fbpx

Find Food สตาร์ทอัพคนธรรมดา จาก Social Marketplace for Sustainability ถึง ผู้พิทักษ์ความมั่นคงทางอาหาร

ไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือคร่ำหวอดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็รู้ดีว่าสถานการณ์ การแพร่ระบาดโควิด-19 พ่นพิษให้ตลาดการท่องเที่ยวซบเซายาวนานขนาดไหน ทุกธุรกิจที่พึ่งพาภาคการท่องเที่ยวต่างพลิกกลยุทธ์เอาตัวรอด ดึงสายป่านให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อรอการกลับมาฟื้นตัวหลังจบวิกฤตโควิด-19 เช่นเดียวกับ Find Food (ฟายด์ ฟู๊ด) แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เรียกตัวเองเป็น Social Marketplace for Sustainability เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการปรับตัวของ Find Folk (ฟายด์ โฟล์ค) สตาร์ทอัพโซเชียลเอ็นเตอร์ไพรส์ ที่ตั้งเป้าจะเป็น One Stop Service for Sustainable Tourism จากการเป็นบริษัททัวร์และที่ปรึกษา Destination Management Company (DMC) เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จากการทำงานร่วมกับชุมชนกว่า 50 แห่งทั่วประเทศ มาตลอด 3 ปี “โควิดไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิด Find Food ก่อนหน้านั้นเรามีการวิจัยมาตลอด เห็นปัญหาของชุมชนที่เป็นผู้ผลิตภาคการเกษตรและอาหาร แต่กลับเผชิญความเสี่ยงหลายด้าน เราบอกว่าเป็นครัวของโลก แต่ชุมชนในฐานะผู้ผลิตไม่ได้ร่ำรวยขึ้น หนี้สินครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น Find Folk เคยคิดอยากทำอี-คอมเมิร์ซจริงจัง และโควิดมาเป็นตัวมาเร่งให้เกิดมาร์เก็ตเพลสตัวนี้เร็วขึ้น” จักรพงษ์ […]Read More

Radars Point : แพลตฟอร์ม ‘เรดาห์’ เพื่อเฟ้นหา ‘การลงทุน’

ในโลกแห่งการเงินการลงทุน มีอยู่หลากหลายวิธีการ ในการสร้างความมั่นคงมั่งคั่ง สำหรับผู้ที่สนใจ ใครที่ฝันใหญ่ สายป่านยาว พร้อมลงทุนหมดหน้าตัก ก็อาจเลือกเส้นทางที่มีความเสี่ยงมาก ออกไปโลดโผนในตลาดที่มีความสวิงแต่ให้ผลตอบแทนที่สูง ส่วนใครที่ยังมีภาระเบื้องหลังต้องดูแล ก็อาจเลือกการลงทุนด้วยความระมัดระวัง ค่อยเป็นค่อยไป รอให้ดอกผลก่อเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่เป็นระบบ ไม่มีใครผิดหรือถูกในโลกของการลงทุน เป็นเรื่องของความชอบ ความจำเป็น และความพร้อมของแต่ละบุคคล ซึ่งในทางหนึ่ง แม้จะรู้ตัวว่าพร้อมในระดับใด แต่ข้อมูลสำคัญที่เอื้อให้ ‘เฟ้นหา’ การลงทุนที่เหมาะสมที่สุด ยังเป็นสิ่งจำเป็น เพราะถ้าหากเลือกวิธีการที่ผิด ผลลัพธ์ที่ออกมาอาจกลายเป็นความล้มเหลวและไปไม่ถึงฝั่งฝัน จึงต้องมี ‘เรดาห์’ เพื่อสอดส่องหาการลงทุนที่เหมาะสม ครอบคลุมที่สุดเท่าที่จะทำได้ และนั่น คือจุดเริ่มต้น ของ ศุภกร เจียรรุ่งสิน หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท สยามสแควร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการลงทุนอย่าง ‘StockRadars’ ซึ่งเป็นที่รู้จักในแวดวงนักลงทุน ถึงความครอบคลุม  รู้ลึกและรู้จริงในศาสตร์แห่งการเงิน ที่ GM Live ขอเชิญมาพูดคุยถึงจุดเริ่มต้น ความเป็นมา มุมมองที่มีต่อการลงทุน ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่และทัศนะต่อธุรกิจสตาร์ทอัพในอนาคตภายภาคหน้า ในฐานะที่เป็น ‘หน้าเก่าเจนสนาม’ […]Read More

Claim Di : เรื่อง ‘เคลม’ เรื่องง่าย ชนแล้วแยกย้าย แค่ปลายนิ้วสัมผัส

ในการขับขี่ยวดยานพาหนะ ไม่ว่าประเภทใดก็ตาม   ต้องเคยประสบเหตุมาบ้าง จะมากจะน้อย เฉี่ยว ชน กระแทก หรือร้ายแรงในระดับที่จำสภาพยานพาหนะไม่ได้ไปเลยก็มี และถ้าอุบัติเหตุบนท้องถนนของยานพาหนะเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ และมี ‘คู่กรณี’ ด้วยนั้น คนกลางที่คอยประสาน ดำเนินการเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อม คงหนีไม่พ้น ‘ตัวแทนประกันภัย’ ที่จะมาถึงที่เกิดเหตุ บันทึกภาพ เขียน ‘ใบเคลม’ เพื่อเป็นหลักฐาน  แน่นอน ความรวดเร็วของตัวแทนประกันภัย คือสิ่งสำคัญ รวมถึงกระบวนการในการออกใบเคลม และการลดขั้นตอนที่ยุ่งยากทั้งหลาย เพื่อที่ทุกคนจะได้แยกย้ายอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง และมุ่งสู่การดำเนินชีวิตต่อไป ในประเด็นนี้  GM Live ได้มีโอกาสพูดคุยกับ แจ็ค – กิตตินันท์ อนุพันธ์ CEO และ Co-Founder บริษัท Claim Di ผู้มีประสบการณ์ในการทำระบบ ‘สายด่วน’ และการพัฒนาโปรแกรมเพื่อลดขั้นตอนต่างๆ ก่อนจะหันมาจับแนวทาง ‘ประกันภัย’ ที่พลิกโฉมให้เรื่อง ‘เคลม’ เป็นเรื่องง่าย ชนแล้วแยกย้าย ทุกอย่างจบได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ที่มาแชร์มุมมอง […]Read More

‘Course Square’ ผู้ปฏิวัติการเรียนรู้คอร์สออนไลน์ไทย

Online Learning เป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 1992 จากการเรียนออนไลน์ The Educational Technology Leadership Program (ETL) ของ The George Washington University ก่อนจะได้รับความนิยมแพร่หลายในปี 2013 ที่มีอัตราการเติบโตกว่า 30% (เมื่อเทียบกับปี 2000) หนึ่งปีต่อมา สตาร์ทอัพไทยรายหนึ่งได้นำแนวคิดการเรียนออนไลน์ ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในฝั่งตะวันตก มาพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์ฝีมือคนไทยในชื่อ ‘Course Square’ โดยหวังให้ทุกคนเข้าถึงคอร์สเรียนต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา ด้วยแนวคิดที่น่าสนใจ ที่จะช่วยให้คนทั่วไปเข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น แต่นั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับ 7 ปีก่อน ในยุคที่พฤติกรรมการเรียนออนไลน์ไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก หากเปรียบ Course Square เป็นภาพยนตร์สั้น ก็อาจฉายให้เห็นเรื่องราวเบื้องหลังแพลตฟอร์มของคนไทยที่ค่อยๆ เติบโต เริ่มต้นด้วยอุปสรรคขวากหนาม การลองผิดลองถูก ความทุ่มเทพยายาม ก่อนจะค้นพบทางของตัวเอง จนถึงวันที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง GM Live จะชวนไปทำความรู้จักเส้นทางแห่งความสำเร็จ ผ่านคำบอกเล่าของ อัคคสิทธิ์ ตรุงกานนท์ Chief Technology […]Read More

ENRES สตาร์ทอัพ AI กับแนวคิดประหยัดพลังงานสร้างจุดคุ้มทุน

ไม่มากก็น้อย ต้องเคยได้ยินมาบ้างว่า การใช้ไฟของห้างสรรพสินค้าใจกลางเมืองกินไฟเท่ากับทั้งจังหวัด! นี่แค่ห้างสรรพสินค้าอย่างเดียว หากลองจินตนาการดูว่าโรงพยาบาลและโรงงานต่างๆ ที่ตั้งธงว่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ต้องพร้อมทำงานตลอด 24 ชั่วโมง จะกินไฟเท่าไร? และถ้าสามารถประหยัดพลังงานจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ เจ้าของโครงการหรือผู้ประกอบการจะลดต้นทุนการผลิตได้ขนาดไหน? นี่คือแนวคิดแรก เมื่อครั้งก่อตั้ง ENRES (อ่านว่า เอ็นเรส มาจากคำว่า Energy Response) สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของสามผู้เชี่ยวชาญต่างสายงาน ‘ไชยวิวรรธน์ ชูวิเชียร’ จบด้าน Solar Engineering จากอเมริกาและทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านพลังงาน ‘กฤษฎา ตั้งกิจ’ จบด้านเทคโนโลยี และ ‘ตฤณ อนันตมงคลชัย’ จบด้านสถาปนิก ทั้ง 3 ได้ร่วมมือกับโปรแกรมเมอร์ผู้เคยทำงานที่ Facebook และสตาร์ทอัพจาก Silicon Valley “พวกเราเห็นปัญหาหลายอย่างว่า ทุกวันนี้ทุกคนอยากประหยัดพลังงาน แต่ทำไมลงทุนไปมากมายถึงยังไม่ประหยัด โดยทุกคนตอบไม่ได้ว่าวันนี้สิ่งที่ลงทุนไปมันคุ้มค่าไหม” “เลยคิดว่าการนำ IoT, Data Analysis หรือ AI (Artificial Intelligence: เทคโนโลยีจัดการวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาล) มาช่วยในการตรวจสอบทุกการลงทุน ทุกมาตรการประหยัดพลังงานยั่งยืน […]Read More

QueQ แอปพลิเคชันปฏิวัติระบบจัดการคิว ให้ ‘ไม่มีคิว’

หลายปีที่ผ่านมา หากเดินผ่านหน้าร้านอาหาร ธนาคาร หรือโรงพยาบาลบางแห่ง น่าจะพอคุ้นๆ กับจอแสดงลำดับคิวที่มีตัวการ์ตูนหนวดน้อยน่ารักแปะตัวอักษร QueQ (คิว-คิว) นั่นคือแอปพลิเคชันจัดการคิว ที่มาไกลกว่าแค่การบริหารเวลาอย่างคุ้มค่า เพราะช่วยให้คนไม่ต้องเสียเวลายืนรอคิว จะด้วยวิกฤตโควิด-19 หรือเทคโนโลยีอันชาญฉลาดก็ตามที วันนี้การบริหารจัดการคิวไม่ใช่แค่ระบบที่ ‘พอมี’ แต่กลายเป็นระบบมาตรฐาน ‘จำเป็น’ ขึ้นมาทันใด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อย่างที่ทราบกัน เมื่ออยู่ในยุคที่ใครๆ ก็ไม่อยากไปร้านอาหาร หรือไม่อยากเดินทางไปไหนต่อไหน เพื่อลดความเสี่ยงรับเชื้อโควิด-19 GM Live จึงขอพามาพูดคุยกับ โจ้–รังสรรค์ พรมประสิทธิ์ ผู้ก่อตั้ง แอปพลิเคชัน QueQ ที่จะเปลี่ยนมุมมองของวัฒนธรรมการต่อคิวและทำให้รู้ว่า ‘การจัดคิว’ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อีกต่อไป ก้าวแรกสุดหิน : พลิก mindset โลกแห่งการต่อคิว เหมือนกับคนทั่วไป โจ้-รังสรรค์ เป็นคนหนึ่งที่เคยใช้บริการจัดการคิวแบบรับกระดาษคิวหน้าเคาน์เตอร์ แต่สิ่งที่ต่างจากคนอื่น เมื่อวันหนึ่งโจ้ไปรอคิวธนาคารแห่งหนึ่งในวันสิ้นปี ที่มีคนมาใช้บริการจำนวนมาก การรับบัตรคิวที่กว่าจะถึงลำดับของเขา คือ นานมาก เขาฆ่าเวลาด้วยการเดินเล่นในห้าง แต่ใจกลับพะวงว่าถึงคิวตัวเองหรือยัง? เลยคิวไปแล้วหรือยัง? สุดท้ายไม่พ้นต้องค่อยวนเวียนอยู่หน้าธนาคารเหมือนเดิม ทำให้เขาฉุกคิดได้ว่าคงจะดีกว่า […]Read More

Jitta: แพลตฟอร์มการลงทุน ที่เน้นด้าน ‘คุณค่า’

ในโลกแห่งการเงินการลงทุน มีรูปแบบหลากหลายที่จะสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ที่กระโดดเข้ามาในสนามแห่งนี้ บ้างก็เน้นการซื้อมาขายไปอย่างรวดเร็ว เน้นผลกำไรในระยะเวลาอันสั้น ดูความแตกต่างในระดับรายวินาที แต่ก็มีไม่น้อย ที่เน้นเก็บระยะยาว มองหาหุ้นที่มีคุณค่า ให้ผลตอบแทนปันผลสูง และถือครองเอาไว้ เพื่อรับผลประโยชน์ในระยะเวลาหลายๆ ปี เรามักจะเรียกคนที่เล่นหุ้นสายนี้ ว่าเป็นสาย ‘หุ้นคุณค่า (Valued Investor)’ ซึ่งก็มีตัวอย่างของ VI มือฉมังหลายคน ไม่ว่าจะเป็น Warren Buffet เจ้าพ่อ VI ระดับโลก หรือ นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘เจ้าพ่อ VI แห่งเมืองไทย’ ที่ได้การยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่หุ้นตัวไหนล่ะ ที่จะมีคุณค่า? ควรประเมินจากสิ่งใดเป็นหลัก? ลงทุนมากแค่ไหนดี? เหล่านี้ เป็นกำแพงที่ยากสำหรับนักลงทุนมือใหม่ ซึ่งด้วยปัญหาเหล่านี้เอง ที่ทำให้ เผ่า – ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจการตลาดและหุ้น VI ร่วมกับเพื่อนๆ ก่อตั้งแพลตฟอร์ม ‘Jitta’ เพื่อเข้ามาช่วยให้ผู้ใช้งาน สามารถเลือกหุ้นเชิงคุณค่า พร้อมทั้งให้ความรู้ความเข้าใจในการลงทุนสายนี้ GM […]Read More

ITTHIRIT TECHNOLOGY มากกว่า IOT แปลภาษาจักรกล สู่โซลูชันอัจฉริยะ

คงจะดีหากเครื่องจักรหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถพูดกับมนุษย์ได้และบอกได้ว่าฉันเสียตรงไหน? ฉันกินไฟตรงไหน? หากใครยังสงสัย อยากรู้ว่าเครื่องจักรอยากบอกอะไร? ในเมื่อเราก็ดูกันได้อยู่แล้วบนแผงหน้าจอ ลองให้นึกดูว่าถ้าเป็นอุตสาหกรรม โรงงาน หรือ ธุรกิจของคุณ ต้องขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรนับร้อยตัว คุณคงไม่เดินไปดูแลทุกเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง แต่หากเครื่องจักรสามารถรายงานได้เองว่าจุดไหนใช้พลังงานเปลือง มาเป็นข้อมูลช่วยในการปรับแก้และประหยัดไฟได้เดือนละเป็นล้านบาท หรือเครื่องจักรแจ้งเตือนจุดเสียเพื่อให้ซ่อมแซมก่อนที่จะหยุดทำงานไปดื้อๆ ช่วยให้คุณไม่พลาดการผลิตสินค้าล็อตใหญ่ได้ ฉายภาพประมาณนี้คงทำให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจเริ่มเห็นความสำคัญที่จะสื่อสารกับเครื่องจักรของคุณขึ้นมาบ้างแล้ว อิทธิฤทธิ์ เนรมิตได้ด้วยเทคโนโลยี IOT จากการยกตัวอย่างนี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆ ที่เทคโนโลยีปัจจุบันนี้ทำได้จริง และสามารถทำได้มากกว่านี้อีกหลายร้อยกระบวนท่า ชนิดไม่ต้องรอโลกอนาคต โดยหนึ่งในผู้ให้บริการเทคโนโลยีคล้ายๆ กันนี้ คือ ITTHIRIT TECHNOLOGY ที่ริเริ่มและก่อตั้งโดย ณัฐนันท์ กุลวัฒน์ฐกรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท อิทธิฤทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด ที่นำระบบ IOT (The Internet of Things) มาพัฒนาเพื่อบริหารจัดการข้อมูลภายในโรงงานอุตสาหกรรม โดยนำข้อมูลต่างๆ มาเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ “ปัจจุบันนี้โรงงานอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของเรา โดยกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มานานแล้ว เหมือนโรงงานอุตสาหกรรมยุค 3.0 ก็ต้องการเครื่องจักร แต่ทุกวันนี้ถ้าจะก้าวไปสู่ยุค […]Read More

Getztrac: เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ ‘เก็บเกี่ยว’

คงปฏิเสธได้ยาก ถึงบทบาทของเกษตรกรในประเทศไทย ซึ่งเปรียบประหนึ่งกระดูกสันหลังของชาติ ที่สร้างรายได้ทำเม็ดเงินมหาศาลให้กับประเทศมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่หรือพืชสวน แน่นอนว่าขั้นตอนการเพาะปลูกนั้นก็มีความสำคัญ หากแต่สิ่งที่หลายคนอาจจะมองข้าม คือเมื่อผลผลิตสุกงอม ‘การเก็บเกี่ยว’ เป็นกระบวนการที่ต้องให้ความใส่ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผลิตผลที่มีจำนวน ‘มากจนเกินไป’ อาจกลายเป็นภาระสำหรับผู้เพาะปลูก และจำต้องปล่อยทิ้งไว้อย่างเดียวดาย เป็นมูลค่ามหาศาล  แต่ด้วยเศรษฐกิจสมัยใหม่ การเข้ามาของตัวช่วยอย่างแอปพลิเคชันและธุรกิจแบบ ‘Sharing’  ก็ช่วยให้เกิดความเป็นไปได้อันไม่สิ้นสุด รวมถึงธุรกิจ ‘จองรถเกี่ยวข้าว’ อย่าง Getztrac ที่ GM Live ได้มีโอกาสร่วมพูดคุยกับ โอ๊ค – เปรมศักดิ์ ทานน้ำใจ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ถึงจุดเริ่มต้น แรงบันดาลใจ และมุมมองที่เขามีต่อธุรกิจภาคการเกษตรยุคสมัยใหม่ ที่ Getztrac จะสามารถเข้าไปเป็น ‘เพื่อนคู่คิด มิตรคู่เก็บเกี่ยว’ ได้อย่างสอดคล้อง เหมาะเจาะอย่างยิ่ง  และนี่ คือการสนทนาที่ ‘เก็บเกี่ยว’ มาได้ ให้ร่วมรับรู้กัน… งานเก็บเกี่ยว ความสำคัญที่ถูกมองข้าม  โดยปกติแล้ว ในงานภาคการเกษตร คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงกระบวนการเพาะปลูกและการผลิต และให้ความสำคัญกับส่วนนั้นมากเป็นพิเศษ แต่สำหรับ […]Read More

Fungjai: แพลตฟอร์มดีๆ ของ ‘ดนตรีที่หล่นหาย’

ปัจจุบัน… ที่ดนตรียิ่งเบ่งบาน มากมาย และอาจจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกๆ วินาทีแม้แต่ขณะที่คุณกำลังอ่านบทความชิ้นนี้อยู่ แต่จะมีดนตรีสักกี่ท่วงทำนอง ที่ได้ถูกรับฟัง จะมีสักกี่ชิ้น เป็นที่รู้จัก ท่ามกลางกระแสธารแห่งชิ้นงานที่ไหลบ่าจนท่วมท้น และดนตรีเองก็ผูกโยงเข้ากับภาคธุรกิจ ถ้าเป็นดนตรีสายหลัก คุณอาจจะหาฟังได้อย่างไม่ยากเย็น แต่ถ้าหากเป็นดนตรีนอกกระแส หรือ ‘อินดี้’ แล้วล่ะก็ มันอาจจะกลายเป็น ‘ตัวโน้ตที่หล่นหาย’ และไม่ถูกค้นพบไปอีกเลยก็ได้ ซึ่งมันเรื่องที่น่าเศร้า และด้วยความคิดเช่นนี้เอง ที่ พาย-ปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการบริษัท Fungjai จำกัด ผู้พัฒนาแอพลิเคชัน ‘สตรีมมิ่งดนตรีอินดี้’ ในชื่อเดียวกัน ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ได้ตัดสินใจที่จะเลือก ‘ฟังเสียงของหัวใจ’ และลงมือทำในสิ่งที่เชื่อ เพื่อไม่ให้ตัวโน้ตนอกกระแส ตกหล่น หลุดหาย และล้มตายอย่างลำพัง นี่คือการสัมภาษณ์ที่พูดคุยกันด้วยปาก แต่ฟังกัน ‘ด้วยใจ’ ที่เปิดกว้างอย่างยิ่ง ทั้งตัวตน การตัดสินใจ มุมมอง และสิ่งที่เขาคิดเอาไว้กับอนาคตของ Fungjai ที่จะก้าวต่อไปในวันข้างหน้า ผ่อนกายให้สบาย แล้วมาร่วมเปิดใจรับฟังไปกับเรา… จากหนุ่มอนาคตไกล สู่เส้นทางใหม่ที่ให้ ‘หัวใจนำทาง’ แม้คนทั่วไปจะรู้จักพาย […]Read More