fbpx

การเมืองเรื่องภาพลักษณ์ วิเคราะห์เจาะลึกจุดอ่อนพรรคพลังประชารัฐ

Reasons to Read โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งที่หลายคนมองว่าเป็น ‘หวยล็อก’ ให้ทหารได้สืบทอดอำนาจผ่านพรรคพลังประชารัฐ และให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่หากพิจารณากันจริงๆ พรรคพลังประชารัฐจะมีจุดอ่อนในเรื่องใดบ้าง และสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ในสายตาประชาชนอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อการลงคะแนนเสียงของประชาชน  ใกล้จะเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่หลายฝ่ายต่างก็เห็นว่า ‘เดิมพันสูง’ เนื่องจากเป็นการเลือกระหว่างเอาหรือไม่เอารัฐบาลทหารต่อไป เมื่อพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เป็นพรรคที่ประกาศชู พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขึ้นมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง ทำให้พรรคหลีกเลี่ยงภาพการเป็นแคนดิเดตของทหารไม่พ้น ทั้งที่พยายามพูดมาตลอดว่าพรรคไม่ได้สืบทอดอำนาจ ที่ผ่านมา พรรคพลังประชารัฐถูกมองว่า ‘มีแต้มต่อ’ มากที่สุด ตั้งแต่การมีข่าว ‘พลังดูด’ ที่มีการกว้านเอาอดีต ส.ส. ที่มีฐานเสียงในมือจำนวนมากเข้ามาร่วมพรรค และถูกโจมตีว่า เดินหน้าทำคะแนนนิยมหาเสียงก่อนในขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ ยังถูกแช่แข็งไม่ให้ทำกิจกรรมการเมือง โดยการใช้ข้ออ้าง ลงพื้นที่เพื่อพบปะรับฟังความเห็นประชาชนในนามกลุ่มสามมิตรไม่ใช่ในนามพรรค ไปจนถึงการโจมตีว่าแคนดิเดตนายกฯ ของพรรค (ซึ่งแบไต๋มาตั้งนานก่อนที่จะตกปากรับคำ) ก็เป็นเจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจเต็ม ที่สามารถออกนโยบายมาสร้างคะแนนนิยมได้ เช่น การจ่ายเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจน การจ่ายเงินในโครงการไทยนิยม กฎหมายก็เป็นแต้มต่อที่สำคัญ จนขนาดมีข่าวว่า แกนนำพรรคบางคนไปพูดในทำนองว่า ‘รัฐธรรมนูญออกแบบมาเพื่อพวกเรา’ เรื่องนั้นคือเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญในบทเฉพาะกาล ที่กำหนดให้ ส.ว. […]Read More

สารคดีเชื่อไม่ได้ เน็ตฟลิกซ์ถอดรายการ อ้างรักษารากฟันก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

เน็ตฟลิกซ์ถอดรายการสารคดีหนึ่งที่มีการอ้างว่าการรักษารากฟันและการผ่าฟันคุดเป็นเหตุก่อโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคร้ายอื่นๆ ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดและทำให้คนดูกลัวการรักษาได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดยืนยัน เน็ตฟลิกซ์ได้รับจดหมายแจ้งเตือนจากสมาคมทันตแพทย์ เมื่อสารคดีหนึ่งซึ่งเผยแพร่บนแพลตฟอร์มมีการอ้างว่า การรักษารากฟันและการผ่าฟันคุดเป็นเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งและโรคร้ายอื่นๆ ตามมา ซึ่งข้ออ้างนี้ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดยืนยัน จึงอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ชมและทำให้เกิดความกลัวการรักษา เน็ตฟลิกซ์จึงตัดสินใจถอดรายการนี้ออกจากเว็ปไซต์https://www.youtube.com/embed/lyW-GHVndGs?feature=oembedตัวอย่างสารคดี Root Cause ซึ่งอิงจากเรื่องจริง สารคดีนี้มีชื่อว่า รูต คอส (Root Cause) ถ่ายทำโดยผู้สร้างภาพยนตร์ชาวออสเตรเลีย เฟรเซอร์ ไบลีย์ (Frazer Bailey) ที่พยายามตามหาความจริงว่าการรักษารากฟันที่เขาเคยได้รับเมื่อตอนหนุ่มคือสาเหตุของอาการเจ็บป่วยที่มีอยู่จริงหรือไม่ ด้วยการเข้ารับการบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายวิธีทั่วโลก อาทิ การสะกดจิต การกินยา การสร้างสมดุลจักรา (โยคะชนิดหนึ่ง) หรือแม้กระทั่งการดื่มปัสสาวะตัวเอง ก่อนจะได้ข้อสรุปจากทันตแพทย์แบบองค์รวมคนหนึ่งว่า การที่เขาเข้ารับการรักษารากฟันเมื่อตอนหนุ่มเป็นสาเหตุให้เขามีอาการเจ็บป่วยเช่นนี้จริง  ในสารคดีดังกล่าวอ้างว่า การรักษารากฟันและการผ่าฟันคุดเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคร้ายอื่นๆ อีกด้วย เนื่องจากการรักษารากฟันและการผ่าฟันคุดทำให้เกิดการติดเชื้อภายใน แบคทีเรียและสารพิษต่างๆ จะเปื่อยเน่าอยู่ในกรามก่อนลุกลามไปยังอวัยวะอื่นภายในร่างกายผ่านเส้นลมปราณตามความเชื่อเดียวกับแพทย์แผนจีนโบราณ ซึ่งทำให้ร่างกายติดเชื้อและเกิดโรคมะเร็งได้ และเมื่อประเด็นนี้เผยแพร่สู่ผู้ชมผ่านเว็บไซต์เน็ตฟลิกซ์ก็เกิดการถกเถียงและตั้งข้อสงสัยถึงอันตรายของการรักษารากฟัน ทำให้สมาคมทันตกรรม 3 แห่งของสหรัฐอเมริกา คือ สมาคมทันตกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา (ADA) สมาคมทันตแพทย์รากฟันเทียมแห่งสหรัฐอเมริกา (AAE) และสมาคมวิจัยทันตกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา (AADR) […]Read More

ประเพณีล่าวาฬ​ รุกผืนป่าแอมะซอน คว่ำบาตรรัสเซีย กรณีศึกษาชาตินิยมไม่สนใจชาวโลก

ไม่ว่าประชาคมชาวโลกจะรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ห่วงใยสภาพภูมิอากาศ หรือเป็นกังวลเรื่องห่วงโซ่อาหารกันมากมายแค่ไหน หากว่ามันเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณีที่ฝังรากลึกมายาวนาน หรือวาระสำคัญแห่งชาติแล้วละก็ ประชาชนหรือรัฐบาลของบางประเทศก็ไม่สนใจเหมือนกันว่าชาวโลกจะคิดหรือรู้สึกอย่างไร จะมีชาติไหนบ้าง มาดูกัน ความเจริญรุ่งเรืองของญี่ปุ่นคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากความร่วมมือของสหรัฐอเมริกา และการส่งออกที่ล้นเหลือ แต่ประชากรของประเทศกำลังเข้าสู่วัยชรามากขึ้น เศรษฐกิจก็กำลังซบเซา ในขณะที่จีนกำลังก้าวขึ้นสู่การเป็นมหาอำนาจ ญี่ปุ่นกลับประสาทเสียกับการหาที่ยืนบนโลก ในเชิงเศรษฐกิจภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ญี่ปุ่นจำเป็นต้องเอาตัวเข้าไปผูกกับประชาคมโลกมากขึ้น และเมื่อ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงการค้าเสรีกับกลุ่มประเทศในแถบแปซิฟิก อาเบะจึงหันไปเจรจาทำสัญญากับสหภาพยุโรปแทน อาเบะรู้ดีว่า ประเทศของเขาต้องพึ่งพาการเติบโตของโลก แต่กลับขายนโยบายกับประชาชนในช่วงหาเสียงว่าเขาจะนำความเป็นญี่ปุ่นกลับมา และแสร้งทำคล้ายกับว่าประเทศกำลังจะกลับมาเฟื่องฟูเหมือนช่วงปี 1990 นอกเหนือจากการเปิดการค้าเสรีแล้ว อาเบะยังให้ความสำคัญกับลัทธิชาตินิยมอีกด้วย เมื่อเดือนธันวาคม ญี่ปุ่นถอนตัวออกจากคณะกรรมาธิการการล่าวาฬนานาชาติ ก่อนหน้านี้เคยมีการยกเลิกคำสั่งห้ามล่าวาฬมิงค์ ซึ่งเคยออกกฎห้ามมาตั้งแต่ปี 1986 เนื่องจากมันรอดพ้นจากภาวะสูญพันธุ์แล้ว เมื่อประเทศสมาชิกลงมติคัดค้าน ญี่ปุ่นจึงใช้เหตุผลดังกล่าวในการถอนตัว หากมองอย่างเป็นธรรมแล้ว จะเห็นว่าญี่ปุ่นมีเหตุผล วาฬมิงค์ไม่ได้ถูกคุกคามจนถึงขั้นสูญพันธุ์อีกต่อไป แต่การยืนยันใน ‘ประเพณีการล่าวาฬ’ ของญี่ปุ่น และการให้เหตุผลเกี่ยวกับโปรตีนจากเนื้อวาฬเป็นเรื่องสำคัญนั้น ดูจะเป็นนโยบายประชานิยมเสียจนออกนอกหน้า ทั้งที่ความจริง แทบไม่มีใครในญี่ปุ่นนิยมกินเนื้อวาฬกันอีกแล้ว อุตสาหกรรมการประมงยังคงอยู่ได้โดยเงินอุดหนุนจากภาครัฐเท่านั้น  ตั้งแต่ฤดูร้อนเป็นต้นไป ญี่ปุ่นจะสามารถจับปลาเชิงพาณิชย์ได้โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากใครอีกแล้ว และญี่ปุ่นก็ไม่สนใจด้วยว่า ใครจะคิดอย่างไรเกี่ยวกับประเพณีการล่าวาฬของพวกเขา ฌาอีร์ โบลโซนารู ประธานาธิบดีคนที่ 38 […]Read More

ข่าวดีมีเฮ! นักวิทยาศาสตร์ค้นพบโปรตีนในปลาหมึก นำมาสร้างวัสดุใช้แทนพลาสติกได้

โปรตีนที่พบในปุ่มดูดจับเหยื่อของปลาหมึกสามารถนำมาเป็นต้นแบบสร้างวัสดุใช้ทดแทนพลาสติกเพื่อช่วยลดขยะย่อยสลายยากได้ จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า โปรตีนที่สามารถพบได้ในปลาหมึกสามารถนำมาสร้างเป็นวัสดุใช้ทดแทนพลาสติกได้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการใช้พลาสติกที่เป็นสาเหตุสำคัญในการทำลายสิ่งแวดล้อม โดยวัสดุที่ได้จากโปรตีนปลาหมึกสามารถย่อยสลายได้เอง จึงเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนกว่าโดยที่เราไม่ต้องพรากชีวิตหมึกสักตัวเดียว ศาสตราจารย์เมลิก เดมิเรล (Melik Demirel) จากมหาวิทยาลัยรัฐเพนซิลเวเนีย ผู้นำการศึกษาครั้งนี้รายงานว่า โปรตีนที่พบนั้นอยู่ในปุ่มดูดจับเหยื่อหรืออาหารบนหนวดปลาหมึก ซึ่งในปุ่มเหล่านั้นจะมีฟันที่แหลมคมอยู่เพื่อใช้ยึดเหยื่อที่เป็นอาหารให้อยู่นิ่ง และฟันเล็กๆ เหล่านั้นเองที่เป็นกุญแจสำคัญของการศึกษาครั้งนี้ เพราะพวกมันทำขึ้นจากโปรตีนที่มีลักษณะคล้ายกับวัสดุชนิดเส้นไหม ทีมค้นคว้าของศาตราจารย์เดมิเรลจึงค้นคว้าเกี่ยวกับโปรตีนชนิดนี้และผลิตวัสดุเส้นใยต้นแบบที่ทำขึ้นจากโปรตีนในปลาหมึกขึ้นมา โดยที่ไม่ได้คร่าชีวิตหมึกเลยสักตัวเดียว วัสดุต้นแบบสร้างขึ้นในห้องทดลองโดยใช้แบคทีเรียดัดแปลงพันธุกรรมและกระบวนการหมักที่ใช้เพียงน้ำ น้ำตาล และออกซิเจนเป็นส่วนประกอบเท่านั้น ทำให้ได้วัสดุจากธรรมชาติที่มีความแข็งแรง ยืดหยุ่น ทนความร้อนได้ดี และสามารถใช้ทดแทนพลาสติกเจ้าปัญหาสร้างภาวะโลกร้อนได้ดีเยี่ยมเช่นกัน อีกทั้งอาจมีการนำไปต่อยอดใช้เป็นเส้นใยผลิตเครื่องนุ่งห่มที่ปราศจากสารเคมีได้อีกด้วย  แม้วัสดุนี้จำต้องมีการศึกษาพัฒนาเพิ่มเติม แต่คงเป็นการดีหากสามารถนำมาใช้ทดแทนพลาสติกได้โดยเร็ว เพราะจะช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมได้มาก ทั้งลดขยะย่อยสลายยากไปจนถึงลดมลพิษจากกระบวนการผลิตต่างๆ ที่ส่งผลเสียต่อโลกRead More

“พรรคที่จะล้อม พร้อมที่จะรัก” 10 หนุ่มสาวนักการเมืองหน้าตาดีกับดีกรีและนโยบายของพวกเขา

คนหน้าตาดีหรือคนที่มีรูปเป็นทรัพย์ที่เรียกว่า ‘Beauty Premium’ จะได้รับโอกาสและความสนใจจากคนที่พบเจอได้มากกว่าคนหน้าตาธรรมดา เพราะหน้าตาส่งผลต่อความเชื่อมั่นในความสามารถจริงไหม การเลือกตั้ง 2562 ครั้งนี้ นอกจากความดุเดือดของเกมการเมืองแล้ว หน้าตาของนักการเมืองหน้าใหม่ก็เป็นอีกสีสันที่ทำให้การเลือกตั้งดูคึกคัก เห็นทีที่เขาบอกว่า ‘หน้าตาดี มีชัยไปกว่าครึ่ง’ จะเป็นเรื่องจริง เพราะผลการวิจัยเรื่อง ‘Beauty is the Promise of Happiness’ จากมหาวิทยาลัยเทกซัสรายงานว่า คนหน้าตาดีจะได้รับโอกาสและความสนใจจากคนที่พบเจอได้มากกว่าคนหน้าตาธรรมดา นอกจากนี้การมีรูปเป็นทรัพย์ หรือที่เรียกว่า ‘Beauty Premium’ ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นในความสามารถอีกด้วย โดยผลการวิจัยของ Daniel Hamermesh นักเศรษฐศาสตร์ ได้ระบุว่า หน้าตาที่ดีมีแนวโน้มจะทำให้คนเชื่อมั่นในความสามารถ งานนี้ก็ไม่รู้ว่าเหล่าผู้สมัครที่มีหน้าตาเป็นข้อได้เปรียบ จะเรียกคะแนนจากประชาชนได้มากน้อยแค่ไหนกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อย่าลืมดูนโยบายของพวกเขากันด้วยนะ หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ของพรรคอนาคตใหม่ ด้วยลุกส์หนุ่มใหญ่ที่ยังแซ่บ และนโยบายที่โดนใจวัยรุ่นทำให้เกิดเป็นกระแสบนโลกโซเชียลกับแฮชแท็ก #ฟ้ารักพ่อ ไม่เพียงหน้าตาที่โดดเด่น แต่ประวัติของพ่อคนนี้ก็โดดเด่นไม่แพ้กัน เขามีดีกรีปริญญาโทถึง 3 ใบ คือ เศรษฐศาสตร์การเมือง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, การเงินระหว่างประเทศ โรงเรียนธุรกิจสเติร์น มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ […]Read More

ฟุ่มเฟือยและมัวเมา ‘อากาซาเดห์’ ทายาทชนชั้นสูงยุคใหม่ในอิหร่าน

‘อากาซาเดห์’ หรือ Good Gene เป็นคำเรียกบรรดาลูกสาวและลูกชายของชาวอิหร่านชนชั้นสูง ที่มีชีวิตผิดแผกไปจากผู้คนทั่วไปในสาธารณรัฐอิสลาม Reasons to Read  ‘อากาซาเดห์’ หรือ Good Gene เป็นคำเรียกบรรดาลูกสาวและลูกชายของชาวอิหร่านชนชั้นสูง ที่มีชีวิตผิดแผกไปจากผู้คนทั่วไปในสาธารณรัฐอิสลาม ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจในอิหร่านไม่ใช่ปัญหาใหม่ แต่โซเซียลมีเดียก็ช่วยทำให้มันเด่นชัดขึ้น เมื่อบรรดาเด็กๆ จากครอบครัวฐานะร่ำรวยเหล่านี้อวดความฟุ้งเฟ้อให้เห็นในสังคมออนไลน์ อิหร่านกำลังเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 40 ปีแห่งการปฏิวัติอิสลาม ขณะเดียวกันบรรดาลูกชายและลูกสาวของครอบครัวชนชั้นสูงในประเทศพากันเฉลิมฉลองในอีกความหมาย โดยเผยชีวิตหรูสุดกู่ของตนเองผ่านทางอินสตาแกรม เรียกเสียงก่นด่าได้เป็นอย่างดี เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โมฮัมเหม็ด ‘ซาชา’ โซบาห์นี เข้าเช็กอินที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี และถ่ายวิดีโอคลิปไว้ระหว่างนั่งอยู่บนเตียง มีแลปท็อป Apple วางอยู่บนตัก มีหญิงสาวนุ่งชุดชั้นในนอนคลอเคลียอยู่ใกล้ตัว และมีเสียงเพลงรีมิกซ์ของลานา เดล เรย์ ขับกล่อม เป็นคลิปที่มีคนเปิดดูแล้วกว่าหนึ่งล้านครั้ง ซาชาเป็นลูกชายวัย 31 ปีของ อัคหมัด โซบาห์นี อดีตเอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศเวเนซูเอลา เขามักโพสต์ภาพตนเองกับผู้หญิง แอลกอฮอล์ กระเป๋าหลุยส์ วิตตอง และรถปอร์เชไม่ซ้ำสีลงในอินสตาแกรมอย่างสม่ำเสมอ มีคนติดตามเขาอยู่กว่า 550,000 คน […]Read More

Gig Economy วันนี้และวันหน้าของการทำงาน

คนยุคใหม่นี้มักไม่ค่อยอยากสังกัดกับองค์กรเดียวไปนานๆ ตลอดชีวิตอีกแล้ว แต่มีแนวโน้มที่จะไป ‘ลอง’ กับบริษัทหลายๆ รูปแบบ Reasons to Read คนยุคใหม่นี้มักไม่ค่อยอยากสังกัดกับองค์กรเดียวไปนานๆ ตลอดชีวิตอีกแล้ว แต่มีแนวโน้มที่จะไป ‘ลอง’ กับบริษัทหลายๆ รูปแบบ Gig Economy คือระบบของตลาดเสรี ที่ทำให้เกิดความ ‘ชั่วคราว’ ในตำแหน่งงานและองค์กรต่างๆ มากขึ้น ทำให้เกิดคนทำงานที่เป็นอิสระ หรือว่ามีสัญญาว่าจ้างในการทำงานกันแบบระยะสั้นมากขึ้นเรื่อยๆ คำว่า Gig Economy เป็นคำที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าแต่คำนี้หมายถึงอะไร ทุกวันนี้ เราจะได้ยินคนพูดว่าตัวเองเป็น ‘ฟรีแลนซ์’ กันมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เราเป็นฟรีแลนซ์กันได้นั้น ต้องบอกว่าเป็นเพราะคุณูปการของ Gig Economy นี่แหละครับ เพราะโดยเนื้อแท้แล้ว มันคือระบบแบบหนึ่งของตลาดเสรี ที่ทำให้เกิดความ ‘ชั่วคราว’ ในตำแหน่งงานและองค์กรต่างๆ มากขึ้น ดังนั้น จึงทำให้เกิดคนทำงานที่เป็นอิสระ หรือว่ามีสัญญาว่าจ้างในการทำงานกันแบบระยะสั้นมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างก็อย่างที่เรารู้ๆ กันนะครับ ว่าคนยุคใหม่นี้ มักไม่ค่อยอยากสังกัดกับองค์กรเดียวไปนานๆ ตลอดชีวิตอีกแล้ว แต่มีแนวโน้มที่จะไป ‘ลอง’ กับบริษัทหลายๆ […]Read More

เมื่อแมลงสูญพันธุ์ นั่นคือการล่มสลายของระบบนิเวศ และมันอาจมาถึงเร็วกว่าที่คิด

จำนวนประชากรแมลงที่ลดลงฮวบทำให้คาดการณ์ว่าในอีกร้อยปีโลกเราอาจไม่มีแมลงเหลืออยู่ ช่วง 25-30 ปีที่ผ่านมา ประชากรแมลงหายไปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว อย่าเพิ่งดีใจไปหากเราจะบอกว่าสัตว์จำพวกแมลงบนโลกนี้กำลังจะสูญพันธ์ แม้จะเป็นอีกร้อยปีข้างหน้าจึงจะหายไปอย่างหมดจด แต่หากเทียบกับวิกฤตระบบนิเวศทางธรรมชาติที่มนุษย์จะได้เผชิญไปจนกว่าจะถึงปีที่หนึ่งร้อยและนับต่อจากนั้น ห้วงเวลาหนึ่งร้อยปีอาจไม่ช้าให้เราชะล่าใจเท่าไหร่นัก หลายคนอาจมองว่าสัตว์จำพวกแมลงไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศ ทว่าหากลองวาดห่วงโซ่อาหารขึ้นมาสักวงหนึ่งอาจทำให้เข้าใจมากขึ้นว่าทำไมแมลงตัวเล็กๆ ถึงมีความสำคัญมากพอจะทำให้สัตว์ชนิดอื่นดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่จากผลการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ระดับโลกพบว่า ปัจจุบันประชากรแมลงมีจำนวนลดลงจนน่าใจหาย ซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือการล่มสลายของระบบนิเวศทางธรรมชาติ เพราะไม่เพียงเป็นอาหารให้สัตว์ชนิดอื่นเท่านั้น แต่แมลงยังช่วยผสมและขยายพันธุ์พืช รักษาดิน ย่อยสลายสารอาหารและประโยชน์อื่นๆ อีกมาก ทว่าสายพันธุ์แมลงเกือบครึ่งกำลังลดน้อยลง ส่วนอีกครึ่งก็กำลังเข้าสู่การสูญพันธุ์ ซึ่งเปรียบเทียบกับสัตว์ใหญ่แล้ว การสูญพันธ์ุของแมลงมีความรวดเร็วกว่าถึง 8 เท่าตัว และสาเหตุของการสูญพันธ์ุก็คงไม่พ้นฝีมือของมนุษย์ โดยเฉพาะด้านการเกษตรกรรมที่มีการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมี การตัดต้นไม้ทำลายพุ่มหญ้าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงจนโล่งเตียน รวมถึงการขยายตัวของเขตเมือง หรือภาวะโลกร้อน ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้แมลงมีจำนวนลดลงต่อเนื่องมาหลายปี “ถ้าเราไม่สามารถหยุดการลดลงของสัตว์จำพวกแมลงได้ สิ่งนี้จะไม่เป็นเพียงภัยพิบัติต่อระบบนิเวศระดับโลก แต่รวมถึงการอยู่รอดของมนุษยชาติด้วย” ฟรานซิสโก ซานเชส-บาโย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย กล่าว โดยสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่จะได้รับผลกระทบหากประชากรแมลงลดน้อยลงก็คือสัตว์กินแมลงเป็นอาหารจำพวกนก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และปลา แน่นอนว่าหากสัตว์จำพวกนี้ขาดแหล่งอาหารก็จะอดตายและกระทบต่อสัตว์อื่นเป็นทอดๆ รวมถึงมนุษย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารเช่นกัน  นายซานเชสเสริมว่า เราทุกคนควรตระหนักถึงปัญหาเสียที เพราะในช่วงเวลา 25-30 ปีที่ผ่านมา ประชากรแมลงหายไปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ […]Read More

‘กบฏอินเซล’ ภยันตรายของผู้ชายไร้เซ็กซ์

Incel (Involuntary Celibacy) คือคำจำกัดความของกลุ่มคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ที่ครองพรหมจรรย์อย่างไม่สมัครใจ เนื่องจากรู้สึกกันไปเองว่าไม่มีใครสนใจ ไม่มีใครพิศวาส รวมตัวขึ้นเป็นชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์ Reasons to Read Incel (Involuntary Celibacy) คือคำจำกัดความของกลุ่มคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ที่ครองพรหมจรรย์อย่างไม่สมัครใจ เนื่องจากรู้สึกกันไปเองว่าไม่มีใครสนใจ ไม่มีใครพิศวาส รวมตัวขึ้นเป็นชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์  อินเซลมีแนวคิดต่อต้าน เป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม ‘ปกติ’ จนถึงขนาดมีความคิดที่จะโค่นทำลาย  “ผู้หญิงแสดงความเสน่หา ความรัก หรือแม้กระทั่งมีเซ็กซ์กับผู้ชายคนอื่นๆ แต่ไม่เคยมีกับผม ผมอายุยี่สิบสองปี ยังโสดและพรหมจรรย์ ผมไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมพวกเธอถึงไม่รู้สึกอะไรกับผม แต่พวกเธอจะได้รับการลงโทษอย่างสาสม” นั่นคือคำแถลงของ เอลเลียต ร็อดเจอร์ (Elliot Rodger) ที่บันทึกไว้และโพสต์ลงในยูทูบ คล้ายกันกับแถลงการณ์กว่า 100 หน้าใน Twisted World – โลกที่บิดเบี้ยวของเขา ก่อนที่เขาจะลงมือสังหารผู้คนในอิสลา วิสตา บริเวณใกล้มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2014 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 คน บาดเจ็บอีก […]Read More

ใครกันที่ผิด ความไม่เท่าเทียมทางเพศทำให้ญี่ปุ่นประชากรลดลง

ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก ตรงกันข้ามกับประชากรแรกเกิดที่มีจำนวนลดลงเรื่อยๆ รัฐบาลพยายามออกนโยบายกระตุ้นการเกิดหลายอย่าง ทว่าดูแล้วไม่ได้ผลเท่าไหร่นัก Reasons To Read ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก ตรงกันข้ามกับประชากรแรกเกิดที่มีจำนวนลดลงเรื่อยๆ รัฐบาลพยายามออกนโยบายกระตุ้นการเกิดหลายอย่าง ทว่าดูแล้วไม่ได้ผลเท่าไหร่นัก เหตุหนึ่งที่สำคัญและขัดขวางการมีบุตรของคู่รักชาวญี่ปุ่นคือชีวิตการทำงาน และความจำเป็นทางเศรษฐกิจ  ประเทศญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่วิกฤตประชากรเนื่องจากมีจำนวนคนในประเทศลดลงมากที่สุดเป็นครั้งประวัติศาสตร์ โดยปีที่ผ่านมามีจำนวนประชากรเสียชีวิตสูงเท่ากับช่วงหลังสงครามคือ 1.37 ล้านคน ทว่ามีจำนวนเด็กเกิดใหม่เพียง 921,000 คนท่ามกลางประชากรรวม 126 ล้านชีวิต เท่ากับว่าประชากรแดนปลาดิบหายไปกว่า 448,000 คน มากสุดเป็นประวัติกาล โดยรองนายกรัฐมนตรีออกมาให้ความเห็นว่า “อย่าโทษผู้สูงวัย เพราะผู้หญิงที่ไม่ยอมมีบุตรต่างหากคือปัญหาของเรื่องนี้” ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก ตรงกันข้ามกับประชากรแรกเกิดที่มีจำนวนลดลงเรื่อยๆ มาตั้งแต่ช่วงปี 2520 รัฐบาลพยายามออกนโยบายกระตุ้นการเกิดด้วยการมอบเงินสนับสนุน สร้างสถานรับเลี้ยงเด็กตอนกลางวันเพิ่ม รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกแม่และเด็กอื่นๆ โดยหวังให้คนในประเทศช่วยเพิ่มประชากร ทว่าดูแล้วไม่ได้ผลเท่าไหร่นักเพราะจำนวนเด็กเกิดใหม่ไม่มีท่าทีจะสูงขึ้น แถมตัวเลขปีที่ผ่านมายังต่ำสุดในประวัติศาสตร์อีก ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ขัดขวางการอยากมีบุตรของคู่รักชาวญี่ปุ่นนั้นก็คือ ชีวิตการทำงาน อย่างที่รู้กันว่าญี่ปุ่นเป็นชาติที่ทำงานอย่างทุ่มสุดชีวิตเพื่อจะประสบความสำเร็จ ทำให้หลายคนกลัวว่าจะไม่มีเวลาให้ครอบครัว ผู้หญิงหลายคนที่ตัดสินใจมีบุตรจึงต้องยอมวางมือจากหน้าที่งานเพื่อออกมาเลี้ยงดูลูก แต่ปัญหาก็คือเมื่อกลับเข้าไปทำงานจะต้องเผชิญกับค่าแรงที่ต่ำกว่าเคย ความไม่ก้าวหน้าในตำแหน่ง หรือถูกปฎิเสธการจ้างประจำ และร้ายแรงสุดอาจต้องอยู่ในสภาวะว่างงาน แน่นอนว่ารายได้ที่น้อยลงแต่มีภาระเลี้ยงดูที่เพิ่มขึ้นทำให้ผู้หญิงญี่ปุ่นมองว่าการมีลูกอาจทำให้เสียโอกาสในการเติบโตของชีวิต  หากเปรียบเทียบกันจะพบว่าประชากรชายมีโอกาสได้รับจ้างงานและได้ค่าตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่ามากแม้จะเป็นตำแหน่งพนักงานไม่ประจำเหมือนกันก็ตาม ผู้หญิงจึงต้องทำงานนานกว่าเพื่อได้รับค่าตอบแทนที่มากขึ้น และหากต้องการทำงานประจำก็ต้องมีเวลามากพอตามที่กำหนด ทำให้ภาระการเลี้ยงดูบุตรเป็นข้อจำกัดให้ผู้หญิงหลายคนไม่สามารถทำงานประจำหรือใช้เวลาที่ทำงานมากขึ้นได้ ซึ่งเท่ากับว่ามีรายได้ที่ลดลงด้วย เช่นนี้แล้วคงไม่น่าสงสัยเท่าไหร่หากผู้หญิงหลายคนเลือกรักษาตำแหน่งงานไว้แทนการออกไปสร้างครอบครัว เพราะดูเหมือนว่าสิ่งที่ทำให้ประชากรอยากให้ความร่วมมือกับรัฐอาจไม่ใช่ความสะดวกสบาย […]Read More