เป็นที่ถกเถียงกันมาตลอดว่าระหว่างทำทุกอย่างภายในกรอบ ภายใต้ความรู้และประสบการณ์ที่มี กับทำอะไรนอกกฎ นอกกรอบ อย่างไหนดีกว่ากัน เชื่อว่าหลายๆ คนคงตอบว่า การอยู่ในกรอบ หรือทำอะไรที่ผลลัพธ์นั้นมองเห็นว่าปลอดภัยเป็นเรื่องที่ดี การแหกกฎ การนอกกรอบเป็นเรื่องที่เสี่ยง และอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา….ผมว่าไม่แปลกครับ.. เพราะระบบวัฒนธรรมบ้านเราปลูกฝังให้ทุกคนอยู่ในกรอบ ทำอะไรให้เหมือนกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำข้อสอบที่ต้องตอบให้ตรงกับคำตอบของครูเท่านั้น การปลูกฝังว่าต้องทำตามตำราหรือทำตามใครซักคนที่ประสบความสำเร็จ การทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันโดยที่ต้องมีคนคอยบอกว่าคุณต้องคิดอะไร เป็นสิ่งที่ถูกต้อง..นั่นจึงเป็นกรอบของเราครับ และใครหลายคนก็เชื่อว่ากรอบนี้คือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด อะไรที่แตกต่างออกไปเป็นสิ่งที่ผิด ผมอยากลองแชร์ประสบการณ์ที่วันหนึ่ง เมื่อผมลองก้าวออกจากพื้นที่ของเรา ไปสู่พื้นที่ใหม่ ไปเจอกรอบใหม่ๆ ที่ต่างออกไป ตอนนั้นผมได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ต่างชาติ ผมเจอหลายสิ่งที่เคยมองว่าเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ว่าจะเป็น การทำงานที่สื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมามากๆ โดยไม่สนเรื่องอายุ ตำแหน่งและความสัมพันธ์ การทำอะไรที่เหมือนก่อนหน้านี้ดูเป็นเรื่องโง่ แม้ว่าจะปลอดภัย ไม่มีใจดีหรือใจร้าย สิ่งนี้ดี-ไม่ดี มองแต่ว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ และอะไรอีกหลายๆ อย่างที่เคยเชื่อว่าถูกต้อง แต่กลับเป็นเรื่องตรงกันข้ามไปหมด หลายคนคงคิดว่าผมกำลังจะอวยคนต่างชาติว่าเขาดีกว่าเราอย่างนั้น อย่างนี้.. เปล่าครับ.. ผมไม่ได้อวย ผมจะบอกว่า ความจริงของโลกใบนี้คือไม่มีสิ่งที่ผิดหรือถูกเสมอไป ภายใต้กรอบของเราก็มีความสำเร็จอยู่ครับ และภายใต้กรอบของต่างชาตินั้นก็มีความสำเร็จอยู่เช่นกัน สิ่งที่ผมมองเห็นได้ชัดที่สุดของการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ต่างชาติ คือทุกอย่างเป็นได้มากกว่าที่เป็น ไม่มีอะไรตายตัว ในความสำเร็จหนึ่งอย่างไม่ได้มีแค่วิธีเดียว เหมือนแต่งเพลง […]Read More
ชีวิตในแต่ละช่วงยื่นบททดสอบให้เราต่างกัน ในวัยเด็ก เราไม่รู้หรอกว่าชีวิตจะบอกอะไรกับเรา อาจเป็นเพราะว่าเราไม่เคยคิดหรือสงสัย ก็แค่ใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ ได้กินอิ่มนอนหลับ เล่นกับเพื่อนๆ ก็มีความสุขแล้ว ชีวิตไม่ได้หยิบยื่นแบบทดสอบที่โหดหินมาให้นัก หรืออาจเป็นเพราะเรายังไม่รู้เดียงสา เลยไม่มีเรื่องไหนที่หนักหนาจนต้องเก็บมาคิดให้หนักสมอง ตื่นมาก็ลืมแล้วด้วยซ้ำว่าเมื่อวานเกิดอะไรขึ้น ที่สำคัญยังมีคนรอบข้างคอยปลอบประโลมในยามที่ทุกข์ใจ… ชีวิตในช่วงเวลานั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการวิ่งเล่นอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์ที่สวยงาม เราเลยไม่หวาดเกรงต่อสิ่งที่จะได้พบเจอ มีเพียงรอคอยที่จะตื่นมาเพื่อเจอแต่ความสุขในวันถัดๆ ไป ความทุกข์ การเปลี่ยนแปลง และความผิดหวังเป็นเหมือนคนแปลกหน้าที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ทว่า..เมื่อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ชีวิตเริ่มไม่ใจดีกับเราเหมือนก่อน ปัญหาเล็กๆ ที่เคยเจอเมื่อตอนเด็กๆ กลับไม่เล็กเหมือนแต่ก่อน บททดสอบที่ชีวิตหยิบยื่นให้ก็ยากขึ้นและหนักหนาขึ้นจนบางครั้งเกินจะรับไหว ผู้ช่วยคนสำคัญในชีวิตเริ่มหายไปจากชีวิต เหลือคนที่คอยโอบอุ้มเราน้อยลงเต็มที ตอนนั้นแหละที่ชีวิตปลุกเราให้ตื่น และบอกเว่า…ไม่มีใครที่จะอยู่ช่วยเราไปได้ตลอดชีวิต และบางปัญหาก็ไม่มีใครช่วยได้ นอกจากตัวเราจะหาทางออกจากปัญหานั้นให้ได้เอง เราเริ่มมองเห็นแล้วว่าทุ่งลาเวนเดอร์ที่เคยโตมานั้นไม่ได้สวยงามเสียทีเดียว บางทีก็มีขวางหนามแทรกมาเป็นระยะ ถ้ายังอยากจะวิ่งเล่นในทุ่งลาเวนเดอร์นี้ต่อ ก็ต้องผ่านขวางหนามนั้นไปให้ได้ แต่ถึงผ่านมาได้ขวางหนามเหล่านั้นก็ฝากรอยแผลไว้เป็นอนุสรณ์ ขวางหนามในชีวิตแต่ละคนมาในรูปแบบที่แตกต่างและในช่วงเวลาที่ต่างกัน ถ้าใครมีสติและเข้มแข็งพอ ก็อาจก้าวผ่านไปได้ และชีวิตจะให้รางวัลที่เรียกว่าประสบการณ์เป็นภูมิคุ้มกันแก่เรา แต่มุมมองในชีวิตของเราจะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป เราจะใช้ชีวิตอย่างหวาดระแวง ระแวดระวังมากขึ้น จนการวิ่งเล่นอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์ชักเริ่มไม่เพลิดเพลินอีกต่อไป นั่นเพราะเราเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองแล้วว่า….ชีวิตโยนเราให้มาวิ่งเล่นอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์นี้ทำไม เราเริ่มเห็นวงจรชีวิตของเราซึ่งซ้ำไปซ้ำมาทุกวัน จนทำให้เกิดความสงสัยว่าการ…ที่มีชีวิตอยู่เพียงแค่ทำสิ่งที่ไร้ความหมายแบบนี้ ซ้ำไปซ้ำมาอย่างนี้ทุกวันจริงๆเหรอ ? แตมเชื่อว่าหลายคนเริ่มมองหาความหมายของการมีชีวิตและการมีคุณค่าของการมีชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ และในขณะที่เริ่มไตร่ตรองกับความหมายของชีวิต คนรอบตัวก็เริ่มล้มหายตายจากมากขึ้นจนน่าใจหาย ความตายที่ไม่เคยนึกถึงกลับกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวเข้ามาทุกที มีคำถามที่ดังขึ้นซ้ำๆ […]Read More
ประดิษฐกรรมหนึ่งของมนุษยชาติ ที่บ่งบอกถึงความก้าวหน้า และการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และมีจุดร่วมกันที่ไม่อาจปฏิเสธได้เลยนั้นคือ ‘ภาษา’ นั่นเพราะคนในท้องที่ ในภูมิภาค หรือในประเทศ ต่างก็มีสื่อกลางที่ใช้สื่อสาร บ่งบอกความต้องการ และอรรถาธิบายสิ่งที่เป็นทั้งรูปธรรม นามธรรม และจินตนาการให้ออกมาเป็นรูปฐานที่ชัดเจน ภาษา จึงเป็นข้อบ่งชี้ถึงความก้าวหน้าในระดับสูง และเป็นอัตลักษณ์ของคนในขอบเขตหรือท้องที่นั้นๆ แต่ก็เช่นเดียวกับเส้นแบ่งอาณาเขตของพื้นที่หรือประเทศ ที่เปลี่ยนแปลง หดแคบ ขยายออก ไม่มีความแน่นอน ตัวบทของภาษาเอง ก็มีการแปรสภาพ และไม่เคยอยู่นิ่ง แม้แต่ในประเทศเดียวกัน หากต่างท้องที่ ต่างภูมิภาค ก็สามารถมีความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะในรูปของสำเนียงภาษาพูด หรือ ‘คำ’ ที่ใช้แทนความหมายของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ภาษา เปลี่ยนแปลงได้ ตามท้องที่ ตามเวลา และตามสถานการณ์จะนำพา ในปัจจุบัน โลกแห่งการติดต่อสื่อสาร เดินทางข้ามมาสู่พื้นที่เสมือน การเข้าถึง Social Media และอินเตอร์เนท ก่อให้เกิดการแปรสภาพของ ‘ภาษา’ ไปสู่รูปสารที่แตกต่างออกไปจากเดิม หลากหลายคำถือกำเนิดขึ้นจากการใช้งาน ยอมรับร่วมกัน และมีความคุ้นชิน แต่ในทางหนึ่ง ความคุ้นชินเหล่านั้น ก็หักล้างกับบัญญัติทางภาษาที่ถูกกำหนดเอาไว้โดยระเบียบ และหลักเกณฑ์ทางภาษาที่เป็น ‘ทางการ’ […]Read More
เรื่อง: ชวนะ ช่างสุพรรณ หลายวันก่อนหลังจากประชุมมาเกือบทั้งวัน ผมหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู ก็เห็นว่ามีสายเรียกเข้าที่ผมไม่ได้รับสายหลายเบอร์มาก แต่วันนั้นผมยังติดภาระกิจอีกหลายอย่าง เลยไม่ได้ติดต่อกลับจนกระทั่งดึก ผ่านมาอีกวันพอนึกขึ้นได้ ก็เลยไล่ดูรายชื่อเพื่อติดต่อกลับทั้งเบอร์ที่ไม่รู้จัก และเบอร์ที่รู้จัก หนึ่งในนั้นมีเบอร์ของรุ่นน้องซึ่งมักจะโทรพูดคุยกันในเรื่องของงานออกแบบและบทความอยู่บ่อยครั้ง เมื่อผมติดต่อกลับ…..ก็ได้ยินเสียงตามสายมาว่า “พี่เอคะ รบกวนช่วยเขียนบทความจากหัวข้อ… ชีวิตนี้บอกให้รู้ว่า… หน่อยนะคะ “ ตามด้วยเสียงหวานๆว่า “หนูให้เวลาพี่อาทิตย์หนึ่ง” ชีวิตนี้บอกให้รู้ว่า… ดังก้องอยู่ในหัวผมตั้งแต่วินาทีนั้นทันที บอกให้รู้อะไรว่ะ ผมถามกับตัวเอง ทำงานไป คิดงานไป ชีวิตนี้บอกให้รู้ว่าก็ เด้งขึ้นมาในหัวอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าคำถามนี้..ประเภทนี้ ก็เคยผุดขึ้นมาในความคิดอยู่หลายครั้ง บางครั้งก็ผุดขึ้นมาในช่วงเวลาที่ดิ่งลงถึงที่สุด บางครั้งก็มาในช่วงเวลาที่มีความสุขเต็มที่กับชีวิต แต่ผมก็ยังหานิยามคำตอบให้กับตัวเองไม่ได้อยู่ดี จนเวลาล่วงเลยมาเข้าวันที่ห้านับตั้งแต่วันที่คุยกัน ชีวิตนี้ก็ยังไม่บอกอะไรผมเลย ว่าจะเขียนอะไร ตีความช่วงชีวิตที่ผ่านมายังไงให้มันสวยงาม มีสาระ ดูไม่ซ้ำกับคนอื่นๆ และเพียงพอที่จะสร้างมุมมองในการใช้ชีวิตให้กับคนที่อ่านได้บ้าง work life balance , work life flow , สร้างสมดุลย์ในการใช้ชีวิต ชีวิตเราสั้นอยากทำอะไรก็ทำ สิ่งที่คนใกล้ตายอยากบอก เรื่องราวที่อ่านผ่านๆ ตา ผ่านสมอง ก็หลั่งไหลเข้ามา […]Read More
หนึ่งในประดิษฐกรรมที่เกิดขึ้นโดยมนุษยชาติชนิดหนึ่ง ที่อาจจะขึ้นชื่อว่าเป็นความก้าวหน้า และเป็นพิษมหันต์ที่ผลักให้การตายและการฆาตกรรมสูงขึ้นอย่างมีนัยยะ คงไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ‘ปืน’ คือสิ่งนั้น จากท่อยัดลูกปรายโรยดินระเบิด มาสู่ขนาดพกพา ประสิทธิภาพสูง มุ่งหมายผลลัพธ์สูงสุด การถือครองอาวุธปืน ในความหมายหนึ่ง คือการประกาศสิทธิ์อันยิ่งใหญ่ อำนาจที่เหนือกว่า และพลานุภาพที่จะผลาญคนที่อยู่อีกฝั่งของไก แต่เมื่อไกปืนลูกเหนี่ยว คันนกถูกสับ ผู้ยิงก็ไม่ได้เป็นนายของมันอีกต่อไป ปืนเป็นเพียงอุปกรณ์ เป็นวิถีทาง เป็น ‘กระบวนการ’ เพื่อนำไปสู่ปลายเหตุ เพื่อใช้จบปัญหา ไม่ว่าจะเป็นระดับส่วนตัว หรือความขัดแย้งระดับประเทศในสมรภูมิ และก็ดูเหมือนว่าอาวุธปืน ได้กลายมาเป็นปัญหาในเชิงสังคม มากขึ้นทุกขณะ เมื่อเจ้าของอาวุธปืน นำมันไปพิฆาตคนที่ไม่มีส่วนรู้เห็น ไม่เคยมีประเด็น หรือมีความขัดแย้งใดๆ กันมาก่อน …. เมื่อปืนถูกใช้เพื่อระบายความเกลียดชัง…. เหตุการณ์กราดยิงอาวุธปืนที่เกิดขึ้นต่อเนื่องถึงสามครั้ง สามช่วงเวลา ในสถานการณ์และผู้เสียชีวิตที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงที่สหรัฐอเมริกา หนึ่งคือโรงเรียนประถม สองคือร้านนวด และสามคือสถานพยาบาล มีจุดร่วมที่ตรงกัน คือผู้ก่อเหตุ เป็นวัยรุ่นตอนต้น ถือครองอาวุธปืน มีประวัติความขัดแย้ง และมีปัญหาในด้านการเข้าสังคม ในแง่หนึ่ง การบุกกราดยิงของผู้ก่อเหตุ มีความหมายเชิงซ้อนของความพยายามที่จะ ‘ตายตกไปตามกัน’ กล่าวคือ วางแผนให้การกราดยิง คือพฤติกรรมสุดท้าย […]Read More
เรื่อง: ดร. วิชยุตม์ ทัพวงษ์ หากมองย้อนกลับไปตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา เราต่างคุ้นเคยกับตัวย่อสี่ตัวนี้ คือ V U C Aซึ่งมาจาก Volatility ความผันผวน , Uncertainty ความไม่แน่นอน , Complexity ความซับซ้อน และ Ambiugity ความคลุมเครือ ซึ่งมีการยืนยันชัดเจนว่ามาจากโรงเรียนทหารในสหรัฐอเมริการ U.S. Army War College ที่เขาใช้กันตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 90 หรือประมาณปลายสงครามเย็น ที่ผ่านมาการนำคำย่อนี้มาใช้นอกรั้ว U.S. Army War Collegeนั้น ทั้งจากอดีตจนถึงปัจจุบันในทุกวงการไม่ว่าภาครัฐหรือภาคเอกชน จุดประสงค์ก็เพื่อปรับตัวให้เท่าทันและสอดคล้องกับการขับเคลื่อนของโลกปัจจุบันโดยแท้จริงนั่นเอง และหากย้อนกลับมามองที่บริบทของโลกเรานั้นจะพบว่า มีการขับเคลื่อนตลอดเวลา หรือที่เรียกว่า พลวัตของโลกนั่นเอง ซึ่งการขับเคลื่อนอย่างไม่หยุดนิ่งนี้เอง นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การปกครอง รวมถึงด้านสุขภาพด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ และเห็นได้ชัดเจน คือ พลวัตทางเทคโนโลยีดิจิตอล ทำไมผมถึงยกเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เพราะว่าเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์โลกไปแล้วนะซิครับ เห็นชัดสุด […]Read More
ในสมัยกาลก่อน มีคำกล่าวว่า ‘ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน’ และการจะวัดประสิทธิภาพ กับค่าตอบแทนภายใต้ระบบการทำงาน ไม่ว่าจะในหน่วยงานหรือองค์กรใด ก็ขึ้นกับว่า คนคนหนึ่ง จะสามารถสร้างผลผลิตสุดท้ายได้มากน้อยแค่ไหน แนวคิดเกี่ยวกับการ ‘ทำมาก ได้มาก’ ก็มักจะตามมาเป็นลำดับขั้นที่สองของการวัดผลอยู่เสมอๆ … แต่เป็นในทางทฤษฏี เพราะในความสลับซับซ้อนของสังคม การทำงาน และการวัดประสิทธิภาพนั้น ไม่ได้สมบูรณ์แบบเต็มร้อย และการ ‘ทำมาก ได้มาก’ ก็เป็นเพียงอุดมคติในช่วงแรกเริ่มหรือ ‘Honeymoon Period’ ของวัยทำงานตอนต้น ที่เมื่อถูกเบียดบังด้วยความเหนื่อยล้าสะสม ความกดดันจากการคาดหวัง และการรับผิดชอบเกินกว่าหน้าที่ที่ได้รับแล้วนั้น ไฟและใจที่เคยมีให้ ก็เริ่มจะดับมอด และกลายเป็นอาการ ‘Quiet Quitting’ ที่กลายเป็นปัญหาในโลกการทำงานในขณะนี้ Quiet Quitting นั้น ไม่ใช่การเขียนใบลาออกไปยื่นฝ่ายบุคคล แล้วจากไปแต่เงียบๆ ไม่บอกใคร แต่มันคือกระบวนการของคนทำงานในยุคสมัยปัจจุบัน ที่เมื่อถูกความกดดันทับถม เกิดสภาวะความเครียดอย่างหนักหน่วง ได้ตัดสินใจ ‘ทำตามแต่เฉพาะขอบเขตที่ได้รับ’ และจะไม่ทำอะไรนอกเหนือไปกว่านั้น เข้าทำนอง ถ้าระเบียบให้ทำจาก A ถึง Z ก็จะเป็นตามนั้น ถ้าให้ตอกบัตร […]Read More
บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีประสบการณ์ในด้านโซเชียลมีเดียมามากกว่า 15 ปี เผยโฉมฐานทัพรูปแบบใหม่บนพื้นที่ 1,234 ตร.ม. ที่ยึดคอนเซปต์การทำงานแบบยืดหยุ่นที่พนักงานสามารถเลือกทำงานได้ทั้งที่บ้านและที่ออฟฟิศ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด คุณกล้า ตั้งสุวรรณ, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า “ตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤตการณ์โควิดเป็นต้นมา เราพบว่าในอนาคตเราต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานอย่างสูง ทำให้เราดำเนินการปรับรูปแบบพื้นที่ทำงานของเราให้กลายเป็น ‘Hybrid Workplace’ เน้นให้ทุกคนได้เข้ามาสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน พื้นที่ที่ออกแบบมาจึงไม่เหมือนการทำงานในยุคก่อนที่ต้องนั่งทำงานต่อเนื่องวันละ 8 ชั่วโมง แต่พนักงานสามารถยืน, นั่ง, เดินทำงานตามจุดต่างๆ ได้ และจุคนได้มากกว่า 200 คน เรามองว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นได้ทั้งที่ทำงาน และที่ที่ทุกคนได้มาใช้เวลาในช่วงต่างๆ ของการทำงานร่วมกัน” ซึ่งคอนเซปต์นี้ถูกประยุกต์ในพื้นที่ทุกตารางเมตรของ BASE33 โดยแบ่งออกเป็น 4 โซนหลักๆ ได้แก่ 1. THE FRONTสัมผัสความเป็นไวซ์ไซท์ได้ตั้งแต่ก้าวแรกด้วยจอ Command Center ขนาดใหญ่ที่แสดงผลข้อมูลบนโลกโซเชียลในหลากหลายรูปแบบ ให้คุณไม่พลาดในการเกาะติดทุกกระแสโซเชียลแบบเรียลไทม์ในบรรยากาศสบายๆ แบบเป็นกันเอง โดยไม่จำกัดเพียงแค่ลูกค้า หรือพาร์ทเนอร์เท่านั้น […]Read More
ผมเคยเขียนถึง ตูนบอดี้แสลมไปครั้งหนึ่ง ถึงวิถีการตัดสินใจของตูนที่ผมได้ยินผ่านปากของเขาจากเวทีแห่งหนึ่ง .. ครั้งนั้นเขาพูดถึงชีวิตในวัยเด็ก ว่าเคยมีคนมาดูถูกเขา และเขาเกือบจะต่อยปากคนนั้น แต่ด้วยการที่เขาได้ยั้งคิด ณ ตอนนั้นสักประมาณ 5 วินาที ทำให้เขาไม่ได้ออกหมัดแต่อย่างใด ..ตอนนั้นตูนให้เหตุผลว่า “ ที่บ้านส่งผมมาเรียน ถ้าผมทำอะไรออกไป แม่ต้องมาพบครู และก็จะเกิดอะไรที่วุ่นวายจะมาเต็มไปหมด ” นั่น คือ 5 วินาทีที่มีความหมายสำหรับเขา และสำหรับทุกๆ คน เพราะการที่เขามีภาพรายละเอียดแห่งอนาคตขึ้นมาหลายๆ ฉาก สะท้อนให้เห็นว่าตูนมีระเบียบการคิด และระบบการยั้งคิดที่ดีมากๆ ในเวทีเดียวกันนั้น ผมมีโอกาสได้ถามตูนอีกว่า รู้สึกอย่างไรที่ต้องหยุดทำดนตรี เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย คุณไม่เสียดายในสิ่งที่ตัวเองรัก และกำลังไปได้ดีหรือ … คำตอบของตูนตอนนั้น ก็ไม่ธรรมดาอีกเช่นกัน เพราะเขาตอบว่า “ ผมรอได้ ผมต้องทำให้ที่บ้านรู้สึกว่าผมทำให้กับครอบครัวตามความหวังของที่บ้านแล้ว ” … ผมชอบคำตอบนี้อีกเช่นกัน เพราะเขาสร้างความลงตัว ระหว่าง “ ความหวัง” ของที่บ้าน กับ “ ความฝัน ” […]Read More
มีคนเคยกล่าวเอาไว้ว่า งานสถาปัตยกรรมใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นบนโลก ต่างเป็นการหาสมดุลกันระหว่าง ‘สไตล์การออกแบบ’ และ ‘ประโยชน์ทางด้านการใช้งาน’ สไตล์บ่งบอกถึงช่วงเวลาและมุมมองที่ผู้สร้าง มีต่อยุคสมัย และประโยชน์ด้านการใช้งาน เป็นแก่นที่อยู่ภายใน ที่สไตล์จะทำการ ‘รับใช้’ เพื่อให้เอื้อทั้งความงดงาม และถึงพร้อมในอรรถประโยชน์ ที่เป็นหัวใจหลัก งานสถาปัตย์ที่มีแต่สไตล์ แต่ไม่เอื้อต่อการใช้งาน ก็เป็นเพียงการระบายความคลั่งไคล้อันกลวงเปล่า หรืองานสถาปัตย์ที่เน้นใช้งานเป็นสารัตถะ แต่ไม่มีเส้นสายการออกแบบ ก็เป็นเพียงอาคารที่แข็งทื่อ ไร้จิตวิญญาณ ไม่เป็นที่จดจำ เช่นนั้นแล้ว ‘ตึกโดม’ จึงเป็นการวิสาสะของทั้งสไตล์ คุณประโยชน์ และพ่วงด้วยปัจจัยที่สามอย่างเช่น ‘ประวัติศาสตร์’ อย่างไม่อาจจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปได้ และเมื่อบวกรวมกับที่มาที่ไป และบทบาทของ ‘ธรรมศาสตร์’ ในหน้าประวัติศาสตร์ของสยามประเทศ เราจะพบกับความสำคัญ ที่ถูกแปรเปลี่ยนมาเป็นงานออกแบบตึกโดมนี้ได้อย่างชัดเจนอย่างยิ่ง ตึกโดม เป็นอาคารขนาดสามชั้น ที่มีตึกทางเข้า เป็นรูปทรงโดม ตามสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ที่ฐานกรวยเป็นแปดเหลี่ยม ยอดแหลมชี้ขึ้นฟ้า สองปีกของอาคารทอดยาวออกไปยังฝั่งถนนท่าพระอาทิตย์ และท่าพระจันทร์ ตัวอาคาร ความหมาย เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงการส่งผ่านของแนวคิดจากคณะราษฏรในช่วงแรกเริ่ม การนำส่งความรู้สู่ประชาชน การเปิดกว้างทางความคิดอันไพศาล หรือแม้กระทั่งสไตล์ที่ใช้ ก็ยังเป็นแนวอาร์ตเดโค (Art […]Read More