นักวิทยาศาสตร์ตะลึง เมื่อพบความแตกต่างของฝาแฝดที่คนหนึ่งถูกส่งไปอยู่บนอวกาศนานเกือบปี
เทโลเมียร์ (Telomeres) หรือดีเอ็นเอที่อยู่ส่วนปลายสุดของโครโมโซมทั้ง 32 คู่ ของสกอตต์นั้นยาวขึ้น ทั้งที่โดยปกติแล้วเทโลเมียร์ที่ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันที่ปลายโครโมโซมจะสั้นลงตามอายุขัยของมนุษย์
Reason to Read
- เทโลเมียร์ (Telomeres) หรือดีเอ็นเอที่อยู่ส่วนปลายสุดของโครโมโซมทั้ง 32 คู่ ของสกอตต์นั้นยาวขึ้น ทั้งที่โดยปกติแล้วเทโลเมียร์ที่ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันที่ปลายโครโมโซมจะสั้นลงตามอายุขัยของมนุษย์
- นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาความยาวของเทโลเมียร์เพื่อลดความชราและเอาชนะโรคมะเร็ง
การศึกษาของนาซาที่เปรียบเทียบฝาแฝดคู่หนึ่ง โดยที่คนหนึ่งได้สำเร็จภารกิจที่ยาวนานเกือบหนึ่งปีในอวกาศ และอีกคนใช้เวลาช่วงนั้นอยู่บนโลก พบว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับร่างกายมนุษย์ในอวกาศนั้นไม่ถาวร
สกอตต์ เคลลี (Scott Kelly) ผู้ซึ่งอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ระหว่างปี 2558 ถึง 2559 ได้พบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและพันธุกรรมมากมายที่ไม่พบใน มาร์ก เคลลี (Mark Kelly) ฝาแฝดและเพื่อนนักบินอวกาศผู้ซึ่งอยู่บนพื้นโลก
แต่เมื่อสกอตต์กลับสู่พื้นโลก ร่างของเขาก็ค่อยๆ กลับมาเป็นปกติ แต่ผลกระทบเชิงลบบางอย่างจากภารกิจยังคงมีอยู่ ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับนักวิทยาศาสตร์ เมื่อพวกเขาสำรวจการบินอวกาศที่ยาวนานขึ้น เช่น การเดินทางไปยังดาวอังคาร
สตีเวน แพลตต์ (Steven Platts) รองหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการวิจัยมนุษย์ของนาซ่าเป็นผู้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในงานแถลงข่าวของนาซาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับการค้นพบครั้งนี้
นาซาค้นพบว่า เทโลเมียร์ (Telomeres) หรือดีเอ็นเอที่อยู่ส่วนปลายสุดของโครโมโซมทั้ง 32 คู่ ของสกอตต์นั้นยาวขึ้น ทั้งที่โดยปกติแล้วเทโลเมียร์ที่ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันที่ปลายโครโมโซมจะสั้นลงตามอายุของมนุษย์ ซึ่งการค้นพบนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในโครงการวิจัยมนุษย์ของนาซาต้องตกตะลึง
และขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาความยาวของเทโลเมียร์เพื่อลดความชราและเอาชนะโรคมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่าทำไมเทโลเมียร์ของสกอตต์จึงยาวขึ้นและมีความสนใจในการค้นหาว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น
ที่น่าแปลกใจก็คือหลังจากสกอตต์กลับมายังโลก เทโลเมียร์ของเขาก็เริ่มหดตัวและสั้นกว่าที่เมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่เขาจะเริ่มภารกิจ ซึ่งเทโลเทียร์ที่สั้นลงนั้นเชื่อมโยงกับอายุและโรคภัยไข้เจ็บ
ซูซาน ไบลีย์ (Susan Bailey) หนึ่งในผู้ร่วมการศึกษา กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่มีการวัดความยาวของเทโลเมียร์ในนักบินอวกาศ
ด้านการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจก็เกิดขึ้นกับสกอตต์เช่นกัน ช่วงเวลาหนึ่งปีในอวกาศทำให้สกอตต์สายตายาวมากขึ้น เนื่องจากหลอดเลือดแดงแคโรทีดและม่านตาของเขาหนาขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติในระหว่างการบินอวกาศ
สกอตต์อธิบายเพิ่มเติมว่า ขาของเขาบวมเหมือนแตงโมทุกครั้งที่เขาลุกขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้และการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเหล่านี้กลับสู่ระดับที่มั่นคงหรือระดับพื้นฐานหลังจากที่เขาลงสู่พื้นโลก ถึงแม้ว่าความเสียหายบางอย่างของดีเอ็นเอและการเคลื่อนไหวของเซลล์ที (T-cell) ในระบบภูมิคุ้มกันยังคงมีอยู่ รวมถึงความสามารถทางปัญญาของสกอตต์ก็ลดลงหลังจากผ่านไปหนึ่งปีในอวกาศ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยังคงมีอยู่แม้กระทั่งหกเดือนหลังจากการกลับสู่พื้นโลก
สกอตต์เคยป่วยด้วยไข้หวัดช่วงหนึ่งขณะอยู่ในอวกาศ และร่างกายของเขาตอบสนองเช่นเดียวกับตอนอยู่บนโลก ซึ่งเป็นหลักฐานว่าระบบภูมิคุ้มกันไม่ได้รับผลกระทบระหว่างการบินอวกาศ
นักวิทยาศาสตร์คิดว่าการศึกษานี้ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับวิธีที่ร่างกายมนุษย์สามารถปรับตัวและฟื้นตัวจากการเดินทางในอวกาศได้อย่างน่าทึ่ง การวิจัยยังช่วยให้เราเข้าใจว่าร่างกายมนุษย์ตอบสนองต่อแรงกดดันอื่นๆ เช่น โรคภัย ได้อย่างไร