เด็กไทยเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เด็กก็จริง แต่สุดท้ายเมื่อเข้าสู่โลกของการทำงาน หลายคนก็ยังติดปัญหาไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้ดั่งใจ จุ๊ย – ชื่นชีวัน วงษ์เสรี Co-Founder GLOBISH สถาบันสอนภาษารูปแบบออนไลน์ อันดับต้นๆ ของไทย ในฐานะ EdTech Startup ที่มุ่งพัฒนาการศึกษาด้วยเทคโนโลยีให้เติบโตอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่ปีที่ 9 ก็เป็นคนหนึ่งที่เคยประสบปัญหาเช่นนี้ เธอและผู้ร่วมก่อตั้งจึงอยากสร้างประตูแห่งโอกาส เพื่อแก้ Pain Point ให้คนไทย แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ เส้นทางของ GLOBISH ล้มลุกคลุกคลานไม่เบา ซึ่ง 2 ปีแรกที่จับทางไม่ถูก ธุรกิจก็เกือบเจ๊ง พอทุกอย่างเริ่มจะไปได้สวย ก็มาเจอสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เหมือนจะเป็นโอกาสให้กับธุรกิจ แต่ก็ต้องเผชิญกับสารพัดความท้าทาย อะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จ ที่ทำให้ GLOBISH ข้ามผ่านอุปสรรคมานับครั้งไม่ถ้วน และ ก้าวต่อไปของ GLOBISH คืออะไร ไปหาคำตอบพร้อมกัน จากธุรกิจเพื่อสังคม สู่ “EdTech Startup” “ช่วงที่เริ่มต้น GLOBISH ก็ยังไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นสตาร์ทอัพ แต่มองว่าเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ช่วง 2 ปีแรก […]Read More
ใบยา ไฟโตฟาร์มเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ Deep Tech สัญชาติไทยที่ก่อตั้งมาเป็นเวลาเกือบห้าปีแล้ว ก่อนการระบาดของโควิด-19 เกิดขึ้น จากการพัฒนาต่อยอดงานวิจัย CU Innovation Hub ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างสรรค์เทคโนโลยีทางการแพทย์โดยใช้พืชเป็นแหล่งผลิต ‘รีคอมบิแนนท์โปรตีน (Recombinant Protein)’ ให้บริการด้านการวิจัย และพัฒนาผลิตเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ และผลิตยารักษาโรค กระทั่งมาถึงการคิดค้นวิจัยวัคซีนโควิดและล่าสุดกับชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด Baiya Rapid Covid-19 IgG/IgM Test kit™ ซึ่งใช้เทคโนโลยี Baiyapharming พัฒนาโปรตีนของไวรัส SAR-CoV-2 สำหรับใช้ในโครงการวิจัย ในโรงพยาบาล และสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ นับเป็นความภูมิใจของวงการแพทย์ไทยอย่างแท้จริง “Co-founder ในบริษัทมีสองท่านนะคะ คือรองศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลเจริญ ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยี ตัวดิฉันเองซึ่งจบปริญญาตรีจากเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาโทกับปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ทำงานวิจัยเชิงนโยบายเกี่ยวกับเรื่องราคายามานาน แล้วส่วนตัวเองก็เป็นแม่มีลูกนะคะ ไปเรียนที่ต่างประเทศจริงๆ ก็ไม่ได้อยากกลับมาเมืองไทย แต่กลับมาด้วยเหตุผลส่วนตัว พอกลับมาเมืองไทยก็รู้สึกว่าประเทศนี้แห้งแล้ง เติบโตไม่ได้ แต่อย่าลืมว่า ประเทศไม่เปลี่ยนได้ด้วยคนที่พูดหรอกค่ะ แต่เปลี่ยนได้ด้วยคนที่ลงมือทำ […]Read More
ในวันที่หุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น ตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน หรือแม้แต่เวลาไปใช้บริการที่ร้านอาหาร ยังไม่นับถึงโรงงานอุตสาหกรรม ที่เริ่มมีการนำหุ่นยนต์เคลื่อนที่ มาทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อก้าวไปให้ทันกับโลกธุรกิจใบเดิมที่ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป จากความสนใจ สู่ Passion ในการปั้นธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ถ้าย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว หุ่นยนต์เคลื่อนที่ ไม่เพียงเป็นเรื่องที่ดูไกลตัว และยังเป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนสูง จากจุดนี้เอง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ เปิ้ล–วีรมน ปุรผาติ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Gensurv Robotics รวมตัวกับกลุ่มวิศวกรที่ชื่นชอบและสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์เคลื่อนที่ เพื่อพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีดังกล่าว “เราเริ่มต้นจากการพัฒนาเรือหุ่นยนต์อัตโนมัติบนผิวน้ำ และ เรือดำน้ำ ที่ใช้ในการสำรวจ เพื่อลดความเสี่ยง ระยะเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพในการสำรวจ ต่อมา เราตั้งใจขยายกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้น จึงหันมาวิจัยและพัฒนาโซลูชั่นหุ่นยนต์ขนส่ง ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจโลจิสติกส์” นำ Pain Point มาต่อยอดเป็นโซลูชันที่ตรงใจลูกค้า วีรมน เล่าว่า หนึ่งใน Pain Point ของลูกค้ากลุ่มนี้ คือ ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน บวกกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ต้องทำงานในโรงงานแทบจะ 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจในยุคอุตสาหกรรม […]Read More
ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นสัญญาณที่ทำให้ทั่วโลกต้องหันมาให้ความสำคัญกับภารกิจ ‘Net Zero Emissions’ หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 มากขึ้น แน่นอนว่า การจะบรรลุภารกิจดังกล่าวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ แต่หนึ่งในปัญหาที่ภาคธุรกิจส่วนใหญ่กำลังเผชิญคือ การขาดตัวช่วยในการบริหารจัดการปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ของการประกอบธุรกิจ (Carbon Footprint) หา Insight ก่อนออกสตาร์ทภารกิจช่วยโลก (ร้อน) จากจุดนี้เองทำให้ แนท–นัชชา เลิศหัตถศิลป์ ตัดสินใจรวมกลุ่มกับคนที่มีไอเดียตรงกันอีก 8 คน เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม cWallet ระบบติดตามและบริหาร Carbon Footprint ช่วยให้องค์กรตรวจสอบและควบคุมการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นตัวช่วยสำหรับผู้ประกอบการไทย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่ เติบโตด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เน้นความยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งในการพาประเทศไทยไปสู่เป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมาย “Net Zero Emissions” ให้ได้ภายในปี 2065 “ก่อนจะลงมือพัฒนาแพลตฟอร์ม ได้ไปคุยกับทั้งฝั่งภาครัฐและภาคธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจว่า ทิศทางของประเทศไทยจากนี้จะเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันเราต้องการรู้อินไซต์ของภาคธุรกิจว่าเขาติดปัญหาในส่วนไหน ซึ่งปัญหาที่เจอหลักๆ คือ ขาดเครื่องมือในการวัดปริมาณ Carbon […]Read More
WENDAYS คือชื่อของผลิตภัณฑ์แผ่นอนามัยและผ้าอนามัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้หญิง มุ่งเน้นความอ่อนโยน กระชับรับสรีระร่างกาย ทำให้ผู้หญิงมั่นใจในการใช้ชีวิตมากขึ้น ความแตกต่างที่ครองใจลูกค้าคือการเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก เลือกใช้วัตถุดิบที่ปราศจากสารอันตรายและปราศจากการย้อมสี ตัวบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัย และบางส่วนสามารถนำไปย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เป็นนวัตกรรมที่คิดค้นโดย เหวิน-ชวิศา เฉิน ซึ่ง ณ วันนี้ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ Wendays ProViotic อาหารเสริม ชนิดแคปซูลสำหรับช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และปรับสมดุลภายในร่างกาย รวมทั้งแอปพลิเคชัน Talk to Peach ที่ปรึกษาเรื่องเพศออนไลน์ กับนักเพศวิทยา แบบไม่เปิดเผยตัวตน “ก่อนหน้านี้คือไม่ได้คิดว่าจะมาเป็นสตาร์ทอัพ ไม่ใช่ความฝัน แค่รู้สึกว่าทุกอย่างถึงเวลาพอดี ก็ทำงานเหมือนคนอื่นๆ ทั่วไป เคยทำดิจิทัล เอเจนซี่ ทำในส่วนของดิจิทัล มาร์เกตติ้ง แล้วก็เริ่มมาเป็นผู้จัดการโครงการ มีโอกาสได้ทำงานกับพี่ๆ ที่เป็นเจ้าของสตาร์ทอัพ ทำให้เหวินได้เห็นคนที่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง เราเห็นการต่อสู้ดิ้นรนของพวกเขา ว่ายากแค่ไหนพวกเขาก็ไปต่อ เหมือนแรงบันดาลใจที่ถูกส่งมาเรื่อยๆ เป็นเชื้อเพลิง เป็นพลังที่เราสั่งสมและซึมซับมาตลอด พอโควิด-19 ถึงจุดเปลี่ยน บริษัทที่เราทำงานปิดตัวลง เราต้องมาเลือกแล้วว่าเราจะไปทำงานที่ไหนดี ทำตามความฝันที่เรามีปัญหาเรื่องนี้ ที่เราอยากจะแก้ไขดี ก็เป็นจุดที่กระตุ้นเราว่า เธอต้องทำแล้วนะเหวิน ถ้าไม่ทำตอนนี้ทำตอนไหน ถ้าเรามัวแต่รอแล้วใครจะแก้ปัญหานี้ […]Read More
เอชจี โรโบติกส์ ผลิตและพัฒนาคิดค้นหุ่นยนต์ และอากาศยานแบบไร้คนขับ (Unmanned aerial vehicle) โดยทีมวิศวกรไทยที่มีประสบการณ์ดำรงอยู่มายาวนานมากกว่า 10 ปี โดยเป็นโดรนเพื่อการเกษตรและการสำรวจสำหรับเกษตรกรไทยนำมาใช้และสร้างมูลค่าผลผลิตทางการ เกษตรที่เพิ่มพูน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป โดยมี ดร.มหิศร เป็นผู้นำ พร้อมด้วยทีมงานนับร้อยชีวิตที่มี Passion เกี่ยวกับหุ่นยนต์อย่างแรงกล้า มีความจริงใจในการทำงาน พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ถาโถมเข้ามา ตื่นขึ้นมาทำงานทุกวันโดยไม่มีคำว่าเบื่อหน่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อจะเปลี่ยนแปลงประเทศและชีวิตของใครบางคนให้ดีขึ้น โดยใช้หุ่นยนต์เป็นเครื่องมือ “จุดเริ่มต้นเกิดจากกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่แข่งขันหุ่นยนต์ Robocup ที่มีการจัดแข่งขันในประเทศไทย ช่วงต้นปี ค.ศ. 2000-2003 เป็นกลุ่มนักศึกษาที่มารวมกลุ่มกันซึ่งสลับกันได้แชมป์รายการ หลังจากนั้นในช่วงประมาณปี 2006-2008 ต่างก็เติบโตแยกย้ายไปเรียนต่อในต่างประเทศทั้งที่ญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป แต่ยังมีการติดต่อพูดคุยกันตลอด ซึ่งทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันคือต้องการจัดตั้งบริษัท หลังจากนั้นปี ค.ศ. 2011 ก็ได้มีการจดทะเบียนบริษัทขึ้นมาซึ่งเรายึดกับหลักการ “First Who, Then What” ซึ่งเป็นคำพูดที่อยู่ในหนังสือ Good to Great ที่เขียนโดย Jim Collins ซึ่งมียอดขายมากกว่าสี่ล้านเล่มทั่วโลก หมายถึงการที่เราต้องหาคนที่เหมาะสมมาร่วมมือกันในการทำงานก่อน […]Read More
noBitter คือ Mini Plant Factory โรงงานปลูกพืชขนาดเล็กใจกลางเมืองที่สามารถควบคุมปริมาณสารตกค้างในพืชได้ด้วยตัวเอง เป็นผลิตภัณฑ์ผักสดปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพพร้อมกินและกำลังต่อยอดสู่นวัตกรรมสารสกัดที่ อยู่ในขั้นพัฒนาเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ โดยมี ดร.วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการนวัตกรรม ซึ่งเป็นผู้นำทัพพร้อมทีมงานช่วยกันสร้างพื้นที่ว่างให้มีคุณค่าต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น และเชื่อหรือไม่ว่า noBitter เริ่มต้นความรู้จากศูนย์สู่ปัจจุบันนี้ที่เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านผักสดปลอดภัยจากฟาร์มแนวตั้ง ที่กำลังคิดค้นต่อยอดสินค้าและบริการไปไม่สิ้นสุด “ตัวผมเองเริ่มจากไม่รู้อะไรเลย ศึกษาอ่านอินเทอร์เน็ต ดูยูทูป ไปงานแสดงสินค้าต่างๆ เก็บเกี่ยวความรู้มาเรื่อยๆ สนุกตรงที่เราเจอเรื่องที่เราไม่รู้ เหมือนโลกใหม่อีกใบ ซึ่งแตกต่างจากโลก Software Digital ที่ผมเคยรู้จัก แต่พอได้สัมผัสกับพืชพรรณธรรมชาติ ก็เป็นอีกโลกหนึ่งที่ได้ไปผ่อนคลาย แต่ในขณะเดียวกันก็พบจุดที่น่าสนใจ เพราะการที่ได้เริ่มอะไรก่อนคนอื่น สั่งสมประสบการณ์ตรงนี้ไปเรื่อยๆ วันหนึ่ง เรามี Know How มากพอและเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีตรงนี้ให้คนอื่นต่อไปได้ แต่ถ้าวันนั้นมาถึงก็อาจจะเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างหนึ่งเพราะนั่นแปลว่า เราเผชิญกับสภาวะโลกร้อนอย่างแท้จริง” จากพื้นที่ว่างสู่การส่งมอบความปลอดภัย จุดเริ่มต้นของ noBitter ในปี 2018 คือการใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์โดยการเอาเกษตรในร่มไปไว้ในตึกด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Indoor Vertical Farm ทำให้สามารถปลูกพืชที่ไหนก็ได้ในเมืองและยังสร้างประโยชน์ต่อประเทศไทยมากกว่าแค่ใช้พื้นที่ว่างและทำฟาร์มผักแนวตั้ง “ผมและทีมงานเริ่มต้นแนวคิดการปลูกผักที่สยามสแควร์ซอย 2 ใน Co-working space […]Read More
เป็นที่รับรู้และเข้าใจกันดี ว่า ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ นี้ มีความสำคัญอย่างไรกับยุคสมัยปัจจุบัน จำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การผลิตอาหารต้องมีความต่อเนื่อง และมีปริมาณที่มากขึ้น รวดเร็วขึ้น แม่นยำมากขึ้น ยิ่งโลกประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 และภัยสงครามยูเครน ซึ่งทำให้พืชผลทางการเกษตรหยุดชะงัก การผลิตภายในประเทศยิ่งต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทุกขั้นตอนต้องทำอย่างเป็นกระบวนการที่ไม่ให้มีผิดพลาด และมีเพียง ‘เทคโนโลยี’ เท่านั้น ที่จะสามารถเข้ามาอุดช่องโหว่เหล่านี้ได้ อันเป็นที่มาซึ่งทำให้ ดร.ธนิกา จินตนะพันธ์ นักวิทยาศาสตร์จากรั้วจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ทำการวิจัย ค้นคว้า เพื่อหาขั้นตอนที่ดีที่สุด เร็วที่สุด ก่อนจะนำไปสู่แพลตฟอร์ม ‘Biomatlink’ ระบบ Supply Chain ครบวงจร ที่จะเข้ามาช่วยให้การผลิต เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่สะดุดติดขัด และคงความมั่นคงทางอาหารเอาไว้ได้ จากการวิจัยและเก็บข้อมูลอย่างละเอียด สู่แพลตฟอร์มเพื่อการเพาะปลูกอย่างแม่นยำ การเพาะปลูก คือหลักฐานแรกแห่งอารยธรรมมนุษยชาติ การรู้ฤดูกาลเก็บเกี่ยว การให้น้ำ ใส่ปุ๋ย ทำให้มนุษยชาติสามารถลงหลักปักฐานได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ในปัจจุบัน เพียงแค่รู้ฤดูกาล อาจจะไม่เพียงพอ เมื่อความต้องการมีปริมาณที่สูงขึ้น การค้นคว้าและวิจัยเพื่อให้ได้ ‘ผลลัพธ์’ ที่มากขึ้น และ […]Read More
เป็นที่ชัดเจนในข้อหนึ่งที่ว่า ไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้ ‘รถมอเตอร์ไซค์’ มากเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ทั้งจากสภาพความจำเป็นด้านเศรษฐกิจ และความคล่องตัวด้านการใช้งาน ไม่ว่าจะใช้ตามบ้าน หรือใช้ในการขนส่ง มอเตอร์ไซค์ แต่ก็เช่นเดียวกับยานพาหนะอื่นๆ มอเตอร์ไซค์ ผลิตมลภาวะได้ไม่น้อยไปกว่ารถยนต์หรือการขนส่งทั่วไป แต่เมื่อฐานความคิดด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การใส่ใจต่อปัญหาที่เริ่มมีการตระหนักรู้อย่างจริงจัง ทำให้ยานพาหนะอย่างยานยนต์ไฟฟ้า กลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ และสามารถจับต้องได้มากขึ้นในช่วงนี้ และก็เป็นโอกาสสำหรับ คุณสรณัญช์ ชูฉัตร ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพผลิตรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ‘ETRAN’ ที่นำเสนอทางเลือกให้กับผู้ใช้ยานพาหนะชนิดนี้แก่คนไทย โดยสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในราคาประหยัด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น กำหนดกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เดินหน้าสู่การทำตลาดเต็มตัว หลายคนอาจจะรู้สึกว่า แม้มอเตอร์ไซค์ จะเป็นยานพาหนะที่คนไทยส่วนใหญ่เลือกใช้ แต่พฤติกรรมการเลือกซื้อและเลือกใช้ ที่ยังติดอยู่กับยี่ห้อ คุ้นชินกับแบรนด์ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถลบล้างไปได้ในเวลาอันสั้น แต่คุณสรณัญช์ กลับมีมุมมองที่แตกต่างออกไป ‘มองในแง่หนึ่ง ประเทศไทย โชคดีที่มีอุตสาหกรรมการผลิตรถมอเตอร์ไซค์และองค์ความรู้ต่างๆ แต่สิ่งที่ขาด คือแนวคิดและรูปแบบธุรกิจในการผลิตที่สะอาด และนำพารถสองล้อของเราไปให้ไกลมากกว่าแค่ยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางหรือเทคโนโลยี’ คุณสรณัญช์กล่าวให้ความเห็น ดังนั้น ETRAN จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง แต่เป็นรูปแบบธุรกิจที่จะเข้าไปช่วยหนุนเสริมอุตสาหกรรมการผลิตรถมอเตอร์ไซค์ ให้ก้าวไปข้างหน้า ไปสู่อนาคตใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม การแพร่ระบาด […]Read More
HealthTAG หรือเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ ก่อตั้งและพัฒนาโดย นายแพทย์เดโชวัต พรมดา ปัจจุบันนี้รู้จักกันในฐานะที่เป็นบัตรประจำตัวสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ คล้ายกับบัตรประชาชนด้านสุขภาพที่บันทึกข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล (Personal Health Record) โดยมีกุญแจฝังอยู่ในชิปเข้ารหัสแบบพิเศษที่ใช้เป็นตัวกลางในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยทางข้อมูล (Data Privacy) โดยผู้ที่มีสิทธิเก็บและเข้าถึงข้อมูลได้คือ บุคคลผู้เป็นเจ้าของ กับ บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพียงเพราะเขาเจอปัญหาซ้ำๆ และแทนที่จะอยู่เฉย เขาลงมือทำด้วยเพราะเขาเชื่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นควรได้รับการแก้ไขและมีทางออกเสมอ “ผมไม่ได้เป็นคนที่ต้องวางแผนเยอะ แต่เน้นที่การลงมือทำ เน้นที่การแก้ปัญหามากกว่า ผมชอบคำพูดนึงของเนลสัน เมนเดลลา It always seems impossible until it’s done. ทุกอย่างที่ดูยาก ดูเป็นไปไม่ได้ จนกระทั่งเราทำเสร็จ เป็นปรัชญาที่ผมค่อนข้างเชื่อ ต่อให้โจทย์มันยาก ก็มักจะมีหนทางในการแก้ปัญหา ทุกอย่างเป็นโจทย์ที่มีคำตอบ” ปัญหาคือจุดเริ่มต้นของทางออก ถ้าไม่มีปัญหา ทุกอย่างก็ไม่ได้รับการแก้ไข ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น และเมื่อปัญหาได้รับการค้นพบโดยคนที่ชอบแก้ปัญหา จึงเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ให้โลกใบนี้ดีขึ้นได้ “ต้องเท้าความไปนิดนึงว่า โดยพื้นฐานผมเป็นเด็กเล่นเกมส์ ขี้เกียจ ชอบแก้ปัญหา ชอบเอาชนะ เรียนจบมานานละ เรียกได้ว่า […]Read More