เมื่อราว 20 ปีที่แล้ว หนุ่มยุคนั้นได้ยินชื่อ ‘เพชร โอสถานุเคราะห์’ พร้อมๆ กับความดังของเพลงเพราะๆ อย่าง ‘เพียงชายคนนี้ไม่ใช่ผู้วิเศษ’ ความดังของเพลงนี้อยู่ข้ามยุคข้ามสมัยมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ก็ยังมีคนนำมาร้องใหม่อยู่เสมอ แม้ว่า เพชร โอสถานุเคราะห์ จะมีอัลบั้มใหม่ออกมาแล้วก็ตาม บทบาทที่เราคุ้นตาชายที่ไม่ใช่ผู้วิเศษคนนี้ น่าจะเป็นการเป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และนักธุรกิจที่ทำมาแล้วหลายหลาก ตั้งแต่งานโฆษณา งานนิตยสาร งานด้านการตลาด ซึ่งก็ดูเหมือนไปกันได้ด้วยดีกับภาพลักษณ์ที่ดูแตกต่างจากปุถุชนทั่วไป เพชรมักมาพร้อมแว่นตาดำ ผมที่ปล่อยฟูตามธรรมชาติ และเสื้อผ้าสีสันสดใส ทุกวันนี้แม้วัยจะล่วงเลยเข้าสู่หลัก 5 แล้วก็ตามที แต่กระนั้นก็อดไม่ได้ที่จะมีผู้คนตั้งคำถามถึงบทบาทของเขากับการขึ้นมาเป็นประธานบริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดูจะเป็นนักบริหารการศึกษาที่บุคลิก ‘แตกต่าง’ และเปรี้ยวที่สุดในประเทศนี้ก็ว่าได้ การตัดสินใจขึ้นมากุมบังเหียนมหาวิทยาลัยกรุงเทพอย่างเต็มตัวในห้วงเวลาที่ไม่มีอาจารย์สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ผู้เปรียบเสมือนหัวเรือใหญ่ของมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว เขาจะนำพาไปในทิศทางใด เสียงแห่งความสงสัยที่ดังขึ้นรอบตัวเพชรถึงบทบาทใหม่จะทำให้เขาไปถึงเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่อย่างไร นี่เป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดแล้วที่จะคุยกับเขา เพชรนั้นมีหลายเหลี่ยม และเราเชื่อว่ายังมีอีกหลายเหลี่ยมมุมของ ‘เพชร’ เม็ดนี้ ที่เราต่างไม่เคยได้รู้มาก่อน เราไปคุยกับคนธรรมดาที่แสนวิเศษคนนี้กันเลยครับ ! GM : คุณมองเรื่องธุรกิจการศึกษาในบ้านเราทุกวันนี้เป็นอย่างไร เพชร : จริงๆ ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับธุรกิจนี้มากนัก เพราะตั้งแต่เริ่มต้นที่ทางอาจารย์สุรัตน์และอาจารย์ปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ […]Read More
“ถ้าถามว่าผมเป็นพิธีกรอันดับหนึ่งไหม ผมไม่มั่นใจ แต่ถ้าถามว่าผมเป็นคนขี้ประชดประชันที่สุดในโลกไหม ผมมั่นใจว่า ผมชนะทุกคนในประเทศนี้ เอามาแข่งกับผมได้เลย!” สวัสดีครับ พี่น้องชาวไทย, ข้อความข้างบนนั่นเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของบทสนทนาระหว่าง GM กับเขา-วู้ดดี้-ในห้องแต่งตัวหลังจากที่วู้ดดี้เพิ่งเสร็จจากการถ่ายปกของ GM เล่มที่คุณกำลังถืออยู่นี้ แต่ความโกลาหลของการถ่ายปกทำให้กว่าที่ผมจะได้คุย ก็ต้องนั่งรอราวชั่วโมงกว่าๆ -แต่ก็โอเค การนั่งรอทำให้ผมได้เห็นบุคลิกของหนุ่มคนนี้เวลาที่เขาไม่ได้อยู่หน้ากล้องว่าเป็นอย่างไร…พูดเร็ว แต่งตัวดี อ้วน เสียงดัง มั่นใจ วุ่นวาย ช่างคิด ช่างพูด มีโลกส่วนตัวสูงและท่าทางจะมีของอยู่ใช่เล่น…เป็นคำคร่าวๆ ที่เราถือวิสาสะ ละลาบละล้วงตัดสินเขาแบบเหมาเอาเอง ทั้งหมดนั้นเป็นอคติส่วนตัวของผมและตามวิถีนิยมของประจักษ์ชนทั่วไป แต่ไอ้การนั่งเงียบๆ แล้วคิดไปเองแบบนี้ดูท่าจะไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไหร่สำหรับผู้ถูกจ้องมองอย่างเงียบๆ แต่จะเป็นไรล่ะ…ผมคิดมันอยู่ในใจนี่นา ! เรื่องจริงน่ะอยู่ข้างล่าง ! ในบทสัมภาษณ์ที่คุณจะได้อ่านสองสามวันหลังจากสัมภาษณ์เสร็จ วู้ดดี้ให้เลขาของเขาโทรฯมาหา GM พร้อมออกตัวว่าการสัมภาษณ์นี้เป็นหนึ่งในไม่กี่ครั้งที่วู้ดดี้พูดแบบไม่ได้แตะเบรก และเขาออกจะกังวลใจเล็กน้อยกับอาการเบรกแตกของเขา ซึ่งอาจพาดพิงถึงบุคคลอื่นๆ จึงขอให้ทางเราระวังในเรื่องนี้ด้วย ผมรับปากว่าจะพยายามดูให้ แต่ใจหนึ่งก็คิดว่า ในฐานะบุคคลสาธารณะเช่นวู้ดดี้ที่ฝีปากกล้าขนาดนี้ คงเข้าใจในเงื่อนไขของการสัมภาษณ์และถูกสัมภาษณ์เป็นอย่างดี เพราะทั้งหมด เราต่างทำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดนั่นก็คือ ‘งาน’ ที่น่าพอใจผมเชื่อว่าวู้ดดี้ที่ผมได้คุยไปนั้น คงไม่ใช่คนคนเดียวกับคนที่เราเห็นในโทรทัศน์เสียทั้งหมด และคงเป็นการดีไม่น้อยหากคุณจะลบภาพของวู้ดดี้ที่อยู่ในจอโทรทัศน์ออกไปบ้าง ลองนึกภาพของคนคนเดียวกับที่นั่งอยู่ข้างหน้าผม ณ ตอนนี้ […]Read More
พฤษภาคม 2550 GM ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ ‘ผู้รู้แจ้งในการเดิน’ ประมวล เพ็งจันทร์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เดินเท้าจากเชียงใหม่สู่เกาะสมุย เดินโดยตั้งใจอย่างแรงกล้าว่าจะไม่ไปหาคนรู้จัก เดินด้วยเงื่อนไขว่าจะไม่ใช้เงินหนังสือ ‘เดินสู่อิสรภาพ’ เป็นหลักฐานว่าเขาทำสำเร็จแล้ว และนั่นก็เป็นคล้ายกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้ชายวัยห้าสิบเศษคนหนึ่งกลายเป็นคนของสาธารณะเราได้สัมภาษณ์พูดคุยกับเขายาวเหยียด โดยทิ้งท้ายไว้ว่าเขากำลังจะเดินทางไปอินเดีย เพื่อเคารพและทบทวนตัวเองอย่างเข้มข้นขึ้นไปอีกขั้น ในแผ่นดินที่เคยบินไปเรียนปริญญาตรี โท เอกผ่านไปสองปี เราติดต่อตามตัว ประมวล เพ็งจันทร์ อีกครั้ง เพื่อฟังเรื่องราวความคิดความรู้สึกล่าสุดเขากลับมาจากอินเดียนานแล้ว แต่ยังคงใช้เวลาใคร่ครวญวันคืนแสวงหาเหล่านั้น ก่อนจะลงมือเขียนหนังสือถ่ายทอดประสบการณ์ เขียนช้าๆ เขียนไปตามจังหวะเสียงเต้นของหัวใจ และไม่เคยเร่งรีบนอกจากผมสีดอกเลาที่ยาวขึ้นประบ่า วาจาท่าทีและดวงตาอารีของเขาไม่เปลี่ยนแปลงเลย ยังคงเป็นผู้ใหญ่ที่มีใจยินดีจะบอกเล่า แลกเปลี่ยนบทเรียนชีวิต-ชีวิตเรียบๆ ธรรมดาๆ ทว่ามันกลายเป็นความแตกต่าง กระทั่งอาจจะเรียกว่าตัวประหลาดในโลกปัจจุบันเขาหรือเราที่เป็นคนบ้าเขาหรือเราที่ไร้สาระเขาหรือเราที่จมอยู่กับความว่างเปล่าเขาหรือเราที่กำลังหลุดหลงทางลองฟัง ประมวล เพ็งจันทร์ อีกสักครั้ง… GM : ไปอินเดียแล้วเป็นยังไงบ้าง บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ไหม ประมวล : ผมอยากกลับไปอยู่ในที่ที่ผมเคยอยู่ เคยเรียนที่ไหน อยากไปที่นั่น เส้นทางจึงเริ่มต้นที่การกลับไปเยี่ยมสถาบันที่ผมเรียนปริญญาตรี แล้วพยายามทำตัวให้เหมือนประหนึ่งว่ากลับมาอีกครั้งในเงื่อนไขอารมณ์เดิมๆ ผมพยายามเลียนแบบสิ่งที่ทำเดิมๆ แม้ว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป ผมเข้าไปที่วิทยาลัย เข้าไปพบปะสัมผัสบรรยา-กาศ พยายามเข้าหอพัก […]Read More
วิกรม กรมดิษฐ์ บอก GM ว่า เขาคือ ‘ปีศาจผู้ดี’! ความหมายของคำคำนี้ คุณคงต้องค้นหาเอาเองจากบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ เราคิดว่า มันคือคำนิยาม ‘ตัวตน’ ของเขาที่ตรงไปตรงมา และตรงกับตัวจริงของเขาที่สุดบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้เกิดขึ้นในวันที่ 11 เมษายน 2552 เราอยู่กันในแวดล้อมของขุนเขาและบึงน้ำของ ‘ดงกุฎาคาร’ ใน ‘บ้าน’ หลังเล็กกลางน้ำของ วิกรม กรมดิษฐ์ ที่เขาใหญ่ในช่วงเทศกาล ‘สงกรานต์ประวัติศาสตร์’ ของเมืองไทยพอดิบพอดี ณ นาทีนั้น หลายเรื่องยังไม่มีใครล่วงรู้ และหลายเรื่องก็ยังค้างคาอยู่กับการคาดเดาบทสนทนาที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการจลาจลและบทสรุปของมัน แต่กระนั้น บางคำถามและหลายคำตอบก็ยังดู ‘ทันกาล’ อย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อเป็นคำถามคำตอบเกี่ยวกับ ‘ภาพ’ ของความขัดแย้ง และการ ‘ชำแหละ’ สังคมไทยอย่างถึงกึ๋นของ‘ปีศาจผู้ดี’ คนนี้ “คุยกับผมได้ทุกเรื่อง” เขาบอก ขณะหยิบแซนด์วิชใส่ปากเป็นอาหารเช้าง่ายๆ พร้อมกับการสนทนา 2 คืนก่อน เขาเพิ่งควบลัมบอร์กินีจากกรุงเทพฯ ‘กลับบ้าน’ มาอยู่ที่นี่ และอีกไม่กี่วันข้างหน้า ก็จะถือโอกาสพักร้อนเดินทางไปล่องเรือ จึงเป็นโอกาสดี ที่เราจะได้ซักไซ้เขาทุกเรื่อง […]Read More
ภาค 1 เท้าความถึงอดีต การมองอนาคต (Foresight) กลายเป็นอีกคำหนึ่งที่พูดถึง กันมากในสหรัฐอเมริกา ในโมงยามที่โลกเต็มไปด้วยปัญหา หลายคนเชื่อว่าการให้ความสำคัญกับอนาคตศึกษา (Futurology) น่าจะเป็นทางออกที่สวยงาม ทางหนึ่ง ที่ทำให้มนุษยชาติรอดพ้นจากวิกฤติ หน่วยงานอย่าง RAND Corporation หรือ NIC (National Intelligence Council) ของสหรัฐอเมริกาที่ทำการศึกษาวิจัยในศาสตร์ต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานของมูลสำหรับการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ การศึกษา สังคมศาสตร์ กลายเป็นหน่วยงานที่มีความหมายอย่างมากของสหรัฐอเมริกา โมเดลในการศึกษาเรื่องอนาคตในสหรัฐอเมริกาเริ่มมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1960 และกลายเป็นแบบอย่างให้อีกหลายประเทศในเอเชียนำไปใช้เพื่อการวางแผนพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และจีน ไม่รู้ว่าเพราะอนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง และศาสนาพุทธสอนให้เราอยู่กับปัจจุบันหรืออย่างไร ทำให้ประเทศไทยหาหน่วยงานที่ศึกษาวิจัยเรื่องนี้ได้น้อยมาก แม้กระทั่งผู้ที่ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังก็ดูท่าจะมีท่านผู้นี้เพียงท่านเดียว บทความพิเศษ เรื่อง ‘อนาคตศึกษาในศตวรรษที่ 21’ ที่ตีพิมพ์เป็นตอนๆ อยู่ในมติชนสุดสัปดาห์ เขียนโดย อนุช อาภาภิรม นักคิดนักเขียนอีกท่านหนึ่งที่ศึกษาเรื่องอนาคตศึกษาอย่างจริงจัง จะว่าไปแล้วอนุชอาจเปรียบได้กับ เวนเดลล์ เบลล์ (Wendell Bell เกิดเมื่อปี […]Read More
วันนี้ GM พามาพูดคุยเจาะลึกชีวิตและการทำงานของคุณวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ‘ซีอีโอหัวใจเกินร้อย’ คุณคงสงสัยว่าทำไมเราจึงเรียกท่านเช่นนั้น ลองอ่านบทสัมภาษณ์นี้จะรู้เองครับ พร้อมแล้วไปทำความรู้จักคุณวรุธให้มากยิ่งขึ้น ในเรื่องการทำงาน ผลงาน ตัวตน ความคิด ไลฟ์สไตล์ ตลอดจนวิสัยทัศน์และมุมมองที่ไม่ธรรมดาของท่านคุณวรุธสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นมินิเอ็มบีเอ รุ่น 12 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับตั้งแต่อายุ 22 ปี ท่านมุ่งมั่นเริ่มต้นเส้นทางอาชีพกับ ทีโอที (สมัยนั้นใช้ชื่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากครอบครัวและคุณพ่อที่ทำงานที่นี่อยู่แล้ว คุณวรุธเห็นว่าความรู้ความสามารถของท่านเหมาะสมกับลักษณะงานของที่นี่ ประจวบเหมาะกับสมัยนั้น ทีโอที เพิ่งเริ่มการดำเนินงานในด้านตรวจสอบบัญชีและการเงิน ชายหนุ่มผู้มุ่งมั่นจึงสนุกกับงานที่ทำ จากนั้นท่านก็ได้สั่งสมประสบการณ์ในการทำงานฝ่ายบัญชีการเงิน และฝ่ายบริหารผลประโยชน์ จนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา รวมแล้วคุณวรุธทำงานใน ทีโอที เป็นเวลายาวนานถึง 33 ปีเลยทีเดียว “ผมได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างตลอดช่วงเวลาที่ทำงานใน ทีโอที ไม่ว่าจะเป็นการทำงานที่หลากหลาย ได้เรียนรู้ระบบราชการ หลักการทำธุรกิจแบบเอกชน ได้ร่วมงานกับบุคลากรหลายประเภท ที่สำคัญคือได้เรียนรู้เทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทุกอย่างมีคุณค่ากับชีวิตผมมากครับ”เมื่อต้องทำงานร่วมกับคนที่มีลักษณะแตกต่างหลากหลาย คุณวรุธยึดหลักความตรงไปตรงมา […]Read More
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2493 ท่านบอกว่าเงินที่หามาได้ส่วนมากในชีวิต หมดไปกับค่า ‘หนังสือและแผ่นเสียง’ เป็นการยากที่จะนิยามบุรุษผู้นี้ว่าท่านคือใคร และทำอะไรมาบ้างตลอดชีวิตกว่า 80 ปี จะเรียกว่า กูรูสารพัดด้าน-อาจารย์-นักเขียน-สถาปนิก-ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์-นักจัดรายการวิทยุ-ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี-ประธานกรรมการบริษัท แต่หลังชื่อของ พิชัย วาศนาส่ง มักจะตามด้วยคำว่า ‘นักวิเคราะห์ข่าว’ อยู่เสมอ จนคำนี้กลายเป็นยี่ห้อของท่านไปเสียแล้ว ในวันที่บ้านเรามีคนเล่าข่าวเกลื่อนทั่วโทรทัศน์ บางถ้อยคำของท่านอาจทำให้คนรุ่นใหม่ต้องหยุดฟังเสียหน่อย แม้บางคนจะมองว่า ในอีกด้านความชราจะหมายถึงการพ้นสมัย แต่แน่ใจหรือว่า บุรุษผู้นี้พ้นสมัย โดยเฉพาะเมื่อมองจากมุมมองของท่าน และโปรดอย่าลืมว่า เราสามารถเรียนรู้ชีวิตทางลัดจากผู้อาวุโสได้เสมอ พิชัย วาศนาส่ง เคยเป็นผู้บรรยายสดทางโทรทัศน์ในวันที่ยานอวกาศอะพอลโล 11 ไปถึงดวงจันทร์ นอกจากนี้ ท่านยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ออกรายการโทรทัศน์นานที่สุดตั้งแต่ยุคช่อง 4 บางขุนพรหมจนถึงยุคปัจจุบัน เคยถูกคุมขังที่เรือนจำบางขวาง เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าร่วมกบฏ 26 มีนาคม 2520 ที่นำโดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ ระหว่างที่ถูกจองจำก็แปลหนังสือชื่อ ‘ตำราพิชัยสงครามของซุนวู’ แม้จะหันมาสนใจเรื่องเบาๆ อย่าง การทำอาหาร ท่านก็รู้ลึกซึ้งจนถึงขั้นวิเคราะห์รากของวัฒนธรรมการกินทั่วโลกได้อย่างถึงพริกถึงขิง เป็นนักเขียนที่เขียนหนังสือไว้มากมายชนิดที่เจ้าตัวเองก็จำได้ไม่หมด และอาชีพดั้งเดิมอย่างสถาปนิก ท่านก็เคยเป็นถึงนายกสมาคมสถาปนิกสยามแห่งประเทศไทยมาแล้ว […]Read More
ต้องยอมรับว่า สังคมไทยถูกมองว่าเป็นสังคม ‘ไสย-ใส’ คือทั้งซื่อใสและคิดแบบคุณไสยไปด้วยในตัว ความซื่อใสเป็นคุณสมบัติที่ดี และที่จริง คุณไสยก็ไม่เลวนัก ถ้าเราจะทำความรู้จักมันอย่างถ่องแท้ ปัญหาก็คือ เรามักจะเข้าหา ‘ไสย’ อย่าง ‘ใสๆ’ ไม่รู้เท่าทัน แล้วในที่สุด เราก็มักหลงใหลอย่างใสซื่อ ซึ่งเป็นความหลงใหลชนิดพันธุ์ที่ทั้งน่ารักและน่ากลัว น่ารักเพราะเป็นความหลงที่บริสุทธิ์ และน่าพรั่นกลัวด้วยความบริสุทธิ์เดียวกันในโลกที่การตลาดเป็นธงนำ สิ่งที่ทำให้เราหลงใหลได้เช่นเดียวกับ ‘ไสย’ มีความหมายกว้างขวาง ซับซ้อน และแนบเนียนมากขึ้น เราถูกหลอกอยู่ทุกวี่วัน ไม่ใช่ด้วยผีหรือหมอผี แต่ด้วยความคิดและกระแสที่มองไม่เห็น มันพุ่งผ่านอายตนะเข้ามากระทบภายในของเราตลอดเวลาด้วยยุทธวิธีต่างๆ ไม่ใช่เพียงเพื่อล้วงเอาเงินในกระเป๋าของเราเท่านั้น แต่ยังล้วงเอาความคิด ความเชื่อ ศรัทธา ปัญญา ออกไปจากสมองของเรา เหลือทิ้งความคิดผิดเพี้ยนไว้ (ไม่ว่าจะอยู่ในนามของมายาคติหรือมิจฉาทิฐิ) ให้เป็นสมบัติ ถ้าเราอ่อนแอ เราก็จะเชื่อง่าย แล้วเราก็หลงคำถามก็คือ แล้วเราจะทำอย่างไรดี ปลายปีอย่างนี้ GM เลือกคุยกับคนที่ (ถูก) ขนานนามว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ เขาไม่ใช่คนเคร่งขรึมเดินลูบหนวดเคราอยู่ในมหาวิทยาลัย แต่เป็นผู้ชายอารมณ์ดีที่ร่ำเรียนมาด้านวัสดุศาสตร์จนจบปริญญาเอกจาก Georgia Institute of Technology และทำงานให้กับ MTEC (National […]Read More
ในโลกสองใบของนักเขียนเอ่ยชื่อ อนุสรณ์ ติปยานนท์ หนอนหนังสือหลายคนคงรู้จักดีในฐานะนักเขียนฝีมือดีที่มีลีลาและสำนวนการเขียนอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยชุดอักษรที่เต็มไปด้วยความลึกลับวูบไหว แฝงอารมณ์เปลี่ยวเหงาท่ามกลางบริบทรอบตัวอันแปลกแยก ที่ปรากฏในงานเขียนชิ้นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนวนิยาย ‘ลอนดอนกับความลับในรอยจูบ’ และ ‘8 1/2 ริกเตอร์ การตามหาหัวใจที่สาบสูญ’ หรือ รวมเรื่องสั้น ‘H2O ปรากฏการณ์แตกตัวของน้ำบนแผ่นกระดาษ’ ที่นอกจากจะทำให้อนุสรณ์มีแฟนนักอ่านเหนียวแน่นจำนวนหนึ่งแล้ว งานเขียนของเขายังได้รับการยกย่องและชื่นชมว่ามีความใกล้เคียงกับงานเขียนของ ฮารูกิ มุราคามิ (Haruki Murakami) นักเขียนชาวญี่ปุ่นที่มีแฟนนักอ่านให้การติดตามทั่วโลกถึงขนาดที่เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘มุราคามิเมืองไทย’ เลยทีเดียว ล่าสุด ‘เคหวัตถุ’ (Household Objects) รวมเรื่องสั้นเล่มที่สองที่หยิบจับข้าวของเครื่องใช้ในบ้านมาเล่าเรื่องของเขา ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลซีไรต์ประจำปี 2551 แม้จะพลาดรางวัลไป แต่ดูเหมือนในบรรดารายชื่อรวมเรื่องสั้นที่เข้าชิงด้วยกัน ‘เคหวัตถุ’ ของอนุสรณ์นั้นมีความแปลกใหม่และท้าทายผู้อ่านมากที่สุด GM จึงสนใจใคร่พูดคุยกับนักเขียนหนุ่มคนนี้ คนที่เราเห็นว่ายืนนำอยู่หน้ากระแส ลุ่มลึก ครุ่นคิด มีวิถีชีวิตแบบคนเมือง และถือเป็นผู้ชายแบบ GM คนหนึ่งโดยแท้ที่สำคัญ งานเขียนของอนุสรณ์ยังชนะใจนักอ่านหลายๆ คน บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อสะท้อนความคิดของนักเขียนที่น่าจับตามองที่สุดอีกคนหนึ่งของประเทศนี้ออกมาให้ผู้อ่านได้รับรู้กันในฐานะที่นักเขียนเป็นคนเพียงไม่กี่กลุ่มที่เดินทางสลับไปมาระหว่างโลกภายในและโลกภายนอก โลกที่คิดเห็นกับโลกที่เป็นอยู่จริง-ซึ่งบางที,นักเขียนเองก็อาจแยกมันไม่ออกแล้วอะไรเล่า คือสิ่งที่นักเขียนอย่างอนุสรณ์พบเจอตลอดการเดินทางนี้ ! อนุสรณ์ ติปยานนท์ […]Read More
จากคำว่า ‘ซับไพรม์’ มาถึงคำว่า ‘วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์’ จากการล้มของเลห์แมน-สถาบันการเงินระดับยักษ์อันดับ 4 ของอเมริกา ดูเหมือนโลกเศรษฐกิจกำลังพังทลาย ! คำถามก็คือ วิกฤติที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา จะลุกลามเป็นโดมิโนมาถึงเมืองไทย มาถึงตัวเราหรือเปล่า โดยเฉพาะในยุคที่ข่าวสารข้อมูลแพร่หลายรวดเร็วเหมือนไฟลามทุ่ง และธุรกรรมทางการเงินก็พันพัวกันซับซ้อนเหมือนฝูงงูผสมพันธุ์ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองบอกเราว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่น่าจะกระทบกระเทือนเมืองไทย แต่ดูหน้าตาและเครดิตในอดีตของคณะรัฐมนตรีหลายคนแล้ว ผู้ฟังยังปลงใจให้เชื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ยินผ่านหูไม่ได้ด้วยเหตุนี้ บ่ายวันที่ 25 กันยายน 2551 GM จึงอยากชวนคุณไปจับเข่าคุยกับ บัญชา ชุมชัยเวทย์ คนหนุ่มที่ ‘คลุก’ อยู่กับข้อมูลข่าวสารในเรื่องเศรษฐกิจ ทั้งในระดับชาติและระดับโลก ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค นาทีนี้ต้องถือว่าเขาเป็นคนหนุ่มในสายงานนี้ ที่ถ่ายทอดความรู้และข้อมูลออกมาได้ชัดเจน ตรงเป้า เคลียร์ และเข้าใจง่ายที่สุดคนหนึ่ง แม้เขาจะทำงานมากมายตลอดวัน 7 วัน ใน 1 สัปดาห์ แต่ GM ก็หาโอกาสบุกเข้าไปถึงห้องส่ง เพื่อนั่งถกกับเขาเนื้อๆ เน้นๆ ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นที่อีกซีกโลกหนึ่ง ทำความเข้าใจกับมันด้วยการ ‘แลไปข้างหลัง’ พร้อมกับขอให้เขา ‘มองไปข้างหน้า’ เพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง และสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด จะเกี่ยวพันกับตัวเราในเมืองไทยอย่างไรบางคำตอบฟังแล้วบรรเทาใจลงได้บ้างแต่เชื่อไหม, […]Read More