วันที่ 30 กันยายน 2563 จะครบวาระการดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ของ ดร.วิรไท สันติประภพ ตลอดเส้นทาง 5 ปี ในฐานะ “หัวเรือใหญ่” ขององค์กรที่มีพันธกิจหลักคือ การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศท่ามกลางความท้าทายมากมาย ทั้งจากระบบเศรษฐกิจและการค้าโลกที่คาดเดาได้ยาก ตลาดทุนและตลาดการเงินที่ผันผวนสูง การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัลในโลกการเงิน ตลอดจนวิกฤติโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบรุนแรงไปทั่วโลก Conversation with the Governor ฉบับส่งท้ายตำแหน่งของผู้ว่าการ ธปท. คนปัจจุบัน ได้รับเกียรติจากคุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร นักคิดและนักเขียนชื่อดัง เจ้าของเพจ “8 บรรทัดครึ่ง” มาชวนคุยถึงบทสรุปการเดินทางในโลก VUCA ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งสิ่งที่ฝากถึงชาว ธปท. เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับโจทย์ใหญ่ในอนาคตที่จะท้าทายการดำเนินงานของธนาคารกลางมากยิ่งขึ้น ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง เท่าทันโลกการเงินยุคใหม่ คุณกวีวุฒิ : ขอเริ่มต้นจากการย้อนกลับไปมองการทำงานตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ท่านผู้ว่าการคิดว่าบรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ ดร.วิรไท : ผมถือว่าการทำหน้าที่ผู้ว่าการเป็นการเดินทางร่วมกับพี่น้องชาว ธปท. เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจการเงินไทย ไปพร้อม […]Read More
นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์ – GMLIVE บุญรัตน์ ศักดิ์บูรณพงษา Photo: พิชญุตม์ คชารักษ์ หากนิยามความเป็นนายแพทย์ โอฬาริก มุสิกวงศ์ สามคำนี้คงเหมาะที่สุดเพราะสำหรับคุณหมอหนุ่มคนรุ่นใหม่วัยเลข 4 ต้นๆ ท่านนี้ ไม่ได้มองการจับมีดผ่าตัดเป็นแค่เครื่องมือรักษาผู้ป่วย แต่เขามองไกลไปยิ่งกว่า คือทำอย่างไรจะสกัดกั้นหรือลดความเจ็บป่วยของผู้คน ก่อนที่จะเกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยขึ้น เพื่อจะได้ไม่มีคนไข้มาหาหมออย่างเขา ด้วยความคิดเช่นนี้จึงเป็นแรงผลักให้ นพ.โอฬาริก หรือ หมอโอที่คนไข้เรียกกันจนติดปาก ไม่หยุดอยู่แค่การทำหน้าที่แพทย์ แต่จุดประกายให้คิดนอกกรอบบูรณาการหลายๆ หนทาง หันไปสวมบทบาทนักการศึกษา, นักพัฒนา Health Tech,ไปจนถึงการเป็นนักพัฒนาเมือง เพื่อหวังยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดี จากตำแหน่งงานที่คุณหมอโอเข้าไปมีส่วนร่วมหลากหลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หลักอย่าง สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและเป็นตัวตั้งตัวตีโครงการรณรงค์ท้องไม่พร้อม และอีกหลากหลายโครงการ ไปจนถึงบทบาทประธานแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของแผนกสูติกรรม จังหวัดปราจีนบุรี, ประธานคณะอนุกรรมการการศึกษา ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย, คณะกรรมการการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ประเทศไทย, ที่ปรึกษาโครงการดิจิทัลฟอร์ไทยของเอไอเอส, ที่ปรึกษาสมาคม Health Tech Startup ประเทศไทย และยังไม่รวมตำแหน่งในองค์กรต่างประเทศ การพาตัวเองเดินไปบนเส้นทางที่เหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน แต่คุณหมอโอบอกว่าทุกบทบาทเกิดขึ้นจากแก่นแท้เพียงเรื่องเดียว คือ ทำอย่างไรให้คนสุขภาพดี […]Read More
“บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร” ผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 15 – GMLIVE บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 15 เผยหลักการบริหารแบบ “ยืดหยุ่น ทันการณ์ ประสานประโยชน์” พร้อมนโยบายขับเคลื่อน กฟผ. สู่ผู้ให้บริการด้านพลังงานอย่างครบวงจรในยุคดิสรัปชั่น ทั้งการรักษาความมั่นคงในระบบไฟฟ้าของประเทศ และบริการด้านพลังงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าที่หลากหลาย พร้อมเดินหน้าสร้างพันธมิตรต่อยอดธุรกิจใหม่ ควบคู่การดูแลสังคมชุมชนสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อมกล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีส่งผลกระทบโดยตรงต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า รวมถึงรูปแบบการผลิตไฟฟ้าซึ่งถูกกำหนดโดยผู้ใช้ไฟฟ้ามากขึ้น กฟผ. จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าในยุค New Normal ปรับวิธีคิดและการดำเนินงานภายใต้แนวคิด “EGAT for ALL” หรือ กฟผ. เป็นของทุกคน และทำเพื่อทุกคน “บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร” ผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 15 – GMLIVE เพราะนอกจากการผลิตและส่งไฟฟ้าเพื่อรักษาความมั่นคงในระบบไฟฟ้าของประเทศแล้ว การดำเนินงานของ กฟผ. ยังต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความหลากหลายในยุคดิสรัปชั่น โดยตั้งเป้าเดินหน้าสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านพลังงานอย่างครบวงจร (Energy […]Read More
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนที่ 21 ได้พบปะกับสื่อมวลชนหลังจากเข้ารับตำแหน่ง และได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ประเทศกำลังเผชิญครั้งนี้ว่า มีความ “รุนแรง” มีแนวโน้มที่จะ “ยาวนาน” และมีความ “ไม่แน่นอนสูง” กว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ เพราะวิกฤติโควิด 19 ลุกลามไปทั่วโลกและยังไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อใด นอกจากนี้ ดร.เศรษฐพุฒิยังได้เล่าถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่ต้องปรับเปลี่ยนตามบริบทที่เปลี่ยนไป ตลอดจนแนวทางการทำงานของ ธปท. ในช่วงเวลานับจากนี้ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เศรษฐกิจฟื้นตัวแบบ ไม่เท่าเทียม – ใช้เวลานาน – ไม่แน่นอน “วิกฤติโควิด 19 ครั้งนี้นับเป็น shock ที่รุนแรงมาก กระทบกับเศรษฐกิจทุกประเทศเต็ม ๆ” ดร.เศรษฐพุฒิขยายความว่า สำหรับประเทศไทย ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด จากที่เคยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเฉลี่ยปีละ 40 ล้านคน ในปีนี้เหลือไม่ถึง 7 ล้านคน ซึ่งหมายถึงเงินที่จะหายไปจากระบบเศรษฐกิจสูงถึงประมาณร้อยละ 10 ของ […]Read More
GIT เดินหน้าเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ ยกระดับมาตรฐาน เสริมความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย มั่นใจธุรกิจฟื้นเร็วหลังวัคซีนต้านโควิดใช้ได้ผล นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ หรือ GIT กล่าวถึงนโยบายและแผนการดำเนินงาน GIT เร่งส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน พร้อมสร้างการยอมรับในมาตรฐานในเวทีการค้าระดับโลก ผลักดัน GIT Standard สร้างมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและโลหะมีค่า ผู้อำนวยการ GIT กล่าวว่า สถาบัน ในฐานะสถาบันแห่งชาติด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ได้เร่งทำมาตรฐานห้องปฏิบัติการ เพื่อยกระดับการให้บริการตรวจสอบและออกใบรับรองอัญมณีและโลหะมีค่าให้มีมาตรฐานสากล พร้อมสร้างมาตรฐานวิชาชีพให้กับนักวิชาการด้านอัญมณีและโลหะมีค่า นอกจากนี้ GIT ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานในต่างประเทศ เช่น จีน เพื่อผลักดันการสร้างมาตรฐาน และการยอมรับในใบรับรองสินค้าอัญมณีและโลหะมีค่าร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ และการส่งออกให้กับผู้ประกอบการไทย เสริมความเชื่อมั่นผู้บริโภคด้วยโครงการซื้อด้วยความมั่นใจ (Buy with Confidence) เพราะความมั่นใจเป็นหัวใจสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ GIT เดินหน้าโครงการซื้อด้วยความมั่นใจ Buy With Confidence เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ การันตีคุณภาพด้วยใบรับรองคุณภาพจาก GIT ซึ่งผู้ซื้อสามารถสังเกตได้จากตราสัญลักษณ์ Buy with Confidence ที่ติดหน้าร้าน และเรียกหาใบรับรองสินค้าทุกครั้งที่ซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เร่งพัฒนาหลักสูตรอบรมเสริมทัพอุตสาหกรรมยุค Digital […]Read More
นับเนื่องตั้งแต่สมัยครั้งโบราณมา สิ่งที่เป็นความก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญแห่งมนุษยชาตินั้น คงต้องนับรวม ‘การเดินเรือ’ เข้าไว้ด้วย เพราะผืนทะเลไม่ใช่อาณาเขตกีดกั้น แต่เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อ ดินแดนใหม่ๆ นำพาความรู้ วิทยาการ และ ‘สินค้า’ จากภูมิภาคหนึ่ง ไปสู่อีกภูมิภาคหนึ่ง ก่อให้เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยน สร้างความเจริญก้าวหน้าให้ทะยานไปด้วยกระบวนการของผู้กล้าหาญที่นับท้องทะเลเป็นอ้อมอก แห่งมารดา และปวารณาตนเป็นลูกชาวทะเล และสำหรับประเทศไทย มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาตั้งแต่โบราณกาล ต้องนับว่าได้ประโยชน์และความเจริญจากการเดินเรือค้าขายและการขนส่งสินค้าทางน้ำ พร้อมทั้งพัฒนาและเริ่มจัดตั้ง ‘การท่าเรือแห่งประเทศไทย’ ขึ้น เพื่อดำเนินงานท่าเรือ นโยบาย และกระบวนการขนถ่ายสินค้าอุปโภค-บริโภคอย่างต่อเนื่องขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาเป็นเวลากว่า 7 ทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่วิกฤติ COVID-19 เชื้อร้ายได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก และเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนให้ไปสู่แนวทางใหม่ ออกนอกบ้านน้อยลง ติดต่อกันอย่างจำกัด แต่ความต้องการด้านสินค้ายังคงมีอยู่ต่อเนื่อง เรียกได้ว่าคนนิ่ง แต่สินค้าเคลื่อน ในสภาวการณ์เช่นนี้ นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง สำหรับการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในการที่จะฝ่านาวาแห่งห้วงเวลาที่ไม่เป็นปกติ เพื่อรักษาสภาพการณ์ของเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นปกติ ทั้งนี้ GM Magazine ได้รับเกียรติจาก เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย คนปัจจุบัน มาร่วมพูดคุย ทั้งแนวคิด วิสัยทัศน์ แนวทาง […]Read More
เรื่อง : บุญรัตน์ ศักดิ์บูรณพงษาภาพ : พิชญุตม์ คชารักษ์ “คุณสามารถร้องเพลงให้เหมือนเบิร์ด-ธงไชย ได้ แต่จะน่าเศร้าใจมาก ถ้าคุณร้องเพลงของตัวเองแล้วไม่มีใครฟัง หน้าที่ของผมคือให้โซลูชั่นคุณว่าควรไปในทิศทางไหนในแบบที่เป็นคุณและสนุกกับมัน สิ่งที่ผมเป็นทุกอย่างผมผลักไว้ที่โรงเรียนหมดแล้ว การที่ผมเป็นอย่างวันนี้ เพราะผมมีกล้องถ่ายรูปเป็นเข็มทิศ” ประโยคที่สะท้อนให้เห็นตัวตนของ ‘โรงเรียนสอนถ่ายภาพสังเคราะห์แสง’ คือ ความรู้ทั้งหมดที่พร้อมทุ่มเทให้ด้วยใจแบบไม่มีกั๊ก จากช่างภาพคนนี้ ตุลย์ หิรัญญลาวัลย์ ชายหนุ่มมาดกวนอารมณ์ดี ผู้คลุกคลีบนเส้นทางอาชีพถ่ายภาพมานานนับสิบปี เริ่มต้นเข้าสู่โลกแห่งการถ่ายภาพ จากความเข้าใจผิดสุดฮา คิดว่า ‘นิเทศศาสตร์’ คือ ‘นิเทศศิลป์’ แต่สำหรับตุลย์ กลับมองเป็นเรื่องดีแบบที่เรียกว่า ‘ความบังเอิญของความผิดพลาด’ “จริงๆ ผมเรียนผิดคณะ (หัวเราะ) ก็ตามเพื่อนมาเรียนได้เทอมหนึ่ง ผมถามเพื่อนว่าเมื่อไรจะได้เรียนดรออิ้งวะ? เพื่อนทำหน้าผีหลอกใส่ แล้วถามกลับว่าผมเพี้ยนหรือเปล่า นี่นิเทศศาสตร์นะ ตอนนั้นไม่กล้าบอกที่บ้าน จนปี 2 เจอวิชาถ่ายรูปถึงได้รู้ว่านี่แหละใกล้เคียงกับชีวิตที่เราชอบมากที่สุด” ตุลย์เล่าติดตลกถึงการพบกันของเขาและศาสตร์การถ่ายภาพที่มาแบบมึนๆ บนความไม่ตั้งใจ กลายเป็นรู้จักและรู้จริง จากวิชาหนึ่งในคณะพาให้เด็กแสบสายป่วนอย่างตุลย์เข้าชมรมถ่ายภาพของมหาวิทยาลัย (ม.กรุงเทพ) ซึ่งเป็นจุดให้เขาได้พบกับ สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ (นายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์) […]Read More
สุกฤษฏิ์ บูรณสรรค์ Photo: อนุวัตน์ เดชธำรงวัฒน์ เมื่อเอ่ยถึงคำว่า ‘บริษัท Startup’ คุณจะนึกถึงอะไร ภาพที่ปรากฏขึ้นในห้วงความคิดอาจเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเช่น Facebook หรือ Agoda แต่ที่จริงแล้วโลกแห่ง Startup นั้น มีความหลากหลายและต้องใช้เวลาในการ ‘ปั้น’ ไอเดียแรกเริ่มให้เป็นรูปเป็นร่าง ฟูมฟักจนสามารถสร้างผลกำไร และเติบโตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานนั้นเองจึงจะเรียกว่าเป็น Startup ที่มีความยั่งยืน และสำหรับตลาด ‘อสังหาริมทรัพย์’ นั้น แม้จะไม่ได้บูมหรือใหญ่โตเทียบเท่ากับ Tech Startup แต่ก็คือสิ่งจำเป็นในการอยู่อาศัย ย่อมมีความสำคัญอย่างไม่ธรรมดา เช่นนั้นแล้ว การได้มีส่วนร่วมในบริษัท Startup ที่มีเครือข่ายในระดับ Global สำหรับ พุฒ-พศวีร์ เวชพาณิชย์ ผู้ดำรงตำแหน่ง CTO แห่งบริษัท RentSpree Thailand คอยดูแลระบบแอปพลิเคชัน RentSpree สำหรับผู้ใช้งานฝั่งอเมริกา จึงเป็นมากกว่าความฝัน หากแต่เป็นเส้นทางอันท้าทาย การเรียนรู้ และการทำตามเป้าหมายให้ถึงฝั่งฝัน ที่มาที่ไปหลังจากเรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัศวีร์ : […]Read More
ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท. หรือแบงก์ชาติ) มีการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ โดยหัวเรือใหญ่อย่าง ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. คนที่ 20 ได้ครบวาระหลังจากทำงานมาเป็นเวลา 5 ปี และส่งไม้ต่อให้กับ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. คนที่ 21 เป็นผู้สานต่องานของแบงก์ชาติ BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับนี้ จะขอพาทุกท่านมารู้จัก ดร.เศรษฐพุฒิ กันให้มากขึ้น ทั้งเส้นทางชีวิตและแนวคิดการทำงาน รวมถึงมุมมองต่อวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เด็กชาย…นักเดินทาง ดร.เศรษฐพุฒิเริ่มต้นเล่าถึงชีวิตในวัยเด็กว่าเป็นชีวิตที่ต้องเดินทางอยู่บ่อยครั้ง เพราะคุณพ่อทำงานที่กระทรวงต่างประเทศ ทำให้ต้องปรับตัวกับสถานที่และสังคมใหม่ ๆ อยู่เสมอ “เมื่อผมอายุ 2 เดือนกว่าคุณพ่อคุณแม่ก็พาย้ายไปอยู่ที่ออสเตรเลียแล้ว หลังจากนั้นก็ต้องเดินทางย้ายไปอยู่อีกหลายประเทศ มีทั้งอินเดีย โปแลนด์ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และอังกฤษซึ่งในบรรดาประเทศต่าง ๆ ที่เคยมีโอกาสได้ใช้ชีวิตอยู่ ประเทศที่ชอบมากที่สุดคือ ฝรั่งเศส อาจเพราะเป็นช่วงชีวิตที่กำลังอยู่ในช่วงมัธยมปลายด้วย ทำให้ผมมีความทรงจำที่สนุกมาก ประกอบกับวิวทิวทัศน์ที่สวยและวัฒนธรรมที่มีเสน่ห์ และจากการที่ต้องย้ายไปหลายประเทศในวัยเด็ก ทำให้ผมต้องหาเพื่อนใหม่ตลอดเวลา […]Read More
เรื่อง : โตมร ศุขปรีชาภาพ : กิตตินันท์ จรรยางาม ในห้วงยามแห่งความมืดมนอนธกาลเช่นนี้ สิ่งที่พอจะช่วยคืนความสุขให้เราได้บ้าง ในยามเช้าที่ท่วมท้นไปด้วยข่าวน่าเบื่อ ก็คงจะเหลือแต่เพียงเสียงหัวเราะหึๆ ในลำคอ ด้วยอารมณ์ขันขื่นๆ จากภาพการ์ตูนการเมืองบนหน้าหนังสือพิมพ์ ถึงแม้จะมีพื้นที่ใหญ่กว่าฝ่ามือเราเพียงเล็กน้อย แต่โดยความสำคัญของมันแล้ว การ์ตูนการเมืองนั้นโดดเด่นเป็นสง่า ดึงดูดคนอ่านให้เปิดไปหาเป็นสิ่งแรกๆ มันเผยให้เห็นท่าที จุดยืน คำวิพากษ์วิจารณ์ และคำแนะนำของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ ที่มีต่อผู้มีอำนาจในบ้านเมืองอารมณ์ขันขื่นๆ ต่อเรื่องราวเลวร้าย สำหรับผู้อ่านแล้ว มันคือประกายแสงสว่างให้เห็นความหวังและความฝัน มันคือเยื่อใยสุดท้ายและความรู้สึกปรารถนาดี เท่าที่เรายังคงมีเหลือให้กันและกัน ในบ้านเมืองที่เต็มไปด้วยวิกฤติเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมแต่…อรุณ วัชระสวัสดิ์ กล่าวอย่างถ่อมตัวกับ GM ว่าผลงานในแต่ละวันของเขานั้น ไม่ได้ยิ่งใหญ่หรือสลักสำคัญอะไรหรอก บ่ายวันฝนพรำ GM นั่งคุยกับเขาแบบชิลล์ๆ ถึงเรื่องราวมากมายก่อนที่จะมาเป็นการ์ตูนนิสต์ บทบาทการเป็นฝ่ายศิลปกรรมให้กับหนังสือการเมืองตั้งแต่ยุค 16 เรื่อยไปถึงบทเรียนที่เขาได้รับจากการทำงานมานานถึง 4 ทศวรรษ บทสนทนาครั้งนี้แสนเรียบง่าย แต่น่าเพลิดเพลินเจริญใจยิ่ง เพราะเขาไม่ใช่นักวิชาการผู้รอบรู้ ไม่ใช่นักหนังสือพิมพ์ผู้มีอุดมการณ์แรงกล้า ไม่ใช่หัวหมู่ทะลวงฟัน นำหน้ามวลชนไปต่อสู้กับอำนาจที่ฉ้อฉล เขาเป็นนักเขียนการ์ตูนการเมืองที่ชอบนอนตื่นสาย อ่านข่าวรายวันและรู้เรื่องราวต่างๆ พอๆ กับเรา […]Read More