เรื่อง: อภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ ผมเองเดินทางบ่อยมาก…ส่วนใหญ่มีที่มาที่ไปจากเรื่องงานเป็นหลัก ทำให้มุมมองที่ได้จากการเดินทางส่วนใหญ่จึงไม่ใช่การเดินทางเพื่อพักผ่อน หรืออธิบายความสวยงามของสิ่งที่อยู่ตรงหน้า แต่เป็นการหาเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในสิ่งที่เห็น หรือพินิจพิเคราะห์กับสิ่งนั้นให้ลึกกว่าเดิม…และกับเรื่องที่จะเล่าครั้งนี้เป็นการใส่หมวกของคนสอนวิชาบริหารธุรกิจ ผมเชื่อว่าหลายคนเมื่อไปญี่ปุ่น มักจะเข้าไปหาอะไรรับประทานในร้านสะดวกซื้อหรือในซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งผมเองก็เช่นเดียวกัน เพราะมันสนุกจากการเลือก เพลิดเพลินกับของอร่อย และตื่นตาตื่นใจกับสิ่งที่บ้านเราไม่ค่อยมี โดยเฉพาะกับเรื่องความหลากหลายของเครื่องดื่ม ซึ่งจะว่าไปแล้วที่ญี่ปุ่นนั้นแข่งขันกันดุเดือดมากๆ โดยตัวเลขของสถาบันวิจัย Yano รายงานว่าปี 2020 ตลาดเครื่องดื่มในญี่ปุ่นมีมูลค่าตลาดถึง 5 ล้านล้านเยน ทีนี้จะบอกว่า ตอนไปที่ญี่ปุ่นเมื่อ 4-5 ปีก่อน ผมเริ่มสังเกตเห็นความแตกต่างในชั้นที่ขายเบียร์…จากเดิมที่เคยเห็นแค่ 4 ยี่ห้อให้เลือก ไม่ว่าจะเป็น คิริน อาซาฮี ซันโตรี และ ซัปโปโร ซึ่งอาจจะมีเบียร์ยี่ห้ออื่นแซมมาบ้างเล็กน้อย แต่ในวันนี้…ถ้าให้ทุกท่านลองสังเกตกันดีๆ จะเห็นว่าในเมืองใหญ่ เบียร์ยี่ห้อหลักเหลือบนชั้นวางเครื่องดื่มน้อยลงกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง โดยอีกครึ่งหนึ่งที่หายไปกลายเป็นคราฟต์เบียร์ของค่ายต่างๆ เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าย Yona หรือค่ายอื่นๆ ซึ่งเบียร์นอกกระแสเหล่านี้สังเกตไม่ยากครับ เพราะไม่มีบุคลิกที่คมเข้ม น่าเชื่อถือแบบเดิม แต่ว่ามาในรูปลักษณ์ของแมว หมา นกฮูก ปลาวาฬ หรือรูปอื่นๆสุดแท้จะสร้างสรรค์กันได้ ถามว่าเกิดจากอะไร? มันเกิดจากการถูกดิสรัพต์ […]Read More
เรื่อง: อภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ พุทธไทย กระแสน้ำไหลกลับการตีความในความถูกต้องเหมาะสมของศาสนาพุทธในประเทศไทยนั้น ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นถี่ขึ้น บ่อยขึ้น และหนักหน่วงมากขึ้น แต่ทว่าไม่ได้มาในแบบมุมมองจารีตเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเมื่อก่อนจะเห็นเฉพาะมุมมองในแบบปกป้องเสียส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเรื่องชาวต่างชาติกระทำการที่ไม่เหมาะสมกับพระพุทธรูปในประเทศไทย หรือแม้แต่ชาวตะวันตกนำเศียรพระไปเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน ซึ่งเป็นข่าวอยู่เนืองๆ แต่วันนี้กลับเหมือนหนังคนละม้วน เพราะเนื้อหาในภาพยนตร์ซึ่งถูกระบุว่าทำให้ศาสนาเสียหายจนต้องตัดหรือห้ามฉาย กลับได้รับการต่อต้านจากผู้คนจำนวนไม่น้อยว่าเป็นภาพยนตร์และสะท้อนสังคมซึ่งไม่น่าจะเสียหายอะไร ขณะเดียวกัน…ก่อนหน้านี้มีร้านขายขนมทำอาลัว หรือขนมหวาน โดยเลียนแบบพระเครื่องที่คนไทยเคารพบูชา ซึ่งครั้งนี้กระแสแบบจารีตถูกท้าทายจากการตีความของคนรุ่นใหม่ว่าไม่น่าจะเสียหาย เพราะเป็นศิลปะ เป็นเรื่องสมมุติ หรือแม้กระทั่งกล่าวแย้งด้วยว่า พระเครื่องไม่ได้เป็นสิ่งที่พุทธบัญญัติไว้ และกับกรณีที่ใกล้ที่สุด โดยถกเถียงกันมากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง คือ การมี พส หรือ พระสงฆ์ชื่อดัง 2 รูป ออกไลฟ์สดแบบที่เอาเรื่องตลกนำ แล้วเอาคำสอนตาม ซึ่งว่ากันตามเนื้อผ้าแล้ว การใช้ช่องทางออนไลน์สมัยใหม่ และการเข้าถึงด้วยภาษาที่ง่ายนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีเข้ากับยุคสมัย แต่การขอรับการสนับสนุนผ่านการโอนมายังบัญชีส่วนตัว พส เอง ในขณะไลฟ์สด และเนื้อหาที่เป็นคำสอนอันน้อยนิด เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันถึงความเหมาะสม พุทธญี่ปุ่น กระแสน้ำไหลแรงผมเองในฐานะ ‘นักเดินทาง’ และมีความคุ้นเคยกับญี่ปุ่นเป็นพิเศษ จึงอยากขอบอกเล่าถึงปรากฏการณ์ของพระสงฆ์ในญี่ปุ่นว่า เขาเองก็เคยมีช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่ามันมีกระบวนการและขั้นตอนที่ไม่เหมือนกับบ้านเรา ญี่ปุ่นเป็นพุทธในแบบมหายาน ที่เน้นการช่วยเหลือผู้คนและมองภาพใหญ่มากกว่า ขณะที่บ้านเรา คือ […]Read More
เรื่อง: อภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ ท่านผู้อ่านครับ…การเดินทางเพื่อเที่ยววัดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของผม ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 จนถึงวันนี้ เพราะเป็นความเพลิดเพลินใหม่ของคนที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ แล้วต้องห่างหายจากการเดินทางไปแบบผมเพิ่งจะค้นพบ วันนี้ขอเขียนถึงวัดร้างต่างๆ ที่ได้พบระหว่างการปั่นจักรยานตามเส้นทางทั้งในกรุงเทพฯ นนทบุรี และปทุมธานี ซึ่งแต่ละแห่งมีความสนุกที่ได้สัมผัสแตกต่างกันออกไป วัดแรกที่จะชวนให้ทำความรู้จัก คือ วัดสักน้อย ซึ่งที่นี่เหลือแต่วิหารเก่าชำรุด ทว่ายังคงมีความงาม และมีเสน่ห์ตรงที่มีเถาวัลย์ปกคลุมทั่ววิหาร วัดแห่งนี้ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาวิหารเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนมีแผนผังเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานอาคารเป็นฐานบัวแอ่นโค้งเล็กน้อย ผนังด้านหน้าเจาะช่องประตูรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 บาน ผนังด้านข้างเจาะช่องหน้าต่างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านละ 5 บาน ผนังด้านหลังก่อทึบโครงหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดิน ย้ำว่าแม้ความทรุดโทรมอาจจะทำให้ไม่มีรูปแบบศิลปกรรมหลงเหลือให้พินิจอยู่มากนัก แต่การที่บนหลังคานั้น มีต้นไทรและเถาวัลย์ขึ้นปกคลุมไปทั่ว เป็นความสวยงามแปลกตา ซึ่งหากใครได้เข้ามาเห็นจะหวนนึกถึงอดีตแทบทุกคน ผมเองก็เช่นกัน วัดที่ 2 วัดสุวรรณคีรี เป็นวัดร้างที่เหลือความเป็นวัดไม่กี่ตารางเมตร ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนสุธรรมศึกษา ใกล้ๆ กับบ้านศิลปินริมคลองบางหลวง ที่หลายคนอาจจะเคยมาเที่ยวก่อนหน้านี้ ตัวอาคารได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ ซึ่งหากไม่สังเกตอาจจะนึกว่าที่นี่เป็นเพียงศาลเจ้าจีนในโรงเรียน ทั้งนี้ จากหลักฐานที่มีอยู่ สันนิษฐานว่าวัดสุวรรณคีรีสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย และในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการสำรวจวัดครั้งใหญ่ในเมืองเพื่อทำการบูรณะ จึงได้ยุบรวมวัดสุวรรณคีรีเข้ากับวัดคูหาสวรรค์ […]Read More
ฯพณฯ ท่าน โชยงมัน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว และ คุณซอ ยองชุง รองประธาน ฝ่ายกองการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี ร่วมเปิดงาน “Love Korea 2022: รวมพลคนรักเกาหลี เที่ยวสุขใจไปกันเอง Travel To Korea Begins Again” เมื่อวันที่ 20-21 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ ฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต โดยงานครั้งนี้ เป็นงานที่จัดโดยความร่วมมือ ระหว่างองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลีประจำประเทศไทย หน่วยงานภายใต้กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเกาหลี สนับสนุนโดย สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ประจำประเทศไทย และ ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย โดยจุดประสงค์ของงาน เพื่อ ส่งเสริมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของประเทศเกาหลี ภายในงาน มีการอัพเดทข้อมูลการเดินทางใหม่ๆ และมีทราเวล ทอล์ค โชว์ กับ ดีเจ บุ๊คโกะ, ดีเจนุ้ย & ดีเจมะตูม และทราเวลบล็อกเกอร์ […]Read More
เรื่อง: อภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ เมื่อวานนี้ผมมีโอกาสไปทิ้งตัวเองกับร้านชา ร้านกาแฟ รวมถึงร้านขนมปังที่อยู่ในย่านอารีย์ สำหรับผมแล้ว จังหวะการก้าวเดินของที่นี่ ดูคล้ายกับย่านนิมมานเหมินทร์ในเชียงใหม่ หรือ ประมาณย่านไดกังยามะ ของโตเกียว ที่เต็มไปด้วยร้านเล็ก ร้านน้อย ซึ่งแทรกตัวตามซอกหลืบ หรือยืนเด่นท่ามกลางอาคารบ้านเรือนของผู้คน จะว่าไปแล้วเกือบทั้งหมดร้านรวงเหล่านี้มักมีที่มา หรือเรื่องเล่าที่เป็นสตอรี่ประกอบ เพื่อทำให้ความละมุนของสินค้าและบริการถูกขับออกมาให้เด่นตามประสาการเสพเรื่องราวของผู้คนในยุคนี้ ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงบ้าง ปรุงแต่งบ้าง เพื่อทำให้คนอิน หรือซาบซึ้งก่อนที่จะกลืนกินอะไรสักอย่าง ที่เห็นข้างหน้าลงไปในท้อง แต่ที่ญี่ปุ่นนั้น ผมรู้จักร้านกาแฟร้านหนึ่งที่มีสตอรี่ หรือเรื่องเล่าที่ไม่ได้แต่งขึ้นมาประกอบ แต่มาจากเรื่องจริงที่สะท้อนพลังของความเป็นชุมชนเมืองได้เป็นอย่างดี ร้านนี้มีชื่อว่า Kayaba Coffee Kayaba Coffee มาจากชื่อผู้ก่อตั้ง คือ คายาบะ อิโนะสุเกะ ที่เปิดกิจการในปีโชวะที่ 13 หรือ ค.ศ. 1938 ที่นี่ใช้เวลาพิสูจน์ตัวเองไม่นานจนก็กลายเป็นขวัญใจของคนในชุมชนไทโต ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากย่านอูเอโนะ ในโตเกียว และยืนหนึ่งเป็นลมหายใจของผู้คนในย่านนี้อย่างต่อเนื่องกว่า 60 ปี จนเมื่อคุณคายาบะ อิโนะสุเกะ ต้องอำลาจากโลกไป จากการที่ทายาทของเธอ ไม่ประสงค์จะรับมรดกต่อ Kayaba Coffee […]Read More
เรื่องโดย: กบูร บ่อยครั้งที่ได้ยินข่าวคราวของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบและความรุนแรงของการก่อการร้าย แน่นอนว่าต้องส่งผลกระทบต่อภาพรวมในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัย ด้านเศรษฐกิจ ด้านชีวิตของผู้คน และด้านการท่องเที่ยว จนหลายคนผวาไม่กล้าไปเยือนถิิ่นปลายด้ามขวานของ แต่เมื่อ GM Live ได้มีโอกาสไปเยือนเมืองยะลา 1 ใน 3จังหวัดดังกล่าว ภาพที่เห็นต้องบอกเลยว่าเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่น่าอยู่มากๆ ผู้คนก็น่ารัก ธรรมชาติก็สวยงาม อาหารการกินก็อร่อย มีร้านอาหารหลายร้านที่ห้ามพลาด แถมด้วยผลไม้ขึ้นชื่ออีกหลายหลายชนิด และยังได้เห็นบรรยากาศของงานวิ่ง ยะลามาราธอน อีกหนึ่งงานวิ่งที่ได้รับการปักหมุดระดับประเทศ และมีเป้าหมายมุ่งสู่ระดับสากล เพราะมีเหล่านักวิ่งทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึงคนในพื้นที่ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ยิ่งได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรียะลา ยิ่งทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนของความเป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ (SMART CITY) จนน่าทึ่ง รวมถึงการบริหารจัดการระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งคุณพงษ์ศักดิ์ บอกว่า “เป็นการเพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้” และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการเมืองนี่เองที่กลายเป็นเสน่ห์ของเมืองยะลา ทำให้ภาคส่วนต่างๆ พัฒนาควบคู่กันไปได้อย่างครอบคลุม ทำให้การมายะลาในครั้งนี้แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็รู้สึกประทับใจกับทุกสถานที่ที่ได้ไปเยือน… มาดูกันครับว่า GM Live […]Read More
เมื่อพูดถึง ‘หัวลำโพง’ หลายๆ คน คงนึกถึงความเก่าแก่และคลาสสิก เพราะสถานที่แห่งนี้มีอายุถึง 103 ปีแล้ว วันนี้จะเที่ยวกันทั้งทีก็ต้องมีรูปสวยๆ ตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนจะออกเดินทาง ในเวลา 08.30 น. ยังมีเวลา สำหรับถ่ายรูปสวยๆ ในแสงตอนเช้าแบบนี้ แนะนำเลย ส่วนด้านหน้าสถานี เป็นโลเกชันที่ถ่ายออกมาแล้ว ได้อารมณ์นักเดินทางสุดๆ ถือเป็นโอกาสพิเศษของ GM ที่ได้ร่วมเดินทางกับการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยรถไฟขบวนพิเศษที่ 995 ในเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน จุดหมายปลายทางยอดนิยม ซึ่งส่วนใหญ่ จะเดินทางกันด้วยรถยนต์ส่วนตัว แต่ทริปนี้ ลองมาดูบรรยากาศการเดินทางด้วยรถไฟกันบ้าง โดยปกติแล้วการรถไฟมีบริการให้เช่า เหมาตู้โบกี้รถไฟจัดเฉพาะสำหรับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเป็นหมู่คณะนะครับ ตามแบบที่ต้องการเพื่อพ่วงไปกับขบวนรถไฟนำเที่ยว เพื่อความเป็นส่วนตัวและสนุกสนานกันตามอัธยาศัย แต่สำหรับทริปนี้คือขบวนรถ OTOP ซึ่งเป็นรถนั่งจำนวน 2 คัน รวม 112 ที่นั่ง ลักษณะที่นั่งเหมือนกับรถไฟโดยสารปรับอากาศทั่วไปแต่แตกต่างกันที่การตกแต่งที่เน้นความสวยงามแบบอบอุ่นด้วยโทนสีน้ำตาลเป็นหลัก สำหรับรถ OTOP นั้นประกอบไปด้วยตู้โดยสาร 2 คัน ตู้แรกมีที่นั่ง 40 ที่ มีเคาน์เตอร์บาร์และ […]Read More
การท่องเที่ยวฮ่องกง (Hong Kong Tourism Board: HKTB) ดึงศิลปินหลากหลายสัญชาติกว่า 18 คน ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาร่วมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเอกลัษณ์อันยาวนานของฮ่องกง ใน กิจกรรม “Arts in HK with S.E.A artists” ซึ่งเป็นกิจกรรมเสริมภายใต้แคมเปญใหญ่ตลอดปีอย่าง “Arts in Hong Kong” ที่มุ่งนำเสนอฮ่องกงสู่สายตาของผู้ชม มอบประสบกาณ์อันหลากหลายด้านศิลปะและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง พร้อมสร้างชื่อเสียงของฮ่องกงในฐานะศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ แคมเปญ “Arts in HK Read More
การที่กลุ่มสังคมหนึ่งๆ จะสามารถเรียกตนเองว่าเป็น ‘ชุมชน’ ได้นั้น ไม่ได้เพียงแค่การอยู่รวมกันทางกายภาพ หากแต่จะต้องมีจุดร่วมของความเชื่อทางวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา และการสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และการเดินทางไปเยี่ยมเยือนชุมชนบ้านญวนและบ้านเขมร ย่านสามเสน ก็ช่วยเปิดหูเปิดตาและตอกย้ำถึงคำว่า ‘ชุมชน’ ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะด้วยการร่วมกันของความเชื่อ หรือระยะเวลาที่สืบทอดสิ่งนั้นๆ ก็ตาม ชุมชนบ้านญวนและบ้านเขมรในเขตสามเสนนั้น สามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ชาวญวนผู้นับถือคริสต์ศาสนา ได้ลี้ภัยอาญาแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ผู้ไม่ทรงเปิดกว้างทางความคิด และมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของแผ่นดินสยามในเวลานั้น และค่อยๆ ตั้งรกราก สร้างเนื้อสร้างตัว และค่อยๆ สืบทอดความเชื่ออย่างเป็นมั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน นับอายุได้กว่าหลายร้อยปี สถานที่สำคัญที่เป็นแก่นกลางหลักของชุมชนชาวคริสต์ไทยเชื้อสายญวนและเขมรนั้น ไม่น่าแปลกใจ ที่โบสถ์หรือวัด จะเป็นศูนย์รวมของชุมชนดังกล่าว ดังเช่นวัดนักบุญฟรังซิสเซเวีย ที่สวยงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบกึ่งโกธิค ตระการตาด้วยกระจกสีที่ผลิตและติดตั้งประดับด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ สะท้อนถึงความศรัทธาของคริสต์ศาสนิกชนชาวไทยเชื้อสายญวนและเขมรที่หยั่งรากและสืบทอดกันมาอย่างงดงาม เปี่ยมล้นด้วยความเชื่อมั่นที่พร้อมส่งต่อไปสู่อนาคต จากโบสถ์เซนต์ฟรังซิสเซเวีย เดินต่อมาอีกไม่ไกลนัก ก็เป็นสถานที่ตั้งของอีกหนึ่งสถานที่สำคัญอย่าง วัดคอนเซ็ปชัญ (Conception Church) ที่นอกจากจะคงรูปแบบงานสถาปัตยกรรมดั้งเดิมที่แข็งแกร่งด้วยงานปูนเปลือยแล้ว ยังเป็นที่เก็บรวบรวมบัญชีรายชื่อของลูกหลานชาวไทยเชื้อสายญวนและเขมร นับตั้งแต่วันที่ตั้งรกราก จนถึงในห้วงเวลาปัจจุบันขณะ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้ชุมชนชาวไทยเชื้อสายญวนและเขมรนั้นยืนยาวมาจนถึงปัจจุบัน คือกลุ่มลูกหลานที่ยังคงยึดมั่น และใช้ชีวิตในความเชื่อทางศาสนาของตนอย่างเหนียวแน่น ผ่านองค์ประกอบและบริบทปัจจัยที่แตกต่างกันไป ทั้งพิธีกรรม ทั้งงานสถาปัตยกรรม ไปจนถึงขนมและพื้นที่สำหรับผู้ที่ล่วงลับ […]Read More
‘ที่นี่ดังขึ้นมาได้เพราะแมวน่ะ’ พี่เจ้าของร้านสี่แยกหัวตะเข้ กล่าวพร้อมโชว์วิดีโอแมวน้อยที่กำลังว่ายน้ำในริมคลอง ในขณะที่เรากำลังสดชื่นกับเครื่องดื่ม เรานึกทึ่งในความสามารถของแมวน้อยตัวนั้น ท่ามกลางบรรยากาศลมพัดเอื่อยๆ ที่ผ่านผิวของเราจากการตัดกันของคลองประเวศบุรีรมย์และคลองปลาทิว และอดประหลาดใจไม่ได้ ว่า ‘ตลาดเก่าหัวตะเข้’ แห่งย่านลาดกระบังแห่งนี้ ที่ดูห่างไกลปืนเที่ยง อยู่ริมสุดของเขตกรุงเทพมหานคร จะกลายมาเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางศิลปะและวัฒนธรรม นับย้อนกลับไปห้าหรือหกปีก่อน มันคงเป็นการยาก ที่ชุมชนบ้านริมน้ำแห่งนี้ จะปรากฏขึ้นบน Google Map แต่ในวันนี้ มันยืนหยัดอย่างท้าทาย พร้อมหอบหิ้วประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และความทรงจำ ไม่ใช่หลักสิบ แต่เป็นหลักร้อยปี ผ่านช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์ ดำดิ่งถึงจุดต่ำสุด และฟื้นตัวขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งย่านน่ารักที่เราอยากจะเชิญชวนให้ได้มาค้นพบเสน่ห์ของมัน มันคือการเดินทางของชีวิต ที่ผสมผสานศิลปะ และวัฒนธรรมอันหลากหลายได้อย่างลงตัว และนี่… คือเรื่องราวของมัน อดีตอันเรืองรอง ริมสองฝั่งคลองหัวตะเข้ นับย้อนกลับไปนับร้อยปี หลังการขุดคลองประเวศบุรีรมย์โดยพระราชดำริของล้นเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ชุมชนริมน้ำหัวตะเข้ ได้กลายเป็นสถานที่แห่งหนึ่ง ที่รวมความหลากหลายทางชาติพันธุ์เอาไว้อย่างหนาแน่น ไม่ว่าจะชาวไทย ชาวมอญ ชาวจีน ที่ตั้งรกรากอยู่ริมสองฝั่ง ขนานยาวไปกับแนวของลำคลอง ชุมชนริมน้ำหัวตะเข้ ทำอาชีพหลักอย่างการเกษตรกรรม การปลูกข้าว เลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ ที่ได้ผลดี จากดินที่อุดมสมบูรณ์ […]Read More