น้ำชากรุ่นควันกลิ่นหอมกำจายเมื่อผู้ชายคนนี้รินสายน้ำสีสวยลงในถ้วยเล็กแล้วหยิบยื่นให้แขก ความหอมซ่านไปทั่วห้องมากพอๆกับอารมณ์ขันเสน่ห์และความคมคายในคำพูดของตัวเขา ในช่วงร้อนร้ายของบ้านเมืองที่ผ่านมาดูเหมือนหลายคนจะผิดหวังกับ ‘สื่อ’ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ แต่ยังมีรายการโทรทัศน์แนวสนทนาปัญหาบ้านเมืองอยู่อีกหนึ่งรายการ–ที่หลายคนเฝ้ารอ รายการที่ว่าก็คือรายการ ‘ตอบโจทย์’ ทางช่องทีวีไทย (จันทร์ อังคาร พฤหัสบดี และศุกร์ สี่ทุ่มครึ่งโดยประมาณ) เหตุผลของการรอคอยมีหลากหลาย แต่อย่างหนึ่งที่ยากปฏิเสธ ก็คือบุคลิกชัดถ้อยชัดคำและคำถามคมคายที่ตรงไปตรงมาของพิธีกร แม้จริงจัง แต่ยังแฝงอารมณ์ขันอยู่ลึกๆ พิธีกรคนนั้นก็คือผู้ชายที่กำลังรินน้ำชาให้แขกอยู่ตรงหน้านี้เอง–ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ผู้อ่าน GM ที่ติดตามกันมานาน คงจำได้ว่า ผู้ชายคนนี้นอกจากเคยเป็นคอลัมนิสต์ใน GM เมื่อเกือบสิบปีก่อนแล้ว เขายังเป็นผู้ก่อตั้งนิตยสาร Open และสำนักพิมพ์ Open Books ซึ่งผลิตงานเชิงวิพากษ์สังคมอย่างหลากหลายและแข็งแรง ยืนหยัดอยู่ได้ในท่ามกลางกระแสเชี่ยวของการต่อสู้ในตลาดหนังสือ ทั้งยังเป็นนักเขียนฝีมือดี ที่มีงานเขียนติดตรึงอยู่ในความทรงจำของนักอ่านจำนวนมาก อาทิเช่น ‘คุรุ ผีเสื้อ และลมตะวันตก’ ‘สามสิบวัน’ ‘Foolstop’ หรือเล่มล่าสุดอย่าง ‘กรรมสุตรา’ การผันตัวเองมาเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์จึงเป็นความตั้งมั่นไม่ธรรมดาโดยเฉพาะเมื่อโชคชะตาของบ้านเมืองผลักเราเข้าสู่มุมอับการพยายาม ‘ตอบโจทย์’ ด้วยการเชื้อเชิญแขกหลากหลายมุมมอง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน แดง เหลือง ขาว หลากสี ฯลฯ มาปะทะสังสรรค์กันโดยมี […]Read More
สังคมของเรากำลังเปลี่ยน ! นั่นเป็นเหตุผลที่เราเลือกสัมภาษณ์ สุนิตย์ เชรษฐา ใน GM เล่มที่วางตัวอยู่บนหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ เขาเป็นคนหนุ่มวัยเฉียดสามสิบปี แต่ภาระบนบ่าและดวงตาบนใบหน้าของเขานั้น แสดงถึงวิสัยทัศน์และทรรศนะวิพากษ์ที่เขามีอยู่เต็มตัว พื้นฐานของเขาคือนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมองว่าการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและทำให้สังคมโดยรวมดีขึ้น ก็คือการสร้าง ‘นวัตกรรมทางสังคม’ ใหม่ๆ ขึ้นมาดังนั้น บน ‘จุดเปลี่ยน’ ของสังคม คนหนุ่มที่มองไปข้างหน้า และลงมือทำงานอย่างจริงจังเพื่อผลักดันสังคมไปข้างหน้า เพื่อก้าวสู่โลกใบใหม่ที่กว้างขวางและหลากหลายมากกว่าเดิม จึงเป็นคนที่เราควรพูดคุยด้วยเป็นอย่างยิ่ง เราอาจอธิบาย ‘งาน’ ของเขาได้ไม่ดีนัก เพราะแม้แต่สุนิตย์ เชรษฐา ก็ยังออกตัวว่า ไม่สามารถนิยามได้ถูกเช่นกัน รู้แต่ว่าคล้ายๆ กับการเป็นแม่สื่อแม่ชักให้คนมาพบรักกัน พูดอย่างนี้อาจจะเข้าใจไปว่าเรากำลังคุยกับพ่อสื่อออนไลน์หรือหมอดูจับคู่รักดารา-แต่เปล่าเลย! ทุกวันนี้สุนิตย์ทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร Change Fusion องค์กรที่เรียกตัวเองว่าเป็น Social Enterprise ที่ดำเนินงานในรูปแบบบริษัท ผลิตภัณฑ์ของบริษัทนี้คือ ‘นวัตกรรมทางสังคม’ ที่จะช่วยทำให้สังคมโดยรวมนั้นดีขึ้นและลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมลง พูดง่ายๆ ก็คือ เขาเป็น ‘คนกลาง’ ที่คอยเชื่อมโยงระหว่างผู้ที่มีทุน และต้องการช่วยเหลือสังคม กับคนที่มีนวัตกรรมทางสังคมใหม่ๆ ที่จะทำให้สังคมดีขึ้น แต่ไม่มีทุนนั่นเองโดยความสนใจของสุนิตย์นั้น เขาจบมาทางด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นนักอ่านตัวยงพอๆ […]Read More
ตัวอักษรสีเหลืองสด ถูกขับเน้นอยู่บนพื้นสีน้ำเงินฟ้า อ่านได้ความว่า ‘เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน’ ดูเป็นประโยคกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ของผู้ที่ยังมีลมหายใจอย่างพวกเราได้เป็นอย่างดีว่า หนังสือชื่อแสนเชิญชวนให้อ่านเล่มนี้ มันมีประโยชน์อันใดบ้างกับชีวิตเหลือบมองขึ้นไปบริเวณมุมบนด้านขวาของหนังสือมีวงกลมสีทองปิดอยู่พร้อมรายละเอียดว่าหนังสือเล่มนี้ ถูกพิมพ์มาแล้ว 70 ครั้ง ! 70 ครั้งสำหรับหนังสือความหนาระดับพจนานุกรมและราคาเกือบสามร้อยบาท นับว่าเป็นผลงานที่น่าพอใจ ยิ่งหากคุณได้รู้ว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับศาสนาด้วยแล้ว ยิ่งชวนตั้งคำถามว่าอะไรทำให้หนังสือเกี่ยวกับ พุทธศาสนาเล่มหนึ่ง (ที่ไม่ใช่หนังสือพระไตรปิฎก) สามารถทำยอดขายได้มากมายเช่นนี้ผู้เขียนคือ ‘ดังตฤณ’ ชื่อจริงว่า ‘ศรันย์ ไมตรีเวช’ หนุ่มไทยวัยกลางคน เขาไม่ได้นุ่งขาวห่มขาวในวันที่เราเจอกัน ในกระเป๋ากางเกงเขายังมีโทรศัพท์ iPhone และสวมนาฬิกา TAG Heuer ดูเป็นผู้ชายธรรมดาๆ คนหนึ่งมากกว่าจะเป็นคนเคร่งศาสนาอย่างที่เรานึกคิดไว้แต่แรก เขาเริ่มงานเขียนด้านพุทธศาสนามาตั้งแต่อายุ 20 กว่าๆ มีทั้งความเรียง บทความ และนิยาย งานเขียนของดังตฤณสร้างกระแสการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง มีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบ ชื่นชมและตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแตกฉานในคำสอนของพระพุทธเจ้าของเขา เขาได้ฉายานามจากนักอ่านผู้สนใจธรรมะว่าเป็นนักเขียนที่ให้แง่คิดธรรมะในเชิงรุก มีการนำเสนอในมุมมองของพุทธศาสนาแบบฆราวาสที่แตกต่างจากมุมของสงฆ์ เขียนด้วยภาษาที่กระชับ เรียบง่าย และข้อมูลที่อ้างอิงมาอย่างดี ทำให้หนังสือของเขาไม่เคยหลุดจากชั้นหนังสือขายดี 10 อันดับ ต่อสู้กับนิยายเกาหลีได้อย่างสูสีในภาวะที่บ้านเมืองเต็มไปด้วยความวุ่นวายเช่นนี้ หลายคนพูดถึงศาสนาว่าน่าจะมีบทบาทอย่างสำคัญในการช่วยลดความรุนแรง เราหวังว่าบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ อาจทำให้พวกเราคิดได้และกระจายความคิดดีๆ เหล่านี้ออกไปสู่วงกว้างมากขึ้น […]Read More
อย่าเข้าใจไปว่าเราจะมาคุยกับ พิศณุ นิลกลัด แค่เรื่องกอล์ฟ เรื่องวงการมวย หรือเรื่องขำๆ จากสะเก็ดเก็บตกหลังข่าว แต่ผู้ชายคนนี้ในวัยเฉียดแซยิด มีเรื่องเล่ามากโขอยู่ในคลังความคิดมาเล่าสู่ให้เราฟังเพียงเรื่องชื่อของเขาก็สนุกแล้ว เพราะชื่อจริงๆ ของเขาตามบัตรประชาชนคือ ‘พิศณุ’ แต่เขาบอกว่า ใครๆ เขียนผิดมาตลอดเป็น‘พิษณุ’ โดยที่เขาไม่ได้ทักท้วง แต่มาปีนี้ เขาอยากแก้ไขให้ถูกต้องตามบัตรประชาชนเสียที นี่แสดงให้เห็นถึงความเป็นคนใจดีอย่างหนึ่ง เขาถือเป็นบุคคลสาธารณะที่ทำงานในวงการสื่อสารมวลชนกว่า 22 ปี ในบทบาทของผู้ประกาศข่าว นักพากย์รายการกีฬาและผู้ดำเนินรายการกีฬา นอกเหนือจากนั้น เขายังเป็นกูรูกอล์ฟ เป็นผู้บุกเบิกการสอนกอล์ฟทางโทรทัศน์ และยังเป็นคอลัมนิสต์เขียนเรื่องกอล์ฟตามสื่อต่างๆ ทั้งนิตยสารและหนังสือพิมพ์ รวมทั้งงานเขียนที่ออกจะแปลกแหวกแนวกว่าชิ้นอื่นๆ ที่ทำเป็นประจำ คือคอลัมน์ ‘คลุกวงใน’ ข้อเขียนขนาดป้อมๆ ไม่สั้น ไม่ยาว ในมติชนสุดสัปดาห์ ที่แปลกก็เพราะมันเป็นเรื่องสัพเพเหระของผู้ชายที่สนใจใคร่รู้ไปเสียทุกอย่าง เขาเขียนถึงสารพัดเรื่อง ตั้งแต่เรื่องดาราวัยรุ่นอย่างนิชคุณ เรื่องปลาเค็ม แสนอร่อยที่ตากใบ ไปจนถึงเรื่องหนักหนาสาหัสอย่างการเมือง เขาก็เขียนได้ แถมสนุกน่าอ่านเสียด้วย ถือเป็นมหรสพทางตัวหนังสือขนาดสั้นที่ยืนหยัดมากว่าสิบปีแล้ว ตัวหนังสือเป็นกันเองทำให้เราคุ้นเคยกับเขา เหมือนที่เราคุ้นเคยกับญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ห่างไกลกัน คือสนิท แม้ไม่ได้พบหน้าค่าตากัน ความหลากหลายและอารมณ์ขี้เล่นในข้อเขียน ทำให้เราอยากรู้ว่าตัวจริงเสียงจริงของเขาจะหล่อ ขี้เล่น และรอบรู้เหมือนที่คิดไว้ไหม พักสะเก็ดข่าวไว้สักครู่ […]Read More
เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อาจไม่ใช่ชื่อที่ทุกคนคุ้นหูมากนัก หากคุณไม่ได้อยู่ในแวดวงข้าราชการสายการเงินการคลัง แต่หากคุณเป็นคนสนใจเรื่องของเศรษฐศาสตร์แล้วละก็ คุณอาจรู้จักผู้ชายคนนี้ในฐานะคอลัมนิสต์นาม ‘ดร.เอก เศรษฐศาสตร์’ ในหนังสือ-พิมพ์กรุงเทพธุรกิจ กับคอลัมน์แนวเศรษฐศาสตร์อ่านสนุกชื่อ ‘มุมเอก’ ปัจจุบันเอกนิติหยุดเขียนคอลัมน์ชั่วคราว เพราะหน้าที่ใหม่ในการเป็นโฆษกประจำกระทรวงการคลังและผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาคนั้นมีมากล้นมือ และถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบหลักที่เรียกร้องเวลาค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในยามที่ประเด็น ทางเศรษฐกิจแทบจะกลายเป็นหัวข้อสนทนารายวันของคนตั้งแต่รากหญ้าจนถึงยอดหญ้าไปแล้ว ด้วยความที่เป็นเศรษฐกรหนุ่มไฟแรงในแวดวงข้าราชการไทย ซึ่งเราไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนัก ทำให้การเข้ามารับตำแหน่งโฆษกกระทรวงการคลัง จุดประเด็นที่คนพูดถึงเอกนิติว่าเป็นใครมาจากไหน และด้วยอายุเพียง 40 ต้นๆ ทำไมถึงได้รับความไว้วางใจในงานสำคัญๆ โดยเฉพาะการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งว่ากันว่าเป็นคลังสมองของกระทรวงการคลังในการกำหนดทิศทางนโยบายด้านเศรษฐกิจและการคลังของชาติ “ดร. เอกนิติ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งคนหนึ่งของกระทรวงการคลังในยุคนี้” นั่นเป็นคำนิยมจาก ดร. วีระพงษ์ รามางกูร หรือ ‘ดร. โกร่ง’ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่เขียนไว้ในหนังสือเล่มแรกของ ‘ดร. เอก’ ยิ่งทำให้เราอยากรู้จักเขามากขึ้นว่าประโยคที่ ดร. โกร่งเขียนไว้นั้นเกินจริงหรือไม่ คุณจะได้รู้ไปพร้อมๆ กับเรา GM : คุณสนใจเรื่องเศรษฐกิจมหภาคมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เอกนิติ : ผมสนใจเรื่องของเศรษฐกิจมานานแล้วครับ รู้ตัวตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมแล้วว่าชอบ และรู้ด้วยว่าตนอยากทำงานราชการ อาจเป็นเพราะว่าส่วนหนึ่งมาจากพื้นฐานของครอบครัว คุณพ่อ (ศ.ดร. […]Read More
ชีวิตในรอบหลายปีที่ผ่านมาของไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม หรือ ‘อากู๋’ แห่ง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีสีสันยิ่งนัก เขาเข้าไปพัวพันกับการซื้อสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ซึ่งในที่สุดก็ปลิวหายไปกับสายลม เขาเข้าไปถือหุ้นหนังสือพิมพ์มติชนและโพสต์ ซึ่งก่อให้เกิดวิวาทะครั้งใหญ่ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ เขาเข้าไปซื้อหุ้นซีเอ็ด และล่าสุดก็เข้าไปถือหุ้นใหญ่ Money Channel ขณะที่อุตสาหกรรมสื่อและดนตรีเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ มันเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้าง อากู๋ซึ่งพยายามหาซีอีโอมืออาชีพคนแล้วคนเล่ามานั่งบริหารแทน หวังจะ Early Retire เหมือนซีอีโอในต่างประเทศ ไม่ต้องเป็นซีอีโอไปชั่วชีวิต แต่แล้ว ‘ลมแห่งการเปลี่ยนแปลง’ ที่รุนแรง ได้พัดสู่อาณาจักรแกรมมี่ที่เขาสร้างขึ้นมาระลอกแล้วระลอกเล่า แกรมมี่มีวัฒนธรรมองค์กรเฉพาะที่อากู๋สร้างขึ้น จึงยากที่จะหามืออาชีพใดมาบริหารได้ เมื่อเรียนผูกได้ อากู๋ก็ต้องเรียนแก้เอาเอง ก่อนสิ้นปี 2552 ทีมสัมภาษณ์ของ GM คุยกับอากู๋กว่า 2 ชั่วโมง ถามเรื่องการเปลี่ยนแปลง, Business Model, การบริหารจัดการ, และชีวิตส่วนตัว, แน่นอน, GM กับ ไพบูลย์ ดำรง-ชัยธรรม ไม่ใช่คนแปลกหน้าต่อกัน นี่คือการพูดคุยกันยาวๆ และจริงจังเป็นครั้งที่ 3 และบอกได้ว่า ทุกครั้ง […]Read More
ว่ากันว่า ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ เป็น ‘นักวิชาการเด็กแนว’ บ้าง, ‘นักวิชาการรุ่นใหม่ไฟแรง’ บ้าง •ทั้งหมดนี้ ฟังดูเผินๆ เหมือนเป็นคำยกย่อง ว่าคนรุ่นใหม่อย่าง ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ทั้งไฟแรง และคิดต่าง •แต่ ‘คำถาม’ ที่เกิดขึ้นก็คือ แล้วความ ‘คิดต่าง’ ของ ดร. พิชญ์ ได้ถูกหยิบยกนำไป ‘ใช้’ หรือไม่ •หรือไม่ต้องขนาดนั้นหรอก, เพียงแค่ว่า คำพูดของเขาถูก ‘เงี่ยหู’ รับฟังจากแวดวงวิชาการ ‘รุ่นใหญ่’ อย่างจริงจังบ้างไหม •ดูเหมือนคำถามนี้ จะเกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่ใช่เฉพาะกับ ดร. พิชญ์ แต่กับนักวิชาการที่ถูกครหาว่าเป็น ‘รุ่นใหม่ไฟแรง’ ที่ ‘คิดต่าง’ จำนวนมาก •ดูเผินๆ การ ‘คิดต่าง’ เป็นคุณสมบัติที่ถูกยกย่องจากสังคมไทยในระยะหลัง แต่เอาเข้าจริง สังคมนี้อนุญาตให้เรา ‘ต่าง’ ได้มากแค่ไหนกันหรือ โดยตำแหน่งแห่งที่ […]Read More
33 ปีก่อน นิสิตจบใหม่จากครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นทำงานเป็นนักข่าว คว้าไมค์ออกไปตระเวนทำงานมาแล้วทุกสาย และได้ผ่านมรสุมการเมืองทั้งภายนอกและภายในองค์กรมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนปัจจุบัน ดวงใจ มหารักขกะ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักข่าวไทย บมจ. อสมท ด้วยคำยืนยันอย่างมั่นคงว่า ‘ข่าวจะต้องเป็นข่าว’ และผู้ที่จะมาบริหารงานองค์กรข่าวได้ จะต้องเป็นคนข่าวเท่านั้นจึงจะเข้าใจงานนี้ได้ชัดแจ้งที่สุด“งานข่าวไม่ได้เรียนกันวันเดียวเข้าใจ มันไม่ใช่งานบริหารทั่วไป ที่จะเอาใครก็ได้มาบริหาร เราต้องเข้าใจคำว่า ‘ข่าว’ คำว่า ‘สื่อสารมวลชน’ จรรยาบรรณและจุดยืนที่มั่นคงท่ามกลางกระแสของความเปลี่ยนแปลงมากมาย คนข่าวก็ไม่จำเป็นต้องสวยต้องหล่อ แต่ขอให้เป็นคนดีและมีอุดมคติร่วมกัน เราจะถ่ายทอดสิ่งนี้จากรุ่นสู่รุ่น”บทสัมภาษณ์ของเธอ จะทำให้ได้รู้ถึงความยิ่งใหญ่ขององค์กรสื่อสารมวลชนที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ และเราจะได้รู้ว่า ‘ข่าว’ และ ‘สื่อสารมวลชน’ ที่แท้จริงคืออะไร GM : คุณมีมุมมองอย่างไรต่อวงการสื่อสารมวลชนและฟรีทีวีของบ้านเรา ดวงใจ : วงการสื่อสารมวลชนของบ้านเรากำลังจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟรีทีวี ในกรณีที่กฎหมายของสำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติมีผลบังคับใช้ และจะมีเทคโนโลยีดิจิตอลใหม่ๆ เข้ามาใช้งาน สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่นอนอย่างแรกก็คือจะเกิดช่องทีวีเพิ่มขึ้นอีกมาก เกิดสื่อแบบใหม่อีกหลายรูปแบบ เราจึงต้องคิดให้ไกลไปถึงจุดนั้นเลยว่าวันนี้ต้องปรับตัวอย่างไร อสมท ก็มีแนวทางว่าต้องรักษาคุณภาพของข่าวไว้ดังเดิม ในขณะเดียวกัน ต้องไม่หยุดนิ่ง ต้องตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้ชมให้ได้มากขึ้น เราเชื่อว่าการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด คือการเน้นไปที่การปรับปรุงและพัฒนาเนื้อหา […]Read More
1 บ่ายวันพุธ ร้านสตาร์บัคส์ใจกลางถนนสีลมเสียงโหวกเหวกของบรรดาลูกค้าแสนกระหายที่ง่วนอยู่กับการสั่งกาแฟและเครื่องดื่มประดามีของสตาร์บัคส์ ปลุกให้บรรยากาศยามบ่ายวันทำงานดูมีชีวิตชีวาอีกครั้ง การนัดเจอกันที่ร้านกาแฟ ดูเป็นกิจกรรมที่ผู้คนทั่วไปทำกันเป็นกิจวัตร ร้านกาแฟมีเสน่ห์ทั้งยามที่มันเงียบ และยามที่คนเยอะเช่นนี้ แม้ว่าเราจะแปลกหน้าต่อกันก็ตามที วันนี้เราก็มาเจอคนแปลกหน้าเช่นกัน…เป็นคนแปลกหน้าที่เรารู้จักเขาข้างเดียวมานาน โดยผ่านงานของเขาตามหน้านิตยสาร ตามนิทรรศการ และตามกิจกรรมทางศิลปะต่างๆ คนแปลกหน้า คนนี้มีชื่อแปลกๆ ที่ชวนจดจำว่า ‘โลเล’ คุณคงคิดเหมือนกันว่า คน’ไรวะ ชื่อโลเล !และท่ามกลางคนแปลกหน้าที่ยืนออกันอยู่หน้าพนักงานขาย ผมสังเกตว่ามีชายที่ชื่อโลเลอยู่ในกลุ่มนั้น เราฉวยวันเวลาและบทสนทนาของคนแปลกหน้าเริ่มต้นด้วยการถามถึงสิ่งง่ายๆ เช่น กาแฟ รถติด อากาศ อาหาร ศิลปะ และเลยไปถึงเรื่องงาน (ขอโทษจริงๆ ที่เราไม่ได้เอ่ยถึงเรื่องนักการเมือง) 2 “ตัวละครในนวนิยายของผม น่าจะเป็นคนที่ดูภายนอกนิ่งๆ แต่ภายในเป็นมนุษย์ขี้สงสัย คิดมาก ชอบทบทวนสิ่งที่คิดอยู่ในใจเสมอ หน้าตาธรรมดา มีบุคลิกเฉพาะ” โลเล หรือ ต๋อย หรือ ทวีศักดิ์ ศรีทองดี (ในที่นี้เราขอเรียกเขาว่าโลเล) ชื่อเหล่านี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณรู้จักกับเขาในสถานะไหน ตอบกับเราอย่างนั้นเมื่อบทสนทนาพาไปถึงงานที่เขาอยากทำในอนาคต โลเลบอกว่า เขาอยากลองเขียนนวนิยายดูสักเรื่อง หลังจากที่ทดลองทำงานศิลปะมาแล้วในหลากหลายรูปแบบ ทั้งงานเขียนภาพ งาน Installation […]Read More
Think + Design = Propaganda ! หากใครยังไม่คุ้นกับชื่อนี้ ก็คงไม่แปลกนัก เพราะสาธิตเป็นคนที่ออกตัวกับเราตั้งแต่เจอว่า “ไม่ชอบออกสื่อ” และยื่นคำขาดตั้งแต่แรกเจอว่าขอไม่ถ่ายรูปให้เห็นหน้าชัดๆจะได้ไหมเป็นคำขอที่ออกจะแปลกประหลาดอยู่สักหน่อยสำหรับการทำคอลัมน์สัมภาษณ์ที่กินเนื้อที่ของนิตยสาร 8-10 หน้า โดยที่คุณ–ผู้อ่านจะไม่มีโอกาสได้เห็นหน้าชัดๆของผู้ชายคนนี้แต่เราก็ยอมยอมด้วยเหตุผลที่ว่าชีวิตของเขาน่าสนใจกว่าจะมาพะวงเพียงแค่รูปของเขาปัจจุบันสาธิตกาลวันตวานิชเป็นหัวหอกสำคัญของสองบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งแวดวงโฆษณาและแวดวงโปรดักส์ดีไซน์ของไทยเขาเป็นหนึ่งในบอร์ดของบริษัทฟีโนมีนาโปรดักชั่นและเป็นครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ของของบริษัทพร็อพพากันดีสบริษัทที่ผลิตและสร้างสรรค์แบรนด์พร็อพพาแกนดา (Propaganda) ให้รู้จักไปทั่วโลกในช่วงเวลา 15 ปีและน่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ของไทยบริษัทเดียวที่สามารถคว้ารางวัลการออกแบบโปรดักส์ดีไซน์ระดับโลกมาได้มากที่สุดและสินค้า Big Idea อย่าง ‘Mister P‘ ก็กลายเป็นสินค้าที่โดน ‘ก๊อบ’ มากที่สุดชิ้นหนึ่ง นั่นแสดงว่าแรงกระเพื่อมของมิสเตอร์พีนั้นแรงไม่เบานอกเหนือจากการทำพร็อพพาแกนดาจนประสบความสำเร็จมาแล้วชีวิตการทำงานในแวดวงโฆษณาเขาสั่งสมชื่อเสียงไว้มากตั้งแต่สมัยที่สาธิตทำงานอยู่ในบริษัทโฆษณาอย่าง Far East Advertising, Leo Burnet และการออกมาทำบริษัทของตัวเองอย่าง ‘สามหน่อ’ ซึ่งในยุคสิบกว่าปีที่แล้วไม่มีใครไม่รู้จักชื่อนี้ เพราะเป็นบริษัทเล็กๆ ที่สามารถโค่นบริษัทใหญ่ๆ ข้ามชาติได้ สาธิตยังอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธนชัย ศรศรีวิชัย ผู้กำกับโฆษณาอันดับหนึ่งของโลก (จากการจัดอันดับของ GUNN Report) และบริษัทฟีโนมีนาที่เขาร่วมก่อตั้งและเป็นหนึ่งในบอร์ดบริหาร ก็ยังเป็นบริษัทที่ได้รับรางวัลด้านโฆษณาต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1992 จนถึงปัจจุบันหากคุณไม่เคยเจอผู้ชายคนนี้คุณอาจคิดว่าเขาอาจมีท่าทีของความไว้ตัวนิดๆท่ามากหน่อยๆหัวคิดแบบคนจบนอกตามประสาคนโฆษณาโดยเฉพาะข้อเสนอของเรื่องไม่ขอถ่ายรูปอาจทำให้คุณตัดสินเขาไปแล้วเรียบร้อยการณ์กลับตาลปัตรเมื่อเราได้เจอกันสาธิตไม่เคยจบเมืองนอกพ่อเป็นทหารแม่เป็นครูและสู้ชีวิตมาเหมือนกับชนชั้นกลางทั่วไปในกรุงเทพฯนั่นยิ่งทำให้น่าสนใจว่าอะไรหนอที่ทำให้คนที่ไม่ได้มีต้นทุนชีวิตสูงนักเหมือนลูกเศรษฐีทั้งหลายถึงก้าวมาไกลได้ขนาดนี้ อาวุธอย่างเดียวที่เขามีเท่าที่เรานึกออกคือน่าจะเป็นความคิด และน่าจะเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่น่าจะเต็มไปด้วยดีไซน์อยู่ในนั้นเป็นแน่ ! GM : ดูเหมือนคุณทำอะไรมาหลายอย่างและหลากหลายมากทั้งทำงานโฆษณา ทั้งกำกับมิวสิกวิดีโอ […]Read More