นักบริหารไทยเจ้าของรางวัลระดับโลก Stevie Awards 2011 : Executive of the Year ที่ผ่านมา คนไทยได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศโดยการไปกวาดรางวัลจากการประกวดและการแข่งขันในหลายเวที สะท้อนให้เห็นว่าความสามารถในหลายๆ ด้านของชนชาวสยามไม่ได้ด้อยไปกว่าชนชาติอื่นเลยแม้แต่น้อย GM มีโอกาสพูดคุยกับ ไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด นักบริหารที่เพิ่งคว้ารางวัลระดับโลก Stevie Awards 2011 ประเภท Executive of the Year สาขาธุรกิจประกันชีวิต ถือเป็นนักบริหารชาวไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ถึงเบื้องหลังความสำเร็จและเคล็ดลับในการบริหารงานในองค์กรที่มีอายุยืนยาวกว่า 7 ทศวรรษความที่บริษัทไทยประกันชีวิตเป็นธุรกิจครอบครัวที่สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น การที่คุณไชยมารับไม้ต่อเพื่อสืบทอดธุรกิจครอบครัวให้ยั่งยืนย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก โดยปัจจัยในการขับเคลื่อนองค์กรให้ถึงฝั่งฝันส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับทักษะการบริหารงานของคนในครอบครัว และอีกส่วนคือการคัดเลือกนักบริหารมืออาชีพมาร่วมบริหารงานในบริษัท “สิ่งสำคัญคือคนในครอบครัวสามารถจะบริหารงานตรงนั้นได้หรือเปล่า ถ้าบริหารงานไม่ได้เนื่องจากไม่มีความรู้ ไม่มีทักษะ เราก็หามืออาชีพมาบริหาร แต่ถ้าเราสามารถบริหารได้ ผมเชื่อว่าคนในครอบครัวจะบริหารได้ดี เขาต้องรักองค์กรของเขาแน่นอน เพราะมันเป็นธุรกิจของเขาเอง”ย้อนกลับไป 30 ปีก่อน ช่วงที่คุณไชยเข้ามาบริหารงานในบริษัทใหม่ๆ จุดอ่อนของธุรกิจที่เขามองเห็นคือ แบรนด์ไทยประกันชีวิตเป็นแบรนด์ในประเทศ (Local Brand) แล้วต้องไปแข่งขันกับแบรนด์ประกันชีวิตของต่างชาติ ซึ่งผู้ซื้อส่วนใหญ่เชื่อมั่นในแบรนด์ของบริษัทจากประเทศตะวันตกเหล่านั้นมากกว่า […]Read More
ส่วนผสมดนตรีจากแดนอีสานในนามของความเป็นสากล หากโลกนี้จะมีอะไรที่เป็นภาษาสากล ที่พาคนให้คล้อยตามไปกับความสุข ความรื่นเริง ไปจนถึงความเศร้าหม่นหมองหรือยียวนจนอมยิ้มได้ ก็คงจะหนีไม่พ้นภาษาของดนตรี ภายใต้บทสนทนาของเครื่องดนตรีทั้งหลาย หลากเรื่องราวที่พันผูกอยู่ในตัวโน้ตอันแสดงผ่านจิตวิญญาณของนักดนตรีผู้เคี่ยวกรำในชีวิต ทำให้เกิด ‘บทสนทนา’ ที่จริงใจขึ้นมา ในโลกสมัยใหม่ ดนตรีในแบบที่เรียกว่า ‘เวิลด์มิวสิค’ อันแสดงผ่านอัตลักษณ์ของผู้คนพื้นถิ่น จึงเข้ามามีบทบาทและสามารถเข้ามายืนในโสตประสาทและหัวใจของผู้คนได้ไม่มีเนื้อเพลงหรือเสียงร้อง ดนตรีของ The Paradise Bangkok Molam International Band (PBMIB) เป็นดนตรี แบบ Instrumental โดยมีเพียงเสียงบรรเลงของดนตรีเท่านั้นที่นำสำนวนและทำนองของพวกเขาไปไกลถึงระดับโลก อย่างการขึ้นไปเล่นบนเวที Glastonbury รวมถึงได้รับการรีวิวจาก Mojo Magazine ถึง 2 ครั้ง และล่าสุดได้รับจากนิตยสาร Songlines และ The Guardianก่อนหน้าเมื่อ 2 ปีที่แล้ว พวกเขายังได้รับรางวัลจาก Worldwide Awards เป็น Album of the Week ของ BBC และอัลบั้มแรก 21st Century […]Read More
GM กับนวพล เราค่อนข้างคุ้นเคยกันดี และเชื่อว่าผู้อ่านก็น่าจะคุ้นเคยกับผู้ชายคนนี้นั่นเพราะ…นอกเหนือจากชื่อเสียงของเขาจะเป็นที่รู้จักในฐานะผู้กำกับและนักเขียนบทรุ่นใหม่แล้ว หลายปีมานี้ GM กับเต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ มีโอกาสได้พูดคุยกันหลายครั้ง ซึ่งก็มีหลายประเด็นมากๆ ที่เราได้ยิงคำถามใส่ ไม่เฉพาะแค่เรื่องหนัง กระทั่งเรื่องธรรมะ GM ก็เคยชวนเขาคุย และยังเคยไปฟังเขาพูดตามเวทีต่างๆ ล่าสุดคือเวที TEDxBangkok 2016 นวพลเลยถาม GM ตอนที่โทรฯ ไปทาบทามว่า“เราไม่รู้จะมีเรื่องอะไรพูดไหม คุยกันไปจนหมดแล้วมั้ง”GM บอกกับเขาว่า อยากจะชวนมาคุยถึงเรื่องพัฒนาการของวงการหนังไทยในรอบปีที่ผ่านมา และเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวข้องกับหนังที่เราพบเจอบนโลกอินเทอร์เน็ต GM อยากรู้ว่าในฐานะผู้ที่ต้องทำงานอยู่ในวงการนี้ เขามองเห็นอะไรตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา นับเป็นการชักชวนที่ไม่มีพิธีรีตองใดๆ มากมาย ซึ่ง…นวพลตอบตกลง เรานัดเจอกันที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งย่านรัชดาฯ มองด้วยสายตาของนักเขียน เราพบว่าห้างฯ ใหม่แห่งนี้น่าจะเหมาะกับการถ่ายหนังของนวพล โดยเฉพาะบริเวณลานจอดรถชั้นดาดฟ้า ดูเผินๆ แล้วสัมผัสได้ถึงความเหงาประหลาดๆ เราอาจจะคิดไปเองว่าในสายตาของนวพลคงจะชอบโลเคชันประมาณนี้แต่ก็นั่นแหละ เราคิดไปเอง ในสายตานวพล เขาอาจไม่ได้มองอย่างเราก็ได้เช่นเดียวกับคำถามทั้งหลายที่เราเตรียมมาพูดคุยกับเขาในวันนี้ GM ไม่คิดเอาเองว่านวพลจะตอบคำถามอย่างไร เพราะสายตาของผู้กำกับ กับสายตาของนักเขียน เรามองคนละแบบ อีกทั้งแม้จะเจอกันอยู่บ่อยครั้ง แต่เราก็ตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้สนทนากับเขา เครื่องอัดเสียงเริ่มต้นทำงานโดยส่งสัญญาณเป็นตัวเลขว่ากำลังอัดเสียงเรียบร้อย นวพลก็ส่งสัญญาณว่าพร้อมแล้วเช่นกัน ในสายตาของนวพล […]Read More
เจี๊ยบ-วัชระ ปานเอี่ยม, เกี๊ยง-เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์, แต๋ง-ภูษิต ไล้ทอง, นก-ฉัตรชัย ดุริยประณีต, จุ้ย-ศุ บุญเลี้ยง และ ดี้-นิติพงษ์ ห่อนาค 6 หนุ่มใหญ่ในนาม ‘เฉลียง’ พร้อมใจกันกลับมาขึ้นเวทีอีกครั้ง หลังจากที่พวกเขาห่างหายกันไปนานถึง 9 ปีแน่นอนว่าการกลับมาคราวนี้ พวกเขาคงจะต้องมีประเด็นอะไรที่พิเศษมากๆ จนทำให้พวกเขาถวิลหาการกลับมาร่วมกันร้องและเล่น เพื่อสื่อสารความคิดไปถึงเหล่าแฟนเพลง ในกระแสสังคมปัจจุบันถ้าได้ลองย้อนกลับไปฟังเพลงเก่าๆ ของพวกเขา ตั้งแต่ อื่นๆ อีกมากมาย, ต้นชบากับคนตาบอด, เข้าใจ, เอกเขนก, นิทานหิ่งห้อย, นายไข่เจียว เรื่อยไปจนถึงเพลงเร่ขายฝัน ฯลฯถึงแม้ พวกเขาจะปากแข็ง ชอบอำกันเองว่าเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาเล่นๆ ไม่มีอะไรจริงจัง แต่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา พวกมันล้วนถูกแฟนเพลงนำไปตีความกันออกไปมากมาย และหลายคนเชื่อว่าพวกเขากำลังสื่อสารถึงภูมิปัญญาบางอย่าง ที่จะตอบคำถามให้กับยุคสมัยความแตกต่างหลากหลาย ความจริงที่แท้ ความงาม ตามสายตาของผู้มอง สุขนิยม การงานที่รัก แพสชั่น กำลังใจ และการมีชีวิตที่ดี ฯลฯ ผู้คนในเจเนอเรชั่น ของเรา เติบโตมาพร้อมกับความคิดที่แอบแฝงไว้ในบทเพลงของพวกเขา จึงนับได้ว่าพวกเขามีอิทธิพล […]Read More
ชีวิตแบบไหน? จึงจะนับได้ว่าเป็นชีวิตที่มีค่าคำถามเก่าแก่เนิ่นนานตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ที่ยังไม่มีใครให้คำตอบได้อย่างสมบูรณ์ เพราะว่า ‘คุณค่า’ นั้นไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว มันขึ้นอยู่กับมุมมอง อีกทั้งยังเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามความเปลี่ยน-แปลงรอบตัว มาจนถึงยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความปั่นป่วน เรากำลังตกอยู่ท่ามกลาง ความขัดแย้งในเรื่องอำนาจ ผลประโยชน์ ทรัพยากร และความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ที่เราจะต้องเบียดเบียน แย่งชิง และหักหาญกัน ด้วยกระบวนความคิดแบบเก่าๆ วิธีการเก่าๆ ไม่สามารถนำเราไปสู่ทางเลือก และวิธีการที่ดีพอจะดีไหม? ถ้าเรามานั่งล้อมวงกันพูดคุยเรื่องคุณค่า นำคุณค่าของแต่ละคน แต่ละฝ่าย แต่ละยุคสมัย มาไล่เลียงพิจารณากันดีๆ เพื่อหาจุดร่วมที่จะได้ช่วยกันสงวนรักษาคุณค่าบางส่วนของกันและกันไว้ GM คิดว่านักเศรษฐศาสตร์น่าจะเป็นกลุ่มคนที่รู้เรื่อง ‘คุณค่า’ มากที่สุด เราจึงมานั่งจับเข่าคุยกันเรื่องคุณค่ากับ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บทสนทนากับนักเศรษฐศาสตร์ ขยายกว้างออกไปสู่บริบทอื่นๆ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร การเมือง ระบบการปกครอง ความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ปัญหาของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่แล้วก็ย้อนกลับเข้าสู่เรื่องราวของชีวิตส่วนตัว ความเชื่อ ความรัก ความชัง อุดมคติ ครอบครัว และการค้นพบคุณค่าภายในตัวเองดร.เดชรัต สุขกำเนิด ได้ให้คำตอบแบบนักเศรษฐ-ศาสตร์ กับยุคสมัยแห่งความปั่นป่วนและความรุนแรง […]Read More
ทัศนะ ตัวตน ความสุขของป๋อมแป๋มป๋อมแป๋ม-นิติ ชัยชิตาทร พิธีกรรายการเทยเที่ยวไทย และรายการทอล์ก-กะ-เทย ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ย้อนความกันสักนิด ป๋อมแป๋มเติบโตและเริ่มต้นจากงานด้านครีเอทีฟรายการมิวสิกวิดีโอทางทีวี ทั้งๆ ที่เขาร่ำเรียนมาทางด้านภาษาบาลี มีวัยเด็กที่ชอบการดูทีวี ติดซีรีส์ และเติบโตในครอบครัวยอมปล่อยอิสระให้ทำอะไรด้วยตัวเอง “เลี้ยงแบบบุฟเฟ่ต์ ไม่ค่อยห้าม ชอบให้ดิ้นรนเอาเอง สมัยเด็กๆ ไปเรียน พ่อแม่ก็ให้เรากลับบ้านเอง ตอนไปเมืองนอกครั้งแรกก็ไปคนเดียว ไปเรียนซัมเมอร์ตอนปิดเทอม เราจัดการเอาเองทุกอย่าง ตั้งแต่สมัคร เอกสาร วีซ่า ไปสนามบินก็ต้องไปเอง พ่อแม่สอนให้เราเป็นคนที่กินง่ายอยู่ง่าย ไม่ประคบประหงม” ความเป็นตัวของตัวเองเริ่มบ่มเพาะมา จนกระทั่งเข้าสู่วัยหนุ่ม เขาเลือกเรียนอักษรศาสตร์ส “ตอนเด็กๆ เราเรียนมาเพื่อทำข้อสอบเขียน 1 บรรทัดใช่ไหม แต่พอโตมา เราต้องเขียนตอบยาวๆ 1 เล่ม เราจะถูกหล่อหลอมให้มีความคิดอ่าน อ่านวรรณกรรมสักเล่มแล้วเราก็ต้องโต้ตอบกับมันได้ ว่าผู้เขียนพยายามบอกอะไร” สิ่งเหล่านี้ที่หล่อหลอมป๋อมแป๋มให้สามารถแสดงออกความเป็นตัวของตัวเอง ได้อย่างเฮฮา บ้าบอ สร้างสรรค์ และลุ่มลึกในเวลาเดียวกัน Normalization เมื่อถามถึงความเห็นของการเป็นกะเทย ป๋อมแป๋มตอบไวกลับมาทันทีว่าไม่มีปัญหา “เราพูดเลยว่าไม่เคยมีปัญหา แต่เราเริ่มรู้สึกส่วนตัวว่า ยุคนี้คือยุคสมัยที่ทุกคน […]Read More
หลังจากคิวนัดหมายและภารกิจประชุมยาวเหยียดตั้งแต่เช้าจรดค่ำ เราจึงได้มานั่งจับเข่าคุยกันอีกครั้ง หลังจากไม่ได้เจอกันมานานสองปี จำได้ว่าสมัยนั้น เขายังมีเวลาแวะเวียนมาเยี่ยมเราถึงที่ออฟฟิศ GM และเรายังเคยไปนั่งจิบกาแฟคุยกันเรื่องชีวิต ธรรมะ และความสุข กันในร้านอาหารเล็กๆ ย่านบางขุนพรหม Settling Down GM : จากเมื่อสองปีที่แล้วที่เราได้คุยกัน ตอนนั้นคุณเคยเป็นนักเศรษฐศาสตร์พเนจร มาตอนนี้คุณมาลงหลักปักฐานกับงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ชีวิตคุณเป็นอย่างไรบ้าง และมีการปรับตัวอย่างไร ดร.วิรไท : สิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจน คือพอมีสังกัดแล้ว มาเป็นส่วนหนึ่งในองค์กรแล้ว มุมมองที่เคยมี สิ่งที่ผมเคยโฟกัส ก็เปลี่ยนแปลงไป จะให้เป็นเหมือนนักเศรษฐศาสตร์พเนจรอย่างเดิมคงไม่ได้ เมื่อก่อนผมเคยเป็นคนที่มีความสนใจหลากหลาย มีโอกาสได้ทดลองทำอะไรหลายอย่างที่อยากทำ ตอนนี้ผมมีภารกิจชัดเจน และเป็นภารกิจที่เต็มเวลางาน จะเรียกได้ว่าเกินเวลาก็ว่าได้ ดังนั้น มิติแรกที่เปลี่ยนแปลงไป ก็คือผมคงไม่สามารถใช้ชีวิตไปตามอย่างที่ตัวเองสนใจได้ ต้องทำงานตามภารกิจขององค์กร ในมิติที่สอง ผมมีหมวกที่สวมอยู่ ดังนั้น บทความต่างๆ ความคิดเห็นต่างๆ ที่จะแสดงออก ก็ไม่ใช่ความคิดเห็นส่วนตัวอีกแล้ว ถึงแม้ผมจะพูดออกตัวไปว่านี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัว แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันอยู่ภายใต้หมวกที่สวม เมื่อดำรงตำแหน่ง การแสดงออกทุกอย่างมีความหมาย มีผลกระทบต่อตลาด กระทบต่องาน ต่อนโยบายที่สำคัญ เพราะฉะนั้น ผมต้องลดความเป็นปัจเจกของตัวเองลงไปเยอะ […]Read More
URBAN DIALOGUE เปิดทุกความเป็นไปได้ของชีวิต ปลายปีที่ผ่านมา ชื่อของ ด้วง ดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกหนุ่มนักธุรกิจเจ้าของโครงการริมน้ำ The Jam Factory ได้รับความสนใจจากกรณีการโพสต์ข้อความ ถึงเรื่องการเมืองและองค์กรความคิดสร้างสรรค์อย่าง TCDC จนเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในวงกว้าง ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ดวงฤทธิ์เพิ่งได้รับรางวัล Best Building of the Year จากเวทีสถาปนิกเอเชีย ARCASIA 2015 จากผลงานการออกแบบรีสอร์ท The Naka Phuket ไม่เกินความจริงนัก หากจะบอกว่านี่คือสถาปนิกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย นอกจากงานออกแบบแล้ว เขายังทำสิ่งอื่นมากมาย ตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร ร้านหนังสือ งานเฟอร์นิเจอร์ ฟรีแมกกาซีน เสื้อผ้าแฟชั่น หรือแม้กระทั่งสนทนาเรื่องความรักกับเด็กวัยรุ่น GM ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ด้วยแผนการที่วางล่วงหน้าไว้แล้วว่าอยากเข้าไปพูดคุยกับสถาปนิกหนุ่มนักธุรกิจที่มาแรงแห่งยุคคนนี้ แต่ว่ากันตามตรง กว่าเราจะได้คิวเพื่อคุยกับเขา ประเด็นอันร้อนแรงในโซเชียลฯ ก็ดูจะเงียบลงไปแล้ว อย่างไรก็ตาม มากกว่าปรากฏการณ์ที่ผ่านไปอย่างผิวเผิน ฉาบฉวย เราได้สร้างบทสนทนาที่ขยับขยายออกไปในหลายมิติของชีวิต ตั้งแต่เรื่องเล็กถึงเรื่องใหญ่ เราคุยเรื่องประเด็นสาธารณะ นโยบายการพัฒนา […]Read More
YEAR, ME, BEGINNING การเปลี่ยนแปลงของโลกรอบตัวที่หมุนไวไปอย่างพลิกแพลง ทำให้วิถีของมนุษย์ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงในหลายมิติ ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และเรื่องราวต่างๆ เราได้ส่งผ่านเคลื่อนไหลรวดเร็วส่งต่อกันราวมหาสมุทรของเครือข่าย ความต้องการชีวิตรูปแบบใหม่ได้อุบัติขึ้น ชีวิตที่มีเสรีภาพ อิสระหลุดพ้นจากความกลัว ความกังวล ความยากจน กลายเป็นเป้าหมายแห่งยุคสมัยของคนหนุ่มสาว บอย-วิสูตร แสงอรุณเลิศ ผู้เขียนหนังสือชื่อ ‘งานไม่ประจำ ทำเงินกว่า’ หนังสือความคิดเกี่ยวกับชีวิตและการทำงานที่ว่าด้วยอิสระ การตอบรับของผู้อ่านมีอย่างล้นหลาม และหนังสือเล่มต่อมาก็ทยอยสู่ผู้อ่านอย่างต่อเนื่อง แนวความคิดของเขาเป็นที่กล่าวถึง มีคนติดตาม Facebook ข้อคิดข้อเขียนของเขาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเขาจัดคอร์สอบรมถ่ายทอดความรู้อย่าง ‘เขียนไม่กี่คำทำเงินกว่า’ ยิ่งได้รับความสนใจเพิ่มเข้าไปอีก และเขาได้ต่อยอดจัดงานสัมมนาที่มีผู้เข้าฟังจำนวนมาก ความสนใจเหล่านี้สะท้อนออกมาให้เห็นผ่านเหล่าวิทยากรรุ่นใหม่ มีโค้ช นักพูด นักสร้างแรงบันดาลใจ เกิดเป็นงานสัมมนามากมาย รวมถึงบนแผงหนังสือที่สามารถหาอ่านได้ง่ายๆ หนังสือชี้ทางรวย ทางหาเงิน หาแรงบันดาลใจ วางได้เต็มแผงไปหมด ปรากฏการณ์ระดับนี้ สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงที่กำลังเกิดขึ้น ในขณะที่หลายคนกำลังงุนงง เมื่อเห็นคนอื่นๆ ทิ้งห่างออกไป เกิดอะไรขึ้นกับสังคม…เกิดอะไรขึ้นภายในตัวเรา…คำถามก้องกังวานในหัว GM คว้าเอาทุกความสงสัย ทุกคำถามต่อสังคมและคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ นำไปพูดคุยกับนักเขียนผู้สร้างแรงบันดาลใจที่มีคนสนใจมากที่สุดคนหนึ่งในเวลานี้ Understanding The Phenomenon […]Read More
จิบกาแฟซับซ้อนใช้ชีวิตง่ายๆ Complicated Coffee Simple Life • เมื่อการดื่มกาแฟได้ก้าวพ้นไปเป็นมากกว่าการเข้าไปนั่งเท่ๆ อยู่ในร้านหรูๆ เพื่อถ่ายภาพอวดกันว่าฉันได้มาเยือนร้านนี้แล้ว • ในทุกวันนี้ คือยุคสมัยที่วัฒนธรรมกาแฟได้หลอมรวมเอาผู้คนที่หลากหลาย จากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จากผู้ปลูกไปถึงผู้ดื่ม ทุกคนมาร่วมกันอยู่ในโยงใยแห่งคุณค่าเดียวกัน ที่มุ่งไปสู่ความประณีต งานฝีมือ การตลาด แบรนดิ้ง และประสบการณ์การอภิเชษฐ์สิ่งเล็กๆ และความเนิบช้า • คุณจะพบโยงใยแห่งคุณค่านี้ได้ ที่ร้านกาแฟคลื่นลูกใหม่มากมาย รวมไปถึงร้าน ‘อาข่า อ่ามา’ คือหนึ่งในร้านกาแฟแบรนด์ไทยที่เกิดขึ้น ในวัฒนธรรมใหม่นี้ • ถ้าลองเสิร์ชคำว่า อาข่า อ่ามา จะพบกับข้อมูลของชายหนุ่มชาวอาข่า ลี อายุ จือปา เจ้าของร้านกาแฟเล็กๆ ที่โด่งดังไกลไปทั่วโลก • แรกเริ่ม ลี อายุ จือปา ไม่ใช่คอกาแฟมาก่อน เขาเป็นเด็กนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง ใดๆ กับเรื่องกาแฟ การตลาด อาหาร วัฒนธรรม หรือธรรมชาติ […]Read More