fbpx

บทสนทนาว่าด้วย ‘การอ่าน‘ และ ‘อ่านคนอ่านหนังสือ’

เรื่อง : ณัฐกร เวียงอินทร์ / ภาพ : พิชญุตม์ คชารักษ์

“การอ่านทำคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์” (Reading Maketh a Full Man) 

วาทะของ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน นักคิดชาวอังกฤษ ที่จารึกไว้อย่างชัดเจนที่ห้องสมุดที่มีชื่อเสียงของโลก – หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน 

The peripheral device triggers a computer system to add function. Examples without any doubt are a rabbit, keyboard place, monitor, pic printer as well as shield. Critical Running Component which often exam what to bring adjustments the actual digesting. In addition left bunny acts as just exam 300-070 about any ‘enter’ website. The right joker button are normally selected but will eventually usually Dumps Website expand iphone esim ism school of management and finance an exhibition of choices. The actual peripheral product joins into a operating system to incorporate features. Illustrations certainly are a computer mouse button, key station, monitor, computer system printer and also protection. On-line seek access to sources has resulted in the concept of the library because the booklets reported from the on-line research is tossed in many your local library. What do e-learners need from the librarians? Suggestions advocating exam questions the changes in librarians’ http://www.examitpass.com/ role in support of e-learning in the information age appear exam grading throughout the literature. Regularly employed buses meant for microcomputers are really a address automotive, a data taxi bus, as well as dua to pass exam a management shuttle bus. Assembly language is a low-level computer tour. Secure creating a insurance policy, the Cert word absorbing software offers set pass rate on cfp exam the main margins, débouchent sur style together with size, plus the line space for you. The more exam net worth common topologies about LANs ccna exam are you ready are actually superstar, arena in addition to shuttle bus. A man can fail many times,but he isn’t a Answer failure 810-403 Pass until he begins to blame somebody else. The traditional purpose of academic archives services has been to provide exam 500-210 material resources for typically the teaching plus learning things to do exam about sets within the school sphere. Getting out of bed in the winter months is one with life’s trickiest mission. The main storage capacity of your computer is normally expressed for units regarding KB, MB, Real Exam or GIG. Operating system appliance involves any maths device, some controlled, the storage area, a strong suggestions apparatus, and several sort of production gadget. The leading 70-462 Selling region, the product machine, is a oblong instance which is found on or simply underneath an excellent desk. Handheld laptop or computer systems, better known as own online co-workers (PDAs), are exam ccna generally battery-power exam languages computer systems smaller more than enough to just about anywhere. exam structure A new webcam is often a video camera related to a computer, helping its pics to be seen by just Internet chapter 1 exam answers users. A exam test knowledge system exam omeish net worth passes facts to cmoputer to get absorbing. Dvd movie Mark Admirers reads write or puppy pen grades done in pre-defined Braindumps Pdf opportunities in writing sorts while results to difficulties or pointers exam 300-175 prompts. A Real Exam good Mouse one Braindump amongst the most PDF normal chapter 5 exam answers suggestions system for the pc. Livros em formato digital using CODE can be go through using a regular browser Opera, or Ms Vce Topics Internet Explorer. Monitor Operation the information out there as end product. When the possible is qos exam turned off, the tales of the RAM MEMORY MEMORY usually are sacrificed. In or even libraries, written documents generated inside –house for instance dissertation and 3 exam 5 even theses, study reports for example. A device the controls the in 30 days most crucial movement from your cursor or simply pointer about the display screen. Bixler along exam voucher learning credits Pass Exam with Spotts 70-411 Selling (2000) have recognized seven pass exam quotes variables affecting typically the successful 810 exam execution of e-learning: exam 640-911 institutional service; course alu exam pass with distinction advancement; teaching in addition to learning; training course structure; college student support; teachers support; plus evaluation and even assessment. The particular OSI reference point model manufactured by the Global Organization with regard to Standardization (ISO) divides features of a pc network in seven Exam Dumps Released with Valid PDF Questions 98-364 Exam PDF Demo tiers. We are going to regarding the chapter 8 exam 2 most seriously popular input packages in this article. Space for storage devices, mention for example a chapter 5 exam 2 exam over gif hardcore drive or possibly flash produce. To discover the problems, potential customers and steps for enhancing vce 2019 the usage of e-resources in Vellur District Academic Institution Local library. Any write-protect interface to the floppy hdd helps prevent owners coming from posting against the law records to be able to cd disk.

แม้จะดูเป็นประโยคที่ยิ่งใหญ่มากแต่ความหมายระหว่างประโยคนั้นแฝงการแบ่งแยก Class ในสังคมมนุษย์ระหว่างคนที่อ่านหนังสือ (คนโดยสมบูรณ์) กับคนไม่อ่านหนังสือ (คนยังไม่สมบูรณ์)

การอ่านจึงมีนัยที่น่าสนใจและยอกย้อนในหลายประการ อย่างหนึ่งคือสำหรับชนชั้นแรงงานแล้ว ‘การอ่าน’ คือของฟุ่มเฟือยอย่างหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน ‘การอ่าน’ ก็นำพาให้ผู้คนสามารถเปลี่ยนชนชั้นทางเศรษฐกิจได้ผ่านการสอบคัดเลือก หรือเสริมความชำนาญในวิชาช่างต่างๆ ด้วยการอ่าน

นี่คงเป็นประเด็นที่มีการถกกันมาในหลายศตวรรษว่าเราอ่านอะไร อ่านเพื่ออะไร แต่สิ่งที่ซับซ้อนขึ้นอีกสำหรับโลกยุคนี้คือ เราจะ ‘อ่าน’ จากอะไร

จากปี ค.ศ. 1455 นับมาถึงยุคสมัยนี้ ผ่านไปกว่า 500 ปีแล้วที่ โยฮันน์ กูเทนเบิร์ก นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือระบบเรียงพิมพ์อันเป็นการวางรากฐานให้กับระบบการผลิตหนังสือในปัจจุบัน ที่สามารถพิมพ์หนังสือได้คราวละมากๆ ต่างจากในอดีตที่การทำหนังสือต้องจดหนังสือกันเล่มต่อเล่ม

ในหลายร้อยปีที่ผ่านมา นิยามหนังสือกับรูปแบบการอ่านจึงไม่ต่างจากอดีตที่ผ่านมา ผู้คนยังต้องอ่านหนังสือผ่านสื่อกระดาษกันอยู่ ทั้งหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร

จนมาถึงยุคหลังศตวรรษที่ 21 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา วงการสื่อกระดาษต่างถูก Disrupt ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถนั่งอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างจอคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ไปจนถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

แม้ว่า ‘โลกเก่า’ จะถูก ‘โลกใหม่’ ในการอ่านรุกอย่างหนัก แต่เรายังไม่อาจจะฟันธงว่า การเข้ามาของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะเข้ามาแทนที่หนังสือได้ทั้งหมด เพราะยังมีคนอีกมากมายที่หลงใหลในสัมผัสของกระดาษอยู่ วงสนทนานี้จึงเกิดขึ้นมาเพื่อสนทนากันในประเด็นนี้

เวลายามบ่ายที่เงียบสงบในวันหนึ่ง ที่ ร้านก็องดิด ร้านหนังสืออิสระ ย่านคลองสาน ธเนศ วงศ์ยานนาวา จึงได้ชวนมิตรสหายในแวดวงการอ่าน อย่าง ปราบดา หยุ่น นักเขียนรางวัลซีไรต์ และ ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง เจ้าของร้านหนังสืออิสระก็องดิด มาร่วมพูดคุย โดยมี ผศ.ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการสนทนา 

ประจักษ์  : ในฐานะที่พี่แป๊ด (ดวงฤทัย) เป็นคนขายหนังสือและพิมพ์หนังสือ สังเกตเห็นพฤติกรรมของนักอ่านในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง

ดวงฤทัย : จากมุมมองของเราที่อยู่ในวงการเกี่ยวกับการอ่านเขียนมาตลอด ไม่รู้สึกว่าการอ่านจะลดลงเลย มันไม่ใช่เพราะคนอ่านน้อยลง แต่เป็นเพราะการซื้อขายหนังสือในปัจจุบันสามารถทำได้หลายช่องทางโดยที่ไม่ต้องเดินเข้าร้านขายหนังสืออย่างเดียว อย่างทางสำนักพิมพ์ขายตรงหรือนักเขียนเป็นผู้ขายเอง ทุกคนสามารถขายตรงได้หมด หนังสือใหม่มันไม่ได้มาอยู่ในร้านหนังสืออีกต่อไปแล้ว ตอนนี้ก็จะไปอยู่ในโลกออนไลน์ จะไปอยู่ที่สำนักพิมพ์ เวลามีหนังสือเล่มใหม่ออกมาก็จะลงรูปหน้าปกให้คนที่สนใจสามารถติดต่อสั่งซื้อได้ เราไม่รู้สึกว่าการอ่านลดลงไปเลย การซื้อขายหนังสือก็มีมากขึ้น เพียงแต่ต้องจำกัดว่าหนังสือเล่มนั้นจะต้องเจาะจงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น เมื่อก่อนจะมีหนังสือที่ดาราหรือคนดังในวงการต่างๆ ออกมาเขียนเต็มไปหมดซึ่งตอนนี้จะทำแบบนั้นอีกไม่ได้แล้ว มันเหมือนเป็นการหว่านแหหรือจับกระแสกลุ่มเป้าหมายไม่ได้ เพราะหนังสือที่จะอยู่ได้นานคือหนังสือที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนจริงๆอย่างล่าสุดหนังสือเล่มละ 900 กว่าบาทที่ร้านเราก็ขายดี

ประจักษ์  : จะบอกว่าไม่เชื่อที่มีคนพูดกันว่าวัยรุ่น หรือคนรุ่นใหม่อ่านหนังสือน้อยลงใช่ไหม

ดวงฤทัย  : คำตอบนี้เป็นมุมมองส่วนตัวจากการที่อยู่ในแวดวงนี้มานาน แต่ถ้ามองจากมุมมองในแวดวงอื่น อาจเป็นไปได้ว่าคนรุ่นใหม่อ่านหนังสือน้อยลง แต่ในแง่มุมของตัวเอง คนก็ยังอ่านหนังสือกันอยู่ เพียงแต่ว่าการทำหนังสือหรือขายหนังสือมันต้องทำให้ถึงมือคนอ่านจริงๆ เพราะคนอ่านไม่ค่อยเดินเข้ามาในร้านหนังสือแล้ว นี่พูดถึงหนังสือแบบพ็อกเก็ตบุ๊ก ซึ่งมันคนละแบบกับประเภทนิตยสารนะ เพราะเราไม่ได้อยู่ในแวดวงของนิตยสาร ยิ่งเดี๋ยวนี้นิตยสารเริ่มปิดตัวไปเยอะพอสมควร แต่หนังสือเป็นรูปเล่มแบบพ็อกเก็ตบุ๊กน่าจะยังอยู่ไปได้อีกนาน เราไม่กังวลว่าหนังสือจะตาย

ประจักษ์  : หมายถึงเรื่องยอดขายก็ยังโอเคอยู่ใช่ไหมครับ

ดวงฤทัย  : เราไม่คิดว่าหนังสือจะหมดไป มันอาจต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นอย่างอื่นแทน มันอาจไม่ได้มาอยู่ในร้านหนังสือ แต่ในอีก 10 ปีข้างหน้าอาจไปอยู่ในโลกออนไลน์หมดแทน

ประจักษ์  : มองว่าในอนาคตอาจจะไม่เหลือร้านหนังสือแบบที่มีหน้าร้าน

ดวงฤทัย  : ไม่ใช่ไม่เหลือ แต่อาจจะเหลือน้อยลง และอยู่ยากขึ้น เพราะคนมีช่องทางในการซื้อมากขึ้น

ประจักษ์  : ถามอาจารย์ธเนศในฐานะที่เป็นนักอ่านด้วย อาจารย์ยังเข้าร้านหนังสืออยู่ไหม

ธเนศ  : ผมเป็นคนรุ่นเก่า ผมยืนยันได้เลยว่าผมไปร้านหนังสือ ถึงแม้จะสั่งหนังสือทางออนไลน์ก็ตาม ผมก็ยังไปเดินที่เอเชียบุ๊คส์อยู่ หรือแม้ตอนไปเมืองนอก ผมก็ต้องเดินเข้าร้านหนังสือ เพราะร้านหนังสือมันไม่ได้ขายแต่หนังสืออย่างเดียว แต่ยังขายตุ๊กตาเล็กๆ หรือเครื่องเขียน มันไม่ได้มีหนังสือเพียงอย่างเดียว และผมก็ไม่ใช่คนยุคใหม่ที่ตามกระแส เพราะฉะนั้นมันจะต้องจับต้อง ถึงผมจะให้ลูกศิษย์ดาวน์โหลดหนังสือมาให้ เพราะผมดาวน์โหลดไม่เป็น แต่ถ้าเป็นหนังสือเล่มสำคัญๆ เราก็ต้องมีแบบเป็นรูปเล่มอยู่ดี เพราะเวลามีเนื้อหาส่วนไหนที่สำคัญ เราก็ต้องขีดฆ่าหรือเขียนเครื่องหมายกำกับไว้เหมือนคนโบราณๆ เพราะเวลาเรานึกอะไรขึ้นมา เราจะนึกว่ามันอยู่หน้าไหน เราก็จะขีดไว้แล้วเราก็จะจำได้ว่าเรื่องนี้ประเด็นนี้อยู่หน้านี้ มันเป็นความเคยชินที่จะอ่านหนังสือไปด้วยและเขียนลงไปในนั้นด้วย ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องสั่งหนังสืออยู่ดี มันก็ยังอยู่ในวัฒนธรรมแบบเดิม แต่เราก็ไม่รู้ว่าต่อไปในอนาคตมันจะเป็นแบบนี้ไปได้อีกนานแค่ไหน ร้านหนังสือที่เมืองนอกก็ยังมีอยู่ เพียงแต่มันแค่เล็กลง

ประจักษ์  : มันมีความต่างในแต่ละที่ เราสรุปไม่ได้ว่าร้านหนังสือตายแล้ว

ธเนศ  : ในเมื่อการศึกษาในไทยยังมีการเพิ่มปริมาณเนื้อหามากขึ้น การอ่านหนังสือมันก็มากตามไปด้วย เพียงแต่ถ้าเราถามว่าความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศมันก็จะเป็นอีกหนึ่งประเด็น หนังสือไทยมันก็ยังอยู่ได้ต่อไปเรื่อยๆ อย่างน้อยที่สุดที่ผมคิดว่ามันสำคัญคือหนังสือพระ ตั้งแต่ในช่วงรัชกาลที่ 4 มาถึงปัจจุบันก็ยังไม่หายไป ไม่ว่าจะเป็นหนังสือธรรมะหรือหนังสือพระเครื่อง ถือได้ว่าเป็นตลาดใหญ่ที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะแจกฟรีหรือมีให้ซื้อขายในเชิงธุรกิจก็ตาม ในสายตาของผม มันคือสิ่งที่อยู่คงที่มาตลอดตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา

ประจักษ์  : ในประเด็นของร้านหนังสือ คุ่นมีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างไร

ปราบดา  : ถ้าจะพูดถึง Reading Culture โดยรวมแล้วมันขึ้นอยู่กับเราพูดถึงหนังสือประเภทไหนด้วย เพราะจากประสบการณ์ ผมคิดว่าเราคงพูดแบบเหมารวมไม่ได้ แล้วหนังสือประเภทที่เราไม่ค่อยคุ้นเคยหรือไม่รู้จัก เราก็จะไม่มีทางรู้ว่ามีจำนวนคนอ่านมากน้อยแค่ไหน เราลองไปดูสถิติการขายหรือคุยกับร้านหนังสือใหญ่ๆ ประเภทของหนังสือที่เขาบอกว่าขายดีก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราแปลกใจ เพราะว่าเราไม่ได้อ่านและไม่รู้จัก อย่างเช่นประเภทโรแมนติก หนังสือนวนิยายแนว Y หรือแม้กระทั่งตลาดของแม่บ้านที่ซื้อ E-book เขาบอกว่าตลาดนี้ใหญ่มาก ส่วนใหญ่จะซื้อพวกนวนิยาย

ถ้าเรามาจากมุมของคนที่อ่านวรรณกรรมซีเรียส ผมว่าถ้าลองย้อนกลับไปอ่านประวัติศาสตร์ดูแล้ว คนอ่านจะพบว่ามีคนอ่านน้อยมาตลอด จะมีอยู่บางเล่มที่สามารถอยู่ได้นาน แต่ในยุคสมัยของแต่ละคนยังไม่เคยมีการบูมของวรรณกรรมซีเรียส นักเขียนในทุกยุคทุกสมัย นักเขียนต้องดิ้นรนกันเอง เขียนรีวิวชมตัวเอง สำหรับผมมันไม่น่าแปลกใจที่สถานการณ์ในปัจจุบันยังเป็นแบบนั้นอยู่ สมมุติเราพูดถึงนักเขียนที่ได้รับรางวัลหรือมีชื่อเสียงในระดับหนึ่ง แต่งานก็ไม่ได้ขายดีตลอด จะขายดีเฉพาะงานที่ได้รับรางวัลหรืองานที่คนพูดถึง หรือในช่วงเวลาหนึ่งที่มีคนสนใจ อย่างมากคิดว่าน่าจะประมาณ 10 ปี หลังจากนั้นไม่ว่าจะเขียนอะไรออกมา จะมีคนชื่นชมหรือถูกยกย่องแค่ไหนก็ตาม ยอดขายมันก็จะคงที่อยู่อย่างนั้น เพราะตลาดมันไม่ได้กว้าง และไม่ว่าที่ไหน ยอดการพิมพ์หนังสือประเภทนี้ก็จะพอๆ กัน โดยเริ่มจากที่ 1,000-3,000 เล่ม ในความเป็นจริง ผมคิดว่ามันมีโลกที่กว้างมากกว่าที่เรารู้จัก ทำให้พวกเราเริ่มคาดเดากันไม่ได้ คนที่อ่านหนังสือเพื่อความบันเทิงมีเยอะมากกว่าคนแบบพวกเรา มันก็เหมือนหนังที่คนส่วนใหญ่ชอบดูหนังที่บันเทิง ไม่ค่อยดูหนังแนวอาร์ต ซึ่งมันก็เป็นเรื่องธรรมดา

ธเนศ  : ผมรู้สึกสงสัยมากว่าทำไมถึงยังมีคนไทยตามผลงานของ แมรี คอเรลลี (Marie Corelli – นักเขียนชาวอังกฤษ มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1855-1924 มีผลงานที่มีชื่อเสียงอย่าง A Romance of Two Worlds และ The Sorrows of Satan) ทั้งๆ ที่ตอนนี้ไม่มีใครรู้จักแล้ว ซึ่งในช่วงที่ แมรี คอเรลลี ยังมีชีวิตอยู่ เขาเป็นคนที่มีชื่อเสียงมาก เรียกได้ว่าเป็นซูเปอร์สตาร์ แต่ในตอนนี้วงการวรรณกรรมของตะวันตกแทบไม่มีใครพูดถึงชื่อ แมรี คอเรลลี เลย แต่ยังมีคนไทยที่รู้จักชื่อและผลงานของเขา มันชัดเจนเลยว่า นวนิยายวรรณกรรมตะวันตกที่ถูกนำมาแปลในไทยไม่ได้เป็นนวนิยายที่เป็นคลาสสิก แต่มันต้องเป็นแค่เฉพาะกลุ่มๆ นั้นเท่านั้น

ปราบดา  : ผมรู้สึกว่าเราอยู่ในยุคที่ค่อนข้างน่าสนใจ คือมีผลงานเก่าๆ เยอะมาก มีเยอะจนต่อให้ตายก็อ่านไม่หมด แล้วคนก็จะบอกว่านี่คือสิ่งสุดยอดที่ต้องอ่าน มีหนังสือคลาสสิกเป็นร้อยเป็นพันเล่มที่ถูกนำมาทำใหม่ ซึ่งเราก็ยังสงสัยเหมือนกันว่าทำไมเราต้องอ่านหนังสือเก่าที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ทำไม ทำให้รู้สึกว่าไม่ว่าคุณจะทำอะไรขึ้นมาในตอนนี้มันก็ยากมากๆ ที่จะเข้าไปอยู่ในลิสต์ ทำให้คำว่า Culture มันเปลี่ยนไป เพราะทุกอย่างเราหาได้จากโลกโซเชียลฯ คนที่เกิดในยุค 80s ก็มีวิธีในการหาข้อมูลต่างๆ ในแบบของคนยุคนั้น ซึ่งต่างจากเด็กยุคนี้ที่สามารถหาข้อมูลได้จากทั้งใน YouTube หรือในวิกิพีเดีย หรือเว็บไซต์อื่นๆ เหมือนกับเพลงที่คุณไม่ต้องฟังจากวิทยุอย่างเดียวเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว เราไปเลือกฟังจากแหล่งอื่นๆ ก็ได้ เพราะเทคโนโลยีใหม่ๆ มีเดียใหม่ๆ  เข้ามาเปลี่ยนแนวคิดอะไรหลายๆ อย่าง เช่นเมื่อก่อนผู้ใหญ่มักจะบอกให้เราไปอ่านหนังสือ ไม่งั้นจะโง่ แต่ตอนนี้ผู้ใหญ่ที่เคยพูดกับเราแบบนั้นหันมาติดโซเชียลมีเดีย ซึ่งในขณะที่เด็กในยุคนี้บางคนอาจไปหาอ่านหนังสือที่เป็นเล่ม

ประจักษ์  : เรื่องที่พูดมามันเหมือนมี Authority ที่มาพร้อมกับอำนาจในการลิสต์รายชื่อหนังสือดีที่ทุกคนควรอ่านทั้งในไทยและต่างประเทศ อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไร

ธเนศ  : ผมมีความรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่ากลัว เพราะในปัจจุบันความรู้ต่างๆ มันถูกส่งผ่านมาจากสถาบันต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันเราก็มี YouTube หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ เมื่อเราเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปผูกกับสถาบัน มันก็จะเป็นเหมือนกับดาบสองคม เพราะเหมือนมันมีขนบธรรมเนียม มันมีกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ผูกมัน ทำให้เรื่องบางเรื่องไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ ผมว่าในวงการวรรณกรรม วงการหนังสือ หรือแม้แต่วงการภาพยนตร์ มันถูกล็อกไว้ด้วยอะไรหลายๆ อย่าง ว่าต้องเลือกแบบนั้น หรือต้องอ่านแบบนี้ถึงจะดี ผมไม่ได้หมายความว่าสถาบันไม่ดี หรือเป็นสิ่งหยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่กว่ามันจะเปลี่ยนคงต้องใช้เวลานาน ผมยังนึกภาพอยู่ว่าวรรณกรรม Y (ชายรักชาย หรือ หญิงรักหญิง) มันจะสามารถไปอยู่ในการศึกษาของมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนได้หรือไม่ ในระยะเวลาอันใกล้เช่นในปีหน้า

ดวงฤทัย  : คิดว่าเด็กๆ ไม่เชื่อเรื่องของการลิสต์รายชื่อหนังสือต่างๆ เอาไว้ เขาไม่ได้สนใจว่าอะไรควรอ่านหรือไม่ควรอ่าน เขาจะไปหาอ่านเอาเอง ไม่แน่บางทีหนังสือที่ทำมืออาจขายดีกว่าหนังสือคลาสสิก เดี๋ยวนี้เขาไม่เชื่อแล้วว่าอะไรคือสิ่งที่ควรอ่าน แต่เขาจะไปค้นหาเอาเองจากโลกอินเทอร์เน็ตที่ถือว่าเป็นช่องทางสำคัญ เพราะตั้งแต่ที่ขายหนังสือมา ไม่เคยมีลูกค้าคนไหนมาถามเลยว่ามีลิสต์รายชื่อหนังสือดี 100 เล่มไหม เพราะมันไม่น่าเชื่อถือ

ปราบดา  : หรือจะเป็นวรรณกรรมแนวแฟนตาซีที่เด็กๆ ชอบเขียนกัน บางทีผมลองไปอ่านก็ยังไม่เข้าใจ เพราะรู้สึกเหมือนเป็นคนละโลกกับเรา แต่มีบางอย่างที่น่าทึ่ง อย่างเทรนด์บางอย่างที่มีการใช้เทพเจ้าจากตำนานต่างๆ มาเป็นตัวละคร ซึ่งถ้าเราไม่เคยเรียนหรือศึกษา เราก็จะไม่รู้จัก แต่เด็กเหล่านี้รู้จัก หรือกลุ่มคนอ่านที่ติดนวนิยายมาก ผมก็คิดว่ามันน่าทึ่งในแง่ของความอินที่เขามีต่อวรรณกรรม มันมากกว่าที่เราได้จากกลุ่มผู้อ่านของเราเองเสียอีก พวกเขาจะรู้จักตัวละครตัวนั้นๆ เขาจะรู้สึกสงสารตัวละคร จะโกรธแทนตัวละคร และจะไปเรียกร้องจากนักเขียนว่าทำไมถึงทำกับตัวละครของพวกเขาแบบนี้ เหมือนเขาได้เข้าไปในโลกนั้นจริงๆ

ประจักษ์  : ถ้าพูดถึงนักเขียนไทยในตอนหลัง มีพัฒนาการอะไรใหม่ๆ บ้างไหม

ดวงฤทัย  : ลองดูในงานซีไรต์ล่าสุด เรื่องที่ได้รางวัลซีไรต์ตัวนี้ออกเป็นแนวแฟนตาซี รู้สึกจะไม่มีชื่อตัวละครเป็นคนไทยเลย ซึ่งมันเป็นเทรนด์ของเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งคนอ่านเขาก็จะอินกับตัวละครจนสามารถจำชื่อตัวละครได้หมด คิดว่ามันควรจะเป็นแบบนั้นหรือแบบนี้ หรือทำไมคนเขียนถึงเขียนแบบนี้ เขาจะอินไปกับเรื่อง ตอนนี้มีเทรนด์แบบนี้เยอะ เวลาเราไปงานหนังสือ เราจะเห็นสำนักพิมพ์ที่เราไม่รู้จัก แต่กลับมีคนมาต่อคิวยาวมากตั้งแต่งานยังไม่เริ่ม คนอ่านก็มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คนทำงานก็อ่าน ส่วนคนเขียนก็ยังเด็กอยู่ น่าจะเป็นช่วงมัธยมฯ หรือคนอายุประมาณ 22-23 ปี เข้าใจว่าเรื่องแบบนี้ได้รับอิทธิพลจากเว็บ Dek-D ที่มีคนไปเขียนก่อนแล้วมีคนไปคอมเมนต์ มันเป็นการสร้างนักเขียนและคนอ่านในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งอาจจะดีกว่าการวิจารณ์อีก

ประจักษ์  : ตอนหลังๆ ดูเหมือนการวิจารณ์วรรณกรรมมันดูมีบทบาทลดน้อยลง หรือความเข้มข้นในการวิจารณ์เองเพราะดูเหมือนมีอยู่ช่วงหนึ่งที่คึกคักขึ้นมา

ดวงฤทัย  : ก็ไม่นะ เพราะเหมือนคนเขียนเขาให้กำลังใจกันเอง พอมีงานออกมาใหม่ก็เขียนถึงเพื่อน เขียนถึงงานของเพื่อน ข้ออ่อนด้อยแทบจะไม่มีการพูดถึงเลย เหมือนเป็นการเยียวยากันเองมากกว่า ไม่เห็นว่ามีการวิจารณ์กันจริงๆ จังๆ หรือมีก็มีน้อยมาก ดูอย่างที่ประกาศรางวัลซีไรต์ที่คนไม่วิจารณ์ผลงาน แต่กลับไปวิจารณ์กันที่ตัวบุคคลว่าใครได้หรือไม่ได้

ประจักษ์  : ในต่างประเทศ การวิจารณ์มีบทบาทมากน้อยแค่ไหน

ธเนศ  : เมื่อก่อนมันเป็นตัวตัดสินว่าอะไรควรอ่าน อะไรไม่ควรอ่าน มันดีหรือไม่ดี แต่ถ้าโครงสร้างหลักพังลงเมื่อไหร่ มันก็จะสูญหายไปหมด มันเป็นการเปิดทางให้ใครๆ สามารถเป็นคนแสดงความคิดเห็นได้ ถึงแม้จะไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญก็ตาม และเมื่อมีอินเทอร์เน็ต มันก็เป็นการเปิดทางให้กับคนอื่นๆ สามารถเข้ามามีบทบาทในการเขียนนวนิยายของคุณได้ คุณสามารถพลิกแพลงนำข้อมูลต่างๆ มาเขียนเป็นนวนิยายของคุณเองได้ และสามารถทำให้ทุกๆ คนเข้ามาเหมือนกับนั่งอยู่ในรัฐสภาที่มันคือนวนิยาย ทำให้ทุกคนแฮปปี้ ผมคิดว่าเทรนด์พวกนี้มันคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลง มันไม่ได้บอกแล้วว่าอะไรคือสิ่งดีหรือไม่ดี ง่ายๆ เลยสำหรับผมคงไม่สามารถใช้คำว่าวรรณคดีที่มีคำว่า ‘วรรณะ’ ในความหมายเดิมได้อีกต่อไป มันดูเป็นกลุ่มมากกว่าการเป็นพีระมิดที่คนอยู่สูงสามารถสั่งคนที่อยู่ต่ำกว่าได้ มันคือโครงสร้างที่เกิดขึ้น แม้กระทั่งในโลกตะวันตกก็จะเป็นลักษณะแบบนี้

เพียงแต่ประเด็นที่ผมคิดว่าสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือธุรกิจ Novel เรื่องนี้เป็นสิ่งที่นักเขียนและนักธุรกิจสิ่งพิมพ์ต้องคิดเพราะเมื่อมันออกมาสู่ตลาดแล้ว มันไม่มีอะไรที่สวยงามบริสุทธิ์ แต่มันเป็นเรื่องของธุรกิจ เหมือนกับศิลปะที่ถ้าภาพไหนขายได้ราคาเป็นล้าน คนก็จะให้ความสนใจ เหมือนกับหนังสือ ใครที่มียอดพิมพ์ยอดขายได้เป็นหมื่นเล่มหรือเป็นแสนเล่ม คนก็จะให้ความสนใจ สำนักพิมพ์ก็แฮปปี้ ซึ่งคนจำนวนหนึ่งต้องคิดไว้เสมอว่าหนังสือนวนิยาย ภาพยนตร์ หรือทุกๆ อย่างมันหนีความเป็นธุรกิจไปไม่พ้น โดยสิ่งที่เราเห็นได้ล่าสุดเลยคือระบบการให้เรตติ้งร้านอาหารของมิชลินที่ออกเป็นหนังสือ มันคือการขายของ ซึ่งมันก็ถือเป็นเรื่องปกติ เพื่อเป็นการโปรโมตหนังสือ มีการให้รางวัลกระตุ้นให้คนหันมาสนใจ มันจะดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับอะไรหลายๆ อย่าง เช่นตลาด ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ ไม่อย่างนั้นมันจะทำให้ตลาดหนังสือตาย คนเขียนหนังสือก็ไม่มีกำลังใจ เขียนไปแล้วไม่ได้เงินจะเขียนทำไม ผมคิดว่าถ้าเรามองในแง่ของธุรกิจ ในแง่ของการทำให้ตลาดหนังสือและคนที่ชอบหนังสืออยู่รอด ผมก็ถือว่าเป็นเรื่องที่โอเค

ประจักษ์  : มองอย่างไรกับประเด็นนี้ ที่ตอนหลังมีปรากฏการณ์อย่างที่อาจารย์พูด มีคนอ่านเข้ามาร่วมตัดสินเองว่าหนังสือเล่มไหนดีหรือไม่ดี

ปราบดา  : ในมุมของคนเขียน ผมว่าก็ถือเป็นการเปิดโลกทำให้เราตาสว่างขึ้น ทำให้รู้ได้ว่าคนอ่านคิดอะไร เพราะถ้าเราเขียนอย่างเดียว ไม่เคยทำงานสำนักพิมพ์ ไม่เคยทำงานร้านหนังสือเลย มันมีทางที่จะรู้น้อยมากว่าเสียงตอบรับของคนอ่านเป็นอย่างไร เพราะมีสื่อโซเชียลฯ อย่างเฟซบุ๊ก หรืออื่นๆ ทำให้เราเข้าใจมันมากขึ้นว่าตลาดนี้มันกว้างกว่าที่เราคิด และก็มีมุมมองที่เราไม่รู้จัก เราอาจมีชื่อเสียงในมุมนี้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง อาจไม่มีใครสนใจเราเลย ทั้งๆ ที่ก็อยู่ในตลาดหนังสือเหมือนกัน มันเป็นการทำให้เราเข้าใจคน เข้าใจมุมมอง ผมว่ามันดีสำหรับการตัดอีโก้ของคนบางคน สมมุติว่าหนังสือเล่มนั้นได้รับรางวัลมามากมาย แต่พออ่านแล้วกลับไม่ค่อยมีคนซื้อ ทำให้คนเขียนรู้สึกว่ายังมีคนอ่านที่ไม่ได้รู้สึกสนใจว่าหนังสือเล่มนี้จะได้รางวัลอะไรมาบ้าง หรือทางสถาบันต่างๆ ที่ตัดสินเรื่องนี้ อย่างหนังอาร์ต ก็จะมีแต่คนบอกว่าดูแล้วไม่รู้เรื่อง แบบนี้ได้รางวัลมาได้อย่างไร ซึ่งมันเป็นเรื่องจริงในแง่ของคนในสังคม ที่คนในแวดวงศิลปะต้องมาถามตัวเองว่า เราควรจะพอใจในแวดวงของเรา ไม่ต้องไปคาดหวังว่าคนจะมาสนใจเรามากขนาดนั้น หลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นก็เป็นเหมือนอย่างที่อาจารย์ธเนศพูด มันเป็นธุรกิจ ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะมีคนมาชื่นชอบงานหรือศิลปะ ทุกคนทำขึ้นเพื่อเป็นอาชีพ และเพื่อให้ได้เงิน

ธเนศ  : และสิ่งเหล่านี้ก็จะถูกตามมาด้วยวิชาที่ใช้ในการเรียนการสอน เช่น Culture Management ซึ่งเราก็จะเห็นมหาวิทยาลัยต่างๆ เปิดสอนเรื่องนี้ เพราะคุณก็ต้องการที่จะเรียนรู้มันเพื่อนำไปใช้ในการทำงาน ผมเลยคิดว่าเราจะมองศิลปะหรืองานวรรณกรรมอย่างเดียวไม่ได้ ในเมื่อมันต้องสัมพันธ์กับธุรกิจ ผมพูดเสมอว่าเมื่อก่อนศิลปินต้องหากินกับศาสนจักร เพียงแต่ตอนนี้คุณเข้ามาอาศัยกลไกทางการตลาดในการสร้างผลงานขึ้นมา

ปราบดา  : ทางสำนักพิมพ์ในต่างประเทศเขาก็มีความฉลาดในเรื่องการทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบปกหนังสือ ออกแบบรูปเล่ม การตั้งชื่อหนังสือ บางเล่มปกสวยมาก แต่เนื้อหาข้างในอ่านไม่รู้เรื่อง บางอย่างต้องเป็นเรื่องเฉพาะของคนที่รู้เรื่องนั้นจริงๆ ที่จะสามารถอ่านมันให้เข้าใจได้

ธเนศ  : นี่ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมากๆ ผมได้พูดมาตลอดว่า ปกหนังสือวิชาการของไทยมันดูโบราณเกินไป มันไม่ใช่ปกอะไรก็ได้ที่คุณจะทำแล้วไม่ให้ความสนใจกับมัน เพราะมีชื่อของคนนี้อยู่อย่างไรก็ต้องขายได้ แต่มันไม่ใช่ ด้วยความเป็นหนังสือวิชาการของบ้านเราก็ยังถูกพิมพ์ด้วยสำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัย มีการออกแบบหน้าปกที่ดูโบราณๆ มันสะท้อนให้เห็นหลายอย่าง คุณลองมองดูว่ามหาวิทยาลัย ที่ไหนมีตึกสวยๆ บ้าง ยกเว้นมหิดลที่เขากำลังเริ่มพัฒนา ตึกมันดูเก่าๆ ทั้งนั้น มันได้สะท้อนทุกอย่างที่มหาวิทยาลัยผลิตออกมา มันเป็นอะไรที่ไม่ดึงดูดเลย ปกนั้นถือว่าสำคัญมาก เพราะอย่างน้อยที่สุดแล้วมันจะทำให้คนหยิบหนังสือเล่มนั้นขึ้นมา

ประจักษ์  : เราล้าหลังสำนักพิมพ์ต่างประเทศประมาณกี่ปี

ปราบดา  : ผมสังเกตเห็นว่าสำนักพิมพ์ของทางอเมริกาที่มีการปรับตัวเยอะมาก เดี๋ยวนี้ปกจะสวยหมด ถึงจะมีอยู่ยุคหนึ่งที่ดูเชยๆ แต่เดี๋ยวนี้พวกเขาพยายามเปลี่ยนแปลงให้หนังสือดูน่าอ่านมากขึ้น

ธเนศ  : ต่อให้คุณมีบทความดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีคนอ่านก็ไม่มีความหมาย เราต้องทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกเผยแพร่ออกไป

อย่างน้อยๆ ที่สุดเราก็ต้องทำให้เขาหยิบมันขึ้นมาอ่าน มันสำคัญมากว่าเราจะทำอย่างไรถึงจะทำให้มีคนหยิบหนังสือเล่มนั้นขึ้นมา ปกมันต้องมีความดึงดูด หนังสือวิชาการที่พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ในมหาวิทยาลัยของไทยมันไม่มีความดึงดูดเลย ซึ่งผมคิดว่าเพราะเป็นระบบข้าราชการที่ไม่ต้องไปแข่งขันกับใคร ยังไงคุณก็ต้องซื้อของเรา ผมคิดว่าทางแก้เรื่องนี้คือเราควรมีการให้รางวัลสำหรับการออกแบบหน้าปก หรือมีรางวัลออกแบบหน้าปกยอดแย่

ปราบดา  : มันรู้สึกน่าเสียดาย เพราะจริงๆ แล้วในแต่ละมหาวิทยาลัยก็มีงบอยู่แล้ว ถ้าจะจ้างคนมาออกแบบก็จ้างได้

ประจักษ์  : อาจารย์ธเนศเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่มีพ็อกเก็ตบุ๊กที่ถูกพิมพ์ออกมาเยอะที่สุด ตอนที่อาจารย์เริ่มเขียน อาจารย์ได้กำหนดเลยไหมว่าเราเขียนให้คนอ่านแบบทั่วไปที่ไม่ใช่แค่คนในแวดวงที่อยู่ภายในรั้วของมหาวิทยาลัย

ธเนศ  : ไม่ได้กำหนดเลย ผมเป็นคนที่ชอบเขียน มันเกิดมาจากความรู้สึกที่เราเบื่อกับวงการวิชาการในบ้านเรา ที่สมัยก่อนนักวิชาการมักจะเอาแต่พูดกันอย่างเดียว ไม่ค่อยได้เขียนออกมาเป็นหนังสือ ทั้งๆ ที่แต่ละคนก็มีความรู้ที่สูงมาก อย่างในธรรมศาสตร์ก็จะชัดเจนมาก มันจะพูดกันอย่างเดียว พูดเสร็จมันก็หายไป ยังโชคดีที่สมัยนี้มีโซเชียลมีเดียอย่าง YouTube แต่สมัยนั้นมันไม่มี ทำให้ผมรู้สึกว่าเราควรต้องเขียนมันออกมา ไม่ว่าจะไปที่ไหน เมื่อไหร่ ผมก็จะเขียนทุกครั้ง พอเราเขียนทุกวันๆ มันจึงเกิดเป็นนิสัยที่ต้องเขียนอยู่ตลอดเวลา แล้วหลังจากนั้นก็เริ่มมีคนมาขอไปพิมพ์ ไม่ได้ตั้งใจจะเขียนเพื่อการตลาด แต่ตั้งใจจะเขียนเพื่อให้อย่างน้อยเรายังมีอะไรบางอย่างเก็บเอาไว้

ประจักษ์  : แล้วคนกลุ่มไหนที่ซื้อหนังสือของอาจารย์ไป

ดวงฤทัย  : มีหลายกลุ่มเลย พระก็มีเหมือนกัน และยังมีคนทำงาน

ปราบดา  : ผมสังเกตว่าคนที่สนใจศิลปะ หนัง หรือดนตรี จะอ่านงานของอาจารย์ธเนศ

ดวงฤทัย  : เอาจริงๆ เรารู้สึกเบื่อกับการโดนถามว่าร้านหนังสือจะยังอยู่ไหม หนังสือจะตายไหม เราเจอคำถามแบบนี้บ่อยมาก เริ่มตั้งแต่ E-book ซึ่งมันก็ไม่มีทางฆ่าร้านหนังสือแน่ๆ หรืออย่างอินเทอร์เน็ต

ประจักษ์  : สาเหตุที่เบื่อเพราะอะไร

ดวงฤทัย  : เรารู้สึกว่าการตอบจากมุมมองของเราอย่างไรหนังสือก็ไม่มีทางตาย เพราะมันก็เป็นอาชีพของเรา มันยังมีหนังสือที่เราไม่เชื่อว่ามันจะขายดีและราคาก็แพงด้วย

ประจักษ์  : แล้วควรเปลี่ยนคำถามว่าอะไรดี

ดวงฤทัย  : ให้คนในวงการตอบเองมันก็ยาก เพราะเราอยู่กับมันจนรู้สึกเคยชินกับการเห็นสิ่งเหล่านี้ เราเลยไม่รู้จะตอบอย่างไรเมื่อมีคนมาถามเจาะเรื่องนี้แล้วเราควรจะมองมุมไหน เราเองก็ค่อนข้างลำบากใจส่วนหนึ่งด้วย เพราะทุกวันนี้ก็มีชีวิตอยู่กับหนังสือ บางทีคนภายนอกน่าจะมองมันได้ดีกว่า เราก็มีความเป็นห่วงในระดับหนึ่งเหมือนกันว่าต่อไปร้านหนังสืออาจไม่จำเป็น อีกประมาณ 20-30 ปี อาจไม่จำเป็นแล้ว

ธเนศ  : ผมเป็นคนที่เลิกเล่นแผ่นไวนิลตอนที่มีแผ่นซีดีออกมา ตอนนั้นผมดีใจมากที่มีซีดีออกมา เพราะแผ่นไวนิลมันเป็นภาระกับชีวิตมาก ต้องดูแลเก็บมันอย่างดี จะให้ร้อนก็ไม่ได้ แล้วจะต้องมาเปลี่ยนหัวเข็ม ต้องเช็ดทำความสะอาด มันเป็นอะไรที่วุ่นวายมาก ตอนนั้นที่มีซีดีออกมา ผมคิดว่าแผ่นไวนิลจะต้องหายไปแน่ แต่ตอนนี้มันกลายเป็นที่นิยมมากสำหรับนักสะสม มีหลายคนเริ่มหันมาเล่นไวนิล อาจเหมือนร้านหนังสือและหนังสือเป็นที่นิยมมากในอนาคต เพราะมันดูแปลกตา 

ปราบดา  : ไวนิลมีข้อดีตรงที่มันมีปกที่สวยงาม มีขนาดที่โอเค ต่างจากเทปที่ดูเป็นอะไรที่เกะกะและไม่สวย หนังสือก็เหมือนกับไวนิล มันมีความสวยงามอยู่ในตัว และมันเป็นงานที่เริ่มจากการใช้ฝีมือคนในการเขียนเรื่องราวต่างๆ ผมว่าสิ่งเหล่านี้จะยังคงอยู่ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันอาจไม่นิยมเท่าสมัยก่อน เราจะไปคาดหวังว่าจะทำร้านหนังสือยักษ์ใหญ่ไม่ได้แล้ว มันก็จะมาเหมือนกับกล้องฟิล์มที่ทำไมตอนนี้ถึงยังอยู่ได้ เพราะรูปร่างมันสวย ผมมั่นใจว่าที่หลายคนซื้อเพราะมันสวยงาม

ธเนศ  : ผมคิดว่าในอนาคตหนังสือทำมือในประเทศไทยจะยิ่งมีเสน่ห์ เพราะมันเป็นงานแฮนด์เมด มันเป็นงานที่เฉพาะเจาะจงมากๆ

ประจักษ์  : แล้วเรื่องของ E-book คุ่นมีความคิดเห็นอย่างไร

ปราบดา  : ถ้าถามผมในแง่ของคนทำงาน ผมก็ไม่แคร์ ผมแค่ต้องการให้มีพื้นที่ที่งานของผมสามารถเผยแพร่ออกไปได้

จะแบบไหนก็ได้ ผมไม่ใช่คนทำงานที่ยึดติดกับอะไรบางอย่าง แม้แต่หนัง ผมก็ไม่แคร์ถ้าจะไม่มีโรงหนัง สมมุติว่าเราฟังเพลง ไม่ว่าจะฟังจากเครื่องเล่นเพลงแบบไหน สำหรับผมมันก็เป็นเพลงเหมือนกัน

ธเนศ  : มันก็อาจเป็นแค่เฉพาะคนบางกลุ่มจริงๆ อย่างเครื่องเล่นสตูดิโอที่ราคาแพงๆ

ดวงฤทัย  : เหมือนหนังที่ตอนนี้เราก็ดูจากในมือถือเองก็ได้

ธเนศ  : อย่างการดูหนังมันจะสัมพันธ์กับสถานที่ ว่าเราดูเรื่องนี้ที่ไหนมันเป็นอย่างไร มันคือประสบการณ์ที่เราได้รับมา

ปราบดา  : หรือแม้แต่การซื้อหนังสือที่เมื่อก่อนเราจะจำได้ว่าเราซื้อหนังสือจากร้านไหน แต่เดี๋ยวนี้มีการสั่งออนไลน์มาได้ เราก็เลยไม่ต้องจำชื่อร้านแล้ว แต่มันก็จะมาพร้อมกับปัญหาอีกแบบหนึ่ง คือตอนนี้ทุกอย่างมันถูกทำให้ทุกคนมีพื้นที่ส่วนตัวที่จะทำอะไรก็ได้ เช่นตอนที่ขึ้นเครื่องบิน ทุกคนจะมีจอ TV ให้ดูไปคนละจอ อยากดูอะไรก็ดู ซึ่งมันไม่มีประสบการณ์ร่วมแบบเดิม เหมือนกับโรงหนังที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นแบบนั้น แต่คนก็ยังไปดูหนังบางเรื่องในโรงอย่างหนังฟอร์มยักษ์เรื่องต่างๆ เพราะมันเป็นเหมือนการแชร์ความรู้สึกที่เราได้ดูหนังเรื่องนั้น ซึ่งจะไม่เหมือนกันกับที่ต้องไปดูที่บ้าน หรือดูบนจอมือถือ ผมคิดว่ามันเป็นปัญหาของการเชื่อมผู้คนที่รู้สึกว่าพวกเราอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เหมือนที่เขาสังเกตกันว่าโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กจะทำให้คนรู้สึกได้มีส่วนร่วมกับอะไรบางอย่าง แต่จริงๆ คือไม่มี ไม่ว่าจะเป็นการกดไลก์ หรือคอมเมนต์ต่างๆ เราอาจรู้สึกเหมือนได้ทำอะไรบางอย่างแล้ว แต่จริงๆ ก็ไม่ได้ทำอะไรเลย

ธเนศ  : ตอนนี้เรายังไม่รู้ว่าต่อไปในอนาคต AI หรือหุ่นยนต์ หรืออินเทอร์เน็ตจะสามารถทำอะไรได้บ้าง ผมไม่มีทางได้เห็นสิ่งเหล่านี้ เพราะตอนนั้นผมคงตายไปก่อนแล้ว ซึ่งมันก็ต้องเป็นคนรุ่นใหม่ที่ต้องมองย้อนกลับมาว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้างกับเด็กปัจจุบันที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา สมมุติว่าเรามีหุ่นยนต์ออกมาในปี 2030 กว่าที่คุณจะได้เห็นผลของมันจริงๆ ก็คงต้องต่อมาอีก 30 ปี อย่างอินเทอร์เน็ตที่ออกมาช่วงปี 1990 กว่ามันจะเห็นผลก็ 30 ปีให้หลัง เพราะฉะนั้นผมคิดว่าอนาคตเป็นเรื่องยากที่จะตอบว่าอะไรจะเกิดขึ้น

ประจักษ์ : โลกดิสโทเปียมันมีความเกี่ยวข้องกันไหมอย่างหนังหรือหนังสือ

ธเนศ  : หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกมันดูสดใสขึ้น เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ช่วง 1970-1980 มันยังดูก้ำกึ่งอยู่ แต่พอเป็นปี 2000 แล้วมันมีความชัดเจนขึ้น ทุกคนจะเริ่มท้อถอยกับความฝันที่มี ถ้าคุณไปถามคนแก่เกี่ยวกับจอมพลสฤษดิ์ เขาก็จะบอกว่าดีมากๆ ตอนนั้นไม่ใช่แค่ไทยยุคจอมพลสฤษดิ์อยู่จะดีประเทศเดียว แต่มันดีกันทั่วโลก

เศรษฐกิจมันดีหมด ทำให้คนแก่ๆ จะไม่บอกว่าจอมพลสฤษดิ์เป็นคนไม่ดี แต่เมื่อมาถึงอีกยุคสมัยที่เวลาเปลี่ยนแปลงไป คนก็จะไม่มองโลกแบบเดิม ความเป็นดิสโทเปียเวลาผมนึกถึงหนังอะไรก็ตาม ผมคิดว่าหนังช่วงปี 1930 เป็นดิสโทเปียทั้งนั้น เป็นช่วงที่ชีวิตย่ำแย่ เศรษฐกิจตกต่ำ มันเป็นสิ่งที่สะท้อนออกมา เพราะฉะนั้นผมไม่คิดว่ามันหายไปไหน เพียงแต่

ของพวกนี้มันเหมือนกับร่างกายของคนไม่อ่อนแอ และเมื่อร่างกายคุณอ่อนแอ สิ่งเหล่านี้ก็จะปรากฏออกมา ทำให้ช่วงนี้คนจะรู้สึกหวาดกลัวต่ออะไรบางอย่างที่ไม่รู้จัก ยิ่งสื่อรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องโรงงาน ทำให้ทุกคนกังวลว่าจะต้องตกงาน อย่างตอนนี้จะมีลิสต์ออกมาว่าอาชีพไหนเสี่ยงตกงาน เมื่อเป็นแบบนี้มันก็จะทำให้ใจคุณเต็มไปด้วยความวิตกกังวล

กับสิ่งเหล่านี้ มันก็เป็นการหล่อหลอมเหมือนกับนวนิยายหรือหนังที่เกิดขึ้นมา ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา

ปราบดา  : ผมคิดว่ามันมาจากทัศนคติของคนบางกลุ่ม หมายถึงถ้าสังคมมีอะไรที่ทำให้ชีวิตเขาดีหรือมีความสุขขึ้น

ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ยินดี ไม่ค่อยมีใครมานั่งวิพากษ์วิจารณ์ ผมว่ามันเป็นมุมมองแบบปัญญาชนฝ่ายซ้ายทำนองนี้มากกว่า หรือเราวัดจากวรรณกรรม 1984 (ของ จอร์จ ออร์เวลล์) คือในความเป็นจริง ถ้าเป็นแบบนั้นคนเขาอาจจะไม่ว่าเลยก็ได้ ผมว่าในความเป็นจริง โลกไม่ได้แคร์ขนาดนั้น มันเป็นแค่กลุ่มคนบางกลุ่มที่รู้สึกว่านี่คือทิศทางด้านลบ แต่ในช่วง 30 นั้นอาจจะรู้สึกจริงๆ ว่ามันแย่ ผมว่าโดยส่วนใหญ่สังคมน่าจะดำเนินไปด้วยความรู้สึกแบบนี้มากกว่าคนที่มานั่งกังวลว่าโลกนี้จะแตก คือตราบใดที่ยังไม่ถึงจุดนั้น ผมว่าเรื่องโลกร้อนไม่ได้ทำให้คนรู้สึก เพราะว่าตราบใดที่คุณยังไม่รู้สึกว่ามีไฟไหม้มาถึงหลังบ้านแบบที่แคลิฟอร์เนียเจอตอนนี้ คุณก็ไม่รู้สึกอะไร

ธเนศ  : ผมคิดว่าคนส่วนมากก็ไม่ได้คิดอะไรอยู่แล้ว เพราะชีวิตประจำวันขึ้นรถไฟขึ้นรถเมล์ก็ปวดหัวแล้ว

หมายเหตุ
***บทสนทนานี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ ‘จักรญาณวิทยา : ธเนศ วงศ์ยานนาวา กับบทสนทนารอบตัว’ หนังสือของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี ของ ธเนศ วงศ์ยานนาวา ที่เป็นบทบันทึกบทสนทนากับมิตรสหายในแวดวงต่างๆ ตั้งแต่เรื่อง การอ่านหนังสือ อาหาร ยันเรื่องปรัชญาการเมืองตายแล้วหรือยัง

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ