fbpx

AgTech ผสานความแข็งแกร่งภาคการเกษตรเข้ากับนวัตกรรม

AgTech AI Consortium Synergy for AgriFuture โครงการที่มีแนวคิดดึงเอาศักยภาพความแข็งแกร่งของภาคการเกษตรอันเป็นที่โดดเด่นของประเทศมายกระดับประยุกต์เข้ากับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อการพัฒนาในหลายๆ ภาคส่วน อาทิ ด้านการเกษตร ด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงด้านบุคลากรโดยเฉพาะบุคลากรรุ่นใหม่

ก่อนที่เราจะกล่าวถึง AgTech เทรนด์ที่น่าสนใจมากสำหรับประเทศเรา มาทำความรู้จักกันสักหน่อยว่า AgTech หรือ Agriculture Technology นั้นคืออะไร?

คำตอบคือเป็นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการพัฒนาคุณภาพการเกษตร ทั้งในด้านการสร้างผลผลิต การอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร หาแนวทางการทำการเกษตรที่เหมาะสม แม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูงสุด

การรวมพลังผู้เชี่ยวชาญทุกฝ่ายผลักดันกลุ่มคนรุ่นใหม่เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเกษตร

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติหรือ NIA ร่วมกับ SCG WEDO และเครือข่ายมหาวิทยาลัยนำร่อง ในปีนี้มี 3 มหาวิทยาลัยได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรานารี ร่วมมือกันบ่มเพาะเสริมพลังให้กับเหล่าบุคลากรรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนิสิต นักศึกษาที่มีความรู้ ความสนใจในด้านการเกษตร ด้านนวัตกรรม และด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย

โดยมุ่งเน้นความสำคัญแบบ 3+2

3 สิ่งแรก ประกอบด้วย

1.AI หรือปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีสำคัญ กล่าวคือหากประเทศไหนรู้จักใช้งานอย่างถูกต้องจะถือว่าได้เปรียบ

2.เยาวชนแห่งอนาคต ในที่นี้หมายถึงนิสิต นักศึกษา หรือบุคลากรยุคใหม่ที่สามารถเข้าใจเรื่องของเทคโนโลยี

3.เกษตรกร แม้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำเพียงใด ภาคการเกษตรก็ยังถือเป็นกระดูกสันหลังของประเทศ

ต่อยอดไปที่การบวก 2 สู่เทคโนโลยีเชิงลึก ได้แก่ ทำอย่างไรที่จะมีความพร้อมและทำได้ดีกว่าคู่แข่ง และทำอย่างไรเราจะสามารถสร้างฐานการผลิตที่เป็นเทคโนโลยีเชิงลึก

AgTech AI Consortium Synergy for AgriFuture พร้อมอยู่เบื้องหลัง

เมื่อเทรนด์ AgTech กลายเป็นที่สนใจไปทั่วโลก จึงเป็นเวลาเหมาะสมที่สุดแล้วในการเริ่มนำร่องกับกลุ่มเยาวชนอย่างนิสิต นักศึกษา รวมถึงการเกษตรที่เป็นพื้นฐานของประเทศเรามานานแล้ว

Ecosystems ที่ดีต่อการเรียนรู้และพัฒนาของบุคลากรรุ่นใหม่เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ทาง NIA ได้เล็งเห็นและปูทางให้กับเหล่าเยาวชนมาประมาณหนึ่งแล้ว ณ ตอนนี้จึงขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆพัฒนาเพื่อเสริมแรงในการผลักดันให้โครงการฯ เหล่านี้ต่อเนื่องไปในอนาคตอย่างเข้มแข็ง

1 ปีที่ผ่านมาสนามนี้กลายเป็นสถานที่ให้เหล่าเยาวชนได้แสดงศักยภาพของตนเอง พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนกับบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางอีกด้วย

หากทุกคนเล็งเห็นความสำคัญของ AgTech หยุดการที่ทำให้ประเทศเป็นเพียงแค่แหล่งที่ซื้อมาขายไปนวัตกรรมและเทคโนโลยี

เนื่องจากในวันที่เราอายุมากขึ้น ประชากรเกิดใหม่น้อยลงเรื่อยๆ เวลานั้นเราไม่สามารถเป็นฐานการผลิตให้แก่ใครในลักษณะที่ใช้แรงงานได้อีกต่อไป ภาคการเกษตรมีความสำคัญอย่างมาก หากมนุษย์ยังคงต้องการอาหาร และทุกอย่างมีผลต่อภาคการเกษตรแน่นอน ไม่ว่าเราจะอยู่ตรงฝ่ายไหนก็ตาม รวมถึงภาคเอกชนควรตระหนักถึงจุดนี้ หากในอนาคต เกิดภาคอุตสาหกรรมใหม่ เราพร้อมจริงๆ หรือไม่ หากจะเป็นฐานการผลิต” อภิรัตน์ หวานชะเอม SCG WEDO กล่าว

แนวทางในอนาคตสำหรับเยาวชนสาย AgTech

ไม่ใช่แค่เพียงมีสนามให้แสดงผลงานแล้วจบไป แต่ความท้าทายของเหล่าทีมทำงานคือ ทำอย่างไรต่อจากนั้นต่างหาก กล่าวคือต้องพัฒนาต่อยอดโครงการของเหล่าเยาวชนรุ่นใหม่ หรือหากนิสิต นักศึกษาคนใดสนใจด้าน AgTech มีแรงบันดาล แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เล็งเห็นปัญหาที่อยากจะแก้ไข หรือไอเดีย ให้ลองนำตัวเองเข้ามาอยู่ใน Ecosystems ของทางโครงการฯ เพื่อที่จะได้สำรวจตัวเองว่าพร้อมแค่ไหนที่จะก้าวไปต่อในด้านนี้

เพราะฉะนั้นหากทุกฝ่ายร่วมมือกันสนับสนุนเยาวชนให้กลายเป็นบุคลากรด้านนวัตกรรมการเกษตรได้ ภาพที่เราจะได้เห็นในอนาคตอาจจะเป็นความคิดสร้าง นวัตกรรม เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ และศักยภาพที่ติดแบรนด์ไทยไปบริการคนทั่วโลกได้เช่นกัน

ความพอดีของ AgTech กับบุคลากรรุ่นใหม่ในประเทศ

ด้วยความที่เป็นประเทศแห่งเกษตรกรรม ความได้เปรียบยิ่งมีมาก และจากการเข้าร่วมโครงการก็ทำให้เห็นศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของเหล่าเยาวชนมากขึ้น ความพอดีจึงเกิดขึ้น หากในอนาคตยังคงสนับสนุนเหล่าคนรุ่นใหม่ในด้าน AgTech ต่อไป เกิดการนำนวัตกรรมมาใช้ภาคเกษตรมากขึ้น เชื่อว่าในอนาคต AgTech ในประเทศต้องพอดีกว่านี้แน่นอน

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับเทคโนโลยีเชิงลึก เปิดประตูสู่โลกนวัตกรรมแห่งอนาคต ที่จะมาขับเคลื่อนประเทศไทยในงาน ‘STARTUP X INNOVATION THAILAND EXPO 2021’ ที่รวบรวมนวัตกรรมด้านเทคโนโลยียิ่งใหญ่แห่งปี จัดขึ้นในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual Event) ระหว่างวันที่ 15-18 กันยายน 2564 นี้ ฟรี !! ไม่มีค่าใช้จ่าย

รายละเอียดงานเพิ่มเติมได้ที่ https://site.nia.or.th

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ