เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการช่วงที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด การจัดงานใหญ่ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สำหรับ SITE 2021 หรืองาน “STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2021” จึงต้องเกิดในรูปแบบเสมือนจริง แต่ด้วยความเป็นงานของแวดวงนักพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้การเข้าไปสัมผัสกับประสบการณ์ผ่านออนไลน์ก็ไม่ต่างจากเหมือนได้ไปร่วมงานจริง โดยเฉพาะการเข้าไปอัพเดทองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีและรับทราบความก้าวหน้าด้านการพัฒนาของกลุ่มเทคโนโลยีสตาร์ทอัพของไทย ตลอด 4 วันที่จัดงานระหว่างวันที่ 15-18 กันยายน 2021 ที่ผ่านมา ว่ากันว่า ช่องทางออนไลน์ที่เปิดให้ผู้ร่วมงานเข้าไปร่วมงานนั้นมีการใช้เทคโนโลยีเอไอ หรือปัญญาประดิษฐ์ คอยรวบรวมข้อมูลสำคัญ ๆ ตลอดงานด้วย สำหรับแนวคิดการจัดงานในปีนี้ ใช้ธีม Innovation in Time of Crisis ซึ่งไม่ต้องสืบก็รู้ว่าต้นเหตุวิกฤตที่ว่าก็คือโควิด ต้องยอมรับว่าช่วงวิกฤตที่ผ่านมาเป็นตัวจุดประกายให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้นว่า “นวัตกรรม” เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้คนเราปรับตัวกับวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ และทำให้แวดวงนักพัฒนานวัตกรรมและนักเทคโนโลยี มีแรงฮึดสู้ ใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ โดยเฉพาะเพื่อหาคำตอบว่า หากโลกไม่เหมือนเดิม มนุษย์จะทำอย่างไรให้สามารถใช้ชีวิตบนโลกที่ปกติสุขบนโลกที่เปลี่ยนไปได้ คำตอบวันนี้คือนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นตัวช่วยสำคัญของมนุษย์ และอาจจะเป็นทางรอดของประเทศในวันนี้ ดังนั้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ถือเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ในยุค The Era of […]Read More
จากเหตุการณ์สารเคมีอันตราย โรงงานหมิงตี้ ย่านกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ ที่ผ่านมา การระเบิดของสารเคมีสร้างความเสียหาย เป็นอันตรายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในบริเวณรัศมีรอบโรงงานเป็นวงกว้าง รวมไปถึงชีวิตทีมกู้ภัยที่ขาดข้อมูลที่ถูกต้องในการเข้าไปกู้วิกฤตในพื้นที่ เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นปัญหาว่า นอกจากไทยจะขาดความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เรายังขาดความพร้อมรับมือกับอุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นอย่างไร้แบบแผน ขาดความรู้การปฏิบัติที่ถูกวิธี ขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้าไปช่วยเหลือประชาชนและกอบกู้สถานการณ์ได้ทันท่วงที เป็นที่หวั่นเกรงว่าหากมีอุบัติภัยใหม่ ๆ เกิดขึ้นเราจะสามารถป้องกันอันตรายจากการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างไรบ้าง ดังนั้น ขณะที่ประเทศกำลังมีการโหมพัฒนาเทคโนโลยีอย่าง DeepTech จึงมีการร่วมกันวิเคราะห์และหาคำตอบว่า เทคโนโลยีจะมีบทบาทเข้ามาช่วยแก้ไขสถานการณ์เหล่านี้ได้หรือไม่ อย่างไร ทั้งการเตรียมพร้อม รับมือ และแก้ปัญหาในกรณีที่ภัยพิบัติใหม่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และหากเป็นไปไม่ได้ อะไรที่เป็นอุปสรรคชิ้นโต การระดมสมองครั้งนี้ได้เกียรติขากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านมาร่วมแชร์ไอเดีย ได้แก่ รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา จากภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ดร. ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และนิธิกร บุญยกุลเจริญ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการดิจิทัลวิถีใหม่ รศ.ดร.พนิต กล่าวว่า การจัดการภัยพิบัติมี 2 เรื่องที่ต้องทำคือ “ป้องกัน” และ […]Read More
กลไกการสร้างระบบนิเวศเพื่อพัฒนา DeepTech ต้องอาศัยการเชื่อมโยงหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ หน่วยงานต่าง ๆ ภาคการศึกษามหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน ธุรกิจอุตสาหกรรม รวมถึงภาคประชาชนเองก็ต้องมีส่วนเข้ามาเชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งเพื่อให้ DeepTech Community เติบโตไปพร้อมกันในทุกมิติ โดยเฉพาะหากสังคมมีการตั้งเป้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยแล้วล่ะก็ สำหรับยุคนี้ต้องทำให้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทุกคนมีความเสมอภาค ไม่ใช่เป็นตัวสร้างความเหลื่อมล้ำเหมือนดังภาพที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน หากทำได้ค่อยว่ากันต่อถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน ฉะนั้น ณ วันนี้ทุกหน่วยงาน ทุกส่วนที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมสร้างระบบนิเวศของ DeepTech (DeepTech Ecosystem) ไม่เว้นแม้แต่ผู้มีบทบาทด้านการส่งเสริมการลงทุนหลักของประเทศอย่าง สำนักงานส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI เองก็มีการปรับรูปแบบการส่งเสริมที่สอดคล้องกับการเดินหน้าพัฒนา DeepTech ของประเทศอย่างจริงจังเช่นกัน โดย นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มาบอกเล่าถึงบทบาทการผลักดันในยุคดิจิทัลให้ฟังว่า สิ่งที่ BOI ทำมีส่วนร่วมสร้างระบบนิเวศการพัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึกผ่านบทบาทขององค์กรในการส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนทั้งส่วนที่เป็นสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี ด้วยการอำนวยความสะดวกและการบริการข้อมูลสำหรับผู้ลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและการส่งเสริมการลงทุนที่ออกมา ซึ่งครอบคลุมทั้งระดับ SME ที่ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 5 แสนบาทไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนหลักหมื่นล้าน ที่สำคัญภาพการลงทุนที่เกิดขึ้นผ่านการสนับสนุนของ BOI ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ยังสะท้อนให้เห็นแนวโน้มธุรกิจที่มาจากเทคโนโลยีสตาร์ทอัพที่พัฒนาขึ้นเองในไทยที่มีจำนวนมากขึ้น และอาจจะถือเป็นตัวชี้วัดแนวทางการส่งเสริมที่มาถูกทาง เช่น […]Read More
ในงาน Startup Thailand ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ที่จัดขึ้นในปี 2021 นี้ มีผลงานน่าสนใจของเทคสตาร์ทอัพด้านอาหารไทย หรือ FoodTech เจาะลึกให้เห็นถึงอนาคตของการปรับเปลี่ยนอาหารเฉพาะบุคคลเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ในหัวข้อ ‘Next-Gen Food Personalization for health and well-being’ ผลของการพัฒนาพบว่า DNA จำเพาะบุคคล คือชิ้นส่วนสำคัญที่จะสามารถวิเคราะห์เรื่องของความเสี่ยงของโรค เพื่อที่จะสามารถวางแผนป้องกันและรักษาให้แม่นยำเหมาะสมกับตัวแต่ละบุคคลไป แต่…เราจะทราบได้อย่างไร ว่า DNA ของเราเป็นแบบไหน ? นี่เองเป็นเหตุผลให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาตรวจวิเคราะห์ DNA มากขึ้น ไม่เฉพาะในวงการแพทย์เท่านั้น แต่ในอุตสาหกรรมอาหาร มีความพยายามใช้เทคโนโลยีด้านอาหารมาช่วยตอบโจทย์ความต้องการของร่างกายมนุษย์ที่ลงลึกในระดับ DNA เฉพาะในแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน เรียกว่าเป็นการใช้ FoodTech เพื่อการรักษาสุขภาพตั้งแต่ต้นทางก่อนจะไปถึงมือ MedTech หรือการดูแลด้านการแพทย์กันเลยทีเดียว จะพูดแบบล้ำ ๆ ก็ต้องถือว่า FoodTech เป็นเทคโนโลยีที่ช่วย Customize อาหารให้เหมาะกับเฉพาะบุคคลจนวันหนึ่งเราอาจจะเลิกพูดกันก็ได้ว่า คนไทยต้องกินข้าว ฝรั่งกินขนมปัง แต่จะเป็นนาย ก. นาง […]Read More
‘ARITech’ คืออะไร? เกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างไร? และในอนาคตจะเติบโตไปในทิศทางใด คำถามนี้ดูเหมือนจะเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับพันธกิจของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติในวันนี้ ที่ต้องการเร่งสร้างให้คนไทยรู้จัก เห็นความสำคัญ และพร้อมรับมือกับการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ทำให้คนไทยมีโอกาสได้เห็น ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) พูดถึง ARITech อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนไทยรู้จักว่า ARITech นั้นคืออะไร และจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรในอนาคต ดังเช่นในงานใหญ่ประจำปี Startup x Innovation Thailand Expo 2021 (SITE2021)ครั้งนี้ What is ARITech? ARITech เป็นหนึ่งในสาขาของ ‘เทคโนโลยีเชิงลึก’ หรือ Deep Tech (Deep Technology) ซึ่งต้องเกิดจากการวิจัยเชิงลึกและซับซ้อน เพื่อพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์และเพิ่มคุณค่า โดยนอกเหนือจาก ARITech แล้วยังมีสาขาอื่นๆ เช่น AgTech, FoodTech, SpaceTech เป็นต้น องค์ประกอบของ ARITech ที่รวมกันอยู่ในชื่อเรียก มาจากการรวมกันของเทคโนโลยีขั้นสูง 3 […]Read More
ภาคอวกาศ ภาคพื้นดิน และภาคฐานข้อมูล เมื่อรวมกันก็สามารถเกิดเป็นแรงขับเคลื่อนในเศรษฐกิจอวกาศได้ โดยหลักๆ ‘เอกชัย ภัคดุรงค์’ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส บมจ.ไทยคม พร้อมให้ข้อมูลในด้าน ‘Space Economy Development in Thailand’ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและเห็นภาพ จึงขอเริ่มที่เรื่องระบบนิเวศของกิจการอวกาศกันก่อน ระบบนิเวศของกิจการอวกาศไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ไกลตัว ระบบนิเวศของกิจการอวกาศที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมีหลักๆ อยู่ 4 รูปแบบ B2B ระหว่างภาคธุรกิจกับภาคธุรกิจ B2C ระหว่างภาคธุรกิจกับผู้บริโภค Short implementation timespan แบบใช้ระยะการทำงานสั้น Long implementation timespan แบบใช้ระยะการทำงานยาว ซึ่งโมเดลที่ทำให้เกิดเป็นธุรกิจอวกาศคือสร้างสิ่งที่อยากจะสร้างกับสร้างสิ่งที่ตอบโจทย์ประชาชน จากเดิมที่หลายคนรู้จักว่าเทคโนโลยีอวกาศเป็นเพียงแค่การสื่อสารคมนาคมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วมันมีบทบาทมากกว่านั้น ยกตัวอย่าง Space Applications ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน 1.Broadband and Broadcast การสื่อสารคมนาคม อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม 2.Remote Sensing ใช้ดาวเทียมถ่ายภาพเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในภาคส่วนต่างๆ ได้ เช่น การเกษตร การประมง […]Read More
AgTech AI Consortium Synergy for AgriFuture โครงการที่มีแนวคิดดึงเอาศักยภาพความแข็งแกร่งของภาคการเกษตรอันเป็นที่โดดเด่นของประเทศมายกระดับประยุกต์เข้ากับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อการพัฒนาในหลายๆ ภาคส่วน อาทิ ด้านการเกษตร ด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงด้านบุคลากรโดยเฉพาะบุคลากรรุ่นใหม่ ก่อนที่เราจะกล่าวถึง AgTech เทรนด์ที่น่าสนใจมากสำหรับประเทศเรา มาทำความรู้จักกันสักหน่อยว่า AgTech หรือ Agriculture Technology นั้นคืออะไร? คำตอบคือเป็นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการพัฒนาคุณภาพการเกษตร ทั้งในด้านการสร้างผลผลิต การอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร หาแนวทางการทำการเกษตรที่เหมาะสม แม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูงสุด การรวมพลังผู้เชี่ยวชาญทุกฝ่ายผลักดันกลุ่มคนรุ่นใหม่เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเกษตร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติหรือ NIA ร่วมกับ SCG WEDO และเครือข่ายมหาวิทยาลัยนำร่อง ในปีนี้มี 3 มหาวิทยาลัยได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรานารี ร่วมมือกันบ่มเพาะเสริมพลังให้กับเหล่าบุคลากรรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนิสิต นักศึกษาที่มีความรู้ ความสนใจในด้านการเกษตร ด้านนวัตกรรม และด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย โดยมุ่งเน้นความสำคัญแบบ 3+2 3 สิ่งแรก ประกอบด้วย 1.AI หรือปัญญาประดิษฐ์ […]Read More
นวัตกรรม MedTech ถือเป็นเรื่องดีจากสถานการณ์เลวร้ายอย่างการแพร่ระบาดโควิด ที่ทำให้นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และนักพัฒนาเทคโนโลยีหลายแขนง มีเป้าหมายการพัฒนาเทคโนโลยีที่ชัดเจนเจาะจง รวมทั้งเป็นโอกาสให้นำงานวิจัยที่เคยทำมาต่อยอดสู่การแก้ปัญหาด้านการแพทย์อย่างเร่งด่วน เกิดเป็นผลงานที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและ เพิ่มความมั่นคงด้านสุขภาพให้กับคนไทยไปพร้อมกัน แต่กว่าสตาร์ทอัพในกลุ่ม MedTech แต่ละรายจะมาถึงจุดที่พัฒนาผลงานได้เป็นรูปธรรม ก็ต้องเจอกับอุปสรรคความท้าทายไม่น้อย ในงานนวัตกรรมแห่งชาตินี้มีตัวแทนสตาร์ทอัพด้าน MedTech ในด้าน Digital, 3D Robotics, and Synthetic Biotechnologyอย่าง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ผู้ผลิตยาและวัคซีนจากพืช บริษัท Meticuly จำกัด กลุ่มวิศวะที่พัฒนาด้านการขึ้นรูปโลหะมาสู่การทำชิ้นส่วนมนุษย์จำลองเพื่อการแพทย์ บริษัท ดิจิโปรสไมล์ จำกัด โปรแกรมและการสั่งงานผ่านชิ้นงามสามมิติเพื่อการดูแลรักษาฟัน และ บริษัท มิโอทรีดี จำกัด (Lumio 3D) บริษัทสตาร์ทอัพที่เน้นสแกนสามมิติคุณภาพสูงในหลายอุตสาหกรรมแม้กระทั่งโบราณวัตถุที่ผันตัวมาสู่การสแกนอวัยวะส่วนต่าง ๆในร่างกายมนุษย์เพื่อการแพทย์ MedTech แต่ละรายล้วนมีปัญหาและอุปสรรคกว่าจะก้าวมาถึงจุดนี้ แต่มีจุดร่วมที่คล้ายกัน นั่นคือ เกิดขึ้นเพื่อต้องการแก้ปัญหาทางการแพทย์ และเกือบทั้งหมดเริ่มต้นมาจากการการมองเห็นความเป็นไปได้ ที่จะใช้นวัตกรรมที่ตนเองคิดขึ้นแก้ปัญหาให้กับแพทย์ในการรักษาคนไข้ในทางใดทางหนึ่ง จากการรับรู้ข้อมูลที่เกิดจากการสื่อสารเชื่อมโยงกับกลุ่มเครือข่ายแพทย์ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ที่แตกต่างมากที่สุดคือการเริ่มต้นของใบยาฯ ที่เกิดขึ้นเพราะมีโควิดเป็นตัวเร่งและทำให้นักวิจัยต้องลุกขึ้นนำงานวิจัยที่มีอยู่มาต่อยอดด้วยตัวเองและก้าวกระโดดจากการทดลองในคนมาสู่การทดลองกับมนุษย์เพื่อเป้าหมายการผลิตยาและวัคซีนจากพืชเพื่อเพิ่มทางเลือกและความมั่นคงได้การแพทย์ให้กับคนไทยในอนาคต […]Read More
ศุภชัย เจียรวนนท์ Chairman of the Digital Council of Thailand และผู้บริหารระดับสูงจากเครือซีพี ร่วมให้ทิศทางพัฒนาประเทศไทยไปสู่ศูนย์กลางเทคโนโลยี ในงาน ‘STARTUP X INNOVATION THAILAND EXPO 2021 ในหัวข้อ “Thailand Innovation Hub: Center of Excellence for Deep Tech” ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ ปัจจุบันความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงนวัตกรรม เป็นปัจจัยหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ ประเทศใดจะมีความสามารถพัฒนาทางการแข่งขันได้ดีแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้ การต่อยอดเทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จะอยู่ใน 5 กลุ่มนี้ ได้แก่ BIOTECH, NANOTECH, ROBOTICS, DIGITAL และ SPACE Technology 4 กลุ่มแรกคนไทยอาจจะคุ้นเคยกันบ้างแล้ว ส่วนในเรื่องของ Space Tech อาจจะอยู่ในขีดวงจำกัด แต่ไทยก็ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ไม่ล้าหลังและอยู่ระหว่างการพัฒนาอย่างจริงจัง […]Read More
บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เดินหน้าส่งเสริมพลังของคนรุ่นใหม่ในการเป็นผู้นำออกแบบเมืองแห่งอนาคตและเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด โดยส่งทีม Global Minds ซึ่งประกอบด้วยเยาวชนไทยจากหลากหลายมหาวิทยาลัยเป็นตัวแทนเข้าแข่งขัน Imagine the Future Scenarios Competition 2020/2021 ซึ่งเป็นโครงการที่ให้คนรุ่นใหม่จากทวีปเอชียแปซิฟิกและตะวันออกกลาง นำเสนอสถานการณ์จำลองในอนาคต ทั้งการดำรงชีวิตและการทำงาน ในปีนี้มีเยาวชนจำนวน 277 ทีม จากอียิปต์ สิงคโปร์ และไทย เข้าร่วมแข่งขัน โดยทีม Global Minds ได้สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย คว้ารางวัลชนะเลิศพร้อมเงินรางวัล 4,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ด้วยแนวคิด “Modern Dragon vs Blind Falcon” เยาวชนในปัจจุบันมองโลกของเราใน พ.ศ 2593 อย่างไร โลกของเราจะเป็นอย่างไรใน พ.ศ 2593 บ้านเราจะจมอยู่ใต้น้ำหรือไม่ ชีวิตของเราจะถูกปกครองโดยปัญญาประดิษฐ์หรือไม่ เหล่านี้คือคำถามที่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ได้สำรวจ และจำลองสถานการณ์ เพื่อเสนออนาคตที่มีความสมเหตุสมผล โดยเชลล์ได้จัดการแข่งขันนี้ขึ้นเป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการได้รับมอบหมายให้จินตนาการถึงพลังงานที่สะอาดยิ่งขึ้นของเมืองในทวีปเอเชียหรือตะวันออกกลางในพ.ศ 2593 รวมถึงวิธีที่เมืองจะเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตและการทำงาน […]Read More