การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ ปี 2560 – 2562 ที่ผ่านมา ได้เตรียมความพร้อมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจการเงินของไทยให้สามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะข้างหน้า ธปท. ตระหนักดีว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นและตลาดเงินตลาดทุนโลกจะผันผวนมากขึ้น จึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีคิดสำหรับแผนยุทธศาสตร์ ธปท. ฉบับใหม่ (ปี 2563 – 2565) โดยนำความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะต้องเผชิญในอนาคตเป็นตัวตั้งและจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งตอบโจทย์ความท้าทายเหล่านั้น BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณสุทิวัส หงส์พูนพิพัฒน์ สำนักข่าวไทย อสมท. มาร่วมพูดคุยกับ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. ถึงผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ ธปท. ปี 2560 – 2562 และทิศทางของแผนยุทธศาสตร์ ธปท. ฉบับใหม่ ที่จะมุ่งรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศภายใต้ความท้าทายสำคัญ 7 ประการ ก้าวที่ผ่านมาของ ธปท.คุณสุทิวัส : ก่อนจะคุยกันถึงแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี ฉบับใหม่ของ ธปท. ขอให้ท่านผู้ว่าการช่วยเล่าถึงผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ […]Read More
เรื่อง : ณัฐพล ศรีเมือง / ภาพ : อนุวัตน์ เดชธำรงวัฒน์ แม้จะยังประสบความสำเร็จ แม้จะยังทำกำไรมหาศาล แต่ในยุค Digital Disruption แบบนี้ สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS รู้ดีว่าถ้าไม่รีบลุกขึ้นมา Transform ตัวเอง แม้เป็นเบอร์หนึ่งก็อาจล้มหายตายจากได้ ตัวอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกที่ผ่านๆ มาก็มีให้เห็นเยอะแยะ ดังนั้น AIS ซึ่งในตอนนี้กำลังอยู่ในวาระฉลองครบรอบ 29 ปี ก้าวเข้าสู่ปีที่ 30 จึงเป็นการเดินหน้าเข้าสู่ยุคใหม่ขององค์กรอย่างแท้จริง เมื่อธุรกิจโทรคมนาคมอาจไม่ยั่งยืนในระยะยาว AIS จึงมุ่งไปสู่การเป็น Digital Service Provider สร้างแพลตฟอร์มที่จะให้บริการดิจิทัลต่างๆ พร้อมกับมีธุรกิจใหม่อย่าง แพลตฟอร์มโฆษณา ประกัน และสินเชื่อรายย่อย ถือเป็นภารกิจที่ใหญ่มากของสมชัย ซึ่งไต่เต้าจากพนักงานธรรมดาเมื่อ 20 กว่าปีก่อน ขึ้นมาดำรงตำแหน่งซีอีโอของบริษัทได้ 5 ปี เข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว ก่อนที่เมื่อถึงเวลาเหมาะสม […]Read More
เรื่อง : สุธามาส ทวินันท์ / ภาพ : ดำรงฤทธิ์ สถิตดำรงธรรม หากการศึกษาเป็นแหล่งบ่มเพาะต้นกล้าทางปัญญา การศึกษาไทยก็คงเป็นโรงบ่มที่ขาดปัญญาในการบำรุงให้กล้าเหล่านั้นเติบโตไปเป็นต้นไม้ที่แข็งแรง สามารถต้านลม พายุ และฝน อันโหมกระหน่ำได้ เด็กไทยไม่รู้กี่ล้านคนที่ต้องติดอยู่บนกับดักของระบบการศึกษาไทยที่ไม่ต่างจากหลายสิบปีก่อน การศึกษาเรายังคงขาดความเท่าเทียม การศึกษาเรายังไร้ประสิทธิภาพ และการศึกษาเรายังนำไปปรับใช้ไม่ได้ในโลกของความเป็นจริง แต่ความเจ็บปวดของคนที่ติดอยู่ในระบบ อาจจะไม่มากเท่าคนที่สามารถพาตัวเองออกมาจากจุดนั้นได้แล้ว เพราะไม่รู้จะเรียกสิ่งนั้นว่าเป็นความโชคดี หรือเป็นความทรมาณที่ต้องทนเห็นเพื่อนร่วมชะตากรรมติดกับอยู่ระบบการศึกษาที่ฆ่าพวกเขาให้ตายไปอย่างช้าๆ เหมือนกับหนูที่โดนวางยาบนก้อนเค้กชิ้นโต ‘เติ้ล-ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน’ บรรณาธิการและผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ SPACETH.CO ที่เล่าเรื่องอวกาศและวิทยาศาสตร์อันเข้าใจยากให้กลายเป็นเรื่องเข้าใจง่ายฉบับข้อมูลแน่นปึ้ก แต่แฝงไปด้วยความยียวนชวนขบคิด แม้โลกการทำงานของเขาจะเริ่มตั้งแต่มัธยมและเว็บไซต์ที่ปลุกปั้นมาก็ไปได้สวย แต่เขาเองก็เป็นหนึ่งในเด็กไทยหลายล้านคนที่ถูกการศึกษาฆ่า และก็เป็นไม่มีกี่คนที่สามารถหลุดพ้นออกจากวังวันนั้นได้ วันนี้เราจึงไม่ได้อยากชวนเขามาคุยเรื่องอวกาศหรือวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการนั่งคุยกับเขาในฐานะเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งที่ถูกระบบการเรียนการสอนในไทยทำร้ายเขา ก่อนที่เขาจะตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยถึงสองหน และเลือกเดินเส้นทางใหม่ที่เขาเชื่อ โดยไม่ทอดทิ้งคนที่ยังอยู่ไว้ข้างหลัง ทำไมถึงตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยถึงสองครั้ง ในตอนนั้นเจอปัญหาอะไรหรือสิ่งไหนที่ไม่ตอบโจทย์ตัวเอง เติ้ล : ต้องเล่าย้อนกลับไปก่อนว่าตอน ม.6 เทอม 1 ตอนนั้นยังไม่มีที่เรียน ไม่รู้ว่าตัวเองจะไปเรียนที่ไหน แต่คิดว่าตัวเองเป็นสายเขียนโปรแกรม ก็เลยคิดว่าจะไปที่ Computer Science จุฬาฯ แต่ปรากฏว่าคะเเนนตัวเองไม่น่าจะถึง เพราะคะเเนนค่อนข้างสูงพอสมควร เพื่อนก็เลยเเนะนำว่าให้มาลงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งที่นี่เขามีโปรเเกรมที่ชื่อว่า […]Read More
เรื่อง : สุธามาส ทวินันท์ / ภาพ : ดำรงฤทธิ์ สถิตดำรงธรรม แม้กระแสตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ดูเหมือนว่าปีนี้การพยายามลดปริมาณขยะพลาสติกในชีวิตประจำวันให้เป็นศูนย์ หรือ Zero Waste นั้น ดูจะเป็นเทรนด์รักษ์โลกที่ทุกภาคส่วนในบ้านเรากระตือรือร้นเป็นพิเศษ เมื่อความต้องการบริโภคสินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้น บรรดาแบรนด์เล็ก แบรนด์ใหญ่ต่างก็พยายามปั้นสินค้ารักษ์โลก และติดป้ายคำว่า ‘Green’ ออกมาเพื่อดึงเม็ดเงินจากคนที่ยอมควักกระเป๋าจ่ายบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าสามารถ ‘เซฟโลก ’ได้ แต่บางครั้งเมื่อความกรีนกลายเป็นแฟชั่น การผลิตที่สูงกับการซื้อที่ไม่หยุดนิ่งก็ไม่ได้มีส่วนช่วยเหลือสังคมและโลกผ่านการบริโภคหรือใช้สินค้าอย่างที่เราเข้าใจ ‘กิ๊ก-กรณิศ ตันอังสนากุล’ นักวิจัยด้านธุรกิจยั่งยืน และผู้ก่อตั้งเพจ ReReef เพื่อให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเล หลังจากมีข้อมูลออกมาว่าไทยติดอันดับ 6 ของโลกที่ปล่อยขยะสู่ทะเลมากที่สุด แต่การให้ความรู้อย่างเดียวโดยขาดการลงมือทำย่อมไม่เกิดผลอะไร เธอจึงนำความรู้ที่ได้จากการเรียนด้านเศรษฐศาสตร์และการจัดการสิ่งแวดล้อมจากประเทศสวีเดนมาออกแบบผลิตภัณฑ์ยั่งยืนภายใต้แบรนด์ ReReef ที่มีสินค้าตั้งแต่ ครีมกันแดดเป็นมิตรต่อปะการัง, แปรงสีฟันด้ามไม้ไผ่, หลอดซิลิโคลน, ถุงซิลิโคลนใส่อาหาร ฯลฯ พร้อมผลักดันโครงการลดพลาสติกใช้แล้วทิ้งอีกหลายโครงการ แต่ในฐานะผู้ผลิตที่ควบตำแหน่งนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เธอเองก็อดกังวลไม่ได้ ในเรื่องการใช้สินค้ากรีนบนพื้นฐานของความเข้าใจผิด โดยเฉพาะเมื่อความกรีนถูกขับเคลื่อนด้วยแฟชั่น แล้วสินค้าแบบไหนที่ยั่งยืนจริงไม่ใช่แค่การตลาด หรือความเข้าใจผิดอะไรที่เราคิดว่าช่วยโลกแต่ก็ยังทำร้ายมันอยู่ดี ตอนช่วงที่ตั้งเพจ ReReef แรกๆ การผลักดันในด้านสิ่งแวดล้อม เป็นอย่างไรบ้างเมื่อมันไม่ได้เป็นเทรนด์อย่างทุกวันนี้ กิ๊ก : ตอนแรกที่เราตั้งเพจ ReReefขึ้นมาก็เพื่อจะสื่อสาร ปัญหาที่เกิดกับทะเล […]Read More
ByGM Live Editor บรูน่า ซิลวา ไม่ใช่ลูกครึ่ง แต่เป็นสาวบราซิลเลียนแท้ๆ เกิดและโตที่บราซิล เรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง ออกจากบ้านมาเผชิญโลกตั้งแต่อายุ 15 ด้วยการเป็นนางแบบในเอเชีย สุดท้ายชอบและตัดสินใจอยู่ประเทศไทย อยู่ไปอยู่มาเรียนภาษาไทยจนพูดได้คล่องเหมือนคนไทย นอกจากนี้ยังศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างลึกซึ้ง ปัจจุบันนอกจากเป็นนางแบบโฆษณา ยังทำโปรดักชันทีวี เป็นหุ้นส่วนในบริษัททำแอปพลิเคชัน และตอนนี้ก็กำลังเริ่มต้นสื่อสารกับคนไทยผ่านการทำแชนเนล ‘สาวบราซิลรักไทย’ ในยูทูบ เพื่อแชร์ประสบการณ์ของการเผชิญโลก และหวังว่าจะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้ใครก็ตามที่อยากออกตามหาความฝันเหมือนเธอ 1 ความมุ่งมั่นของเด็กผู้หญิงคนนั้น คุณพ่อของบรูน่าเป็นทหารอากาศ เธอเลยได้ย้ายไปอยู่หลายเมืองในบราซิล เธอมีความอยากเหมือนพ่อ พ่อเจ๋งมาก เวลาไปทำงานสักที่ เขาจะลุย เป็นคนชอบ Explore เธออยากเป็นบ้าง อยากไปต่างประเทศ อยากเรียนภาษาอื่นๆ บรูน่าเกิดที่เมือง Sao Jose dos Campos ห่างจากเซาเปาโลสองชั่วโมง แต่จริงๆ แล้วคุณพ่อคุณแม่่ของบรูน่าเป็นชาว Lorena เมืองเล็กๆ ในต่างจังหวัด“คุณพ่อสู้ชีวิต เกิดมาลำบาก อยากเป็นทหารอากาศเพราะมีอาหารให้กินเยอะ เลยสมัครเข้าไป สอบติดเป็นทหารถึงทุกวันนี้ คุณพ่อไม่ชอบโลเรน่ามาก ตอนที่คุณแม่จะคลอด เขาก็ไม่ยอมให้เกิดที่นั่น เลยขับรถไปที่ Sao […]Read More
เรื่อง : ณัฐกร เวียงอินทร์ / ภาพ : พิชญุตม์ คชารักษ์ “การอ่านทำคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์” (Reading Maketh a Full Man) วาทะของ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน นักคิดชาวอังกฤษ ที่จารึกไว้อย่างชัดเจนที่ห้องสมุดที่มีชื่อเสียงของโลก – หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน The peripheral device triggers a computer system to add function. Examples without any doubt are a rabbit, keyboard place, monitor, pic printer as well as shield. Critical Running Component which often exam what to […]Read More
เรื่อง : สุธามาส ทวินันท์ / ภาพ : ดำรงค์ฤทธิ์ สถิตดำรงธรรม ในเศรษฐกิจแบบนี้หลายคนกังวลว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะ ‘รุ่ง’ หรือ ‘ร่วง’ เพราะการแข่งขันสูงและคนมีกำลังซื้อน้อยลง แต่ดูเหมือนว่าอสังหาริมทรัพย์ระดับ Luxury ของ บริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) หรือ NVD กลับทำรายได้เติบโตสวนกระแสความกังวลเหล่านั้นด้วยการพลิกโฉมโมเดลการอยู่อาศัยแบบ ‘Living Revolution’ เนอวานา ไดอิ โดดเด่นจากการเป็นผู้นำด้านการออกแบบบ้านสไตล์ Natural Modern ที่แม้เวลาจะล่วงเลยไปเป็นสิบปี บ้านก็ยังสวยหรู โดยมีกระบวนการที่ผ่านการตกผลึกทางความคิดของ ‘ศรศักดิ์ สมวัฒนา’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ จากแต่ก่อนที่กำลังไปได้สวยในสถาบันการเงินระดับประเทศ เขากลับท้าทายความสามารถของตัวเองด้วยการวิ่งตามความฝันบนเส้นทางอสังหาริมทรัพย์ จนประสบความสำเร็จ อะไรทำให้การตัดสินใจของ ศรศักดิ์ ในครั้งนั้นไม่เพียงแค่พลิกโฉมชีวิตส่วนตัว แต่ยังพลิกโฉมการอยู่อาศัยในไทยให้เป็นมากกว่าความต้องการขั้นพื้นฐาน GM ไม่เพียงต้องการหาคำตอบว่า การสร้างอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์นามว่า เนอวานา ไดอิ ให้ขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ ของวงการนี้ ศรศักดิ์ทำได้อย่างไร […]Read More
‘ชนินทร์ ชมะโชติ’ ซีอีโอบริษัท Documania ผู้ผลิตงานสารคดีมานานกว่า 35 ปี เกี่ยวกับสารคดีชุดล่าสุด ‘ตามรอยพระพุทธเจ้า 2 ไตรปิฎกคำสอนมีชีวิต’ ที่จะพาเราไปเปิดโลกของศาสนาพุทธใน 15 ประเทศ พร้อมชวนตั้งคำถามกับตัวเองว่า เรารู้จักศาสนาพุทธดีแค่ไหน? Reasons to Read สมัยหนึ่งพระเจ้าอโศกมาปกครองแคว้นมคธ เป็นยุคที่ศาสนาพุทธแพร่กระจายไปทั่วชมพูทวีป ความอยากรู้ว่าพระเจ้าอโศกเผยแผ่ศาสนาพุทธไป 9 สายนั้นไปไหนและเป็นอย่างไรบ้าง เป็นจุดเริ่มต้นของสารคดี ‘ตามรอยพระพุทธเจ้า 2 ไตรปิฎกคำสอนมีชีวิต’ บทสัมภาษณ์ ‘ชนินทร์ ชมะโชติ’ ซีอีโอบริษัท Documania ผู้ผลิตงานสารคดีมานานกว่า 35 ปี เกี่ยวกับสารคดีชุดล่าสุด ‘ตามรอยพระพุทธเจ้า 2 ไตรปิฎกคำสอนมีชีวิต’ ที่จะพาเราไปเปิดโลกของศาสนาพุทธใน 15 ประเทศ พร้อมชวนตั้งคำถามกับตัวเองว่า เรารู้จักศาสนาพุทธดีแค่ไหน? คุณเข้าวัดเพื่ออะไร? เชื่อว่าการเข้าวัดของคนไทยจำนวนไม่น้อยถูกผูกติดเข้ากับการทำบุญ และที่เราทำบุญไปก็เพื่อหวังความเป็นสิริมงคล หวังว่าชีวิตจะดีขึ้นจากการทำบุญ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่ออย่างแรงกล้าที่เรามีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จับต้องไม่ได้และขัดกับแก่นแท้ของศาสนาพุทธ GM Live ได้พูดคุยกับ ‘ชนินทร์ ชมะโชติ’ CEO บริษัท Documania ผู้ผลิตงานสารคดีมานานกว่า 35 […]Read More
อุตสาหกรรมสิ่งทอปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 1,200 ล้านตันต่อปี มีการใช้สารเคมีกว่า 2,000 ชนิด และใช้น้ำมากถึง 1-2 หมื่นลิตร เพื่อให้ได้มาซึ่งฝ้าย 1 กิโลกรัมที่สามารถนำไปผลิตเสื้อได้ประมาณ 5 ตัว Reason to Read อุตสาหกรรมสิ่งทอปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 1,200 ล้านตันต่อปี มีการใช้สารเคมีกว่า 2,000 ชนิด และใช้น้ำมากถึง 1-2 หมื่นลิตร เพื่อให้ได้มาซึ่งฝ้าย 1 กิโลกรัมที่สามารถนำไปผลิตเสื้อได้ประมาณ 5 ตัว ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา โลกของเรามีการบริโภคเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นถึง 400% หรือมีการซื้อเสื้อผ้าประมาณ 80-100 พันล้านชิ้นต่อปีในปัจจุบัน ทั้งที่ประชากรโลกมีจำนวน 7.7 พันล้านคนเท่านั้น และนอกจากการผลิตที่เพิ่มขึ้นจนสร้างผลกระทบ อีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนไม่เคยรู้ก็คือ การผลิตผ้าในแต่ละครั้งเป็นการเพิ่มปริมาณ ‘ขยะอุตสาหกรรม’ หรือเกิด ‘ผ้าเหลือ’ ที่จะไม่ถูกนำไปใช้งาน ซึ่งผ้าเหล่านั้นไม่ใช่ ‘ขยะ’ หรือเศษผ้าอย่างที่หลายคนเข้าใจเลย ในทางตรงกันข้าม ผ้าเหลือเหล่านั้นกลับช่วยเราแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้มากกว่าที่คิด ด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ […]Read More
ท่ามกลางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด เทคโนโลยีทางการเงิน หรือ ฟินเทค (FinTech) ได้เปลี่ยนโลกการเงินและเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา ช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา มีการพูดถึง “ฟินเทค” ในหลากหลายมิติ ทั้งในมิติของประโยชน์ที่มีต่อผู้ใช้บริการทางการเงินและประเทศโดยรวม และในมิติของผลกระทบต่อภาคการเงินการธนาคาร (Disruption) BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับนี้ ได้รับเกียรติจากคุณทิน โชคกมลกิจ พิธีกรและผู้ประกาศข่าวชื่อดังจากสำนักข่าว TNN ช่อง 16 มาร่วมพูดคุยกับ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. เกี่ยวกับพัฒนาการฟินเทคในประเทศไทย การใช้ประโยชน์จากฟินเทคเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย รวมทั้งคำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันจากความเสี่ยงของฟินเทคที่อาจเกิดขึ้น “พัฒนาการของฟินเทค” ส่งผลกระทบต่อทุกคนคุณทิน : “ฟินเทค” หลายคนได้ยินคำนี้บ่อย ๆ แต่อยากให้ท่านผู้ว่าการช่วยอธิบายว่า ฟินเทคมีผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างไร ทำไมประชาชนคนธรรมดาจึงต้องสนใจฟินเทค ดร.วิรไท : ถ้ามองให้ไกลกว่าคำว่า “ฟินเทค” จะเห็นว่าเราอยู่ในช่วงที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งพัฒนาการของเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของพวกเราทุกคน ในหลายอุตสาหกรรมถูกกระทบอย่างรุนแรง (Disruption) แต่ก็เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ด้วย ภาคการเงินได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการทางการเงิน […]Read More