“เมื่อโอกาสมาอย่าลืมที่จะคว้าไว้” เรามักได้ยินคำพูดนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่สำหรับ เอกชัย จิรชูพันธ์ คำพูดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเบื้องหลังความสำเร็จในการสร้างโซลูชั่นให้แก่วงการค้าปลีก คงไม่เกินจริงหากจะกล่าวว่า “เมื่อปัญหามาอย่าลืมที่จะคว้าไว้” แทนที่จะมองว่าลูกค้าเอา “ปัญหา” มาให้ แต่เอกชัยมองว่า นั่นคือ “โอกาส” ที่ลูกค้าหยิบยื่นให้ต่างหาก ยิ่งปัญหามากก็เท่ากับยิ่งมีโอกาสมาก กระทั่งในที่สุด เกิดเป็นแอปพลิเคชัน ZEEN Audit ที่แก้ปัญหาเรื่องการตรวจสอบระบบ Distribution ในวงการค้าปลีก ด้วยภาพถ่ายและระบบ AI ซึ่งนับว่าเป็นการส่งมอบบริการที่มีมูลค่ามหาศาลให้บริษัทหรือเจ้าของแบรนด์แบบที่ยากจะประเมินค่าก็ว่าได้ เพราะ Zeen Audit ทำให้สามารถทราบข้อมูลต่างๆ ในเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการจัดวางสินค้า การติดสื่อโฆษณา ความเคลื่อนไหวของคู่แข่งของร้านค้าแบบ Realtime รวมทั้งเพื่อตรวจสอบการทํางานของทีมกระจายสินค้าว่ามีประสิทธิภาพและถูกต้องครบถ้วนไหม “เราทำแอปพลิเคชันให้กับบริษัทที่เรียกว่าเป็น Fast-moving consumer goods หรือ FMCG ก็คือ บริษัทที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค อย่างเจ้าของแบรนด์ที่ขายน้ำอัดลม น้ำดื่ม กาแฟกระป๋องที่เห็นตามร้านค้าทั่วไป จุดเริ่มต้นเลยคือ ลูกค้าเล่าถึงปัญหาในการ Distribution สินค้าว่าการนำสินค้าไปวางหน้าร้านโดยเฉพาะร้านโชห่วย การกรอกข้อมูลต่างๆ ยังเป็นแบบ Manual ทำให้ตรวจสอบยาก ปัจจุบันมีร้านโชห่วยมากกว่า […]Read More
จากปัญหาเล็กๆ ของเด็กหอพักนักศึกษาคนหนึ่งที่มีต่อการซักผ้า “ทำไมเราต้องไปรอคิวใต้หอ ทำไมเราถึงไม่รู้ว่าเครื่องซักผ้าว่างตอนไหน ทำไมจ่ายเงินออนไลน์ไม่ได้” ได้สร้างนักศึกษาวิศวคมนาคม ที่ชื่อ กัลย์สุดา ฤกษ์ศรี แห่งมหาวิทยาลัยสรุนารี ให้กลายเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท วี วิล ลอค ยู จำกัด เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก Washway ที่ให้บริการครบวงจรทั้งผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของร้านสะดวกซัก และผู้ใช้บริการที่ต้องการซักผ้าโดยไร้ปัญหากวนใจ และอีกไม่นานจะต่อยอดสู่การเป็นศูนย์รวมใจสร้างอาชีพให้คนในชุมชน Washway เป็นบริการแฟรนไชส์ร้านสะดวกซักที่มาพร้อมระบบบริการจัดการแบบครบวงจร โดยใช้ระบบ IoT ที่สามารถทำให้ทุกอย่างเชื่อมต่อกัน เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า และในอนาคตอาจมีการเชื่อมต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ อาจเรียกว่า ธุรกิจของเธอเกิดขึ้นได้เพราะมาจากปัญหาของฝั่ง End User ที่เธอเข้าอกเข้าใจปัญหาอย่างดี แต่ด้วยมุมมองที่รอบด้าน ทำให้สามารถพลิกฝั่งกลับมาทำความเข้าใจ Owner จนก่อเกิดเป็นธุรกิจสร้างรายได้ให้นักลงทุนและสร้างความสะดวกสบายให้ผู้ใช้ เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับร้านสะดวกซัก “ทุกอย่างเกิดจากปัญหาที่เมื่อตอนที่อยู่หอพักนักศึกษาตอนเรียนชั้นปีที่สาม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุรนารี เคยบ่นกับรุ่นน้องและเพื่อนประจำว่าทำไมเราต้องเดินไปจองคิวเครื่องซักผ้าด้วย ทำไมเราถึงไม่รู้ว่าตอนนี้เครื่องว่างหรือไม่ว่าง แล้วพอดีได้ไปลงเรียนวิชาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ ตอนนั้นคิดว่าทำธุรกิจเราคงต้องมีเงินเก็บ หลังจากเป็นวิศวะก่อนประมาณห้าปีสิบปีถึงจะทำได้ แต่พอได้ไปลงเรียนแล้วก็เลยได้รู้ว่าการทำธุรกิจมี Business Model ที่ต่างอออกไปมากกว่าการซื้อขาย เลยรู้สึกว่าการทำธุรกิจน่าสนใจ ก็เลยปิ๊งไอเดียเรื่องซักผ้า จึงตั้งต้นที่การทำแอปพลิเคชันจองคิวเครื่องซักผ้า แต่ก็ค่อยๆ […]Read More
คุณต้องทดลองถูกผิดกี่ครั้ง สมัครงานกี่ตำแหน่ง ลงมือทำกี่อาชีพ กว่าจะค้นพบตัวตน ความชอบ และเป็นเจ้าของความฝันที่คุณอยากทำ ให้มันเกิดขึ้นได้จริงๆ วิชาญ ชัยจำรัส หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท แฮนด์ดี้วิง จำกัด เขาเองก็เคยผ่านเส้นทางการค้นหาตัวตนและความฝันก่อนจะถึงทุกวันนี้ ทั้งการเป็นนักพัฒนาโปรแกรม อาจารย์มหาวิทยาลัย พนักงานบริษัท ฟรีแลนซ์เซอร์ กว่าจะเจอธุรกิจที่พร้อมจะกระโจนเข้าใส่ ทุ่มเททั้งตัวและหัวใจ เพื่อสร้างในสิ่งที่ดีกว่า และกล้าบอกว่า นี่แหละคือสิ่งที่ใช่! ก่อเกิดกำเนิดเป็นแพลตฟอร์ม MoveMax เทคโนโลยีสุดล้ำ นวัตกรรมที่มุ่งจะสร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมขนส่งให้แก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการในด้านใดก็ตาม MoveMax จะช่วยตอบโจทย์และแก้ปัญหาด้านการบริหารธุรกิจการขนส่งสินค้าครบวงจรให้ได้ประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด “ถ้านิยาม MoveMax ด้วยคำจำกัดความสั้นๆ ก็คือ แพลตฟอร์ม ที่เข้ามาช่วยให้การขนส่งและกระจายสินค้าเป็นเรื่องที่ง่าย มีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนสูงสุดด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาขับเคลื่อน” รอยยิ้มที่ปลายทางคือแรงบันดาลใจ หลักการทำธุรกิจของ MoveMax เน้นที่การเติบโตร่วมกันกับลูกค้า และหาวิธีซื้อใจด้วยการสร้างความคุ้นชินก่อนที่จะนำเทคโนโลยีเข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เพราะวิชาญมองว่าการที่วันหนึ่งจะนำแพลตฟอร์ม ซึ่งมีความสามารถล้ำยุคไปให้ลูกค้า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะใครจะเปิดใจรับอย่างง่ายดาย สุดท้ายเขาจึงได้ค้นพบว่าความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าคืออะไร “เราพบว่าความต้องการของลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่ซอฟท์แวร์ที่มาทำหน้าที่ในการจัดการข้อมูลเท่านั้น เราก็เลยตั้งใจว่าจะพัฒนาตนเองบนหลักการที่ว่าเราไม่ใช่ซอฟท์แวร์ แต่เราคือ Solution ที่ทำให้การขนส่งเป็นเรื่องง่ายจบที่เราแค่ระบบเดียว เราจึงโฟกัสไปที่สามเรื่อง 1. สามารถเข้าไปช่วยลดต้นทุนให้กับลูกค้าได้อย่างไร 2. […]Read More
ถ้าหากถามถึงวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ลำดับต้นๆ ที่นึกถึงนั้นคือ ‘ผ้า’ หรือ ‘สิ่งทอ’ เพราะนอกจากอาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคแล้ว เครื่องนุ่งห่มก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่ช่วยก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์และขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง ผ้าหลากชนิด หลายขนาด ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามหลายครั้งที่จำนวนการผลิตและการป้อนเข้าสู่ตลาดผ้ามีมากเกินกว่าความต้องการ ถูกทิ้งค้างในโกดัง ก่อนที่จะถูกปล่อยขายไปในราคาต่ำหรือกำจัดอย่างสูญเปล่า ผ้าที่ตกสำรวจเหล่านั้น คือความสูญเสียที่ไม่อาจประเมินค่าได้ทั้งในแง่คุณค่า และในแง่เศรษฐกิจ และเมื่อ ‘ความจำเป็น’ กับ ‘ความฝัน’ มาพบกัน จึงก่อเกิด ‘moreloop’ แพลทฟอร์มรับซื้อขายผ้าคงค้างโกดัง ในรูปแบบสินค้าแปรรูปที่ คุณอมรพล หุวะนันทน์ หนึ่งผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มอร์ลูป จำกัด ได้มุ่งหวังจะให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และผลักดันแนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามหลัก ‘Circular Economy’ ที่จะตามมา เพราะความฝัน กับความจำเป็น ก่อเกิดเป็นไอเดียเพื่อความยั่งยืน สำหรับคุณอมรพล หนึ่งในผู้ก่อตั้งนั้น เขาไม่ใช่หน้าใหม่กับวงการ Startup แต่อยู่กับธุรกิจนี้มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง รวมถึงเคยร่วมก่อตั้งในแพลทฟอร์ม Startup มาแล้ว “จริงๆ ต้องบอกว่าสมัยก่อน ก็เป็นพนักงานเงินเดือนทั่วไปครับ จนกระทั่งได้ไปเรียนหลักสูตรการสร้างธุรกิจ […]Read More
การรับประทานผักผลไม้ มีประโยชน์ต่อร่างกาย นี่อาจจะเป็นสิ่งที่ได้รับการสอนในวิชาว่าด้วยโภชนาการ วิทยาศาสตร์การอาหาร แน่นอนว่าการรับประทานอาหารจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี เสริมสร้างร่างกายให้เกิดความแข็งแรง ปลอดภัยจากโรค และมีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ แต่ในความเป็นจริงของการเกษตรยุคปัจจุบัน ความต้องการที่นอกเหนือจากการรับประทานในครัวเรือน ได้ยกระดับไปสู่การเพาะปลูกเพื่อการค้าขายและส่งออก มาตรฐานอุตสาหกรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบ หน้าตา รสชาติ และการวัดผลปัจจัยต่างๆ อย่างรัดกุม การใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ ได้ราคาที่สูง ไม่โดนกดราคาจากกระบวนการ จึงเป็นเรื่องที่ยากจะหลีกเลี่ยง และส่งผลต่อสุขภาพของผู้รับประทานในปลายทาง นั่นทำให้เทรนด์ของ ‘อาหารออร์แกนิก’ หรือผักผลไม้ที่ปลอดสาร ส่งตรงจากไร่ ให้คุณค่าที่ครบถ้วน กลายเป็นที่นิยมในรอบหลายปีที่ผ่านมา แต่ในทางหนึ่ง ผลิตผลออร์แกนิก ก็เป็นสิ่งที่หาตลาดรองรับได้ยาก และไม่ใช่เกษตรกรทุกรายจะมีต้นทุนหรือช่องทางที่จะสามารถทำได้ และนั่นคือจุดที่ก่อให้เกิดเป็นแนวคิดเบื้องต้นของ ‘Happy Grocers’ แพลทฟอร์มเพื่อผลผลิตทางการเกษตรออร์แกนิก โดย คุณสุธาสินี สุดประเสริฐ และเพื่อนผู้ร่วมก่อตั้ง ที่หวังจะพาตัวเอง เป็นหนึ่งในช่องทางการรับซื้อ ขนส่ง และเชื่อมโยงเกษตรกรกับผู้บริโภคสายออร์แกนิก ให้สามารถพบเจอและตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างลงตัว เมื่อ COVID-19 ก่อเกิดเป็น ‘ความจำเป็น’ และ ‘ทางแก้ปัญหา’ สำหรับวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 หลายธุรกิจนับเป็น ‘วิกฤติ’ […]Read More
“It is much better to know something about everything than to know everything about one thing” คำกล่าวนี้ของแบลซ ปัสกาล ผู้ที่เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักปรัชญาคงอธิบายได้ดีที่สุดถึงตัวตนของ ดร.วโรดม คำแผ่นชัย ผู้คิดค้นเทคโนโลยี Altotech นวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยจัดการการใช้พลังงานในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งช่วยลดค่าไฟฟ้าได้มากถึง 30% เขาจบดุษฎีบัณฑิตด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทค แต่นั่นไม่ใช่ที่มาขององค์ความรู้ทั้งหมดและประสบการณ์ที่ทำให้เขาได้รับการยอมรับในวงการพลังงาน แต่เพราะเขาเลือกเดินบนเส้นทางของพลังงานไฟฟ้ามาตั้งแต่เยาว์วัย สั่งสมองค์ความรู้จากทั้งตำราเรียน และประสบการณ์ในการลงมือทำจริง เรียกได้ว่า เขาเลือกที่จะรู้กระจ่างเพียงอย่างเดียวแต่รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งนั้น ทุ่มเทชีวิตและเวลาจนกระทั่งกลายเป็นความเชี่ยวชาญและสามารถทำสิ่งนั้นได้ดีอย่างที่สุด “ชีวิตผมผูกพันกับพลังงานไฟฟ้ามาตั้งแต่อายุ 15 ปริญญาตรีเรียนจบวิศวกรรมไฟฟ้า ปริญญาโทเรียนด้านพลังงาน ปริญญาเอกก็เรียนเกี่ยวกับวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มีความสนใจเรื่องนวัตกรรม เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่อง Global warming ทุกคนอยากจะไป Net Zero เราก็คิดว่าจริงๆ แล้วทุกอย่างบนโลกต่อไปจะต้องถูกไดรฟ์ด้วยเรื่องของ Coding เรื่องของ Digital ก็เลยเป็นที่มาว่าทำไมถึงอยากพัฒนาซอฟท์แวร์เพื่อมาจัดการระบบพลังงานของโรงแรม […]Read More
“เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป” สัจธรรมข้อนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับแพลตฟอร์มบริหารอู่รถยนต์อันแสนทันสมัยที่ชื่อออโต้แพร์ ? เพราะความจริงของทุกสิ่งบนโลกที่ว่านั้นเป็นแรงกระตุ้นให้ สันติ วจนพานิช สามารถกำหนดกรอบของเวลา วางแผนธุรกิจได้อย่างชัดเจน เพราะสำหรับเขาแล้ว ชีวิตไม่ใช่การทำงานตลอดไปแต่คือการสร้างผลงานและประโยชน์ให้เกิดขึ้น ความสำเร็จทางธุรกิจคือเป้าหมายและปัจจัยที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้ดำเนินไปในทุกๆ วัน แต่ความสำเร็จในการค้นหาคุณค่าและความหมายของชีวิตนั้นสำคัญต่อการเติบโตทางจิตวิญญาณไม่แพ้กัน ค่อยๆ ทำความรู้จักกับจุดเริ่มต้นและเส้นทางของนวัตกรรมที่ชื่อออโต้แพร์ พร้อมๆ กับสัมผัสแนวคิดอันลึกซึ้งของผู้ชายคนหนึ่งในวัย 30 ปี “จุดเริ่มต้นคือคุณแม่จะให้กลับมาทำธุรกิจของที่บ้านซึ่งเปิดร้านอะไหล่รถยนต์ตั้งแต่รุ่นอากงประมาณ 60 ปีแล้ว ปรากฏว่าทำไปแค่เดือนแล้วคิดว่าไม่อยากทำเลย หนึ่งคือเราต้องมานั่งเฝ้าร้านตลอด สองคือ เราต้องรอช่างเข้ามาซื้ออะไหล่ที่ร้าน ผมก็รู้สึกว่าทำไมไม่สามารถทำอะไรใหม่ๆ ได้ ตัดสินใจบอกที่บ้านว่า ขอออกมาตั้งบริษัทเป็นของตัวเองชื่อออโต้แพร์ ซึ่งตอนนั้นเราก็ยังไม่รู้ว่าจะออกมาทำอะไร รู้แค่ว่ามันต้องเกี่ยวกับเรื่องอะไหล่” Lesson Learn มาทีหลัง เจ๊ง พัง จบ สันติศึกษาและค้นคว้าข้อมูล ทำให้เขาค้นพบข้อเท็จจริงที่ว่า รถยนต์ในประเทศมีจำนวน 13 – 14 ล้านคัน แต่ละปีผู้ใช้รถต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้โดยเฉลี่ยราว 8,500 บาท รวมเป็นมูลค่าสูงถึง 110,000,000,000 บาทต่อปี สันติจึงมุ่งมั่นที่จะสร้างธุรกิจเพื่อส่วนแบ่งการตลาดขนาดมหึมา […]Read More
แม้การพัฒนาแอปพลิเคชันจะเป็นเรื่องของการใช้ความคิด ความสามารถ แต่ไม่ใช่เพียงความชาญฉลาด ความกล้าเสี่ยง หรือการมีวิสัยทัศน์เท่านั้น ที่จะสร้างสรรค์และขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปต่อได้อย่างยาวไกลและยั่งยืน สิ่งสำคัญ ‘หัวใจ’ ที่มองเห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่าอย่างแท้จริงสำหรับผู้ใช้งาน และเพราะ ‘หัวใจ’ ของ ดร.ปพนวิช ชัยวัฒโนดม เข้าใจถึงคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ การได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่กำลังมองหาที่พึ่ง และต้องการความช่วยเหลือทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต จึงทำให้เกิดแอปพลิเคชัน Agnos ขึ้นมาประดับวงการ MedTech “มากกว่า 60 – 70% ของคนไข้ที่เดินทางไปโรงพยาบาล จริงๆ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลก็ได้ แต่คนไทยยังไม่มีความรู้เพียงพอด้านการดูแลสุขภาพตัวเอง ประกอบกับผมเรียนด้าน Artificial Intelligence (AI) และทำงานด้านนี้มาตั้งแต่สมัยอยู่ต่างประเทศ ได้ทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ จึงคิดว่าเราน่าจะทำ AI วิเคราะห์โรค ก็เลยไปคุยกับเพื่อนๆ ที่เป็นหมอ ลองขายไอเดียและถามทุกคนว่าจะเป็นไปได้มั้ย แรกๆ ก็ยังไม่ค่อยมีใครเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เพราะมันค่อนข้างยาก สุดท้ายพอเราหาข้อมูลและเอาแอปฯ ของต่างประเทศทั้งของเยอรมันและอเมริกามาให้บรรดาหมอๆ ลองใช้ ทุกคนก็เริ่มมองเห็นความเป็นไปได้ เราก็เลยรวมทีมกัน มีทั้งหมอ ทีมงานด้าน AI ด้านซอฟท์แวร์ ดีเวลลอปเมนต์ เพื่อพัฒนา […]Read More
“ผมอยากเป็นคนดีครับ” แล้วคำพูดนี้เกี่ยวข้องอะไรกับการเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมด้านโลจิสติกสตาร์ทอัพของ ชิปป๊อป บริการออนไลน์ที่เชื่อมโยงขนส่งมาไว้ในระบบเดียว ร่วมก่อตั้งและบริหารงานโดย สุทธิเกียรติ จันทรชัยโรจน์ หรือโมชิ ชายหนุ่มอายุ 30 ปี ที่เริ่มต้นเข้าสู่การเป็นสตาร์ทอัพตั้งแต่อายุ 22 ปี เขาเลือกหันหลังให้จังหวัดหนองคายแล้วมุ่งหน้าสู่เมืองหลวงกรุงเทพมหานครเพื่อไล่ล่าตามหาฝันที่ว่า “ต้องการเป็นโปรแกรมเมอร์ที่เก่งที่สุดในประเทศไทย” เขาไม่รู้หรอกว่าความฝันนั้นอาจจะซ้ำซ้อนกับเด็กหนุ่มสาวอีกมากมายกี่คน เท่านั้นยังไม่พอ แม้ยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นคนเก่งที่สุดหรือยัง แต่เมื่อมีบริษัทยักษ์ใหญ่เริ่มมาข อซื้อตัว ชักชวนเขาไปทำงานด้วย สิ่งเหล่านั้นมีความหมายและผลักดันให้เขามีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้น ระหว่างทางนอกเหนือจากจะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ เขาได้หาแรงบันดาลใจไปด้วย แม้จะรู้ดีว่าโลกนี้คนที่ประสบความสำเร็จคือคนส่วนน้อย โดยเฉพาะในโลกของสตาร์อัพ ใครๆ ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สตาร์ทอัพมีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่รอด เขาเลือกที่จะท้าทายตัวเองด้วยการบอกคนรอบข้างว่า “เขาจะเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ของสตาร์ทอัพที่รอดให้ดู” โปรเจกต์แรกกับเงินลงทุนส่วนตัวที่เขาสู้อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบกว่าครึ่งล้านบาท เขาไม่ได้อะไรคืนกลับมา นอกจากบทเรียนที่ว่า เขาคืออีกหนึ่งคนในสตาร์ทอัพ 95 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่รอดเรียบร้อย ล้มได้ไม่นาน สุทธิเกียรติก็ลุกขึ้นยืนอีกครั้ง และเป็นอีกครั้งที่ทำให้เขาย้ายข้างกลับมาอยู่ในห้าเปอร์เซ็นต์ของสตาร์ทอัพที่รอดด้วยผลประกอบการกว่า 500 ล้านบาท จากการเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ให้บริการจองขนส่งรายแรกของประเทศ มีระบบออนไลน์เชื่อมต่อกับพันธมิตรในการขนส่ง มีจำนวนแฟรนไชส์สร้างเครือข่ายทั่วเมืองไทย แม้ว่ากินเวลาไปทั้งหมดรวมแล้วกว่า 8 ปี แต่อย่างน้อยที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ […]Read More
เมื่อสิบกว่าปีก่อน ผู้ชายคนหนึ่งหยิบรวบทุกอย่างในชีวิตมาไว้รวมกัน ความชอบ ความถนัด ประสบการณ์ เกิดเป็นธุรกิจเช้าชามเย็นชามที่ไม่ได้เติบโตอย่างหวือหวา กระทั่งเมื่อเวลาผ่านไป เขาตั้งคำถามกับตัวเองในวัยใกล้ๆ จะสามสิบว่า เราจะเป็นอย่างนี้ต่อไปถึงอายุ 40 ปี หรือเปล่า ทั้งหมดที่เราทำ ‘That’s all we have’ หรือเปล่า หรือเราทำอะไรได้มากกว่านี้ กระทั่งเทรนด์ธุรกิจคำว่า Startup ปรากฏขึ้นในต่างประเทศแล้วเข้ามาอยู่ในความสนใจ เขาจึงพยายามขวนขวาย เริ่มศึกษา นำธุรกิจเข้าไปประกวด Startup ในต่างประเทศ ในปี 2012 ผู้ชายคนนี้ได้รับรางวัล Best Startup ในเอเชียโดยที่ไม่มีใครในเมืองไทยรู้จักบริษัทของเขาเลย อีกหนึ่งปีต่อมา เขาย้ายตัวเองข้ามน้ำข้ามฟ้าไปอยู่ที่ซิลิคอนวัลเลย์ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ไปศึกษาทำความรู้จักว่าสตาร์ทอัพในต่างประเทศคืออะไร วิธีคิดของนักธุรกิจที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร แล้วกลับมาบุกเบิกและก่อตั้งสมาคม Thailand Tech Startup Association และได้เริ่มต้นทำงานเพื่อผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ไปพร้อม ๆ กับการผลักดันธุรกิจของตนเองให้เติบโต สู่เจ้าของซอฟท์แวร์และแพลตฟอร์ม Builk ที่เปิดให้ทุกคนใช้งานได้ฟรี เมื่อพลิกวิธีคิด สิ่งที่ได้กลับมาก็คือ อีกไม่นานผู้ชายคนนี้ ไผท […]Read More