fbpx

ปราปต์ บุนปาน Digital Young Blood เลือดใหม่มติชน

พูดได้ว่า ปราปต์ บุนปาน คือ ‘เลือดใหม่’ ของเครือหนังสือพิมพ์ที่ได้ชื่อว่าเป็นหนังสือพิมพ์คุณภาพของประเทศ อย่างเครือมติชน

เปล่า-เขาไม่ได้เข้ามาดูแลตัวหนังสือพิมพ์ที่เป็นเนื้อกระดาษ ทว่าเนื้องานที่เขารับผิดชอบอยู่นั้น ช่างเหมาะสมกับความเป็น ‘เลือดใหม่’ อย่างยิ่ง เพราะ ปราปต์ บุนปาน คือผู้กุมบังเหียน ‘มติชนออนไลน์’ (matichon.co.th) อันเป็น ‘สื่อใหม่’ ซึ่งแม้จะอยู่ใต้ชื่อของมติชนเหมือนกันกับหนังสือพิมพ์ ทว่าตัว ‘เนื้อหา’ ที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นั้น มีทั้งส่วนที่เหมือนและแตกต่างไปจากหนังสือพิมพ์หลักบนกระดาษที่สำคัญ หลายคนจากบางฝ่ายมองว่าบางครั้งเนื้อหาในมติชนออนไลน์นั้น ‘แรง’ ยิ่งกว่าเนื้อหาบนหนังสือพิมพ์หลักเสียอีก !

กล่าวกันว่า ค่ายมติชนเป็นอีกหนึ่งค่ายสื่อที่กำลัง ‘จัดระเบียบเชิงอุดมการณ์’ (ดูการวิเคราะห์เรื่องนี้ของ ‘ใบตองแห้ง’ ได้ที่ prachatai.com/journal/2011/08/36295) เพื่อ ‘เลือกข้างเชิงอุดมการณ์’ ให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในต่างประเทศก็มีการแยกข้างกันชัดเจน เช่น Fox News ที่สนับสนุนพรรครีพับลิกันอย่างเปิดเผย แต่ในส่วนของสังคมไทย ถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็ต้องบอกว่าเลือกที่จะเป็นเหลืองหรือเป็นแดงให้เห็นกันชัดๆในแง่นี้ มติชนออนไลน์จึงกำลังเป็นที่จับตามอง กับบทความเชิงข่าว บทวิเคราะห์ งานเขียนกึ่งวิชาการ และอีกหลากหลาย ที่เปิดกว้างและนำเสนอความคิดที่ต่างไปจากโลกกระแสหลัก โดยเฉพาะความคิดที่ ‘เห็นใจ’ ต่อคนเสื้อแดง นั่นทำให้มติชนออนไลน์ได้รับความสนใจจากคอการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ และหลายครั้งก็ถูกเรียกว่าเป็น ‘สื่อเสื้อแดง’ โดยกลุ่มอาสาตรวจสอบสื่อในเฟซบุ๊คถึงกับกล่าวว่ามติชนออนไลน์นั้นไม่ใช่อะไรอื่น ทว่าคือ ‘สื่อเสื้อแดง สันติวิธี’

ไม่ว่าคุณจะรักหรือชิงชังคนเสื้อแดงมากแค่ไหน บทสัมภาษณ์ที่คุณกำลังจะได้อ่านต่อไปนี้ไม่ใช่การ ‘โปร’ หรือ ‘คอน’ ใคร ทว่ามันคือ ‘บทสนทนา’ ซึ่งไม่จำเป็นว่าคู่สนทนาจะต้องเห็นพ้องหรือเห็นแย้งกันไปเสียทุกเรื่อง ในสังคมอารยะ มนุษย์พึงพูดคุยกันได้เสมอ ไม่ว่าใครจะมีอุดมการณ์ต่างกันอย่างไรก็ตาม การเปิดกว้าง รับฟัง และไม่ด่วนตัดสิน คือคุณสมบัติสำคัญ

ที่จะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้แม้ต่างอุดมการณ์นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เราเลือกพาผู้อ่านของ GM มาสนทนากับ ปราปต์ บุนปาน ผู้ชายวัย 30 ปี ทายาทของ ขรรค์ชัย บุนปาน ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ผู้เข้ามาดูแลสื่อออนไลน์ในเครือมติชน แม้ว่าอายุของเขายังไม่มากนัก แต่ความคิดความอ่านของผู้ชายคนนี้น่าสนใจ โดยเฉพาะหากใครได้ติดตาม ‘ตัวตน’ ของเขาผ่านทั้งมติชนออนไลน์และ ‘สถานีคิดเลขที่ 12’ คอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันทุกพฤหัสบดี

รวมถึงตัวตนที่ซ่อนอยู่ใต้นามแฝงในที่อื่นๆ คุณจะรู้ว่าความน่าสนใจที่ว่านั้นหมายความถึงอะไร เขาไม่ได้มีมุมการเมืองหรือหนังสือพิมพ์เพียงอย่างเดียว ทว่ายังสนใจภาพยนตร์ถึงขั้นเคยทำหนังสั้นมาแล้วด้วยอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ในช่วงที่ผ่านมา คนในแวดวงสื่อด้วยกันเองมองว่าค่ายมติชนกำลังอยู่ในระหว่างการ ‘ถ่ายเลือด’ เพื่อนำ ‘เลือดเก่า’ ที่ไม่สอดรับกับ

ระเบียบเชิงอุดมการณ์ใหม่อีกต่อไปแล้ว-ออกไป, เพื่อนำ ‘เลือดใหม่’ เข้ามาแทนที่ ดังนั้น ในฐานะ ‘เลือดใหม่’ ปราปต์ บุนปาน จึงมีภาระหน้าที่หนึ่งในการตอบทุกคำถามของ GM ซึ่งในแง่หนึ่งก็เป็นตัวแทนคำถามของสังคมไทยโดยรวมด้วยขอเชิญติดตามด้วยความระทึกในดวงหฤทัยพลัน !

GM : ปัจจุบันคุณดูแลส่วนไหนบ้างในเครือมติชน

ปราปต์ : ความรับผิดชอบหลักคือดูแลเว็บไซต์มติชนออนไลน์และประชาชาติธุรกิจ โดยมีผมกับคุณสรกล (อดุลยานนท์) เป็นบรรณาธิการร่วมกัน มติชนออนไลน์เริ่มมาได้ 8-9 ปีแล้ว ผมเพิ่งเข้ามาดูแลในช่วง 2-3 ปีหลังนี้

GM : คุณเข้ามาปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง

ปราปต์ : ไม่ได้ทำอะไรมาก เพราะมันวางอยู่บนฐานที่ค่อนข้างดี ที่ปรับคงเป็นเรื่องรูปลักษณ์ของเว็บไซต์และการทำงานที่เป็นกองบรรณาธิการข่าวมากขึ้น ทำให้เป็นเรียลไทม์มากขึ้น ในแง่ข่าวเราก็อ้างอิงข่าวจากมติชนรายวันเป็นหลัก แต่การปรับปรุงไม่ใช่เรื่องของผมคนเดียว ผมมีหน้าที่ระดมความคิด ประสานงานมากกว่า ที่มีบทบาทจริงๆ น่าจะเป็นช่วงเมษายนถึงพฤษภาคมปีที่ผ่านมา

พอเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง สื่อทั่วไปมักเล่นข่าวตามกระแส เช่นรายงานคำแถลงการณ์รัฐบาล แต่มติชนออนไลน์เพิ่มส่วนสำคัญเข้ามาสองส่วน คือแปลข่าวจากต่างประเทศ ทั้งจากบีบีซี (BBC) รอยเตอร์ (Reuter) หรือสำนักข่าวอื่นๆ ถ้าใครตามดูจะรู้ว่าสำนักงานข่าวต่างประเทศรายงานได้เร็วกว่าเรา และวิเคราะห์ได้ลึก เราก็แปลเนื้อหาส่วนนั้นเข้ามาเสริม ในขณะที่

สื่อมวลชนไทยกระแสหลักค่อนข้างนิ่ง แต่เว็บบอร์ดอย่าง we are all human หรือประชาไทยคึกคักมาก แต่ไม่นานสองเว็บนี้ก็ถูกบล็อก ส่วนที่ผมพยายามทำคือเจาะเข้าไปในเว็บไซต์เหล่านี้ดูว่ามีเนื้อหาอะไรที่น่าสนใจและไม่เกินลิมิตจนเกินไป เราก็จะดึงบทความเหล่านั้นเข้ามา หลังๆ นักเขียนหลายคนพอรู้ว่าเรามีพื้นที่ตรงนี้ให้ ก็ติดต่อมาที่เราโดยตรง

GM : กลายเป็นว่ามติชนออนไลน์ได้รับความสนใจเพราะเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ

ปราปต์ : ครับ ถ้าดูจากยอดคนเข้าน่าจะเป็นอย่างนั้น ปกติยอดคนดูจะอยู่ที่ราว 60,000 ยูนิตไอพี แต่ตอนเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นไปถึง 150,000 ยูนิตไอพี ถือว่าขึ้นไปเยอะมาก แล้วมันก็กลายเป็นฐานใหม่ ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ประมาณ 80,000-90,000 ยูนิตไอพี ช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมาก็เขยิบขึ้นไป 90,000-100,000 ยูนิตไอพี สิ่งที่ทำคือพยายามรักษามาตรฐาน

ให้เป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างทางความคิด มีความหลากหลายกว่าสื่อกระแสหลัก แต่อีกแง่ นี่อาจเป็นการสนองความต้องการของตัวเองส่วนหนึ่งด้วยว่าอยากอ่านอะไรก็นำมาแบ่งกัน ซึ่งการตอบรับก็ค่อนข้างดี

GM : หลายคนมองว่ามติชนออนไลน์เอียงข้าง หากมองในแง่ขององค์กร คุณไม่รู้สึกว่าสุ่มเสี่ยงเกินกับการนำเสนอตัวเองแบบนั้นหรือ

ปราปต์ : ถ้าห่วง คงเป็นเรื่องของความรู้สึกของคนทำงานมากกว่า เพราะคนทำงานไม่ได้มีความคิดแบบเดียวกันทั้งหมด แม้แต่ในทีมของเราเอง

เราก็เห็นความแตกต่างทางความคิด เช่นนักข่าวที่มีพื้นฐานมาจากต่างจังหวัด เขาจะกระตือรือร้นในการทำข่าวเสื้อแดง ขณะเดียวกันก็มีคนอีกจำนวนหนึ่งซึ่งมีมุมมองแบบคนกรุงเทพฯ จะรู้สึกกับคนเสื้อแดงและเหตุการณ์ความรุนแรงอีกมุมหนึ่ง ซึ่งอาจก่อความขัดแย้งเล็กๆ ในองค์กร ก็ต้องพยายามสร้างสมดุล แต่ในส่วนเนื้อหา เราต้องเลือกดูว่าจุดไหนที่จะไม่แหลมขึ้นมาจนเกินไป

GM : บางเสียงถึงขั้นบอกว่า ที่มติชนเลือกข้างเป็นเพราะเห็นแก่ยอดขายที่ดีขึ้นจากการลงข่าวคนเสื้อแดง ในความเห็นของคุณ ไม่ห่วงหรือว่าความเป็นกลางของสื่อมวลชนจะหายไป

ปราปต์ : ถามว่ากังวลไหม ก็กึ่งๆ ครับ มีบ้างที่ลูกค้าบ่นว่าทำไมเราแดงจัง(หัวเราะ) แต่สำหรับผมคิดว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น เราควรอยู่ข้างคนที่โดนกระทำหรือไม่ได้รับความยุติธรรม มติชนไม่ได้เอนเอียงขนาดนั้น แต่เมื่อมีเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความสูญเสีย ในฐานะสื่อ ผมคิดว่าเราควรแสดงจุดยืน ในฐานะคนทำงาน ผมคิดว่าเรามาถูกทาง

GM : ถ้าอย่างนั้น คุณว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนหรือไม่ว่าจุดยืนของคุณถูกต้อง

ปราปต์ : ผมคิดว่ามันสะท้อนว่า เราต้องหันมาสนใจชนบทให้มากขึ้น ว่าชนบทเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร คนกรุงเทพฯ อย่างไรก็ไม่รับพรรคเพื่อไทย ไม่รับเสื้อแดง นี่คือดูจาก ส.ส. ที่ได้ แต่ในเวลาเดียวกันก็เป็นหน้าที่เราในฐานะสื่อที่ต้องทำให้ 2 ฝ่ายนี้รู้จักกันให้มากขึ้น ผมคิดว่าเราต้องทำความเข้าใจกับผลการเลือกตั้ง เช่นทำไมคนภาคใต้เลือกประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะอย่างไรก็เลือก โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งเรารู้สึกมาตลอด 2 ปี ว่ารัฐบาลไม่ได้แก้ปัญหาอะไรมากนัก แต่ทำไมยังเลือกประชาธิปัตย์ ทำไมคนกรุงเทพฯ ก็ยังเลือกประชาธิปัตย์ หรือทำไมคนอีสาน คนภาคเหนือ

จึงเลือกเพื่อไทย ถึงเวลาที่เราต้องลงรายละเอียดว่า สุดท้ายอะไรทำให้คนตัดสินใจเลือกแบบนั้นแบบนี้ หากตามงานด้านวิชาการ เราจะเริ่มเห็นว่ามีงานด้านมานุษยวิทยา ด้านสังคมศาสตร์ที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองมากขึ้นโดยไปศึกษากับชาวบ้าน การที่มติชนสนใจทำข่าวเสื้อแดงก็เป็นการสะท้อนอย่างหนึ่งเหมือนกันว่า ถ้าพรรคเพื่อไทยทำงานคู่ขนานกับคนเสื้อแดงจนส่งผลต่อการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างมีนัยสำคัญ ยิ่งแสดงให้เห็นว่าเราไม่อาจละเลยพวกเขาได้ เราต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น เพราะคนเหล่านี้มีสิทธิกำหนดทิศทางของประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราจับประเด็นได้ค่อนข้างถูก

เมื่อผลเลือกตั้งออกมาอย่างนี้ มีคนจับตามองว่า พรรคเพื่อไทยหรือคุณทักษิณหรือคุณยิ่งลักษณ์ จะประนีประนอมกับชนชั้นนำอย่างไร และกับคนเสื้อแดงอย่างไร ถ้าเราสังเกตการณ์การชุมนุม จะพบว่าคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยมีทรรศนะทางการเมืองที่ไปไกลพอสมควร จึงเป็นเรื่องท้าทายว่าสังคมไทยจะอยู่กันอย่างไร จะจัดการความสัมพันธ์นี้อย่างไร ผมเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ ช่วยย้ำให้เราเห็นว่าเสียงส่วนใหญ่เป็นอย่างไรเท่านั้น

จะไทยรักไทย พลังประชาชน หรือเพื่อไทย อย่างไรก็ชนะ จะรัฐประหารหรือกีดกันด้วยกฎหมายแบบไหน เขาก็ชนะ คนเสื้อแดงอย่างไรก็เป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นตัวย้ำ จึงทิ้งคำถามไว้มากว่าความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมไทยอนาคตจะเป็นอย่างไรขอเล่าย้อนกลับไปช่วงหลังรัฐประหารปี 2549 ตอนนั้นผมยังเรียนมหาวิทยาลัยอยู่ มีเพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่งบอกว่าถ้าเกิดรัฐประหารขึ้นเหตุการณ์จะไม่จบ ถ้าสู้ก็ต้องสู้กันยาวเลย ไม่น่าเชื่อว่าก็เป็นอย่างนั้น

เราควรอยู่ข้างคนที่โดนกระทำหรือไม่ได้รับความยุติธรรม มติชนไม่ได้เอนเอียงขนาดนั้น แต่เมื่อมีเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความสูญเสีย ในฐานะสื่อ ผมคิดว่าเราควรแสดงจุดยืน

ในฐานะคนทำงานผมคิดว่าเรามาถูกทาง

เพราะจนเดี๋ยวนี้สถานการณ์ก็ยังไม่คลี่คลาย และผมก็ไม่แน่ใจว่าจะคลี่คลายเมื่อไหร่ แต่ในแง่หนึ่งผมคิดว่าอย่างไรก็ไม่จบ ต่อให้ชนชั้นนำมาเกี้ยะเซี้ยะกันฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะได้ เราก็ยังต้องต่อสู้กันต่อไปอยู่ดี ผมไม่เชื่อว่าคนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทยจะอยู่ด้วยกันแบบนี้ตลอดไป ต้องมีการปะทะสังสรรค์กันทางความคิด และนำไปสู่สิ่งใหม่

GM : คุณเป็นห่วงเรื่องความรุนแรงไหม

ปราปต์ : ก็น่าห่วง โดยเฉพาะสังคมไทยเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นเราไม่สามารถหาข้อสรุปหรือข้อยุติได้ทันที เมื่อหาข้อสรุปไม่ได้ สุดท้ายคนทำก็ไม่ได้รับความผิด จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก

ผมคิดว่ามันท้าทายรัฐบาลใหม่ว่าจะจัดการได้ไหม จะหาความจริงและคนรับผิดชอบได้ไหม หรืออย่างน้อยก็ให้มีความชัดเจนมากกว่านี้ แต่เชื่อว่าการก่อความรุนแรงกับประชาชนไม่ง่ายอีกต่อไปแต่ถ้าชนชั้นนำตกลงกันได้ แล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น ผมคิดว่ายังมีโอกาสที่จะเกิดความรุนแรงได้ เช่นการที่คนกรุงเทพฯ ด่าคนชนบทว่าโง่ เลือกเพื่อไทย คนชนบทก็เริ่มไม่พอใจคนกรุงเทพฯ มันมีเชื้อไฟที่จุดขึ้นมาได้ ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะจัดการอย่างไร จะอยู่ด้วยกันอย่างไร ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะต้องทำความเข้าใจว่าทำไมแต่ละฝ่ายคิดแบบนี้

GM : ดูเหมือนในยุคดิจิตอลอย่างปัจจุบัน สื่อออนไลน์กำลังมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่แหลมคม

ปราปต์ : ก็มีบทบาทนะครับ แต่ยังไม่มากถึงขนาดนั้น ผมคิดว่าต้องยอมรับว่าโลกออนไลน์ยังไม่ใช่สนามที่เป็นเสียงหลักจริงๆ พื้นที่ในอินเตอร์เน็ตส่วนมากเป็นของชนชั้นกลางในเมืองเท่านั้น เรารับฟังเขาในฐานะเสียงหนึ่งเท่านั้นเอง

GM : เป็นไปได้ไหมว่า เป็นเพราะสื่อออนไลน์ทำให้นำเสนอข่าวสารได้เร็ว แต่อาจมีปัญหาความน่าเชื่อถือ เพราะเป็นข่าวสารที่ไม่ได้รับการตรวจสอบ

ปราปต์ : ประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญอันหนึ่ง นักข่าวออนไลน์สมัยก่อนจะมีเพียง 5-6 คน เจอข่าวอะไรน่าสนใจก็ปล่อยออกไปเลย เช่นถ้าเขาเข้าไปในฐานข้อมูลของมติชน เจออะไรน่าสนใจก็ยิงเข้าไปในเว็บไซต์ แต่พื้นฐานของคนทำหนังสือพิมพ์จะรู้สึกว่าน่าจะผ่านการตรวจสอบก่อนไหม เพราะสำหรับหนังสือพิมพ์กว่าจะได้พิมพ์ออกไปมันมีขั้นตอน แต่สื่อออนไลน์ทำได้เลยในขั้นตอนเดียว จึงมีความรู้สึกแตกต่างกันอยู่ ปัจจุบันเราก็เริ่มปรับ ในส่วนที่ใช้ข่าวจากหนังสือพิมพ์เราจะใช้ระบบแบบหนังสือพิมพ์ ก่อนออนไลน์ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจทาน สำหรับมติชนออนไลน์ เราไม่เน้นเร็ว แต่เน้นที่ความแตกต่าง

GM : การทำงานสื่อออนไลน์ในสื่อที่ถูกมองว่าเลือกข้างอย่างมติชนอย่างนี้ คุณได้พบกับสิ่งที่เรียกว่า ‘การล่าแม่มด’ บ้างไหม และคิดอย่างไรกับพฤติกรรมนี้ในสังคมไทย

ปราปต์ : ต้องเท้าความไปว่า ในช่วงแรกๆ ที่เริ่มคุ้นเคยกับสื่อออนไลน์ ผมรู้สึกว่าสื่อนี้เป็นพื้นที่อิสระ แต่พอเกิดกรณีล่าแม่มด เริ่มรู้สึกว่าสุดท้ายพื้นที่ในอุดมคติตรงนี้ต้องเสียไปอีกแล้วหรือ ผมคิดว่าจากที่ผมเปิดดูในบันทึกส่วนตัว กระบวนการล่าแม่มดน่าจะเริ่มตั้งแต่กรณีคนที่ถูกกฎหมายคอมพิวเตอร์เล่นงาน คือโพสต์ข้อความลงไปในเว็บไซต์ แล้วถูกรัฐเล่นงาน ตอนนั้นเริ่มมีสื่อทางเลือกจำนวนหนึ่งเรียกพฤติกรรมนี้ว่าการล่าแม่มด จากนั้นถึงเป็นการล่าแม่มดที่เรารู้จัก คือต่อไปนี้ไม่ใช่แค่เรื่องกฎหมาย แต่เป็นเรื่องของคนภาคประชาชนที่ล่ากันเองในอินเตอร์เน็ต เพราะความคิดเห็นทางการเมืองต่างกัน กลายเป็นว่าพื้นที่สื่อออนไลน์เจอทั้งกฎหมายและกฎหมู่ ผมเคยไปพูดช่วงก่อนเลือกตั้งว่า สื่อในอินเตอร์เน็ตคือการสื่อสาร 2 ทาง แต่กลายเป็นว่าในฐานะที่เรา

การล่าแม่มด เป็นคำที่แพร่หลายในโลกอินเตอร์เน็ต หมายถึงการรวมกลุ่มกันของผู้ใช้งานสื่อออนไลน์จำนวนหนึ่งเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อต้านหรือไม่เห็นด้วยกับความคิด

ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และเคลื่อนไหวเพื่อแสดงจุดยืนของการไม่ยอมรับสิ่งนั้นๆ นักสังคมวิทยาอาจเรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า เป็นการ Social Sanction แบบหนึ่ง แต่การล่าแม่มดหรือ ‘Witch Hunt’ จริงๆ นั้นเริ่มในยุคกลางราวศตวรรษที่ 13 โดยคดีที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการล่าแม่มดคือการ

ถูกเผาทั้งเป็นของ แอกเนส ซิมพ์สัน ในนอร์ธ เบอร์วิก ตามพระบัญชาของพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอต

ทำสื่อออนไลน์ เรากลับไม่สามารถผลักดันสื่อตรงนี้ได้สำเร็จ โดยเฉพาะเมื่อนำสื่ออินเตอร์เน็ตมาโยงเรื่องการเมือง ในแง่ที่ผมทำงานด้านนี้ ผมรู้สึกเป็นห่วงว่ากฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ของไทยเหมือนถูกนำมาใช้ในทางการเมืองมากเกินไป จนเกิดการลิดรอนสิทธิของพลเมือง แทนที่จะอำนวยความสะดวก กลายเป็นว่าหน้าที่หลักของกฎหมายคือเพื่อรับใช้คดีเกี่ยวกับการเมืองที่มีคอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางเท่านั้น

GM : คุณคิดว่าสื่อมวลชนในประเทศมีอิสระในการนำเสนอข่าวมากน้อยเพียงใดถ้าเทียบกับประเทศในเอเชียด้วยกัน

ปราปต์ : พูดตามตรงผมไม่เคยคุยกับนักข่าวเอเชียคนอื่น แต่เท่าที่สังเกตก็มีทั้งวิกฤติและโอกาส อย่างเช่นมาเลเซียก็มีเว็บไซต์ที่เป็นทางเลือก แต่เรื่องสื่อใหม่ในเอเชียนั้น ส่วนใหญ่เราจะพบปัญหาคล้ายๆ กัน คือเอเชียมีลักษณะสังคมแบบอำนาจนิยมอยู่มาก บางครั้งจึงถูกจำกัดโดยผู้มีอิทธิพล อย่างในจีนนี่หนักกว่าเรา คือไม่ได้ใช้เฉพาะเว็บข่าวเท่านั้น แต่รวมถึงเสรีภาพของประชาชนด้วย หรือกรณีลาว เวียดนาม พม่า ก็มีปัญหามากเรื่องการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ในตะวันตกคิดว่าน่าจะมีปัญหาน้อยกว่านี้

วันก่อนผมได้ไปร่วมกับทีวีไทย เขาจัดฉายหนังให้กรรมการนโยบายฯ ดู เรื่อง Outfoxed เป็นเรื่องราวของสถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์ของ รูเพิร์ต เมอร์ด็อก นำเสนอเรื่องของการสั่งการลงมาตั้งแต่ตัวเมอร์ด็อก ว่าให้สถานีโทรทัศน์นำเสนอข่าวเชิงอนุรักษนิยม แล้วมันก็ออกมาเอียงข้าง คนทำสารคดีพยายามนำเสนอว่าฟ็อกซ์มันเอียงข้างเต็มที่ แต่สำหรับผม ผมสงสัยว่ามันเป็นปัญหาจริงหรือเปล่า คนอเมริกันก็รู้อยู่แล้วว่าฟ็อกซ์มันเอียง ถ้าเรามองมันในฐานะสื่อกระแสหลักอนุรักษนิยม ก็อาจไม่มีปัญหาอะไร แฟนคลับก็อาจชอบกันไป ถ้าคุณไม่เห็นด้วยก็ไม่ต้องดู ไปดูช่องอื่นก็ได้ ปัญหาอีกประการหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นก็คือ ในสังคมยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาให้ความเชื่อถือผู้ชมอยู่พอสมควร แต่สำหรับประเทศไทยเรายังไม่เชื่อถือผู้ชมของเรา คนจะรู้สึกว่าคนดูต้องได้รับการปกป้อง คนดูไม่มีภูมิต้านทานพอ คือถ้าสื่อเอียงข้างก็เท่ากับทำร้ายคนดู เพราะคนดูไม่มีการศึกษามากพอ แยกแยะไม่ได้ แต่ผมไม่แน่ใจว่าเรื่องการศึกษาสูงต่ำจะนำเอามาใช้กับเรื่องแบบนี้ได้

GM : เมื่อพูดถึง รูเพิร์ต เมอร์ด็อก แล้ว ดูเหมือนว่าสื่อสมัยใหม่จะมีความท้าทายเรื่องจริยธรรมสื่อมากขึ้น เช่นในกรณีอื้อฉาวของหนังสือพิมพ์ News of the World ของเมอร์ด็อกนั้น

คุณมองเหตุการณ์นี้อย่างไร รวมถึงการที่สื่อต้องทำงานรับใช้กลุ่มทุนที่ให้การสนับสนุนเรื่องโฆษณามากขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งเป็นเรื่องจริยธรรมสื่อทั้งสิ้น

ปราปต์ : ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ก็มีบ้าง บางครั้งเราก็ต้องทำข่าวเพื่อรองรับหน่วยงานอื่นๆ ของบริษัทที่เข้ามา แต่ถ้าถึงขนาดที่ว่ามันจะแทรกแซงต่อทิศทางการนำเสนอข่าวหลักของมติชนเลยไหม ในส่วนผมเองยังไม่เคยเจอ ผมคิดว่าเวลาเราพูดเรื่องสื่อ เรามักโทษกันถึงกลุ่มทุนแต่ผมคิดว่ามีอีกส่วนที่น่านำมาพูดถึงคือตัวของคุณเอง ว่าคุณมีความคิด มีความเชื่อทางการเมือง สังคม ศาสนาอย่างไร สิ่งเหล่านี้มีส่วนต่อการทำงานไม่น้อยไปกว่าเรื่องทุน

Outfoxed (2004) สารคดีที่ตั้งคำถามถึงอคติของสื่อและการรักษาความเป็นกลางของสื่อและการรักษาสมดุลระหว่างนโยบายของสถานีกับความเป็นกลางของสื่อมวลชน โดยการไปสัมภาษณ์อดีตผู้ประกาศข่าวของสถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์ และพนักงานที่ออกมาเปิดเผยเรื่องอคติแบบอนุรักษนิยมที่มีอยู่ในสถานีโทร-ทัศน์ฟ็อกซ์ นักวิจารณ์ค่อนข้างชอบสารคดีเรื่องนี้ ซึ่งกำกับโดยนักทำสารคดี โรเบิร์ต กรีนวอลด์

GM : กับสื่อหนังสือพิมพ์ กลุ่มอำนาจทางการเมืองมีส่วนเข้ามาแทรกแซงไหม

ปราปต์ : คือมันมีปัจจัยอยู่หลายส่วน อาจจะย้อนไปที่คำถามเบื้องต้น ที่มีคนบอกว่ามติชนอยู่ข้างคนเสื้อแดง เสนอข่าวคนเสื้อแดงเยอะหน่อย แต่ผมไม่ได้คิดว่ามีทุนอะไรมาในรอบสามสี่ปีนี้ที่จะเข้ามาอุ้มชูเครือมติชนเพื่อให้นำเสนอข่าวเสื้อแดง แต่คิดว่าถึงจุดหนึ่งของคนทำสื่อมากกว่าที่รู้สึกว่าคนเหล่านี้เป็นมวลชนกลุ่มใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เราจะไม่สนใจมวลชนเหล่านี้เลยไม่ได้ คนเหล่านี้มีบทบาทในสังคมไทยมานาน ฆ่าก็ฆ่าไม่ตาย กลับมาได้ตลอด เลือกตั้งกี่ทีก็แพ้ แต่พวกเขาก็ยังอยู่ นี่เป็นหน้าที่ของสื่อที่ต้องเข้าไปทำความรู้จักกับคนกลุ่มนี้ ส่วนการนำเสนอออกมาเป็นเรื่องของจริยธรรม ผมคิดว่าตัวจริยธรรมของสื่อมีหลายประเภท อันหนึ่งคือเรื่องของความเป็นกลาง แต่บางเหตุการณ์เราก็ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เช่นกรณีที่มีคนถูกฆ่า สื่อยังต้องเป็นกลางไหม หรือสื่อควรอยู่ข้างคนที่ถูกกระทำหรือเปล่า เหล่านี้เป็นคำถาม ผมคิดว่าจริยธรรมในสื่ออาจมีหลายมิติ เช่นความเชื่อส่วนตัว เราเชื่อเรื่องประชาธิปไตยหรือไม่ เราเชื่อในเรื่องความเท่าเทียมกันหรือไม่

GM : คุณว่าทุกวันนี้สื่อมวลชนไทยมีความสามารถในการทำงานในเชิงลึกหรือมีทักษะในการทำงานที่สอดรับกับสื่อใหม่มากน้อยเพียงใด

ปราปต์ : ผมคิดว่าอยู่ในขั้นตอนการเรียนรู้หลายๆ อย่างเครือเนชั่นฯ ก็เป็น โมโจ (MOJO) ซึ่งทำไปสักพักหนึ่งก็จะเห็นคนเด่นๆ ออกมา เช่น คุณนภพัฒน์จักษ์ (อัตตนนท์)แต่อาจมีบางคนเหมือนกันซึ่งเขาอาจทำได้ไม่ดี มันเป็นเรื่องของนักข่าวเหมือนกัน อย่างมติชนตอนนี้มีการแจกไอโฟนให้กับนักข่าว เช่นนักข่าวภาคสนามการเมือง นอกจากสัมภาษณ์แล้ว ให้ลองถ่ายคลิปมา ผ่านมามีคลิปสัมภาษณ์ ซึ่งมุมกล้องอาจไม่ดี เสียงอาจมีปัญหา แต่ผมว่าอยู่ในขั้นตอนการเรียนรู้ แต่เท่าที่สัมผัสเด็กรุ่นใหม่ๆ จะไม่มีปัญหาด้านนี้ อย่างน้อยเขาก็ตัดวิดีโอเป็น ต่อให้ไม่จบนิเทศศาสตร์ก็ทำเป็น เรามีหน้าที่ฝึกเขาเรื่องประเด็นและเนื้อหาเท่านั้น ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่าถ้าเป็นนักข่าวที่มีประสบการณ์ เขาอาจทำไม่เป็น

GM : ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวการปรับองค์กรของมติชนขนานใหญ่ เช่นการเปลี่ยนตัวบรรณาธิการทั้งมติชนรายวันและมติชนสุดสัปดาห์จนมีการถกเถียงกันในแวดวงสื่อมวลชน ถามจริงๆ เกิดอะไรขึ้นภายในมติชน

MOJO ย่อมาจาก Mobile Journalist หมายถึงผู้สื่อข่าวที่สามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น เขียนข่าว ตัดต่อคลิปวิดีโอ อัพโหลดขึ้นเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียได้เบ็ดเสร็จ

การที่มติชนสนใจทำข่าวเสื้อแดงก็เป็นการสะท้อนอย่างหนึ่งเหมือนกันว่า ถ้าพรรคเพื่อไทยทำงานคู่ขนานกับคนเสื้อแดงจนส่งผลต่อการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างมีนัยสำคัญ

ยิ่งแสดงให้เห็นว่าเราไม่อาจละเลยพวกเขาได้

ปราปต์ : คนไปมองแต่ภาพความขัดแย้ง แต่จริงๆ มันเป็นการปรับเปลี่ยนคนทำงานมากกว่า คือได้เวลาเขย่าก็เท่านั้นเอง มติชนมีการเปลี่ยนกรรมการผู้จัดการ พอระดับหัวเปลี่ยนก็นำไปสู่การพิจารณาคนในระดับต่างๆ มีคนที่ได้โปรโมต บางส่วนอาจยังอยู่ในระนาบเดิม แต่โดยรวมมีความพยายามปรับเปลี่ยนการทำงาน หากคิดว่าสื่อต้องปฏิสัมพันธ์กับสังคมภายนอก ช่วงที่ผ่านมาสังคมเปลี่ยน มติชนก็มองว่าผู้บริหารต้องปรับคนให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนไป แต่ไม่ได้มีความขัดแย้ง อย่างเช่นกรณีของมติชนสุดสัปดาห์ เท่าที่ทราบเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อผู้อ่านมากกว่า คือพยายามหาโทนใหม่ๆ เข้ามา ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับช่วงเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารมีการโยกคุณสุวพงศ์ (จั่นฝังเพ็ชร) บรรณาธิการมติชนรายวันมาดูแลมติชนสุดสัปดาห์แทนคุณเสถียร (จันทิมาธร) ซึ่งทำให้หนังสือเปลี่ยนไปบางจุด

GM : หนังสือเปลี่ยนไปตามรสนิยมบรรณาธิการ ?

ปราปต์ : ก็ส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วน ผมคิดว่ามติชนสุดสัปดาห์เป็นสื่อที่มีความเฉพาะตัวถ้าเทียบกับสื่อในเครือมติชนเล่มอื่นๆ ส่วนหนึ่งต้องยอมรับในรสนิยมของคุณเสถียร ซึ่งวางรากไว้ดี ปัจจุบันคุณเสถียรก็ยังเป็นที่ปรึกษาให้กับมติชนสุดฯ เข้าประชุมทุกปก ทุกสัปดาห์ ต้องยอมรับว่าคุณเสถียรเป็นคนมติชนรุ่นอาวุโสที่ยังอ่านหนังสือใหม่ๆ อยู่ตลอด ทั้งนิยาย นิยายแปล หรือนิตยสารใหม่ๆ บางทีมาคุยเรื่องใน GM ก็มี (หัวเราะ) มติชนสุดฯ

เป็นทีมงานที่จับกระแสใหม่ๆ ได้เก่ง และเป็นภาพสะท้อนของคอนเนคชั่นของตัวมติชนเอง เรายังมีบทความรุ่นเก๋าจากนักเขียนอย่างคุณณรงค์ จันทร์เรือง ขณะเดียวกันก็มีนักวิชาการอย่างอาจารย์นิธิ (เอียวศรีวงศ์) อาจารย์ธเนศ (วงศ์ยานนาวา) หรือนักเขียนรุ่นใหม่ๆ อย่าง ทราย เจริญปุระหรือ กาละแมร์ (พัชรศรี เบญจมาศ)

GM : คอลัมนิสต์คนหนึ่งของมติชนสุดสัปดาห์ที่ใช้คำว่า ‘อื้อฉาว’ กับเธอได้เลยคือ คำ ผกา ซึ่งใช้วิธีวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นอย่างตรงไปตรงมาจนบางคนมองว่ารุนแรง คุณคิดอย่างไรกับงานเขียนของเธอ

ปราปต์ : มันขึ้นอยู่กับว่าเรามองอย่างไร คือถ้าสังคมไทยศิวิไลซ์พอ มันน่าจะเปิดกว้างในเรื่องจุดยืนให้เห็นหลายๆ มุมที่แตกต่างได้ อย่างมติชนสุดสัปดาห์ ถ้าพูดถึงนักเขียนหญิงก็มีหลายคน ชัดหน่อยก็อย่างเช่นคุณกาละแมร์ กับ คำ ผกา ซึ่งมองโลกกันคนละแบบ คุณคำ ผกา คืออีกแบบหนึ่ง ซึ่งก็มีคนเตือนเราเหมือนกันว่าในช่วงที่สังคมมีความขัดแย้งทางความคิดอย่างหนัก สื่อควรมีหน้าที่ประคับประคองสังคม หลายคนกังวลเรื่องนี้ อย่างกรณีที่คุณคำ ผกา เขียนติติงพระไพศาล (วิสาโล) บางส่วนอาจรู้สึก โอ้โห! เกินไปไหม ทำไมแรงแบบนี้ แต่ผมคิดว่าเป็นการปะทะกันทางความคิด ขณะเดียวกันผมก็เชื่อมั่นว่า กองบรรณาธิการมติชนสุดสัปดาห์คงเลือกเชื่อว่าสังคมไทยควรเติบโตหรือศิวิไลซ์มากพอที่จะให้

ความคิดของแต่ละฝ่ายมาปะทะกันได้แต่ในแง่คนอ่าน ผมตั้งข้อสังเกตว่าเป็นมุมมองระหว่างความเชื่อสองด้าน ด้านหนึ่ง สังคมไทยควรเติบโตและสามารถเรียนรู้ถึงความขัดแย้งนี้ ส่วนอีกด้านหนึ่งคือต้องประคับประคองไม่ให้ความขัดแย้งนี้แหลมคมขึ้นมาจนเกินไป ซึ่งถ้าเทียบกันจะเห็นว่าสองส่วนนี้แฝงอยู่ในทั้งมติชนรายวันและสุดสัปดาห์ โดยความเข้มข้นหรือพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นจะมีลำดับชั้นแตกต่างกันตามความอ่อนไหวของสื่อ

GM : แล้วตัวคุณล่ะ หลายครั้งที่อ่านงานเขียนของคุณก็รู้สึกได้เช่นกันว่าคุณตรงและแรง โดยเฉพาะงานเขียนที่คุณใช้นามปากกา ไม่หวาดเกรงหรือว่าความแรงนั้นจะกระทบต่อองค์กร

ปราปต์ : งานเขียนส่วนหนึ่งจะไม่ระบุชื่อ หรือไม่ก็ใช้นามปากกา จะคิดไว้ก่อนว่าเขาไม่น่าจะรู้ว่าเราเป็นใคร (หัวเราะ) ก็จะเต็มที่ แต่ขณะเดียวกันถ้าใช้ชื่อจริง เราก็จะลดทอนความเป็นตัวเองลงไป แต่จะเน้นการเขียนในเชิงหลักการมากขึ้น

เพราะฉะนั้นส่วนที่ใช้ชื่อจริง คนอาจไม่รู้สึกอะไรมากนัก ขณะเดียวกันก็รู้ตัวเหมือนกันว่าต้องเลือก คือถ้าเราคิดว่านามสกุลบุนปานคือสัญลักษณ์ของมติชน เราจะทิ้งความคิดเห็น

ที่เป็นส่วนตัวของเราไปเลยก็ไม่ใช่ ขณะเดียวกัน ถ้าเราได้โอกาส มีพื้นที่ในการเขียน อย่างน้อยๆ เราก็ควรสื่อสารให้คนได้เห็นแง่มุมอื่นด้วย ผมคิดว่าถ้าเราระวังตัวมากไป เราก็เสียโอกาส แต่ขณะเดียวกันก็กังวลเหมือนกันว่าจะรักษาสถานะนั้นอย่างไรเพื่อไม่ให้กระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร

GM : แล้วงานเขียนของคุณใน ‘สถานีคิดเลขที่ 12’ คุณมีจุดยืนอย่างไร

ปราปต์ : ตอนแรกที่มติชนรายวันมาชวน เขาบอกว่าต้องการมุมมองของคนรุ่นใหม่ ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าจะออกมาเป็นอย่างไร จริงๆ พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่สำหรับบรรณาธิการของแต่ละฉบับในเครือ แต่ละคนแก่พรรษาทั้งนั้น และส่วนใหญ่จะเน้นที่การเมืองที่อยู่ในกระแสช่วงนั้นๆ สุดท้ายเขียนไปเขียนมาผมก็ไม่ใช่คนรุ่นใหม่ (หัวเราะ) แต่มีบ้างที่พยายามเขียนให้เป็น

ซีรีส์ต่อๆ กัน ปัจจุบันงานของผมจะลงในวันพฤหัสฯ งานวันพุธจะเป็นของบรรณาธิการมติชนรายวัน (วรศักดิ์ ประยูรศุข) คิดว่าถ้าจะเขียนอะไรที่ต่อยอดจากเขาได้ ก็จะพยายามเขียน แต่เสนอแง่มุมบางอย่างที่เราสนใจ

GM : สำหรับคนหน้าใหม่อย่างคุณถือเป็นงานที่หนักไหม

ปราปต์ : ก็พอได้อยู่ แต่พูดตามตรง พอเราเข้ามาทำงานจริงๆ จังๆ ก็เริ่มรู้ซึ้งว่าเป็นคอลัมนิสต์ก็เหนื่อยนะ (หัวเราะ) เอาง่ายๆ ตั้งแต่โตมา ผมเห็นว่าคุณพ่อต้องเขียนอะไรๆ เยอะมาก แต่ในฐานะคนอ่าน เราจะรู้สึกว่าคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์เขียนไม่ค่อยลึก แม้แต่นักวิชาการที่มาเขียนก็เหมือนกัน บางทีเขียนงานเขียนชิ้นนี้ดี งานชิ้นต่อไปตก พอได้มาเขียนถึงรู้ว่าการประคับประคองงานเขียนอาทิตย์ละชิ้นสองชิ้นให้ดีอย่างสม่ำเสมอมันยากมาก ยิ่งบางคนที่ต้องเขียนวันละชิ้น การรักษามาตรฐานก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก

คนไปมองแต่ภาพความขัดแย้ง แต่จริงๆ มันเป็นการปรับเปลี่ยนคนทำงานมากกว่า มติชนมีการเปลี่ยนกรรมการผู้จัดการ พอระดับหัวเปลี่ยน

ก็นำไปสู่การพิจารณาคนในระดับต่างๆ มีคนที่ได้โปรโมต บางส่วนอาจยังอยู่ในระนาบเดิม

GM : พูดถึงคุณพ่อ คุณได้รับอิทธิพลทางความคิดหรือความสนใจด้านไหนมาจากท่านบ้าง

ปราปต์ : สิ่งที่ได้มามากคงเป็นเรื่องที่พอมาทำงานแล้วรู้สึกว่าเราเข้าใจการตัดสินใจของคนรุ่นพ่อมากขึ้น การทำงานกับคนกลุ่มใหญ่ที่มีความหลากหลายทางความคิด เราต้องจัดการอย่างไร ก่อนหน้าที่ยังไม่ได้เข้ามาทำงาน บางทีเราอาจไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่านี่เรียกว่าเป็นอิทธิพลได้หรือเปล่า เรื่องอื่นๆ เช่น มุมมองต่อเรื่องสังคม การเมือง หรือมุมมองเรื่องหนังสือวรรณกรรม ผมคิดว่าอาจไม่ได้รับอิทธิพลโดยตรงหรือเหมือนกันทีเดียว แต่ประสบ-การณ์ในวัยเด็กที่คุณพ่อมีเพื่อนหลายกลุ่ม ผมจึงได้คลุกคลีอยู่กับกลุ่มโบราณคดีหรือประวัติศาสตร์มากหน่อย

เพราะทั้งคุณพ่อและคุณแม่จบมาจากคณะโบราณคดีที่ศิลปากร จึงเป็นตัวย้ำให้เราสนใจด้านนี้ ทำให้เราสนใจประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม สมัยเด็กๆ ได้มีโอกาสไปเที่ยวกับกลุ่มของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ซึ่งสมัยก่อนท่านจะจัดทัวร์ มีท่านอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และต่อมาได้ไปกับอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ซึ่งผมว่าเป็นฐานที่ได้มาจากคนรุ่นพ่อแม่

GM : ทำไมคุณไม่คิดเรียนโบราณคดี

ปราปต์ : สมัยเด็กๆ ก็คิดเหมือนกัน แต่พอโตขึ้นเริ่มอยู่มัธยมปลาย ก็หันมาสนใจการเมือง เลยเป็นแรงผลักดันให้เรียนรัฐศาสตร์มากกว่าโบราณคดี แต่เอาเข้าจริงๆ พอมาเรียนรัฐศาสตร์ก็ไม่ได้สนใจการเมืองในเชิงสถาบัน สนใจกระแสรองมากกว่า ตอนเรียนก็ดันไปสนใจนิยาย สนใจหนัง แต่โชคดีที่ธรรมศาสตร์ค่อนข้างเปิดกว้าง จึงยังมีที่ทางให้เรา ตอนเรียนผมก็ไปลงเรียนกับอาจารย์ธเนศ (วงศ์ยานนาวา) กับอาจารย์ชัยวัฒน์ (สถาอานันท์) ซึ่งเป็นรัฐศาสตร์อีกแบบหนึ่ง วิชาที่ได้อะไรมาเยอะคือ ‘การเมืองกับนวนิยาย’ และ ‘ประวัติศาสตร์การเมืองไทย’

ซึ่งความคิดมันตกทอดมาถึงปัจจุบัน กลายเป็นสิ่งที่เราสนใจ ความที่โตมาในสิ่งแวดล้อมแบบนี้

GM : แสดงว่าจริงๆ แล้ว การเข้ามาเป็นสื่อมวลชนอาจเป็นเพราะเรื่องของธุรกิจครอบครัว ทั้งที่ไม่ได้ชอบ

ปราปต์ : มันกึ่งๆ นะ ต้องยอมรับว่าแรกๆ ไม่สนใจอะไรมาก ก่อนหน้านั้นเราก็เป็นแค่คนใช้งานสื่อออนไลน์ เว็บมติชนออนไลน์ก็ไม่ได้เข้าบ่อย

แต่เมื่อเราได้รับมอบหมาย ก็ต้องทำให้ดี แล้วดูว่ามีจุดไหนบ้างที่เราสามารถทำได้ พอทำไปสักพักก็เห็นว่า ตรงนี้เรามีสนาม มีโอกาสนำเสนอในสิ่งที่ตัวเองเชี่อ พอมันมีสนามเราก็โอเค แต่มันไม่ถึงกับว่ามีแผนว่าต้องมาทำ อย่างมติชนออนไลน์ ก็ไม่ใช่สิ่งที่เราเริ่มมาตั้งแต่แรก

GM : อึดอัดไหมกับการทำงานซึ่งไม่ใช่ที่ทางของคุณมาตั้งแต่แรก

ปราปต์ : แรกๆ ก็มีบ้าง คือก็ไม่ง่าย อยู่ดีๆ ให้เราเข้ามานั่งคุมคนอื่นเลย มันต้องอาศัยเวลา อีกอย่างหนึ่งที่หนักใจก็คือจะบูรณาการการทำงานแบบออนไลน์กับออฟไลน์ยังไง อย่างที่สำนักข่าวต่างประเทศเขาทำ คือกองเดียวกันบูรณาการได้หมด แต่ของไทยมันยังไม่ถึงขั้นนั้น มันยังติดขัด

GM : อายุกับประสบการณ์ที่ยังน้อย ถือเป็นอุปสรรคในการทำงานไหม

ปราปต์ : มีครับ แต่การทำงานของมติชนก็ช่วยเราได้มาก คือผมจะมีบัดดี้ในการทำงาน ยุคแรกคือคุณประสงค์ (เลิศรัตนวิสุทธิ์) ต่อมาพอเราย้ายมาอยู่มติชนออนไลน์ ก็จะเป็นคุณสรกล มีคนระดับที่เป็นบรรณาธิการซึ่งมีประสบการณ์มากกว่าเราคอยคุมอีกที ท่านเหล่านี้จะอธิบายอะไรได้ดีกว่าผม เพราะบางอย่างผมอาจจะสื่อสารได้ไม่ค่อยดี

GM : คุณพ่อเข้ามายุ่งเกี่ยวกับงานที่คุณทำไหม

ปราปต์ : ไม่เลยครับ ส่วนหนึ่งคือเขาอาจไม่คุ้นกับการรับสื่อออนไลน์ แต่ถ้ามีความเห็นก็จะเป็นไปในแง่การบริหารจัดการโดยรวมมากกว่า เช่นเรื่องการจัดการคน จัดระบบงานยังไง

GM : แล้วพี่สาว (ปานบัว บุนปาน) ล่ะ มีรสนิยมในการใช้ชีวิตเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ปราปต์ : ต่างกัน ส่วนหนึ่งคงเป็นเรื่องอายุที่ห่างกัน 10 ปี พี่สาวเข้าสังคมได้ดีกว่า ผมก็จะออกแนวเก็บตัว การคบเพื่อนก็จะไม่เหมือนกัน เพื่อนผมจะออกแนวเพื่อนอ่านหนังสือ ดูหนังด้วยกัน เพื่อนที่คุยเรื่องวิชาการ แต่พี่สาวผมก็จะมีมุมอีกแบบหนึ่ง เราก็สนิทกันในระดับหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าพี่สาวผมพอจบปริญญาตรีก็ไปเมืองนอก ไม่ได้อยู่คลุกคลีกัน แต่พอ

กลับมาก็พูดคุยกัน ในเรื่องงาน เรื่องทั่วๆ ไปในครอบครัว

GM : ภาพลักษณ์ของมติชนดูเป็นองค์กรที่ค่อนข้างอนุรักษนิยม ในฐานะที่คุณเป็นคนทำงานยุคดิจิตอล เป็นคนรุ่นใหม่ รู้สึกไหมว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นอุปสรรคในการทำงาน

ปราปต์ : มติชนเราค่อนข้างอนุรักษนิยม คนทำงานในระดับหัวหน้าเป็นคนอายุ 40 กว่าๆ เรื่อยไปจนถึง 60 ปี จริงๆ ผมเข้าใจธรรมชาติของคนว่าสุดท้ายเราก็จะกลายเป็นพวกอนุรักษนิยมโดยปริยาย มติชนเองก็ไม่แตกต่าง เราไม่ใช่องค์กรที่ทำอะไรหวือหวาหรือว่ากล้าลงทุนอะไรใหม่ๆ มากนัก ถามว่าเป็นข้อดีหรือข้อเสีย ผมว่ามีทั้งคู่ องค์กรของเราอยู่มานาน ระบบทุกอย่างถูกเซตไว้หมด ในแง่หนึ่งนี่คือความมั่นคงมีเสถียรภาพ

แต่ขณะเดียวกันก็มีคนรุ่นใหม่ๆ จำนวนหนึ่งโดยเฉพาะในฝั่งหนังสือพิมพ์ ที่คนทำงานจะรู้สึกว่าเขาจะต้องทำงานแบบนี้ อยู่ในสนามในฐานะนักข่าวไปอีก 10 ปีกว่าจะได้ขยับขยาย ซึ่งอาจมีคำถามเกี่ยวกับความก้าวหน้าหรือเรื่องค่าตอบแทน ซึ่งก็มีคนจำนวนหนึ่งที่เรียกร้อง อาจจะออกไปหาหนทางอื่นที่ดีกว่า หากเป็นอย่างนี้เรื่อยๆ มันก็จะเหมือนองค์กรคนแก่

ซึ่งเราก็ต้องปรับกันไป

GM : พูดถึงความสนใจอื่นๆ ของคุณบ้าง ทราบมาว่าคุณเคยทำหนังสั้น ตอนนี้คุณมีโครงการจะทำหนังอีกไหม และเคยเกิดความคิดอยากเปลี่ยนงานมาเป็นคนทำหนังบ้างไหม

ปราปต์ : ผมว่าหนังเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่น่าสนใจ ยิ่งพอมาเรียนรัฐศาสตร์ก็เห็นว่าเราสามารถพูดเรื่องการเมืองผ่านหนังได้อีก หนังสำหรับผมเป็นเครื่องมือ ผมเองเคยทำหนังสั้น ตอนที่ทำเป็นช่วงที่หนังสั้นกำลังเริ่มบูมพอดี เห็นว่ามันเป็นเครื่องมือก็ลองทำดู แต่ไม่เคยคิดที่จะทำเป็นอาชีพ ผมมองว่ามันเป็นเครื่องมือทำให้เราสื่อสารความคิดออกไปได้มากกว่า

แต่พอมาทำงาน ก็เหมือนเราหายจากการทำหนังไปเลย ส่วนหนึ่งคืองานยุ่ง อีกส่วนหนึ่งคือเราได้พื้นที่สื่อสารทางความคิดอีกแบบหนึ่ง

GM : ผู้กำกับภาพยนตร์คนไหนที่คุณคิดว่าน่าสนใจบ้าง

ปราปต์ : ผมก็ดูไปเรื่อย ไม่ตามติดกับผู้กำกับคนไหนเป็นพิเศษ แต่จะมีหนังของผู้กำกับบางคนที่เราตามดู เช่น หนังของคุณอภิชาติพงศ์ (วีระเศรษฐกุล) หรือผมก็ยังเป็นยุคที่ทันคุณบัณฑิต ฤทธิ์ถกล ช่วงที่เรียนปี 1 ปี 2 ก็จะชอบอยู่ ด้านหนึ่งจะย้อนกลับไปดูบุญชู ผมชอบดูหนังที่มีประเด็นเรื่องความขัดแย้งอะไรบางอย่าง เช่น หนังของคุณเฉลิม วงศ์พิมพ์ ผมชอบหลายเรื่อง เช่น คนไฟบิน (2007) ที่พูดเรื่องอีสานในสมัยหลังสนธิสัญญาเบาว์ริง คือสยามต้องผลิตข้าวเยอะ ก็นำมาสู่เรื่องข้าว เรื่องนายฮ้อย คือถ้าคนไทยส่วนใหญ่ทำหนัง มันจะเป็นเรื่องสังคมไทยปะทะกับค่านิยมตะวันตก แต่พอคุณเฉลิมแกโยกไปประเด็นคนอีสาน เป็นนายฮ้อยอีสาน มันกลายเป็นอีสานปะทะกับฝรั่งพร้อมกับปะทะกับขุนนางกรุงเทพฯ ด้วย ผมรู้สึกว่าประเด็นมันซับซ้อนดี หรือหนังของ จา พนม หรือ พันนา ฤทธิไกร ในยุคที่ออกมาทำเองก็เป็นหนังที่สะท้อนมุมมองของคนอีสาน จะมีมุมมองแปลกๆ อย่างองค์บาก ที่เล่นประเด็นเรื่องของคนอีสานกับเขมร ซึ่งใช้อธิบายอำนาจรัฐของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เลยว่ามันไม่ได้อยู่ด้วยอำนาจแข็งอย่างเดียว แต่ต้องอยู่ด้วยอำนาจอ่อนหรือพิธีกรรมอะไรบางอย่างด้วย ผมคิดว่าหนังของ จา พนม มันเข้าเค้า มันอาจไม่ต้องรสนิยมฮอลลีวู้ด ชนชั้นกลางก็ไม่ดู แต่ผมคิดว่ามันมีความแหลมคมอยู่

GM : คุณคิดว่าหนังไทยทุกวันนี้เป็นอย่างไร

ปราปต์ : เป็นกระบวนการที่มีชีวิตชีวาดี บางคนจะยี้หนังผี หนังตลก แต่ผมว่าก็มีอะไรที่น่าสนใจ ต้องยอมรับว่าหนังไทยปัจจุบันมีเฉดที่หลากหลาย ให้เราได้ดูได้วิเคราะห์อะไรเยอะ ตัวหนังไทยหรืออุตสาหกรรมหนังไทยก็มีความหลากหลายพอสมควร ต่อให้เป็นหนังที่อยู่กลางๆ ก็มีประเด็นที่น่าสนใจเยอะ ผมอาจไม่ได้มองหนังในฐานะผลผลิตทางอุตสาหกรรม แต่มองหนังในฐานะฐานข้อมูลอันหนึ่ง รู้สึกว่ามันก็สนุกของมัน

GM : สำหรับหนังสือ คุณชอบงานเขียนของใครเป็นพิเศษ

ปราปต์ : สมัยมัธยมก็อ่านไปตามแฟชั่น เช่น จันดารา หรือมีหนัง 2499 ก็จะสนใจอ่านหนังสือของ คุณสุริยัน ศักดิ์ไธสง แต่เล่มหนึ่งที่สนใจจริงๆ น่าจะเป็นช่วง ม.2-ม.3 ที่อ่าน ‘ละครแห่งชีวิต’ ของ หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ แต่ช่วงนั้นก็ไม่ได้คิดอะไรลึกมากมาย

หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ เกิดเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2448 – 18 พฤษภาคม 2474) หรือเป็นที่รู้จักในนามปากกา ‘วรเศวต’ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ กับหม่อมอ่อน ทรงจบการศึกษาด้านกฎหมายจากสำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล ลอนดอน ประเทศอังกฤษ แต่กลับไปคลุกคลีอยู่กับหมู่นักหนังสือพิมพ์อังกฤษจนล้มเหลวในเรื่องการศึกษา แต่โชคดีที่ได้รับพระราชทานทุนจากรัชกาลที่ 7 ให้ไปศึกษาวิชาการต่างประเทศที่เมืองจอร์จทาวน์ สหรัฐอเมริกา แต่ประชวรหนักทำให้ต้องเดินทางกลับประเทศไทย

ทรงสนพระทัยในการประพันธ์มาตั้งแต่ครั้งเรียนอยู่ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ โดยทรงร่วมกับ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ทำหนังสือในห้องเรียน เมื่อมาทำงานที่กรมสาธารณสุข ทรงนิพนธ์นวนิยายเรื่องแรก ‘ละครแห่งชีวิต’ ประสบความสำเร็จอย่างมากและตามมาอีกหลายเรื่อง โดยเนื้อหาเป็นการเขียนในเชิงอัตชีวประวัติเกี่ยวกับตัวท่านเอง และดำเนินเรื่องโดยใช้ฉากในต่างประเทศเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของการเขียนในสมัยนั้น ม.จ.อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ทรงประสบความผิดหวังในเรื่องความรัก

และชีวิต เนื่องจากฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำ จึงเสด็จหนีไปฮ่องกงในปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2474 ดำรงชีวิตด้วยการเขียนบทความลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฮ่องกง และสิ้นชีพิตักษัยที่นั่น ว่ากันว่า ตามเอกสารฮ่องกงระบุว่าท่านสิ้นชีพิตักษัยด้วยไข้มาลาเรีย แต่มีผู้เห็นเหตุการณ์อ้างว่าท่านเปิดแก๊สเพื่อจงใจฆ่าตัวตาย

แค่เห็นว่านี่คือหนังสือเกี่ยวกับชีวิตเจ้านาย เป็นนวนิยายเรื่องแรกๆ ของคนไทยที่พูดถึงชีวิตคนไทยที่ไปเมืองนอก ก็ตามเก็บซีรีส์ของท่าน แต่พอได้ย้อนกลับมาอ่านงานของท่านอากาศฯ ตอนเรียนมหาวิทยาลัย มุมมองเราก็เริ่มเปลี่ยนไปเลย จากละครพาฝันกลายมาเป็นประเด็นทางการเมือง

เช่นเห็นภาพสะท้อนการปะทะกันของชนชั้นผู้นำที่หรูหรากับบทบาทของสามัญ-ชนอย่างท่านอาจารย์ปรีดี (พนมยงค์) ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในช่วงนั้น

GM : แล้วนักเขียนในปัจจุบันล่ะ คุณสนใจงานของใครบ้าง

ปราปต์ : ต้องยอมรับว่ามาทำงาน เวลาการอ่านของเราหายไปเลย ช่วงหลังจะพยายามอ่านรวมบทความที่เกี่ยวกับงานมากขึ้น แต่หากเป็นเรื่องสั้น ช่วงนี้ที่อ่านคือเรื่องสั้นของคุณอนุสรณ์

ติปยานนท์ เรื่อง นิมิตต์วิกาล ซึ่งน่าสนใจดี ผมเริ่มสนใจงานของคุณอนุสรณ์ตั้งแต่เขียนเรื่อง ‘เคหวัตถุ’ ช่วงนั้นตัวเองสนใจ Material Culture ที่คนสามารถนิยามอะไรกับสิ่งของที่ตัวเองผูกพันได้ พอเราอ่านเล่มนั้นแล้วรู้สึกว่า แกเป็นนักเขียนอีกคนหนึ่งซึ่งไม่ใช่แค่นักเขียนซึ่งเขียนนวนิยายอะไรไปเรื่อยๆ แต่เป็นนักเขียนที่มีฐานความรู้ มีกรอบวิธีคิดใหม่ๆ มีกลวิธีในการเล่าที่น่าสนใจ อีกคนที่ชอบก็คืองานของ คำ ผกา ก็เห็นชัดว่าเป็นเรื่องการเมืองอยู่ทางเสื้อแดง แต่ก็ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ซึ่งก็เป็นคาแร็กเตอร์เฉพาะตัว เป็นนักเขียนซึ่งใช้ภาษาก็บ้านๆ มีความ

นิมิตต์วิกาล หนังสือเล่มล่าสุดของนักเขียนผู้เข้าชิงรางวัลซีไรต์มาแล้วครั้งหนึ่ง นิมิตต์วิกาล เป็นผลงานรวมเรื่องสั้นของอนุสรณ์ ที่หลายเรื่องเคยพิมพ์แบบเป็นเล่มขนาดเล็กมาแล้วและอีกหลายเรื่องที่เคยตีพิมพ์ในนิตยสารต่างๆ

ผมว่าหนังเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่น่าสนใจ ยิ่งพอมาเรียนรัฐศาสตร์ก็เห็นว่าเราสามารถพูดเรื่องการเมืองผ่านหนังได้อีก ผมเองเคยทำหนังสั้น เห็นว่ามันเป็นเครื่องมือก็ลองทำดู แต่ไม่เคยคิดที่จะทำเป็นอาชีพ 

เป็นชาวบ้าน แต่มีความรู้แบบนักวิชาการ และเป็นปัญญาชนรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าไปคลุกหรืออยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอย่างชัดเจน

GM : ในอนาคต คุณต้องเข้าไปดูแลในส่วนงานอื่นๆ ของมติชนเพิ่มเติม รู้สึกหนักใจกับอาชีพนักบริหารบ้างไหม

ปราปต์ : ก็หนักใจ เพราะผมว่าผมก็มีความแตกต่างจากวัฒนธรรมมติชนอยู่ บางคนก็ว่าผมเป็นอีกเฉดหนึ่ง ไม่เหมือนมติชน แต่อันหนึ่งที่คล้ายๆ และเป็นลักษณะอนุรักษนิยม คือมีลักษณะติดที่ ไม่ได้อยากกระตือรือร้นแสวงหาอะไรใหม่ๆ เร็วนัก คือถ้าให้ผมอยู่ดูแลออนไลน์อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ผมก็อยู่ได้ ดูแลไปห้าปีสิบปีผมก็โอเคกับมัน แต่ก็ขึ้นอยู่ว่า เราเผชิญหน้า

อยู่กับอะไร อย่างมติชนออนไลน์ พอเข้ามาทำ เราเห็นแง่มุมเห็นพื้นที่ที่เราพอจะทำอะไรได้มันก็ลงล็อกพอดี ฉะนั้นคงต้องขึ้นอยู่กับอนาคตว่าหากเราต้องไปรับผิดชอบ

ส่วนอื่น เราลงล็อกกับงานตรงนี้หรือเปล่าต้องยอมรับว่ามันคงไม่ใช่ทุกงานที่เราจะสามารถจัดการได้

GM : แผนธุรกิจในอนาคตของมติชน คิดว่าจะรุกสู่การทำสื่อรูปแบบอื่นไหม เช่น ทำช่องข่าวผ่านเคเบิลทีวี

ปราปต์ : มีการพูดคุยกันบ้าง เรื่องการทำดาวเทียมว่าควรจะทำไหม ก็ยังเป็นแผนธุรกิจอยู่ว่าจะทำอย่างไร ต้องยอมรับ คือเราโตมากับหนังสือพิมพ์กับกระดาษ เพราะฉะนั้นบุคลากรที่เรามีก็จะเป็นคนที่มีมุมแบบหนังสือพิมพ์เป็นหลัก ซึ่งมองไม่เหมือนกับคนทำโทรทัศน์ วิธีการที่จะเปลี่ยนไปเป็นสื่อโทรทัศน์มันก็จะยากหน่อย แต่มันก็เป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าสนใจ หากเทียบกับการทำหนังสือพิมพ์ที่แนวโน้มยอดต้องค่อยๆ ลดลงแน่นอน ส่วนสื่อออนไลน์ เรายังไม่แน่ใจเรื่องรายได้ ฉะนั้นสื่อดาวเทียมจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

Web Recommended

นี่คือ 5 สื่อออนไลน์ที่ปราปต์แนะนำว่าเขาอ่านเป็นประจำ มีทั้งความหลากหลาย น่าสนใจ และข้อมูลเชิงลึก ที่บางครั้งหาอ่านไม่ได้ในสื่อกระแสหลัก

• www.siamintelligence.com กลุ่มคนรุ่นใหม่ ปัญญาชนที่พยายามนำเสนอบทวิเคราะห์ในสถานการณ์ต่างๆ ทางสังคม การเมืองเป็นเว็บไซต์ที่น่าสนใจ ระยะหลังมติชนก็เริ่มขอดึงบทความจากที่นี่มาด้วย

• www.prachatai.com เป็นแหล่งข้อมูลที่ดี อย่างตัวบทความก็ยังมีความหนักแน่น ขณะเดียวกันเขามีแหล่งข่าวจำนวนหนึ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะไม่ค่อยเหมือนแหล่งข่าวสื่อกระแสหลัก ผมรู้สึกว่าหลายครั้งเราได้แง่มุมอะไรแปลกๆ ดีๆ

• www.salweennews.org/ เมื่อก่อนเป็นนิตยสาร เข้าใจว่าล่าสุดมีแผนว่ากำลังจะเลิกผลิตนิตยสาร หันมาทำเว็บไซต์อย่างเดียว เข้าถึงข้อมูลเรื่องพม่าค่อนข้างดี มีข่าวแปลกๆ เยอะ

• asiapacific.anu.edu.au/newmandala นิว แมนดาลา เป็นเว็บไซต์ที่มติชนใช้บ่อยและนำใช้มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่เมษาฯพฤษภาฯ 2553 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า นิว แมนดาลาบางบทความนั้นก็แรงจนไม่สามารถนำมาเผยแพร่ได้ แต่บางชิ้นก็มีมุมมองต่อการเมืองไทยที่น่าสนใจ ส่วนมากผู้เขียนเป็นนักหนังสือพิมพ์

หรือนักวิชาการที่สนใจเรื่องไทศึกษา กำลังหลักจริงๆ ก็คือ ANU (มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย) นิว แมนดาลาจึงเป็นภาพสะท้อนหลักอันหนึ่ง เช่น งานเขียนของ แอนดรูว์ วอล์กเกอร์

• asiancorrespondent.com เอเชี่ยนคอร์เรสปอนเด้นท์ เป็นเว็บไซต์กึ่งเว็บข่าว แต่ขณะเดียวกันก็มีการรวมคอลัมน์ที่น่าสนใจ อย่าง Bangkok Pundit ก็มารวมอยู่ในหน้านี้ มันง่ายในการตาม ขณะเดียวกันอีกอันหนึ่งมีแง่มุมที่น่าสนใจนอกจากการเมือง ซึ่งเอเชี่ยนคอร์เรสปอนเด้นท์ก็จะมีอะไรใหม่ๆ มาให้อ่าน เราใช้ประโยชน์จากตรงนี้ค่อนข้างมาก

Digiqole ad

บทความที่น่าสนใจ