จากคำว่า ‘ซับไพรม์’ มาถึงคำว่า ‘วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์’ จากการล้มของเลห์แมน-สถาบันการเงินระดับยักษ์อันดับ 4 ของอเมริกา ดูเหมือนโลกเศรษฐกิจกำลังพังทลาย ! คำถามก็คือ วิกฤติที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา จะลุกลามเป็นโดมิโนมาถึงเมืองไทย มาถึงตัวเราหรือเปล่า โดยเฉพาะในยุคที่ข่าวสารข้อมูลแพร่หลายรวดเร็วเหมือนไฟลามทุ่ง และธุรกรรมทางการเงินก็พันพัวกันซับซ้อนเหมือนฝูงงูผสมพันธุ์ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองบอกเราว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่น่าจะกระทบกระเทือนเมืองไทย แต่ดูหน้าตาและเครดิตในอดีตของคณะรัฐมนตรีหลายคนแล้ว ผู้ฟังยังปลงใจให้เชื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ยินผ่านหูไม่ได้ด้วยเหตุนี้ บ่ายวันที่ 25 กันยายน 2551 GM จึงอยากชวนคุณไปจับเข่าคุยกับ บัญชา ชุมชัยเวทย์ คนหนุ่มที่ ‘คลุก’ อยู่กับข้อมูลข่าวสารในเรื่องเศรษฐกิจ ทั้งในระดับชาติและระดับโลก ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค นาทีนี้ต้องถือว่าเขาเป็นคนหนุ่มในสายงานนี้ ที่ถ่ายทอดความรู้และข้อมูลออกมาได้ชัดเจน ตรงเป้า เคลียร์ และเข้าใจง่ายที่สุดคนหนึ่ง แม้เขาจะทำงานมากมายตลอดวัน 7 วัน ใน 1 สัปดาห์ แต่ GM ก็หาโอกาสบุกเข้าไปถึงห้องส่ง เพื่อนั่งถกกับเขาเนื้อๆ เน้นๆ ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นที่อีกซีกโลกหนึ่ง ทำความเข้าใจกับมันด้วยการ ‘แลไปข้างหลัง’ พร้อมกับขอให้เขา ‘มองไปข้างหน้า’ เพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง และสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด จะเกี่ยวพันกับตัวเราในเมืองไทยอย่างไรบางคำตอบฟังแล้วบรรเทาใจลงได้บ้างแต่เชื่อไหม, […]Read More
ในห้วงยามที่สังคมไทยอยู่ในภาวะสุญญากาศ กลับไม่ได้ ไปไม่ถึงในทุกๆ เรื่อง GM เล่มนี้จึงนำเสนอเรื่องทางออกของสังคมไทยในทุกๆ มิติว่าแต่ใครล่ะที่สมควรจะเป็นผู้ให้คำตอบในเรื่องที่ยากยิ่งและคลุมเครือ ได้ดีเท่า ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์เพราะไม่ว่าจะมองจากมุมไหน จะในฐานะที่เป็นนักประวัติศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพาประจำปี พ.ศ. 2545 หรือเป็นนักคิด-นักเขียนที่เชื่อในพลังความรู้ของสามัญชนจนมีผลงานทางวิชาการเผยแพร่ออกเป็นหนังสือมากกว่า 20 เล่ม หรือเป็นนักวิชาการเพียงไม่กี่คนที่ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้แก่คนที่เป็นฐานล่างสุดของพีระมิดแห่งสังคมไทย เห็นได้จากการเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ‘มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน’ (ร่วมกับ รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม) เว็บไซต์ที่ให้ความรู้แก่คนในสังคมโดยไม่จำกัดคุณวุฒิและวัยวุฒิ หรือจะอยู่ในฐานะอะไรก็ตาม ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็เป็นคนที่เราอยากเงี่ยหูฟังความเห็นมากที่สุดคนหนึ่งและเชื่อว่าคุณผู้อ่าน GM ก็คงคิดเหมือนกันต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์ว่าด้วยสังคมไทยในมิติทางการเมืองปัจจุบันที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายไร้ทางออกอันเกี่ยวโยงไปถึงประวัติศาสตร์ทางสังคมการเมืองไทยที่ผ่านมาอย่าแปลกใจหากพบคำคุ้นๆ ตา อาทิ ‘ทักษิณ’, ‘สมัคร’, ‘สนธิ’, ‘พันธมิตร’, ‘รัฐประหาร’, ‘รัฐธรรมนูญ’ หรือแม้แต่คำที่เราพูดและใช้กันอย่างชินปากจนกลายเป็นคำมักง่ายไปแล้วอย่าง ‘ประชาธิปไตย’ แฝงตัวอยู่ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้อ่านแล้วเผื่อจะนึกออกว่าหลังจากที่ประชาธิปไตยอยู่ติดริมฝีปากคนไทยมาแล้ว 76 ปี (ถ้าเป็นคนก็อยู่ในระดับเตรียมจัดงานแซยิดได้แล้ว) สังคมไทยได้อะไร เรียนรู้อะไร หรือเติบโตมากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่และในขณะที่ประชาธิปไตยแบบที่เรารู้จักมักคุ้นนี้กำลังดำเนินไปอย่างน่ารักน่าลุ้น สังคมไทยจะเดินไปสู่หนใด PART I : LOOKING BACK […]Read More
สัตว์วิกาลที่ไม่ยอมสูญพันธุ์ แบบเรียนเล่มหนึ่งที่นักเรียนภาพยนตร์แทบทุกคนในอเมริกาและอีกหลายคนทั่วโลกใช้ศึกษาและค้นคว้าคือหนังสือชื่อ Film Art ว่ากันว่า-หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนคัมภีร์ไบเบิลของภาพยนตร์ ในฉบับตีพิมพ์ครั้งล่าสุด Film Art จัดผลงานของ เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ให้เป็นภาพยนตร์แขนงใหม่ที่เกิดขึ้น เคียงข้างผลงานของผู้กำกับระดับตำนานของโลกคนอื่นๆ อภิชาติพงศ์เติบโตในครอบครัวหมอในจังหวัดขอนแก่น ที่บ้านของเขาจะฉายภาพยนตร์ 8 มิลลิเมตรสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งกิจกรรมนี้ของครอบครัวเป็นแรงบันดาลใจแรกๆ ที่ทำให้เขาหลงใหลในพลังลึกลับของภาพเคลื่อนไหว อภิชาติพงศ์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และปริญญาโทวิจิตรศิลป์ สาขาภาพยนตร์ สถาบันศิลปะชิคาโก จากนั้นจึงเปิดบริษัท Kick the Machine และเริ่มต้นผลิตภาพยนตร์และวิดีโอตั้งแต่ปี 2533 โดยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตภาพยนตร์ไม่กี่คนในประเทศไทยที่ทำงานนอกระบบสตูดิโอ ภาพยนตร์เรื่อง ‘สุดเสน่หา’ (Blissfully Yours) ได้รับรางวัล Un Certain Regard จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ปี 2545 และภาพยนตร์เรื่อง ‘สัตว์ประหลาด!’ (Tropical Malady) ได้รับรางวัล Jury Prize จากเทศกาลเดียวกัน ในปี 2547 ล่าสุด อภิชาติพงศ์เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพยนตร์ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ […]Read More
นอกจากจะเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแล้ว ดร. ธนวรรธน์ พลวิชัย ยังมีตำแหน่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งอีกตำแหน่งหนึ่ง นั่นก็คือการเป็นผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกัน ถ้าคุณชอบฟังคำพูดของหมอดู ไม่ว่าจะไปดูด้วยตัวเอง หรือนั่งฟังผ่านสื่อ ว่าบ้านเมืองจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เชื่อว่าคุณต้องอยากรู้จักกับ ดร. ธนวรรธน์ ไม่น้อย ก็โธ่! ชื่อศูนย์ที่เขานั่งเป็นผู้อำนวยการอยู่นั้นน่ะ มันแสดงตัวชัดเจนไม่ใช่หรือว่าทำหน้าที่คล้ายกับ ‘หมอดู’ อยู่โทนโท่ ที่สำคัญ ดร. ธนวรรธน์ ก็ยอมรับเองด้วยว่า การพยากรณ์เศรษฐกิจก็มีอะไรๆ คล้ายกับการดูหมออยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ! เมื่อมองไปรอบตัว คุณจะเห็นความไม่แน่นอนของอะไรๆ เต็มไปหมด ตั้งแต่เรื่องใกล้ๆ ตัว อย่างเช่น น้ำมันจะขึ้นราคาพรุ่งนี้หรือเปล่า หมูจะแพงไปถึงไหนกัน ข้าวสารล่ะ-ราคาจะเป็นอย่างไร โบนัสกลางปีจะออกไหม ไล่ไปจนถึงเรื่องระดับรัฐบาล ใครจะมาดูแลเศรษฐกิจ แล้วเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร หุ้นจะถึงพันจุดไหม รวมไปถึงเรื่องระดับโลก อย่างซับไพรม์ ค่าเงินดอลลาร์-บาท หรือการผงาดของจีนและอินเดีย ไม่มีอะไรแน่นอนสักอย่าง แต่ทุกอย่างล้วนเอื้อมมือของมันเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างใกล้ชิด ด้วยเหตุนี้ GM จึงเชื่อว่าเรากำลังต้องการ ‘หมอดู’ อย่างเร่งด่วน แต่จะเป็นหมอดูประเภทเลข 7 […]Read More
85 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ลืมโทรศัพท์มือถือไว้ที่บ้านในตอนเช้า ยอมเสียเวลากลับไปเอาที่บ้าน…รวมทั้งผมด้วยโทรศัพท์มือถือกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเราตั้งแต่เมื่อไหร่กัน ? ถ้าให้เด็กสมัยนี้นึกภาพสมัยที่คนรุ่นก่อนนัดกันแบบไม่มีเครื่องมือสื่อสารใดๆ เลย คงนึกกันไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร ทุกวันนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่กลายเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดแขนงหนึ่งของโลก ทั้งเรื่องของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ความนิยมของผู้ใช้แปรผันตามกันไปกับความก้าวหน้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีมากเสียจนคนรุ่นก่อนอาจตกใจว่าโทรศัพท์สมัยนี้ทำได้แทบจะทุกอย่าง ในบ้านเรา สงครามระหว่างค่ายมือถือเป็นเรื่องชวนติดตามไม่แพ้พล็อตละครหลังข่าว เรื่องราวของการแย่งชิงที่นั่งในตลาด การเข้าไปพัวพันกับเรื่องการเมือง โมเดลธุรกิจใหม่ๆ ของบางค่ายที่กลายเป็นข่าวระดับปรากฏการณ์ เรื่องพวกนี้ไม่เคยห่างหายจากหน้าหนังสือพิมพ์ของเรา ฉะนั้น คงเป็นการดีไม่น้อยหาก GM จะหาโอกาสไปคุยกับคนเก่งๆ ในแวดวงนี้ดูบ้างสักหน ธนา เธียรอัจฉริยะ เป็นคนหนึ่งที่น่าสนใจ ด้วยวิธีการคิดที่แตกต่าง ทำให้แบรนด์อย่างแฮปปี้ที่เขาปลุกปั้น ติดตลาดได้อย่างรวดเร็ว และด้วยยอดผู้ใช้บริการของแทคที่เพิ่มทะลักในช่วง 2 ปีหลังอีก ไหนจะเป็นผู้บริหารตั้งแต่อายุยังหนุ่มแน่น (Chief Commercial Officer) เป็นนักเขียนตัวจริงที่ยอดขายหนังสือ ‘Happy คนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคน’ ที่ขายไปแล้วกว่า 20,000 เล่ม ซึ่งทำให้เรารู้ว่า ธนามีลูกบ้าใช้ได้ แคมเปญล่าสุด Impossible Race ที่จับเอาผู้บริหารระดับวีไอพี 100 คนของแทคมาวิ่ง 10 กิโลเมตรโดยตั้งเป้าว่า 80 คนในนั้นต้องวิ่งให้ได้ อาจเป็นสิ่งที่ย้ำว่า […]Read More
ช่วงปลายปีที่แล้ว ขณะที่การเมืองกำลังร้อนระอุข่าวหนังสือพิมพ์พาดหัวเรื่องของผู้สมัครพรรคการเมืองไม่เว้นแต่ละวัน แลดูเหมือนสายตาทุกคู่ของคนประเทศนี้จับจ้องอยู่อย่างไม่คลาดสายตา ทว่าในช่วงเวลาเดียวกัน เสียงอื้ออึงเล็กๆ ดังอยู่หน้าโรงหนัง เสียงเริ่มดังจนกลบเสียงป๊อปคอร์นที่กำลังแตกเม็ด และดูจะดังขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นวาระแห่งชาติของคนดูหนังบ้านเราอีกครั้ง ‘รักแห่งสยาม’ คือหนังเรื่องที่ว่า จากหนังที่ดูจะเงียบเชียบกลายเป็นเรื่องที่ใครๆ ต่างพูดถึง ในเว็บบอร์ดพันทิป กระทู้ที่เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเกือบพันกระทู้ ไม่ใช่เพียงเท่านั้น ‘รักแห่งสยาม’ ยังกลายเป็นหนังไทยในรอบหลายปีที่มีคนกลับไปดูซ้ำแล้วซ้ำอีก บางคนดูซ้ำ 2 รอบในวันเดียว ทั้งๆ ที่หนังมีความยาวกว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง ที่ว่ากันว่าอาจเป็นหนังไทยที่ยาวที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ออกฉาย (หากไม่นับรวมหนังตำนานสมเด็จพระนเรศวรและสุริโยไท) เรียกว่าเข้าฉายแบบไม่กลัวขาดทุน เพราะด้วยความยาวขนาดนี้ และจำนวนโรงที่ไม่ได้มากมายนัก แต่กลายเป็นว่ารักแห่งสยาม ถึงตอนนี้พูดได้เต็มปากว่าเป็นหนังที่ไม่ขาดทุน เบื้องหลังความสำเร็จของหนังเรื่องนี้ จำต้องเอ่ยถึงผู้กำกับ คนเขียนบท คนทำเพลงประกอบ และทำทุกๆ อย่างให้หนังเรื่องนี้เกิดขึ้นมา นั่นคือ มะเดี่ยว (1) – ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล หนังเรื่องล่าสุดก่อน ‘รักแห่งสยาม’ ก็คือ ‘13 เกมสยอง’ หนังที่ประสบความสำเร็จอย่างดีในตลาดต่างประเทศ (แต่ในบ้านเราขาดทุน) จนฮอลลีวู้ดขอซื้อลิขสิทธิ์บทหนังเพื่อเตรียมการสร้างในอนาคต มะเดี่ยวเป็นที่รู้จักกันดีในเหล่าคนรักหนังอินดี้ เขาเคยทำหนังประกวดหลายต่อหลายเรื่อง […]Read More
วสันต์ ภัยหลีกลี้ เป็นคนอ่อนนอกแข็งใน แม้บุคลิกภายนอกดูเหมือนเป็นคนประนีประนอม แต่เมื่อพิจารณาจากประวัติชีวิตการทำงานแล้ว เขาเลือกที่จะแตกหักอย่างนุ่มนวลมากกว่าต่อกรแบบแข็งกร้าว เราจึงไม่เคยเห็นข่าวคราวความขัดแย้งกับองค์กรที่เขาเข้าไปทำงานด้วยในช่วงหลังปรากฏต่อสาธารณะ แม้บางกรณีเขาเลือกที่จะเดินจากมาเพื่อรักษาหลักการ มากกว่าจะอยู่เฝ้าห้องทำงานเพื่อรักษาตำแหน่ง 3 ปีกับโครงการวิทยุผู้จัดการเป็นการจากลาด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ 4 ปีกับช่อง 7 เป็นการจากลาตามธรรมดาโลก แต่ 2 ปี 7 เดือนที่ไอทีวีไม่อาจนับเป็นการจากลาในสถานการณ์ปกติ แม้เจ้าตัวจะไม่เคยเอื้อนเอ่ย แต่เป็นที่รู้กันในวงการข่าวว่า สาเหตุหลักมาจากการรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์แห่งนั้น ที่ไปกระทบกับธุรกิจหลักของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างชินคอร์ปอย่างจัง คำสัญญาว่าจะให้อิสระจึงเป็นหมัน และการจากลาอีกครั้งของวสันต์ก็ถูกบันทึกไว้ในประวัติการทำงาน วสันต์กลับบ้านเก่าผู้จัดการในยุค ‘เปลี่ยนไป’ ในตำแหน่งโค้ชเพื่อฝึกซีอีโอคนใหม่ จิตตนาถ ลิ้มทอง-กุล ให้พร้อมสำหรับการขึ้นสังเวียนกุมบังเหียนธุรกิจต่อจากผู้พ่อ โดยมีหนังสือพิมพ์ผู้จัดการและเว็บไซต์ www.manager.co.th เป็นเรือธง แต่ในเวลาเพียง 1 ปี 7 เดือน วสันต์ในฐานะต้นหนก็ตัดสินใจสละเรืออีกครั้ง ด้วยเหตุผลว่าเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว กระนั้นคอลัมนิสต์มติชนสุดสัปดาห์อย่างหนุ่มเมืองจันทน์กลับเรียกขานกรณีดังกล่าวว่า ‘ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น’ ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลกลใด วสันต์เลือกที่จะใช้ชีวิตการทำงานอย่างสงบ โดยเฉพาะเมื่อธงรบถูกชักขึ้นในยุคหลังรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ถูกปิด และ สนธิ ลิ้มทองกุล ประกาศสู้กับ ทักษิณ ชินวัตร โดยมีชีวิตและกิจการเป็นเดิมพัน นับเป็นการ […]Read More
The Man Behind ‘The Marketing of Nations’ ในแวดวงวิชาการด้านการตลาด ไม่มีใครไม่รู้จักชื่อของ ฟิลิป ค็อตเลอร์ (Philip Kotler) แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา ผู้ซึ่งหนังสือการตลาดของเขาถูกใช้เป็นตำราเรียนในวิชาบริหารธุรกิจทั่วโลกในประเทศไทย ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ศิษย์เอกของ ฟิลิป ค็อตเลอร์ ได้ใช้วิชาการตลาดพลิกโฉมการเมืองไทยจนพรรคไทยรักไทยสามารถเอาชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายถึงสองสมัย ส่งให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเป็นรัฐบาลพรรคเดียวกุมเสียงข้างมากในสภาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในสมัยที่สอง ส่วนตัว ดร. สมคิดก็ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยถือเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยรักไทยที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงจากนักธุรกิจและมิตรประเทศ ด้วยความวุ่นวายจากงานประจำทำให้ ฟิลิป ค็อตเลอร์ แทบจะไม่รับเป็นที่ปรึกษาให้นักศึกษาปริญญาเอก จนกระทั่ง ดร. สมคิดส่ง สุวิทย์ เมษินทรีย์ ลูกศิษย์จากนิด้าซึ่งกำลังเตรียมโครงการเขียนหนังสือ The Marketing of Nations ร่วมกันไปเรียนที่นั่น พลังสามประสานศิษย์-อาจารย์จึงเกิดขึ้น จนค็อตเลอร์ถึงกับเคยเอ่ยปากว่า “ถ้ามีศิษย์อย่างสุวิทย์ ให้ส่งมาอีก” จากเล่มแรก สุวิทย์ได้เขียนหนังสือเล่มที่สอง […]Read More
สองสามเดือนที่ผ่านมา มีข่าวฮือฮาพอสมควรเกี่ยวกับผู้ชายคนหนึ่งที่เดินเท้าจากเชียงใหม่ ไปเกาะสมุยที่ว่าฮือฮา เพราะเขาเดินด้วยปณิธานว่า ‘จะไม่ใช้เงินและไม่ไปหาคนรู้จัก’สิ่งที่น่าร่วมแสดงความยินดีคือเขาทำสำเร็จแล้ว บรรลุเป้าประสงค์ทุกอย่างประมวล เพ็งจันทร์ คือผู้ชายคนนั้นเขาอาจค่อยๆ ถูกลืมเลือน ไป ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นแค่ความสะใจ อยากเท่ อยากดัง หรือถ้าเพี้ยน ถ้าบ้า-ป่านนี้คงมีคนหวังดีจับไปรักษา ประมวลยังมีชีวิตอยู่ดี อยู่ในใจผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะคนที่ต้องการแสวงหาความหมายของชีวิตจากชีวิตสงบเงียบ สู่เวทีสื่อสาธารณะรายการทีวีเชิญเขาไปสนทนา หนังสือพิมพ์และนิตยสารตามตัว ขอสัมภาษณ์ตามประวัติ ประมวล เพ็งจันทร์ เกิดที่เกาะสมุย จบ ป.4 แล้วออกมาเป็นคนงานกรีดยาง ทำงานและสำมะเล-เทเมาตามประสาไอ้หนุ่มบ้านนอก ชีวิตเขาเปลี่ยนแปลงมากเมื่อตัดสินใจบรรพชาเป็นสามเณรตอนอายุ 17 ปี เรียนบาลีสอบได้เปรียญ 5 ประโยค และต่อมาได้ไปเรียนต่อที่อินเดีย เรียนจนจบปริญญาเอก ก่อนจะกลับมาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สอนอยู่เกือบ 2 ทศวรรษ และ ลาออกเมื่อปี 2548 เป็นผู้ชายที่มีชีวิตครอบครัวน่าอิจฉา เป็นนักวิชาการที่มีกัลยาณมิตรระดับหัวกะทิของประเทศเป็นครูที่คนหนุ่มสาวเคารพรัก ทำงานเพื่อสังคมมาไม่น้อย ฯลฯ แน่นอนว่าเขาไม่น่าจะบ้า ! เรื่องราวอันน่าอัศจรรย์ ‘66 วัน จากเชียงใหม่ไปเกาะสมุย’ ถูกบันทึกไว้อย่างละเอียดแล้วในหนังสือ ‘เดินสู่อิสรภาพ’ […]Read More
ฤดูร้อนมาถึงอีกแล้ว คุณคิดว่า ปีนี้ฤดูร้อนจะร้อนร้ายสักแค่ไหน เมื่อเราอยู่ใน ‘ภาวะโลกร้อน’ ที่พูดกันเกร่อสังคมไทย • ในช่วงที่ผ่านมา ใครๆ ก็พูดกันถึงภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะหลังจากหนังเรื่อง An Inconvenient Truth ออกมา ทำให้เรารู้สึก inconvenient หรือตะครั่นตะครอเนื้อตัว ไม่รู้ว่าภัยพิบัติต่างๆ จะเกิดขึ้นกับเราเท่าไหร่ • เหมือนถูกวางระเบิดเวลาเอาไว้ • ปีที่แล้วเกิดลานีญา ทำให้ฝนตกหนัก แผ่นดินถล่มอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน มาปีนี้ ลานีญาเปลี่ยนฉับพลันกลายเป็นเอลนีโญ เหมือนโลกกำลังพลิกฝ่ามือ ทำเอามนุษย์ที่เปรียบเสมือนลูกไก่ในกำมือ โลกก็หวาดผวา • ภาพน้ำแข็งขั้วโลกกำลังจะละลาย น้ำทะเลจะท่วมสูง อากาศจะแปรปรวน แถมผีซ้ำด้ำพลอยด้วยแผ่นดินไหวถี่กระชั้น • ทั้งหมดนี้คือชะตากรรมที่มนุษย์ต้องเผชิญหรือ? ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เขาเป็นผู้อำนวยการศูนย์เครือข่าย งานวิเคราะห์ วิจัย และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลง ของเปลือกโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า START อันเป็นองค์กรที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก • […]Read More