คุณอาจจะรู้จักหน้าค่าตาของเธอจากบทบาทเด็กนักเรียนสาวผมบ๊อบสั้นมั่นหน้าที่ทั้งซ่าและแรงส์ชื่อ ‘แนนโน๊ะ’ ในซีรีส์เรื่อง ‘เด็กใหม่’ ที่เคยสร้างปรากฏการณ์ทางสังคมไปเมื่อปีที่ผ่านมา ทว่า GM ยังอยากให้คุณได้ทำความรู้จักสาววัยเบญจเพสคนนี้ ผ่านบทสัมภาษณ์ที่จะทำให้คุณมอง ‘แนนโน๊ะ’ หรือ คิทตี้ – ชิชา อมาตยกุล เปลี่ยนไป Reasons to Read คุณอาจจะรู้จักหน้าค่าตาของเธอจากบทบาทเด็กนักเรียนสาวผมบ๊อบสั้นมั่นหน้าที่ทั้งซ่าและแรงส์ชื่อ ‘แนนโน๊ะ’ ในซีรีส์เรื่อง ‘เด็กใหม่’ ที่เคยสร้างปรากฏการณ์ทางสังคมไปเมื่อปีที่ผ่านมา ทว่า GM ยังอยากให้คุณได้ทำความรู้จักสาววัยเบญจเพสคนนี้ ผ่านบทสัมภาษณ์ที่จะทำให้คุณมอง ‘แนนโน๊ะ’ หรือ คิทตี้ – ชิชา อมาตยกุล เปลี่ยนไป เพราะเธอไม่ได้มีแค่มุมของความเป็นนักแสดงสาวมั่นพ่วงนามสกุลดังเพียงอย่างเดียว แต่ยังเคยเป็นเขียนบท เป็น Script Consult และเป็นผู้ช่วยผู้กำกับฯ ที่มีความคิดความอ่านไม่ธรรมดา GM : ในฐานะที่คุณเคยรับบทเป็น แนนโน๊ะ คุณมีทัศนคติเกี่ยวกับวงการศึกษาไทยอย่างไรบ้าง ชิชา : ระบบการศึกษาไทย คิทมองว่ามันไม่มีอะไรถูกหรือผิด ไม่ได้มีอะไรเป็นแบบแผนแน่ชัดที่จะบอกได้ว่านี่คือสิ่งที่ดีที่สุด คิทมองว่ามันคือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นทางผู้ใหญ่หรือตัวเด็กเอง ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอยู่แล้ว […]Read More
คุยกับอาจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการผู้คร่ำหวอดในวงการทะเลไทยมาเป็นเวลานาน หลายคนอาจไม่รู้ว่าตอนนี้ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในประชาคมโลกในเรื่องของการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมทางทะเล แม้สังคมไทยหลังการเลือกตั้งยังคงไม่ชัดเจน ค่าฝุ่นในอากาศยังคงย่ำแย่ แต่สังคมของสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลไทยในตอนนี้กำลังเดินหน้าสู่ความเปลี่ยนแปลงกันอย่างจริงจังแล้ว คุยกับอาจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการผู้คร่ำหวอดในวงการทะเลไทยมาเป็นเวลานาน หลายคนอาจไม่รู้ว่าตอนนี้ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในประชาคมโลกในเรื่องของการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมทางทะเล จากการประชุมระดับรัฐมนตรีในหลายประเทศ จนเกิดเป็น ‘ปฏิญญากรุงเทพฯ’ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน (Declaration on Combating Marine Debris) ซึ่งมีแผนแม่บทในการแก้ปัญหาระยะยาว แม้ว่าไทยจะติดอันดับท้อปเท็นของโลกในเรื่องการทิ้งขยะลงทะเลก็ตาม แต่ก็พอมองเห็นความตั้งใจจริงที่จะเปลี่ยนแปลง ซึ่งแสดงผ่านแนวทางว่าภายในพ.ศ. 2579 ประเทศไทยจะต้องลดจำนวนขยะพลาสติกในทะเลให้ได้อย่างน้อย 50% แล้วเวลา 17 ปีที่เหลือเราจะทำอะไรเพื่อไปถึงแผนนี้บ้าง พร้อมกับอีกหลายคำถามอัพเดทสถานการณ์ทางทะเลที่น่าสนใจ เช่น ยังมีปัญหาเรื่องไหนที่หาทางแก้ยากกว่าปะการังถูกทำลาย? คราบน้ำมันที่เจอตามชายหาดมาจากไหน เจอต้นตอหรือเจอตอ? โรงไฟฟ้าถ่านหินยังจะกลับมาหลอกหลอนคนไทยอีกไหม? กระทั่งว่าตอนนี้เรารับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ดีแค่ไหนแล้วกับพายุปาบึก เมื่อเทียบกับคราวสึนามิและพายุเกย์? อาจารย์ธรณ์ ชวนคุยและตอบคำถามในทุกประเด็นที่จะทำให้เราเข้าใจทะเลไทยในแบบที่มันกำลังเป็นอยู่จริง GM : ภาพรวมของปัญหาทรัพยากรทางทะเลในประเทศไทยเราตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง? ธรณ์ : ในกรณีของทรัพยากรทางทะเลของประเทศไทยในปัจจุบันนะครับ สิ่งที่ผ่านมา 10 ปีนี้คือเรามีการใช้ทะเลอย่างหนักมาก ทั้งในเรื่องของการท่องเที่ยว เรื่องของการประมง และผลกระทบต่างๆ ทั้งน้ำเสียหรือขยะทะเล แต่ไม่มีการพูดถึงกัน จนเมื่อประมาณสัก 4 ปีก่อน […]Read More
ประภาส ทองสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สื่อสารองค์กร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย บุคคลสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังภาพยนตร์โฆษณาฟีลกู๊ด Hero In You ที่ปลุกพลังมนุษย์คนทำงานและส่งสารแห่งความสุขสู่สังคมไทย เขาสั่งสมพลังบวกในการใช้ชีวิตและหลักคิดในการบริหารงานบริหารคนแบบไหนไว้บ้าง ประภาส ทองสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สื่อสารองค์กร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย บุคคลสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังภาพยนตร์โฆษณาฟีลกู๊ด Hero In You ที่ปลุกพลังมนุษย์คนทำงานและส่งสารแห่งความสุขสู่สังคมไทย เขาสั่งสมพลังบวกในการใช้ชีวิตและหลักคิดในการบริหารงานบริหารคนแบบไหนไว้บ้าง เบื้องหลัง Hero In You คืออะไร สิ่งที่ได้รับกลับมาเป็นอย่างไร “กลุ่ม CIMB มีคอนเซปต์ที่ใช้กันทั่วโลก คือ Forward ขณะที่ CIMB THAI เองก็ต้องการเติบโตแบบก้าวกระโดด คุณกิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จึงเริ่มต้นโครงการ ที่ชื่อว่า Fast Forward ให้สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในองค์กร […]Read More
ทำความรู้จัก เซบาสเตียน ไว้ชื่อ โสฬสจินดา หนุ่มลูกครึ่งไทย-สวีเดน มากความสามารถที่พูดได้ทั้งไทย สวีเดน อังกฤษ และฝรั่งเศส ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการสื่อสารโรงแรมโซ โซฟิเทล หัวหิน และ โซฟิเทล หลวงพระบาง และ 3 นากาส์ หลวงพระบาง เอ็มแกลเลอรี่ บาย โซฟิเทล ที่ปรึกษาด้านแบรนด์ดิ้งในการเปิดโรงแรม และการรีแบรนด์โรงแรม วิทยากรพิเศษ Hospitality Marketing ม.กรุงเทพ และผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย Reasons to Read ทำความรู้จัก เซบาสเตียน ไว้ชื่อ โสฬสจินดา หนุ่มลูกครึ่งไทย-สวีเดน มากความสามารถที่พูดได้ทั้งไทย สวีเดน อังกฤษ และฝรั่งเศส ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการสื่อสารโรงแรมโซ โซฟิเทล หัวหิน และ โซฟิเทล หลวงพระบาง และ 3 นากาส์ หลวงพระบาง เอ็มแกลเลอรี่ บาย โซฟิเทล ที่ปรึกษาด้านแบรนด์ดิ้งในการเปิดโรงแรม […]Read More
นายแพทย์หนุ่มอารมณ์ดี มากความสามารถ ผู้ที่ใช้เวลาเกินครึ่งชีวิตอยู่กับคนไข้และโรงพยาบาล ผ่าตัดมากว่า 800 เคส แทบไม่มีวันหยุด มันไม่ใช่ไฟลท์บังคับ แต่ทั้งหมดนี้เพราะเขามีความสุข บทสัมภาษณ์พิเศษ นพ.ภัทร โฆสานันท์ ศัลยแพทย์ กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านโรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี อะไรที่ทำให้เขายิ้มกว้างและเพลิดเพลินเหลือเกินในการเป็นศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านโรคกระดูกสันหลัง บทบาทหน้าที่ในปัจจุบัน หน้าที่หลักคือตรวจดูแล วินิจฉัย วางแผนการรักษาคนไข้ของศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี และเนื่องจากโรงพยาบาลเวชธานีให้ความสำคัญกับเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยอยู่ตลอด เราจะลงทุนนำเข้ามาก่อนเป็นที่แรกๆ ทำให้ผมต้องคอยอัปเดตเกี่ยวกับข่าวสาร เมื่อมีเทคโนโลยีตัวใหม่ที่คุ้มค่าเป็นประโยชน์สูงสุดกับคนไข้ ผมก็จะนำเสนอให้ทีมบริหารโรงพยาบาลพิจารณานำเข้ามาใช้” เทคโนโลยีใหม่ๆ ทางการแพทย์ ตอนนี้มีอะไรบ้าง “ถ้าเป็นเรื่องของกระดูกสันหลัง อันดับแรกเลยคือ Robotic หรือหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เพิ่งมีเข้ามาในไทยได้ปีกว่าๆ คนอาจจะนึกว่า คงใช้หุ่นยนต์ตัวใหญ่ๆ มาช่วยทำการรักษา แต่จริงๆ หุ่นยนต์ที่เราพูดถึงมีขนาดแค่ประมาณกระป๋องสเปรย์ มีแขน หลักการทำงานคือ เวลาผ่าตัดเราจะวางแผนทำ MRI หรือ CT Scan หลังจากนั้นจะใส่ข้อมูลตามแผนที่วางไว้เข้าไปในหน่วยความจำของหุ่นยนต์ ซึ่งเขาจะจำขั้นตอนต่างๆ ไว้เหมือนก๊อบปี้เป็นตัวเราอีกคน ซึ่งการผ่าตัดกระดูกสันหลังจะมีการใส่สกรูหรืออุปกรณ์ต่างๆ ยึดตรึงกระดูกสันหลัง หุ่นยนต์จะจำวิธีการใส่สกรูไว้ เมื่อเราจะใส่สกรู […]Read More
บทสัมภาษณ์นักเขียนหนุ่มอดีตนักหนังสือพิมพ์ดาวรุ่ง ที่ตัดสินใจลาออกเพื่อไปใช้ชีวิตที่ ‘ปูเน่’ เมืองใหญ่อันดับสองรองจากมุมไบที่อยู่ในรัฐมหารัชตะ ของประเทศอินเดีย Reasons to Read บทสัมภาษณ์นักเขียนหนุ่มอดีตนักหนังสือพิมพ์ดาวรุ่ง ที่ตัดสินใจลาออกเพื่อไปใช้ชีวิตที่ ‘ปูเน่’ เมืองใหญ่อันดับสองรองจากมุมไบที่อยู่ในรัฐมหารัชตะ ของประเทศอินเดีย จากเรื่องราวสุดลุยของคนหนุ่มผู้เปรียบได้ดั่งกับ ‘ซามูไรพเนจร’ ในดินแดนภารตะ บอกเล่าประสบการณ์ใช้ชีวิตยังแดนไกลผ่านเพจ ‘อย่าด่าอินเดีย’ ซึ่งมีผู้ติดตามนับหมื่นคน สู่พ็อกเก็ตบุ๊กในชื่อเดียวกัน เดียร์-อินทรชัย พาณิชกุล ชายหนุ่มผู้เปรียบเปรยตัวเองว่าเป็นดั่ง ‘ซามูไรพเนจร’ ที่มีความสุขกับการขึ้นเหนือล่องใต้ไปพบปะผู้คนมากหน้าหลายตา ในฐานะ ‘นักข่าว’ เขาสั่งสมประสบการณ์ในยุทธจักรสื่อมายาวนานเกือบ 14 ปี และในช่วง 3 ปีหลังก็ได้เลื่อนตำแหน่งไปเป็น ‘ผู้ช่วยบรรณาธิการ’ ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าในสายอาชีพที่อาจเรียกได้ว่ามาถึงก่อนวัยอันควร เมื่อเรียกว่า ‘ความก้าวหน้า’ มันก็ควรจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่บทบาทใหม่ที่ได้รับอาจจะไม่เหมาะกับซามูไรพเนจรผู้นี้ทำให้มันไม่เป็นเช่นนั้น “จากที่เคยมีอิสระเสรีก็ต้องมานั่งอยู่หน้าคอมพ์ คอยตรวจงาน สั่งงาน ตื่นเช้ามาต้องนั่งเช็กข่าว เที่ยงต้องกินข้าวหน้าคอมพ์ กว่าจะลากสังขารกลับบ้านได้ก็ดึกดื่น คุณภาพชีวิตเริ่มแย่ ไม่มีความสุข รู้สึกอึดอัด ก็เริ่มรู้สึกว่าไม่ใช่สไตล์เรา รู้สึกเบื่อมาก” เขาพรั่งพรูความคับข้องใจออกมาในช่วงเริ่มต้นของการสนทนา สีหน้าท่าทางขณะพูดถึงหน้าที่ในอดีตที่ผ่านมานานนับปี ยังคงมีคราบของความเบื่อหน่าย อึดอัดใจอยู่อย่างชัดเจน จึงไม่แปลกที่วันหนึ่งเขาเลือกที่จะก้าวออกมาจากจุดนั้นและเดินไปตามเส้นทางที่เขากำหนดเอง ด้วยการเลือกไปใช้ชีวิตในดินแดนที่ห่างไกลจากคำว่าสวยหรู […]Read More
กองทัพภูมิคุ้มกันนี้จะเรียนรู้ที่จะจดจำลักษณะของเซลล์เนื้องอกเพื่อให้สามารถค้นหาและทำลายพวกมันทั่วร่างกาย โดยการเปลี่ยนเนื้องอกให้กลายเป็น ‘โรงงานผลิตวัคซีนมะเร็ง’ Reasons to Read กองทัพภูมิคุ้มกันนี้จะเรียนรู้ที่จะจดจำลักษณะของเซลล์เนื้องอกเพื่อให้สามารถค้นหาและทำลายพวกมันทั่วร่างกาย โดยการเปลี่ยนเนื้องอกให้กลายเป็น ‘โรงงานผลิตวัคซีนมะเร็ง’ วิธีนี้ยังสามารถเพิ่มความสำเร็จของการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันชนิดอื่นๆ เช่น การรักษาแบบ ‘Checkpoint Blockade’ การรักษาร่วมกันทั้งสองวิธีสามารถบรรเทามะเร็งในหนูได้ดีกว่าเป็นสองเท่า จากร้อยละ 40 ถึงประมาณร้อยละ 80 นักวิจัยที่เมาต์ ซีนาย ได้พัฒนาวิธีการใหม่ในการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉีดสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันลงในเนื้องอกโดยตรงเพื่อสอนระบบภูมิคุ้มกันให้ทำลายเซลล์มะเร็ง ผลการศึกษาดังกล่าวเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature Medicine ฉบับเดือนเมษายน 2019 ระบุว่า การฉีดวัคซีนที่แหล่งกำเนิดมะเร็งได้ผลดีมากในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะลุกลาม การรักษาด้วยวิธีดังกล่าว ประกอบด้วย การให้สารกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยตรงในเนื้องอก โดยการกระตุ้นครั้งแรก เป็นการชักชวนเซลล์ภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่เรียกว่า ‘เซลล์เดนไดรติก’ (Dendritic Cell) ที่ทำหน้าที่เหมือนนายพลของกองทัพภูมิคุ้มกัน และสารกระตุ้นที่สองจะกระตุ้นเซลล์เดนไดรติก ซึ่งจะสั่งให้ทีเซลล์ (T Cell) ซึ่งเป็นทหารของระบบภูมิคุ้มกันไปฆ่าเซลล์มะเร็ง กองทัพภูมิคุ้มกันนี้จะเรียนรู้ที่จะจดจำลักษณะของเซลล์เนื้องอกเพื่อให้สามารถค้นหาและทำลายพวกมันทั่วร่างกาย โดยการเปลี่ยนเนื้องอกให้กลายเป็น ‘โรงงานผลิตวัคซีนมะเร็ง’ นอกจากนี้ ‘โจชัว โบรดี้’ (Joshua Brody) ผู้อำนวยการโครงการภูมิคุ้มกันโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่สถาบันมะเร็งทิสช์ (The Tisch […]Read More
เทโลเมียร์ (Telomeres) หรือดีเอ็นเอที่อยู่ส่วนปลายสุดของโครโมโซมทั้ง 32 คู่ ของสกอตต์นั้นยาวขึ้น ทั้งที่โดยปกติแล้วเทโลเมียร์ที่ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันที่ปลายโครโมโซมจะสั้นลงตามอายุขัยของมนุษย์ Reason to Read เทโลเมียร์ (Telomeres) หรือดีเอ็นเอที่อยู่ส่วนปลายสุดของโครโมโซมทั้ง 32 คู่ ของสกอตต์นั้นยาวขึ้น ทั้งที่โดยปกติแล้วเทโลเมียร์ที่ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันที่ปลายโครโมโซมจะสั้นลงตามอายุขัยของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาความยาวของเทโลเมียร์เพื่อลดความชราและเอาชนะโรคมะเร็ง การศึกษาของนาซาที่เปรียบเทียบฝาแฝดคู่หนึ่ง โดยที่คนหนึ่งได้สำเร็จภารกิจที่ยาวนานเกือบหนึ่งปีในอวกาศ และอีกคนใช้เวลาช่วงนั้นอยู่บนโลก พบว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับร่างกายมนุษย์ในอวกาศนั้นไม่ถาวร สกอตต์ เคลลี (Scott Kelly) ผู้ซึ่งอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ระหว่างปี 2558 ถึง 2559 ได้พบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและพันธุกรรมมากมายที่ไม่พบใน มาร์ก เคลลี (Mark Kelly) ฝาแฝดและเพื่อนนักบินอวกาศผู้ซึ่งอยู่บนพื้นโลก แต่เมื่อสกอตต์กลับสู่พื้นโลก ร่างของเขาก็ค่อยๆ กลับมาเป็นปกติ แต่ผลกระทบเชิงลบบางอย่างจากภารกิจยังคงมีอยู่ ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับนักวิทยาศาสตร์ เมื่อพวกเขาสำรวจการบินอวกาศที่ยาวนานขึ้น เช่น การเดินทางไปยังดาวอังคาร สตีเวน แพลตต์ (Steven Platts) รองหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการวิจัยมนุษย์ของนาซ่าเป็นผู้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในงานแถลงข่าวของนาซาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับการค้นพบครั้งนี้ นาซาค้นพบว่า เทโลเมียร์ […]Read More
Disney+ จะเปรียบเสมือนคลังขนาดใหญ่ของหนังและรายการโทรทัศน์เก่าของดิสนีย์ รวมถึงผลงานจาก Marvel, Pixar, Star War พร้อมด้วยภาพยนตร์และซีรีส์ใหม่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อบริการสตรีมมิงโดยเฉพาะ Reasons to Read Disney+ จะเปรียบเสมือนคลังขนาดใหญ่ของหนังและรายการโทรทัศน์เก่าของดิสนีย์ รวมถึงผลงานจาก Marvel, Pixar, Star War พร้อมด้วยภาพยนตร์และซีรีส์ใหม่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อบริการสตรีมมิงโดยเฉพาะ ดิสนีย์บอกกับนักลงทุนว่า คาดว่าจะมีสมาชิก 60 ล้านถึง 90 ล้านคนทั่วโลก ภายในสิ้นปี 2567 ถูกขนานนามว่าเป็น ‘ผู้ฆ่าเน็ตฟลิกซ์’ นำมาซึ่งคำถามถึง ‘รีด แฮสติงส์’ (Reed Hastings) ผู้ก่อตั้ง Netflix ว่าควรจะกังวลต่อสถารการณ์นี้หรือไม่ ก่อนหน้านี้ดิสนีย์ (Disney) ได้พูดถึงแผนการสร้างบริการสตรีมมิงของตัวเองในรูปแบบเดียวกันกับเน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนปี 2560 แต่มีการเปิดเผยรายละเอียดที่สำคัญน้อยมาก แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าดิสนีย์พร้อมแล้วจริงๆ สำหรับการให้บริการสตรีมมิงในชื่อ ‘ดิสนีย์พลัส’ (Disney+) ซึ่งจะเปิดตัวในสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 12 พฤศจิกายนปีนี้ ด้วยราคา 7 ดอลลาร์สหรัฐฯ […]Read More
อัลกอริทึมของนักศึกษาทำการวิเคราะห์ข้อมูลตัวละครกว่า 2,000 ตัว มีคำทำนายที่น่าจับตามองเกี่ยวกับการเสียชีวิตของ จอน สโนว์ เมื่อสิ้นสุดซีซันที่ห้า ซึ่งนักศึกษาให้เหตุผลว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเป็นไปได้ทางสถิติ Reasons to Read อัลกอริทึมของนักศึกษาทำการวิเคราะห์ข้อมูลตัวละครกว่า 2,000 ตัว มีคำทำนายที่น่าจับตามองเกี่ยวกับการเสียชีวิตของ จอน สโนว์ เมื่อสิ้นสุดซีซันที่ห้า ซึ่งนักศึกษาให้เหตุผลว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเป็นไปได้ทางสถิติ เมื่อปี 2016 ก่อนที่ซีซันที่หกของซีรีส์ Game of Thrones จะออกอากาศ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งมิวนิก ประเทศเยอรมนี ได้สร้างแอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์ (AI) ขึ้นมาทำนายว่าใครจะอยู่ใครจะรอดในซีซันนั้นบ้าง โดยผลการทำนายครั้งนั้นบอกว่า Tommen Baratheon, Stannis Baratheon, Daenerys, Davos Seaworth และ Petyr Baelish จะต้องตายไป ซึ่งพบว่าทำนายถูกถึง 3 ใน 5 (จนถึงตอนนี้) ซึ่งก็ถือว่าไม่เลวเลยทีเดียว และในขณะที่ซีซันสุดท้ายของ ซีรีส์ Game of Thrones ได้เริ่มออกอากาศไปแล้วในวันอาทิตย์ที่ 14 เมษายนที่เพิ่งผ่านมานี้ ทีมนักศึกษาเจ้าเดิมได้กลับมาอีกครั้ง พร้อมการสร้างอัลกอริทึมในการบีบอัดข้อมูลที่เกี่ยวกับ Game […]Read More