ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในไทยและทั่วโลก ทำให้หลายกิจกรรมทางสังคมต้องหยุดชะงัก รวมถึงการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาต่างๆ แม้ว่าขณะนี้สถานการณ์จะเริ่มคลี่คลาย แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวังแบบการ์ดห้ามตก ในขณะเดียวกันหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างร่วมหาทางออก เพื่อให้ทุกภาคส่วนขับเคลื่อนไปได้โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป จึงได้เชิญชวนเยาวชนและผู้ที่สนใจมา ร่วมหยุดโรค แต่ไม่หยุดเรียนรู้กับ “นิทรรศการเสมือนจริงศูนย์เรียนรู้โรงไฟฟ้าขนอม” (Virtual Exhibition) ซึ่งเป็นการมอบประสบการณ์ท่องโลกเรียนรู้พลังงานไฟฟ้าแบบออนไลน์ในทุกที่ทุกเวลา โดยจะได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าที่พัฒนามาจากโรงไฟฟ้าเรือลอยน้ำแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ทางเว็บไซต์ https://www.egco.com/khanomlearningcenter ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน เพียงปลายนิ้วสัมผัสกับ 7 โซนนิทรรศการ ตั้งแต่การค้นพบพลังงานไฟฟ้า ทฤษฎีการผลิตไฟฟ้าเบื้องต้น กระบวนการผลิตไฟฟ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันไอน้ำ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโรงไฟฟ้าขนอม หน่วยที่ 1 นอกจากนี้ ยังจะได้ชมทัศนียภาพและธรรมชาติที่สวยงามรอบศูนย์เรียนรู้ฯ ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชนชาวขนอมอีกด้วย “ต้นทางดีจะก่อกำเนิดผลลัพธ์ปลายทางที่ดี” ซึ่ง นายธงชัย โชติขจรเกียรติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบริหารองค์กร เอ็กโก กรุ๊ป เล่าถึงแนวคิดของการพัฒนานิทรรศการเสมือนจริงศูนย์เรียนรู้โรงไฟฟ้าขนอมในครั้งนี้ว่า “แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในไทยจะคลี่คลายลงแล้ว แต่ทุกคนยังคงต้องเว้นระยะห่างทางกายภาพ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนซึ่งยังอยู่ระหว่างปิดภาคการศึกษา เพื่อลดความเสี่ยงที่จะติดหรือแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น เอ็กโก กรุ๊ป ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจไฟฟ้า ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในเยาวชน ซึ่งเป็นวัยต้นทางที่จะเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชน […]Read More
เรื่อง : ดร.วิชยุตม์ ทัพวงษ์ ภาวะโรคระบาดร้ายแรงที่เกิดขึ้นตั้งแต่ขึ้นปีใหม่ ปี พ.ศ. 2563 มาแล้วนั้น ถ้าเราจะมองว่ามันสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง อาจมองได้ตั้งแต่จุดที่เล็กที่สุด ไปหาจุดที่ใหญ่ขึ้นมาตามลำดับเลยก็ว่าได้ ถ้ามองจากเหตุ เพื่อให้เข้าใจก่อนว่าที่มาของปัญหาระดับโลก ณ เวลานี้ มาจากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ตัวหนึ่ง นั่นคือไวรัส ที่มีชื่อทางการแล้วว่า COVID-19 เนื่องจากไวรัสนี้เป็นไวรัสกลุ่มที่มีรูปร่างเป็นมงกุฎ (Corona) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุล และเกิดเป็นสายพันธุ์ก่อโรคขึ้นมาใหม่ ทำให้ก่อโรคถึงขนาดเสียชีวิตได้ มีความจำเพาะต่ออวัยวะ ปอดของผู้สูงอายุ (หรือแม้แต่ผู้ที่มีอายุไม่มาก ก็มีรายงานการเสียชีวิตอยู่ด้วย) ทีนี้ มันก็มีเรื่องสอดคล้องที่เราอาจคุ้นเคยมา เช่นว่า เมื่อมีโรคติดต่อ บุคลากรทางการแพทย์ก็จะต้องพยายามหาทางรักษาด้วยการหายา หรือวิธีการต่างๆ ถ้าการรักษาได้ผลดี ผู้ที่ติดเชื้อก็จะหายจากโรคและมีภูมิคุ้มกัน ในทางเดียวกันก็จะมีผู้ที่พ่ายแพ้ต่อไวรัส โดยร่างกายถูกโจมตีอย่างรุนแรง เช่นกรณี COVID-19 นั้น ผู้เสียชีวิตหลายรายเกิดจากการที่ปอดติดเชื้อรุนแรงมาก ในส่วนลึกที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนอากาศ โดยเป็นไปในลักษณะที่ไวรัสเข้าไปรบกวนบริเวณแลกเปลี่ยนอากาศ ทำให้เลือดไม่สามารถได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ ทีนี้อะไรใน COVID-19 ทำให้เกิดความแตกต่างในโลกใบนี้ของเราได้บ้าง อย่างแรกเลยคือ พบชัดเจนว่าเชื้อมีต้นกำเนิดมาจากจุดใดในโลก อย่างต่อมาคือ เชื้อมีการเดินทางจากจุดแรกไปสู่จุดต่างๆ […]Read More
เรื่อง : โตมร ศุขปรีชา – แล้วไวรัสก็กำลังจะล้างโลก!– รำพึงนี้เป็นสิ่งที่ได้ยินและพบเห็นอยู่ทั่วไปในยุคสมัยแห่งโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุแห่งโรค COVID-19 ที่ทุกคนรู้จักกันดี– อาจไม่ใช่ไวรัสชนิดนี้หรอกที่จะล้างโลก (ซึ่งอันที่จริงก็หมายถึงการล้างเผ่าพันธุ์ของมนุษย์เท่านั้นแหละ) แต่ก็เป็นไปได้อย่างยิ่ง ว่าอาจมีไวรัสชนิดใดชนิดหนึ่งในอนาคตที่ลุกขึ้นมาทำหน้าที่นี้ให้กับโลก– แต่คำถามที่น่าถามกว่านั้นก็คือ – แล้วไวรัสคืออะไรกันเล่า– เอาเข้าจริง เราพูดได้เลยว่า ไวรัสนั้น ‘เกือบ’ ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต เพราะมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในรูปแบบเรียบง่ายที่สุด แถมยังเปราะบางมากๆ เผชิญสภาวะไม่พึงปรารถนาไม่นานนักมันก็ ‘ตาย’ แล้ว– แล้วสิ่งที่ ‘เกือบไม่มีชีวิต’ แบบนี้ ลุกขึ้นมาทำลายล้างสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนอย่างมนุษย์ได้อย่างไรเล่า?– เราอาจคุ้นเคยกับคำว่า ‘แบคทีเรีย’ และ ‘ไวรัส’ จนนึกว่ามันเป็นเชื้อโรคเหมือนๆ กัน ร้ายกาจใหญ่เล็กก็คงต่างกันไม่เท่าไร แต่ที่จริงแล้ว แบคทีเรียกับไวรัสนั้นแตกต่างกันมาก ถ้าเทียบขนาดกัน แบคทีเรียโดยทั่วไปจะมีขนาดประมาณ 200-1,000 นาโนเมตร (1 นาโนเมตรคือราวๆ หนึ่งในพันล้านเมตร) ส่วนไวรัสจะเล็กกว่านั้น คือมีขนาดราวๆ 20-400 นาโนเมตร แต่ก็มีไวรัสขนาดยักษ์ ตัวมหึมาใหญ่เท่าแบคทีเรียอยู่เหมือนกัน เรียกว่า ‘แพนดอร่าไวรัส’ (Pandoravirus) ที่อาจมีขนาดใหญ่ถึง […]Read More
เรื่อง : วรพจน์ พันธุ์พงศ์ ไม่ผิดหรอก ถ้าเราจะเรียกสิ่งนี้ว่าความล้มเหลวตั้งใจแล้วทำไม่สำเร็จ มันก็ล้มเหลวนั่นแหละ ไม่ต้องเล่นลิ้น ไม่ต้องหาข้ออ้างข้างๆ คูๆ เรืองรอง รุ่งรัศมี ใช้เวลา 20 กว่าปี อยู่กับพจนานุกรมจีน-ไทย ทุ่มเทความรัก ฝักใฝ่ มุ่งมั่น อยากทำให้ลุล่วง เป้าหมายของเขาอยู่ที่ 1,200 หน้า หรืออาจจะ 1,600 หน้า หรือถ้าเป็นไปได้ มันควรอยู่ที่ 2,000 หน้าเขาเสียชีวิตวันที่ 31 พฤษภาคม 2020 โดย 4 ปีก่อนหน้านั้นเคยบอกผมว่าทำได้แล้ว 600 กว่าหน้าเดดไลน์กับตัวเองว่าภายในธันวาคม 2017 เขาควรปิดจ็อบนี้ได้โชคร้าย–เท่าที่ผมรู้ จาก 2016 ถึง 2020 มันเป็นระยะเวลา 4 ปีที่เขาป่วยกระเสาะกระแสะ เป็น 4 ปีที่ไม่มีข่าวคืบหน้าว่างานขยับไปถึงไหน ให้เดา–เท่าที่มีข้อมูล พจนานุกรมจีน-ไทย ของ เรืองรอง รุ่งรัศมี […]Read More
เมื่อพูดถึงคำว่า ‘สตาร์ทอัพ’ หลายคนอาจจะมองว่าเป็นสิ่งที่ไกลตัวมาก แต่ถ้ามองดีๆ ตอนนี้แค่ลองเปิดหน้าจอมือถือสมาร์ทโฟนของแต่ละท่านขึ้นมา ก็จะพบแอพลิเคชั่นหลายๆ ตัวที่เราใช้อยู่ อาจจะเป็นใช้ประจำบ้าง หรือโหลดทิ้งไว้เฉยๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นผลงานจากธุรกิจที่เรียกว่าสตาร์ทอัพทั้งนั้น แล้วทราบหรือไม่ว่า ในบรรดาแอพลิเคชั่นที่ฝังติดเครื่องกันอยู่ทุกวันนี้ เริ่มมีผลงานจากสตาร์ทอัพที่ถูกเรียกว่าสาย ‘MARTech’ (Music Art and Recreation Technology) เพิ่มเข้ามากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว MARTech คืออะไร? MARTech เป็นสตาร์ทอัพอีกสายที่ถูกจับตามองว่ามาแรงที่สุดในขณะนี้ โดยคาดการณ์ว่าในปี 2020 อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ MARTech จะเติบโตขึ้นอีก 6.5% หรือมีมูลค่าถึง 478,000 ล้านบาท ต้องบอกก่อนว่า MARTech ในที่นี้ไม่ใช่มาร์เก็ตติ้งเทคโนโลยีอย่างที่หลายคนคุ้นหูคุ้นตา แต่เป็นนิยามใหม่ของวงการสตาร์ทอัพที่พูดถึงการนำเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR/ VR) ระบบคลาวด์และ IoT ฯลฯ มาผสมผสานเข้ากับการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยเน้นสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่… M ย่อมาจาก Music หรือดนตรี ซึ่งถือเป็นสื่อสากลที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ เทคโนโลยีเชิงลึกต่างๆ เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้ทั้งในกระบวนการต่างๆ ของแวดวงดนตรี เช่น การสร้างสรรค์เพลงด้วยระบบดิจิทัล การพัฒนาแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเพลง การบริหารที่เกี่ยวข้องกับงานดนตรี ตลอดจนการนำ AI มาใช้ตรวจจับด้านลิขสิทธิ์เพลง โดยปัจจุบันสตาร์ทอัพด้านนี้มีให้เห็นแล้วค่อนข้างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ เช่น Spotify SoundHound JOOX Fungi MyBand A คือ Art หรือศิลปะ อีกส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่นับวันจะก้าวล้ำไปไกลขึ้นเรื่อยๆ จากการผสมผสานไอเดียของเหล่าสตาร์ทอัพเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตัวอย่างที่เห็นภาพชัดได้แก่ AR และ VR ที่เริ่มมีการหยิบเอามาใช้ในงานนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์ การนำเสนองานศิลป์รูปแบบใหม่ๆ ผ่านโดรน หรือ 3D […]Read More
ในยุคที่ข้อมูล (Big Data) มีอยู่มหาศาล แต่ประเทศไทย ดูเหมือนจะไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากนัก ทั้งๆ ที่วันนี้โลกกำลังเข้าใกล้สิ่งที่เรียกว่า ‘เศรษฐกิจไร้การสัมผัส’ (Touchless Economy) กันมากขึ้นซึ่งจำเป็นต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับประมวลและประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ใหม่ๆ ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? C ที่มีอำนาจอย่าง CEO ในทุกระดับภาค อาจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดความชะงักงันหรือไม่ ก็อาจจะใช่ เพราะในวันที่เราก้าวเข้าสู่ยุคDigital Transformation และมองว่า CEO มักเป็นผู้ที่นำพาผู้คนไปสู่ความเปลี่ยนแปลงนั้น…ดูจะไม่เป็นอย่างคิดเลย เพราะในจังหวะที่ Digital Transformationได้เริ่มเข้าใกล้ชีวิตคนมากขึ้นแล้ว แต่ CEO หลายบริษัททั่วโลกและไทย ก็ยังไม่สามารถนำเทคโนโลยีทันสมัยมาปรับเปลี่ยนและขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตได้ แต่พอเราจะเจอ C ที่มาจาก OVID หรือ COVID-19 นั้น กลับมาช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง …พนักงานทำงานจากบ้านได้ หน่วยงานภาครัฐก็ยังทำได้ แม้จะเคยมีกรอบระเบียบมากมาย ก็ยังต้องยอม …การประชุมสามารถจัดทางไกลได้ เจรจาธุรกิจได้ โดยไม่ต้องเดินทางข้ามประเทศ หรือข้ามจังหวัด รวมถึงยังสามารถฟังงานต่างๆ ได้ผ่าน Virtual เฉกเช่นงานนี้ STARTUP THAILAND x INNOVATION THAILAND EXPO […]Read More
วันที่ 1-4 กันยายน 2563 ลงทะเบียนพร้อมเข้าร่วมงานได้ที่ https://stxite2020.nia.or.th/ ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย ‘อีเว้นท์ออนไลน์’ กำลังจะทดแทน ‘อีเว้นท์แบบปะทะกาย’ การมาของไวรัสโควิด -19 ทำให้หลายคนเริ่มมีการพูดถึง New Normal หรือวิถีการใช้ชีวิตบางอย่างที่อาจจะเปลี่ยนไปหลังจากเคยชินไปแล้วช่วงที่ต้องใช้ชีวิตแบบกึ่งผิดปกติในช่วงเวลาหนึ่ง เช่นเดียวกันกับโลกแห่งธุรกิจ ที่ต้องหาทางรับมือกับ New Normal ที่เหมาะสมให้กับตน เพราะบางอุตสาหกรรม อาจจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมไม่ได้จากเหตุการณ์นี้ หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ย่ำแย่ และดูเหมือนจะหาทางออกลำบาก คือ ‘ธุรกิจไมซ์’ (MICE) (การจัดประชุม งานแสดงสินค้าต่างๆ) โดย MICE ในทั่วโลกตอนนี้ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างรุนแรง ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งในประเทศไทยนั้น ก็เจอทั้งโรคเลื่อนและยกเลิกงานประเภทต่างๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา เดิมทีในช่วงนี้ ประเทศไทยก็จะมีงานใหญ่ในสายอีเว้นท์ออกมามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานยักษ์ของโลกสายสตาร์ทอัพและนวัตกรรมอย่าง STARTUP THAILAND ที่จัดมาต่อเนื่องกว่าครึ่งทศวรรษ แต่เนื่องจากงานดังกล่าวจะเปิดโอกาสสู่การช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่ซบเซาได้ทางNIA หรือสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติจึงต้องการผลักดันอีเว้นท์นี้ให้เดินหน้าได้ต่อโดยร่วมมือกับ133 องค์กรพันธมิตร 400 หน่วยงานผ่านการจัดอีเว้นท์ในรูปแบบตามสไตล์ New Normal งาน ‘STARTUP THAILAND x INNOVATION THAILAND 2020’จะเป็นอีเว้นท์ใหญ่ครั้งแรกของเมืองไทยที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในรูปแบบเสมือนจริงหรือ(Virtual World) ระหว่างวันที่ 1-4 กันยายนนี้โดย ‘ทุกคน’ สามารถเข้าชมงานได้ผ่านเว็บไซต์https://stxite2020.nia.or.th/ Virtual World คืออะไร? Virtual World หรือจะเรียกว่าเป็น Virtual Event นั้นเป็นการจำลองสภาพแวดล้อมของงานอีเว้นท์ที่จัดขึ้นจริงแล้วย้ายขึ้นมาอยู่บนโลกออนไลน์ซึ่งเดิมบทบาทของ Virtual Event อาจจะเป็นแค่ส่วนหนึ่งของงานอีเว้นท์ปกติหรือจะจัดขึ้นมาเป็นการเฉพาะกิจเลยก็ได้ ข้อดีของ Virtual Event คือการสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการที่เหมาะทั้งการจัดงานขนาดใหญ่ที่มีผู้ร่วมงานจากหลายๆประเทศหรืองานขนาดเล็กที่อาจไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่จริงในการจัดงานซึ่งประโยชน์หลักของ Virtual Event คือเพิ่มการเข้าถึงของผู้เข้าร่วมงานและการสัมผัสประสบการณ์ของงานได้อย่างใกล้ชิดแต่ก็มีข้อเสียบางเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาได้แก่การขาดการสื่อสารแบบตัวต่อตัวและสิ่งรบกวนที่ดึงความสนใจออกจากงานอีเว้นท์ แต่กับงาน […]Read More
เรื่อง : วีรพล สวรรค์พิทักษ์ เบื่อโควิด-19 ไหมครับ? เบื่อเพราะอะไรครับ? ชีวิตเปลี่ยน ไม่สะดวกสบายเหมือนเดิม การทำงานเปลี่ยน งานยุ่งกว่าเดิม (หลายคนโดนเจ้านายจิกมากกว่าเดิม) หรือเบื่อเพราะความสงสัยสงสัยว่าเมื่อไหร่จะจบ สงสัยในตัวเลขทางเศรษฐกิจ สงสัยคำว่า New Normal ที่พูดกันทั้งประเทศ สงสัยว่าเมื่อไหร่จะเปิดประเทศ สงสัยว่าเมื่อไหร่จะได้กลับไปเที่ยวญี่ปุ่น (อันนี้อัดอั้นกันหลายคน) สงสัยว่าเมื่อไหร่จะมียา สงสัยว่าเมื่อไหร่จะมีวัคซีน สงสัยว่า ยากับวัคซีนเราต้องฉีดอะไรกันแน่ ถ้าคุณอ่านแล้วรู้สึกไปกับผม นั่นแหละเรากำลังสงสัยโควิด-19 อยู่ ความสงสัยนั้นน่าหงุดหงิดในบางที แต่ก็มีข้อดีของมัน เพราะความสงสัยเป็นพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจ George Loewenstein นักจิตวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมจากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon อธิบายไว้ว่า “เราจะเกิดความสงสัยขึ้นได้ต่อเมื่อมี ‘Information Gaps’ (ช่องว่างระหว่างข้อมูล) ความสงสัยเกิดจากความต้องการจะกระชับช่องว่างระหว่าง สิ่งที่เรารู้ กับ สิ่งที่เราอยากรู้” (Loewenstein, 1994) ความสงสัยไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง ต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องนั้นๆ ก่อนมาสะกิดต่อมเรา เช่น ถ้าไม่ได้รับข้อมูลอะไรเกี่ยวกับโควิด-19 เลย ก็จะไม่สงสัยอะไร ทั้งๆ […]Read More
เรื่อง : ดร.วิชยุตม์ ทัพวงษ์ สถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาดที่ผ่านมา ทำให้เกิดวิธีการปฏิบัติตัวใหม่โดยแท้จริง ณ เวลานี้ หากจะออกจากบ้านเพื่อการเดินทาง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ให้พร้อมเสมอและตรวจสอบการสวมใส่ให้กระชับ ซึ่งนอกจากนั้นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก คือต้องประเมินความเสี่ยงทุกครั้ง หลักการทั่วๆ ไปของชีวิต หลังจากเจอคลื่นลูกแรกของสถานการณ์โควิด-19 นอกจากการป้องกัน ระมัดระวังการติดเชื้อจากการเดินทาง หรือการไปในสถานที่ต่างๆ แล้ว ยังมีหลักการที่ใช้กันโดยทั่วไปสำหรับกิจการต่างๆ นั่นคือ การบริหารจัดการความเสี่ยง เป็นที่ค่อนข้างเข้าใจตรงกันว่ากิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมของมนุษย์เรา จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเกิดการติดต่อไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และส่งมอบงานแก่กัน การติดต่อไปมาหาสู่นี่เองที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสี่ยงจากการติดเชื้อได้ ซึ่งในอีกทางหนึ่ง การไม่ติดต่อกันก็เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นจะทำอย่างไรดีในการจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการติดต่อกัน ว่ากันโดยทั่วไปแล้วนั้น ต้องบอกว่าไม่มีกิจกรรมใดๆ ที่ทำแล้วไม่มีความเสี่ยง ขึ้นอยู่กับว่ามันเสี่ยงกับอะไร และส่งผลกระทบมากหรือน้อยแค่ไหนต่างหาก โดยหลักการในการจัดการกับความเสี่ยงนั้นเป็นหลักการที่ใช้ในการบริหารธุรกิจโดยทั่วๆ ไปอยู่แล้ว สำหรับชีวิตส่วนตัว หลักการจัดการความเสี่ยงสามารถนำมาใช้ได้แทบจะทุกลมหายใจของการดำเนินชีวิตเลยทีเดียว ก่อนอื่นมาเข้าใจหลักการการจัดการความเสี่ยงและองค์ประกอบหลักๆ ของการดำเนินการกันก่อน ที่นำมาใช้กันอย่างกว้างขวางและทั่วไปแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1. การระบุว่าความเสี่ยงนั้นได้แก่อะไรบ้าง ในกิจกรรมที่เราทำ ยกตัวอย่างเช่นกิจกรรมนั้นต้องมีการเจรจาซึ่งหน้ากันหรือไม่ […]Read More
โควิด-19 คือวิกฤติการณ์ครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบหนึ่งร้อยปีของโลก ด้วยจำนวนผู้คนที่ล้มตายลงเป็นจำนวนมาก มีผู้ติดเชื้อไวรัส จำนวนหลายล้านคน ส่งผลให้มีคนตกงานและล้มละลายจำนวนนับไม่ถ้วน สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายให้กับบุคลากรทางการแพทย์ท้าทายความสามารถในการบริหารจัดการประเทศให้บรรดาผู้นำชาติมหาอำนาจของโลก ซึ่งตบเท้าเข้ายึดหัวหาดเป็นจ่าฝูงในตาราง ประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 กันอย่างพร้อมเพรียง นำโดยพี่ใหญ่อย่าง สหรัฐอเมริกาที่สะบักสะบอมที่สุดในศึกครั้งนี้ GM ชวนคุณมาตรวจสภาพเสื้อผ้าหน้าผมในช่วงที่ต้องรับมือกับโควิด-19 ของท่าน ผู้นำ 4 ชาติมหาอำนาจ ทั้งสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ และฝรั่งเศส พร้อมลงสำรวจ Personal Style ของผู้นำทั้ง 4 คนว่ารสนิยมในการอ่านหนังสือ เล่นกีฬา หรือเสพดนตรี ช่วยขัดเกลาให้ผู้นำแต่ละคนมีบุคลิกที่แตกต่างกันอย่างไร -Donald J. Trump หลายคนรู้จัก โดนัลด์เจ. ทรัมป์ครั้งแรกจากรายการเรียลิตี้โชว์ TheApprentice และจากการที่เขาเคยถือลิขสิทธิ์ในการประกวดนางงามจักรวาล แต่ไม่คาดคิดว่าวันหนึ่งเขาจะก้าวสู่การเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาทว่าชายชราเจ้าของผมทรงปาดคล้ายซังข้าวโพดกลับทำสำเร็จ ทรัมป์มีอาวุธเด็ดเป็นการทวีตข้อความสร้างกระแสดราม่าที่สามารถส่งอิทธิพลทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกตกต่ำลงทุกที่รวมถึงไทยได้แต่ขณะนี้เขากำลังโดนพิษโควิด-19 รวมถึงสถานการณ์วุ่นวายของคนภายในชาติซัดจนน่วมแทบไม่มีเวลาหวีผม หนำซ้ำยังโดนบารัก โอบามา อดีตประธานาธิบดีฯ จากพรรคขั้วตรงข้าม ออกโรงวิจารณ์การจัดการวิกฤติโควิด-19 ของทรัมป์ว่า ‘นี่คือหายนะที่โกลาหลที่แท้จริง’ ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดในสหรัฐฯ ยังไม่คลี่คลายลงแต่อย่างใด ทรัมป์มีเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือนในการหาเสียงและกอบกู้ภาพลักษณ์กลับคืน เพื่อรักษาเก้าอี้ในทำเนียบขาวเป็นสมัยที่สองเอาไว้ให้ได้ //Book//The […]Read More