เรื่อง: อรุณศรี วิชชาวุธ รองผู้อำนวยการกองกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ การพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากวิสัยทัศน์ของประเทศไทย “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 ที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะใช้โมเดลขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เพื่อพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ดังนั้น ระบบราชการจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อสอดรับกับบริบทที่จะเกิดขึ้นโดยมุ่งเป็น “ ระบบราชการ 4.0” โดยต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีความคิดสร้างสรรค์ เพี่อสร้างนวัตกรรมภาครัฐ ในการยกระดับไปสู่ “ระบบราชการ 4.0” ที่มี ทั้งนี้จากเป้าหมายของการมุ่งพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 โดยเฉพาะในด้าน การมุ่งพัฒนาให้หน่วยงานของรัฐมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government) ก่อให้้เกิด ความท้าทายในการบริหารจัดการบุคลากรภาครัฐ ในด้านการมุ่งเน้นบุคลากร (PMQA 4.0 : หมวด 5 ) ที่ได้กำหนด เป้าหมายที่มุ่งเน้นให้ส่วนราชการมีนโยบายและระบบการบริหารจัดการด้านบุคลากรที่มีประสิทธิภาพตอบสนอง ยุทธศาสตร์ และสร้างแรงจูงใจ มีความคล่องตัวและมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ มีการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดี […]Read More
กับงานประกาศรางวัลของชาวโซเชียล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 (8 กุมภาพันธ์ 2566 : กรุงเทพฯ) – บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดได้ประกาศความพร้อมจัดงาน “Thailand Social Awards” ครั้งที่ 11 มอบรางวัลเพื่อเชิดชูผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ มากกว่า 300 รางวัล! งานนี้ถือเป็นงานประกาศรางวัลโซเชียลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยที่ถูกจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2555 เพื่อส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ รวมถึง ยกระดับและให้ความสำคัญกับวงการโซเชียลที่เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดยความพิเศษในปีนี้คือ งานประกาศรางวัล Thailand Social Awards ได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบในหลายๆ ส่วน ตั้งแต่การเปลี่ยนตัวอักษร “Z” ในชื่องานเป็นตัวอักษร “S” เพื่อความชัดเจนในการสื่อสารเรื่องราวของงานประกาศรางวัล รวมถึงการปรับเปลี่ยนโลโก้งานประกาศรางวัล โดยตัวอักษร “S” ถูกออกแบบให้แยกออกจากกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสามชิ้นโดยแต่ละชิ้นมีทั้งเหลี่ยมมุม และความโค้งมน เรียงต่อกันในแนวตั้งให้สามารถมองเห็น และตีความได้ในหลากหลายมิติ เพื่อสื่อความหมายว่าบนโลกโซเชียลนั้นแต่ละคนมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังได้ปรับปรุงเกณฑ์การวัดผลในการประกาศรางวัล Thailand Social […]Read More
เมื่อกล่าวกันถึงสิ่งที่เป็น ‘วัฒนธรรม’ แล้วนั้น ถ้ามันจะก่อให้เกิดปัญหา ก็มักจะอยู่ที่ ‘การตีความ’ และ ‘ลักษณะร่วม’ ของภูมิภาคพื้นถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าลักษณะร่วมที่ว่า มีความคลับคล้ายคลึงกัน และมีประวัติศาสตร์ของท้องที่ที่ใกล้เคียงกันมากเกินกว่าที่การศึกษาจะสามารถย้อนรอยถอยกลับไปถึง เมื่อนั้น ข้อพิพาทจากมาตรฐานใหม่ กับความเข้าใจเดิมๆ ก็มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ และมันก็เป็นอีกครั้ง กับวัฒนธรรมของสยามประเทศ เมื่อกีฬา ‘มวยไทย’ ได้ถูกกล่าวอ้าง ว่าหยิบยกมาจากศิลปะป้องกันตัวพื้นบ้านของกัมพูชาอย่าง ‘กุน ขแมร์’ หรือ ‘โบกะตอร์’ … เรื่องราวที่เป็นปัญหา เกิดขึ้นเมื่อกัมพูชา จัดการแข่งขันมวย ภายใต้ชื่อ ‘กุน ขแมร์’ หรือ ‘โบกะตอร์’ ที่มีกฎ กติกา และรูปแบบ คล้ายคลึงกับมวยไทยเกือบจะแทบทุกประการ โดยปฏิเสธที่จะใช้ชื่อตามที่สมาพันธ์มวยไทยนานาชาติ หรือ IFMA ได้กำหนดเอาไว้ แม้ว่าคณะกรรมการโอลิมปิกสากลหรือ IOC จะยืนยันเสียงขาด ว่า ‘มวยไทย’ คือกีฬาระดับสากลก็ตาม ก็ทำไมจะต้องแคร์ ในเมื่อมีหลักฐานยืนยันชัดเจน ว่ามวยไทย ลอกมาจากโบกะตอร์มาชัดๆ จากภาพศิลาจารึกในประวัติศาสตร์เขมรเมื่อหลายพันปีก่อน…. […]Read More
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เคยเป็นเรื่องไกลตัว กลับเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยและส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้คนบนโลกในปัจจุบัน ทั้งสภาพอากาศที่แปรปรวน การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและการอยู่อาศัยของผู้คน การแพร่กระจายของฝุ่น PM 2.5 และอื่นๆ อีกมากมาย ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีผลให้การรักษ์โลกในแง่มุมต่างๆ กลายเป็นเป้าหมายสำคัญในเวทีโลก รวมถึงประเทศไทยที่ตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608 หลายองค์กรหันมาปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะที่อีกหลายองค์กรยังมีการขยับตัวช้า เพราะคิดว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงมองข้ามประเด็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ไป ดังนั้นคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ร่วมมือกับบริษัท เอบีเอ็ม คอนเนค จำกัด ดิจิทัลพีอาร์เอเจนซี่ชั้นนำของประเทศไทย จัดทำการวิจัยเพื่อศึกษาการรับรู้ และแนวโน้มพฤติกรรมการใช้สินค้ารักษ์โลก (green product) ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ผ่านการจัดทำแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง 601 คน ครอบคลุมผู้บริโภคทุกเพศจากทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งมีอายุระหว่าง 18-50 ปี โดยสัดส่วน 21.1% เป็น Gen X (อายุ 42-50 ปี) 32.1% Gen Y (อายุ 26-41 ปี) และ Gen […]Read More
ในโลกยุคปัจจุบัน คงไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ความสำคัญของ ‘ความมั่นคงทางพลังงาน’ คือดัชนีชี้วัดความมั่งคั่งและความมีประสิทธิภาพในกำลังการผลิตของประเทศหนึ่งๆ ท่ามกลางการแข่งขันทางการค้าและอุตสาหกรรมที่ทวีขึ้นในทุกปีที่ผ่านไป อย่างไรก็ตาม จากรายงานขององค์การสหประชาชาติปี 2018 นั้นได้พบความจริงที่น่าตื่นตระหนก เมื่อการแข่งขันทางด้านความมั่นคงทางพลังงาน ได้ส่งผลร้ายกับสภาพแวดล้อมโดยรวมของโลกในรูปของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส และจะเกิดขึ้นในระยะเวลาระหว่างปี 2030-2052 เป็นอย่างช้า ซึ่งนั่นเป็นระยะเวลาที่ไม่นาน เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของอุตสาหกรรมที่ยังใช้พลังงานแบบเก่า ที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่า นานาชาติเริ่มให้ความสำคัญและใส่ใจกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และลงนามในความตกลงร่วมกัน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ถึงเป้าหมาย ‘Carbon Neutrality’ หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน รวมถึงการคงอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มมากไปกว่าอัตราที่ทางองค์การสหประชาชาติได้ทำการศึกษาในรายงานล่าสุด นับเป็นเป้าหมายที่ท้าทายและยากจะไปถึง แต่ทุกประเทศต่างพร้อมใจ เพราะเวลาแห่งการเพิกเฉยมองผ่านได้หมดไปแล้ว และการปฏิบัติเพื่อให้โลกยังคงอยู่ในระดับที่สามารถอยู่อาศัยได้ต้องเกิดขึ้นจริง เมื่อเป้าหมายเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าได้รับการยอมรับและความยินยอมร่วมกัน พลังงานฟอสซิลแบบเก่าจึงต้องถูกทดแทนด้วย ‘พลังงานแห่งอนาคต’ ที่ทันสมัยกว่า สะอาดกว่า และปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า ดังจะเห็นได้จากการทดลองและรายงานเรื่องการใช้พลังงานดังกล่าวในประเทศฟากตะวันตกไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานลม หรือพลังงานหมุนเวียน สำหรับประเทศไทย กลุ่ม ปตท. ผู้ดูแลด้านความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนผ่าน และภาวะวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่ใกล้เข้ามา จึงเริ่มพัฒนาและเบนเข็มเข้าสู่ธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตเหล่านี้ให้ขับเคลื่อนไปพร้อมกับเป้าหมายในการไปถึง Carbon Neutrality ที่ประเทศไทยตั้งมั่นมุ่งหมายเอาไว้เช่นกัน และการพัฒนาของกลุ่ม ปตท. ในด้านพลังงานแห่งอนาคตนั้น […]Read More
มีคนเคยกล่าวว่า โลกของการทำงาน ก็ไม่ต่างอะไรกับ ‘สมรภูมิรบ’ ที่คนคนหนึ่งจะต้องรับมือกับทั้งความยากลำบากของการทำงาน จนถึงการรักษาระดับความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ที่ร้อยพ่อพันแม่ มีความแตกต่างทางด้านนิสัยใจคอ และแน่นอน ‘คนเป็นพิษ (Toxic People)’ นั้นก็เป็นประเภทที่เราสามารถพบเจอได้บ่อย เป็นคนที่แค่อยู่ใกล้ก็เหมือนโดนสูบพลังชีวิตหายไปครึ่งตัว เป็นคนที่พร้อมทำทุกอย่างเพื่อตัวเอง และไม่สนใจเอกภาพหรือความรู้สึกของใคร แต่น่าแปลกไม่น้อย ที่หลายการศึกษาและการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง กลับพบว่า ‘คนเป็นพิษ’ เหล่านั้น มีแนวโน้มที่จะก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นเจ้าคนนายคนในระดับสูงได้อย่างน่าประหลาด และเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในการงานอย่างน่าพิศวง (ตัวอย่างเช่น Donald Trump อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาผู้ฉาวโฉ่ ที่บุคลิกสุดแสนจะเป็นพิษ แต่สามารถขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี, George Soros นักการเงินมือฉมัง ผู้สามารถทำลายล้างการเงินของประเทศหนึ่งอย่างไม่รู้สึกรู้สา หรือแม้แต่ Steve Jobs ศาสดาแห่งแบรนด์ Apple ผู้ล่วงลับ ก็ขึ้นชื่อเรื่องความ Toxic กับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างร้ายกาจจนเป็นที่เลื่องลือ…) ทำไมคนเหล่านั้นถึงได้ดีในสายงาน? ทำไมความร้ายกาจและนิสัยที่ไม่น่าคบหาถึงถางทางและเป็นบันไดในหน้าที่การงานได้ขนาดนี้? เชื่อว่าหลายคนอาจจะมีคำถามดังกล่าวเกิดขึ้นในใจ และในทางสังคมวิทยาและจิตวิทยา มีคำตอบสำหรับความน่าฉงนใจเหล่านี้ บุคลิกของคนเป็นพิษกับการทำงาน คนที่เป็นพิษหรือ Toxic People นั้น แม้ดูเผินๆ จะเป็นคนไม่น่าคบหา […]Read More
ในห้วงเวลาและการใช้ชีวิตที่ผันผ่านไปในแต่ละวัน การงานที่วุ่นวาย คนรอบตัวที่ยุ่งยาก เหตุปัจจัยที่ไม่เป็นไปตามที่หวัง รวมถึงปัญหามากมายสารพันที่สุมทับกันเข้ามาให้ใช้สมองและเวลาในการแก้ไขจนราวกับไม่รู้จบสิ้น เพียงชั่วขณะที่ความยุ่งเหยิงต่างๆ หลบหายไป แม้จะเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่เชื่อว่ามีไม่น้อย ที่จะคิดถึง ‘วันเก่าๆ’ ช่วงเวลาดีๆ ที่ทุกอย่างเรียบง่าย เป็นไปอย่างใจ และ … มีความสุขมากกว่าที่เป็นอยู่นี้ในปัจจุบัน จะมีอะไรที่มีความสุข เท่ากับความทรงจำที่ดี เรื่องราวในอดีตที่สมหวัง การอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา และชีวิตที่ความรับผิดชอบกับปัญหา ยังดูเป็นเรื่องที่ห่างไกลจนแทบไม่ต้องห่วงกังวล แต่อย่างที่เราทราบกันดี ว่าเวลาไม่สามารถย้อนถอยหลังกลับไปได้ ความคาดหวังใดๆ ที่จะกลับไปสู่ช่วงเวลาในอดีต ก็เป็นเพียงความ ‘ปรารถนา’ ที่ซุกซ่อนอยู่ข้างใน ที่พอจะทำให้นึกระลึกขึ้นมาได้ เป็นครั้งคราว …. หรือไม่ก็อาจจะถูกแปลงสภาพให้กลายเป็น ‘สินค้า’ ที่ซื้อหาได้ โดยไม่เกี่ยวว่าจะเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่ ตราบเท่าที่หัวใจเรียกร้อง? ความโหยหาช่วงเวลาในอดีตอันแสนสุข และการระลึกภาพจำช่วงเวลาแห่งวันวาน ที่ถูกเรียกขานกันว่า ‘นอสทัลเจีย (Nostalgia)’ นั้น คือสภาพทางจิตใจที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และเป็นกระบวนการกับกลไกป้องกันตนเอง เพื่อหลีกหนีจากความเจ็บปวดจากสภาวะเหนื่อยยากทางด้านจิตใจที่เกิดขึ้นในเวลาปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม กลวิธานแห่งการป้องกันตนเอง ก็กลายมาเป็นสิ่งที่นักการตลาด และบริษัทผลิตภัณฑ์ ได้หยิบจับมาใช้เป็นเครื่องมือและกลยุทธ์ ภายใต้สภาวะ ‘Nostalgic Effect’ […]Read More
หากจะกล่าวกันถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘ชีวิต’ แล้วนั้น แต่ละคนย่อมมีรายละเอียด มีพื้นฐาน มีปัญหา มีเรื่องราวที่แตกต่างกันออกไป ภายใต้สภาวะและปัจจัยที่มีร่วมกัน บ้างก็เรียบง่าย บ้างก็เต็มไปด้วยอุปสรรค บ้างก็เป็นไปอย่างมีขั้นตอน บ้างก็ขรุขระและมีขวากหนามรายล้อม แน่นอนว่า การสร้างสังคมที่มีความเสมอภาค ความสามารถในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง และการลดช่องว่างทางรายได้และความเหลื่อมล้ำ คือสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่ถึงอย่างนั้น ชีวิตของทุกคน ก็ไม่มีทางที่จะเหมือนกัน แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญ ขึ้นกับ ‘ทางเลือก’ ในการตัดสินใจแต่ละช่วงของชีวิต ชีวิตเต็มไปด้วยทางเลือก ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานที่สุดอย่างการเลือกที่จะกินอะไรเป็นอาหารเย็น เลือกที่จะใส่เสื้อผ้าแบบใด จนถึงเลือกที่จะคบหาใครเป็นกลุ่มเพื่อนฝูง เลือกที่จะทำงานในสายใด และเลือกที่จะตัดสินใจรับใครเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน แม้ไม่อยาก แต่เราต่างต้อง ‘เลือก’ ในสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ บางครั้งการเลือก ก็นำพาไปสู่ความก้าวหน้า ชีวิตที่ดี และการพัฒนาตนเอง แต่ก็มีอยู่หลายครั้ง ที่การเลือก นำไปสู่สถานการณ์ที่ยากแก่การทำใจยอมรับ จนอดไม่ได้ที่จะต้องกลับมาถามตัวเองซ้ำๆ ว่า ถ้าหากตอนนั้น ตอนนี้ เลือกอีกอย่าง ไปอีกทาง ชีวิตจะแตกต่างไปจากนี้หรือไม่ การเลือก จึงมีพลัง และต้องผ่านการคิดพิจารณาให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยเฉพาะถ้าการเลือกนั้น ส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อความเป็นไปในภายภาคหน้า […]Read More
เรื่อง: ชุติมา ดุรงค์เดช ผู้อำนวยการสื่อสารและดูแลภาพลักษณ์องค์กร บริษัท มาซูม่า (ประเทศไทย) จำกัด “จงมอบ ความเมตตา และ การให้อภัย กับทุกคน โดย ไม่ต้อง มีเหตุผล ไม่ต้องมีข้อแม้ และไม่ต้องมีเงื่อนไข” นี่คือสิ่งที่ชีวิตนี้ได้บอกกับมุกค่ะ หรือถ้าจะบอกให้ชัดเจนขึ้นไปอีกนั่นก็คือสิ่งที่มุกได้เรียรรู้จากชีวิตนั้่นเอง เพราะ ถ้าเราสามารถมอบ ความเมตตา การให้อภัย กับทุกๆ คนที่ทำร้ายเรา รวมถึงทุกเหตุการณ์ที่ไม่ดีซึ่งเกิดขึ้นในชีวิตของเราได้นั้น จะทำให้ตัวเราไม่ต้องอยู่กับอารมณ์ลบหรือสะสมอารมณ์ที่ไม่ดีในใจของตัวเอง ซึ่งถ้าทำได้อารมณ์ในจิตใจก็จะมีแต่ความสงบและเบาสบาย สุดท้ายแล้วก็จะส่งผลดีต่อตัวเราเองโดยตรงค่ะ และ ถ้าสามารถมอบความเมตตา การให้อภัย กับทุกๆ คนที่ทำร้ายเราและทุกเหตุการณ์ที่ไม่ดีในชีวิตเราได้นั้น ก็เป็นการแสดงให้ตัวของเราเองได้เห็นว่า “เราเป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ เป็นคนที่ใจทรงพลัง เป็นคนที่ดีกว่าผู้ที่ทำร้ายเรา และตัวเราเองเป็นมนุษย์ที่มีระดับจิตใจดีกว่าคนที่ทำร้ายเราอีกด้วย ทั้งนี้ การให้อภัยเวลาที่อยู่ในสถานะเป็นผู้ถูกกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ยากมากๆ ยิ่งการให้อภัยกับคนที่ไม่คู่ควรกับการให้อภัย หรือการให้อภัยกับคนที่ไม่ได้สำนึกผิด หรือคิดจะกล่าวขอโทษเมื่อรู้ว่าผิดนั้น ยิ่งเป็นสิ่งที่ยากมากที่สุด แต่…เป็นสิ่งที่สามารถทำได้และสร้างให้เกิดขึ้นได้ ด้วย “ความเข้าใจ“ เพราะ…ความเช้าใจนี่เองที่เป็นดั่งการสร้างอิสรภาพทางใจให้กับตัวเราเอง ซึ่งอิสรภาพทางใจนั้นเป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่ดีที่สุด ที่สามารถสร้างได้ด้วยตัวเองให้กับตัวเราเอง มุกชอบคำสอนของบาทหลวง ชาร์ลส์ อาร์. […]Read More
เมื่อพูดกันถึงเรื่องของการจับจ่ายซื้อของใช้ ไม่ว่าจะสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน หรือสินค้าฟุ่มเฟือยเพื่อสนองความต้องการที่นอกเหนือจากนั้น การมาถึงของเทคโนโลยี Mobile Pay และ Platform ซื้อสินค้าแบบออนไลน์ ช่วยให้เกิดความสะดวกในการจับจ่าย และสร้างทางเลือกในกระบวนการที่เคยมีอยู่จำกัดแต่เพียงห้างร้าน ให้เข้ามาใกล้ชิดผู้คนในทุกระดับมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการสร้าง ‘สภาวะสองทาง’ ที่ผู้ซื้อ สามารถกลายเป็นผู้ขาย ได้อย่างง่ายดาย เส้นแบ่งระหว่าง Business (b) และ Customer (c) ก็ดูจะจางลง แต่ในทางหนึ่ง เมื่อกระบวนการถูกทำให้ง่าย เมื่อผู้ขายกระโดดลงมาสู่สนามการค้าอย่างเสรี ผู้ให้บริการ Platform ก็ต้องสรรหาวิธีการ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด ให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบของตนเองให้มากที่สุด และเมื่อทุกความสะดวกถูกนำเสนอจนหมดสิ้น มันจึงมาถึงข้อสรุปของแนวทางสุดท้ายของการกระตุ้นการจับจ่ายแบบใหม่ ที่กลายเป็นปัญหาในขณะนี้ เมื่อ ‘สินค้า’ สามารถซื้อได้ และเลือกที่จะ ‘จ่ายทีหลัง’ … แนวทางรับสินค้าก่อน จ่ายทีหลัง หรือ ‘Buy Now, Pay Later’ นี้ เริ่มแพร่หลายใน Platform สินค้าออนไลน์ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada […]Read More