เป้าหมายของการเชื่อมเมืองนวัตกรรมกับนานาประเทศทั่วไปเพิ่งได้รับการพัฒนาไปอีกขั้น หลังจากงาน “สตาร์ทอัพและอินโนเวชันไทยแลนด์ เอ็กซ์โป 2022” (STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2022 : SITE 2022) ที่มีทั้งการจัดงานให้ชมกันจริง ๆ ที่ อาคารอุทยานนวัตกรรม ซอยโยธี ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และเป็นไฮบริดให้เลือกชมงานในรูปแบบ METAVERS เต็มรูปแบบ ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2565 ที่เพิ่งจบลงไป การแสดงผลงานของสตาร์ทอัพ และหน่วยงานต่าง ๆ ภายในงาน รวมทั้งความรู้และประสบการณ์จากวิทยากรกว่า 80 รายผ่านหัวข้อต่าง ๆในฟอรัมที่จัดขึ้นในงาน ทำให้ได้เห็นความพร้อมทางนวัตกรรมของ ในอุตสาหกรรมและพื้นที่ต่าง ๆ ที่สามารถพัฒนาเชื่อมต่อกับเมืองนวัตกรรมอื่น ๆ ของโลกได้อย่างแท้จริง ตอบโจทย์แนวคิดของงาน SITE 2022 ในปีนี้ที่ว่า “Reconnecting the World เชื่อมเรา เชื่อมโลก กลับมาเจอกัน” ได้ตรงตัว จากการจัดอันดับดัชนีระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพโลกประจำปี […]Read More
งาน SITE 2022 จบไปอย่างสวยงามเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ถือเป็นโหมไฟด้านนวัตกรรมไทยอีกครั้ง หลังโควิด สมกับเป้าหมายที่ต้องการให้การจัดงานในปีนี้เป็นสัญญาณการกลับมาเชื่อมต่อระหว่างเมืองนวัตกรรมไทยกับโลกอีกครั้ง ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดประตูให้กับผู้ประกอบการและเหล่านวัตกรให้มีโอกาสพบปะกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อเรียนรู้ พบปะ และร่วมกันพัฒนาให้ไทยก้าวไปสู่การเป็นเมืองนวัตกรรมที่ดียิ่งขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ โดยมีหลายภาคส่วนทั้งสตาร์ทอัพ ภาครัฐ ภาคเอกชน เอสเอ็มอี รวมถึงคนไทยทุกคนมีส่วนร่วม การจัดงาน SITE ในแต่ละปี มักสร้างปรากฏการณ์ที่ดีให้กับประเทศเสมอ เช่นเดียวกับปีนี้ ที่นอกจากจะเป็นเหมือนการปลุกธุรกิจไทยกลับมาตื่นตัวกับการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ถ้ายังจำกันได้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เจ้าภาพผู้จัดงาน SITE นี่เอง ที่เป็นต้นตำรับของการสร้าง MICE Innovation หรือการจัดงานแสดงในรูปแบบออนไลน์เต็มรูปแบบเป็นรายแรก ซึ่งได้รับการตอบรับเข้าร่วมงานอย่างมากจากผู้สนใจ ทั้งที่สนใจเนื้อหางานและที่สนใจรูปแบบการจัดงานทั้งจากองค์กรในไทยและต่างประเทศ ทำให้ SITE กลายเป็นต้นแบบของการจัดอีเวนท์ออนไลน์ที่นิยมทำกันในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิดในทุกอุตสาหกรรม สำหรับผลงานที่คาดว่าจะกลายเป็นเทรนด์เซ็ตเตอร์สำหรับปีนี้ คือการที่ SITE มีการจัดงานในรูปแบบเมตาเวิร์สเต็มรูปแบบเป็นงานแรกควบคู่กับการจัดกิจกรรมจริง โดยจัดในรูปแบบของไฮบริด ที่สำคัญงานในส่วนของเมตาเวิร์สเป็นฝีมือการพัฒนาและออกแบบโดยสตาร์ทอัพคนไทย 100% ขณะที่การเข้าร่วมกิจกรรมในงานทั้งวิทยากร ผู้เข้าชม นักลงทุน นอกจากคนไทยด้วยกันแล้ว […]Read More
หนึ่งในเทคโนโลยีหลักที่ขับเคลื่อนเมตาเวิร์ส คือ บล็อกเชน ที่สามารถระบุความเป็นเจ้าของและยืนยันองค์ประกอบต่างๆ ในโลกดิจิทัลและเมตาเวิร์ส การใช้งานบล็อกเชนในเมตาเวิร์ส จึงเป็นเหมือนตัวกรองข้อมูลที่ทำให้โลกเสมือนกับโลกจริงมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ในการเชื่อมต่อกัน แต่อย่างไรนั้นต้องฟังจากตัวจริงในวงการกับกลไกเบื้องหลังเมตาเวิร์สของไทยที่ยังต้องลงทุนเพื่อพัฒนาองค์ประกอบอีกหลายด้าน กฤษดา รองรัตน์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงการดำเนินงานของบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับโลกดิจิทัลโดยเฉพาะว่า บริษัททำงานด้านบล็อกเชน จัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือของ 6 ธนาคาร ขณะที่ สุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แผนกธุรกิจคลาวด์ ประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด มาเล่าให้ฟังถึงการพัฒนาบริการของหัวเว่ยที่เกี่ยวข้องและจะส่งเสริมการพัฒนาโลกดิจิทัลและเมตาเวิร์สในไทยว่า นอกจากคอสซูเมอร์บิสซิเนสที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักหัวเว่ย ทั้งจาก สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ หัวเว่ยยังมีธุรกิจที่หลากหลายที่คนไทยอาจจะไม่รู้ว่าหัวเว่ยทำด้วย เช่น มีธุรกิจรถยนต์ในจีน เป็นบริษัทที่มีสิทธิบัตรมากที่สุดในโลก เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีที่ใช้ในองค์กร เป็นผู้นำในตลาดไวไฟ 6 และไวไฟ 7 (“EHT-Extremely High Throughput) ที่ทำให้ไวไฟทำงานได้อย่างเสถียรและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการเป็นผู้ให้บริการคลาวด์บิสซิเนสยูนิตที่มีส่วนแบ่งตลาดอันดับสามในไทย แต่มีระยะห่างจากเบอร์ 1-2 ไม่เกิน […]Read More
ใครที่เป็นแฟนคลับวงละอองฟองแล้วละก็ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่รู้จัก เอ๊ะ พงศ์จักร พิษฐานพร นักร้อง นักดนตรีหนุ่ม ที่พ่วงตำแหน่งมิวสิกไดเร็กเตอร์ ให้กับวง BNK48 โดยสาวๆ วงนี้จะเรียกขานเขาว่า ครูเอ๊ะและเมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้เองเจ้าตัวประสบอุบัติเหตุจักรยานล้ม ทำให้เกิดเลือดออกในสมอง กระดูกคอหัก แม้ว่าจะเซฟตัวเองด้วยการใส่อุปกรณ์ป้องกันครบชนิดจัดเต็มก็ตาม แม้จะพ้นขีดอันตรายจนกลับมามีสภาพสภาพร่างกายเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ และพร้อมลุยงานเต็มที่ตามประสาหนุ่มไฮเปอร์ แต่สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่ทุกคนจะโชคดี เหมือนกับคุณเอ๊ะ และ ไม่ใช่คุณเอ๊ะเช่นนี้ไปทุกครั้ง เพราะเรียกได้ว่า อุบัติเหตุครั้งนี้ ชีวิตของคุณเอ๊ะสัมผัสถึงลมหายใจสุดท้ายจริงๆ และเรื่องราวถัดจากนี้ คือ เรื่องเล่าและความรู้สึกเมื่อชีวิตเฉียดลมหายใจสุดท้าย ของ เอ๊ะ พงศ์จักร พิษฐานพร ที่ได้ถ่ายทอดกับทาง GM Live Thought ถึงมุมมองและข้อคิดที่ได้จากเหตุการณ์ครั้งนี้ “ผมมีความเชื่อว่า ช่วงชีวิตของคนเรา ไม่มีอะไรแน่นอนครับ สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งดีและร้าย จะผ่านเข้ามาโดยไม่ทันตั้งตัวเสมอ และไม่ว่าอย่างไรหากเข้าใจพร้อมกับยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วลุกขึ้นมาใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท เมื่อนั้นเราก็จะมีความสุข และสามารถใช้ชีวิตไปยังเป้าหมายได้ ผมเองก็เพิ่งผ่านพ้นกับช่วงเวลาที่เกิดขึ้นโดยที่ผมไม่รู้ตัว หรือจะเรียกว่าไม่รู้อะไรเลยจะถูกว่า จนมารู้สึกตัวอีกทีก็นอนเจ็บอยู่ข้างถนนแล้วครับ ซึ่งจากเหตุการณ์ครั้งนี้ต้องบอกว่าผมโชคดี ยังมีแต้มบุญอยู่บ้าง ที่มีคนมาช่วยและพาส่งโรงพยาบาลทัน ในขณะเดียวกันช่วงที่หมดสติไปก็ไม่ได้มีเหตุอะไรมาผสมเพิ่มจนเรื่องบานปลายมากกว่านี้ และครั้งนี้คืออุทาหรณ์จริงๆ […]Read More
แวดวงการศึกษาเป็นอีกเป้าหมายที่เชื่อว่าเมตาเวิร์สจะเข้าไปมีบทบาทเปลี่ยนแปลงรูปแบบและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนเชื่อมต่อกันด้วยเมตาเวิร์สที่จะกลายเป็นสถานที่ที่สาม มีเนื้อหามากมายให้เรียนรู้ และเป็นที่ฝึกทักษะที่ช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา แต่ประเทศไทยจะไปถึงจุดที่ใช้เมตาเวิร์สปฏิวัติการเรียนรู้ได้ดีแค่ไหน ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณะบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง นำประสบการณ์ใช้งานเมตาเวิร์สที่ลาดกระบัง ซึ่งมีการตั้งศูนย์เมตาเวิร์สขึ้นมาแล้ว จะมาแชร์ประสบการณ์และชี้ให้เห็นแนวโน้มและโอกาสของเมตาเวิร์สที่จะเข้ามีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบการศึกษาไทยได้อย่างไรบ้าง “ไม่ว่าเราสนใจเมตาเวิร์สหรือไม่ แต่โลกกำลังผลักดันเราไปทางนั้น” ผศ.ดร.อันธิกา เกริ่นนำถึงเมตาเวิร์สที่ทำให้คนที่อาจจะไม่เคยสนใจ รู้สึกอยากรู้จักเมตาเวิร์สขึ้นมาทันที ตามที่คนรู้จักกันทั่วไป เมตาเวิร์ส หมายถึงโลกสามมิติที่ผสมผสานทั้งโลกจริงและโลกเสมือนเข้าไว้ด้วยกันแบบไร้รอยต่อ ที่จะทำให้ผู้คนสามารถเข้าไปใช้ชีวิต ทั้งทำงาน พักผ่อน เล่นเกม พบปะพูดคุย สังสรรค์ รวมทั้งมีกิจกรรมร่วมกันได้เหมือนกิจกรรมต่าง ๆ ในโลกจริง โดยมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นพื้นฐานและปัจจุบันต้องอาศัยอุปกรณ์ เช่น มือถือ อุปกรณ์สวมศีรษะ ฯลฯ เป็นเครื่องมือในการเข้าถึง ผศ.ดร.อันธิกา เล่าว่า ที่ผ่านมาคณะสถาปัตยฯ มีประสบการณ์กับการพัฒนาเมตาเวิร์ส เช่น เปิดตัว KMITL Metaverse ศูนย์การเรียนรู้เมตาเวิร์สครบวงจร เพื่อใช้ในการเรียนการสอนรวมทั้งเปิดให้ผู้สนใจภายนอกเข้าไปศึกษาและใช้งานได้ พร้อมกับมีการจัดกิจกรรมหลายอย่างของมหาวิทยาลัยที่ทำในรูปแบบเมตาเวิร์ส โดยเฉพาะเพื่อเลี่ยงข้อจำกัดที่ทำให้ผู้คนไม่สามารถมาพบปะกันได้ด้วยตัวตนจริง ๆ ในช่วงโควิด ทำให้เมตาเวิร์สที่เริ่มก่อตั้งขึ้นพัฒนาไปมากกว่าแค่เรื่องการเรียนการสอนเพียงอย่างเดียว “ในโลกการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับเมตาเวิร์ส แม้ปัจจุบันเมตาเวิร์สจะยังมีขีดจำกัดในเรื่องของความเร็วอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ต่าง ๆ […]Read More
ภาพรวมและมุมมองเรื่องการลงทุนในสตาร์ทอัพในช่วงปีที่ผ่านมา ในฐานะ VC และ Angel Investor ประเด็นปัญหาจากประสบการณ์การลงทุน รวมไปถึงสิ่งที่ตามมาหลังโควิด-19 การทยอยเปิดเมืองต่างๆ ของทั่วโลกส่งผลอย่างไรต่อการลงทุนในสตาร์ทอัพทั้งในไทยและต่างประเทศ อีกทั้งมุมมองการสร้างแรงดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศสำหรับธุรกิจนวัตกรรมในประเทศไทยจากนี้ไปจะเป็นเช่นไร นักลงทุนตัวจริงมีคำตอบ ธนพงษ์ ณ ระนอง ประธานกรรมการบริหาร สมาคมไทยธุรกิจผู้ประกอบเงินร่วมลงทุน (Tvca) ให้ภาพรวมสตาร์ทอัพไว้ว่า บริษัทร่วมลงทุน ตั้งแต่ช่วงเริ่มจากแองเจิลฟันด์ ก่อนจะพัฒนามาถึงวีซีในซีรีส์ต่างๆนั้น เข้าใจดีว่าสตาร์ทอัพเป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงสูง นักลงทุนส่วนใหญ่จึงใช้วิธีทยอยลงทุนเพื่อร่วมเติบโตไปกับสตาร์ทอัพตั้งแต่ระยะเริ่มต้นหรือศูนย์จนผ่านกระบวนการ Exit ก่อนที่วีซี (Venture Capital) จะมารับช่วงลงทุนต่อ ซึ่ง Tvca จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งจะนับเป็นการระดมทุนรอบใหม่ของสตาร์อัพ ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Tarad.Com และ E-Frastructure Group ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในฐานะแองเจิลฟันด์ว่า โดยส่วนตัวจะใช้วิธีลงปริมาณมากหรือหลายบริษัท ทั้งแบบพิจารณาความเป็นไปได้ของธุรกิจและจากความชอบ เพราะรู้ว่าอัตรารอดของสตาร์ทอัพมีน้อย ไม่ใช้ทุกบริษัทจะประสบความสำเร็จ แต่แองเจิลฟันด์จะใช้วิธีลงทุนร่วมหุ้นแต่น้อย และคอยให้คำแนะนำปรึกษา ซึ่งอาจจะไปด้วยกันได้เติบโตหรือล้มเหลว แยกย้าย แต่แองเจิลฟันด์รู้ดีอยู่แล้วว่าอัตราความสำเร็จของสตาร์ทที่จะเติบโตแบบทวีคูณ หรือ Exponential น้อยมาก บางรายอาจจะสำเร็จแต่ไม่โตก็ไม่เรียกว่าเป็นสตาร์ทอัพ ดังนั้น […]Read More
ตั้งแต่เจอสถานการณ์โควิด ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นแล้วว่า ต่อให้เป็นองค์กรขนาดใหญ่ก็ไม่สามารถอยู่แบบเดิมได้อีกแล้ว แต่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจและการลงทุนเพื่อให้พร้อมรับมือกับความท้าทายและอยู่รอด องค์กรใหญ่ระดับแนวหน้าของไทยอย่าง เอไอเอส และ ปตท. ที่ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากองค์กรขนาดเล็ก ใช้โอกาสนี้พลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสใหม่ทางธุรกิจด้วยนวัตกรรม แน่นอนประสบการณ์จากองค์กรใหญ่เป็นเรื่องที่น่าศึกษาเสมอ มาดูกันว่าวิกฤตโควิดสร้างโอกาสอะไรให้กับเอไอเอสและปตท. อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม เอไอเอส โควิดไม่ใช่วิกฤตใหญ่ครั้งแรกของเอไอเอส การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีแต่ละครั้งสร้างวิกฤตให้ต้องหาทางรอดเสมอ จากยุคที่คนคุยโทรศัพท์ มานิยมใช้ SMS จนถึงยุคอินเทอร์เน็ต ที่เอไอเอสต้องหาทางรอดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและผู้บริโภค จนมาถึงยุคอะไรดีต้องหามาให้ลูกค้า แม้กระทั่งการจัดหาคอนเทนต์บันเทิงเข้ามาให้บริการ ปรับตัวให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค ปรับตัวเองไปสู่ดิจิทัลเซอร์วิสที่ไม่จำกัดโดยใช้นวัตกรรมด้านโทรคมนาคม ปรับตัวโดยมีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง และพัฒนามาตามแผนในยุคของ Digitalization อย่างต่อเนื่อง กระทั่งองค์กรอนามัยโลกประกาศโควิดแพร่ระบาด และรัฐบาลสั่งล็อคดาวน์ “จากวิกฤต ณ วันนั้นที่ทำให้พนักงานไปทำงานไม่ได้ แต่แค่เพียงข้ามคืนก็ทำให้พนักงานเอไอเอสกลายเป็นพ่อค้าแม่ค้าบนเฟซบุ๊ค การหยุกชะงักเพราะวิกฤตทำให้อยู่ในโหมด ไม่ Do ก็ Die กลายเป็นโอกาสให้คิดและลงมือทำในสิ่งที่อาจจะไม่เคยทำอย่างรวดเร็ว เหมือนที่เราเห็นการปรับตัวของผู้คนเข้าหาดิจิทัลเร็วขึ้นกว่าเดิม 3-4 ปีเพราะมีโควิด รวมถึงกิจกรรมบางอย่างที่ไม่คิดว่าจะเกิดได้ในโลกดิจิทัลก็เกิดขึ้น เช่น ขี่จักรยานทิพย์ วิ่งทิพย์ ฯลฯ ซึ่งมีวิจัยของแมคคินซี่บอกไว้ว่า โควิดทำให้ผู้บริโภครับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้เร็วกว่าเดิมถึง […]Read More
จากภาพความเป็นเมืองของกรุงเทพมหานคร มาสู่การพัฒนาระดับประเทศ ภายใต้กรอบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ชุมชนจะมีบทบาทอย่างไรต่อการพัฒนาด้านสังคม วิโรจน์ นรารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) มาร่วมชี้ให้เห็นชุมชนทั่วไทยที่จะมีบทบาทอยู่ในเกือบทุกมิติและกระบวนการพลิกโฉมไทย ตามหมุดหมายการพัฒนาที่ปักธงไว้ ในหัวข้อ “ชุมชนกับการพัฒนาด้านสังคม ภายใต้กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13” ในงาน SITE 2022 “แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่จะพลิกโฉมประเทศไทย ในอีก 5 ปีข้างหน้าไปสู่สังคมก้าวหน้าและมีคุณภาพอย่างยั่งยืน ภายใต้การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ประเทศไทยจะต้องก้าวทันพลวัตของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นั่นหมายความว่าคนไทยจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพเป็นที่มาให้มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาครอบคลุมหลายมิติ ซึ่งมีชุมชนเป็นส่วนสำคัญที่จะมีบทบาทต่อการพัฒนามิติเหล่านั้นในหลาย ๆ ด้าน” วิโรจน์ กล่าว ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 13 กำหนดการพลิกโฉมประเทศแบ่งเป็น 4 มิติการพัฒนา รวม 13 หมุดหมาย ได้แก่ มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย 6 หมุดหมาย โดยมีสองหมุดหมายที่ชุมชนจะมีบทบาทโดยตรงและถือเป็นเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจหลักของประเทศในเรื่อง การท่องเที่ยวที่จะเน้นพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและยั่งยืน และส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นชุมชนในฐานะเจ้าของสถานที่จะมีบทบาทโดยตรงในการร่วมคิดร่วมพัฒนา กับเป้าหมายด้านการเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูงซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าชุมชนของประเทศส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรม มิติที่ 2 ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดไว้สองเป้าหมายในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ กับการลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มิติที่ […]Read More
ผู้ว่ากทม.ยกคำนักประพันธ์เอกของโลก วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ ที่ว่า “คนคือเมือง” เป็นแนวทาง ชี้ให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาเมือง ต้องให้คนเป็นศูนย์กลาง และแก้ปัญหาของคนเป็นหลัก โดยนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นไฮเทคโนโลยีหรือเรื่องยาก แต่ต้องสามารถตอบโจทย์ผู้คนได้อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และยั่งยืน ขณะเดียวกันก็ต้องทำด้วยความยุติธรรมและเข้าใจ หลายเรื่องมีบทพิสูจน์แล้วจากระยะเวลา 10 วันที่เข้ามารับตำแหน่ง รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บรรยายในหัวข้อ “Re-Imagination Mega-City: Bangkok towards City of Innovation” ในงาน SITE 2022 ที่จัดโดยเอ็นไอเอ NIA ยกตัวอย่างบประพันธ์ของวิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ เป็นแนวทาง คนก็คือเมือง ถ้าปราศจากคน สภาพพื้นที่ที่แค่สิ่งก่อสร้างก็คงไม่มีความเป็นเมือง ฉะนั้นการพัฒนาเมืองต้องเน้นที่คนเป็นหลัก โดยเฉพาะแนวโน้มของการเป็นเมือง (Urbanization) ที่จะมีผลกระทบต่อคนในเมืองจำนวนมาก พร้อมเปิดเผยว่า จากการพิจารณากรุงเทพฯในภาพรวมพบอินไซต์ที่เป็นความท้าทาย 3 เรื่องสำคัญได้แก่ หนึ่ง-ความหนาแน่นของเมือง สอง-การเป็นพื้นที่ทำงานเฉพาะทาง และสาม-ความไม่เท่าเทียม ความหนาแน่นแบบไม่มีประสิทธิภาพ เป็นปัญหาที่นำมาซึ่งปัญหาอื่น ๆ ของเมืองอีกมาก เช่น […]Read More