เรื่อง : สุกฤษฏิ์ บูรณสรรค์ ถ้ากล่าวถึงตึกใจกลางเมืองที่สูงเป็นลำดับต้นๆ ของกรุงเทพมหานคร หลายคนย่อมจะต้องนึกถึง ‘ตึกใบหยก’ เป็นชื่อแรกๆ เสมอ ซึ่งเครือใบหยกก็ยังทำธุรกิจอีกหลายอย่างควบคู่กันไป และหนึ่งในนั้นคือธุรกิจของ ปิยะเลิศ ใบหยก ลูกชายคนโต ที่ขึ้นมาเป็นมือขวาของ พันธ์เลิศ ใบหยก หัวเรือใหญ่ของเครือ ที่มุ่งหวังตามรอยคุณพ่อ สืบทอดกิจการให้รุดหน้าและรักษาต่อยอดให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ที่มีแนวคิดที่น่าสนใจ ด้วยโปรไฟล์ที่ไม่ธรรมดา ดีกรีปริญญาโทสาขา Master’s Degree of International Management จากมหาวิทยาลัย University of Exeter ประเทศอังกฤษ พ่วงด้วยประกาศนียบัตรด้านภาษาญี่ปุ่นจาก Kokusai Gakuyukai Nihongo Gakko กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปิยะเลิศ ใบหยก ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของผู้บริหารรุ่นใหม่ ด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง และพร้อมรับฟังความคิดต่างของทีมงาน อันเป็นแก่นหลักสำคัญในการบริหารงานของเขา ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘มือเปิดโรงแรมใหม่’ เพราะมีหน้าที่ดูแลเชนโรงแรมทั้งหลายของเครือ แต่กว่าจะเดินทางมาถึงจุดนี้ เขาผ่านการทดสอบอย่างเข้มข้น โดยหลังจากสำเร็จการศึกษา งานแรกอย่าง สเตล่า […]Read More
เรื่อง : ชัชฎาพร จุ้ยจั่น ชายหนุ่มผู้เคยมีความฝันในวัยเด็กว่าอยากเป็นนักชีวภาพทางทะเลและนักการทูต เขาเกือบปักหลักในนิวยอร์ก สวมสูทแบบสุภาพบุรุษ White Collar เป็นนายธนาคารอนาคตไกล แต่ชีวิตพลิกผันเมื่อสูญเสียหัวเรือใหญ่อย่างบิดา จนต้องกลับมากู้วิกฤติของครอบครัวจนประสบความสำเร็จ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หรือ ‘ทิม’ คือเด็กชายจอมเฮี้ยวในโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน คุณพ่อพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ (อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) จึงส่งไปเรียนที่ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งไม่มีเพื่อนคนไทยเลยจนจบชั้นมัธยมศึกษา จากนั้นกลับมาเรียนปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ การเงิน-การธนาคาร (ภาคภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนจบเกียรตินิยมอันดับ 1 ระหว่างนั้นเขาได้ทุนจากมหาวิทยาลัยไปศึกษาต่อที่รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจบปริญญาตรี พิธาตัดสินใจทำงานอยู่หลายปี ก่อนจะไปศึกษาต่อปริญญาโท ด้านการเมืองการปกครอง สาขาการบริหารภาครัฐ ที่ John F. Kennedy School of Government มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ควบคู่กับปริญญาโท การบริหารธุรกิจ Sloan สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ซึ่งปีแรกนั้นเขาดร็อปเรียนกลับเมืองไทยมารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด บริษัทผลิตน้ำมันดิบรำข้าวรายใหญ่ของประเทศไทย เพื่อรับช่วงต่อบริหารกิจการแทนคุณพ่อที่เสียชีวิตจนสามารถพลิกธุรกิจกลับมาตั้งหลักได้ภายในเวลา 2 ปี ก่อนจะกลับไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาจนจบ […]Read More
เรื่อง : สรรเสริญ พุทธรักษา ให้สมญานามว่า ‘เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ไอทีเมืองไทย’ คงไม่ผิดไปนัก สำหรับพิธีกรและเจ้าของเว็บไซต์ชื่อดัง Beartai เพราะนอกจากทรงผมปาดเจลหวีเสยเรียบแปล้อันเป็นเอกลักษณ์แล้ว หนุ่ย-พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ยังถือเป็น ‘จอมเก๋า’ คนหนึ่งแห่งวงการไอทีเมืองไทย กว่า 20 ปีในแวดวงไอที พงศ์สุขสร้างสรรค์งานมาแล้วแทบทุกอย่าง ผ่านมาทั้งช่วงพีค ช่วงพับ ต่อสู้ในสมรภูมิการผลิตคอนเทนต์ในสื่อเก่า (Old Media) มาทุกแขนง จนมาถึงจุดพลิกผัน กับเงินลงทุนก้อนสุดท้ายที่เหลืออยู่แค่เพียง 2 ล้านบาท ถ้าหมด คือเจ๊ง เก็บของกลับบ้าน ทว่า โชคชะตาและกระแสโลกที่หมุนมาเข้าทางอย่างจัง ด้วยคำว่า Digital Transformation จึงทำให้เกิดแพลตฟอร์ม หรือช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ รวมถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ส่งให้ฐานที่มั่นของเขาที่ชื่อ ‘แบไต๋ (Beartai)’ กลายเป็นเวทีการปอกเปลือกเรื่องนวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านของโลก ที่ทุกคนต้องเหลียวมอง! “ปัจจุบันผมทำ Original Content 20% อีก 80% เป็น Advertorial เป็นเรื่องของการทำรีวิวให้รู้สึกว่าน่าดู […]Read More
เรื่อง : ตติยา แก้วจันทร์ ‘ต๊อด-ปิติ ภิรมย์ภักดี’ ทายาทแห่งอาณาจักรเบียรสิงห์ คือภาพจำในฐานะตัวแทนของคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่โดดเด่นและประสบความสำเร็จบนเส้นทางธุรกิจ บทบาทการบริหารงานและสานต่อธุรกิจครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นของเขามักได้รับความสนใจจากสังคมอยู่เสมอ ต๊อดเรียนจบมาทางด้านวิศวะอุตสาหกรรม ดีกรีเกียรตินิยมจาก Worcester Polytechnic Institute สหรัฐอเมริกา และจบปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยความรู้ที่เล่าเรียนมาล้วนมีส่วนสำคัญให้เขานำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารงานภายในองค์กร ไม่เพียงแค่ธุรกิจครอบครัวของอาณาจักรเบียร์สิงห์ที่เขาต้องรับไม้ต่อ แต่ผู้บริหารหนุ่มยังมองเห็นช่องทางใหม่ๆ ในการเดินหน้าประกอบธุรกิจด้านอาหารอีกด้วย โดยเบื้องหลังแรงบันดาลใจสำคัญในการทำงานนั้นมี คุณปู่ ‘ประจวบ ภิรมย์ภักดี’ และ คุณพ่อ ‘สันติ ภิรมย์ภักดี’ เป็นโรลโมเดลสำคัญ “แม้เราจะมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง อยู่ในองค์กรที่มีอายุ 87 ปี แต่ก็มีบางอย่างที่เราต้องอัปเกรดและพัฒนาควบคู่กันไปเพื่อ ‘Bring Heritage Forward’ แน่นอน, ประสบการณ์จากคนรุ่นก่อนเป็นสิ่งที่ดี ทำให้องค์กรเดินมาถึงวันนี้ได้ แต่บางสิ่งก็อาจต้องเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย โดยเฉพาะแนวทางการบริหารจัดการให้มี Innovation มากขึ้น” เขายังบอกเราว่าการทำงานในแต่ละยุคนั้นแตกต่างกันพอสมควร ข้อแตกต่างที่ชัดเจนเลยคือคนรุ่นใหม่มีความอดทนต่อการรอคอยน้อยลง ซึ่งการ Move ที่เร็วเกินไปนั้นอาจมีข้อบกพร่องในเรื่องการตัดสินใจ ดังนั้น ในฐานะผู้บริหารต้องมองให้ออกว่าอะไรคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดในภารกิจ เมื่อถามว่าทุกวันนี้เขาแตะความสำเร็จที่คาดหวังไว้แล้วกี่เปอร์เซ็นต์ คำตอบของชายหนุ่มคือ “50 ยังไม่เกิน 60% ครับ” เพราะการทำงานมาตลอด 16 ปี เขาได้ลงมือปฏิบัติจริงในงานที่หลากหลายหน้าที่ก็จริง แต่ในอนาคตยังมีพื้นที่เหลือให้เขาเติมเต็มความสำเร็จอีกกว่าครึ่ง […]Read More
“ผมเป็นคนฝันเล็ก ฝันผมไม่ได้ใหญ่ ว่าโตขึ้นอยากจะเป็นโน่นเป็นนี่” ความฝันเล็กๆ ของผู้ชายที่เติบโตมาในครอบครัวต่างจังหวัด มีแบบอย่างที่เรียบง่าย อะไรทำให้ ‘ประภาส ทองสุข’ กลายมาเป็นหัวเรือใหญ่ในตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สื่อสารองค์กร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย อย่างมั่นคงมาหลายสิบปี “ผมว่าเป้าหมายหรือสิ่งที่เรียกว่าความสำเร็จในชีวิตของคนแต่ละช่วงเวลามักจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ อย่างผมเกิดในครอบครัวทหาร คิดว่าเรียนจบมาจะเป็นทหาร ตอนนั้นฝันแค่ว่า ขอให้มีเงินเดือนประจำ ไม่เคยคิดทำธุรกิจหรือเป็นลูกจ้างเอกชนเลย อยากรับราชการอย่างเดียว เพราะมีรายได้แน่ๆ และมั่นคง” ‘ประภาส’ เล่าย้อนกลับไปเมื่อเขาพบโลกใบใหญ่ขณะกำลังศึกษาปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีโอกาสต่างๆ เข้ามามากมายท้าทายให้เขาได้พิสูจน์ความสามารถและศักยภาพเรื่อยมา จนเป็นหนึ่งในผู้บริหารระดับสูงของธนาคารที่ประสบความสำเร็จในไทยและระดับอาเซียนในขณะนี้ “ถ้าถามถึงความสำเร็จ จนถึงวันนี้ผมว่าการบริหารงานก็ยังยากมาตลอด (หัวเราะ) ไม่เคยคิดว่ามันง่าย พอคุณทำงานธนาคาร ซึ่งเป็นธุรกิจ Commercial ของเอกชน และไม่ได้เป็นองค์กรสาธารณะ อย่างของเรามีผู้ถือหุ้น มีนักลงทุน มีลูกค้า มีพนักงานที่เราต้องดูแลคือ Stakeholder ที่เกี่ยวข้องแล้วเล่นจริงเจ็บจริงหมด เราต้องดูแลทุกส่วนให้ดี ฉะนั้นการบริหารเป็นเรื่องท้าทายมาก เลยคิดว่าตัวเองคงยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่มาถึงจุดที่ตัวเองพอใจมากๆ แล้ว “10 กว่าปีแล้วที่กลุ่ม CIMB เกิดขึ้นในประเทศมาเลเซีย ด้วยวิสัยทัศน์ที่ไม่ได้เน้นแค่ […]Read More
เรื่อง : สุชา ภาพ : พิชญุตม์ คชารักษ์ ตั้งแต่ยังเรียนไม่ทันจบ พีท-กันตพร หาญพาณิชย์ วางแผนไว้ล่วงหน้าว่าต้องเข้ามาดูแลธุรกิจของครอบครัว ได้แก่ โรงพยาบาลในเครือ บางกอก เชนฮอสปิทอล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 12 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล, โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล และโรงพยาบาลการุญเวช “ผมรู้ตัวว่าเรียนจบแล้วต้องทำอะไร ไม่ต้องกังวลหรือคิดไปหางานอื่น เพียงแต่ธุรกิจที่ครอบครัวทำไว้มันค่อนข้างใหญ่” เขาเริ่มต้นเล่าด้วยน้ำเสียงเรียบนิ่ง ซึ่งน้ำเสียงนั้นเจือความมุ่งมั่น บวกแววตาที่ฉายชัดถึงความรับผิดชอบอย่างที่ลูกผู้ชายคนหนึ่งมีความตั้งใจสานต่องานที่ได้รับมอบหมายจนประสบความสำเร็จ อย่างน้อยต้องมากกว่าความสำเร็จและชื่อเสียงเดิมที่เคยมีมาในรุ่นพ่อและแม่ “เมื่อถึงมือรุ่นผม มันต้องไปต่อได้ หลายคนชอบบอกว่ารุ่นที่สอง ความสำเร็จของธุรกิจที่มีอยู่มักจะหายไป 50% ยิ่งพอถึงรุ่นที่สาม มันแทบไม่หลงเหลืออะไรเลย บางองค์กรถูกเปลี่ยนมือ ซึ่งนั่นเป็นโจทย์ใหญ่ที่ผมต้องรักษาธุรกิจนี้ไว้ให้ได้ในระยะยาว นั่นหมายความว่าต้องส่งต่อถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และไม่ใช่แค่คงอยู่ แต่ต้องเติบโต “ด้วยขนาดของธุรกิจ ผมคงบริหารงานเพียงลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยการมีทีมงานที่ดี ยิ่งตัวผมถูกมองว่าเป็นทายาท ทุกคนย่อมต้องคิดว่ามีความสามารถมากแค่ไหน ซึ่งนี่แหละคือแรงกดดัน” เขาเปลี่ยนแรงกดดันอันเป็นตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ ให้กลายเป็นความมุ่งมั่น ตั้งใจ และขยัน ยืนยันความสำเร็จได้จากตัวเลขการเติบโตของโรงพยาบาลในเครือ บางกอก […]Read More
ตั้งแต่ต้นปี 2563 การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 ได้สร้างผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจโลก รวมทั้งไทย ไม่มีใครรู้ว่าสถานการณ์ครั้งนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใดคำถามสำคัญคือ ทุกภาคส่วนจะก้าวข้ามวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างไร BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับนี้ได้รับเกียรติจาก คุณสินีนาท สวัสดิ์พูน พิธีกรและผู้ประกาศข่าวจากสถานี TNN ช่อง 16 และช่อง NEW18 และ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาร่วมพูดคุยถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด 19 และมาตรการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2563 การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 ได้สร้างผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจโลก รวมทั้งไทย ไม่มีใครรู้ว่าสถานการณ์ครั้งนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใดคำถามสำคัญคือ ทุกภาคส่วนจะก้าวข้ามวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างไร BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับนี้ได้รับเกียรติจาก คุณสินีนาท สวัสดิ์พูน พิธีกรและผู้ประกาศข่าวจากสถานี TNN ช่อง 16 และช่อง NEW18 และ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาร่วมพูดคุยถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด 19 และมาตรการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ โควิด 19 กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย คุณสินีนาท : โควิด 19 สร้างความเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจและชีวิตของคนทั่วโลก ท่านผู้ว่าการมองว่า วิกฤติครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร และอุตสาหกรรมใดบ้าง ดร.วิรไท : การแพร่ระบาดครั้งนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน และไม่แน่ใจว่าจะจบลงอย่างไร ผลกระทบเกิดขึ้นหลากหลาย กว้างไกล และกระทบกันเป็นลูกโซ่ ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของคนไทยจำนวนมากทั้งทางตรงและทางอ้อม กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบทางตรง คือ พนักงานสายการบิน ธุรกิจทัวร์ และโรงแรม ที่มีรายได้ลดลงหรือถูกเลิกจ้าง ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม เช่น ผู้ประกอบการที่ส่งอาหารให้โรงแรม หรือผู้ขายสินค้าในตลาด เพราะเมื่อนักท่องเที่ยวหายไปมาก ความต้องการใช้สินค้าและบริการก็ลดลง สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การว่างงานที่จะเพิ่มสูงขึ้นในหลายอุตสาหกรรม ถ้ามองย้อนไปในปี 2562 สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนส่งผลให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรมลดลงลดเงินค่าล่วงเวลา และลดการจ้างงานใหม่ ทำให้คนมีรายได้น้อยลงแรงงานส่วนหนึ่งย้ายจากภาคอุตสาหกรรมไปภาคบริการ วันนี้แรงงานที่อยากจะย้ายไปสู่ภาคบริการก็ทำได้ยาก เพราะภาคบริการได้รับผลกระทบอย่างมากจากโควิด 19 ขณะเดียวกัน […]Read More
เรื่อง : ตติยา แก้วจันทร์ ภาพ : พิชญุตม์ คชารักษ์ “คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในจรวด ยังสู้คอมพิวเตอร์ในสมาร์ทโฟนสมัยนี้ไม่ได้เลย แสดงว่าอุปกรณ์ที่เรามีอยู่ในมือต้องทรงพลัง และมีประโยชน์มากๆ” คำพูดของชายหนุ่มแววตามุ่งมั่นตรงหน้าทำให้เราฟังแล้วต้องเหลือบมองเจ้าสมาร์ทโฟนหน้าจอสี่เหลี่ยมที่กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ในชีวิตประจำวันของคนยุคนี้ นอกจากใช้เพื่อติดต่อสื่อสารและเสพความบันเทิงผ่านการดูหนัง ฟังเพลง และเล่นเกมแล้ว มันยังมีประสิทธิภาพในระดับที่ส่งคนไปดวงจันทร์ได้เลยหรือนี่! “ทำไมเราไม่ลองเปลี่ยน ‘เครื่องมือถือ’ เป็นเครื่องทำมาหากินแทนล่ะ” อุกฤษ อุณหเลขกะ หนุ่มรุ่นใหม่วัย 30 นิดๆ พูดขึ้นพร้อมกับเว้นจังหวะเงียบให้เราครุ่นคิด ก่อนจะพูดต่อว่า “นั่นคือมุมมองที่ทำให้ผมเริ่มต้นทำ Ricult” อุกฤษ อุณหเลขกะ ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง ‘Ricult’ (รีคัลท์) สตาร์ทอัพด้านเกษตรที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ภาพถ่ายดาวเทียม และ AI มาช่วยเกษตรกรในการวางแผนเพาะปลูกเพื่อลดความเสี่ยงจากสภาพอากาศ หวังให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซีอีโอหนุ่มคนนี้โด่งดังบนโลกออนไลน์ในรอบปีที่ผ่านมา หลังเปิดเผยว่ายอมทิ้งเงินเดือนหลายแสนบาทในต่างแดน กลับมาเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันในการช่วยเหลือเกษตรกรไทยในบ้านเกิด เขาเติบโตมาในครอบครัวทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเกษตรที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชีวิตจึงคลุกคลีกับเกษตรกรในต่างจังหวัดตั้งแต่วัยเด็ก ศึกษาระดับปริญญาตรีที่สหรัฐอเมริกา และจบปริญญาโทด้านบริหารจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเบอร์หนึ่งของโลก ก่อนจะทำงานเป็นที่ปรึกษาธุรกิจให้บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกา “ตอนนั้นผมอยู่ในยุคที่ซิลิคอนแวลลีย์กำลังบูม เป็นยุค Digital Disruption […]Read More
เรื่อง: ชัชฎาพร จุ้ยจั่น ภาพ: พิชญุตม์ คชารักษ์ ‘อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง’ เชื่อว่าประโยคนี้คงอยู่ในความคิดของคนทำงานประจำตั้งแต่ยุคแอนะล็อก มาถึงยุคดิจิทัลยิ่งทำให้ความต้องการที่จะเป็นเจ้าของกิจการมีมากขึ้น รวมไปถึงธุรกิจหรืองานที่สามารถทำให้คนเรามีอิสระในการใช้จ่าย สมัยก่อนเราเคยได้ยินคนเจ๋งๆ ตั้งเป้าเกษียณอายุตอน 50 ในอีกมุมหนึ่ง สมัยนี้เด็กรุ่นใหม่ก้าวมาเป็นเจ้าของกิจการโดยที่อายุไม่ถึง 20 ปี ไม่ต้องถามฝ่ายหลังว่าจะเกษียณอายุตอนอายุเท่าไร… 35 ปีหรือ? เพราะสมัยนี้การทำงานโดยนำระบบดิจิทัลเข้ามามีส่วนนั้น พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างไร้ขีดจำกัดและอยากหยุดพักเมื่อไรก็ได้ สังเกตได้ว่าทุกวันนี้ คนเข้ามาทำธุรกิจออนไลน์มากขึ้น ไม่ใช่แค่การ Live ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียเท่านั้น แต่ยังนำเอาความรวดเร็ว และทันสมัยมามีส่วนช่วยในการทำธุรกิจค้าขายแบบออฟไลน์อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าที่เกิดจากออนไลน์ ก็ยังให้ความสำคัญกับระบบหน้าร้าน เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสได้สัมผัสของจริง ซึ่งการค้าขายทั้ง 2 แพลตฟอร์ม ย่อมต้องใช้กลยุทธ์ในการขายเพื่อความน่าเชื่อถือ แรงจูงใจให้อยากซื้อ จึงทำให้เมื่อไม่นานมานี้ GM สะดุดหูกับคำว่า ‘การขายแบบไม่ขาย’ กลยุทธ์เด็ดใจลูกค้าจาก ‘ชาญ-ชนินทร์ เมธีวีรวงศ์’ นักธุรกิจยุคดิจิทัล ผู้สร้างยูนิเวิลด์ดิจิทัลแพลตฟอร์ม อีกทั้งยังเป็นเจ้าของเพจ Chan Mete ที่ให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ที่อยากลงสู่สนามการตลาด โดยสร้างความเชื่อมั่น ดึงความชำนาญและศักยภาพของคุณออกมา “สมัยก่อนเราจะเจอนักขายพุ่งตรงเข้ามาแนะนำสินค้า โดยที่ลูกค้าไม่มีข้อมูลในหัว หรือเขารับรู้เกี่ยวกับสินค้านั้นน้อยมากจากป้ายโฆษณาหรือทางทีวี […]Read More
เรื่อง: ชัชฎาพร จุ้ยจั่น ภาพ : พิชญุตม์ คชารักษ์ ในยุคที่รัฐบาลกำลังผลักดันให้ประชาชนเข้าสู่การตลาดออนไลน์วันละ 2 ชั่วโมง ดูเหมือนคนที่เริ่มต้นเป็นผู้ขาย กำลังคว้าลมกลางอากาศโดยไม่มีเป้าหมายในการตั้งแผงหน้าเฟซบุ๊ก หรือช่องทางออนไลน์อื่น ยังไม่รวมกลยุทธ์ในการนำเสนอสินค้าและบริการให้โดนใจผู้ซื้อท่ามกลางการแข่งขันเพียงปลายนิ้วเลื่อนฟีดเฟซบุ๊กเท่านั้น …แต่อะไรเล่าคือการสร้างความประทับใจจากการรับบริการ หรือสร้างภาพจำให้กับแบรนด์“ควรทำสองอย่างนี้ควบคู่กันไปครับ” – ‘หนุ่ย-ณัฐพล ม่วงทำ’ นักวางกลยุทธ์ในการตลาดดิจิทัล หรือ Digital Strategist กล่าวทันทีพร้อมอธิบาย อดีตนักครีเอทีฟโฆษณาและสายดิจิทัล บวกกับการสั่งสมประสบการณ์การทำงานมาเกือบสิบปีในแวดวงการตลาด รวมไปถึงบทบาทวิทยากรสอนนักศึกษาตามมหาวิทยาลัย และองค์กรด้วยความเป็นคนรุ่นใหม่ สามารถย่อยความรู้ด้านการตลาดให้เข้าใจง่าย เขาจึงผันตัวมาทำเพจที่คอยอัปเดตข่าวการตลาดที่น่าสนใจจากทั่วทุกมุมโลกชื่อว่า ‘การตลาดวันละตอน’ เพื่อจุดประกายให้กับคนทำโฆษณาและนักการตลาดมือใหม่มีไอเดียไปต่อยอด ไม่เพียงแต่อาชีพที่กล่าวมาเท่านั้น แต่คอนเทนต์ของหนุ่ยกลับโดนใจคนบ้านๆ อย่างเรา ซึ่งไม่มีประสบการณ์การขายแม้แต่น้อย ด้วยการหยิบยกเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวันให้เข้าใจง่าย “ผมเรียกว่ากลยุทธ์ Personalization โดยเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ทำให้เราอยากรู้จักลูกค้ามากขึ้น สมมุติว่า ผมมักจะแวะร้านกาแฟเล็กๆ ร้านหนึ่งทุกวัน เขาจำผมได้ พอเดินเข้าร้านปุ๊บ ‘เช้านี้เอากาแฟ เหมือนเดิมไหมครับ’ คำว่า ‘เหมือนเดิมไหม’ คือ Data ที่เจ้าของร้านหรือพนักงานกำลังส่งมาว่าเขาจำเราได้ ถ้าวันไหนผมไม่ไปร้าน วันต่อมาเขาจะเริ่มทักผมแล้วว่า […]Read More