fbpx

หลากหลายอุปกรณ์เพื่อคนสายเทคโนโลยี

เรื่อง : Fullscape PHILIPS Somneo Sleep and Wake-up Light ด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมในขณะนี้ เชื่อว่าหลายคนอาจจะประสบปัญหาในการนอนกันบ้างไม่มากก็น้อย คงจะดีถ้ามีอุปกรณ์ที่จะช่วยให้การนอนหลับเป็นไปอย่างง่ายดาย โดย Philips Somneo Sleep and Wake-up Light มีขึ้นเพื่อตอบโจทย์เรื่องนี้ ด้วยการปล่อยแสงไฟและเสียงในคลื่นความถี่ ระบบ Touch Screen ใช้งานง่าย สามารถต่อเข้ากับ USB Port สำหรับการชาร์จโทรศัพท์มือถือไปในตัว จัดว่าเป็น ‘โคมไฟ’ เพื่อการนอนอย่างแท้จริง GOOGLE Nest Hub Max Smart Display ในยุคที่อุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตได้แบบ Internet of Things (IoT) การมีอุปกรณ์ควบคุมส่วนกลางที่เชื่อถือได้ รวบรวมทุกอย่างไว้ในชิ้นเดียว ถือเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างมาก และ Google Nest Hub Max Smart Display นั้นเข้าใจในความต้องการ […]Read More

ส่อง ‘ทางรอด’ SME ไทย

เรื่อง : Mr.Lens PART 1 – ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 (COVID-19) ที่เริ่มต้นมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ตั้งแต่เมื่อเดือนธันวาคมปี 2562 ที่ผ่านมา ได้ลุกลามไปกว่า 160 ประเทศทั่วโลก– สิ่งที่ COVID-19 ได้ลงมืออย่างรวดเร็ว คือ การพรากชีวิตคนบนโลกไปมากกว่า 2 แสนราย และมีผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 2 ล้านคนในปัจจุบัน– แต่สิ่งที่น่ากลัวควบคู่ไปกว่านั้นจากการเยือนของไวรัสตัวนี้ คือ แรงกระแทกที่กระเทือนระบบเศรษฐกิจและธุรกิจต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมในทุกๆ ประเทศ ซึ่งเป็นผลให้เกิดความกังวลต่อปากท้องของเจ้าของธุรกิจและบรรดาลูกจ้าง– อย่างไรเสีย ในแต่ละอุตสาหกรรม และทุกกิจการ ก็ได้มีการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจเดินต่อได้ อย่างในไทยเอง ก็มีมาตรการการให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน การปรับลดเวลาการทำงานไปบ้าง แต่ถ้าเริ่มเห็นว่าภาระทางการเงินเริ่มแบกไม่ไหว ก็จะมีการปรับลดเงินค่าจ้าง หรือหยุดกิจการชั่วคราวไปเลยก็มี– ถึงกระนั้น ภาพที่เกิดขึ้นนี้ ก็ทำให้อดห่วงบรรดากลุ่มธุรกิจอย่าง SME หรือกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็กไม่ได้จริงๆ เพราะว่ากันว่าหากวิกฤติเศรษฐกิจปี ’40 คือพิษภัยที่มากระทบกับคนรวยมากๆ แล้ว เจ้าโควิด-19 ก็ขอสวนทางด้วยการเล่นงานคนระดับกลางและรากหญ้าตรงๆ– เพราะตอนนี้บางคนก็เริ่มคลั่ง เพราะไหนจะต้องทำตามมาตรการคุมเข้มการแพร่เชื้อจากรัฐบาลของแต่ละประเทศ และไหนจะต้องหาทางรอดเพื่อปากท้อง– ฉะนั้น หากธุรกิจ SME ที่ประกอบไปด้วยกิจการการผลิต […]Read More

“เจ็บแล้วจำ ทำให้เกิดใหม่” สู้วิกฤติ COVID-19

เรื่อง : กุลวัชร ภูริชยวโรดม สำหรับผมแล้ว การเป็นเจ้าของธุรกิจร้านอาหาร วิกฤติครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจอ เพราะย้อนกลับไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2554 ก็เคยประสบกับปัญหาจากวิกฤติทางการเมืองที่เรียกได้ว่าส่งผลให้ธุรกิจของผมเจ๊งเลยทีเดียว ทั้งๆ ที่เพิ่งเปิดมาได้ไม่นาน เนื่องจากร้านเปิดอยู่แถวสุขุมวิท 24 เชื่อมต่อกับถนนพระรามที่ 4 และมีการเผาเมืองกันในเวลานั้น นับว่าเป็นการรับน้องสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจร้านอาหารได้อย่างสาหัสเลยทีเดียว แต่นั่นถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนทั้งในด้านมุมมองความคิด รวมถึงการทำความเข้าใจธุรกิจและลูกค้าของแบรนด์โชนัน ว่าควรต้องขยับและเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด นับว่าเป็นการเปิดประสบการณ์ครั้งใหญ่จากการเรียนรู้ในความผิดพลาดและล้มเหลว ทั้งจากการเลือกสินค้าให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้า สถานที่ตั้ง การตั้งราคา การทำการตลาดให้เข้าถึงลูกค้า เป็นต้น และเป็นจุดเริ่มในการมองหาโอกาสใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับธุรกิจ ซึ่งจะทำให้โชนันเติบโตไปพร้อมๆ กับศูนย์การค้าใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงอย่างเช่นในปัจจุบัน ใครจะคาดเดามาก่อนว่าธุรกิจรีเทลที่เฟื่องฟูในเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา มีศูนย์การค้าเกิดขึ้นใหม่มากมาย ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ที่ดึงดูดลูกค้าและนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก หรือแม้แต่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากการท่องเที่ยว อาทิ ธุรกิจสายการบิน Low Cost, ธุรกิจการท่องเที่ยวและสถานบันเทิงต่างๆ, ธุรกิจโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์, ธุรกิจการขนส่งต่างๆ เป็นต้น จะเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจแบบไม่ทันตั้งตัวจาก COVID-19 อย่างที่ทุกภาคส่วน และทุกๆ ภูมิภาคประสบเจอแบบในปัจจุบัน […]Read More

สู่บทเรียน “ธนาคารกลางท่ามกลางความท้าทาย” ของผู้ว่าการวิรไท

วันที่ 30 กันยายน 2563 จะครบวาระการดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ของ ดร.วิรไท สันติประภพ ตลอดเส้นทาง 5 ปี ในฐานะ “หัวเรือใหญ่” ขององค์กรที่มีพันธกิจหลักคือ การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศท่ามกลางความท้าทายมากมาย ทั้งจากระบบเศรษฐกิจและการค้าโลกที่คาดเดาได้ยาก ตลาดทุนและตลาดการเงินที่ผันผวนสูง การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัลในโลกการเงิน ตลอดจนวิกฤติโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบรุนแรงไปทั่วโลก Conversation with the Governor ฉบับส่งท้ายตำแหน่งของผู้ว่าการ ธปท. คนปัจจุบัน ได้รับเกียรติจากคุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร นักคิดและนักเขียนชื่อดัง เจ้าของเพจ “8 บรรทัดครึ่ง” มาชวนคุยถึงบทสรุปการเดินทางในโลก VUCA ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งสิ่งที่ฝากถึงชาว ธปท. เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับโจทย์ใหญ่ในอนาคตที่จะท้าทายการดำเนินงานของธนาคารกลางมากยิ่งขึ้น ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง เท่าทันโลกการเงินยุคใหม่ คุณกวีวุฒิ : ขอเริ่มต้นจากการย้อนกลับไปมองการทำงานตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ท่านผู้ว่าการคิดว่าบรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ ดร.วิรไท : ผมถือว่าการทำหน้าที่ผู้ว่าการเป็นการเดินทางร่วมกับพี่น้องชาว ธปท. เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจการเงินไทย ไปพร้อม […]Read More

นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์

นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์ – GMLIVE บุญรัตน์ ศักดิ์บูรณพงษา Photo: พิชญุตม์ คชารักษ์ หากนิยามความเป็นนายแพทย์ โอฬาริก มุสิกวงศ์ สามคำนี้คงเหมาะที่สุดเพราะสำหรับคุณหมอหนุ่มคนรุ่นใหม่วัยเลข 4 ต้นๆ ท่านนี้ ไม่ได้มองการจับมีดผ่าตัดเป็นแค่เครื่องมือรักษาผู้ป่วย แต่เขามองไกลไปยิ่งกว่า คือทำอย่างไรจะสกัดกั้นหรือลดความเจ็บป่วยของผู้คน ก่อนที่จะเกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยขึ้น เพื่อจะได้ไม่มีคนไข้มาหาหมออย่างเขา ด้วยความคิดเช่นนี้จึงเป็นแรงผลักให้ นพ.โอฬาริก หรือ หมอโอที่คนไข้เรียกกันจนติดปาก ไม่หยุดอยู่แค่การทำหน้าที่แพทย์ แต่จุดประกายให้คิดนอกกรอบบูรณาการหลายๆ หนทาง หันไปสวมบทบาทนักการศึกษา, นักพัฒนา Health Tech,ไปจนถึงการเป็นนักพัฒนาเมือง เพื่อหวังยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดี จากตำแหน่งงานที่คุณหมอโอเข้าไปมีส่วนร่วมหลากหลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หลักอย่าง สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและเป็นตัวตั้งตัวตีโครงการรณรงค์ท้องไม่พร้อม และอีกหลากหลายโครงการ ไปจนถึงบทบาทประธานแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของแผนกสูติกรรม จังหวัดปราจีนบุรี, ประธานคณะอนุกรรมการการศึกษา ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย, คณะกรรมการการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ประเทศไทย, ที่ปรึกษาโครงการดิจิทัลฟอร์ไทยของเอไอเอส, ที่ปรึกษาสมาคม Health Tech Startup ประเทศไทย และยังไม่รวมตำแหน่งในองค์กรต่างประเทศ การพาตัวเองเดินไปบนเส้นทางที่เหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน แต่คุณหมอโอบอกว่าทุกบทบาทเกิดขึ้นจากแก่นแท้เพียงเรื่องเดียว คือ ทำอย่างไรให้คนสุขภาพดี […]Read More

“บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร” ผู้ว่าการ กฟผ.คนที่ 15

“บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร” ผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 15 – GMLIVE บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 15 เผยหลักการบริหารแบบ “ยืดหยุ่น ทันการณ์ ประสานประโยชน์” พร้อมนโยบายขับเคลื่อน กฟผ. สู่ผู้ให้บริการด้านพลังงานอย่างครบวงจรในยุคดิสรัปชั่น ทั้งการรักษาความมั่นคงในระบบไฟฟ้าของประเทศ และบริการด้านพลังงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าที่หลากหลาย พร้อมเดินหน้าสร้างพันธมิตรต่อยอดธุรกิจใหม่ ควบคู่การดูแลสังคมชุมชนสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อมกล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีส่งผลกระทบโดยตรงต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า รวมถึงรูปแบบการผลิตไฟฟ้าซึ่งถูกกำหนดโดยผู้ใช้ไฟฟ้ามากขึ้น กฟผ. จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าในยุค New Normal ปรับวิธีคิดและการดำเนินงานภายใต้แนวคิด “EGAT for ALL” หรือ กฟผ. เป็นของทุกคน และทำเพื่อทุกคน  “บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร” ผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 15 – GMLIVE เพราะนอกจากการผลิตและส่งไฟฟ้าเพื่อรักษาความมั่นคงในระบบไฟฟ้าของประเทศแล้ว การดำเนินงานของ กฟผ. ยังต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความหลากหลายในยุคดิสรัปชั่น โดยตั้งเป้าเดินหน้าสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านพลังงานอย่างครบวงจร (Energy […]Read More

ธปท. กับ 5 ภารกิจสำคัญ เพื่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนที่ 21 ได้พบปะกับสื่อมวลชนหลังจากเข้ารับตำแหน่ง และได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ประเทศกำลังเผชิญครั้งนี้ว่า มีความ “รุนแรง” มีแนวโน้มที่จะ “ยาวนาน” และมีความ “ไม่แน่นอนสูง” กว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ เพราะวิกฤติโควิด 19 ลุกลามไปทั่วโลกและยังไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อใด นอกจากนี้ ดร.เศรษฐพุฒิยังได้เล่าถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่ต้องปรับเปลี่ยนตามบริบทที่เปลี่ยนไป ตลอดจนแนวทางการทำงานของ ธปท. ในช่วงเวลานับจากนี้ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เศรษฐกิจฟื้นตัวแบบ ไม่เท่าเทียม – ใช้เวลานาน – ไม่แน่นอน “วิกฤติโควิด 19 ครั้งนี้นับเป็น shock ที่รุนแรงมาก กระทบกับเศรษฐกิจทุกประเทศเต็ม ๆ” ดร.เศรษฐพุฒิขยายความว่า สำหรับประเทศไทย ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด จากที่เคยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเฉลี่ยปีละ 40 ล้านคน ในปีนี้เหลือไม่ถึง 7 ล้านคน ซึ่งหมายถึงเงินที่จะหายไปจากระบบเศรษฐกิจสูงถึงประมาณร้อยละ 10 ของ […]Read More

บิ๊กบอส GIT ลั่นจัดเต็มทุกมิติ

GIT เดินหน้าเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ ยกระดับมาตรฐาน เสริมความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย มั่นใจธุรกิจฟื้นเร็วหลังวัคซีนต้านโควิดใช้ได้ผล  นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ หรือ GIT กล่าวถึงนโยบายและแผนการดำเนินงาน GIT เร่งส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน พร้อมสร้างการยอมรับในมาตรฐานในเวทีการค้าระดับโลก ผลักดัน GIT Standard สร้างมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและโลหะมีค่า ผู้อำนวยการ GIT กล่าวว่า สถาบัน ในฐานะสถาบันแห่งชาติด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ได้เร่งทำมาตรฐานห้องปฏิบัติการ เพื่อยกระดับการให้บริการตรวจสอบและออกใบรับรองอัญมณีและโลหะมีค่าให้มีมาตรฐานสากล พร้อมสร้างมาตรฐานวิชาชีพให้กับนักวิชาการด้านอัญมณีและโลหะมีค่า นอกจากนี้ GIT ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานในต่างประเทศ เช่น จีน เพื่อผลักดันการสร้างมาตรฐาน และการยอมรับในใบรับรองสินค้าอัญมณีและโลหะมีค่าร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ และการส่งออกให้กับผู้ประกอบการไทย เสริมความเชื่อมั่นผู้บริโภคด้วยโครงการซื้อด้วยความมั่นใจ (Buy with Confidence) เพราะความมั่นใจเป็นหัวใจสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ GIT เดินหน้าโครงการซื้อด้วยความมั่นใจ Buy With Confidence เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ การันตีคุณภาพด้วยใบรับรองคุณภาพจาก GIT ซึ่งผู้ซื้อสามารถสังเกตได้จากตราสัญลักษณ์ Buy with Confidence ที่ติดหน้าร้าน และเรียกหาใบรับรองสินค้าทุกครั้งที่ซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ  เร่งพัฒนาหลักสูตรอบรมเสริมทัพอุตสาหกรรมยุค Digital […]Read More

เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร : ‘ก้าวสู่ปีที่ 70 ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย และยุคสมัยใหม่แห่งการขนส่งทางเรือ’

นับเนื่องตั้งแต่สมัยครั้งโบราณมา สิ่งที่เป็นความก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญแห่งมนุษยชาตินั้น คงต้องนับรวม ‘การเดินเรือ’ เข้าไว้ด้วย เพราะผืนทะเลไม่ใช่อาณาเขตกีดกั้น แต่เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อ ดินแดนใหม่ๆ นำพาความรู้ วิทยาการ และ ‘สินค้า’ จากภูมิภาคหนึ่ง ไปสู่อีกภูมิภาคหนึ่ง ก่อให้เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยน สร้างความเจริญก้าวหน้าให้ทะยานไปด้วยกระบวนการของผู้กล้าหาญที่นับท้องทะเลเป็นอ้อมอก แห่งมารดา และปวารณาตนเป็นลูกชาวทะเล และสำหรับประเทศไทย มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาตั้งแต่โบราณกาล ต้องนับว่าได้ประโยชน์และความเจริญจากการเดินเรือค้าขายและการขนส่งสินค้าทางน้ำ พร้อมทั้งพัฒนาและเริ่มจัดตั้ง ‘การท่าเรือแห่งประเทศไทย’ ขึ้น เพื่อดำเนินงานท่าเรือ นโยบาย และกระบวนการขนถ่ายสินค้าอุปโภค-บริโภคอย่างต่อเนื่องขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาเป็นเวลากว่า 7 ทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่วิกฤติ COVID-19 เชื้อร้ายได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก และเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนให้ไปสู่แนวทางใหม่ ออกนอกบ้านน้อยลง ติดต่อกันอย่างจำกัด แต่ความต้องการด้านสินค้ายังคงมีอยู่ต่อเนื่อง เรียกได้ว่าคนนิ่ง แต่สินค้าเคลื่อน ในสภาวการณ์เช่นนี้ นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง สำหรับการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในการที่จะฝ่านาวาแห่งห้วงเวลาที่ไม่เป็นปกติ เพื่อรักษาสภาพการณ์ของเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นปกติ ทั้งนี้ GM Magazine ได้รับเกียรติจาก เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย คนปัจจุบัน มาร่วมพูดคุย ทั้งแนวคิด วิสัยทัศน์ แนวทาง […]Read More