‘ซูโม่: พลังช้างสาร และอัตลักษณ์แห่งความแข็งแกร่งแดนอาทิตย์อุทัย’

สยามพารากอน โกลบอลเดสติเนชั่น และเป็นเวทีระดับโลกที่นำเสนอสุดยอดประสบการณ์ระดับเวิลด์คลาสเหนือความคาดหมาย ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, ซูโม่ เอ็กซ์พีเรียนซ์ สำนักสืบทอดและเผยแพร่วัฒนธรรมซูโม่จากญี่ปุ่น และ เจแปน แอร์ไลน์สายการบินแห่งชาติญี่ปุ่น ร่วมฉลองครบรอบ 136 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตอันแน่นแฟ้นระหว่างไทยและญี่ปุ่น และครบรอบ 50 ปี มิตรภาพ อาเซียน – ญี่ปุ่น ชวนสัมผัสจิตวิญญาณอันทรงพลังของซูโม่ กีฬาประจำชาติญี่ปุ่นที่สืบทอดมายาวนานกว่า 2,000 ปี ในงาน “Siam Paragon The Wondrous Japan Heritage” พบการแสดงแข่งขันซูโม่ส่งตรงจากแดนอาทิตย์อุทัย ครั้งแรกในประเทศไทย และกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมญี่ปุ่น อาหาร และท่องเที่ยว โดยเปิดให้ชมฟรี ตั้งแต่วันนี้ ถึง 9 กรกฎาคม 2566 ณ พาร์ค พารากอน สยามพารากอน โดยได้รับเกียรติจากนายโอบะ ยูอิจิ อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และ นางมยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายองค์กรสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด พร้อมด้วยผู้สนับสนุนการจัดงาน ร่วมเปิดงาน

สำหรับไฮไลท์ของงาน พบกับการแสดงการแข่งขันซูโม่ครั้งแรกในประเทศไทยโดยอดีตนักกีฬาซูโม่มืออาชีพ ระดับ “โคมุสุบิ” (Komusubi) ผู้รั้งลำดับขั้นที่ 4 จาก 10 ซึ่งถือเป็นลำดับขั้นสูงที่เรียกว่า “มาคูอูจิ” (Makuuchi) ได้แก่ โจโคริว (Jokoryu) และนักกีฬาระดับ “มาคุชิตะ” (Makushita) ได้แก่ บุงโกะนิชิกิ (BUNGO NISHIKI), คุมะโก (Kumago) และ โคโตะโอโทริ (Kotootori) ซึ่งนักซูโม่นับเป็นทูตวัฒนธรรมคนสำคัญ ผู้ร่วมเผยแพร่จิตวิญญาณแห่งกีฬาประจำชาติที่เก่าแก่ที่สุดและยังคงได้รับความนิยมอย่างมากจวบจนปัจจุบัน

ซูโม่ เป็นศิลปะการป้องกันตัวที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า 2000 ปี และเป็นกีฬาประจำชาติที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น ที่ยังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน เดิมจัดขึ้นเพื่อประกอบพิธีกรรมบวงสรวงเทพเจ้า จนในสมัย เอโดะ จึงเริ่มมีการจัดแข่งขันซูโม่ขึ้น ปัจจุบันมีการจัดแข่งขันซูโม่กว่า 6 ทัวร์นาเมนต์ต่อปี ในโตเกียว, โอซาก้า, นาโกย่า และฟุกุโอกะ โดยแต่ละทัวร์นาเมนท์จะกินเวลา 15 วัน
กติกาการแข่งขันซูโม่คือ นักกีฬาซูโม่สองคนทำการต่อสู้ภายในสังเวียนวงกลม โดยใช้เทคนิคการต่อสู้ต่างๆในการเอาช้นมะเปนะคู่ต่อสู้ด้วยการทำให้อีกฝ่ายหลุดออกจากสังเวียน หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายแตะพื้น นอกจากฝ่าเท้า สังเวียนในการแข่งขันยกพื้นสูงทำจากดิน ล้อมด้วยฟางข้าววงกลมเรียกว่า โดเฮียว (dohyo)

ซูโม่จะมีลำดับขั้นที่เรียกว่า Banzuke ซึ่งประกอบด้วยทั้งหมด 10 ลำดับ ไล่เรียงจากลำดับขั้นสูงสุดคือ Yokozuna, Ozeki, Sekiwake, Komusubi, Maegashira ซึ่งจัดอยู่ในหมวดระดับสูง หรือ มาคูอูจิ (Makuuchi) ถัดลงไปจะเป็น Juryo, Makushita, Sandame, Jonidan และ Jonokuchi ตามลำดับ

โดยก่อนการแข่งขัน จะมีพิธีกรรมต่างๆ อาทิ การโรยเกลือลงบนสนามแข่งเพื่อกำจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และจะกระทืบเท้าและแยกขาออกจากกันเพื่อเตรียมการต่อสู้ โดยนักซูโม่จะไว้ผมมวยตามแบบดั้งเดิมตามลำดับขั้น และแต่งกายด้วยผ้าเตี่ยวตามแบบโบราณที่เรียกว่ามาวาชิ (Mawashi) และก่อนการแข่งขันยังมีการสวมผ้าไหมยาวระดับเข่า ประดับประดาสวยงาม ที่เรียกว่า เคโซมาวาชิ ( Keshou Mawashi) ซึ่งมีน้ำหนักถึงกว่า 10 กิโลกรัมทีเดียวการเป็นนักกีฬาซูโม่ คือวิถีชีวิตแบบเฉพาะ ที่ต้องอาศัยการอุทิศตน การฝึกซ้อมอย่างคร่ำเคร่งและการปฏิบัติตามวินัยอย่างเคร่งครัด ถือเป็นอาชีพอันทรงเกียรติอย่างยิ่ง

ภายในงาน “Siam Paragon The Wondrous Japan Heritage” เหล่าอดีตนักซูโม่ ได้ทำการสาธิตสำคัญๆ อันเป็นหัวใจของกีฬาเก่าแก่ชนิดนี้ เริ่มจากกลุ่มท่าสำหรับซ้อม ได้แก่ ท่า “ชิโกะ” หรือการยกขาสูงเพื่อย่ำเท้าอย่าง น่าเกรงขาม เป็นท่าเริ่มฝึกซ้อมเปรียบเหมือนการวอร์มร่างกาย เพื่อสร้างพละกำลังให้ช่วงขาและสะโพก รวมถึงสร้างความสมดุลร่างกาย ซึ่งต้องฝึกฝนถึง 300 ครั้งก่อนเริ่มซ้อม และอีก 100 ครั้งก่อนเสร็จสิ้นการซ้อมในวันนั้นๆ ถัดไปคือท่า “ซุริอาชิ” คือการเดินย่างเข้าไปปะทะคู่ต่อสู้ เริ่มจากการย่อตัวเพื่อให้ศูนย์ถ่วงของร่างกายอยู่ต่ำ แล้วขยับตัวไปข้างหน้าโดยไม่ให้ฝ่าเท้ายกออกจากพื้น ต่อด้วยท่า “มาตะวาริ” หรือท่าแยกขาจนสุด โดยจะมีเพื่อนซูโม่ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมนั่งทับจากด้านหลัง เพื่อฝึกความยืดหยุ่น ถัดมาคือช่วงการซ้อมปะทะ ซึ่งถือเป็นไฮไลท์ของการซ้อม ทั้งการรุกและตั้งรับ ซึ่งใช้พละกำลังอย่างมาก เป็นการฝึกทั้งความแข็งแกร่งของร่างกายและความเข้มแข็งทางจิตใจ

จากนั้นจะเป็นการสาธิตกระบวนท่าแข่งขัน ซึ่งจะมีกระบวนท่าเอาชนะทั้งหมด 28 ท่า โดยได้ทำการสาธิตทั้งหมด 3 ท่าสำคัญ ได้แก่ท่า “โอชิดาชิ” คือการผลักคู่ต่อสู้ออกนอกโดเฮียว (สังเวียนรูปวงกลม) โดยไม่จับบริเวณมาวาชิ (กางเกงของซูโม่), ท่า “โยริคิริ” คือการดันคู่ต่อสู้ออกนอกโดะเฮียวโดยจับตรงมาวาชิเอาไว้ ส่วนท่าสุดท้ายที่คือ “อุวาเตะนาเกะ” คือจับกางเกงมาวาชิของอีกฝ่ายเฉพาะด้านนอก แล้วทุ่มอีกฝ่ายลงให้ได้

ภายในงานยังจัดให้มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมญี่ปุ่น ท่ามกลางบรรยากาศเทศกาลฉลองฤดูร้อนในแบบฉบับญี่ปุ่น ได้แก่ การแสดงกลองไทโกะ อันเร้าใจ และ ระบำโยสะโคอิ (Yosakoi) สีสันแห่งเทศกาลต้อนรับสู่ฤดูร้อนโดยสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น รวมถึง ระบำพัดญี่ปุ่น โดยJapanese Dancing Mai(เจแปนนีส แดนซ์ซิ่ง ไม)นอกจากนี้ ยังสามารถร่วมกิจกรรมเวิร์คชอปต่างๆ ได้แก่ ศิลปะการพับกระดาษแบบโอริกามิ และฝึกสมาธิผ่านการปั้นตุ๊กตาดารุมะ พร้อมเอาใจคนรักการท่องเที่ยว ด้วยโปรโมชั่นทริปท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “Trip To Japan” หลากหลายจาก Japan Airlines ให้เลือกปักหมุด นอกจากนี้ยังมี gashapon art toy คอลเลคชั่นสุดเอ็กซ์คลูซีฟที่รังสรรค์ขึ้นสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ จากฝีมือกลุ่มศิลปินไทยรุ่นใหม่ SalaArte (ศาลาอันเต) กับ กาชาปองแฮนด์เมดคอลเลคชั่นซูโม่ และ คอลเลคชั่น Shonen (โชเน็ง หรือ การ์ตูนญี่ปุ่นที่มีวัยรุ่นชายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก) ผสมผสานจินตนาการและแรงบันดาลใจจาก ทั้งวัฒนธรรมญี่ปุ่นและไทย อีกทั้งเพลิดเพลินกับอาหารและขนมญี่ปุ่นมากมาย

ร่วมสัมผัสมิติความงดงามของศิลปวัฒนธรรมแห่งแดนอาทิตย์อุทัย ได้ที่งาน “Siam Paragon The Wondrous Japan Heritage” ตั้งแต่วันนี้ ถึง 9 กรกฏาคม 2566 ณ พาร์ค พารากอน สยามพารากอน โดยเปิดให้เข้าชมฟรีตลอดวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 – 20.30 น. สำหรับผู้สนใจชมการแสดงซูโม่, การแสดงกลอง ไทโกะ, การเต้นรำโยสะโคอิ และระบำพัดญี่ปุ่น สามารถเข้าชมแบบ walk-in (ที่นั่งมีจำนวนจำกัด) โดยจะจัดแสดงวันละ 2 รอบ รอบละ 90 นาที ได้แก่ 14.00 น. และ 17.00 น. และสามารถเข้าร่วมเวิร์คชอปต่างๆได้ เพียงช้อปภายในงานครบ 500 บาท (ต่อ 1 สิทธิ์) ได้แก่ เวิร์คชอปพับกระดาษโอริกามิ ได้ในเวลา 13.00 -14.00 น. และ เวิร์คชอปปั้นตุ๊กตาดารุมะในเวลา 16.00 -17.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.02-610-8000 หรือติดตาม Facebook: Siam Paragon
