หลุมดำนี้อยู่ห่างจากโลกไป 500 ล้านล้านล้านกิโลเมตร ถูกจับภาพได้โดย Event Horizon Telescope (EHT) ซึ่งเป็นเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ 8 แห่งทั่วโลก Reasons to Read หลุมดำนี้อยู่ห่างจากโลกไป 500 ล้านล้านล้านกิโลเมตร ถูกจับภาพได้โดย Event Horizon Telescope (EHT) ซึ่งเป็นเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ 8 แห่งทั่วโลก มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 6.5 พันล้านเท่า และเป็นหนึ่งในหลุมดำที่หนักที่สุดที่เราคิดว่ามีอยู่ นักดาราศาสตร์ได้ถ่ายรูปหลุมดำในกาแล็กซีอันไกลโพ้นสำเร็จเป็นครั้งแรก โดยหลุมดำที่ว่านี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 หมื่นล้านกิโลเมตร (ใหญ่กว่าโลก 3 ล้านเท่า) โดยนักวิทยาศาสตร์ขนานนามว่ามันคือ ‘อสูรกาย’ การค้นพบหลุมดำครั้งนี้ถูกเปิดเผยในวารสาร Astrophysical Journal Letters เมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ผ่านมา รายละเอียดระบุว่า หลุมดำนี้อยู่ห่างจากโลกไป 500 ล้านล้านล้านกิโลเมตร ถูกจับภาพได้โดย Event Horizon Telescope (EHT) […]Read More
บทลงโทษที่เพิ่มขึ้นมานี้ ยังรวมถึงการตัดมือและเท้าของผู้ที่ลักขโมย ซึ่งจะทำให้บรูไนเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีบทลงโทษทางศาสนาอิสลามในระดับชาติ Reasons to Read บทลงโทษที่เพิ่มขึ้นมานี้ ยังรวมถึงการตัดมือและเท้าของผู้ที่ลักขโมย ซึ่งจะทำให้บรูไนเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีบทลงโทษทางศาสนาอิสลามในระดับชาติ กลุ่มชาว LGBT ในบรูไนมีความตื่นกลัวและต้องการออกไปจากประเทศ ซึ่งเว็บไซต์ The Guardian รายงานว่า มีชาว LGBT หลายคนออกจากประเทศไปแล้วเพื่อหาที่ลี้ภัยในประเทศอื่นๆ เช่น แคนาดา สหประชาชาติระบุว่า กฎหมายดังกล่าว ‘โหดร้ายและไร้มนุษยธรรม’ และมีบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคนได้ออกมาร่วมประณามกฎหมายนี้ สุลต่านยังได้เรียกร้องให้คำสอนอิสลามในประเทศมีความ ‘เข้มแข็งขึ้น’ พร้อมกล่าวว่าบรูไนนั้น ‘ยุติธรรมและมีสงบสุข’ นับเป็นข่าวที่สร้างความตื่นกลัวให้กับกลุ่มชาว LGBT ในประเทศบรูไน ที่ปกครองโดยสุลต่าน ‘ฮัสซานัล โบลเกียห์’ ผู้ทรงอำนาจ หลังจากประเทศได้ขับเคลื่อนไปสู่การบังคับใช้กฎหมายอิสลามอย่างเข้มงวด โดยเพิ่มโทษประหารคนที่ทำผิดประเวณี (การคบชู้ นอกใจ) และการมีเพศสัมพันธ์กับคนเพศเดียวกันด้วยการ ‘ปาหิน’ และกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา บทลงโทษที่เพิ่มขึ้นมานี้ ยังรวมถึงการตัดมือและเท้าของผู้ที่ลักขโมย ซึ่งจะทำให้บรูไนเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีบทลงโทษทางศาสนาอิสลามในระดับชาติ เช่นเดียวกับประเทศส่วนใหญ่ในตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดีอาระเบีย ประมวลกฎหมายอาญาฉบับนี้ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี 2556 แต่ใช้เวลาหลายปีกว่าจะประกาศเป็นกฎหมาย เนื่องจากเกิดความล่าช้าจากการถกเถียงกันหลังจากถูกคัดค้านจากนานาชาติ […]Read More
ในเมืองไทย เหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วประเทศครั้งประวัติศาสตร์เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2521 กินเวลา 9 ชั่วโมง 20 นาที เนื่องจากโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ซึ่งเป็นกำลังผลิตสำคัญเกิดขัดข้อง Reasons To Read ในเมืองไทย เหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วประเทศครั้งประวัติศาสตร์เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2521 กินเวลา 9 ชั่วโมง 20 นาที เนื่องจากโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ซึ่งเป็นกำลังผลิตสำคัญเกิดขัดข้อง แต่ทั้งหมดที่ประสบภัยจากไฟฟ้าดับไม่มีที่ไหนเกิดวิกฤตรุนแรงเท่าในเวเนซุเอลา ที่ผู้คนต้องใช้ชีวิตอยู่โดยปราศจากไฟฟ้านานหลายวัน ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ความเชื่อมั่น และเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ซึ่งในอนาคตหากเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น เราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร จะเป็นอย่างไร ถ้าหากว่าเราต้องนั่งอยู่ในความมืด อากาศร้อนหรือหนาว มีของเน่าเสียในตู้เย็น อุปกรณ์สื่อสารใช้การไม่ได้ เหตุการณ์เหล่านี้เพิ่งเกิดขึ้นจริงเมื่อเร็วๆ นี้ในเวเนซุเอลา ประเทศที่กำลังประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจ และประชาชนประสบกับความลำเค็ญในชีวิต ช่วงกลางสัปดาห์เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเวเนซุเอลาเป็นเวลานานร่วมอาทิตย์ ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งต้องประสบภาวะโกลาหล เนื่องจากสถานพยาบาลหลายแห่งไม่มีเครื่องปั่นไฟ ตามรายงานขององค์กรอิสระระบุว่า เป็นเหตุให้มีผู้ป่วยที่กำลังฟอกเลือดต้องเสียชีวิตถึง 15 ราย การต้องใช้ชีวิตโดยปราศจากไฟฟ้านานนับสัปดาห์ สำหรับประเทศส่วนใหญ่ในโลกตะวันตก หรือแม้แต่ในประเทศไทยเอง ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่จินตนาการได้ยาก […]Read More
รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้นาซ่ายกระดับกลวิธีและพานักบินอวกาศขึ้นสู่ดวงจันทร์ภายใน 5 ปี ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม Reasons to read รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้นาซ่ายกระดับกลวิธีและพานักบินอวกาศขึ้นสู่ดวงจันทร์ภายใน 5 ปี ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ถ้าจรวดเชิงพาณิชย์เป็นวิธีเดียวที่จะนำนักบินอวกาศชาวอเมริกันไปยังดวงจันทร์ในอีก 5 ปีข้างหน้าได้ก็จะใช้จรวดเชิงพาณิชย์ ฤดูร้อนที่จะถึงนี้จะครบรอบ 50 ปีของการลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรกของยานอวกาศบรรจุคน ที่นำโดย นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) และ บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) นักบินอวกาศประจำยานอะพอลโล 11 เมื่อปี พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นโครงการอพอลโลที่มีเป้าหมายสำคัญคือนำมนุษย์ลงไปสำรวจดวงจันทร์ก็สามารถลงจอดที่ดวงจันทร์ได้อีกหลายครั้ง ซึ่งครั้งสุดท้ายคือภารกิจ ‘อะพอลโล 17’ ที่พานักบินอวกาศขึ้นไปบนดวงจันทร์เมื่อปี พ.ศ. 2515 และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีประเทศไหนที่ส่งมนุษย์กลับขึ้นไปบนดวงจันทร์ได้อีก โอกาสนี้ สภาอวกาศแห่งชาติ นำโดย ไมค์ เพนซ์ (Mike Pence) รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้จัดประชุมครั้งที่ 5 เมื่อวันอังคารที่ 26 มีนาคม […]Read More
การเดินทางจากนิวยอร์กไปยังเซี่ยงไฮ้ ขณะนี้ใช้เวลา 15 ชั่วโมง แต่อาจเป็นไปได้ในเวลาเพียง 39 นาทีโดยการขนส่งจรวด! Reasons to Read การเดินทางจากนิวยอร์กไปยังเซี่ยงไฮ้ ขณะนี้ใช้เวลา 15 ชั่วโมง แต่อาจเป็นไปได้ในเวลาเพียง 39 นาทีโดยการขนส่งจรวด! จากการสำรวจของ UBS เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ผู้คนมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์จะเลือกยานอวกาศมากกว่าเครื่องบินสำหรับการเดินทางระยะไกล การท่องเที่ยวอวกาศจะกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น และอาจเป็นก้าวย่างสำคัญสำหรับการพัฒนาการเดินทางระยะไกลบนโลก เว็บไซต์ CNBC รายงานว่า UBS บริษัทผู้ให้บริการทางการเงินในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก เชื่อว่าจะมีการขยายสาขาธุรกิจที่ทำกำไรมหาศาลจากธุรกิจการบินอวกาศที่ปัจจุบันครองตลาดโดย 3 บริษัทคือ Virgin Galactic, SpaceX และ Blue Origin รายงานความยาวหลายหน้ากระดาษจาก UBS ซึ่งเผยแพร่เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบว่า ภายในรอบทศวรรษที่กำลังจะมาถึง หรือในปี 2573 คาดการณ์ว่ามูลค่าของอุตสาหกรรมการบินอวกาศเอกชนจะเพิ่มขึ้นจาก 400,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะนี้ เป็น […]Read More
นักวิทยาศาสตร์เก็บตัวอย่างเซลส์อายุ 28,000 ปีจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของแมมมอธ ‘ยูกะ’ ก่อนคืนหนึ่งในห้องทดลองจะพบว่าเซลล์เหล่านั้นเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนอง Reasons to Read นักวิทยาศาสตร์เก็บตัวอย่างเซลส์อายุ 28,000 ปีจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของแมมมอธ ‘ยูกะ’ ก่อนคืนหนึ่งในห้องทดลองจะพบว่าเซลล์เหล่านั้นเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนอง แม้การทดลองจะดูมีความหวัง แต่ทีมทดลองจะไม่คืนชีพให้แมมมอธเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน หนึ่งในเหตุผลคือ การคืนชีพสัตว์ได้สำเร็จอาจทำให้เกิดการคุกคามสัตว์มากขึ้น แมมมอธเป็นสัตว์ซึ่งสูญพันธ์ไปตั้งแต่ประมาณ 2 หมื่นปีที่แล้ว ทว่าหลายคนก็รู้จักรูปร่างหน้าตาของสัตว์ตระกูลเดียวกับช้างชนิดนี้กันเป็นอย่างดี อาจผ่านรูปวาด ภาพยนตร์การ์ตูน หรือหุ่นจำลองในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งหลายครั้งก็ชวนให้น่าจินตนาการว่าหากปัจจุบันโลกของเรายังคงมีแมมมอธอยู่จะน่าตื่นตาสักเพียงใด “ผมพยายามคืนชีพให้เซลล์แมมมอธมากว่า 20 ปี จนตอนนี้ผมอายุ 90 ปีแล้ว ผมเคยคิดยอมแพ้และยอมตายเสีย” นี่เป็นคำพูดของ ดร. อากิระ อิริทานิ นักชีววิทยาชาวญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการสืบพันธ์ุสัตว์ และอดีตผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยคินได ประเทศญี่ปุ่น ผู้ซึ่งทำการทดลองคืนชีพให้เซลล์แมมมอธขนยาวมานานกว่าหลายสิบปี โดย ดร. อิริทานิบอกอีกว่า ในตอนที่เขาเกือบจะยอมแพ้ก็ได้ทราบว่ามีตัวอย่างที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีซึ่งฝังอยู่ใต้พื้นน้ำแข็งแถบไซบีเรีย เขาจึงตัดสินใจเดินหน้าสำรวจอีกครั้ง และเซลส์แมมมอธที่ ดร. อิริทานินำมาทดลองก็เป็นของแมมมอธที่ได้ชื่อว่า ‘ยูกะ’ ซึ่งมีอายุประมาณ 28,000 ปี การทดลองทำโดยใช้กระบวนการที่เรียกว่า ‘การฝากถ่ายนิวเคลียส’ (Nuclear Transfer) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นและรัสเซียทำการรวบรวมโครงสร้างคล้ายนิวเคลียสจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของยูกะ ก่อนถ่ายโอนไปยังเซลล์ไข่เจริญพันธุ์ของหนู […]Read More
รัฐบาลซีเรียได้เรียกชัยชนะดังกล่าวว่า ‘เหตุการณ์สำคัญครั้งประวัติศาสตร์’ แต่ก็ยังคงเตือนประชาชนถึงภัยคุกคามที่ยังหลงเหลืออยู่ Reasons to Read รัฐบาลซีเรียได้เรียกชัยชนะดังกล่าวว่า ‘เหตุการณ์สำคัญครั้งประวัติศาสตร์’ แต่ก็ยังคงเตือนประชาชนถึงภัยคุกคามที่ยังหลงเหลืออยู่ มาซลูม โคบาเน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังประชาธิปไตยซีเรียได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการต่อสู้กับกลุ่มไอเอสว่า “เฟสใหม่ในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายกำลังจะเริ่มต้นขึ้น … เป้าหมายของการต่อสู้ในครั้งนี้คือเพื่อกำจัด ‘เซลล์ที่หลับใหล’ ของกลุ่มไอเอส” โดนัลด์ ทรัมป์ เตือนวัยรุ่นบนอินเทอร์เน็ตว่าหากหลงเชื่อในโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มไอเอสและเข้าร่วมกลุ่ม ทุกคนจะตายในที่สุด และขอให้คิดถึงการมีชีวิตที่ดีแทน ธงประจำกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย หรือ เอสดีเอฟ โบกสะบัดเหนือเมืองบากูซ อัล-ฟอว์กานี ทางภาคตะวันออกของซีเรีย เพื่อแสดงถึงชัยชนะในการปราบปรามกองกำลังรัฐอิสลาม (ไอเอส) ในซีเรีย หลังกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (เอสดีเอฟ) ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนร่วมกับพันธมิตรนักรบชาวเคิร์ด อาหรับ และอีกหลายกลุ่ม นำกำลังบุกโจมตีฐานที่มั่นสุดท้ายของไอเอสในเมืองดังกล่าวตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จนสามารถกวาดล้างกลุ่มไอเสสได้สำเร็จ ตามการรายงานของสำนักข่าวต่างประเทศเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา ทั้งนี้ รัฐบาลซีเรียได้เรียกชัยชนะดังกล่าวว่า ‘เหตุการณ์สำคัญครั้งประวัติศาสตร์’ แต่ก็ยังคงเตือนประชาชนถึงภัยคุกคามที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่นเดียวกับนักวิเคราะห์ที่ระบุว่า การบุกโจมตีครั้งนี้ยังน่าจะเป็นจุดจบของกลุ่มไอเอส ในฐานะกำลังสำคัญในภูมิภาค ขณะเดียวกันผู้นำจากหลายประเทศก็ได้ออกมาแสดงท่าทีต่อเรื่องดังกล่าว ดังนี้ เคิร์ดซีเรีย มาซลูม โคบาเน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเอสดีเอฟ ร่วมพิธีแสดงความเคารพนักรบที่เสียชีวิตและเฉลิมฉลองการยึดบากูซ ซึ่งในพิธีดังกล่าว […]Read More
การพัฒนาของสมาร์ทโฟนในยุคนี้จำเป็นต้องพัฒนาหลายสิ่งอย่างควบคู่กันไป เช่น “กล้องถ่ายรูป” คนที่ได้ติดตามข่าวคราวการพัฒนานวัตกรรมในสินค้ากลุ่มสมาร์ทโฟนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คงเห็นพ้องต้องกันว่าการพัฒนาของสมาร์ทโฟนในยุคนี้จำเป็นต้องพัฒนาหลายสิ่งอย่างควบคู่กันไป เช่น “กล้องถ่ายรูป” ที่บรรดาผู้ผลิตทุกแบรนด์ต่างมุ่งมั่นที่จะพัฒนาออกมาแข่งขันกันอย่างจริงจัง (พูดภาษาบ้าน ๆ ก็คือแลกกันหมัดต่อหมัด) แต่สุดท้ายแล้วก็ยังมีอยู่แค่ไม่กี่แบรนด์ที่โดดเด่นอย่างต่อเนื่องจนผู้บริโภคจดจำได้ การออกแบบตัวเครื่องทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ก็เป็นอีก 2 ปัจจัยสำคัญที่สามารถใช้กำหนดสถานะและจุดยืนของสมาร์ทโฟนรุ่นนั้น ๆ ว่ายังคงสามารถเกาะกระแสความนิยม กระแสนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยีได้หรือไม่ ตัวอย่างที่น่าศึกษาก็คือ สมาร์ทโฟน Huawei P30 Serie ที่เพิ่งเปิดตัวไปสด ๆ ร้อน ๆ ก็เป็นอีกครั้งที่ทีมออกแบบของหัวเว่ยทำให้เห็นว่าพวกเขายังคงให้ความสำคัญกับสมาร์ทโฟน P Series ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าที่เคย ทุกครั้งที่เปิดตัว P Series รุ่นใหม่จะมีอะไร ว้าว ๆ ออกมารันวงการสมาร์ทโฟนให้คึกคักอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่อง ‘กล้องถ่ายรูป’ 1. กล้องมากขึ้น ก็ทำอะไรได้มากขึ้น… คุณภาพก็เช่นกันหลังจากสมาร์ทโฟนรุ่น P9 Series ที่หัวเว่ยได้เริ่มจับมือกับ Leica เป็นต้นมา ชื่อของสมาร์ทโฟนตระกูล P Series ของหัวเว่ยก็เป็นที่จับตามองเรื่องกล้องทุกครั้งที่มีการเปิดตัวรุ่นใหม่ สำหรับกล้องใน […]Read More
คนมักจะตำหนิสิ่งที่กำลังเป็นที่นิยมสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อนหน้านี้ก็เคยโยนความผิดไปที่เพลงร็อกแอนด์โรล ต่อมาก็เป็นวิดีโอเกมที่มีความรุนแรง และในขณะนี้ผู้คนก็กำลังจดจ้องอยู่ที่โซเชียลมีเดีย Reasons to Read คนมักจะตำหนิสิ่งที่กำลังเป็นที่นิยมสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อนหน้านี้ก็เคยโยนความผิดไปที่เพลงร็อกแอนด์โรล ต่อมาก็เป็นวิดีโอเกมที่มีความรุนแรง และในขณะนี้ผู้คนก็กำลังจดจ้องอยู่ที่โซเชียลมีเดีย เป็นการยากที่จะตัดสินว่าปัญหาสุขภาพจิตสามารถเกิดจากโซเชียลมีเดียได้มากน้อยเพียงใด เนื่องจากวัยรุ่นไม่สามารถเข้าถึงบริการช่วยเหลือได้มากพอ ผู้ปกครองและครูจำนวนมากมีความกังวล เพราะเราไม่ได้เติบโตมากับมัน และแม้ว่าเราเองก็ใช้โซเชียลมีเดียแต่ก็มักจะใช้มันแตกต่างจากวัยรุ่น ในยุคที่ ‘โซเชียลมีเดีย’ ยังไม่แจ้งเกิด ทั้ง ‘ดนตรีร็อกแอนด์โรล’ และ ‘วิดีโอเกม’ ต่างก็เคยถูกคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ตราหน้าว่าเป็นต้นตอของปัญหาในคนรุ่นลูก แต่ถ้าพูดถึงทุกวันนี้สิ่งที่ตกเป็นเป้าคงหนีไม่พ้น ‘โซเชียลมีเดีย’ ที่สื่อมักจะโหมนำเสนอข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่ามันอยู่เบื้องหลังปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น ทำให้พ่อแม่และครูกังวลว่าการใช้เวลาหน้าจอมากเกินไปอาจทำให้เกิดอันตรายที่สายเกินแก้ได้ ดูเหมือนว่าแทบทุกสัปดาห์จะมีข้อมูลงานวิจัยใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงโซเชียลมีเดียเข้ากับหลายเรื่องๆ เช่น การฆ่าตัวตาย การข่มขู่ การอดนอน การกินผิดปกติ ทำร้ายตนเอง วิตกกังวล และซึมเศร้า ด้วยจำนวนงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่มากมาย เรื่องนี้ควรจะไปไกลเกินกว่าที่จะมาถกเถียงกันแล้วว่าโซเชียลมีเดียกำลังมีผลร้ายต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่นหรือเปล่า แต่แล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลสกอตแลนด์กลับเรียกร้องให้มีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว การเรียกร้องครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้จ่ายเงินสำรองในโครงการประกันสุขภาพ หรือ MSP พบว่า บริการด้านสุขภาพจิตสำหรับเด็กและวัยรุ่นในสกอตแลนด์กำลังเผชิญปัญหาที่เพิ่มขึ้น โดยพบว่ามีการส่งต่อผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 22 เปอร์เซ็นต์ภายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่กลับไม่มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุผลที่ทำให้มีความต้องการบริการด้านจิตสำหรับเด็กและวัยรุ่นที่เพิ่มขึ้นว่าอะไรที่เป็นสาเหตุ จึงนำไปสู่การเรียกร้องให้ทำการวิจัยเกี่ยวกับ ‘ขอบเขตของการใช้โซเชียลมีเดียที่ทำให้มีผลกระทบ’ โดยให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรเป็นผู้ดำเนินการ […]Read More
เกรตา ธุนเบิร์ก นักรณรงค์ภาวะโลกร้อนวัย 16 ปี ผู้มีอาการกลุ่มออทิสติก และผู้ทำให้วัยรุ่นหลายหมื่นคนจาก 119 ประเทศยอมหยุดเรียนเพื่อเดินขบวนประท้วงภาวะโลกร้อนเหมือนกับเธอ ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ภาวะโลกร้อนอาจเป็นคำที่หลายคนได้ยินกันบ่อยจนกลายเป็นเรื่องเดือดร้อนที่ฟังดูธรรมดา และอยู่ห่างจากความสนใจของหลายคนไปไกล แต่สำหรับ เกรตา ธุนเบิร์ก มองว่าปัญหานี้ต้องได้รับความสนใจและเร่งแก้ไข เพราะคนรุ่นต่อไปที่ต้องใช้ชีวิตบนโลกที่ถูกละเลยจากผู้ใหญ่ก็คือเด็กในวัยเดียวกันกับเธอนั่นเอง การประท้วงของเกรตาจุดประกายให้วัยรุ่นหลายหมื่นคนในหลายประเทศหันมาสนใจปัญหานี้และออกมาเดินขบวนรณรงค์เช่นเดียวกับเธอ สมาชิกรัฐสภานอร์เวย์จึงตัดสินใจเสนอชื่อเกรตาเข้าชิงรางวัลโนเบลสันติภาพ เกนตา ธุนเบิร์ก (Greta Thunberg) เป็นนักรณรงค์ภาวะโลกร้อนวัย 16 ปี เริ่มสนใจเกี่ยวกับปัญหานี้เมื่อได้เรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อตอน 9 ขวบ เกรตาบอกว่ามันเป็นเรื่องแปลกดีที่มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ ทว่าไม่เห็นใครลงมือทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเลย เกรตาจึงเริ่มศึกษาเรื่องภาวะโลกร้อนอยู่นานถึง 6 ปี ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกใจที่เด็กอายุเพียงเท่านั้นจะสนใจสิ่งหนึ่งอย่างจริงจังและอยู่กับมันได้นานเช่นนี้ เกรตาบอกว่า นี่อาจเป็นข้อดีของการเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม หนึ่งในอาการกลุ่มออทิสติก ที่ทำให้เธอสามารถจดจ่อกับสิ่งหนึ่งได้นานหลายชั่วโมง และหลังจากศึกษาปัญหาโลกร้อนแล้ว เกรตาก็เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของตัวเองไปโดยสิ้นเชิง ด้วยการเลิกกินเนื้อสัตว์ ไม่ซื้อสิ่งของไม่จำเป็น เลิกขึ้นเครื่องบิน รวมถึงครอบครัวของเกรตาก็เปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน โดยหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ขี่จักรยาน และปลูกพืชผักไว้กินเอง ความพยายามของเกรตาไม่หยุดเพียงเท่านั้น เพราะเธอพยายามทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า ด้วยการโดดเรียนเพื่อไปนั่งประท้วงอย่างเงียบๆ เพียงคนเดียวบริเวณรัฐสภาช่วงก่อนถึงวันเลือกตั้งทั่วไปของประเทศสวีเดนเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา เพื่อให้นักการเมืองรับรู้ถึงปัญหาโลกร้อนเข้าขั้นวิกฤตและควรได้รับการแก้ไข ช่วงแรกเกรตาโดดเรียนหลายวันเพื่อมานั่งประท้วงเงียบหน้ารัฐสภา […]Read More