คงจะดีหากเครื่องจักรหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถพูดกับมนุษย์ได้และบอกได้ว่าฉันเสียตรงไหน? ฉันกินไฟตรงไหน? หากใครยังสงสัย อยากรู้ว่าเครื่องจักรอยากบอกอะไร? ในเมื่อเราก็ดูกันได้อยู่แล้วบนแผงหน้าจอ ลองให้นึกดูว่าถ้าเป็นอุตสาหกรรม โรงงาน หรือ ธุรกิจของคุณ ต้องขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรนับร้อยตัว คุณคงไม่เดินไปดูแลทุกเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง แต่หากเครื่องจักรสามารถรายงานได้เองว่าจุดไหนใช้พลังงานเปลือง มาเป็นข้อมูลช่วยในการปรับแก้และประหยัดไฟได้เดือนละเป็นล้านบาท หรือเครื่องจักรแจ้งเตือนจุดเสียเพื่อให้ซ่อมแซมก่อนที่จะหยุดทำงานไปดื้อๆ ช่วยให้คุณไม่พลาดการผลิตสินค้าล็อตใหญ่ได้ ฉายภาพประมาณนี้คงทำให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจเริ่มเห็นความสำคัญที่จะสื่อสารกับเครื่องจักรของคุณขึ้นมาบ้างแล้ว อิทธิฤทธิ์ เนรมิตได้ด้วยเทคโนโลยี IOT จากการยกตัวอย่างนี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆ ที่เทคโนโลยีปัจจุบันนี้ทำได้จริง และสามารถทำได้มากกว่านี้อีกหลายร้อยกระบวนท่า ชนิดไม่ต้องรอโลกอนาคต โดยหนึ่งในผู้ให้บริการเทคโนโลยีคล้ายๆ กันนี้ คือ ITTHIRIT TECHNOLOGY ที่ริเริ่มและก่อตั้งโดย ณัฐนันท์ กุลวัฒน์ฐกรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท อิทธิฤทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด ที่นำระบบ IOT (The Internet of Things) มาพัฒนาเพื่อบริหารจัดการข้อมูลภายในโรงงานอุตสาหกรรม โดยนำข้อมูลต่างๆ มาเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ “ปัจจุบันนี้โรงงานอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของเรา โดยกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มานานแล้ว เหมือนโรงงานอุตสาหกรรมยุค 3.0 ก็ต้องการเครื่องจักร แต่ทุกวันนี้ถ้าจะก้าวไปสู่ยุค […]Read More
คงปฏิเสธได้ยาก ถึงบทบาทของเกษตรกรในประเทศไทย ซึ่งเปรียบประหนึ่งกระดูกสันหลังของชาติ ที่สร้างรายได้ทำเม็ดเงินมหาศาลให้กับประเทศมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่หรือพืชสวน แน่นอนว่าขั้นตอนการเพาะปลูกนั้นก็มีความสำคัญ หากแต่สิ่งที่หลายคนอาจจะมองข้าม คือเมื่อผลผลิตสุกงอม ‘การเก็บเกี่ยว’ เป็นกระบวนการที่ต้องให้ความใส่ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผลิตผลที่มีจำนวน ‘มากจนเกินไป’ อาจกลายเป็นภาระสำหรับผู้เพาะปลูก และจำต้องปล่อยทิ้งไว้อย่างเดียวดาย เป็นมูลค่ามหาศาล แต่ด้วยเศรษฐกิจสมัยใหม่ การเข้ามาของตัวช่วยอย่างแอปพลิเคชันและธุรกิจแบบ ‘Sharing’ ก็ช่วยให้เกิดความเป็นไปได้อันไม่สิ้นสุด รวมถึงธุรกิจ ‘จองรถเกี่ยวข้าว’ อย่าง Getztrac ที่ GM Live ได้มีโอกาสร่วมพูดคุยกับ โอ๊ค – เปรมศักดิ์ ทานน้ำใจ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ถึงจุดเริ่มต้น แรงบันดาลใจ และมุมมองที่เขามีต่อธุรกิจภาคการเกษตรยุคสมัยใหม่ ที่ Getztrac จะสามารถเข้าไปเป็น ‘เพื่อนคู่คิด มิตรคู่เก็บเกี่ยว’ ได้อย่างสอดคล้อง เหมาะเจาะอย่างยิ่ง และนี่ คือการสนทนาที่ ‘เก็บเกี่ยว’ มาได้ ให้ร่วมรับรู้กัน… งานเก็บเกี่ยว ความสำคัญที่ถูกมองข้าม โดยปกติแล้ว ในงานภาคการเกษตร คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงกระบวนการเพาะปลูกและการผลิต และให้ความสำคัญกับส่วนนั้นมากเป็นพิเศษ แต่สำหรับ […]Read More
ปัจจุบัน… ที่ดนตรียิ่งเบ่งบาน มากมาย และอาจจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกๆ วินาทีแม้แต่ขณะที่คุณกำลังอ่านบทความชิ้นนี้อยู่ แต่จะมีดนตรีสักกี่ท่วงทำนอง ที่ได้ถูกรับฟัง จะมีสักกี่ชิ้น เป็นที่รู้จัก ท่ามกลางกระแสธารแห่งชิ้นงานที่ไหลบ่าจนท่วมท้น และดนตรีเองก็ผูกโยงเข้ากับภาคธุรกิจ ถ้าเป็นดนตรีสายหลัก คุณอาจจะหาฟังได้อย่างไม่ยากเย็น แต่ถ้าหากเป็นดนตรีนอกกระแส หรือ ‘อินดี้’ แล้วล่ะก็ มันอาจจะกลายเป็น ‘ตัวโน้ตที่หล่นหาย’ และไม่ถูกค้นพบไปอีกเลยก็ได้ ซึ่งมันเรื่องที่น่าเศร้า และด้วยความคิดเช่นนี้เอง ที่ พาย-ปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการบริษัท Fungjai จำกัด ผู้พัฒนาแอพลิเคชัน ‘สตรีมมิ่งดนตรีอินดี้’ ในชื่อเดียวกัน ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ได้ตัดสินใจที่จะเลือก ‘ฟังเสียงของหัวใจ’ และลงมือทำในสิ่งที่เชื่อ เพื่อไม่ให้ตัวโน้ตนอกกระแส ตกหล่น หลุดหาย และล้มตายอย่างลำพัง นี่คือการสัมภาษณ์ที่พูดคุยกันด้วยปาก แต่ฟังกัน ‘ด้วยใจ’ ที่เปิดกว้างอย่างยิ่ง ทั้งตัวตน การตัดสินใจ มุมมอง และสิ่งที่เขาคิดเอาไว้กับอนาคตของ Fungjai ที่จะก้าวต่อไปในวันข้างหน้า ผ่อนกายให้สบาย แล้วมาร่วมเปิดใจรับฟังไปกับเรา… จากหนุ่มอนาคตไกล สู่เส้นทางใหม่ที่ให้ ‘หัวใจนำทาง’ แม้คนทั่วไปจะรู้จักพาย […]Read More
เป็นที่รับรู้มาอย่างยาวนาน ว่าผืนแผ่นดินไทยนั้น มีดินที่ค่อนข้างดีต่อการ ‘ทำการเกษตร’ อยู่ไม่น้อย เพราะไม่ว่าจะเป็นพืชผักผลไม้ชนิดไหนที่ว่าแปลก ที่ว่าใหม่ เมื่อลองได้ปักกล้าลงดินในประเทศ ก็กลายเป็นของที่สามารถหาทานได้อย่างทั่วถึง (ระดับกินทิ้งกินขว้างเมื่อถึงฤดูกาล…) รวมถึงผลิตได้ระดับ ‘พรีเมียม’ ส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำมาโดยตลอด เป็นทั้งความภูมิใจ และ โจทย์ที่ท้าทาย ในแง่ของ ‘การขนส่ง’ ไปพร้อมๆ กัน เมื่ออายุการเก็บรักษาผักผลไม้เหล่านี้ มักจะไม่ได้ยืนยาวมากนัก ทำให้ตัวเลือกในการส่งออกมีอยู่อย่างจำกัด หลายครั้ง ต้องใช้เครื่องบิน ที่นอกจากจะแพงในแง่ต้นทุนแล้ว ยังไปได้ในปริมาณที่ไม่มาก หลายครั้ง เทียบกำไรหักลบแล้วอาจไม่คุ้ม หรือถ้าจะใช้สารเคมีเพื่อให้อยู่ได้นานขึ้น ก็อาจจะติดปัญหาด้านมาตรฐานการนำเข้าของภูมิภาคที่มีกำแพงที่สูงลิบ ถ้าใครสามารถแก้ไขจุดนี้ได้ ย่อมสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่แวดวงเกษตรกรรมของไทยอยู่ไม่น้อย ในบทสัมภาษณ์นี้ แม้จะไม่มีผลไม้เป็นเครื่องเคียง แต่การพูดคุยกับ จ็อบ – นรภัทร เผ่านิ่มมงคล กรรมการผู้จัดการ และหนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัท Eden Agritech จำกัด ผู้ผลิต ‘สารเคลือบธรรมชาติ’ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้ยาวนาน นวัตกรรมที่ใหม่และกำลังเป็นที่กล่าวถึง ก็ออกรสชาติสดชื่นอยู่ไม่น้อย เพราะไม่เพียงมีมุมมองที่น่าสนใจ แต่ยังรวมไปถึงวิสัยทัศน์ที่เขามีต่อโลกแห่งการเกษตร แวดวง […]Read More
ในวันที่ท่อตัน น้ำไม่ไหล ไฟรั่ว ปั๊มน้ำไม่ทำงาน คุณอาจปวดหัวกับการเจอช่างที่แก้ปัญหาไม่ตรงจุด หรือวุ่นวายกับการขอเบอร์ช่างจากเพื่อนบ้าน ใครจะรู้…ว่าช่างที่แนะนำกันมาปากต่อปากจะไว้ใจได้แค่ไหนกัน เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่า ช่างที่เปิดประตูต้อนรับให้เข้ามาซ่อมบ้าน อาจเป็นคนเดียวกับมิจฉาชีพ ประเภทรับงานทั้งที่ไม่ถนัด หรือทิ้งงานไว้กลางทางกับปัญหาที่ยังคาราคาซัง! คำติดหูอย่าง “ช่างจอมหลอกลวงในตำนาน” จึงกลายเป็นหนึ่งในปัญหาปวดใจสุดคลาสสิคของคนที่มองหาช่างซ่อมบ้าน แต่สำหรับ รัชวุฒิ พิชยาพันธ์ อดีตโปรแกรมเมอร์ กลับไม่ได้มองปัญหานี้แบบผ่านเลยไป และเช่นเดียวกับคนที่เคยประสบปัญหาแบบเดียวกัน เขากลับหยิบยก Pain Point เหล่านี้มาขบคิดและกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘Fixzy’ (ฟิกซี่) แอปพลิเคชันค้นหาช่างซ่อม ที่ปัจจุบันกลายเป็นแอปฯ สุดเจ๋งคว้ารางวัล Winner สาขา Best Life Helper จาก ASEAN Rice Bowl Startup Awards 2019 และได้รับความไว้วางใจจากคนเมืองยุคใหม่ ที่จะเปลี่ยนเรื่องการซ่อมบ้านที่เคยกวนใจ เป็นเรื่องง่ายและอุ่นใจมากขึ้น จากไอเดียสู่การลงมือทำ ไม่ง่ายอย่างทื่คิด อดีตโปรแกรมเมอร์ เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ เจ้าของผับ เจ้าของนิตยสาร และนักพัฒนาแอปพลิเคชัน อย่างรัชวุฒิกระโดดเข้าสู่การเป็นสตาร์ทอัพประเภท Prop Tech […]Read More
ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่สร้างผลกระทบครั้งใหญ่ให้หลายธุรกิจลุกขึ้นมาปรับตัว เพื่อความอยู่รอด ส่งผลให้อนาคตของ สตาร์ทอัพระดับเมล็ดพันธุ์ ที่เพิ่งจะเริ่มต้นหย่อนเมล็ดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา อาจถึงขั้นต้องพับโปรเจ็คต์หรือชะลอการลงทุนชั่วคราว หากแต่ยังมีเมล็ดพันธุ์หนึ่งที่ค่อยๆ เติบโตเป็นต้นกล้าและท้าทายลมพายุที่โหมกระหน่ำอย่างไม่หวั่นเกรง เมล็ดพันธุ์นั้นมีชื่อว่า ‘Tasket’ Tasket เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยมีธงในการก่อตั้งเว็บไซต์ คือ เพื่อค้นหาสถานที่ฝึกงานในธุรกิจ Tech Startup ให้กับนักเรียนและนักศึกษากลุ่ม Gen Z ภายใต้การริเริ่มจากไอเดียของ โจทาโร่ เซร่า CEO & Co-Founder ของ Tasket ก่อนเปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการในช่วงเดือนมีนาคมปี 2563 มีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ ค้นหาสถานที่ฝึกงานที่น่าสนใจทั้งในกลุ่ม Tech Startup และธุรกิจอื่นๆ ให้กับนักศึกษา, พัฒนาทักษะของนักศึกษาให้เป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน และคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติโดดเด่นแก่บริษัทชั้นนำของไทย แม้การเชื่อมต่อนักศึกษากับองค์กรอาจดูไม่ใช่เรื่องซับซ้อน หากแต่ในความเป็นจริง ‘ช่องว่าง’ ในการตามหาคนให้เหมาะสมกับงานยังเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายองค์กรไม่อาจปฏิเสธได้ บวกกับพิษโควิด-19 ที่ทำให้อัตราการว่างง่านของบัณฑิตจบใหม่มีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 8 แสนคนภายในปีนี้ (อ้างอิงข้อมูลจากสภาองค์กรนายจ้างแห่งประเทศไทย) ทำให้โจทาโร่ […]Read More
ปี 1999 คือ ปีที่ Elliott Masie ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา บัญญัตินิยามใหม่ของการเรียนออนไลน์ว่า ‘E-Learning’ แต่กว่าการเรียนออนไลน์จะได้รับความนิยมแพร่หลายและเติบโตแบบก้าวกระโดดก็ใช้เวลาเกือบ 18 ปี (2017) กระทั่งโควิด-19 เปลี่ยนโลกแห่งการศึกษาในชั่วข้ามคืน ส่งผลให้การเรียนออนไลน์กลายวิถีใหม่จาก ‘กระดานดำ’ สู่ ‘แท็บเล็ต’ เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพใหม่ในชื่อ ‘Knowcean’ เติบโตอย่างรวดเร็ว หากเรานำคำว่า ‘Knowledge’ (ความรู้) บวกกับ ‘Ocean’ (มหาสมุทร) จะได้นิยามใหม่แห่งการศึกษาที่เรียกว่า “มหาสมุทรแห่งความรู้ ” อันเป็นที่มาของชื่อ Knowcean เว็บไซต์ที่เชื่อมต่อผู้คนในแวดวงการศึกษาเข้าด้วยกัน พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ พื้นที่ออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ “ศิษย์พบครู” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการเข้าถึงบุคคลากรทางการศึกษา และความรู้นอกตำราที่ถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ของ “รุ่นพี่สู่รุ่นน้อง” Knowcean ก่อตั้งโดย 4 คนรุ่นใหม่อย่าง ปรางฉาย พิลาดิษฐ์ (CEO) จิโรจ แก้วมณี (CPO) พรหมพัฒน์ ไชยเดช (CTO) และ ตันติวรากรณ์ […]Read More
บ้านพักอาศัยแบบถาวรเป็นฝันของใครหลายๆ คน แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจและความจำเป็นที่แตกต่าง หลายคนจำต้องเลือกพักในสถานที่ ‘ชั่วคราว’ อย่างเช่นหอพัก หรือ อพาร์ทเมนท์ ที่มีการจัดเก็บรายเดือน เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และก็อีกเช่นกัน ที่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ดูจะเป็นความยุ่งยาก ทั้งฝั่งผู้พักอาศัย และฝั่งผู้เป็นเจ้าของ ทั้งการวางบิล การคำนวณค่าไฟ ค่าน้ำ รวมถึงการตามค่าเช่าตกค้าง กลายเป็นความยุ่งเหยิงที่ไม่สิ้นสุด จะดีแค่ไหน ถ้าหากมีใครมาช่วยขมวดทุกกระบวนการเหล่านี้ ให้สะดวก และง่ายขึ้น จบทุกขั้นตอนให้เสร็จเหลือเพียงรายละเอียดปลายทางในช่วงปลายเดือน? GM Live ได้มีโอกาสร่วมพูดคุยกับ เฟิร์ส – ธนวิชญ์ ต้นกันยา CEO หนุ่มของบริษัท Horganice (หอแกไนซ์) ผู้ให้บริการระบบจัดการหอพักรูปแบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ เป็นตัวกลางที่เชื่อมประสานระหว่างผู้เช่ากับผู้เป็นเจ้าของ ให้ทุกอย่างง่าย สะดวก และหมดปัญหาเรื่องอึดอัดขัดข้องในระหว่างทาง ที่นอกจากจะเป็นการสนทนาที่เปี่ยมไปด้วยพลังของคนหนุ่มถึงที่มาที่ไป แนวคิด และวิธีการของบริษัทแล้ว เรายังได้เห็นภาพที่เขามองไปข้างหน้า มุมมองของเขาที่มีต่อธุรกิจ Startup ในอนาคต รวมถึงการมีส่วนร่วมของเขากับ ‘ภาครัฐ’ ในการเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสู้กับวิกฤติ COVID-19 ที่กำลังรุมเร้าอยู่ในขณะนี้ เขาคือตัวอย่างของคนหนุ่มไฟแรง ที่มีทั้งความมุ่งมั่น […]Read More
โซลูชั่นสุดคูลที่ฟังดูจะช่วยแก้ปัญหาสุดคลาสสิคของวงการดนตรี ที่มักมีการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่เสมอจนมองเป็นเรื่องปกติ กว่ามาถึงจุดนี้ไม่ได้โลกสวยอย่างที่คิด แต่ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาสตาร์พอัพเล็กๆ อย่าง MYBAND ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าโมเดลธุรกิจนี้แก้ปัญหาได้จริงและสร้างรายได้จริง! จากประสบการณ์ที่เติบโตในวงการดนตรีมานาน จากการเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลง และนักจัดงานอีเว้นท์ ทำให้ กรรณ ศิธาพัฒน์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท มายแบนด์คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด มองเห็นปัญหาจากสองฝ่าย ทั้งการจัดหาวงดนตรีเพื่อแสดงในงานต่างๆ และอีกด้านกับเพลงที่นักดนตรีนำมาร้องที่มีความกังวลเรื่องลิขสิทธิ์ จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง MYBAND ที่ให้ผู้มองหาวงดนตรีได้เลือกและจองวงดนตรีร้องเพลงถูกลิขสิทธิ์มาจัดแสดง ก้าวแรกของสองปีที่เสียไป แต่ไม่เสียเปล่า “ผมจบคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรมา ตอนนั้นความรู้ด้านเทคโนโลยีก็แค่ผู้ใช้งาน เว็บจอง Booking, Agoda ทั่วไป ตอนนั้นผมสนใจแพลตฟอร์มลักษณะนี้ ใช้แล้วรู้สึกสะดวกดี ก็คิดว่าอยากลองทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดนตรีในลักษณะนี้บ้าง” ดังนั้นความคิดแรกที่ผุดขึ้นในหัวของเขา ถ้าจะใช้เครื่องมือดิจิทัลเริ่มต้นธุรกิจ ก็ต้องเป็น ‘แอปพลิเคชั่น’ เท่านั้น ทั้งที่ไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีเลย แต่ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ กรรณใช้เวลาเป็น 2-3 วันร่างไอเดียที่อยู่ในหัวออกมาเป็นภาพวาดว่าหน้าตาของแอปฯ จะออกมาเป็นอย่างไรทีละหน้า เพื่อนำไปคุยกับโปรแกรมเมอร์และเว็บดีไซเนอร์ น่าเสียดายเวลาผ่านไป 2 ปีก็ยังไม่ได้แอปพลิเคชั่นเป็นเรื่องเป็นราว จนเบนเข็มมาเป็นรูปแบบเว็บไซต์ สองปีที่เสียไป […]Read More
แล้วลองจินตนาการว่า ถ้ากระบวนการเหล่านี้ หยุดชะงัก ขัดข้อง หรือมีปัญหา จะเกิดอะไรขึ้น? นั่นทำให้งาน ‘ซ่อมบำรุง’ และ ‘ดูแลรักษา’ เป็นสิ่งที่เคียงคู่กันมาอย่างไม่ห่าง แต่กระนั้น ด้วยจำนวนเครื่องจักรที่มากมาย และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่จำกัด มันจะมีสิ่งใดที่สามารถช่วยให้กระบวนการเหล่านี้ ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น? GM Live ได้มีโอกาสนั่งร่วมสนทนากับ บาส – สิทธิกร นวลรอด CEO และ Co-Founder ของบริษัท System Stone ผู้ผลิตแอปพลิเคชัน ‘Factorium’ ที่ช่วยดูแลกระบวนการตรวจสอบโรงงานอย่างครบวงจร ที่สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ มีโรงงานทั่วประเทศที่ใช้แอปพลิเคชันนี้ไปแล้วกว่า 3,500 โรงงาน สิ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของเขานั้น มาจากสิ่งใด เขามองภาพรวมในแวดวง Startup และอุตสาหกรรมเป็นแบบไหน และความคาดหวังสูงสุดที่ Factorium ต้องการ ‘จะไปให้ถึง’ อยู่ที่จุดใด เชื่อเถอะว่า นี่จะเป็นการสนทนาที่ ‘มีกระบวนการ’ แต่ ‘น่าอภิรมย์’ อย่างยิ่ง […]Read More