ในโลกยุคปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงถึงกัน กลายเป็นเรื่องที่สามารถทำได้แค่เพียงปลายนิ้วมือ ต่อเนื่องราวกับไม่มีที่สิ้นสุด อัพเดทข่าวสารโดยไม่พัก และปลีกย่อยได้ถึงระดับรายบุคคลเพียงโทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่อง ภาพฉากอันเหนือจริงที่กลายเป็นจริง เมื่อพิจารณาว่า ต้นกำเนิดของสิ่งที่เรียกว่า ‘อินเตอร์เนท’ นั้น มีอายุในเชิงการค้าและพาณิชย์ได้เพียงแค่สามสิบปีเท่านั้น…. ความยุ่งยากซับซ้อน ถูกลดทอนให้เหลือเพียงกระบวนการที่กระทำอยู่หลังฉาก ขั้นตอนทางเทคนิค กลายเป็นคำสั่งปิดเปิดรับสัญญาณ และพื้นที่เสมือนที่ซ้อนทับกับโลกแห่งความเป็นจริง ก็หลากหลายไปด้วยเรื่องราว ความคิดเห็น และการค้าขายอย่างไร้ขีดจำกัด Bill Gates ผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft เคยกล่าวเอาไว้ในสมัยที่เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีตามบ้านยังเป็นของใช้ราคาแพงว่า จินตนาการถึงสิ่งที่ประดิษฐกรรมนี้จะทำได้ในอีกสามหรือสี่ทศวรรษข้างหน้า ว่ามันจะก้าวกระโดดไปไกลแค่ไหน มันจะทำให้ผู้คนเชื่อมโยง เข้าใจกันและกัน และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกันมากเพียงใด วันนี้ คือเวลาที่เขาได้ทำนายเอาไว้ ด้วยผลลัพธ์ที่ ….. แตกต่างออกไป อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ เราติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงถึงกัน แต่เลือกที่จะ ‘จำกัด’ ความคิดเห็น คัดกรองให้เหลือแต่ประสบการณ์ที่พึงพอใจหรือโปรดปราน เรามีการค้าขายลงมาถึงระดับรายย่อย แต่ความเหลื่อมล้ำก็ยังถ่างกว้างออกไป เรามีความเพลิดเพลินใจ แต่ทิศทางหรือรสนิยมก็ยังไม่หลากหลาย ทุกอย่างเดินไปตามกระแสที่ซวนเซ พัดพาไป ความเปิดกว้างบนพื้นที่เสมือน ถูกสร้างรัฐชาติแห่ง ‘กรอบจำกัด (Echo Chamber)’ ที่สงวนไว้สำหรับผู้ที่มีความคิดเห็นที่ตรงกัน เพศสภาพ อัตลักษณ์ […]Read More
ชีวิตการทำงานในปัจจุบัน มีความสลับซับซ้อนของตำแหน่งงาน และความเชี่ยวชาญเฉพาะอยู่เป็นอย่างมาก ยิ่งนานปี ยิ่งมากกระบวนการ ก็ยิ่งทวีความหลากหลายขึ้นไปทุกขณะ จากชื่อตำแหน่งงานง่ายๆ เรียกได้ไม่ยาก สู่คำนำหน้าตำแหน่งที่ยาวขึ้นทุกทีๆ จนเริ่มจะไม่แน่ใจว่า ตำแหน่งที่ทำอยู่นี้ มันคืออะไร จากนักเขียน กลายเป็น Contents Creator จากนักการตลาด กลายเป็น Market Coordinator จากผู้บริหาร ก็ซอยย่อยเป็นทั้ง CEO, CFO, COO ,มนุษย์อาจจะชื่นชอบความซับซ้อน ยิ่งมาก ยิ่งแสดงถึงองค์กรที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น มีรูปแบบการดำเนินงานที่ครอบคลุมมากขึ้น แต่มนุษย์เองก็มีข้อจำกัด ภายใต้สมรรถนะของสมองแห่งการเรียนรู้ จดจำ และเวลาที่มีอยู่ในชีวิต การที่จะ ‘เป็นทุกอย่าง’ นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย นั่นทำให้ ‘มนุษย์พันธุ์หลากหลาย’ หรือ ‘Multiskill’ หรือ ‘มนุษย์เป็ด’ ผู้ทำได้ทุกอย่าง โดยไม่จำเป็นต้องไปสุดสักทาง กลายเป็นกระแสในโลกแห่งองค์กรการทำงานอยู่พักหนึ่งในช่วงที่ผ่านมา มนุษย์เป็ด หรือเรียกอย่างหรูหราว่า Multiskill คือผู้มีศักยภาพในการที่จะทำ หรือเรียนรู้งานในศาสตร์สาขาต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญรู้ลึกรู้จริง แต่สามารถประสานงานกับภาคส่วนต่างๆ ได้อย่างมีมิติและลื่นไหล […]Read More
ตั้งแต่ ChatGPT ถูกเปิดตัวในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 มีกระแสการพูดถึงแชทบอทตัวนี้อย่างล้นหลามในหลายแวดวง เนื่องมาจาก ChatGPT มีระบบ AI ที่สามารถหาคำตอบให้คู่สนทนาได้อย่างรวดเร็ว ด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติและสามารถตอบคำถามที่ซับซ้อนได้ โดยระบบจะรวบรวมข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แล้วทำการประมวลผลเพื่อหาคำตอบให้แก่ผู้ใช้ ทำให้มีการพูดถึงความฉลาด และการนำความสามารถของ ChatGPT มาใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหลากหลายอุตสาหกรรมในวงกว้าง บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้ทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน 2565 ถึง 12 มีนาคม 2566 ผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE พบว่ามีเอ็นเกจเมนต์ทั้งสิ้น 1,811,162 เอ็นเกจเมนต์และมีข้อความที่พูดถึง ChatGPT 12,452 ข้อความ โดยพบเอ็นเกจเมนต์มากที่สุดในช่องทาง Facebook คิดเป็น 50.82%, Twitter คิดเป็น 28.65%, อื่นๆ ได้แก่ ช่องทางข่าว (News), Youtube, Instagram, และ […]Read More
ประกาศผลแล้ว! Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิผลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง (22 กุมภาพันธ์ 2566 : กรุงเทพฯ) – บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด ได้จัดงาน “Thailand Social Awards ครั้งที่ 11” ณ TRUE ICON Hall, ICONSIAM งานประกาศรางวัลที่รวบรวมเหล่าผู้ทรงอิทธิพลบนโซเชียลไว้มากที่สุดในประเทศไทย แบรนด์ นักแสดง ศิลปิน อินฟลูเอ็นเซอร์ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 ได้พัฒนาเกณฑ์การวัดผลร่วมกับคณะที่ปรึกษาทั้ง 18 ท่าน โดยได้ใช้เกณฑ์การวัดผล ทั้งหมด 3 รูปแบบเพื่อผลการประกาศรางวัลที่สมบูรณ์ที่สุด คือ 1. BRAND METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์ 2. CONTENT METRIC […]Read More
ในทางการแพทย์สมัยใหม่นั้น การ ‘อุ้มบุญ’ หรือการรับฝากครรภ์ ที่สตรีจะทำการอุ้มท้องให้กับคู่รักที่มีปัญหาด้านการมีบุตร เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นสากล ตามการตกลงพร้อมใจกันทั้งสองฝ่าย และเป็นไปได้ในทางวิทยาศาสตร์ แน่นอนว่า การยินยอม คือตัวแปรสำคัญในกระบวนการเหล่านี้ เพราะจะมากหรือน้อย ก็เป็นเวลาเก้าเดือน ที่สตรีผู้หนึ่ง จะต้องทำการตั้งครรภ์ และทำหน้าที่ ‘มารดาชั่วคราว’ ที่จะต้องดูแลความพร้อมทั้งด้านสภาพร่างกายและจิตใจ แต่ถ้าหากสตรีผู้นั้นตกอยู่ภายใต้สภาวะ ‘สมองตาย’ ที่ร่างกายยังทำงาน แต่ไม่อยู่ในสภาพที่รับรู้ หรือรู้สึกตัวใดๆ อีก จะเหมาะสมสำหรับกระบวนการอุ้มบุญอยู่หรือไม่? นี่เป็นคำถามที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะในนิยามของคำว่าสมองตายในแต่ละประเทศ แตกต่างกัน รวมถึงสภาวะการเสียชีวิตและการดำรงตัวตนในฐานะบุคคลสภาพ ก็ไม่ได้มีข้อกำหนดที่เป็นสากลร่วมกัน ว่าจะต้องอยู่ในระดับใด หรือระยะเวลากี่วัน จึงจะสามารถประกาศได้ว่าเป็นบุคคลผู้ถึงแก่ชีวิตไปแล้ว จากข้อถกเถียงดังกล่าว Dr.Anna Samjdor ศาสตราจารย์ด้านปรัชญาจากมหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้เสนอความเป็นไปได้ ที่จะใช้ร่างของสตรีที่อยู่ในภาวะสมองตาย ทำหน้าที่เป็น ‘มารดาอุ้มบุญ’ ด้วยองค์ประกอบของอวัยวะอื่นๆ ที่ยังสามารถใช้งานได้ เช่น ปอด หัวใจ เส้นเลือด และมดลูก เพื่อลดความเสี่ยงให้กับผู้มีบุตรยาก และมีประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์ ข้อเสนอนี้ ถูกตีตกและต่อต้าน รวมถึงสร้างความไม่สบายใจให้กับองค์กรสิทธิมนุษยชน ไปจนถึงกลุ่มสตรีนิยม […]Read More
เรื่อง: อรุณศรี วิชชาวุธ รองผู้อำนวยการกองกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ การพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากวิสัยทัศน์ของประเทศไทย “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 ที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะใช้โมเดลขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เพื่อพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ดังนั้น ระบบราชการจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อสอดรับกับบริบทที่จะเกิดขึ้นโดยมุ่งเป็น “ ระบบราชการ 4.0” โดยต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีความคิดสร้างสรรค์ เพี่อสร้างนวัตกรรมภาครัฐ ในการยกระดับไปสู่ “ระบบราชการ 4.0” ที่มี ทั้งนี้จากเป้าหมายของการมุ่งพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 โดยเฉพาะในด้าน การมุ่งพัฒนาให้หน่วยงานของรัฐมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government) ก่อให้้เกิด ความท้าทายในการบริหารจัดการบุคลากรภาครัฐ ในด้านการมุ่งเน้นบุคลากร (PMQA 4.0 : หมวด 5 ) ที่ได้กำหนด เป้าหมายที่มุ่งเน้นให้ส่วนราชการมีนโยบายและระบบการบริหารจัดการด้านบุคลากรที่มีประสิทธิภาพตอบสนอง ยุทธศาสตร์ และสร้างแรงจูงใจ มีความคล่องตัวและมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ มีการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดี […]Read More
กับงานประกาศรางวัลของชาวโซเชียล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 (8 กุมภาพันธ์ 2566 : กรุงเทพฯ) – บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดได้ประกาศความพร้อมจัดงาน “Thailand Social Awards” ครั้งที่ 11 มอบรางวัลเพื่อเชิดชูผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ มากกว่า 300 รางวัล! งานนี้ถือเป็นงานประกาศรางวัลโซเชียลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยที่ถูกจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2555 เพื่อส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ รวมถึง ยกระดับและให้ความสำคัญกับวงการโซเชียลที่เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดยความพิเศษในปีนี้คือ งานประกาศรางวัล Thailand Social Awards ได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบในหลายๆ ส่วน ตั้งแต่การเปลี่ยนตัวอักษร “Z” ในชื่องานเป็นตัวอักษร “S” เพื่อความชัดเจนในการสื่อสารเรื่องราวของงานประกาศรางวัล รวมถึงการปรับเปลี่ยนโลโก้งานประกาศรางวัล โดยตัวอักษร “S” ถูกออกแบบให้แยกออกจากกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสามชิ้นโดยแต่ละชิ้นมีทั้งเหลี่ยมมุม และความโค้งมน เรียงต่อกันในแนวตั้งให้สามารถมองเห็น และตีความได้ในหลากหลายมิติ เพื่อสื่อความหมายว่าบนโลกโซเชียลนั้นแต่ละคนมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังได้ปรับปรุงเกณฑ์การวัดผลในการประกาศรางวัล Thailand Social […]Read More
เมื่อกล่าวกันถึงสิ่งที่เป็น ‘วัฒนธรรม’ แล้วนั้น ถ้ามันจะก่อให้เกิดปัญหา ก็มักจะอยู่ที่ ‘การตีความ’ และ ‘ลักษณะร่วม’ ของภูมิภาคพื้นถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าลักษณะร่วมที่ว่า มีความคลับคล้ายคลึงกัน และมีประวัติศาสตร์ของท้องที่ที่ใกล้เคียงกันมากเกินกว่าที่การศึกษาจะสามารถย้อนรอยถอยกลับไปถึง เมื่อนั้น ข้อพิพาทจากมาตรฐานใหม่ กับความเข้าใจเดิมๆ ก็มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ และมันก็เป็นอีกครั้ง กับวัฒนธรรมของสยามประเทศ เมื่อกีฬา ‘มวยไทย’ ได้ถูกกล่าวอ้าง ว่าหยิบยกมาจากศิลปะป้องกันตัวพื้นบ้านของกัมพูชาอย่าง ‘กุน ขแมร์’ หรือ ‘โบกะตอร์’ … เรื่องราวที่เป็นปัญหา เกิดขึ้นเมื่อกัมพูชา จัดการแข่งขันมวย ภายใต้ชื่อ ‘กุน ขแมร์’ หรือ ‘โบกะตอร์’ ที่มีกฎ กติกา และรูปแบบ คล้ายคลึงกับมวยไทยเกือบจะแทบทุกประการ โดยปฏิเสธที่จะใช้ชื่อตามที่สมาพันธ์มวยไทยนานาชาติ หรือ IFMA ได้กำหนดเอาไว้ แม้ว่าคณะกรรมการโอลิมปิกสากลหรือ IOC จะยืนยันเสียงขาด ว่า ‘มวยไทย’ คือกีฬาระดับสากลก็ตาม ก็ทำไมจะต้องแคร์ ในเมื่อมีหลักฐานยืนยันชัดเจน ว่ามวยไทย ลอกมาจากโบกะตอร์มาชัดๆ จากภาพศิลาจารึกในประวัติศาสตร์เขมรเมื่อหลายพันปีก่อน…. […]Read More
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เคยเป็นเรื่องไกลตัว กลับเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยและส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้คนบนโลกในปัจจุบัน ทั้งสภาพอากาศที่แปรปรวน การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและการอยู่อาศัยของผู้คน การแพร่กระจายของฝุ่น PM 2.5 และอื่นๆ อีกมากมาย ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีผลให้การรักษ์โลกในแง่มุมต่างๆ กลายเป็นเป้าหมายสำคัญในเวทีโลก รวมถึงประเทศไทยที่ตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608 หลายองค์กรหันมาปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะที่อีกหลายองค์กรยังมีการขยับตัวช้า เพราะคิดว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงมองข้ามประเด็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ไป ดังนั้นคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ร่วมมือกับบริษัท เอบีเอ็ม คอนเนค จำกัด ดิจิทัลพีอาร์เอเจนซี่ชั้นนำของประเทศไทย จัดทำการวิจัยเพื่อศึกษาการรับรู้ และแนวโน้มพฤติกรรมการใช้สินค้ารักษ์โลก (green product) ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ผ่านการจัดทำแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง 601 คน ครอบคลุมผู้บริโภคทุกเพศจากทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งมีอายุระหว่าง 18-50 ปี โดยสัดส่วน 21.1% เป็น Gen X (อายุ 42-50 ปี) 32.1% Gen Y (อายุ 26-41 ปี) และ Gen […]Read More
ในโลกยุคปัจจุบัน คงไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ความสำคัญของ ‘ความมั่นคงทางพลังงาน’ คือดัชนีชี้วัดความมั่งคั่งและความมีประสิทธิภาพในกำลังการผลิตของประเทศหนึ่งๆ ท่ามกลางการแข่งขันทางการค้าและอุตสาหกรรมที่ทวีขึ้นในทุกปีที่ผ่านไป อย่างไรก็ตาม จากรายงานขององค์การสหประชาชาติปี 2018 นั้นได้พบความจริงที่น่าตื่นตระหนก เมื่อการแข่งขันทางด้านความมั่นคงทางพลังงาน ได้ส่งผลร้ายกับสภาพแวดล้อมโดยรวมของโลกในรูปของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส และจะเกิดขึ้นในระยะเวลาระหว่างปี 2030-2052 เป็นอย่างช้า ซึ่งนั่นเป็นระยะเวลาที่ไม่นาน เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของอุตสาหกรรมที่ยังใช้พลังงานแบบเก่า ที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่า นานาชาติเริ่มให้ความสำคัญและใส่ใจกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และลงนามในความตกลงร่วมกัน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ถึงเป้าหมาย ‘Carbon Neutrality’ หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน รวมถึงการคงอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มมากไปกว่าอัตราที่ทางองค์การสหประชาชาติได้ทำการศึกษาในรายงานล่าสุด นับเป็นเป้าหมายที่ท้าทายและยากจะไปถึง แต่ทุกประเทศต่างพร้อมใจ เพราะเวลาแห่งการเพิกเฉยมองผ่านได้หมดไปแล้ว และการปฏิบัติเพื่อให้โลกยังคงอยู่ในระดับที่สามารถอยู่อาศัยได้ต้องเกิดขึ้นจริง เมื่อเป้าหมายเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าได้รับการยอมรับและความยินยอมร่วมกัน พลังงานฟอสซิลแบบเก่าจึงต้องถูกทดแทนด้วย ‘พลังงานแห่งอนาคต’ ที่ทันสมัยกว่า สะอาดกว่า และปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า ดังจะเห็นได้จากการทดลองและรายงานเรื่องการใช้พลังงานดังกล่าวในประเทศฟากตะวันตกไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานลม หรือพลังงานหมุนเวียน สำหรับประเทศไทย กลุ่ม ปตท. ผู้ดูแลด้านความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนผ่าน และภาวะวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่ใกล้เข้ามา จึงเริ่มพัฒนาและเบนเข็มเข้าสู่ธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตเหล่านี้ให้ขับเคลื่อนไปพร้อมกับเป้าหมายในการไปถึง Carbon Neutrality ที่ประเทศไทยตั้งมั่นมุ่งหมายเอาไว้เช่นกัน และการพัฒนาของกลุ่ม ปตท. ในด้านพลังงานแห่งอนาคตนั้น […]Read More