43 นักพยากรณ์ร่วม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 72 พรรษา ในงาน “สิริวัฒนาพยากรณ์ เพื่อคนพิการ” เนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 มูลนิธิสิริวัฒนาเชสเชียร์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับ ศูนย์การค้าสยามพารากอน จัดงาน “สิริวัฒนาพยากรณ์ เพื่อคนพิการ” รวมที่สุดของศาสตร์พยากรณ์แห่งปี จากทีมสิริวัฒนาพยากรณ์มาร่วมตรวจดวงชะตา ชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตให้กับผู้ที่สนใจในการดูดวง ภายในงานพบกับ 43 นักพยากรณ์ชื่อดัง ที่จะมาสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนทำนายโชคชะตาราศีด้วยศาสตร์ต่างๆ อาทิ เป็นต้น โดยสามารถซื้อบัตรพยากรณ์แบบวันต่อวันในราคาใบละ 400 บาท ที่บริเวณงาน “สิริวัฒนาพยากรณ์ เพื่อคนพิการ” ระหว่างวันที่ 1-7 กรกฎาคม 2567 ณ ลีฟวิ่ง ฮอลล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าสยามพารากอน สอบถามข้อมูลเพิ่มโทร.065-864-5943 หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ Facebook: SIAMPARAGON “CENTRAL MIDNIGHT SALE” […]Read More
เผยความคืบหน้าโครงการการจัดการพลาสติกในมหาสมุทรให้กลายเป็นโอกาสในเศรษฐกิจหมุนเวียน (OPTOCE) พร้อมผลการศึกษาศักยภาพของประเทศไทย ชี้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการกำจัดขยะพลาสติกคุณภาพต่ำ หรือพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ลดการรั่วไหลของขยะพลาสติกลงสู่ทะเลและมหาสมุทรได้อย่างมีประสิทธิภาพ คาดการณ์ว่ากระบวนการเผาร่วม (co-processing) ของโรงงานผลิตปูนซีเมนต์เหล่านี้สามารถลดการใช้ถ่านหินและช่วยป้องกันขยะพลาสติกรั่วไหลลงสู่มหาสมุทรอย่างน้อย 100,000 ตันต่อปี มุ่งหน้าสู่การแก้ไขปัญหาขยะที่ยั่งยืนและเป้าหมายสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน โครงการ OPTOCE จัดตั้งโดยสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งนอร์เวย์ (SINTEF) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาเพื่อต่อสู้กับขยะและไมโครพลาสติกในทะเลของรัฐบาลนอร์เวย์ มุ่งศึกษาและหาแนวทางในการกำจัดขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้และลดการรั่วไหลของขยะพลาสติกลงสู่ทะเลและมหาสมุทร โดยมีความร่วมมือในการดำเนินโครงการวิจัยในหลายประเทศ รวมทั้ง 4 ชาติพันธมิตรในเอเชีย ได้แก่ จีน อินเดีย ไทย และเวียดนาม ศึกษาขยะพลาสติกหลากหลายชนิดที่ไม่สามารถรีไซเคิล หรือมีมูลค่าต่ำไม่คุ้มทุนในการนำไปรีไซเคิลในปริมาณมาก รวมถึงค้นหาโอกาสและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมซีเมนต์ในการบริหารจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทยและทั่วภูมิภาค เพื่อหาแนวทางกำจัดที่เหมาะสมและสามารถแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรอย่างยั่งยืน สำหรับโครงการในประเทศไทย สถาบันวิจัย SINTEF ได้ร่วมมือกับ บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล ทำการศึกษาศักยภาพของกระบวนการนำพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้มาเผาร่วมในเตาปูนซีเมนต์ โดยนำขยะพลาสติกที่ได้จากการรื้อร่อนหลุมฝังกลบมาผลิตเชื้อเพลิงขยะ หรือ RDF: Refuse Derived Fuel ใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ โดยทำการทดสอบในเงื่อนไขที่แตกต่างกันเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบที่เกิดขึ้น ประกอบกับวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเทคนิคต่าง ๆ รวมทั้งค่าความร้อนและการตรวจวัดค่ามาตรฐานโดยละเอียด ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยมีศักยภาพอย่างมากในการช่วยแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการรั่วไหลของขยะลงสู่มหาสมุทร ดร.คอเร เฮลเก คาร์สเตนเซน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์และผู้จัดการโครงการ OPTOCE […]Read More
โดย: ชวนะ ช่างสุพรรณ จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการออกแบบป้าย “Bangkok City of Life” ใหม่ของกรุงเทพมหานคร ในฐานะที่อยู่ในสายอาชีพออกแบบ ผมเข้าใจถึงความท้าทายที่มาพร้อมกับการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งมีผลกระทบต่อคนผู้จำนวนมาก หลายประเด็นที่ถูกกล่าวถึงในกรณีนี้ เช่น อัตราค่าจ้าง รูปแบบอัตลักษณ์ รูปแบบตัวหนังสือ สี และสัญลักษณ์ต่างๆ ผมเชื่อว่าผู้ออกแบบมีเหตุและผล รวมทั้งแนวคิดที่เป็นระบบในการผลิตผลงาน แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีว่างานออกแบบที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของเมืองหรือประเทศ ย่อมต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายมุมมองของแต่ละบุคคล เมื่อย้อนมองในสายอาชีพออกแบบตกแต่งภายในของผม ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับบุคคลจำนวนน้อยกว่า ก็ยังต้องใช้ความรู้ความสามารถและความพยายามในการเข้าใจความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างผลงานออกแบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการเหล่านั้น แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีบางโครงการที่ไม่สามารถตอบโจทย์ได้อย่างสมบูรณ์ การแก้ไขปรับปรุงย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ทั้งนี้ถือว่าเป็นบทเรียนที่ช่วยพัฒนารูปแบบและแนวทางในการออกแบบให้ดียิ่งขึ้น หนึ่งในแนวทางที่จะช่วยให้คนจำนวนมากเข้าใจถึงแนวคิดและเหตุผลในการออกแบบ เช่น รูปแบบตัวหนังสือ สี และรายละเอียดของสัญลักษณ์ คือการสื่อสารแนวคิดให้คนในสังคมเข้าใจอย่างถ่องแท้ สำหรับผมการทำแบบสอบถามเพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการนำเสนอก็เป็นแนวทางที่ดีในการคัดกรองข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำงานออกแบบ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวมักจะใช้ต้นทุนทั้งในด้านบุคลากร แรงงาน และเวลาเป็นจำนวนมาก หากเปรียบเทียบกับการออกแบบตกแต่งภายในที่พักอาศัยหรือบ้าน ซึ่งมีผู้ที่ต้องอยู่อาศัยประมาณ 100 คน การคัดกรองแนวความคิด รวมถึงการใช้เวลาในการทำงานเพื่อให้ถูกใจกับทุกคนย่อมเป็นไปได้ยาก แต่ในงานออกแบบที่มีผลกระทบต่อบุคคลจำนวนมากนั้น สิ่งหนึ่งที่สำคํญคือเราต้องยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของการออกแบบ และใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ท้ายที่สุด ผู้ออกแบบที่เริ่มต้นกระบวนการความคิดและนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับปรุงพัฒนารูปแบบ ยังคงเป็นผู้ออกแบบที่ทำงานอย่างมุ่งมั่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่สมบูรณ์แบบและสอดคล้องกับมุมมองของสังคมได้ดีที่สุด สำหรับตัวผมเองคงไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน ที่ผลิตออกมา […]Read More
เตรียมพบสินค้าคุณภาพดี จาก“โครงการหลวง”และผลิตภัณฑ์จากยอดดอยสู่ใจกลางเมือง พร้อมจิบชายามบ่ายในคอนเซ็ปต์ Royal Afternoon Tea สุดเอ็กซ์คลูซีฟ ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 3 ตั้งแต่ 16-22 พฤษภาคม 2567 นี้ ทั้งนี้บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 3 ร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวง จัดงานโครงการหลวง ภายใต้แนวความคิด “Royal Afternoon Tea 2024” ส่งเสริมความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์องค์กรในการมุ่งมั่นสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต และอนาคตที่ดีให้กับผู้คน สังคม และวัฒนธรรมโลก ภายในงานพบกับเครื่องดื่มชาที่รังสรรค์ขึ้นมาจากผลิตภัณฑ์ชาหลายชนิดของโครงการหลวง และเมนูขนมรับประทานคู่กับชา ที่นำวัตถุดิบคุณภาพดีของโครงการหลวง และวัตถุดิบในชุมชนมาต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไฮไลท์ของงาน Royal Project : Royal Afternoon Tea 2024 @ Central Rama 3 ในปีนี้ประกอบไปด้วย 3 โซนพิเศษบนพื้นที่ภายในศูนย์การค้ากว่า […]Read More
หนึ่งสัปดาห์หลังวาระขึ้นปีใหม่ 2024 ปีมังกร ความเคลื่อนไหวในแวดวงต่างๆ ก็เริ่มทยอยเดินหน้า โลกขับเคลื่อนไปอย่างไม่หยุดยั้ง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ภัยพิบัติ และปัญหาที่ตกค้างมาจากปีก่อนๆ ก็ยังคงเพิ่มเติม หรือคงเหลือให้มาแก้ไขกันต่ออย่างต่อเนื่อง ในปีสามร้อยห้าสิบเก้าวันที่เหลืออยู่…. มีคนเจ็บ มีคนตาย และ ‘มีคนเกิด’ รวมถึง ‘คนที่เติบโต’ …. เยาวชนของชาติ เยาวชนของโลก ได้ก้าวย่างเข้าสู่อีกขวบปีของวัย ค่อยๆ ดำเนินไปสู่สภาวะที่เข้าใกล้ความเป็นผู้ใหญ่ ถูกปั้นแต่ง หล่อหลอม และขึ้นรูปด้วยภาวะและโอกาสที่เข้ามาในด้านต่างๆ มากบ้าง น้อยบ้าง แต่อย่างหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ คือ ‘การเข้าถึงโอกาส’ ขั้นพื้นฐานนั้น ยังคงเป็นปัญหาที่น่ากังขาอยู่ไม่น้อย… มีความใส่ใจที่มากขึ้น… ใช่ แต่เท่าเทียมและทั่วถึงหรือไม่ … นั่นยังเป็นปริศนาที่รอคอยคำตอบอยู่ เยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่จะกลายมาเป็นกำลังขับเคลื่อนโลก สร้างวัฒนธรรมที่แยกห่างออกจากคนรุ่นเก่าอย่างเด็ดขาด การสื่อสารที่ไม่ลงรอย ความเข้าใจที่ต้องมีมากขึ้นในการปฏิสัมพันธ์ การประสานรอยร้าวที่แตกต่างเหล่านี้ ยังเป็นสิ่งที่คนทุกรุ่นยังต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการทำให้ลุล่วงไป ความเหลื่อมล้ำสัมผัสได้ตั้งแต่แรกเกิด การเข้าถึงสุขอนามัยที่ดี การมีโอกาสได้รับนมแม่ การได้อยู่กับครอบครัวที่อบอุ่นปลอดภัย การเติบโตโดยไม่ขาดไร้การศึกษา การได้เพิ่มพูนความรู้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ก้าวไปอีกขั้น เหล่านี้ […]Read More
วันนี้อาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 8 เหนือ ตามปฏิทินล้านนา ฉบับโบราณ เป็นวันฟ้าตี่แสง เศษ 1 หัวเรียงหมอน ฤกษ์ดีไม่ดี เหมาะแก่การใดบ้างอย่างไร ไปเปิดตำราดูกันเอาเอง แต่ในทางการเมือง ถือเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของไทย เพราะมีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป ครั้งที่ 27 ขึ้น จากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา ตั้งแต่เวลา 8 โมงเช้า ไปจนถึง 5 โมงเย็น เปิดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน52,287,045 คน แยกเป็นชาย 25,136,051 คน หญิง 27,150,994 คน ไปออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง กาบัตรสองใบ ใบหนึ่งบัตรสีเขียว เลือกพรรคที่ชอบ (ส.ส.บัญชีรายชื่อ) อีกใบบัตรสีม่วง เลือกคนที่ใช่ (ส.ส.แบบแบ่งเขต) หนนี้ […]Read More
เรื่อง: นรวัชร์ พันธ์บุญเกิดภาพประกอบ: www. phralan.in.th / หนังสือประมวลภาพประวัติศาสตร์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คำว่า “ราชาภิเษก” เป็นคำภาษาสันสกฤต สนธิคำว่า “ราช” และ “อภิเษก” ซึ่งแปลว่า การรดน้ำ รวมคำศัพท์ทั้งสอง แปลว่า “การถวายรดน้ำแด่พระราชา” หรืออีกนัยหนึ่งคือ พระราชพิธีในการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ “พิธีราชสูรยะ”ที่มาของ “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” พระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้เป็นพิธีเก่าแก่ตั้งแต่สมัยพระเวท (ประมาณว่า 1,500 – 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เริ่มต้นที่การเลือก “ราชา” (Raja) เป็น “ผู้นำ” ในการรบพุ่ง ก่อนจะผันตัวเองเป็นผู้ปกครองในฐานะ “กษัตริย์” ในเวลาต่อมาได้ถูกยกให้อยู่เหนือบุคคลธรรมดาทั้งหลาย ตามคติ “เทวราชา” (Deva Raja) ถืออาญาสิทธิ์ประดุจ “เทพเจ้าอวตารลงมาเป็นกษัตริย์” หน้าที่ของกษัตริย์ในสมัยโบราณมิเพียงแต่ปกป้องประชาชนจาการรุกรานของศัตรูเท่านั้น และต้องเป็นแบบอย่างในการเชิดชูความยุติธรรมในสังคม ส่วนฝ่ายพราหมณ์นอกจากเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทั้งหลายแล้ว ยังมีหน้าที่เป็นปุโรหิตถวายแนะนำแก่กษัตริย์อีกด้วย คราใด เมื่อแผ่นดินว่างพระมหากษัตริย์ลง เหล่าเสนาอำมาตย์ทั้ง ๔ […]Read More