เรื่อง: สันทัด โพธิสา กลายเป็นกฎบังคับระดับเบาๆ ไปเสียแล้ว สำหรับการออกกฎ ‘ห้าม’ นักกีฬาเล่นโซเชี่ยลมีเดีย โดยเฉพาะในเกมกีฬาฟุตบอล หลายทีมระดับชาติ หากเป็นช่วงเวลาที่กำลังมีทัวร์นาเม้นท์การแข่งขันจริงจัง โค้ชและทีมงานมักจะออกกฎห้าม(แกมขอร้อง) ให้นักกีฬา ‘งดโซเชี่ยลทุกกรณี’ ทั้งการไถฟีด กดโพสต์ กดแชร์ กดพิมพ์คอมเม้น เรียกว่าเอฟเวอรี่ติงโซเชี่ยล แน่นอน, เพราะอยากให้เหล่านักกีฬามีสมาธิกับการแข่งขัน และจดจ่ออยู่กับการทำผลงานให้ออกมาเต็มที่ที่สุด แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัย ไปถึงต้องตั้งคำถามกลับมาว่า ‘นักกีฬาติดโซเชี่ยล ทำให้ฟอร์มตกจริงหรือ’ ขอหยิบยกนักฟุตบอล 2 คนที่มีความเชื่อมโยงกันโดยไม่ได้ตั้งใจ ‘คริสเตียโน่ โรนัลโด้ & เจสซี่ ลินการ์ด’ ทั้งคู่ถือเป็นศิษย์พี่-ศิษย์น้องในทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ต่างกรรมต่างวาระ สำหรับโรนัลโด้ คงไม่ต้องสาธยายความสามารถ และผลงานที่ยาวเป็นหางว่าว ทางด้านลินการ์ด ก็เป็นนักเตะลูกกรอกคะนอง ที่เติบโตจากทีมเยาวชนของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก่อนจะถูกดันขึ้นมาเล่นชุดใหญ่เมื่อราวปี 2011 หลังได้ลงเล่นอย่างสม่ำเสมอ และเริ่มมีผลงานเป็นที่พูดถึง นักเตะหมายเลข 14 แห่งแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็เริ่มสนุกกับการเป็น ‘คนดัง’ โดยเฉพาะในโลกโซเชี่ยลมีเดีย […]Read More
เ รื่ อ ง: สั น ทั ด โพ ธิ ส า “ทำไม (สงครามโลกครั้งที่ 3) ต้องมาเกิดขึ้นตอนที่ ลิเวอร์พูล กำลังจะเป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกด้วย…” “ดูเหมือน ทรัมป์ จะไม่ให้โอกาส ลิเวอร์พูล เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีก มันน่าเศร้านะ” เหล่าบรรดาข้อความที่แฟนบอลหงส์แดง-ลิเวอร์พูล พากันทวีตเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน อ่านดูเหมือนตลกร้าย เพราะฟอร์มการเล่นของทีมลิเวอร์พูลในพรีเมียร์ลีกในเวลานี้ แจ่มแจ๋วเสียจนแทบจะมองเห็นถ้วยแชมป์อยู่ตรงหน้า ทว่าจากเหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน ทำให้ผู้คนทั้งโลก (แน่นอนว่า หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ แฟนหงส์แดง) พากันเกรงกลัวว่าจะเกิดสงคราม จึงเป็นที่มาของทวีตแนวนอยด์ๆ ของเหล่าแฟนหงส์ทั้งหลาย อย่างที่บอก อ่านแล้วเหมือนตลกร้าย แต่ที่ดูจะ ‘ตลกไม่ออก’ คงจะไม่ใช่ใครที่ไหน ก็โดนัลด์ ทรัมป์ไงจะใครล่ะ ดูเหมือนว่า เวลานี้ ผู้นำสหรัฐอเมริกาผู้มีทรงผมสลวยสวยเก๋ ‘สร้างศัตรู’ ไปทั่วทุกวงการ ไม่เว้นแม้กระทั่งแวดวงกีฬา! ถ้ายังจำกันได้ กลางปีก่อน ฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกา ทำผลงานคว้าแชมป์โลกได้เป็นสมัยที่ 4 […]Read More
เรื่อง : ศุพวรรณ พรรณราย ถ้าวลี ‘น้ำผึ้งหยดเดียว’ นั้นมีคุณค่าของความเป็นจริงอยู่บ้าง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง ในความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิหร่านก็น่าจะสามารถใช้วลีดังกล่าวได้อย่างเต็มปาก เพราะในขณะนี้ มันถูกขยายจากปฏิบัติการณ์ลับเพียงหนึ่งเดียว ที่ผลักให้ปริมณฑลดังกล่าวเข้าสู่ความขัดแย้งอย่างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ – ชนวนเหตุความขัดแย้ง – ต้นเหตุของความขัดแย้ง เกิดจากปฏิบัติการลับของสหรัฐอเมริกา ที่ส่งเครื่องบินบังคับไร้คนขับ (Drone) เพื่อลอบสังหาร คาเซม โซไลมานี ผู้บัญชาการทหารบกสูงสุดของอิหร่าน ที่สร้างความโกรธแค้นให้กับประชาชนของประเทศ ตามมาด้วย อาลี คาเมเน ผู้นำสูงสุดของประเทศ ประกาศกร้าวว่าจะล้างแค้นให้กับการสูญเสียครั้งนี้อย่างเต็มกำลัง ทางด้านสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ก็ออกมาตอบโต้ต่อแถลงการณ์ดังกล่าวอย่างเผ็ดร้อน โดยกล่าวว่า โซไลมานี เป็นต้นเหตุของความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางหลายต่อหลายครั้ง รวมถึงแผนการที่จะสร้างความสูญเสียให้กับกองกำลังสหรัฐฯ ในภูมิภาค และการตายของโซไลมานีนั้น ‘เป็นเรื่องที่จะต้องเกิด’ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งหมดนี้ เป็นชนวนเหตุสำคัญที่สร้างความระส่ำระสายให้กับภูมิภาคตะวันออกกลางในขณะนี้ ที่ความซับซ้อนของสถานการณ์ ได้ม้วนตัวสู่วังวนแห่งความขัดแย้งครั้งใหม่ – ผลกระทบที่ตามมา – ปฏิบัติการลับในการลอบสังหารโซไลมานีของสหรัฐอเมริกานั้น นอกจากจะสร้างความโกรธแค้นให้กับประชาชนชาวอิหร่านนับล้านคนแล้ว ยังมีความซับซ้อนทางภูมิภาคที่กำลังเป็นปัญหา เนื่องจากปฏิบัติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเขตแดนของประเทศอิรัก (ตามรายงานข่าวกรองที่ออกมา) ซึ่งเป็นพื้นที่เปราะบางจากประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศที่ผ่านมา นั่นทำให้ปัญหาความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้นอีกหลายเท่า […]Read More
เรื่อง : วรพจน์ พันธุ์พงศ์ 1 ผมเลือก ‘เสรีนิยมยืนขึ้น’ ของ ปราบดา หยุ่น เป็นหนังสือน่าอ่านแห่งปี 2020 สำนัก The101.Word เป็นคนโยนคำถามมา พร้อมกำชับให้ระบุเหตุผลของการยกย่องเชิดชูประกอบ ซึ่งผมตอบไปว่า.. 1 เนื้อหาเหมาะกับสถานการณ์ประเทศไทยตอนนี้ 2 จากประสบการณ์ (ใกล้ห้าสิบปีเต็มที) พบว่าคนไทยเรากินข้าว แต่ไม่ค่อยรู้เรื่องราก สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ โดยเฉพาะคุณค่าของข้าว ใช่–สิทธิเสรีภาพก็เช่นกัน 3 พอไม่รู้ มันก็เป็นพวกกินไปวันๆ อยู่ไปวันๆ ตรงกันข้าม หากตระหนักรู้ เราย่อมกินข้าวอร่อยขึ้น และปวดร้าว เมื่อชาวนาต้องซื้อข้าว (ราคาแพง) บริโภค 4 สำหรับผม สิทธิเสรีภาพคือากาศ หากปราศจากเสียแล้ว หากถูกลิดรอนเสียแล้ว มนุษย์ก็กลายเป็นศพ นี่คือหนังสือที่เขียนขึ้นโดยคนที่เทคแคร์สิทธิเสรีภาพ ไม่ใช่หลงละเมอ หากรักจริง รักด้วยความพยายามแสวงหาความรู้ 5 หนังสือเล่มนี้เขียนโดย ปราบดา หยุ่น หากอ่านหนังสือหนังหามาบ้าง คุณก็คงพอรู้ว่าเขาไม่ใช่คอการเมือง (เทียบกับพรรคพวกพี่น้องอย่าง วาด […]Read More
เรื่อง: เอกชยา / ภาพ: @MissUniverse “ฉันเติบโตมาในโลกที่ผู้หญิงหน้าตาแบบฉัน สีผิวแบบฉัน เส้นผมแบบฉัน ไม่เคยถูกมองว่าสวย นี่ถึงเวลาแล้วที่ต้องหยุดความคิดนี้เสียที ฉันอยากให้เด็กๆ มองมาที่ฉัน จ้องมาที่ดวงหน้านี้…ฉันอยากเห็นใบหน้าของพวกเขาสะท้อนบนดวงหน้าของฉันบ้าง” จักรวาลความงามฉบับใหม่ นี่คือคำตอบบนเวทีประกวดนางงามจักรวาลเมื่อล่าสุด ก่อนที่ โซซีบีนี ตันซี หรือที่แฟนนางงามชาวไทยเรียกชื่อเธอสั้นๆ แบบน่ารักว่า ‘ตุ่นศรี’ สาวงามผิวสีจากประเทศแอฟริกาใต้จะได้ครอบครองมงกุฎจักรวาล ที่มีมูลค่าสูงถึง 150 ล้านบาท ในการประกวดที่เมืองแอตแลนต้า มลรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา นับเป็นชัยชนะครั้งที่ 2 ที่นางงามผิวสีสามารถคว้าตำแหน่งนางงามจักรวาลมาครอบครองได้สำเร็จ ต่อจาก ‘ไลลา ลูลียานา ดา กอซตา วีไยรา ลอปีช’ นางงามจากประเทศแองโกลา ที่ชนะการประกวดนางงามจักรวาลในปี 2554 โดยเว้นช่วงไปนานถึง 8 ปี คำตอบของเธอบนเวทีข้างต้น ชัดเจนว่าเจ้าตัวไม่ได้ตั้งใจมาแค่คว้ามง แต่ยังต้องการท้าทายความงามตามมายาคติ (The Beauty Myth) ที่แม้ผู้หญิงในโลกปัจจุบันดูเหมือนจะได้รับสิทธิเท่าเทียมกับบุรุษเพศมากมาย แต่มายาคติว่าด้วยความงาม ก็ยังคงเป็นกับดักที่พวกเธอดิ้นไม่หลุดจากแอกที่ถูกสร้างเอาไว้ใน ‘สวรรค์ผู้บริโภค’ […]Read More
บางครั้งปัญหาของคนมีเงินแต่ใช้เงินไม่ได้ก็เกิดจากการ ‘มีแบงก์พันติดตัว’ ด้วยความรู้สึกเกรงใจที่จะต้องใช้แบงก์ใหญ่ซื้อของเล็กๆ น้อยๆ สุดท้ายเราก็ต้องไปหาแตกแบงก์ก่อน ซึ่งก็ไม่ได้ง่ายหากแถวนั้นไม่มีร้านสะดวกซื้อ หรือในบางครั้งเวลาเจอของที่ถูกใจแต่เงินสดไม่พอ ไหนจะต้องเดินหาตู้ ATM ไหนจะต้องเดินย้อนกลับมาซื้อของ ปฎิเสธไม่ได้ว่าปัญหาเล็กน้อยอย่างนี้มันช่างเป็นอะไรที่ไม่สะดวกเอาเสียเลย โชคดีที่ทุกวันนี้ชีวิตเราง่ายขึ้นมากเพราะต่อให้เงินไม่พอ ไม่มีตู้ ATM อยู่ใกล้ๆ หรือไม่มีเครื่องรูดบัตรเครดิต เราก็ยังสามารถชำระเงินผ่านการทำธุรกิจทางอินเทอร์เน็ตได้ แถมค่าธรรมเนียมก็ไม่มีด้วย ภาพที่เราเห็นในปัจจุบันจึงไม่ใช่การหยิบเงินสดแล้วจ่ายเหมือนเมื่อก่อน แต่เป็นภาพที่ผู้คนถามพ่อค้าแม่ค้าว่า “มี QR Core ไหม” หรือ “ขอพร้อมเพย์หน่อย” นี่อาจเป็นช่วงเวลาที่คำประกาศของนักปรัชญาชาวเยอรมันคนหนึ่งกำลังเป็นจริง คำประกาศที่ว่า ‘พระเจ้า (เงินสด) ได้ตายไปแล้ว’ แม้ปัจจุบันเราจะยังไม่ได้เข้าสู่สังคมไร้เงินสุดโดยสมบูรณ์ แต่เป็นสังคมกึ่งไร้เงินสดอยู่ แต่ก็คงจะเป็นเรื่องดีไม่น้อยหากได้สำรวจหน้าที่บทบาทของเงินที่มีผลต่อชีวิตประจำวันของเรา รวมถึงที่มา มูลค่า การเปลี่ยนแปลงต่างๆ และกระแสธารของโลกที่กำลังหมุนไป แน่นอนว่า การมองรอบด้านอาจเป็นไปไม่ได้ แต่ยังดีกว่าการไม่พยายามชายตามอง สำหรับแนวคิดสังคมไร้เงินสดนั้นสวีเดน เป็นประเทศแรกของโลกที่ประกาศยกเลิกการใช้เงินสด คือจากหลังมีนโยบายส่งเสริมการใช้จ่ายด้วยช่องทางดิจิทัล เช่น การใช้บัตรเครดิต บัตรเดบิต และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ทางโทรศัพท์มือถือ ปัจจุบันแม้แต่การชำระเงินค่ารถประจำทาง ยังเริ่มใช้รูปแบบดิจิทัลมากขึ้น สาเหตุมาจากเคยเกิดเหตุการณ์ปล้นเงินสดคนขับรถประจำทางมาแล้ว อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ในสวีเดนรู้สึกปลอดภัยกว่าการถือเงินสดเดินไปมา ทั้งยังสะดวกรวดเร็วอีกด้วย ปี 2011 รัฐบาลสวีเดนเปิดตัวแอพพลิเคชั่น Swish Payment เพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมในประเทศ […]Read More
เรื่อง : วณัช บัณฑิตาโสภณ ใครบ้างจะเลือกได้ โดยเฉพาะเลือกไม่ให้เป็น ‘โรค’ การใช้ชีวิตภายใต้สภาวะแวดล้อมปัจจุบันไม่ได้เอื้อให้มีชีวิตที่ดีได้ง่ายนัก อาหารการกินที่ไม่มีประโยชน์ สภาพอากาศเต็มไปด้วยฝุ่นละออง การมีร่างกายแข็งแรงจึงกลายเป็นเรื่องต้องเข้าฟิตเนส ต้องเข้าสวนสาธารณะ หรือต้องกินคลีนซึ่งเป็นเรื่องที่ใช้เงินจำนวนไม่น้อย ในประเทศที่ค่าจ้างขั้นต่ำและรายได้ของคนส่วนใหญ่ไม่ได้เพิ่มขึ้นเร็วเท่า มีอยู่เรื่องหนึ่งที่เพิ่งเข้าใจหลังจากโตขึ้นมาในประเทศนี้ นั่นคือ “ราคาของคนนั้นไม่เท่ากัน” เป็นเรื่องน่าประหลาดใจมากหลังจากได้รู้ว่าระบบสาธารณสุขของประเทศนี้ถูกแบ่งเป็น 3 กอง 1. กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ 2. กองทุนประกันสังคม 3. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “บัตรทอง” และยิ่งรู้สึกตกใจมากขึ้นไปอีกเมื่อเห็นตัวเลข “ค่ารักษาพยาบาลต่อคน” ที่แตกต่างกันมากเหลือเกิน ทำไมกันนะ ความเหลื่อมล้ำที่กระจายอยู่มากมายกลาดเกลื่อนในประเทศนี้ จะละเว้นเรื่องการรักษาพยาบาลซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตโดยตรงไปสักหนึ่งเรื่องไม่ได้หรือไงกัน ความแตกต่างของกองทุนสุขภาพ กล่าวคือ ความเหลื่อมล้ำในระบบสาธารณสุขนั้นอาจไม่ได้เกิดจากตัวของมันเองทั้งหมด มันอาจเป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำด้านอื่นๆ รวมถึงความไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการ แต่มันก็สามารถเป็นเหตุให้ความเหลื่อมล้ำด้านอื่นทวีความรุนแรงขึ้นได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ความเหลื่อมล้ำในงบประมาณ และความเหลื่อมล้ำของสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง เป็นต้น หากราคาเป็นดังแค่ Price Tag ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อกำกับสิ่งต่างๆ เราจะทำให้ราคาของคนเข้ามาใกล้กันกว่านี้ได้ไหม นั่นเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ คนไม่เท่ากันเกิดจากระบบ สุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ตาม ไม่ว่าจะมาจากเมืองหลวง มาจากต่างจังหวัด หรือเกิดในต่างประเทศ มีไม่ต่างกัน สำนวนที่ว่า “การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” ยังคงใช้การได้อยู่เสมอ […]Read More
เรื่อง : โตมร ศุขปรีชา คนตะวันตกมักจะค่อนขอดคนอังกฤษอยู่เสมอว่า สังคมอังกฤษนั้นเป็นสังคมที่ ‘หมกมุ่น’ อยู่กับชนชั้น เรื่องนี้ถ้าย้อนกลับมาดูสังคมไทย ก็จะพบว่าไม่แตกต่างกันสักเท่าไร นอกจากไม่แตกต่างกันแล้ว ดูเหมือนสังคมไทยจะหมกมุ่นกับเรื่องชนชั้นมากยิ่งกว่าด้วยซ้ำ แต่ในเวลาเดียวกัน เรามักบอกตัวเองและคนอื่นบ่อยๆ ว่า … เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับชนชั้นมากเท่าไรนัก ในสงครามโลกครั้งที่สองนั้น คนที่ได้ชื่อว่าเป็นวีรบุรุษสงครามของอังกฤษ หนีไม่พ้น วินสตัน เชอร์ชิล ผู้โด่งดัง ในช่วงปลายสงครามโลกอย่างปี 1945 เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปในอังกฤษ แทบทุกคนจึงคาดเดากันว่า พรรคอนุรักษนิยมของเชอร์ชิลจะต้องได้ชัยชนะแน่ๆ ครั้นผลไม่ออกมาดังนั้น จึงไม่แปลกเลยที่ในเช้าวันที่ 26 กรกฎาคม 1945 เชอร์ชิลจะเขียนบันทึกไว้ว่า เขาตื่นนอนขึ้นมาด้วยอาการเหมือน ‘ถูกแทงด้วยของแหลม จนเกือบรู้สึกได้ทางกาย’ เมื่อเขาพบว่าตัวเองและพรรคอนุรักษนิยมพ่ายแพ้การเลือกตั้งทั่วไป ในเวลานั้น น้อยคนนักจะคิดว่าเชอร์ชิลจะมีวันพ่ายแพ้ แม้กระทั่งผู้นำของฝ่ายตรงข้ามคือพรรคแรงงาน, หลายคนก็วิเคราะห์ว่าเชอร์ชิลต้องได้กลับมาแน่ๆ รวมไปถึงพวกนักธุรกิจ สื่อ และนักสังเกตการณ์จากต่างประเทศ ไล่ตั้งแต่วอชิงตันไปจนถึงมอสโก ทั้งนี้ก็เพราะเชอร์ชิลกำลังอยู่บนจุดสุดยอดของชัยชนะ เวลาเขาออก ‘บัญชร’ มาโบกมือให้กับประชาชนนั้น ประชาชนโห่ร้องต้อนรับเขายิ่งกว่ากษัตริย์และราชวงศ์เสียอีก ทั้งนี้ก็เพราะไม่เคยมีความสำเร็จทางทหารในประวัติศาสตร์อังกฤษครั้งใดยิ่งใหญ่เท่านี้มาก่อน แล้วเกิดอะไรขึ้น เชอร์ชิลถึงแพ้การเลือกตั้ง คำตอบที่หลายคนในสังคมอังกฤษตอนนั้นอาจนึกไม่ถึงก็คือ สังคมอังกฤษได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว! น่าทึ่งทีเดียว ที่สังคมอังกฤษในยุคนั้นเปลี่ยนแปลงไป […]Read More
เรื่อง : อภิชาติ กิตติเมธาวีนันท์ Lost of ‘Joy’ ในช่วงชีวิตคนเรามักมีสิ่งหนึ่งที่เราอยากให้อยู่กับเราเสมอ นั่นคือ ‘ความยินดี’ ใครบ้างอยากที่จะปฏิเสธความยินดีออกไปจากชีวิตคงไม่มี แต่ก็คงไม่บ่อยที่เหตุการณ์ในชีวิตจะพัดพา ‘ความยินดี’ มาหาเรา ผมเองครุ่นคิดกับคำคำนี้อยู่มากในตลอดปีที่ผ่านมา เพราะเรื่องราวในชีวิตประกอบกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ทำให้ผมทบทวนตนเองถึงความรู้สึกและความยินดีในใจเรา จนมาวันหนึ่งผมได้รับหนังสือเล่มหนึ่งจากมิตรสหายแดนไกลที่เขียนหน้าปกไว้ว่า ‘Joy’ The book of Joy ผมจำได้ว่าตลอดเดือนมิถุนายน เป็นช่วงที่ผมอ่านหนังสือเล่มนี้วนไปมาหลายครั้ง ด้วยความที่หนังสือมีการเขียนและถ่ายทอดผ่านประสบการณ์และบทสนทนาระหว่างองค์ดาไลลามะและอารค์บิชอปตูตู ซึ่งเป็นสหายสนิทที่ได้แลกเปลี่ยนเรื่องราวในชีวิตกันตลอดช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เขาพบกัน หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน แน่นอนผมคงไม่ได้ตั้งใจจะรีวิวหนังสือเล่มนี้ แต่คงอดไม่ได้ที่จะเล่าบางส่วนบางตอนที่สัมผัสกับผมและทำให้ช่วงเวลาในชีวิตนั้นมีความหมาย ซึ่งความหมายนี้เองที่ผมอยากจะแบ่งปัน เพราะ ‘ความยินดี’ คือธรรมชาติของชีวิตเราแต่ละคน หนังสือเล่มนี้นั้น เริ่มต้นด้วยการเดินทางของเพื่อนรักสองคนคือองค์ดาไลลามะและอาร์คบิชอปตูตูที่ไม่ได้พบกันมานานหลายปี และกำลังจะมาพบกันในงานฉลองวันเกิดขององค์ดาไลลามะ โดยเรื่องราวนั้นได้ถูกบันทึกไว้โดย โดกราซ อับรามส์ ซึ่งได้รวบรวมและเขียนเป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้น พวกเราคือสิ่งสร้างอันเปราะบาง ระหว่างที่อาร์คบิชอปและอับรามส์นั่งเครื่องบินไปยัง Dharamsala เพื่อไปเยือนองค์อาไลลามะ อาร์คบิชอปตูตูบอกว่า “พวกเราคือสิ่งสร้างอันเปราะบาง แต่จากความเปราะบางนี้เอง ที่ทำให้เราค้นพบความเป็นไปของความยินดีที่แท้จริง” อาร์คบิชอปได้พูดต่อว่า “ชีวิตแฝงไปด้วยความท้าทายและอุปสรรค และความกลัวนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เหมือนกับความเจ็บปวดและการสูญเสียชีวิต ซึ่งการค้นพบความยินดีที่มากขึ้นนั้น […]Read More
One Day in Hong Kong รายงานการประท้วงในฮ่องกงที่ยืดเยื้อยาวนาน ไปดูกันว่า อะไรทำให้ผู้คนออกมาอยู่บนถนน และอะไรทำให้พวกเขาแข็งแกร่ง เรื่องและภาพ : โตมร ศุขปรีชา “Hong Kong is not China.” -ผู้ประท้วงคนหนึ่ง 1 ฝนตกหนัก – ผมสวมชุดสีดำ กางร่มสีดำ เดินไปกับเด็กหนุ่มสาวและชายหญิงวัยกลางคนที่ต่างก็ใส่สีดำ คนจำนวนมากมีหน้ากากคลุมปิดครึ่งหน้า แต่บางคนก็ใช้ผ้าบัฟคลุมจนเกือบหมด มองไม่เห็นอะไรเลยแม้กระทั่งนัยน์ตา เพราะมีแว่นกันแดดคลุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง พวกเขาไม่ใช่ไม่กลัว – ผมบอกตัวเองอย่างนั้น ขณะที่เราเดินไปบนถนน Lower Albert ที่จะทอดคดเคี้ยวขึ้นไปสู่ที่ชุมนุมในสวนข้างบน ผมมากับ โจล อันเดรียส (Joel Andreas) เพื่อนอาจารย์ที่สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย จอห์นส์ ฮ็อปกินส์ ในบัลติมอร์ เรารู้จักกันตั้งแต่สมัยเขาเรียนปริญญาเอกที่แคลิฟอร์เนีย โชคดีมาก ที่โจลมาสอนอยู่ที่ Hong Kong University of Science and Technology หนึ่งเทอมพอดี และพอดีกับความหุนหันพลันแล่นของผมที่จะมาที่นี่ […]Read More