เรื่อง: กองบรรณาธิการ เป็นปีที่ 16 แล้วที่ เอส แอนด์ พี (S&P) ได้มอบความสุขแก่น้องๆ และผู้สูงอายุ รวมไปถึงบุคคลผู้ด้อยโอกาส โดยนำขนมเค้กแสนสวยไปมอบความอร่อยถึงที่ คุณมณีสุดา ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ได้สานต่อโครงการ Cake A Wish Make A Wish 2020…เค้กนี้ด้วยรักตลอดไป ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 เพื่อส่งมอบความสุข ความปรารถนาดี และความอร่อยไปยังบุคคลในสังคมต่างๆ ที่ต้องการความดูแลใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ด้อยโอกาส เด็กกำพร้า คนพิการ ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ป่วยตามมูลนิธิต่างๆ เนื่องในเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 22 แห่ง อาทิ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย โรงเรียนเศรษฐเสถียร โรงพยาบาลทหารผ่านศึก สถานสงเคราะห์คนชรา และมูลนิธิเด็กบ้านทานตะวันเป็นต้น ด้วยเค้กทั้งหมดจำนวน 620 […]Read More
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและโรคระบาด Covid-19 ได้กลายเป็นหัวข้อสนทนาที่แทบจะปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวันไปแล้ว ไม่ว่าจะในประเทศ หรือในระดับสากล ด้วยยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะจบลงไปได้ง่ายๆ สร้างความตื่นตัวให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้ออกแรงลงมือทำมาตรการต่างๆ อย่างจริงจัง แต่สำหรับโลกแห่งวิทยาศาสตร์นั้น ก็ได้รับการพิสูนน์มาแล้ว ว่าเป็นหนึ่งในทางออกของปัญหาต่างๆ ด้วยการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กับโลก และในภาวะวิกฤติเช่นนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์จากบริษัท LIGC Applications ก็ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ล้ำสมัย เพื่อต้านภัยโรคระบาดร้าย ในรูปแบบของ ‘หน้ากากแห่งอนาคต’ ภายใต้ชื่อ Guardian G-Volt นวัตกรรมนี้ไม่ใช่ธรรมดา เพราะมันถูกสร้างขึ้นด้วยตัวกรองที่ทำจากแร่กราฟีน ที่มีคุณสมบัติในการคัดกรองและดักจับอนุภาคที่เล็กถึง 0.3 ไมโครเมตร และมีอนุภาพในการดักจับสิ่งสกปรกที่มาทางอากาศได้ถึง 80% ซึ่งสามารถป้องกันเชื้อโรคระบาด Covid-19 ที่มาทางอากาศและหยดน้ำได้อย่างชะงัด แหล่งพลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนหน้ากากอัจฉริยะแห่งอนาคตนี้ก็มาในรูปแบบที่ง่ายๆ ด้วยการพ่วงชาร์จสาย USB เข้ากับแหล่งไฟสำรองเพื่อทำความสะอาด และนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีกหลายครั้ง แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกอย่างจะสะดวกง่ายดายไปทั้งหมด ทางนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องกับแวดวงทางการแพทย์ยังคงตั้งกังขากับประสิทธิภาพของหน้ากากแห่งอนาคตนี้ ว่าจะสามารถทำได้ตามที่โฆษณาเอาไว้หรือไม่ ท่ามกลางความเสี่ยงที่ดูจะมากขึ้นและมากขึ้นทุกขณะ และตัวหน้ากากเองก็มีอายุการใช้งานของมันเอง ที่เมื่อถึงเวลา ก็ต้องเปลี่ยนและซื้อชุดใหม่มาแทนที่ ‘เราเข้าใจในความกังขาเหล่านี้ดี’ Yossi Levin หัวหน้าทีมวิจัยของ LIGC Applications กล่าวถึงความกังวลที่เกิดขึ้น พร้อมย้ำว่า ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ ได้ผ่านการทดสอบในห้องทดลองของสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัย Ben Gurion […]Read More
ในยุคปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีหลายประเด็นที่พูดได้ในที่สาธารณะและพูดไม่ได้ แต่โซเชียลมีเดียกลับเป็นพื้นที่ที่มีข้อมูลหลากหลายประเด็น หลายแง่มุมหลั่งไหลจากผู้คนเพิ่มมากขึ้นเป็นแสน เป็นล้านข้อความ หน้าที่หลักของผู้บริหารหนุ่มไฟแรง กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลอันดับ 1 ในประเทศไทย และผู้จัดงาน Thailand Zocial Awards 2020 (ไทยแลนด์ โซเชียล อวอร์ด 2020) จึงเป็นการเก็บข้อมูลของโซเชียลมีเดียในประเทศไทยมาเก็บไว้ในถังเก็บข้อมูล เพื่อวิเคราะห์อินไซท์ ช่วยให้แบรนด์ในแต่ละอุตสาหกรรมเข้าใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น รวมถึงให้แบรนด์ได้นำข้อมูลไปปรับกลยุทธ์เพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตยิ่งขึ้น เมื่อเปิดทศวรรษใหม่ แน่นอนว่าเทรนด์โซเชียลย่อมมีการปรับตัวตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปการตั้งรับสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปี 2020 เพื่อดำเนินธุรกิจให้เติบโตขึ้นต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นประเด็นฮอตที่นักการตลาด นักโฆษณา และเหล่าคนทำงานในแวดวงโซเชียลมีเดียให้ความสำคัญ กล้า ตั้งสุวรรณ ซีอีโอแห่งไวซ์ไซท์ (WISESIGHT) จึงได้ผุดไอเดียชวนทุกคนมา SHIFT: Make IT SHIFT ยกระดับการทำงานกับโซเชียลมีเดีย ในงาน Thailand Zocial Awards พร้อมเผยว่า “ในปีที่ผ่านมา จำนวนข้อความบนโลกโซเชียลเพิ่มขึ้นสูงถึง 7.2 พันล้านข้อความโตขึ้น 36% ในขณะที่จำนวนผู้ใช้งานเท่าเดิมร้อยละ 74 โดยหลายธุรกิจมีการใช้โซเชียลมีเดียกับผู้บริโภคอย่างน้อย 2 แพลตฟอร์มขึ้นไป ในด้านอินฟลูเอนเซอร์ก็เป็นประเด็นสุดฮอตของโซเชียลไม่มีการจำกัดอินฟลูเอนเซอร์ 1 คน อยู่ในหมวดใดหมวดหนึ่งเฉพาะ แต่กลายเป็น 2 หมวดขึ้นไป เพราะอินฟลูเอนเซอร์มีการสร้างคอนเทนต์หลากหลายขึ้น เช่น ถ้าแบรนด์เปิดรีสอร์ทใหม่ ก็สามารถจ้างอินฟลูเอนเซอร์สายอาหารมารีวิวรีสอร์ทได้ เป็นต้น ในขณะที่เรื่อง Social Listening เพื่อทำความเข้าใจตลาด ในปีนี้ไวซ์ไซท์มีเป้าหมายคือ ต้องการให้แบรนด์นำข้อมูลที่วิเคราะห์โดยไวซ์ไซท์ใปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ดีมากขึ้น โดยตั้งใจทำ 1) วัดผลให้ดีขึ้น ซึ่งใช้ ZOCIAL METRIC วัดประสิทธิภาพแบรนด์ ให้แบรนด์ทราบว่า สิ่งที่ทำอยู่ดีกว่าคู่แข่งหรือไม่ สิ่งใดที่ควรพัฒนา และ 2) […]Read More
เรื่อง: สันทัด โพธิสา ปลายเดือนก่อน แม้จะมีข่าวใหญ่สารพัดทั้งโลกออนไลน์-ออฟไลน์ แต่ก็มีข่าวหนึ่งที่ผุดขึ้นมาให้เราใจหายไม่น้อย มันเป็นข่าวการอำลาอาชีพนักเทนนิสของ ‘นางฟ้าแห่งวงการเทนนิส’ มาเรีย ชาราโปวา… กล่าวไม่ผิดไปหรอกครับ, สำหรับฉายา ‘นางฟ้า’ เพราะเชื่อเหลือเกินว่า เหล่ากระทาชายทั่วโลก คงเคยติดตามดูเธอลงแข่งขันเทนนิสกันมาบ้าง ไม่ว่าจะดูเพราะเธอสวย เธอหุ่นดี หรือจะติดอกติดใจเสียงร้องของเธอยามเมื่อนำแร็กเก็ตไปหวดเข้ากับลูกเทนนิส ทุกสุ้มเสียง ทุกท่วงท่า และทั้งหลายทั้งปวงของมาเรีย เป็นสิ่งที่พวกเรา…ล้วนหลงใหลในความเป็นเธอ แต่ก็เหมือนตลกร้ายนะครับ ด้วยความสวย ความมีเสน่ห์ชวนมองนี่เอง กลับทำให้มีคนค่อนขอดแกมเหน็บแนมเอาว่า ‘ที่เธอดังเพราะสวย ไม่ใช่เก่ง’ เรื่องแบบนี้เหมือนเหรียญสองด้านว่าไหมครับ ถ้าคุณเลือกที่จะมองที่รูปลักษณ์ คุณอาจจะคิดว่า เธอไม่เก่ง ทว่าหากคุณมองสิ่งที่เธอทำมาตลอดอาชีพการเล่นเทนนิส ผู้หญิงคนนี้จัดว่าไม่ธรรมดาทีเดียว… มาเรียเริ่มเล่นเทนนิสตั้งแต่อายุ 4 ขวบ ก่อนที่ตอนอายุ 7 ขวบ พ่อของเธอจะพาเธอมายังสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าฝึกที่วิทยาลัยเทนนิสที่มีชื่อว่า นิค บอลเลทเทอรี ตอนนั้นผู้คนรอบข้างบอกว่า มาเรียมีแววจะเอาดีทางกีฬาเทนนิสได้ นับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มจับแร็กเก็ตเลยทีเดียว โดยโค้ชคนแรกในชีวิต ยูริ ยัตคิน เคยพูดถึงลูกศิษย์ของตัวเองไว้ว่า มาเรียมีพรสวรรค์ โดยเฉพาะการใช้มือกับสายตาของเธอ ที่มันประสานงานกันได้อย่างเหลือเชื่อ! […]Read More
เรื่อง: Mr. Len …ปิดประเทศ!! อาจจะมีคำๆ นี้แว่วเข้ามาในหูกันบ่อยขึ้น หลังจากที่การแพร่ระบาดโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่อย่าง Covid-19 (CO ย่อมาจาก Corona, VI ย่อมาจาก Virus, D ย่อมาจาก Disease และตัวเลข 19 มาจากปี 2019) ซึ่งเปิดฉากจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และกำลังกระจายวงกว้างไปทั่วทั้งโลก หลายๆ ประเทศได้รับผลกระทบทั้งจากเชื้อไวรัส และหาทางป้องกัน แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นภัยคู่ขนานที่น่ากลัวไม่แพ้พิษจากไวรัส คือ พิษเศรษฐกิจที่เริ่มก่อตัวขึ้นพร้อมๆ กัน นั่นก็เพราะหากไวรัส Covid-19 ที่ยังคงลากยาวไม่รู้จบ ได้เริ่มส่งผลถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ บ้างแล้ว และยิ่งโรคระบาด คุมไม่อยู่มากเท่าไร แต่ละประเทศก็คงต้องงัดยุทธวิธีเชิงปิดกั้นโซน เรียกว่าปิดประเทศหรือจังหวัดกันเลยก็ไม่ผิด ออกมาบังคับใช้เป็นการชั่วคราว เรียกว่า ถ้าเป็นแบบนั้น…ภาพความพังของเศรษฐกิจทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่นคงลอยมาเข้มๆ กันเลยทีเดียว… ประเทศไทยก็ประสบปัญหาไม่ต่างกัน เพราะต้องยอมรับว่าเมื่อต้นตอมาจากแดนมังกร ประเทศซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญที่มีส่วนในการกระตุ้นภาคเศรษฐกิจของไทยด้วยแล้ว มันก็จะเริ่มส่งผลกระทบบางอย่างต่อห่วงโซ่เศรษฐกิจในหลายๆ ระดับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ …ขนาดนั้นเลยหรือ? ขนาดนั้นเลยแหละ… เพราะถ้าลองดูตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวไทยในปีที่ผ่านมา (นับยอดสะสมตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ย. 62) พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามามีกว่า 35.8 ล้านคน ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีรายได้กว่า 1.74 ล้านล้านบาท […]Read More
เรื่อง: The Last Dinosaur อ่วม! คำเดียวสั้นๆ ครับในเวลานี้ อ่วมกันไปทั้งโลก กับสภาวการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือเจ้าโควิด-19 ซึ่งนอกจากคำว่า อ่วม อืด โอด โอย กระอัก ก็ยังมีคำเหล่านี้ที่ช่วงนี้วนๆ เข้าหูอยู่ตลอดเวลา… ขาดตลาด ได้ยินเข้าหูกันทั้งสัปดาห์ กับกรณีหน้ากากอนามัย ‘ขาดตลาด’ ซึ่งเวลานี้กลายเป็นสิ่งของหายาก ชนิดที่เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม แต่ก็เป็นเรื่องแปลก ถึงแปลกมาก ที่เมื่อไรที่ดีมานด์มีสูง หรือมีความต้องการมากๆ ของชิ้นนั้นจะหายากในทันทีที่เมืองไทย?! เวลานี้ประชาชนคนไทยอยากได้หน้ากากอนามัยมากกว่ามือถือเครื่องใหม่ไปเสียแล้ว เพราะว่ามันขาดตลาด! ไปร้านไหนก็ปิดป้ายว่า หมด! หมด! และหมด! เรื่องนี้ต้องถึงหูครูตู่ เอ้ย! ท่านนายกฯ ตู่ของเรา ต้องออกมาสแกนกรรม เอ้ย! สแกนการทำงานภาครัฐ พร้อมสั่งการทันที โดยจัดให้กระทรวงพาณิชย์ ไปเฝ้าระวังตามโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย เพื่อเช็กยอดผลิตจริงว่าได้เท่าไร รวมถึงตรวจสอบเรื่องการจำหน่าย เพื่อป้องกันปัญหาการกักตุน แต่ไม่วายมีปัญหาใหม่ตามมาอีก คือสเป็กของหน้ากากอนามัยที่ผลิตออกมาช่วงนี้ มันบางงงงงง (งอ งูล้านตัว!) จนมีเสียงบ่นระงม ว่าบางกว่าหมูสไลด์ในหม้อชาบูเสียอีก […]Read More
เรื่อง : Fullscape ในปัจจุบัน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดูจะเป็นเรื่องยากท่ามกลางความรุนแรงที่ประดังเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ยกตัวอย่างเหตุการณ์ความรุนแรงที่โคราช หรือการระบาดของเชื้อร้าย Covid-19 ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สะท้อนเรื่องสวัสดิภาพที่ถูกคุกคาม รวมถึงการสร้างความตื่นตระหนกเสียขวัญให้แก่ผู้ที่ต้องประสบกับเหตุการณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เว้นแม้แต่คนดังระดับโลกอย่าง Lady GaGa, Shia LaBeouf, Zayn Malik หรือ Mick Jagger ที่ต่างเคยเจอ ‘ความเจ็บปวด’ ที่หยั่งรากฝังใจ ใช้เวลาอีกหลายนานกว่าจะข้ามผ่านมันไปได้ จนเป็นที่มาของคำว่า Post Traumatic Stress Disorder (PTSD) ที่สังคมกำลังพูดถึงกันในขณะนี้ Post Traumatic Stress Disorder คืออะไร? เป็นอาการร้ายแรงมากน้อยแค่ไหน? และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ที่มีอาการดังกล่าวอย่างไร ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ เพราะเรื่องราวเหล่านี้ จัดว่าเป็น ‘ภัยร้าย’ ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด PTSD: ความสะเทือนใจที่มากกว่าความสูญเสีย สภาวะจิตใจเป็นสิ่งที่เปราะบาง เมื่อมีเหตุร้ายแรงเข้ามากระทบกระเทือนอย่างฉับพลัน จะส่งผลให้ผู้ที่ประสบพบเจอกับเหตุการณ์ดังกล่าว มีอาการเครียดมากจนถึงขั้นทุกข์ทรมาน ไม่ว่าจะเป็นผู้รอดชีวิตจากภัยพิบัติต่างๆ, ผู้ประสบเหตุการณ์ก่อจลาจล ทหารผ่านศึก ผู้ที่ถูกทำร้ายทางด้านร่างกายหรือทางเพศ หรือเด็กที่อยู่ในบ้านที่เต็มไปด้วยความรุนแรง เป็นต้น ในอาการเครียด […]Read More
เรื่อง: คาลิล พิศสุวรรณ เป็นในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1845 ขณะที่ Victor Hugo อายุได้ 43 ปี ที่เขาได้เริ่มต้นเขียน Les Miserables หนึ่งในนวนิยายเล่มสำคัญที่จะโด่งดังไปทั่วโลก อย่างที่หลายๆ คนคงจะรู้อยู่แล้ว ว่านวนิยายเล่มนี้คือเรื่องราวการต่อสู้ของประชาชนฝรั่งเศส ต่อการโค่นล้มระบอบการปกครองอันอยุติธรรมที่คอยแต่จะกดขี่ และขูดรีดชีวิตของพวกเขา ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า แม้ Les Miserables จะไม่ได้ฉายภาพการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 โดยตรง หากนวนิยายเรื่องนี้กลับแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่สืบเนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนั้นที่ยังคงสร้างแรงกระเพื่อมต่อการลุกขึ้นสู้ของประชาชนในอีกหลายสิบปีให้หลัง เมื่อหัวใจสำคัญของ Les Miserables คือมวลชน จึงไม่แปลกว่าทำไมเมื่อนวนิยายเรื่องนี้ได้ถูกดัดแปลงเป็นละครเวที บทเพลงที่กลายเป็นที่จดจำ และสร้างมนต์ขลังให้กับละครเวทีเรื่องนี้จึงคือ ‘Do You Hear the People Sing?’ บทเพลงที่สะท้อนให้เห็นถึงเสียงร้องอันกราดเกรี้ยวของมวลชน หากสังเกตที่เนื้อหา Do You Hear the People Sing? คือบทเพลงแห่งความโกรธ การปลดปล่อย และความหวัง […]Read More
เรื่อง: ชัชฎาพร จุ้ยจั่น 2020 เราเดินทางมาถึงปีที่มีตัวเลขความหมายดี เลขคู่อันเป็นมงคล แต่ดูเหมือนว่าตั้งแต่ต้นปีนั้นเกิดเรื่องราวมากมายให้เราหวั่นกลัวว่าจากนี้จะเกิดอะไรอีกหรือไม่? เอาน่ะ… แค่เริ่มดูแลตัวเองและคนรอบข้างให้ดี โดยเฉพาะดูแลหัวใจให้เข้มแข็งก็น่าจะเพียงพอแล้ว วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2020 (หรือปีอธิกสุรทิน 2563) ผู้เขียนนึกถึงวันที่เคยขอผู้ชายแต่งงานแบบทีเล่นทีจริง (แต่ในใจจริงจังมาก!) นั่นเพราะเคยปลิ้มปริ่มกับภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้เรื่อง Leap year (2010) ว่าด้วยเรื่องราวของหญิงสาว ‘แอนนา’ (Amy Adams) ที่หมั้นหมายกับแฟนหนุ่มสุดเพอร์เฟค ‘เจเรมี่’ (Adam Scott) ที่มุ่งมั่นแต่เรื่องธุรกิจและงานสังคม เธอรอให้เขาขอแต่งงานแต่ก็ไม่ได้เอ่ยปากออกมาเสียที แอนนาบังเอิญพบบทความเกี่ยวกับวันที่ 29 กุมภาพันธ์ หรือวัน Leap Day ซึ่ง 4 ปีวันนี้จะมีเพียงครั้งเดียวที่ผู้หญิงสามารถขอผู้ชายแต่งงานได้ในประเทศไอร์แลนด์ … ช่างเป็นเวลาประจวบเหมาะที่คู่หมั้นหนุ่มของเธอต้องเดินทางไปที่นั่นพอดี เธอจึงลงมือแพ็คกระเป๋าออกเดินทางไปยังประเทศไอร์แลนด์เพื่อไปขอชายหนุ่มแต่งงานซะเลย ทว่าการเดินมันไม่ง่ายอย่างที่คิด เจอทั้งพายุ ตกรถไฟ อุปสรรคหลายอย่างทำให้การเดินทางไปถึงเมืองดับลินในไอร์แลนด์ให้ทันวันที่ 29 ค่อนข้างลำบากและดูท่าว่าจะไม่ทันเสียด้วย ระหว่างการเดินทางนั้นทำให้เธอไปพบกับชายหนุ่มแปลกหน้าชื่อ ดีแคลน (Matthew Goode) […]Read More
เรื่อง : ศรัณย์ คุ้งบรรพต จากสถานการณ์โลก ทั้งโรคระบาดไวรัสโคโรนา และ PM 2.5 ที่ถาโถมอยู่ตอนนี้ ผมได้ยิน 1 คำถามที่โดนใจผม และมั่นใจว่าต้องโดนใจใครหลายๆคน “ทำไมไม่ให้พนักงานทำงานจากที่บ้านทั้งๆที่มันวิกฤติขนาดนี้ คนที่มีอำนาจ มัวทำอะไรกันอยู่ ทำไมไม่ตัดสินใจ สั่งการ” เออ นั่นสิครับ น่าคิด น่าหงุดหงิดด้วยซ้ำ…เพราะเอาจริงๆ พนักงานในหลายๆตำแหน่งงาน เช่นกลุ่มที่ไม่ต้องเจอลูกค้า หรือ ไม่มีความจำเป็นต้องผูกตัวติดกับออฟฟิซ ก็น่าจะสามารถ work from home ได้บ้างเมื่อถึงเวลาจำเป็น เวลาคับขันแบบนี้ หรืออย่างน้อยออกมาตรการ วิธีการช่วยเหลือพนักงานและประชาชนทั่วไปด้วยวิธีอื่นๆ ก็ยังดี เช่น บังคับใส่หน้ากาก โดยคนที่รับผิดชอบจัดหาให้ หรือ หาหน้ากากในราคาถูกกว่าแต่ได้มาตรฐานมาให้ ยาวจนไปถึงการสั่งการ แนะนำ หรือ ขอความร่วมมือว่า ให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน โดยจัดกลุ่มว่า ใคร “ต้อง” ทำงานที่บ้าน และ ใคร “ควร” อยู่ในมาตรการไหน สำหรับเรื่อง […]Read More