fbpx

SpaceTech เมื่อเทคโนโลยีอวกาศกำลังก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนไทย

ภาคอวกาศ ภาคพื้นดิน และภาคฐานข้อมูล เมื่อรวมกันก็สามารถเกิดเป็นแรงขับเคลื่อนในเศรษฐกิจอวกาศได้ โดยหลักๆ ‘เอกชัย ภัคดุรงค์’ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส บมจ.ไทยคม พร้อมให้ข้อมูลในด้าน ‘Space Economy Development in Thailand’ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและเห็นภาพ จึงขอเริ่มที่เรื่องระบบนิเวศของกิจการอวกาศกันก่อน

ระบบนิเวศของกิจการอวกาศไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ไกลตัว

ระบบนิเวศของกิจการอวกาศที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมีหลักๆ อยู่ 4 รูปแบบ

B2B ระหว่างภาคธุรกิจกับภาคธุรกิจ

B2C ระหว่างภาคธุรกิจกับผู้บริโภค

Short implementation timespan แบบใช้ระยะการทำงานสั้น

Long implementation timespan แบบใช้ระยะการทำงานยาว

ซึ่งโมเดลที่ทำให้เกิดเป็นธุรกิจอวกาศคือสร้างสิ่งที่อยากจะสร้างกับสร้างสิ่งที่ตอบโจทย์ประชาชน

จากเดิมที่หลายคนรู้จักว่าเทคโนโลยีอวกาศเป็นเพียงแค่การสื่อสารคมนาคมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วมันมีบทบาทมากกว่านั้น ยกตัวอย่าง Space Applications ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

1.Broadband and Broadcast การสื่อสารคมนาคม อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม

2.Remote Sensing ใช้ดาวเทียมถ่ายภาพเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในภาคส่วนต่างๆ ได้ เช่น การเกษตร การประมง เป็นต้น

3.IOT ในภาคพื้นดินวางโครงข่ายและส่งข้อมูลขึ้นไปแทน เช่น ใช้ในการติดตามในการทำเกษตรว่าพื้นที่ตรงนี้แห้งแล้งเกินไปหรือไม่ เป็นต้น

สังเกตุได้ว่า 3 อย่างนี้มุ่งเน้นเรื่องสำคัญหลักเหมือนกันคือ “ข้อมูล (Data)”

สิ่งที่ขับเคลื่อน Space Economy หรือเศรษฐกิจทางอวกาศ

GEO High-throughput satellite & Software-defined payload หรือดาวเทียมแบบค้างฟ้า

มีการพัฒนาขนาดให้ใหญ่ขึ้นเพื่อเข้าถึงประชาชนมากขึ้น รวมถึงสามารถเคลื่อนย้ายดาวเทียมได้พื้นที่ต่างๆ ตามความต้องการ จากเดิมที่เมื่อก่อนดาวเทียมจะตั้งอยู่กับที่เท่านั้น

LEO Constellation หรือโครงข่ายดาวเทียมแบบที่ให้บริการอยู่ทั่วโลก

Reusable Rocket หรือจรวด

ปัจจุบันมีการพัฒนานำจรวดที่ใช้แล้วกลับมาใช้งานใหม่ เพื่อทำให้จรวดราคาถูกลง จากเดิมคือที่ยิงจรวดแล้วจะใช้ครั้งเดียว

Smallsat/ Nanosat หรือดาวเทียมดวงเล็ก

จากการที่ต้องยิงดาวเทียมดวงใหญ่เปลี่ยนเป็นยิงดวงเล็กที่มีราคาถูกลง โดยอาจจะสามารถยิงหลายดวงได้

Smart Ground Equipment หรือดาวเทียมแบบฉลาด

มีการพัฒนาระบบให้ฉลาดขึ้น เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Data Intelligence หรือการวิเคราะห์ข้อมูล

ทำให้ดาวเทียมจับต้องได้ง่ายขึ้น เช่น AI และ Blockchain เป็นต้น

6 สิ่งที่กล่าวไปล้วนเป็นตัวขับเคลื่อนทำให้เกิดเศรษฐกิจอวกาศเกิดการพัฒนาที่มากขึ้น สำหรับประเทศไทย หากเพิ่มในเรื่องของการพัฒนาบุคลากร, นโยบายรัฐบาลต่อเศรษฐกิจอวกาศ และเอกชนกับการลงทุนเพื่อให้เกิดการบริการ รวมถึงการเข้าไปมีบทบาทในเศรษฐกิจอวกาศโลก เพื่อให้เทคโนโลนีอวกาศของประเทศมีการพัฒนามากขึ้น เชื่อว่าจะได้เห็นภาพเทคโนโลยีอวกาศก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทยจะเกิดขึ้นไม่เกิน 1 ทศวรรษนี้แน่นอน

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับเทคโนโลยีเชิงลึก เปิดประตูสู่โลกนวัตกรรมแห่งอนาคต ที่จะมาขับเคลื่อนประเทศไทยในงาน ‘STARTUP X INNOVATION THAILAND EXPO 2021’ ที่รวบรวมนวัตกรรมด้านเทคโนโลยียิ่งใหญ่แห่งปี จัดขึ้นในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual Event) ระหว่างวันที่ 15-18 กันยายน 2564 นี้ ฟรี !! ไม่มีค่าใช้จ่าย

รายละเอียดงานเพิ่มเติมได้ที่ https://site.nia.or.th

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ