วันนี้อาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 8 เหนือ ตามปฏิทินล้านนา ฉบับโบราณ เป็นวันฟ้าตี่แสง เศษ 1 หัวเรียงหมอน ฤกษ์ดีไม่ดี เหมาะแก่การใดบ้างอย่างไร ไปเปิดตำราดูกันเอาเอง แต่ในทางการเมือง ถือเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของไทย เพราะมีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป ครั้งที่ 27 ขึ้น จากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา ตั้งแต่เวลา 8 โมงเช้า ไปจนถึง 5 โมงเย็น เปิดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน52,287,045 คน แยกเป็นชาย 25,136,051 คน หญิง 27,150,994 คน ไปออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง กาบัตรสองใบ ใบหนึ่งบัตรสีเขียว เลือกพรรคที่ชอบ (ส.ส.บัญชีรายชื่อ) อีกใบบัตรสีม่วง เลือกคนที่ใช่ (ส.ส.แบบแบ่งเขต) หนนี้ […]Read More
เรื่อง: นรวัชร์ พันธ์บุญเกิดภาพประกอบ: www. phralan.in.th / หนังสือประมวลภาพประวัติศาสตร์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คำว่า “ราชาภิเษก” เป็นคำภาษาสันสกฤต สนธิคำว่า “ราช” และ “อภิเษก” ซึ่งแปลว่า การรดน้ำ รวมคำศัพท์ทั้งสอง แปลว่า “การถวายรดน้ำแด่พระราชา” หรืออีกนัยหนึ่งคือ พระราชพิธีในการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ “พิธีราชสูรยะ”ที่มาของ “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” พระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้เป็นพิธีเก่าแก่ตั้งแต่สมัยพระเวท (ประมาณว่า 1,500 – 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เริ่มต้นที่การเลือก “ราชา” (Raja) เป็น “ผู้นำ” ในการรบพุ่ง ก่อนจะผันตัวเองเป็นผู้ปกครองในฐานะ “กษัตริย์” ในเวลาต่อมาได้ถูกยกให้อยู่เหนือบุคคลธรรมดาทั้งหลาย ตามคติ “เทวราชา” (Deva Raja) ถืออาญาสิทธิ์ประดุจ “เทพเจ้าอวตารลงมาเป็นกษัตริย์” หน้าที่ของกษัตริย์ในสมัยโบราณมิเพียงแต่ปกป้องประชาชนจาการรุกรานของศัตรูเท่านั้น และต้องเป็นแบบอย่างในการเชิดชูความยุติธรรมในสังคม ส่วนฝ่ายพราหมณ์นอกจากเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทั้งหลายแล้ว ยังมีหน้าที่เป็นปุโรหิตถวายแนะนำแก่กษัตริย์อีกด้วย คราใด เมื่อแผ่นดินว่างพระมหากษัตริย์ลง เหล่าเสนาอำมาตย์ทั้ง ๔ […]Read More