fbpx

ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์

INVESTIGATING INVESTIGATIVE JOURNALISM คนรุ่นเราคงไม่คุ้นเคยกับการนั่งอ่านหนังสือพิมพ์บนโต๊ะอาหารยามเช้ากันอีกต่อไปแล้ว ทุกวันนี้ เรานั่งจิบกาแฟยามเช้าแกล้มด้วยรายการคุยข่าวสัพเพเหระทางโทรทัศน์ คลอไปกับข้อมูลข่าวสารมากมายมหาศาล บนหน้าจอสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ในฝ่ามือ ทั้งที่เมื่อไม่นานมานี้ หนังสือพิมพ์เคยมีพลังอำนาจล้นเหลือ มันมีเสน่ห์ตรงที่ความมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ มันเคยเป็นที่พำนักของข่าวเจาะ ข่าวซีฟ ข่าวสืบสวนสอบสวน และความคิดเห็นอันหลากหลาย เราเคยได้เติมอาหารสมองในยามเช้าด้วยข่าวและข้อเขียนชั้นดีจากที่นี่อิทธิพลของหนังสือพิมพ์ในการกำหนดประเด็นทางสังคมกำลังเสื่อมคลายลง พร้อมๆ กับพลังในการทำข่าวแบบเจาะลึกถึงกึ๋นของนักข่าวก็ลดน้อยถอยลงไปเช่นกัน ในขณะที่สื่ออื่นๆ แทรกเข้ามาในชีวิตประจำวันเรามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกสื่อใหม่ที่ส่งสารผ่านช่องทาอิเล็กทรอนิกส์ล้วนๆ อย่างอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียแล้วข่าวและข้อเขียนชั้นดี จะไปอยู่ที่ไหนล่ะ?ในเช้าวันนี้ ทีมงาน GM ทิ้งหน้าจอทีวีอันคุ้นเคย และเก็บดีไวซ์ทุกชนิดใส่กระเป๋าไว้ เพื่อจะได้มีสมาธิในการจิบกาแฟ แกล้มบทสนทนากับ ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ เพื่อหาคำตอบนี้เขาคือนักข่าวชั้นครู อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชนและประชาชาติธุรกิจ หลังจากที่ถูกให้ออกจากตำแหน่งมาเมื่อสองปีก่อน ในปัจจุบันเขาเป็นผู้อำนวยการสถาบันอิศราผลงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนของตัวเขาและทีมงาน ที่สะท้านสะเทือนสังคมไทย ยกตัวอย่างเช่น การเปิดโปงทุจริต ส.ป.ก. 4-01 ในปี 2537 ข่าวการทุจริตธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ เปิดโปงการแจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สินเท็จของนักการเมือง และเปิดโปงการซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ได้กระทำผิด และเป็นที่มาของประโยค ‘บกพร่องโดยสุจริต’ ถึงแม้ห้องทำงานของสำนักข่าวอิศราจะคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นหมึกและกระดาษ กองหนังสือและเอกสารทับถม มีเครื่องพิมพ์ดีดเก่าๆ วางกองอยู่ที่มุมห้อง […]Read More

เกรียงไกร กาญจนะฏภคิน

ในห้องทำงานของ เกรียงไกร กาญจนะโภคิน มองผ่านกระจกหน้าต่างออกไป เห็นท้องฟ้ายามเย็นที่ฉ่ำฝนมาหลายชั่วโมงแล้ว แน่นอนว่าตอนนี้ข้างนอกคงรถติดสาหัส ทีมงาน GM จึงไม่จำเป็นจะต้องรีบร้อนอะไร เราอยากจะใช้เวลานั่งคุยและชักภาพเขาให้นานขึ้นอีกสักหน่อยมีกีตาร์เบสเกือบสิบตัววางเรียงเป็นตับอยู่ด้านข้างโต๊ะทำงานตัวใหญ่ “เพราะเห็น พอล แม็กคาร์ตนีย์ เล่นเบสแล้วเท่นี่แหละ เป็นแรงบันดาลใจให้ผมหัดเล่นเบส” เกรียงไกรพูดพลางหยิบเบส Rickenbacker 4001 C ขึ้นมาสะพาย เขาไปนั่งผ่อนคลายอารมณ์ที่ริมหน้าต่างการเล่นเบสมีความหมายอะไรซุกซ่อนอยู่อีกหรือเปล่า? เบสเป็นเครื่องดนตรีที่คอยนำทางและเกื้อหนุนให้เครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ โดดเด่นขึ้นมา ในขณะที่ผู้เล่นเบสมักจะยืนอยู่แถวหลัง และในเงามืดบนเวที GM ถามเขา “ผมแค่ไม่ชอบจำโน้ต เล่นเบสจึงสนุกกว่า จำแค่โครงสร้างคร่าวๆ แล้วก็ไปแจมกับคนอื่นได้หมด” เขาเล่าถึงการตั้งวงดนตรีเล่นสนุก เพื่อสันทนาการกันภายในบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ ประสบความสำเร็จแบบดาวรุ่งพุ่งแรง มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2533 เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นไปถึงจุดหนึ่ง ก็แตกตัวออกมาเป็นบริษัทย่อยๆ อีก 17 ธุรกิจในเครือ จนกลายเป็นอาณาจักรของธุรกิจงานอีเวนท์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย เกรียงไกรลุกขึ้นแล้วเดินไปหยิบกรอบรูปมายื่นให้เราดู เป็นกระดาษหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นหน้าหนึ่ง ที่เขาตัดเก็บไว้ตั้งแต่เมื่อเกือบสิบปีก่อน ภาพเขากำลังประสานมือกับน้องชายฝาแฝด เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน “น้องชายผมชอบเล่นกีตาร์” เขาเล่าถึงน้องชายที่ต้องเดินทางไปๆ มาๆ ต่างประเทศ […]Read More

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล

IS THE PUNCH BOWL STILL HERE? เศรษฐกิจไทย ห้ามกะพริบตา!! “… to take away the punch bowl just as the party gets going.” |  วิลเลียม แมคเชสนีย์ มาร์ติน ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ในยุคทศวรรษ 1950s  | ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อ้างถึงคำกล่าวนี้ขึ้นมา เมื่อถูก GM ถามถึงจุดยืนและหลักการของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการกำหนดนโยบายทางการเงิน ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเราทุกคน ในช่วงที่ผ่านมา นักธุรกิจและนักการเมืองส่วนหนึ่ง มองผู้ว่าการฯ คนนี้ ว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาค่าเงินบาทแข็งเกินไป ด้วยการปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศสูง ในทางตรงข้าม นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งกลับสนับสนุนแนวทาง ที่พยายามจะรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในประเทศ โดยใช้ดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมืออย่างเคร่งครัด รัดกุม ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ อาจจะยังไม่เข้าใจเลยว่าค่าเงินแข็งและดอกเบี้ยจะส่งผลต่อปากท้องของตนเองอย่างไร ความยากลำบากอยู่ตรงนี้! ท่ามกลางกระแสความร้อนแรงของเศรษฐกิจไทย […]Read More

ดร. วิรไท สันติประภพ นักเศรษฐศาสตร์พเนจร

ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก และท่ามกลางความร้อนแรงของเศรษฐกิจไทย ที่หลายคนกำลังเฝ้ามองด้วยสายตาหวาดระแวงบทความเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ที่อ่านเข้าใจง่ายหลายชิ้น จากคมความคิดของ ดร. วิรไท สันติประภพ ได้ถูกกล่าวถึง และถูกส่งต่ออย่างแพร่หลายอยู่ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง บทเรียนจาก Mugabe, คำตอบจากสแกนดิเนเวียนโมเดล, Need or Greed? คำถามสำคัญจากองค์ทะไลลามะ ดร. วิรไท สันติประภพ เป็นนักเศรษฐ-ศาสตร์หนุ่มรุ่นใหม่ ได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘นักเศรษฐศาสตร์พเนจร’ ให้สอดคล้องกับชื่อคอลัมน์ที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เขาเคยมีประสบการณ์การทำงานที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หลังจากที่จบปริญญาเอกมาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก่อนที่จะกลับมาทำงานในเมืองไทย เป็น Think Tank ให้กับ ธารินทร์ นิมมาน- เหมินท์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัยที่ประเทศไทยกำลังจมจ่อมอยู่ในวิกฤติต้มยำกุ้ง หลังจากนั้นเขามีประสบการณ์ทำงานในภาคเอกชนมาอย่างโชกโชน จนล่าสุด เขาลาออกจากงานประจำเหล่านั้นมาเกือบครึ่งปีแล้ว โดยยังเหลืองานพาร์ตไทม์ ช่วยเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชนบางแห่งและที่ทีดีอาร์ไอ นอกจากนี้ก็ทำงานเพื่อสังคม ให้กับมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ มูลนิธิอานันทมหิดล หอจดหมายเหตุพุทธทาส เป็นกรรมการให้แอร์เอเชียฟาวน์เดชั่น ที่มาเลเซีย และเป็นกรรมการกำกับดูแลกิจการขององค์การอนามัยโลก ที่กรุงเจนีวาเขาบอกว่าการได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์พเนจรแบบนี้ อาจจะช่วยให้เขาสามารถค้นหาคุณค่าที่แท้จริงของการเป็นนักเศรษฐ-ศาสตร์ เป็นโอกาสที่เขาจะได้ใช้ความรู้ทางด้านนี้ มาทำงานวิชาการที่มีประโยชน์อย่างแท้จริงกับโลกและผู้คนรอบตัว GM: งานวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ […]Read More

วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

คุยทุกเรื่องในขีวิติที่ผ่านมา ผมเคยใช้ชีวิตแบบ ‘เยอะ’ และ ‘มาก’ มาก่อน ซึ่งต่อมาผมพบว่าชีวิตอย่างนั้นมัน ‘เหนื่อย’ และ ‘รกรุงรัง’ เกินไป ผมจึงค่อยๆ ลองลดทอนและปรับเปลี่ยนชีวิตกลับคืนสู่ความเรียบ-ง่าย-น้อย ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้ผมรู้สึกเบา สบาย ไม่วุ่นวาย และมีความสุข จากบทส่งท้ายในหนังสือ Try โดย วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ไม่น่าเชื่อ! ชายหนุ่มตรงหน้าเรา คนที่เคย ‘เยอะ’ และ ‘มาก’ คนนี้กำลังพูดถึงเงื่อนไขในการมีความสุข 4 ข้อของอัลแบร์ต กามูส์ ถ้าคุณจำได้ 10 กว่าปีก่อน เขายังเคยบอกใครๆ ว่าเขาเหมือน เจอร์รี่ แม็คไกวร์ ตัวละครที่แสดงโดย ทอม ครูซ ชายหนุ่มผู้ตกงานกะทันหัน และต้องพยายามไขว่คว้าดิ้นรน เพื่อให้ประสบความสำเร็จ ชั่วลัดนิ้วมือ จากเจอร์รี่ แม็คไกวร์ เขาจะกลายเป็นอัลแบร์ต กามูส์ ไปได้อย่างไรกัน? เงื่อนไขที่จะมีความสุขของกามูส์ มีอยู่ด้วยกัน 4 ข้อ […]Read More

THE PURSUIT OF DEMOCRACY AND HAPPINESS

ย้อนกลับไปมองช่วงชีวิตในปีที่ผ่านมา คุณคิดว่าตนเองมีความสุขมากขึ้นหรือน้อยลง? จิกมีทินเลย์ ท่ามกลางความร้อนแรงของปัญหาการเมือง เศรษฐกิจรัดตัว สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ดูเหมือนว่าจะเสื่อมโทรมลงไปเรื่อยๆ GM กำลังคิดว่าพวกเรามีความสุขกันน้อยลงทุกทีๆ แต่จากสายตาของคนนอก กลับไม่คิดอย่างนี้เลย เขามองว่าเมืองไทยของเรามีปัจจัยมากมายที่จะทำให้คนไทยทุกคนมีความสุข IN จิกมี ทินเลย์ หรือ เลียนโป จิกมี โยวเซอ ทินเลย์ (Lyonpo Jigmi Yoeser Thinley) อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศภูฏาน เขาเดินทางมาเยือนเมืองไทยเพื่อปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้น เขาก็ให้เวลาตลอดบ่ายกับ GM เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับ ‘ประชาธิปไตยและความสุข’ จะว่าไป เขาคือปรมาจารย์ของเรื่อง GNH หรือ Gross National Happiness ปาฐกถาเรื่อง Values and Development : Gross National Happiness ที่เขาไปกล่าวในงาน Millennium Meeting for Asia […]Read More

FINDING INNER PEACE IN EVERY DAY LIFE

บุกเบิก ภายนอก สุขสงบ ภายใน ตั้งใจว่าจะไปเยี่ยมเยียนและพูดคุยกับ จิตร์ ตัณฑเสถียร ตั้งแต่เมื่อปีก่อน ที่ได้รับทราบข่าวว่าเขาไปบวชจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าธรรมอุทยาน จังหวัดขอนแก่น และดูมีวี่แววว่าจะบวชแบบไม่สึกออกมาอีกเลย เราชอบแนวความคิดเกี่ยวกับธรรมะร่วมสมัยของเขา ในฐานะคนหนุ่มที่เคยเป็นนักโฆษณามือเยี่ยม แล้วหันไปศึกษา พุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามแนวทางของเซน จนถือเป็นศิษย์เอกคนหนึ่งของหมู่บ้านพลัม ประสบการณ์ชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมอีกหลายแขนงของเขา คงนำมาประมวลเป็นบทเรียนให้ผู้อ่านของ GM ได้เป็นอย่างดีเลย แต่จนแล้วจนรอด ด้วยเหตุและปัจจัยที่ยังไม่เอื้ออำนวยเสียที เราจึงคลาดกับเขาหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งได้ข่าวว่าเขาลาสิกขาออกมาและกลับมาทำงานในกรุงเทพฯ แบบนี้ก็ง่ายเลยสิ! พวกเราไม่ต้องยกกองบรรณาธิการเดินทางไกลไปถึงจังหวัดขอนแก่น เพียงแค่นั่งรถไฟฟ้าใต้ดินไปขึ้นสถานีลุมพินี และเดินต่อเข้าซอยงามดูพลีไปอีกไม่กี่อึดใจ ก็ได้พบเขาที่นัดหมายไว้ ในศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ อาคารแห่งใหม่ของ สสส. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ชายหนุ่มในชุดเสื้อผ้าสีอ่อนดูสุภาพเรียบร้อย เขาพกสมุด ดินสอ ปากกา พะรุงพะรังเหมือนหนุ่มออฟฟิศบ้างาน นอกนั้นก็ไม่มีอะไรที่สะดุดตา นอกจากแท็บเล็ตสุดไฮเทคเครื่องหนึ่ง วิ่งลงมาจากบันไดชั้นบนสุดของอาคารที่เปิดโล่ง เพื่อสนับสนุนให้ผู้คนเดินขึ้น-ลงแทนการใช้ลิฟต์ เขาดูทะมัดทะแมงและไม่มีท่าทีเหนื่อยหอบ “มาๆ เราขึ้นไปนั่งคุยกันที่ห้องสมุดนะครับ อยู่ชั้นสองเอง” เขาชวนเราเดินขึ้นบันไดทีมช่างภาพของ GM ก้มลงมองดูชุดไฟ ขาตั้ง และกระเป๋าอุปกรณ์ถ่ายภาพทั้งหนักทั้งใหญ่ แล้วแหงนหน้ามองบันไดขึ้นไปด้วยตาปริบๆ การกลับมาทำงานเป็นนักการตลาดเพื่อสังคม […]Read More

สมบัติ บุญงามอนงค์ ปรเมศวร์ มินศิริ

the politi of social @nuling สมบัติ บุญงามอนงค์ สองหนุ่มตอบเมสเสจของ GM กลับมาอย่างรวดเร็ว หลังจากที่เราติดต่อไปเพื่อขอให้มาร่วมพูดคุยกัน เกี่ยวกับเรื่องการเมืองในทรรศนะของคนหนุ่มผู้เป็นกูรูด้านไอที คนหนึ่งคือ ปรเมศวร์ มินศิริ หนุ่มนักธุรกิจออนไลน์ที่ได้เป็นเศรษฐีเงินล้านตั้งแต่อายุยังน้อย มีบางคนถึงกับเปรียบเขาเหมือน มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ของเมืองไทย ตั้งแต่เมื่อสิบกว่าปีก่อน เว็บไซต์สนุกดอตคอมเป็นเว็บพอร์ทัลที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับหนึ่ง และสามารถขายต่อให้นักลงทุนต่างชาติในราคาสูงลิบลิ่ว หลังจากนั้นเขายังวนเวียนอยู่ในวงการไอที ด้วยการปลุกปั้นเว็บกระปุกดอตคอมขึ้นมาจนกลายเป็นเว็บไซต์อันดับต้นๆ ของไทยตอนนี้ นอกจากนี้ยังทำกิจกรรมเพื่อสังคมอีกหลากหลายเรื่อยมา จนถึงการจัดทำเว็บไซต์ thaiflood.com และทีมงานอาสาสมัครเตือนภัยน้ำท่วม cal power @iwhale ปรเมศวร์ มินศิริ แล้วกลายเป็นข่าวขัดแย้งรุนแรงกับรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยเมื่อปีกลาย หลายคนด่วนสรุปทันทีว่าเขาเป็นพวกเสื้อเหลือง ในขณะที่หลายคน บอกว่าเขาดูคลุมเครือ ขอเรียกว่า ‘สลิ่ม’ เอาไว้ก่อน ไม่ว่าเขาจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ เขาบอกกับ GM ว่า “เพื่อไม่ให้ชีวิตนี้มีต้นทุนสูงเกินไป” เขาใช้ทวิตเตอร์เพื่อวิพากษ์วิจารณ์การเมือง เพื่อผลักดันสังคมไปในทิศทางที่เขาเชื่อมั่น ตอนนี้เราคุ้นเคยกับเขาในนาม @iwhale อีกคนหนึ่งคือ สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือที่คนทั่วไปเรียกขานด้วยนามแฝงว่า […]Read More

5 Perspectives on URBANIZATION

เปิดวิสัยทัศน์ 5 นักธุรกิจรุ่นใหม่กับมุมมองใน ภูเก็ต 1. วิศรุต แซ่เต้ง 2. พบไชยส์ จิวะวิศิษฎ์นนท์ 3. ชนัดดา อติเศรษฐ์ 4. ศึกษิต สุวรรณดิษฐกุล 5. ปกรณ์ นิยมอดุลย์ ชนัดดา อติเศรษฐ์ ‘ไข่มุกอันดามัน’ คือสมญานามอันลือเลื่องของภูเก็ต ที่ทุกวันนี้ยังคงเนื้อหอม มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องทั้งจากผู้ประกอบการท้องถิ่น ส่วนกลาง และต่างชาติ ภายใต้บริบทของการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการขยายตัวของเมืองภูเก็ต จากเทรนด์ Urbanization หรือปรากฏการณ์การขยายตัวของความเป็นเมืองไปสู่หัวเมืองต่างจังหวัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารกสิกรไทยเล็งเห็นมาก่อนหน้านี้แล้ว เพียงแต่ช่วงเวลานี้เป็นจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมในการที่จะผลักดันและส่งเสริมเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้นักธุรกิจไทยสามารถยืนหยัด แข่งขัน และรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแข็งแกร่งลองฟังความคิดเห็นของ 5 นักธุรกิจเลือดใหม่ เจเนอเรชั่นที่ 2 ของธุรกิจโรงแรมดังในภูเก็ต ซึ่งมีธนาคารกสิกรไทยเป็นพันธมิตรทางการเงิน ที่มาล้อมวงให้ GM สัมภาษณ์เกี่ยวกับเทรนด์ Urbanization ดังกล่าว เริ่มต้นที่ วิศรุต แซ่เต้ง ผู้บริหารโรงแรมกะตะปาล์ม และตัวแทนจำหน่ายของเอสซีจี, พบไชยส์ จิวะวิศิษฎ์นนท์ […]Read More

ผู้อำนวยการ คนใหม่ ไทยพีบีเอส

“เขาออกแบบที่นี่ให้เหมือนเรือ” สมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการคนใหม่ของไทยพีบีเอส กล่าวกับ GM ขณะที่เขาพาเราเดินชมรอบๆ สถานที่ทำงาน และแวะถ่ายภาพตามจุดต่างๆ ห้องประชุม คอนโทรลรูม ห้องส่ง ห้องสมุด โรงอาหาร ฯลฯ ทุกจุดดูสวยงาม โอ่อ่า สมกับที่พวกเขานำเงินภาษีของประชาชนไปใช้ในการลงทุนระยะยาว และเงินอีกส่วนถูกนำไปพัฒนา รายการใหม่ๆ มากมาย ผลงานของพวกเขาทั้งประเภท สาระบันเทิงและรายการข่าว กำลังได้รับความนิยมและมีคำชื่นชมหนาหูขึ้นเรื่อยๆ อะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนี้ไป เมื่อสถานีไทยพีบีเอส กำลังมีผู้อำนวยการคนใหม่เข้ามาแทน GM มาที่นี่วันนี้ เพื่อจะถามคำถามนี้ และอีกหลายๆ คำถามเกี่ยวกับการทำงานของสื่อมวลชนในปัจจุบัน จรรยาบรรณสื่อ นิยามของสื่อสาธารณะ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เราจะรู้ได้อย่างไร? ว่าพวกเขาเอาเงินปีละสองพันล้านบาทของเรา ไปใช้อย่างเป็นประโยชน์ต่อเรามากที่สุด สมชัย สุวรรณบรรณ “เขาออกแบบที่นี่ให้เหมือนเรือ” สมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการคนใหม่ของไทยพีบีเอส กล่าวกับ GM ขณะที่เขาพาเราเดินชมรอบๆ สถานที่ทำงาน และแวะถ่ายภาพตามจุดต่างๆ ห้องประชุม คอนโทรลรูม ห้องส่ง ห้องสมุด […]Read More