฝ้ารอ จนทำให้ปีนี้ NIA เลือกจัดงานภายใต้แนวคิด INNOVATION PARTNERSHIP – TOGETHER WE GROW ร่วมสร้าง “หุ้นส่วนนวัตกรรม” เพื่อนำไทยสู่ชาตินวัตกรรม โดยกำหนดจัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 มิถุนายน 2023 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยทุกกิจกรรมเปิดให้ผู้ชมเข้าร่วมชมและรับฟังฟรี สตาร์ทอัพและอินโนเวชันไทยแลนด์ เอ็กซ์โป 2023 (STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2023: SITE 2023) งานด้านนวัตกรรมอันดับหนึ่งของไทยที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และวนมาถึงอีกครั้งในปี […]Read More
เป็นที่รับรู้และเข้าใจกันดี ว่า ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ นี้ มีความสำคัญอย่างไรกับยุคสมัยปัจจุบัน จำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การผลิตอาหารต้องมีความต่อเนื่อง และมีปริมาณที่มากขึ้น รวดเร็วขึ้น แม่นยำมากขึ้น ยิ่งโลกประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 และภัยสงครามยูเครน ซึ่งทำให้พืชผลทางการเกษตรหยุดชะงัก การผลิตภายในประเทศยิ่งต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทุกขั้นตอนต้องทำอย่างเป็นกระบวนการที่ไม่ให้มีผิดพลาด และมีเพียง ‘เทคโนโลยี’ เท่านั้น ที่จะสามารถเข้ามาอุดช่องโหว่เหล่านี้ได้ อันเป็นที่มาซึ่งทำให้ ดร.ธนิกา จินตนะพันธ์ นักวิทยาศาสตร์จากรั้วจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ทำการวิจัย ค้นคว้า เพื่อหาขั้นตอนที่ดีที่สุด เร็วที่สุด ก่อนจะนำไปสู่แพลตฟอร์ม ‘Biomatlink’ ระบบ Supply Chain ครบวงจร ที่จะเข้ามาช่วยให้การผลิต เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่สะดุดติดขัด และคงความมั่นคงทางอาหารเอาไว้ได้ จากการวิจัยและเก็บข้อมูลอย่างละเอียด สู่แพลตฟอร์มเพื่อการเพาะปลูกอย่างแม่นยำ การเพาะปลูก คือหลักฐานแรกแห่งอารยธรรมมนุษยชาติ การรู้ฤดูกาลเก็บเกี่ยว การให้น้ำ ใส่ปุ๋ย ทำให้มนุษยชาติสามารถลงหลักปักฐานได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ในปัจจุบัน เพียงแค่รู้ฤดูกาล อาจจะไม่เพียงพอ เมื่อความต้องการมีปริมาณที่สูงขึ้น การค้นคว้าและวิจัยเพื่อให้ได้ ‘ผลลัพธ์’ ที่มากขึ้น และ […]Read More
เป็นที่ชัดเจนในข้อหนึ่งที่ว่า ไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้ ‘รถมอเตอร์ไซค์’ มากเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ทั้งจากสภาพความจำเป็นด้านเศรษฐกิจ และความคล่องตัวด้านการใช้งาน ไม่ว่าจะใช้ตามบ้าน หรือใช้ในการขนส่ง มอเตอร์ไซค์ แต่ก็เช่นเดียวกับยานพาหนะอื่นๆ มอเตอร์ไซค์ ผลิตมลภาวะได้ไม่น้อยไปกว่ารถยนต์หรือการขนส่งทั่วไป แต่เมื่อฐานความคิดด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การใส่ใจต่อปัญหาที่เริ่มมีการตระหนักรู้อย่างจริงจัง ทำให้ยานพาหนะอย่างยานยนต์ไฟฟ้า กลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ และสามารถจับต้องได้มากขึ้นในช่วงนี้ และก็เป็นโอกาสสำหรับ คุณสรณัญช์ ชูฉัตร ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพผลิตรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ‘ETRAN’ ที่นำเสนอทางเลือกให้กับผู้ใช้ยานพาหนะชนิดนี้แก่คนไทย โดยสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในราคาประหยัด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น กำหนดกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เดินหน้าสู่การทำตลาดเต็มตัว หลายคนอาจจะรู้สึกว่า แม้มอเตอร์ไซค์ จะเป็นยานพาหนะที่คนไทยส่วนใหญ่เลือกใช้ แต่พฤติกรรมการเลือกซื้อและเลือกใช้ ที่ยังติดอยู่กับยี่ห้อ คุ้นชินกับแบรนด์ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถลบล้างไปได้ในเวลาอันสั้น แต่คุณสรณัญช์ กลับมีมุมมองที่แตกต่างออกไป ‘มองในแง่หนึ่ง ประเทศไทย โชคดีที่มีอุตสาหกรรมการผลิตรถมอเตอร์ไซค์และองค์ความรู้ต่างๆ แต่สิ่งที่ขาด คือแนวคิดและรูปแบบธุรกิจในการผลิตที่สะอาด และนำพารถสองล้อของเราไปให้ไกลมากกว่าแค่ยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางหรือเทคโนโลยี’ คุณสรณัญช์กล่าวให้ความเห็น ดังนั้น ETRAN จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง แต่เป็นรูปแบบธุรกิจที่จะเข้าไปช่วยหนุนเสริมอุตสาหกรรมการผลิตรถมอเตอร์ไซค์ ให้ก้าวไปข้างหน้า ไปสู่อนาคตใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม การแพร่ระบาด […]Read More