เรื่อง: บุญรัตน์ ศักดิ์บูรณพงษา ความเป็น ‘เมืองอัจฉริยะ’ (Smart City) ของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่มีกำเนิดนโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579 ) และโมเดลไทยแลนด์ 4.0 ล่วงมา 5 ปี ความเป็นเมืองอัจฉริยะของประเทศไทยเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง และค่อยๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมากขึ้นทุกที โดยไม่ได้เป็นแค่แผนในกระดาษ ยิ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยิ่งเร่งให้ผู้คนใส่ใจการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ไม่ใช่แค่พึ่งพาเรื่องความสะดวก แต่ต้องช่วยเรื่องประหยัดพลังงานมากขึ้น ปลอดภัยขึ้น เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เมื่อเมืองกำลังไปสู่การเปลี่ยนผ่าน คำถามสำคัญที่เกี่ยวโยงโดยตรงกับวิถีชีวิตผู้คนยุคใหม่ คือ ระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อมารองรับเมืองอัจฉริยะจะเป็นอย่างไร? คงไม่มีใครฉายภาพความปลอดภัยแห่งอนาคตนี้ได้ดีไปกว่าหนุ่มGM Club ท่านนี้ ขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY ICT ผู้นำการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการ Digital Platform และ AI Solutions ซึ่งเชี่ยวชาญเทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะ […]Read More
เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ในชีวิตประจำวันนั้น เรื่องของ ‘อาหาร’ คือปัจจัยที่สำคัญที่สุดในทุกสภาวะ ไม่ว่าสภาพสังคมหรือเศรษฐกิจจะดำเนินไปอย่างไร แต่ความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคก็ยังคงเป็นธุรกิจที่ไม่มีทางที่จะซบเซา ตราบเท่าที่เรายังต้องใช้ชีวิตอยู่ และในสังคมที่เร่งรีบ ทุกอย่างต้องรวดเร็ว เสร็จได้ในเวลาจำกัด ‘อาหารแช่เย็น’ ก็นับว่าเป็นทางเลือกที่ทวีบทบาทสำคัญขึ้นไม่น้อย ซึ่ง GM Magazine ได้รับเกียรติจาก คุณสมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NSL Foods ผู้คร่ำหวอดในแวดวงอาหารแช่เย็นพร้อมทาน โดยเฉพาะหมวด ‘เบเกอรี’ มายาวนานกว่าสองทศวรรษ ถึงภาพรวมของธุรกิจ ทิศทางของบริษัทที่จะดำเนินไป รวมถึงเป้าหมายของบริษัทที่พร้อมจะสนับสนุนให้ความมั่นคงทางอาหารนั้น ยั่งยืนและเติบโตอย่างมั่นคงสืบไป GM Magazine: ในส่วนของ NSL เปิดมาประมาณกี่ปีแล้ว ถ้าทำในส่วนของเบเกอรี ก็เปิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 มาจนถึงวันนี้ ก็จะครบ 18 ปี ในวันที่ 27 มีนาคม ในช่วงแรกเราเป็นบริษัท Dough-Maker แล้วค่อยมาเป็น […]Read More
ในทุกความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ก่อให้เกิดโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ ทั้งในด้านการดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจ และการยกระดับสังคมไปสู่รูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม แรงงานถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรอุตสาหกรรม ก่อนจะตามมาด้วยการเข้ามาของ ‘ยุคสมัยแห่งข้อมูลข่าวสาร’ หรือ Information Age ที่ความได้เปรียบ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงผู้ประกอบการรายใหญ่ แต่รวมถึงขนาดกลางและขนาดย่อม ที่สามารถมองเห็นช่องทาง และเติมเต็มให้กับช่องว่างอันเป็นที่ต้องการ และ ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ ก็เป็นเป้าหมายปลายทาง ที่ภาครัฐของประเทศไทย พยายามอย่างยิ่งที่จะส่งเสริม และผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต เพิ่มแต้มต่อทางการแข่งขัน และเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตกับรายได้ของประชาชน ให้มากขึ้น ดีขึ้น และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น แต่เช่นเดียวกับทุกการเปลี่ยนผ่าน มันไม่เคยง่าย ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความพร้อมที่จะกระโดดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามา ทั้งปัญหาด้านเงินทุน ความรู้ รวมถึงภาคเอกชนดิจิทัลหรือ Startup ที่ต้องแข่งขันกับตลาดในโลกกว้าง แต่ขาดการสนับสนุนที่เพียงพอ จนหลายครั้ง มันกลายเป็นโอกาสที่หลุดลอยไป และการลดช่องว่างเหล่านี้ให้สั้นลง ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น คือพันธกิจสำคัญของ ‘สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล’ หรือ ‘depa’ ที่ถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อเชื่อมโยงทุกภาคส่วน ให้ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายของความเป็นสังคมดิจิทัลอย่างเท่าเทียมกัน แต่บทบาท หน้าที่ และงานสำคัญของ depa คือสิ่งใด? สังคมไทยมีความตื่นตัวพร้อมรับกับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลมากน้อยแค่ไหน? GM […]Read More
นับเนื่องมาตั้งแต่สมัยครั้งโบราณมา สิ่งที่เป็นความก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญแห่งมนุษยชาตินั้น คงต้องนับรวม ‘การเดินเรือ’ เข้าไว้ด้วย เพราะผืนทะเลไม่ใช่อาณาเขตกีดกั้น แต่เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อดินแดนใหม่ๆ นำพาความรู้ วิทยาการ และ ‘สินค้า’ จากภูมิภาคหนึ่ง ไปสู่อีกภูมิภาคหนึ่ง ก่อให้เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยน สร้างความเจริญก้าวหน้าให้ทะยานไปด้วยกระบวนการของผู้กล้าหาญที่นับท้องทะเลเป็นอ้อมอกแห่งมารดา และปวารณาตนเป็นลูกชาวทะเล และสำหรับประเทศไทย มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาตั้งแต่โบราณกาล ต้องนับว่าได้ประโยชน์และความเจริญจากการเดินเรือค้าขายและการขนส่งสินค้าทางน้ำ พร้อมทั้งพัฒนาและเริ่มจัดตั้ง ‘การท่าเรือแห่งประเทศไทย’ ขึ้น เพื่อดำเนินงานท่าเรือ นโยบาย และกระบวนการขนถ่ายสินค้าอุปโภค-บริโภคอย่างต่อเนื่อง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาเป็นเวลากว่าเจ็ดทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่วิกฤติ COVID-19 เชื้อร้ายได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก และเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนให้ไปสู่แนวทางใหม่ ออกนอกบ้านน้อยลง ติดต่อกันอย่างจำกัด แต่ความต้องการด้านสินค้ายังคงมีอยู่ต่อเนื่อง เรียกได้ว่าคนนิ่ง แต่สินค้าเคลื่อน ในสภาวการณ์เช่นนี้ นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง สำหรับการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในการที่จะฝ่านาวาแห่งห้วงเวลาที่ไม่เป็นปกติ เพื่อรักษาสภาพการณ์ของเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นปกติ ทั้งนี้ GM Magazine ได้รับเกียรติจาก เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย คนปัจจุบัน มาร่วมพูดคุย ทั้งแนวคิด วิสัยทัศน์ แนวทาง และแผนงานซึ่งพร้อมจะนำการท่าเรือฯ […]Read More
เรื่อง: บุญรัตน์ ศักดิ์บูรณพงษา หลายปีมานี้เมืองไทยเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง (คาดไม่ถึง) รอบด้าน ไม่ว่าความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ประเภทฝนตก-น้ำท่วม-รถติด, โรคระบาดที่เกิดพร้อมกันทั้งโลก (โควิด-19), การขยายตัวของเมืองเนื่องจากการหลั่งไหลเข้ามาของผู้คนตามความเจริญของเมือง นี่ยังไม่รวมปรากฏการณ์ดิจิทัล ดิสรัปชั่น ที่เป็นตัวเร่งให้ต้องปรับเปลี่ยนก้าวกระโดดในทุกมิติ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ก่อให้เกิดประเด็นฉุกคิดถึง ‘ความพร้อมของเมือง’ ที่จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อมารับมือต่อการเปลี่ยนแปลงให้ครบทุกด้าน ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพราะที่ผ่านมา อาจไม่ทันนึกมาก่อนเลยว่า ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ l ค่าครองชีพ l การขนส่ง l การพัฒนาเมือง l ผังเมือง l โครงสร้างพื้นฐาน แท้จริงแล้วทั้งหมดนี้เกี่ยวโยงกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม นอกจากหน่วยงานภาครัฐผู้รับผิดชอบโดยตรงแล้ว หน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมือง แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Urban Futures and Policy Research Unit) ยังเป็นฟันเฟื่อนเล็กๆ ที่มาช่วยขับเคลื่อนให้เกิดเมืองพลวัต (Resilient City) โดย ผศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ […]Read More
ในสนามการเมืองไม่ว่าจะยุคหรือในสมัยใด ความเป็นไปของ ‘สนามภาคท้องถิ่น’ คือตัวแปรสำคัญที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นั่นเพราะทุกคะแนนเสียงที่ประชาชนกาเลือกในคูหา เขาคนนั้นจึงกลายเป็น ผู้แทน ที่จะต้องนำปัญหาไปสะท้อนยังเวทีระดับประเทศให้เกิดความตื่นตัว เกิดความใส่ใจ และเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น และจังหวัด ‘ชัยภูมิ’ ก็นับได้ว่าเป็นสนามใหญ่แห่งภาคอีสาน ที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจังหวัดอื่นๆ เพราะเป็นจังหวัดที่มีจำนวนประชากร มีกำลังการผลิต และมีศักยภาพ จึงเป็นอีกหนึ่งเป็นพื้นที่่ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน และเขา ‘เชิงชาย ชาลีรินทร์’ คนหนุ่มรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับจังหวัดชัยภูมิเป็นอย่างดี และมุ่งหวังที่จะมีส่วนร่วมพัฒนาบ้านเกิด นั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาตัดสินลงเล่นสนามการเมืองจนได้รับความไว้วางใจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร สังกัดพรรคพลังประชารัฐ การก้าวเข้าสู่ความเป็นนักการเมืองของเชิงชาย ไม่ใช่เพียงแค่ได้รับความไว้วางใจจากชาวชัยภูมิเท่านั้น แต่เพราะเขาเข้าใจถึงปัญหาในพื้นที่ได้ดี เพราะความเป็น ‘คนพื้นถิ่นชัยภูมิ’ ที่อยู่ เติบโตและเห็นปัญหาจากต้นทางอย่างรู้ลึก รู้จริง เหนือสิ่งอื่นใด เขามาพร้อมกับความเป็น ‘คนหนุ่มรุ่นใหม่’ ที่มุ่งมั่น อยากเห็นชัยภูมิ รวมถึงจังหวัดในภูมิภาคอื่นๆ ก้าวไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ลูกชัยภูมิ ผู้ลงพื้นที่ตั้งแต่เริ่มต้น การลงสมัครเป็นผู้แทนราษฏร ที่จะเข้าไปนั่งในสภา แน่นอนว่าไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็น ‘คนในพื้นที่’ แต่เพียงอย่างเดียว หากแต่คุณสมบัติของการเป็นคนในพื้นที่ จะยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือ และตอกย้ำในจุดยืนความตั้งใจที่จะเข้าไปพัฒนาความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนอย่างจริงจัง และ เชิงชาย ชาลีรินทร์ ก็เรียกได้ว่าเป็น ‘ลูกชัยภูมิ’ […]Read More
คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ‘การไปรษณีย์’ คือหัวใจหลักสำคัญประการหนึ่ง ที่บ่งชี้ถึงความเจริญก้าวหน้าของสยามประเทศ จากพระวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อ 138 ปีที่แล้ว ทำให้ทุกที่ของประเทศ สามารถติดต่อเชื่อมโยงถึงกัน ไม่ว่าจะในรูปแบบการส่งจดหมาย จนถึงพัศดุสินค้า องค์กรอย่างกรมไปรษณีย์ไทย ได้ฟันฝ่าคลื่นลม และทำหน้าที่เป็นเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงประเทศให้เดินหน้าไปมาโดยตลอด หากแต่ในวิกฤติครั้งใหญ่อย่าง COVID-19 และการ ‘Disrupt’ ของระบบ Marketplace หรือ ‘ตลาดออนไลน์’ หลากหลายเจ้า ที่มาพร้อมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กรมไปรษณีย์ไทยในวันนี้ จะรับมืออย่างไร? พวกเขาได้สร้างและขับเคลื่อนสิ่งใดอยู่เบื้องหลัง? และสิ่งนั้นจะนำไปสู่เป้าหมายใด นี่คือคำถามที่น่าสนใจ GM Magazine ได้รับเกียรติจาก คุณพีระ อุดมกิจสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท Thailand Post Distribution Co,, Ltd. บริษัทลูกน้องใหม่ในเครือกรมไปรษณีย์ไทย ที่มาพูดคุย บอกเล่า และฉายให้เห็นภาพ ‘ย่างก้าวใหม่’ ที่ไปรษณีย์ไทยจะก้าวต่อไป ที่ทันสมัย และยังคงหัวใจแห่งความเป็น ‘เส้นเลือดใหญ่’ ของการขนส่งของประเทศเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่นในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ GM […]Read More
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในเวลาที่ผ่านมา ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจจนเกิดการปรับตัว ขยับรูปแบบ รวมถึงต้องทำความเข้าใจกับการมาถึงของสิ่งใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว ชนิดที่เรียกว่าถาโถมโหมกระหน่ำกันเข้ามาไม่ขาดสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคสมัยแห่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งการคิดค้นนวัตกรรมหนึ่งอาจกลายเป็นจุดพลิกผันสำคัญ ที่เปลี่ยนกระบวนทัศน์และความเข้าใจของผู้คนจากหน้ามือเป็นหลังมือกันเลยทีเดียว และแน่นอนว่า สำหรับ ‘องค์กรขนาดใหญ่’ ที่มีรูปแบบการดำเนินงานตายตัว มีกรอบระเบียบแบบแผน ต่างได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลง บางองค์กรรับมือทันทวงที ในขณะทีบางองค์กรก็ไม่ทันตั้งตัว แต่การเปลี่ยนแกนหลักขององค์กรหรือบริษัทขนาดใหญ่ทั้งองคาพยพ เพื่อสอดรับกับการเลื่อนไหลของความเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้โดยง่าย และถ้ากระทำโดยไม่ระมัดระวัง อาจจะกระเทือนถึงรากฐาน และสร้างความเสียหาย รวมถึงทำลายข้อได้เปรียบทางด้านการแข่งขันที่สั่งสมมาจนหมดสิ้น เช่นนั้นแล้ว อีกทางเลือกหนึ่งที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน คือการ ‘แตกหน่อ’ ของ ‘บริษัทลูก’ ที่ทำหน้าที่เป็น ‘หัวหอก’ ไปสู่พื้นที่ทางธุรกิจใหม่ ซึ่งมีความคล่องตัว มีอิสระ ภายใต้การกำกับดูแลของ ‘บริษัทแม่’ โดยได้รับการสนับสนุนจากต้นทางในด้านระบบการจัดการ ทรัพยากร จนถึงโอกาสทางความร่วมมือต่างๆ ที่บริษัทสตาร์ทอัพธรรมดาไม่สามารถทำได้ บทสัมภาษร์ในเล่มนี้ เป็นการถ่ายทอดการสนทนาจากGM Talk ในเพจ GM Live ทั้งผู้ดำเนินรายการและแขกรับเชิญทั้งสองท่านร่วมถกกันในประเด็นที่น่าสนใจ เกี่ยวกับธุรกิจเล็ก กลยุทธ์องค์กรใหญ่ ทางเลือกใหม่สู่การแข่งขัน โดยทั้งสองท่านนับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในแวดวงของตัวเองอย่างถึงแก่น ท่านแรก คุณจิตตินันท์ ชาติสีหราช […]Read More
เรื่อง : บุญรัตน์ ศักดิ์บูรณพงษา ทศวรรษที่ผ่านมา โลกของอสังหาริมทรัพย์ก้าวกระโดดอย่างไม่เคยมีมาก่อน จะด้วยมิติของ Digital Disruption (ดิจิทัล ดิสรัปชั่น) หรือด้วยดีมานด์ของตลาดและผู้บริโภคที่มีความซับซ้อนมากขึ้นก็ตาม ในยุคหนึ่งอาคาร-อสังหาริมทรัพย์ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองมากนัก มาสู่ยุคที่อาคารต้องวิวัฒน์ตัวเองเพื่อตอบสนองความต้องการและแข่งขันเพื่อครอบครองพื้นที่ทางการตลาด เช่น อาคารอัจฉริยะ หรือ Green Building อย่างที่เรียกว่า ‘อสังหาริมทรัพย์ 4.0’ (Real Estate 4.0) การบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ด้วยโซลูชั่นเดิมๆ จึงไม่อาจตอบโจทย์อีกต่อไป ไม่แปลกที่ PropTech (Property Technology) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการระบบต่างๆ ของอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ให้มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หนึ่งในพร็อพเทคที่น่าจับตามองและไม่ควรมองข้าม ณ เวลานี้ คือ ‘Digital Twin’ (ดิจิทัล ทวิน) เทคโนโลยีที่มีจุดกำเนิดมาจากนาซ่าใช้ในภารกิจกู้ภัย Apollo 13 และต่อมานำมาใช้วางแผนซ่อมบำรุงต่างๆ กรณีที่มีข้อจำกัดไม่สามารถเข้าตรวจสอบสถานที่จริงได้เมื่ออุปกรณ์นั้นอยู่นอกโลก ถึงวันนี้ไม่จำเป็นต้องผลิตยานอวกาศ อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ที่มีความซับซ้อนสูงก็นำ Digital Twin มาใช้ ทั้งอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ งานก่อสร้างสามมิติ และการแพทย์ ก่อนนำมาใช้ในงานบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ […]Read More
ในยุคที่ ‘เทคโนโลยี’ กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ชีวิตบนโลกไซเบอร์แบบในนิยายหรือภาพยนตร์ไซไฟอาจไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิตอล ผลกระทบที่ตามมา คือ ‘ภัยคุกคามไซเบอร์’ ที่นับวันมีให้เห็นบ่อยขึ้น และเป็นภัยที่องค์กรธุรกิจยุคใหม่ไม่ควรมองข้าม และพื่อให้ก้าวทันภัยคุกคามดังกล่าว จึงขอพามาทำความรู้จักธุรกิจรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (CYBER SECURITY) ผ่านสายตาผู้เชี่ยวชาญที่โลดแล่นในวงการนี้มานานกว่า 20 ปี อย่าง นรัตถ์ สาระมาน กรรมการผู้จัดการบริษัท โกลบอล เทคโนโลยี อินทิเกรเทด จำกัด และกรรมการผู้จัดการ SRAN Technology ที่พ่วงเก้าอี้สำคัญในฐานะกรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทยด้วย GM : ปัจจุบันภาพรวมธุรกิจรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เป็นอย่างไร นรัตถ์ : ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจคำว่าไซเบอร์ (Cyber) ก่อน ‘ไซเบอร์’ นั่นหมายถึงทุกอย่างที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล ซึ่งเมื่อกลับมามองวงการความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทุกวันนี้วงการ Cyber Security วัดกันที่มูลค่าความเสียหาย เรียกว่า Cyber Crime Cost (ต้นทุนอาชญากรรมไซเบอร์) จะไม่มาพูดถึงว่าเกิดการแฮกกี่ครั้ง หรือวิธีไหน แต่จะดูมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมากกว่า เช่น ถ้าระบบหยุดชะงักไปจะเกิดความเสียหายเท่าไร […]Read More