ลี อายุ จือปา
จิบกาแฟซับซ้อนใช้ชีวิตง่ายๆ
Complicated Coffee Simple Life
• เมื่อการดื่มกาแฟได้ก้าวพ้นไปเป็นมากกว่าการเข้าไปนั่งเท่ๆ อยู่ในร้านหรูๆ เพื่อถ่ายภาพอวดกันว่าฉันได้มาเยือนร้านนี้แล้ว
• ในทุกวันนี้ คือยุคสมัยที่วัฒนธรรมกาแฟได้หลอมรวมเอาผู้คนที่หลากหลาย จากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จากผู้ปลูกไปถึงผู้ดื่ม ทุกคนมาร่วมกันอยู่ในโยงใยแห่งคุณค่าเดียวกัน ที่มุ่งไปสู่ความประณีต งานฝีมือ การตลาด แบรนดิ้ง และประสบการณ์การอภิเชษฐ์สิ่งเล็กๆ และความเนิบช้า
• คุณจะพบโยงใยแห่งคุณค่านี้ได้ ที่ร้านกาแฟคลื่นลูกใหม่มากมาย รวมไปถึงร้าน ‘อาข่า อ่ามา’ คือหนึ่งในร้านกาแฟแบรนด์ไทยที่เกิดขึ้น
ในวัฒนธรรมใหม่นี้
• ถ้าลองเสิร์ชคำว่า อาข่า อ่ามา จะพบกับข้อมูลของชายหนุ่มชาวอาข่า ลี อายุ จือปา เจ้าของร้านกาแฟเล็กๆ ที่โด่งดังไกลไปทั่วโลก
• แรกเริ่ม ลี อายุ จือปา ไม่ใช่คอกาแฟมาก่อน เขาเป็นเด็กนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง
ใดๆ กับเรื่องกาแฟ การตลาด อาหาร วัฒนธรรม หรือธรรมชาติ
• เวลาผ่านไปวูบเดียวชั่วลัดนิ้วมือ ประสบการณ์การทำงานเพื่อทำสังคมและความรักในท้องถิ่นของตัวเอง ทำให้เขาฟูมฟักธุรกิจเพื่อสังคม และกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องกาแฟ เดินสายบรรยายเรื่องกาแฟไกลไปทั่วโลก
• เขานำเมล็ดกาแฟมาจากครอบครัวและคนในหมู่บ้านชุมชนแม่จันใต้ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เดินทางรอนแรมไปเผยแพร่ไอเดียเรื่องวัฒนธรรมสโลว์ไลฟ์ ความยั่งยืน และความพอเพียงแบบไทยๆ
• อาข่า อ่ามา ได้รับการยอมรับจากนานาชาติในเรื่องคุณภาพของกาแฟ รวมทั้งวิธีการที่เขานำกลับไปพัฒนาชุมชน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจาก ลี อายุ จือปา ชายหนุ่มที่เริ่มต้นธุรกิจกาแฟด้วยความหลงใหลในการทำให้ผู้อื่น
Slow Life Movement
GM : ได้ยินว่าคุณกำลังจะไปอิตาลี ไปทำอะไรที่นั่น
ลี : ไปมิลานครับ เป็นงานคู่ขนานกับงาน Milan Expo จัดโดยกลุ่มรณรงค์ Slow Food International
ธีมคือ We Feed The Planet โดยคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่เป็น Young Farmer
มีการเชิญตัวแทนจากแต่ละประเทศมา คนที่มาร่วมบนเวทีนี้มีเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Jamie Oliver, Alice Waters หรือ Carlo Petrini ประธาน Slow Food International
ที่พูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและสโลว์ไลฟ์มาโดยตลอดเช่นกัน รอบนี้ผมไปในนามของเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง เพราะผมเป็นอาข่า อยากไปแชร์ประสบการณ์ให้เขาฟัง ตอนแรกผมเสนอไปว่าแชร์แนวคิด Social Entrepreneur หรือกิจการเพื่อสังคม
แต่ทางนั้นบอกว่าเรื่องนี้เคยแชร์กันแล้ว อยากให้แชร์ในเรื่องของ Wisdom หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ว่าวิถีชีวิตที่พวกเราชาวอาข่ารักษาไว้ มีผลดีอย่างไรต่อการ Feed The Planet
ประเด็นที่ผมคิดว่ามันท้าทาย คือเราจะทำยังไงให้ชาวบ้านที่มีรายได้จำกัด สามารถอยู่ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยผ่านอาหารที่เขาผลิต ผมจะไปแชร์ว่าคนรุ่นใหม่ในบ้านเรา ต้องเติบโตในสังคม
ที่บีบคั้น ต้องจบมหาวิทยาลัย หลายคนจบดอกเตอร์ แต่สุดท้ายกลายเป็นว่าพวกเขาไม่อยากทำในสิ่งที่คิดว่าไม่ใช่งาน บางคนคิดว่างานที่บ้านเราหนักเกินไป บางคนไปเรียนหนังสือแล้วกลับบ้านไม่เป็นแล้ว ถือว่าฉันเรียนจบตั้งปริญญาตรี ปริญญาโท
ทำไมฉันต้องกลับมาบ้านอีก ทำไมฉันไม่หางานในบริษัทสักแห่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะฟังดูดีนะ ผมจึงคิดว่าเราทุกคนสามารถช่วยสนับสนุนความยั่งยืน
ให้กับโลกผ่านพฤติกรรมการบริโภค การบริโภคในที่นี้ ผมไม่ได้หมายถึงแค่เรื่องกินนะ แต่หมายถึงว่าเราทุกคนใช้ทรัพยากรไปแล้ว
เราได้เติมเต็มให้มันดีขึ้นด้วยไหม หรือคุณใช้อย่างเดียวเลย โดยที่ไม่ได้สนใจเลยว่ามันยั่งยืนหรือไม่ยั่งยืน เช่น คุณคิดว่าฉันหิวนม
ก็เดินไปร้านสะดวกซื้อแล้วก็จบ โดยไม่ได้คิดเลยว่านมที่คุณบริโภค ก่อนจะมาเป็นนมแบบนั้น มันต้องผ่านอะไรมาบ้าง
GM: จะไปซื้อนมที่ร้านเซเว่นนี่เราต้องคิดอะไรมากด้วยหรือ
ลี : (หัวเราะ) คิดสิ ทุกวันนี้เห็นชัดเจนว่า
ร้านค้าปลีกแบบใหม่ๆ นำเสนออะไรที่เป็นโลคัลและซิมเปิล คนรุ่นใหม่จะให้ความสนใจเยอะ แค่ในไทยก็สนใจเยอะแล้วนะ
แต่ที่เราไม่สามารถต่อยอดให้เป็นชีวิตประจำวันของเราได้ เพราะมันมีสิ่งหลอกล่อมาครอบงำปิดบังเราอยู่ ไม่ว่าจะเรื่องของสังคม
ศักดิ์ศรี ต้องอวดกัน แต่จริงๆ ลึกๆ ในใจของเรา เราอาจจะไม่มีอะไรเลยก็ได้ แต่เมื่อออกจากบ้านไป เราก็ต้องอวด ไปไหนต้องมีรถ กรุงเทพฯ
รถติดแทบตาย แต่เราก็ยอมมีรถ มีรถแล้วก็ต้องยอมเสียเวลารถติดด้วยนะ ผมคิดว่าเป็นเพราะคำว่าศักดิ์ศรี เรื่องนี้ยอม
ไม่ได้ ถามว่าพวกเราคิดไหมว่าใช้รถเยอะแบบนี้ มันจะก่อให้เกิดมลพิษอะไรบ้าง จะทำให้รถติด ทำลายสิ่งแวดล้อม เราไม่คิด
เราเห็นแค่ Finished Product เราเห็นแค่รถ เราอยากโชว์รถ เราก็ซื้อรถมา
Carlo Petrini
แนวคิด Slow Food ถูกริเริ่มจาก Carlo Petrini นักข่าวชาวอิตาลีประจำคอลัมน์อาหารและไวน์ และกลุ่มนักเคลื่อนไหว ในปี 1986
ขณะที่ชาวอิตาลีกำลังเห่อที่จะได้กินแฮมเบอร์เกอร์แมคโดนัลด์ เพราะกำลังขยายสาขามายังอิตาลี Carlo Petrini กลับเห็นต่าง
เขาไม่พอใจในการแผ่อำนาจ ของบริษัทฟาสต์ฟู้ดที่เข้ามารุกรานวัฒนธรรมการกินอันเก่าแก่ของชาวอิตาลี จึงลุกขึ้นมาโปรโมตและสนับสนุน
ให้คนหันมากินอาหารกันช้าๆ ซึ่งเป็นแนวคิดแบบ Slow Food ที่ให้ผู้คนใช้เวลาชื่นชมกับอาหารที่ตัวเองกินอยู่ กินไป คุยไป
สังสรรค์กับเพื่อนฝูงไปเหมือนในสมัยก่อน ต่อมาจุดประสงค์นี้ก็แผ่ไปถึงการสงวนพืชพันธุ์และผักผลไม้ท้องถิ่นด้วย โดยมีจุดประสงค์เริ่มต้นที่จะปกป้องประเพณีภูมิภาคอาหารที่ดีมีความสุข กิน และก้าวช้าๆ ของชีวิต
เรื่องสโลว์ไลฟ์ คำจำกัดความ
ที่น่าจะตรงกับบ้านเราก็คือคำว่า ‘พอเพียง’
พอเพียง ไม่ใช่แค่พอกินก็หยุด ถ้าคุณยังอยากทำ
และยังทำไหว ก็ทำไปเรื่อยๆ ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องมีแค่10 บาทแล้วหยุด
พอเพียงในที่นี้ คือ ใช้ชีวิตให้มันพอดี กับตัวคุณ ไม่โอเวอร์
สโลว์ไลฟ์ก็ไม่แตกต่างกัน แต่ที่คนไทยคิดกัน มันกลายเป็นการถ่ายรูปแบบ Kinfolk
สวยงามแต่เบื้องลึก คือ ไม่มีอะไรเลย
ถามว่าในบรรดาคนรุ่นใหม่ มีกลุ่มคนที่คิดถึงความยั่งยืนเยอะไหม บอกได้เลยว่าเยอะครับ
เพียงแต่หลายครั้งที่ผมไปพูดคุย บรรยาย คนส่วนใหญ่จะบอกว่าเขายังไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก
ข้อจำกัดด้านสังคม คืออาจจะไม่มีเวที แม้แต่ผู้ใหญ่เองก็ไม่ได้มองเห็นว่าทำไมต้องมาใส่ใจกับเรื่อง
แบบนี้ด้วย มันก็จะเห็นถึงลำดับขั้นของสังคมว่า ในบ้านเราพอเป็นความคิดเห็นของเด็ก มันก็จะมีคนพูดว่า ไอเดียดีนะ แต่สุดท้ายทุกคนก็คิดว่าไว้ให้ผู้ใหญ่เอาไปคิดดีกว่า แล้วมันก็จะลงที่การวิจัย
กว่าจะรู้เรื่องก็เสียเวลาไปนาน
เมื่อเทียบกับในต่างประเทศ มีคนรุ่นใหม่ออกมาทำเรื่องนี้เยอะ เพราะผู้ใหญ่เขามองว่า Great Idea! Let’s do it! ทำไมเขามีพวก Social Entrepreneur เยอะ มี Startup เยอะ แต่บ้านเรายังเพียงแค่เริ่มต้น เรามีแค่ ‘ศูนย์พัฒนาอาชีพจังหวัด’ แค่ฟังชื่อก็กำลังใจหมดแล้ว (หัวเราะ) ในต่างประเทศ
ให้ความสนใจเยอะ เขาพูดเหมือนเราว่า เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า แต่เขาปฏิบัติจริง รู้จริง
ถ้ามัวแต่ไปเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนากับคนแก่คนเฒ่า ฝรั่งเขาก็รู้ว่ามันยากนะ แต่เขาจะไม่ทิ้ง ในเมื่อทำเองไม่ได้ ก็ยกให้เด็กรุ่นใหม่ไปทำสิ บ้านเรามีเรื่องของความอาวุโสมาค้ำคออยู่ จะให้เด็กมาพูดแนะนำไม่ได้หรอก ต้องให้ผู้ใหญ่ที่มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ นี่ก็เรื่องศักดิ์ศรีทั้งนั้น แล้วมีอะไรกินได้ไหม
ฝรั่งเขาเวลามีเด็กๆ รุ่นใหม่ออกมาพูด พวกผู้ใหญ่คนเฒ่าคนแก่ก็มาฟังกันตรึมเลย ไปกันแต่เช้า
เพื่อรอฟังว่าไอ้เด็กสมัยนี้มันจะพูดอะไร
GM : เท่าที่คุณเคยไปสัมผัสมา งานเสวนาระดับนานาชาติเป็นอย่างไร
ลี : ตอนนี้เขามีลักษณะแบบ Crowdfunding เลยครับ ซึ่งมันเจ๋งมากนะ มีอยู่ครั้งหนึ่งตอนผมไปที่
ซานฟรานซิสโก ก็นึกว่าต้องมีคนแก่คนเฒ่ามากันเยอะ อยากลองไปดูว่าเป็นยังไงบ้าง วันนั้นเขาจัดแถว Napa Valley ที่มีไวน์เยอะๆ
พอเข้าไปก็แปลกใจว่าทำไมมีแต่พวกที่เหมือนเด็กนักศึกษา
ที่ไหนได้ ก็พวกนี้แหละคือพวกคนที่ทำงานอยู่เบื้องหลังกูเกิล เบื้องหลังแอปเปิ้ล เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ไม่เคยคิดว่าจะมีโอกาสได้ไปเจอคนพวกนี้ แล้วอายุยังน้อยกว่าผมอีก แล้วเวลาเขาขึ้นไปพรีเซนต์โปรเจ็กต์ คนที่รอจะลงทุนให้โปรเจ็กต์เหล่านี้เติบโต ก็เข้าไปหาได้เลย
ทำกันแบบนี้แล้วทำไมบ้านเขาจะไม่เจริญล่ะ พอมีไอเดียปุ๊บ ก็มีคนที่พร้อมจะเข้าไปสนับสนุน
GM: ไปเห็นนักศึกษาในต่างประเทศ แล้วมองกลับมาที่เด็กนักศึกษาในบ้านเรา เป็นอย่างไรบ้าง ลี
ลี : Motivation มันต่างกันมาก ธรรมชาติของเด็กในบ้านเราและบ้านเขาก็คงชอบสนุกสนาน
เหมือนกัน บ้านเราชอบสนุก บ้านเขายิ่งชอบสนุกมากกว่าอีก แต่เขายังมีเวลาที่จะคิดว่า ฉันอยากจะพัฒนาสิ่งนั้นสิ่งนี้ และมีความมุ่งมั่นตั้งใจ
เยอะ เพราะเขาคิดว่าสิ่งนี้มันคืออนาคตของเขา มันง่ายต่อเด็กเยาวชนที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่พร้อมจะทำอะไรเพื่อคนอื่น ในเมื่อที่ผ่านมา
คนอื่นๆ ก็ได้เปิดโอกาสให้เขาได้เติบโตมาเป็นแบบนี้ สุดท้ายเขาจึงกลับมาสู่การเป็นคนให้ เพราะมันอยู่ในสายเลือด ในพันธุกรรมอยู่แล้ว ถามว่าบ้านเรารู้ไหมว่าต้องช่วยเหลือคนอื่น รู้นะ รู้หมดด้วย แต่ไม่ทำ ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีน้ำใจนะ
จะเห็นว่าเมื่อไหร่ที่ไหนประสบภัย คนบ้านเราก็ออกมากันเต็มเลย ยิ่งกว่าประเทศอื่นด้วยซ้ำ แต่เวลาเป็นเรื่องงานพัฒนา หรืองานที่ไม่ได้หน้า มีกลุ่มคนน้อยมากที่จะออกมาช่วยสนับสนุน ขนาดรัฐบาลยังไม่มีแคมเปญลักษณะนี้ ก็อย่าไปหวังเลยว่าเอกชนจะทำ
GM: สังคมในหมู่บ้านชาวเขาของคุณเป็นอย่างไร แตกต่างหรือเหมือนกับสังคมเมืองของพวกเราอย่างไร ลี
ลี : ที่บ้านผมเป็นสังคมที่มีความเป็นชนบทมากๆ อยู่บนดอย แต่สิ่งที่ผมเห็นในสังคมนี้ว่าเราเป็นเหมือนกันทั้งบนดอยและในเมือง คือ ลักษณะสังคมทาส สังคมทุนนิยม สังคมวัตถุนิยม ประเทศไทยเป็นเคสตัวอย่างที่แจ่มมาก
เทียบกับต่างประเทศสมัยก่อน เขาอาจจะมีปัญหาเรื่องทาส แต่เขาเป็นทาสใช้แรงงาน สำหรับบ้านเราเป็นทาสทุนนิยม พ่อแม่ชาวเขาทุกคนใช้เวลา 10-20 ปีส่งให้ลูกเรียนจนจบอุดมศึกษา แล้วเด็กส่วนใหญ่ก็คิดว่าจบไปก็เพื่อเข้าโรงงาน เข้าบริษัท ทำตามที่ระบบขีดเส้นเอาไว้ แบบนี้มันต่างจากทาสตรงไหน สิ่งที่เจ็บปวดที่สุดคือคุณต้องเสียเวลาเรียน 20 ปี เพื่อที่จะเป็นทาส
สมัยก่อนไม่ต้องเรียนก็เป็นทาสได้ มีแต่การมัดมือ เฆี่ยน สมัยนี้เขาไม่เฆี่ยน แต่เขาให้คุณลงทุน
กับการศึกษาเพื่อที่จะเป็นทาส เวลา 20 ปีนี่ไม่ใช่น้อยๆ สำหรับพ่อแม่ที่ต้องส่งเสียให้ลูกไปโรงเรียน พาลูกกินข้าว จ่ายค่าหอ จ่ายค่าเล่าเรียน แล้วสุดท้ายลูกโทรฯ มาเพื่อที่จะบอกว่า “แม่ๆ ผมไม่กลับบ้านนะ จะอยู่ทำงานที่นี่” “แม่ๆ ผมส่งเงินกลับบ้านไม่ได้แล้วนะ เพราะผมต้องซื้อรถ
Slow Food Internationa
Slow Food International ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1989 ที่ปารีส ในคำประกาศก่อตั้ง พวกเขามีแนวคิดต่อต้านชีวิตที่รวดเร็วอย่างชัดเจน “มนุษย์ปัจจุบันต้องฟื้นภูมิปัญญาและปลดปล่อยตัวเองจาก ‘ความเร็ว’” (อ่านเพิ่มเติมได้ใน www.slowfood.com) Slow Food ต้องการรักษาวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น
ที่เริ่มหายไปจากการใช้ชีวิตที่รวดเร็วขึ้นของผู้คนในปัจจุบันที่มีความใส่ใจในอาหารการกินลดน้อยลง กลุ่ม Slow Food สนใจวิธีการเลือกอาหารที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและโลกรอบตัว จนถึงวันนี้ Slow Food International เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เกิดการเคลื่อนไหวทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับหลายพันโครงการและผู้คนนับล้านในกว่า 160 ประเทศที่หันมาสนใจ Slow Food ซึ่งเป็นแนวทางที่พวกเขาเชื่อว่าทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่สะอาดและมีความ
TE
คำถามก็คือ คนที่มีอำนาจควบคุมอนาคตของเด็กเหล่านี้ มีอยู่แค่ไม่กี่บริษัท แค่ไม่กี่กลุ่มทุน แค่ไม่กี่คนที่ได้ผลประโยชน์จากแรงงานนักศึกษาจบใหม่ คนรุ่นใหม่ที่จบมาแล้วไม่ได้ถูกสอนให้คิดเป็น แต่ถูกสอนให้ทำตาม พอถูกสอนให้ทำตาม
ก็จะติดนิสัยว่าทำไมฉันต้องคิดมาก ไม่ต้องคิดมาก ทำงานเสร็จแล้วก็ไปกินเหล้า พรุ่งนี้ค่อยกลับมาทำงานต่อ สิ้นเดือนก็มีเงินกินเหล้าอีก ผมมีเพื่อนหลายกลุ่ม ทั้งที่โตมาด้วยกันบนดอย หรือโตมาในสังคมเมืองใหญ่
มีหลากหลายวัฒนธรรม และโตมากับสังคม ต่างประเทศที่ผมเดินทางไปพบเจอ ผมเห็นชัดเจนเลยว่าการศึกษาบ้านเรานั้นล้มเหลว อย่างที่
ผมบอก คือ มันแค่สอนให้จำและทำตาม ไม่ได้ผลิตบุคลากรที่สามารถคิดสร้างสรรค์อะไรได้ บ้านเรา
ให้คุณค่าในเรื่องใบประกาศฯ วุฒิ มากกว่าประสบการณ์และความรู้ เครดิตสำคัญกว่า คุณเป็นใคร จบจากไหนมา พ่อแม่คุณเป็นยังไง
เรื่องแบบนี้สำคัญกว่าสมองของคน แล้วมันก็ส่งผลไปทั้งหมด เมื่อสังคมให้คุณค่าตรงนี้ คนเก่งๆ ที่มีความคิดที่แตกต่างก็จะตายลงไปเรื่อยๆ
เพราะเขารู้สึกชินชา เบื่อหน่ายกับระบบเหล่านี้ สิ่งที่เห็นคือ บ้านเราเป็นประเทศที่เกิดอะไรขึ้นก็ทำตามๆ กันไปหมด เวลามีแฟชั่นอะไรเข้ามา ยังไม่ทันได้คิดไตร่ตรองเลย แค่รู้สึกว่ามันดูเท่ดี ก็เอาเลย
GM: ไม่นะครับ อย่างตอนนี้ที่ความคิดเรื่องความยั่งยืนก็กลับมา นอกจากนี้ เด็กรุ่นใหม่กำลังพูดถึงสโลว์ไลฟ์กันอย่างแพร่หลาย
ลี : เรื่องสโลว์ไลฟ์ ผมว่าบ้านเราจำกัดความผิดไปมาก คำจำกัดความของสโลว์ไลฟ์จริงๆ มันไม่ใช่ว่าคุณทำงาน 2 ชั่วโมงต่อวัน
แล้วก็ไปถ่ายรูปลงอินสตาแกรม ถ้าให้ผมนิยามนะ สโลว์ไลฟ์หมายถึงการที่คุณให้คุณค่ากับทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณเจอในชีวิต ธรรมชาติ อากาศ เพื่อน อาหาร ไม่ใช่วิถีชีวิตแบบทุนนิยมแบบเดิม ที่ฉันทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ฉันไม่มีเวลาคิดอะไร ฉันสั่งฟาสต์ฟู้ดมากินไปนั่งทำงานไป นี่คือฟาสต์ไลฟ์
เรื่องสโลว์ไลฟ์ คำจำกัดความที่น่าจะตรงกับบ้านเราก็คือ คำว่า ‘พอเพียง’ พอเพียงไม่ใช่แค่พอกินก็หยุด ถ้าคุณยังอยากทำ และยังทำไหว ก็ทำไปเรื่อยๆ ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องมีแค่ 10 บาทแล้วหยุด พอเพียงในที่นี้ คือ ใช้ชีวิตให้มันพอดีกับตัวคุณ ไม่โอเวอร์ สโลว์ไลฟ์ก็ไม่แตกต่างกัน แต่ที่คนไทยคิดกัน
มันกลายเป็นการถ่ายรูปแบบ Kinfolk สวยงาม แต่เบื้องลึก คือ ไม่มีอะไรเลย ผมถึงเปรียบเทียบว่าสังคมไทยเรา เวลาแฟชั่นอะไรมา เราก็เอาหมด ไม่ได้ไตร่ตรอง มีผลสำรวจออกมานะว่าไวต่อแฟชั่นเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ไวกว่าญี่ปุ่น ไวกว่าเกาหลีใต้
ใครจะบอกว่าเราตามเทรนด์เกาหลี ไม่จริงนะ เราเร็วกว่าอีก ลำดับการใช้อินสตาแกรมหรือโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ ที่ใช้เยอะที่สุดหลายตัวๆ นี่ก็เมืองไทยนะ
พอไปเจอประเด็นความเป็นอยู่ หรือการช่วยเหลือตัวเอง ก็เกิดความคิดว่า ทำไมฉันต้องมารับผิดชอบตรงนี้ด้วย เพราะไม่ได้คิดไงว่าตัวเองไปบริโภคอะไรไป ใช้เกินทรัพยากรที่ตัวเองมีหรือเปล่า นี่ไงผลจากการศึกษาบ้านเราที่สอนให้ทำตามกัน ไม่ได้สอนให้คิดไตร่ตรอง มันหล่อหลอมกันมา
วันแรกที่ผมลงมาจากดอย ตอนนั้นอายุ 13
เพื่อนในเมืองคุยกันว่าอย่าไปเป็นเพื่อนกับลี เพราะเด็กจากบนดอย
ไม่มีการศึกษา สกปรก ด้วยความเป็นเด็กไง เขาก็อาจจะไม่ได้คิดอะไรมาก
แต่มันกระทบจิตใจผมนะ ก็โมโห แต่ห้ามไม่ได้
อยู่แล้ว แต่อาหารทั้งหมดเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มี Ecology มาเกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มาเกี่ยวข้องนั้น เป็นไปโดยธรรมชาติ หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์
สร้างขึ้น มนุษย์เรามักจะฆ่าตัวเอง พ่นยาเพื่อให้ตัวเองกินเอง ธรรมชาติอาจไม่เพอร์เฟ็กต์นะ
แต่อย่างน้อยๆ กินเข้าไปก็ไม่ทำให้เราตาย สุขภาพเราดี
แต่เราไม่ชอบ เพราะมันจัดการไม่ได้ คำถามคือ ทำไมเราต้องจัดการมันล่ะ บางอย่างไม่ต้องจัดการก็ได้ ธรรมชาติไม่ได้มีไว้เพื่อให้เราจัดการ เราเองต่างหากที่ต้องปรับให้เข้ากับธรรมชาติมากกว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้สารเคมีกันมาก เราคิดว่าถ้ามีแมลง ก็ต้องจัดการ มีผึ้ง ต้องจัดการ พฤติกรรม
การบริโภคของคนไทยเปลี่ยนไม่ได้ ลองสังเกตได้เวลาไปตลาด ถ้ามีกะหล่ำอยู่สองหัว หัวหนึ่งมีแมลงเจาะ อีกหัวสวยงาม คุณเลือกหัวที่สวยงาม ทั้งๆ ที่รู้อยู่เต็มอก ไม่ใช่ไม่รู้นะว่ามีสารเคมี
อย่างผมถือว่าโชคดี สังคมบนดอยเราพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก เราไม่ได้ไปจับธรรมชาติ ไม่ไปไล่ฟัน ไม่ไปจัดการให้มันกลายมาเป็น
ของเรา ผมโตมากับธรรมชาติ เดินเข้าป่าก็สามารถหยิบอะไรมากินได้ หาเห็ดหาหน่อ
มาเป็นอาหารได้หมด ใช้เงินน้อยมาก น้อยจนไม่คิดว่าเงินเป็นส่วนสำคัญในชีวิต บ้านเราก็มีอยู่ อาหารก็มีกิน ไฟฟืนก็มีใช้ ไม่ต้องจ่ายอะไรเลย
แต่เราใช้ชีวิตให้พอดี ปลูกข้าว ปลูกแตง ปลูกฟัก ก็มีอาหารกินไปตลอดปี น้ำท่าไม่ต้องพูดถึงเลย ตามธรรมชาติมีอยู่แล้ว ฤดูไหนมีเห็ดก็เก็บเห็ด ฤดูไหนมีหน่อก็เก็บหน่อ ยากตรงไหน แต่สมัยนี้ เราจะกินอะไร ต้องไปฟู้ดแลนด์ ไปเซ็นทรัลเวิลด์ นั่นคือเขาจัดวางไว้ให้เราเดินตาม
ตอนเรียนหนังสือ ผมมีโอกาสได้เรียนทั้งทางโลกและทางธรรม ผมโตในวัด 6 ปี วัดนครเจดีย์ จังหวัดลำพูน ตอนนั้นอายุ 13 ปี ตอนเช้าเรียนทางธรรม ตอนกลางวันก็เรียนเหมือนคนทั่วไป นั่นคือเหตุผลที่ผมเห็นความแตกต่างระหว่างทางธรรมกับทางโลก บทเรียนของทางโลกนี่มันต้องแข่งขัน ต้องเป็นที่หนึ่ง ต้องสู้ แต่กับบทเรียนทางธรรม เขาสอนเรื่องการบาลานซ์ ให้รู้จักตัวเอง
ให้มีสติ อย่าเป็นผู้ชนะอย่างเดียว ต้องยอมรับ และศึกษาจากการเป็นผู้แพ้บ้าง และต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้รู้จักธรรมชาติ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
GM: สมัยเด็กๆ เคยไปทำงานออกค่ายอาสาสมัคร หรือทำกิจกรรมเพื่อสังคมอะไรบ้างไหม
ลี : ครั้งแรกผมไปอยู่ในกระบวนการพัฒนาการศึกษาชุมชน ตอนนั้นอยู่ ม.5 ยังอยู่ในวัด ผมตั้งเป้า
แน่วแน่ว่าต้องทำงานกับองค์กรสักแห่ง ที่จะให้โอกาสผมได้ไปให้โอกาสกับน้องๆ หรือคนที่อยู่ในชุมชนที่ด้อยโอกาส ให้ได้มีโอกาสด้านการศึกษามากขึ้น อย่างน้อยขอให้เขาได้เจอโลกกว้าง และได้เห็นว่า
โลกนี้กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน นี่เป็นกฎหมายของประเทศไทยด้วยนะ ว่าเด็กทุกคนเกิดมาต้องเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใครไม่ส่งลูกเรียนนี่ผิดกฎหมาย ถึงแม้เราจะเชื่อว่าการศึกษาบ้านเรา
ล้มเหลว แต่ถ้าไม่เข้าสู่ระบบเลยมันก็ตามเขาไม่ทัน เพราะมีคนที่พร้อมจะเอาเปรียบเขาเยอะ คนที่พร้อมจะกดขี่ ดูถูก มันเยอะเหลือเกิน
วันแรกที่ผมลงมาจากดอย ตอนนั้นอายุ 13 เพื่อนในเมืองคุยกันว่าอย่าไปเป็นเพื่อนกับลี เพราะเด็กจากบนดอยไม่มีการศึกษา สกปรก ด้วยความเป็นเด็กไง เขาก็อาจจะไม่ได้คิดอะไรมาก แต่มันกระทบจิตใจผมนะ ก็โมโห แต่ห้ามไม่ได้ ที่วัดสอนว่าถ้าเราไม่ได้เป็นอย่างที่คนเขาว่า ทำไมเราจะต้องไปโกรธแค้น ทำไมต้องไปเกลียด
มันทำให้เราเสียกำลังใจ เราก็เลยพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส พัฒนาตัวเอง ฟังดู
อาจจะง่าย แต่ตอนนั้นมันยากมาก พูดยังไม่ชัดเลย เกรดก็น้อย อะไรหลายอย่างที่เข้ามาท้าทายในชีวิต มีทั้งความรู้สึกกับความเป็นจริง ความเป็นจริงเราอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เขาบอก
แต่ความรู้สึกมันห้ามกันไม่ได้ พอเราพิสูจน์ตัวเองให้เห็นว่าเราไม่ได้เป็นอย่างที่เขาพูดกัน เราก็เริ่มมีเพื่อน เริ่มมีคนที่เคารพเรา ในอดีต หลายๆ คนเชื่อว่าเด็กดอยไม่รู้เรื่องหรอก เราก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเราตั้งใจเรียน เรารู้ในสิ่งที่คนอื่นกำลังพูดถึง
ทำข้อสอบได้ไม่ตกนะ จนมีเพื่อนมาให้สอนการบ้านเลยนะ
GM: อยากให้เล่าความเป็นมาของครอบครัวและหมู่บ้านชาวเขาของคุณ
ลี : พ่อผมเกิดที่พม่า ส่วนแม่เกิดที่ประเทศจีน มณฑลยูนนาน เป็นคนอาข่า พ่อแม่ได้มาเจอกันที่พม่า ก่อนที่จะอพยพมาเมืองไทย ช่วงนั้นมีสงครามกลางเมือง ลำบากมาก บ้านถูกเผาบ้าง มีคนถูกจับไป
เป็นเชลย มีระเบิด พ่อผมเกือบตายในสงคราม ต้องไปรบเพราะถูกบังคับเกณฑ์ไป ชีวิตของผมที่เกิดในเมืองไทยจึงนับว่าง่ายมาก แต่ชีวิตพวกเขาที่ผ่านมาเยอะ เขาไม่เคยบ่น ไม่ค่อยอยากเล่าให้ผมฟัง เขาอยากตายไปพร้อมกับเรื่องราวที่เลวร้ายเหล่านี้ แต่ผมเป็นคนชอบขุดคุ้ย ชอบไปถามเขาว่าทำไมแม่เกิดจีน
พ่อเกิดพม่า แล้วทำไมต้องมาเมืองไทย เขาก็บอกว่าทำไร่ทำนา ย้ายถิ่นฐานกันเป็นเรื่องปกติ ผมบอกแม่ตอนจบมหาวิทยาลัยว่าผมจะไปทำงานองค์กรเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ และคนที่ตกอยู่ในภัยสงคราม
เขาไม่ยอมนะ เพราะเขารู้ว่ามันเสี่ยงอันตรายมาก ผมถามว่าทำไมผมถึงไปทำไม่ได้ เราก็หยิบรูปต่างๆ ไปเปิดให้เขาดู เขาน้ำตาไหล เพราะมันคือสิ่งที่เขาผ่านมาเอง เขาก็บอกว่าทำไมพ่อถึงไม่อยาก
ผมเป็นคนอ่านหนังสือแล้วไม่เข้าใจ มันมีคนประเภทนี้ อยู่จริงๆ นะคือสมมุติอ่านหนังสือไป ในนั้นเขาเขียนอธิบายทฤษฎีบางอย่างเอาไว้ ผมจะไม่เข้าใจ เพราะผมคิดว่าทำไมเขาใช้คำศัพท์คำนี้เขามีอารมณ์แบบไหน แทนที่จะไปคิดเรื่องทฤษฎี ผมกลับคิดว่าคนเขียนน่าจะเป็นคนแบบนี้ เขาเลยคิดแบบนี้ ซึ่งมันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับหนังสือเลย
GM: ตอนที่ได้สอนการบ้านเพื่อนที่เป็นคนเมือง ความรู้สึกเป็นยังไง
ลี : จริงๆ แล้ว ผมหายโกรธเรื่องพวกนี้เร็วนะ แยกแยะได้ว่าเขาอาจจะไม่รู้จริงๆ แต่เพราะถูกสังคมหล่อหลอมให้คิดแบบนั้น สมัยก่อนขนาดในหนังสือเรียนยังบอกเลยว่าพวกชาวเขาทำลายป่า ชาวเขาปลูกฝิ่นเป็นภัยต่อชาติเด็กอย่างผมก็โดนเต็มๆ เพราะเราเป็นลูกหลานของชาวเขาพวกนี้ที่อยู่ในตำรา มีถึงขนาดในข้อสอบถามว่า “บุคคลต่อไปนี้ ใครที่ทำลายป่า” ก. ข. ค. ง. ตำรวจ ครู ชาวเขา คำตอบมันก็ชี้มาอยู่แล้ว แล้วจะให้คนรู้สึกกันยังไง ข้อสอบนี้ก่อนขึ้นชั้นมัธยมด้วยซ้ำให้ไปทำ เพราะมันโหดร้าย สุดท้ายจึงยอมเล่าถึงตอนที่หนีออกมาจากประเทศจีน แม่หนีสงครามคอมมิวนิสต์มาที่พม่า พอมาพม่า ก็เจอสงครามกลางเมืองแบ่งแยกดินแดนอีก พอหนีมาไทย ทางไทยก็พยายามผลักดันพ่อกับแม่ให้กลับไป บางครั้งเขาไม่มีข้าว ไม่มีอาหารกินเลยนะ สิ่งที่เขากินคือใบไม้ใบหญ้า หลายคนตายไประหว่างทางที่หนีมาเพราะไข้มาลาเรีย ไม่มียารักษา หลายคนถูกปล้นสะดม หลายคนตายเพราะหิว บางคนตายเพราะเหยียบระเบิด พอเราฟังแล้วรู้สึกว่าชีวิตโหดร้ายจริงๆ สุดท้ายในหลวงได้มีคำสั่งให้จัดพื้นที่พิเศษให้คนเหล่านี้มีพื้นที่ได้ ทุกวันนี้ถ้าคุณไปแม่สลอง จะเห็นพื้นที่พิเศษเหมือนกัน หลายๆ คนก็กลับไต้หวัน หลายๆ คนก็ยังอยู่ที่นั่น ได้พิสูจน์สิทธิว่าเป็นคนไทย
หลังจากนั้นผมก็ขอเวลากับพ่อแม่สักพัก เพื่อไปทำตามที่ตั้งใจไว้ ผมไปทำงานกับมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก เป็นมูลนิธิช่วยเหลือการศึกษาให้กับเด็กบริเวณตะเข็บชายแดน ค่ายผู้ลี้ภัยในเขตลุ่มน้ำโขง พอไปเห็นก็พูดไม่ออก น้ำตาไหล สิ่งที่พ่อแม่เล่า มันยังเกิดขึ้นอยู่ในวันนี้ และชัดเจนมาก เด็กอายุ 6-7 ขวบบางคนไม่มีขา ไม่มีแขน พ่อแม่ตายจากสงคราม เราไปคุยกับชาวบ้านที่หนีรอดมาได้ เขาก็ไม่อยากเล่า มันไม่ใช่เรื่องสนุกที่จะมาเล่า เขาเศร้า เขาลำบาก เขาไม่มีแผ่นดินที่จะอยู่ ทำให้ผมรู้สึกว่าเราโชคดีแค่ไหน เราจะนอนหลับ ก็ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาไล่ เราจะตื่น ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีอาหารกิน
แล้วเราควรจะทำยังไง ทำไมเด็กพวกนี้ถึงโชคร้าย ทั้งๆ ที่ตอนเด็กผมก็เคยคิดว่าตัวเองโชคร้ายที่สุดแล้ว ที่มีคนมาคอยดูถูก คิดว่าไม่มีใครโชคร้ายไปกว่าเราแล้วละ แต่พอมาเจอของจริง ก็รู้ว่ามีคนที่แย่กว่านั้นอีก นี่แหละที่เป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่อผมมีโอกาส ผมจะต้องทำเพื่อคนอื่นให้ได้ ให้เท่ากับที่ผมทำเพื่อตัวเอง ไม่ได้หมายความว่าผมรักคนอื่นมากกว่าตัวเองนะ ผมรักตัวเองมากพอๆ กับที่รักคนอื่นแต่มันจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าผมไม่ทำเพื่อคนอื่น เพราะผมอยู่ตัวคนเดียวไม่ได้
Social Entrepreneur
GM: คุณทำงานอยู่ที่มูลนิธิเกื้อฝันเด็กนานไหม และได้เรียนรู้อะไรบ้างลี
ลี : 3 ปีครึ่งครับ ทำงานไป เราก็เติบโตไปด้วย ได้รู้อะไรเยอะแยะมากมาย ผมทำงานมูลนิธิตั้งแต่เป็นเด็กฝึกงาน จนเป็น Manager ของฝั่งประเทศไทย ทำงานไป 30 กว่าโปรเจ็กต์ ผมรักและภูมิใจที่ได้ทำงานนั้น แต่ผมยอมรับไม่ได้ที่คุณภาพงานของตัวเองไม่ค่อยเป็นไปตามที่คิดไว้ ผมไม่ได้ลาออกเพราะอีโก้ว่าเราเก่ง แต่ลาออกเพราะผมคิดว่าอยากเป็นสามัญชนที่กลับไปทำอะไรสักอย่างให้ชุมชนของเราสิ่งหนึ่งที่รู้สึกคือเราอยากกลับไปเป็นชาวบ้านคนหนึ่ง ที่เกิดมาในชุมชนเล็กๆ แล้วก็ได้ทำอะไรเล็กๆเพื่อชุมชนของตัวเอง คิดแค่นี้เอง เห็นชัดเจนว่าจริงๆ คนเราไม่ได้มีอายุยาวนานขนาดนั้น ถึงจะอยู่ถึงร้อยปี มันก็แค่หลักหมื่นวันเอง เราควรจะทำอะไรที่ตัวเองอยากทำ มากกว่าจะไปคิดถึงอะไรที่ตัวเองไม่อยากทำ
GM: ตอนนั้นมีงานอะไรโผล่ขึ้นมาในใจบ้าง
ลี : เยอะครับ เยอะมาก ตอนแรกคิดว่าทำเรื่องของการท่องเที่ยวชุมชนดีไหม หรือจะพัฒนา Value Chain ของผลไม้ดี หรือจะปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาดครัวเรือน ผมชอบแบบนี้ เพราะเติบโตมาในครอบครัวที่พอกลับบ้านตอนเย็น ก็เห็นว่ามีผักเต็มไปหมด แล้วก็ตัดเอาไปแจกจ่ายให้ชาวบ้าน คิดว่าเราทำได้แน่ แม้ว่าวิถีชีวิตจะเปลี่ยนไปแต่ก็ยังทำได้ จนกระทั่งถึงตอนที่ตัดสินใจทำกาแฟ เป็นช่วงเวลาที่ต้องคำนึงถึงหลายๆ อย่าง ทั้งเศรษฐกิจของครัวเรือนตัวเอง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้เป็นที่ยอมรับชาวบ้านที่นี่เขาทำกาแฟมา เขาปลูกได้ดีมาก แต่ที่ยังขาดคือการนำเสนอ เขาทำตลาดไม่เป็น เขาไปขายไม่ได้ พอลองศึกษาดูก็พบว่ากาแฟเป็นพืชที่มีมูลค่าสูงมากๆ เป็นรองแค่น้ำมัน จากการซื้อ-ขายในตลาด อย่างนิวยอร์กหรือลอนดอน แต่ทำไมคนปลูกกาแฟถึงยากจน มันมีโอกาสเติบโตในเชิงธุรกิจเยอะชาวบ้านก็ทำอยู่แล้ว เราไม่ได้ไปกะเกณฑ์ให้เขาทำ สุดท้ายเราก็ตัดสินใจสร้างแบรนด์ขึ้นมาเพื่อRepresent ตัวเรา และอยากให้คนที่เห็นแบรนด์เรา เกิดฉุกคิดขึ้นมาได้บ้างนิดนึง ผมใช้คำว่า ‘อาข่า อ่ามา’อาข่าก็คือครอบครัวชนเผ่า อ่ามาก็คือแม่ แล้วก็เอารูปคุณแม่มาทำโลโก้ ผมอยากให้ผู้บริโภคคิดถึงตัวเอง ไม่ได้ต้องการให้คิดถึงแค่เฉพาะชาวอาข่า ตัวคุณอาจจะอยู่กรุงเทพฯ หรืออยู่สุพรรณฯ เราอาจจะมีพื้นเพต่างกัน แต่อยากให้ทุกคนคิดถึงตัวเอง อ่ามาก็สื่อถึงความสำคัญของคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว หรืออะไรก็ตาม อยากให้มองถึงคุณค่าของคนเหล่านั้น
GM: ฟังคุณพูดถึง Value Chain เรื่อง Branding คุณไปเอาความรู้พวกนี้มาจากไหน
ลี : ผมเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือ แต่ผมมีหนังสือเยอะนะ เพราะพอมีหนังสือเยอะๆ แล้วจะรู้สึกว่าตัวเองเก่ง (หัวเราะ) ถามว่าเคยเปิดอ่านไหม ก็เปิดไปได้แค่หน้าสองหน้า เพราะผมเป็นคนอ่านหนังสือแล้วไม่เข้าใจ มันมีคนประเภทนี้อยู่จริงๆ นะ คือสมมุติอ่านหนังสือไป ในนั้นเขาเขียนอธิบายทฤษฎีบางอย่างเอาไว้ ผมจะไม่เข้าใจ เพราะผมคิดว่าทำไมเขาใช้คำศัพท์คำนี้ เขามีอารมณ์แบบไหน แทนที่จะไปคิดเรื่องทฤษฎี ผมกลับคิดว่าคนเขียนน่าจะเป็นคนแบบนี้ เขาเลยคิดแบบนี้ ซึ่งมันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับหนังสือเลย (หัวเราะ) ผมเลยอ่านหนังสือยังไงก็ไม่เข้าใจ ผมชอบดูรูป ดูสารคดี ดูหนัง แล้วก็ค้นหาว่าใครบ้างที่รู้เรื่องที่เราอยากรู้ และเราสามารถไปหาเขาได้ไหม ทำให้ผมสนใจและอยากเดินทางไปเจอคนอย่าง Jamie Oliver, Alice Waters, Andy Ricker แล้วเราจะไปหาคนพวกนี้ได้อย่างไร ผมก็ไปหาว่ามีอีเวนต์อะไรที่จะไปเจอคนพวกนี้ได้ อย่างปีที่แล้วผมได้เจอทั้ง Jamie Oliver และ Alice Waters ที่อิตาลีในงาน Slow Food ผมเห็นอยู่แล้วว่าสองคนนี้มา ก็ลงชื่อเลยว่าเราจะไปแชร์ประเด็นในงานด้วย บอกเขาว่าอยากเข้าร่วม ส่งแบ็คกราวนด์ไป เสร็จแล้วเขาก็ให้เป็น Delegate ของเขา
ผมได้เจอคนที่อยากเจอมานาน แล้วได้คุยกับ Jamie ด้วย ผมเข้าไปแนะนำตัวกับเขา เขาบอกว่ามาเมืองไทยบ่อย เขาคิดว่าเมืองไทยเป็นสวรรค์เรื่องอาหาร คุณไม่ต้องกลัวหรอก ไม่มีวันที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ Fast Food Culture แน่ๆ แล้วก็ได้ไปฟัง Alice Waters เขาเปิดร้านออร์แกนิคที่ซานฟรานซิสโก เขาเน้นเรื่องแนวคิด ไม่ได้พูดถึงการปฏิบัติด้วยซ้ำ เขาบอกว่าแนวคิดสำคัญกว่าอะไรๆ ที่คุณทำอยู่สำหรับเขา เขาเห็นประเด็นทางสังคมเรื่องเด็กมีน้ำหนักเกิน เบาหวานในเด็ก ต้องตายตั้งแต่อายุยังน้อย เขารู้สึกว่าไม่แฟร์ มีแต่คนผลิตอาหารที่เป็น Fast Food เป็นผู้ร้ายในวงการอาหาร ก็เลยเข้าใจว่า เออว่ะ ถ้าเรามีโอกาสในการปฏิเสธสิ่งเหล่านั้น เราจะบริโภคแต่เฉพาะอาหารที่มีคุณค่ากับตัวเอง เลือกที่จะกินมากขึ้น มันก็ทำให้คนเหล่านี้ไม่สามารถเอาเปรียบเราได้ง่ายๆ ผนวกกับแนวคิดที่ Jamie พูดว่า เขาสร้าง Fifteen Restaurant เป็นร้านที่มีไอเดียว่า 15 นาที คุณก็สามารถตระเตรียมอาหารของตัวเองได้ และยังเป็นอาหารที่มีโภชนาการสูง เราเลยเห็นว่าการทำอาหารดีๆ ก็ไม่ได้ยากขนาดนั้น
คนเหล่านี้ได้จุดประกายให้ผมกลับมาคิดอะไรต่อ ที่ผมเริ่มมาทำเกษตร ก็เพราะในอาหารจานหนึ่ง คุณจะกินแค่ไข่อย่างเดียวไม่ได้ และคุณไม่สามารถกินแค่ผักได้ คุณกินข้าวอย่างเดียวก็ตายอยู่ดี มันต้องมีส่วนผสมมากมายในอาหารหนึ่งจาน มีมะเขือเทศ มีผัก มีชา กาแฟ มีผลไม้ ถ้าปลูกแค่กาแฟอย่างเดียว มันก็ทำลายระบบนิเวศ ไม่ต่างกัน เรื่องราวเหล่านี้เกิดการต่อยอด ผมเรียนรู้ผ่านบุคคล ผ่านรูป ผ่านประสบการณ์แบบนี้ครับ คนอื่นอาจจะอ่านหนังสือแล้วเข้าใจ แต่ผมต้องผ่านกระบวนการแบบนี้อย่างตอนที่ผมไปอเมริกา เพื่อไปฝึกศาสตร์ในการคั่วกาแฟและศิลป์ในการบริโภคกาแฟ ผมเจอทั้งร้านที่คั่วแบบ Traditional เป็นกาแฟดำๆ เข้มๆ กับร้านเปิดใหม่ที่คั่วกาแฟอ่อนๆเป็นวัยรุ่น ผมตั้งคำถามว่าทำไมสิ่งเหล่านี้ถึงเกิดขึ้น แล้วเราจะมีโอกาสไปเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ได้ไหม ผมก็ทำเหมือนเดิม คือเขียนจดหมายหาบุคคลที่จะช่วยติดต่อให้ได้ ผมเชื่ออย่างหนึ่งคือเรื่องของแรงดึงดูดจากความตั้งใจ มันอาจจะมองไม่เห็น แต่มันมีอยู่จริง มันดึงดูดเข้าหากันได้
SocialEntrepreneur
‘ผู้ประกอบการเพื่อสังคม’ (Social Entrepreneur) หรือที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยเรียกกันว่า ‘ธุรกิจเพื่อสังคม’ (Social Enterprise) เป็นแนวคิดการจัดการธุรกิจให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมีระบบ ซึ่งองค์กรธุรกิจทั่วไปละเลยที่จะสนใจ
‘ผู้ประกอบการเพื่อสังคม’ หมายถึงการรวมกลุ่มองค์กรซึ่งเกิดจากโครงสร้างหลากหลายมิติที่มีปฏิสัมพันธ์กันผ่านรูปแบบการประกอบการเพื่อแสวงหาผลกำไรหรือไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่สังคมและนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลง
โดยองค์ประกอบมี 2 อย่าง หนึ่ง, คือ การคำนึงถึงคุณค่าที่ตอบแทนสังคม และ สอง, คือ ขั้นตอนการทำงานที่มีเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมีระบบ
• อ้างอิงจาก Social Entrepreneurship : New Models Of Sustainable Change http://fringer.org/wp-content/writings/Report-SocialEnt.pdf
ทุกปีเราจะมีการจัดนำเที่ยว พาผู้บริโภคมาที่บ้านเรา ดูว่าคนปลูกกาแฟเขาอยู่แบบไหน
ปลูกกาแฟยังไง เพื่อที่เขาจะมีข้อมูลว่ากว่าจะเป็นกาแฟแก้วหนึ่ง มันต้องผ่าน
กระบวนการอะไรบ้าง เขาจะได้เข้าใจเหตุผล ว่าทำไมพวกเราควรต้องได้ราคาที่ยุติธรรม
โดยที่ผมไม่ต้องไปประกาศว่าช่วยกันหน่อยเถอะ ชาวบ้านอยู่ไม่ไหว การพาเขามาดูมันชัดกว่า
ตอนที่ผมไป Stumptown Coffee Roasters ที่ Portland ไปฝึกคั่วกาแฟ ก่อนไป ผมรู้สึกว่าวันหนึ่งผมจะต้องไปให้ได้ แล้วด้วยอะไรก็ไม่รู้ มีลูกค้าคนหนึ่งมากินกาแฟที่ร้านผมสาขาแรก เขามากินทุกวันเลย
แล้วก็บอกว่ากาแฟดีนะ คุยไปคุยมาก็เป็นเพื่อนกัน วันหนึ่งเขาถามว่าถ้าลีอยากต่อยอด อยากจะไปไหน
เราก็บอกว่าอยากไป Portland ไปที่ Stumptown เขาก็ตาโตเลย บอกว่าเจ้าของที่นั่นเป็นเพื่อนสนิทของเขา ผมไปตอนปี 2013 หนึ่งรอบ และ 2014 อีกหนึ่งรอบ ผมมีคอนเนคชั่นกว้างขึ้น จนเขาก็แนะนำเพื่อนที่
ซานฟรานฯ ให้ เพราะที่นั่นมีหลายโรงคั่วที่ดี เขาก็แนะนำที่เจ๋งๆ มาเยอะเลย ผมกำลังจะบอกว่าคอนเนคชั่น
หรือแนวทางในการหาทางไปเรียนรู้ของผม มันไม่ได้เกิดขึ้นเพราะผมเด่นดังมีชื่อเสียง แต่เป็นเพราะผมตั้งใจที่จะไปเรียนรู้ ทุกครั้งที่มีความตั้งใจ ก็จะมีคนที่พร้อมให้ความสำคัญกับเรา
GM: สิ่งที่คุณทำ ก็ดูคล้ายๆ กับพวกหนังสือเบสต์เซลเลอร์ที่สอนทำธุรกิจกัน ลี
ลี : ทุกอย่างต้องเกิดจากความตั้งใจจริงๆ ถึงแม้จะมีเงินแค่ไหน แต่ไม่มีความตั้งใจ คุณก็ทำไม่ได้หรอก
เงินเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสิ่งที่คุณอยากทำ แต่เงินไม่ได้ขับเคลื่อนความตั้งใจ
ของคุณ เงินไม่ได้ทำให้คุณมีความตั้งใจ ความตั้งใจอาจจะต้องขับเคลื่อนไปด้วยทุน
แต่สุดท้ายการมีความตั้งใจ มันก็ไม่ต้องใช้เงิน
GM: เคยคิดไหมว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเป็นชาวเขาของคุณ ทำให้มีสตอรี่น่าสนใจในการทำการตลาดและแบรนดิ้ง
ลี : ไม่จริงเลย ผมไม่ได้มองแบบนั้น มันไม่เกี่ยวว่าเราเกิดที่ไหน หรือแบ็คกราวนด์เป็นยังไง
มูลนิธิเกื้อฝันเด็กที่ลีเคยทำงานอยู่ถือเป็นมูลนิธิขนาดใหญ่ที่มีสำนักงานในประเทศไทย ทำงานด้วยการส่งเสริม
การศึกษาเด็กที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาจากทางรัฐ เนื่องจากเด็กเหล่านี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายขอบและด้อยพัฒนา
ตามแนวชายแดนไทย พม่า กัมพูชา และ ลาว มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก ก่อตั้งในปี 2546 โดยอดีตพนักงานธนาคร 2 คน
ได้แก่ นายมารัก โธมัส เจนนี่ และนาย แกเนรยล มาร์โค ซีก ฟรายด์
อีกสิ่งหนึ่งที่ผมมีมากกว่าความตั้งใจ คือ ความหลงใหล หรือ Passion ถ้าคุณไม่มีความหลงใหล คุณก็ทำไปได้แค่ครึ่งทาง แต่ถ้าเป็นเรื่องที่คุณมีความหลงใหล ถึงจะเจอพายุลูกใหญ่ยังไง ความหลงใหลก็ยังอยู่กับคุณ เพราะฉะนั้น ความหลงใหลกับความตั้งใจก็ทำให้ชนะไปครึ่งหนึ่งแล้ว สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจ
คุณจะไปฟังใครพูดก็ได้ แต่ถ้าเป็นความหลงใหล มันไม่ได้เกิดจากคนอื่น แต่ต้องเกิดจากตัวเอง คนอื่นมาสร้างความหลงใหลให้เราไม่ได้ ผมเลยรู้สึกว่าการที่เราไปค้นหาตัวเอง โดยการฟังคนภายนอกอย่างเดียว มันไม่ช่วยอะไร อย่างสิ่งที่ผมพูดมานี้ มันไม่ได้พิเศษนะ
ธรรมดามาก แต่มันคือสิ่งที่ทำให้เราเป็นเรา คนอาจจะงงว่าทำไมได้ไปอิตาลี ได้ไปฮ่องกง ได้ไปอเมริกา มันไม่เกี่ยวกับว่าผมโชคดี หรือผมเป็นชาวเขา ผมเชื่ออย่างหนึ่งคือการหาโอกาส นี่คือถูกต้องที่สุดแล้ว สำหรับผม การรอโอกาสคือสิ่งที่ผิด เพราะโอกาสไม่ได้มาหาเรา เราต่างหากต้องไปหาโอกาส บางคนอาจจะบ่นว่าเราไม่ได้รับโอกาส นั่นเพราะคุณรอโอกาสอยู่โอกาสมันต้องไปหา อยู่ๆ มันไม่ได้หล่นใส่หัว
เราต้องเข้าใจในคำที่เราใช้ ไม่ใช่แค่ว่าใช้เพราะมันฟังดูเท่ คุณเข้าใจคำว่า ‘หาโอกาส’ กับ ‘รอโอกาส’ จริงๆ หรือเปล่า แยกคำว่า ‘อยากทำ’ กับ ‘หลงใหล’ ได้หรือเปล่า
GM: คุณเริ่มหลงใหลกาแฟตั้งแต่เมื่อไหร่
ลี : จริงๆ แล้วธุรกิจนี้ไม่ได้เริ่มด้วยความหลงใหลกาแฟ ผมเริ่มจากความหลงใหลในงานช่วยเหลือชุมชน ซึ่งธุรกิจนี้อาจจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นกาแฟ ผมเชื่อว่าผมอยู่คนเดียวไม่ได้ มันก็ไม่แปลกว่าทำไมผมถึงช่วยขายกาแฟให้ชาวบ้าน รับกาแฟจากชาวบ้านมาขาย แต่ไม่ได้หมายถึงผมจะขายให้
ชาวบ้านอย่างเดียวนะ ผมก็ต้องขายให้ตัวเอง และให้น้องๆ ที่ทำงานด้วยกัน ไม่งั้นก็อยู่ไม่ได้ บางคน
บอกว่าที่พูดมามันฟังดูดีนะ แต่ลีจะอยู่ยังไง สร้างรายได้ให้ตัวเองยังไง คือกิจการที่ผมทำ มันไม่ได้ต่างจากธุรกิจอื่นหรอกครับ ต้องมีลงทุน มีขาดทุน มีกำไร แต่ประเด็นไม่ใช่เรื่องเงิน แต่คุณลงทุนกับการพัฒนา อาจจะต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือ Social Impact ดูแลชุมชน ให้องค์ความรู้แก่คนปลูกกาแฟ
เพื่อเขาจะได้พัฒนากาแฟให้ดี อร่อย เราต้องไปคุยให้เขาเห็นความสำคัญของวนเกษตร เพราะคุณปลูกกาแฟอย่างเดียวอยู่ไม่ได้หรอก คุณต้องปลูกผัก ปลูกอาหารด้วย ถึงจะอยู่ได้ ต้องให้เขารู้ว่าโลกนี้หมุนไปถึงไหนแล้ว
เขาต้องมีข้อมูลเท่ากับที่เรามี ในขณะเดียวกัน อีกส่วนหนึ่งเราก็ต้องคุยกับผู้บริโภค ว่ากว่าจะออกมาเป็นกาแฟแก้วหนึ่ง มันผ่านกระบวนการอะไรมาบ้าง จริงๆ แล้วแบ่งได้เป็น 3 ส่วน หนึ่ง, คือผู้ปลูก สอง, คือทีมของเราที่อยู่ตรงกลาง และสาม, คือผู้บริโภค คนที่มาทำงานกับเราก็ต้องเข้าใจบริบทของเรา ต้องรู้ก่อนว่าเราไม่ได้ทำงานกันเท่ๆ ขายกาแฟอย่างเดียวนะเราต้องคิดถึงคนปลูกและคนบริโภค เราจะไม่เอาเปรียบกับคนทั้งสองทาง ผมเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม แล้วคุณให้ความสำคัญกับคนที่อยู่ต้นน้ำและปลายน้ำ คุณจะไม่มีวันล้ม เมื่อเจอปัญหาอะไรก็ตาม คนเหล่านี้จะคอยซัพพอร์ตคุณ
เรื่องที่สำคัญคือโลกของกาแฟ เราต้องพูดถึงเรื่องวัฒนธรรมการกิน เราเอาข้อมูลจากพฤติกรรม ผู้บริโภคมาให้ผู้ผลิตรับรู้ ก็คือ Demand กับ Supply ไม่ใช่ว่าคุณทำกาแฟแบบหนึ่ง แต่ความต้องการเป็นอีกแบบ อย่างนั้นมันก็ไม่รอด และอีกเรื่องที่สำคัญคือ วนเกษตรมันสำคัญเหมือนที่ผมเล่าเรื่องของ Biodiversity กับ Ecology ไป มันเป็นไปไม่ได้ที่คุณปลูกกาแฟอย่างเดียวแล้วจะอยู่รอด ไม่งั้นคุณจะเอาอะไรกิน สมมุติปีหนึ่งโชคร้ายราคากาแฟตกก็ซวย ค่าใช้จ่ายเท่าเดิม
แต่รายรับหาย แต่ถ้าปลูกผัก ปลูกข้าว ปลูกอาหาร คุณก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเอาอะไรกิน ที่เหลือก็เอาไปขาย มีตลาดที่ต้องการอาหารเยอะแยะมากมาย แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น เราต้องเอามันมาดูแลตัวเองก่อนนอกจากนั้น วนเกษตรยังสร้างรายได้ที่เป็นประจำและสม่ำเสมอ เทียบกับกาแฟ คุณเก็บได้รอบเดียวตลอดทั้งปี แต่ถ้าคุณทำวนเกษตร คุณจะมีให้เก็บเกี่ยวทุกวัน รายได้เข้ามาทุกวัน
Jamie Olive กับโรค Dyslexia
Jamie เกิดมาพร้อมกับโรค Dyslexia ซึ่งทำให้มีความบกพร่องในการอ่าน จัดเป็นความไม่ปกติด้านการเรียนรู้ แม้จะมีอุปสรรค
แต่เขาสนุกกับการทำอาหาร และโชคดีที่พ่อแม่ของเขามีร้านอาหารกึ่งผับเล็กๆ เขาจึงมีที่ซ้อมมือในการทำอาหารได้ตลอด ปัจจุบัน
Jamie Oliver เป็นเจ้าของร้านอาหารกว่า 50 ร้าน และเป็นเจ้าของหนังสือทำอาหารขายดีกว่า 20 เล่ม ทั้งที่มีหนังสือของตัวเองมากมาย แต่เพราะโรค Dyslexia ทำให้กว่าเขาจะอ่านหนังสือเล่มแรกในชีวิตจบ ก็ตอนอายุปาเข้าไป 38 ปีแล้ว หนังสือที่ว่าคือนวนิยายเรื่อง Hunger Games : Catching Fire
E
มีชา มีผลไม้ มีผัก มีกาแฟ เก็บกาแฟเสร็จไปเก็บผลไม้ เก็บผลไม้เสร็จไปเก็บชา เก็บชาเสร็จไปเก็บผัก นี่ไงล่ะความยั่งยืน ง่ายนิดเดียว ไม่ต้องไปคิดอะไรซับซ้อน แล้วระบบนิเวศก็จะสมบูรณ์ เพราะมันมีความหลากหลายทางชีวภาพอยู่แล้ว แมลงก็ยังอยู่ตรงนั้น ผึ้งก็ยังอยู่ตรงนั้น ความชุ่มชื้นก็ยังอยู่ตรงนั้น ใบไม้ที่ร่วงลงมากลายเป็นปุ๋ย ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการระบบน้ำ ลดค่าใช้จ่ายการจัดการสวน เพราะคุณทำแค่สวนเดียว ก็มีครบทุกอย่าง ในเมืองเราพูดถึงรายได้ขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ฟังดูดี แต่ที่บ้านผมนี่ คิดว่าอย่างน้อยได้ 500 บาทต่อวัน แถมยังมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าด้วย มากสุดเราก็หาได้เป็นพัน ที่ผมพูดนี่ไม่มีอะไรซับซ้อนเลยนะ
เวลาสื่อสารกับลูกค้า ว่าทำไมต้องให้เขาตัดสินใจกินกาแฟของอาข่า อ่ามา เพราะตอนนี้ในบ้านเราก็มีแข่งกันเต็มไปหมดเลย มันก็คือกาแฟเหมือนกัน บอกตามตรงว่าเราไม่เคยขายความสงสาร ไม่เคยบอกให้ลูกค้ากินกาแฟเพื่อช่วยชุมชนของพวกเรา เพราะสำหรับผมแล้วการขายความสงสารมันไม่ยั่งยืน การซื้อเพราะสงสารเขาจะซื้อแค่ครั้งเดียว เราอยากขายคุณภาพ สิ่งที่เราสื่อสารออกไป ไม่ว่าจะบนโซเชียลมีเดีย หรือที่ใดๆ เรามีสื่อฯ ที่คอยช่วยเรา มันจะเหลือแค่เรื่องคุณภาพ ทำยังไงให้ได้กาแฟดีที่สุดเราเอากาแฟของเราส่งไปประกวดที่ลอนดอนตั้งแต่ปีแรกที่ทำ เพื่อที่จะดูว่ากาแฟของเราเป็นยังไง แล้วเราก็ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในชนิดกาแฟที่มีคุณภาพ สามารถใช้บนเวทีกาแฟโลกได้ กาแฟนั้นเป็นกาแฟของครอบครัวแม่
ของผมปลูก มันเป็นการสร้างความมั่นใจให้เรา ว่ากาแฟเราไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร และมันเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า คุณหนีไม่พ้นเรื่องแบบนี้หรอก ถ้าจะทำธุรกิจ กิจกรรมเพื่อสังคมก็เป็นธุรกิจ ถ้าจะสร้างความยั่งยืนก็ต้องสร้างสินค้าที่มีคุณภาพก่อน ปีที่สองเราส่งไปประกวดที่เนเธอร์แลนด์ ก็ได้รับเลือกอีก ทีนี้สื่อฯทั้งต่างชาติ ทั้งเมืองไทย ก็มาสัมภาษณ์กันความสำเร็จเราได้มาเพราะเพื่อนๆ เพราะสื่อฯ และเพราะทุกๆ คนที่เป็นผู้ขาย พวกเขาต่างหากที่ทำให้เกิดแบรนด์นี้ขึ้นมา ผมไม่เคยบอกว่าผมเก่งที่สร้างแบรนด์ได้ ผมขอบคุณทุกคนที่ทำให้เกิดเป็นแบรนด์นี้ได้ คาแร็กเตอร์ที่ออกมา มันไม่ใช่เพราะผมสร้างคนเดียว แต่เป็นทุกคนตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำที่สร้างกันมาทุกปีเราจะมีการจัดนำเที่ยว พาผู้บริโภคมาที่บ้านเรา ดูว่าคนปลูกกาแฟเขาอยู่แบบไหน ปลูกกาแฟยังไง เพื่อที่เขาจะมีข้อมูลว่ากว่าจะเป็นกาแฟแก้วหนึ่ง มันต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง เขาจะได้เข้าใจเหตุผล ว่าทำไมพวกเราควรต้องได้ราคาที่ยุติธรรม โดยที่ผมไม่ต้องไปประกาศว่าช่วยกันหน่อยเถอะชาวบ้านอยู่ไม่ไหว การพาเขามาดู มันชัดกว่า
GM: ตอนนี้มีเรื่อง Geographic Identity (GI) เคยมีความสนใจเรื่องนี้ไหม
ลี : GI เป็นเรื่องการใช้ Origin ของตัวเอง ซึ่งจะมีผลต่อการทำการตลาดในสหภาพยุโรปและอเมริกา ไม่ได้เกี่ยวกับคุณภาพ แต่เกี่ยวกับ Origin เช่น บอกว่ากาแฟอาข่า อ่ามา ปลูกที่หมู่บ้านนี้ มีรสชาติแบบนี้ ก็จดทะเบียนเป็น GI ขึ้นมา เรายังไม่ได้จด เพราะผมไม่ได้คิดว่ามันเป็น Priority ที่ต้องทำ ส่วนตัวผม
มองว่ามันคือการตลาด เป็น Certification อันหนึ่ง ทำแล้วอาจจะดี แต่ถ้าไม่ได้ทำ ก็ไม่มีปัญหาอะไรอีกอย่างคือถ้าคุณทำเนี่ย คุณเสียเงินนะครับ คุณทำทุกอย่างได้ คุณอาจจะดูเท่ที่มีทุกอย่าง แต่ถามว่าเรามีเงินพอจะไปทำไหม เราก็ไม่ได้มีขนาดนั้น ถ้าเราไม่ได้ทำ เราก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร ตอนนี้มีกาแฟดอยช้าง ดอยตุง จดไปสองแบรนด์แล้ว เขาก็สามารถส่งไปยุโรปได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มี GI แล้วส่งไม่ได้ ถ้าคุณมีอะไรที่การันตีว่าของดีจริง มีคนสนใจจริง ก็ส่งได้
GM: ตอนนี้ อาข่า อ่ามา เป็นที่รู้จักทั่วโลกแล้วหรือยัง
ลี : มันก็มีความเป็นเฉพาะกลุ่ม กระจายออกไปในทั่วโลก เราไม่ได้เน้นเป็นกาแฟตลาดแมสขนาดนั้น คนรู้จักเราที่เอกลักษณ์เฉพาะ สาเหตุที่มีคนเชิญผมไปบรรยายถึงอังกฤษ ก็แสดงว่าเพราะต้องมีคนรู้จัก ไปบรรยายที่อิตาลี ไปบรรยายที่อินเดีย ก็ต้องมีคนรู้จัก เพราะฉะนั้นผมมองว่าเราต้องเป็นมากกว่ากาแฟ เราไม่ได้ขายแค่กาแฟ ต้องยอมรับว่าถ้ามองด้านการตลาด เราต้องมองให้ขาดว่ากาแฟเป็นสินค้าแต่มากไปกว่าความเป็นสินค้า มันคืออะไร มันคือ Value บางอย่างที่คนสามารถรับรู้ได้ จะพูดถึง Brand Awareness, Brand Unity อะไรก็ตาม แต่มากกว่านั้นคือเรื่องของจิตใจ
ถ้าอาข่า อ่ามาทำเป็นตลาดแมสไปทั่วโลก คนที่สนใจเรื่องความยั่งยืนก็คงไม่สนใจเรา ทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันหมด ไม่ใช่แค่เรามีกาแฟแล้วทำกาแฟให้อร่อยก็จบนะ มันมีแนวคิดว่าเราจะสร้างแบรนด์นี้ขึ้นมาในฐานะที่เป็นกิจการเพื่อสังคม ที่จะดูแลคุณภาพกาแฟ และสร้างตัวตนขึ้นมาเพื่อคนเฉพาะกลุ่มที่เขาสนใจในเรื่องนี้ และมีความ Appreciate ในเรื่องรสชาติ ก็ต้องทำแบบนี้ ไม่ใช่ทำหว่านไปหมดว่าใครกินก็ได้ ไม่แปลกที่คนไทยมองว่ากิจการเพื่อสังคมจะต้องเป็นมูลนิธิ แต่จริงๆ มันก็แค่ธุรกิจที่แฟร์กันทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ แค่นี้ก็แฟร์แล้ว และคุณภาพก็ไม่แย่
CoffeeCulture
GM: อยากให้คุณพูดถึงความพิถีพิถันในโลกของกาแฟ การที่ผู้ปลูกทำกาแฟมาเหมือนเป็นงานฝีมือของแต่ละคน
ลี : ผมโตมาบนพื้นฐานว่าทุกอย่างต้องผ่านมือตัวเอง ผมไม่ได้โตในสังคมที่ใช้เทคโนโลยี เพราะฉะนั้นจึงเชื่อเสมอว่าอะไรที่เราลงมือทำ มันจะมีความรู้สึกตรงนั้นอยู่ และเชื่อเสมอว่าแม้จะมองไม่เห็น แม้จะบรรยายออกมาไม่ได้ แต่คนรับรู้ได้ มันมีความหมาย มีความสวยงามอยู่ เช่น ผมทำแพ็คเกจขายเมล็ดกาแฟ ตอนนั้นลำบากมาก มีทุนน้อย เคยซื้อพรินเตอร์มาทำเอง พิมพ์เอง ตัดเอง เอาเข้าคอมพ์เอง ทำทุกอย่าง แล้วผมก็ภูมิใจ
ที่ได้ทำ เพราะฉะนั้นทุกวันนี้เรื่องการดีไซน์ต่างๆ ผมจะลงดีเทลด้วยตัวเอง ไม่ใช่ว่าแค่ผมคนเดียวนะ แต่ผมจะต้องไปมีส่วน ไปรับรู้ถึงความหมายตรงนั้นของมัน เดินทางไปหลายประเทศ ลองกินกาแฟมาหลายตัว รู้สึกว่าแทนที่จะพรีเซนต์แค่แบรนด์ อาข่า อ่ามา เราควรให้ความสำคัญกับผู้ผลิต คือ Farmer ด้วย เราอยากให้เขาเป็นคนที่เป็นหน้าเป็นตา เป็นส่วนหนึ่งในแพ็คเกจ ให้เขามีความรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำกาแฟตัวนี้มา วันหนึ่งเขาเห็นกาแฟของเขาและรูปของเขา ผมรู้สึกได้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะไม่ภูมิใจ และผมก็จะเอาแพ็คเกจทั้งหมดกลับไปให้เขาด้วยมือของผมเอง ผมเชื่อว่าความภูมิใจจะทำให้เกิดการพัฒนากาแฟให้ดีขึ้นอีกในครั้งต่อๆ ไป
คนเราถ้าเริ่มด้วยใจ มีความภูมิใจเกิดขึ้น ก็จะไปต่อได้ดี แล้วเขาจะไม่ปล่อยผ่านอะไรไปง่ายๆ เราไม่ได้ไปบังคับให้เขาทำ แต่เราไปส่งเสริมให้เขา บางคนได้มาเห็นแพ็คเกจแล้วก็ตื่นเต้น เขาอาจจะพูดไม่ออก อาจจะเขิน แต่ผมรับรู้ได้ว่าเขาดีใจ ผมแค่เอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองคิดดูว่าถ้าเรามีคนชื่นชม มีคนคอยประคับประคอง สนับสนุน เราก็ชื่นใจ ผมคิดว่าถ้าเราทำแบบนี้ มันไม่ใช่แค่เราทำให้เขามีกำลังใจ แต่มันจะกลายเป็น Unique Story, Unique Product ที่แม้แต่ผู้บริโภคเองก็อยากได้ อยากรู้จัก
ผมกำลังพูดว่าการกระทำบางอย่าง มันไม่จำเป็นต้องทำแค่เพื่อคนใดคนหนึ่ง แต่เราลองทำขึ้นมาแล้วดูว่ามันเชื่อมโยงกับอะไรบ้าง แบบนี้ผู้บริโภคเขารู้สึกได้ว่าเราใส่ใจ ขณะเดียวกันผู้ผลิตก็รู้สึกได้ว่าเราใส่ใจเขา สุดท้ายแล้วถ้าเราทำอะไรสักอย่าง มันก็เป็นเพราะความตั้งใจเราอาจตั้งใจให้เขาได้ดี อยากเห็นเขาพัฒนา
ในขณะเดียวกัน พอเกิดผลออกมาแล้ว ผมเชื่อเหลือเกินว่าวันหนึ่งสิ่งเหล่านั้นก็จะกลับมาหาตัวเอง
GM: ก่อนจะมาถึงวันนี้ มีช่วงเวลาที่รู้สึกสั่นคลอนกับความเชื่อนี้ไหม
ลี : มี แต่ผมไม่ค่อยอยากพูดถึงเรื่องนั้น เพราะผมรู้สึกว่าการจมอยู่กับอุปสรรคและปัญหามากๆ ไม่ได้ทำให้ผมดีขึ้น แต่ผมจะใช้เรื่องราวในช่วงเวลาตอนนั้นในการทำความเข้าใจกับปัญหาให้มากขึ้น เพื่อที่จะอยู่กับมัน หรือเพื่อที่จะทำให้มันไม่เกิดขึ้นอีก ไม่มีใครบนโลกนี้ไม่มีปัญหา แต่เมื่อเกิดปัญหาแล้วแต่ละคนก็ตัดสินใจแตกต่างกัน บางคนฆ่าตัวตาย บางคนกินไม่ได้นอนไม่หลับแต่ทำไมบางคนยังเข้มแข็งได้ ส่วนตัวผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้อยู่ที่ความคิด ถ้าคุณไม่ฟูมฟาย เมื่อใจเย็นลงก็จะมองเห็นว่าควรแก้ปัญหายังไง
GM: ช่วงที่เปิดร้านใหม่ๆ บรรยากาศวัฒนธรรมกาแฟในบ้านเราเป็นยังไงบ้าง
ลี : ผมเริ่มต้นตอนปี 2010 ถือว่าเราเกิดหลังจากรายใหญ่ๆ เกิดมาในตลาดแล้ว ผมเป็นรุ่นหลังจากนั้น ช่วงนั้นสิ่งหนึ่งที่บอกได้เลย คือคนเชื่อมั่นในกาแฟไทยน้อยมาก แต่พอบอกว่าเป็นกาแฟนอก ทุกคนโอเค ซึ่งมันเชื่อมโยงกับพฤติกรรมการบริโภคของบ้านเราได้หมดเลย เพราะสมัยก่อนถ้าใครบริโภคกาแฟบราซิล กาแฟโคลัมเบีย จะเท่มาก นี่คือคนไทย เราต้องยอมรับว่าส่วนใหญ่แล้วจะเป็น และตลาดอีกส่วนก็คือกาแฟโบราณ 10 บาท 15 บาท สำหรับชาวบ้าน สมัยนั้นเขาแยกออกเป็นสองส่วนชัดเจน ว่าคนที่ไปร้านกาแฟคือคนมีเงินมีอันจะกิน และคนที่จนหน่อยก็กินกาแฟโบราณ
เราแบ่งคลาสจากฐานะกันอยู่พอสมควร ถ้าดูราคากาแฟแล้ว ราคากาแฟสูงกว่าราคาอาหารเกือบ 2 เท่า ตอนนั้นผมก็ทำการบ้านเยอะว่าจะทำยังไงให้คนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนกินได้ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมกาแฟร้านเราถูกกว่ากาแฟร้านอื่นที่เป็นแนวเดียวกัน ถ้าเป็นร้านแนวนี้จะราคา 60-100 บาทขึ้นไป แต่ผมขายได้ 40 บาทมันก็กลับมาเรื่องเดิม ที่ผมบอกว่าผมไม่ได้คิดถึงแค่ผู้ผลิต แต่คิดถึงผู้บริโภคด้วย เขาควรจะได้กินในสิ่งที่ดี เคยมีคนถามว่าทำไมผมไม่เอากาแฟนอกเข้ามาบ้าง ผมจะทำทำไม ในเมื่อผมมีกาแฟบ้านเรา และผมก็มีความตั้งใจจะสร้างกาแฟไทยให้มีคุณภาพ เพราะเวลาชาวต่างชาติมาที่ร้าน ก็ไม่เห็นบอกเลยว่าอยากกินกาแฟกัวเตมาลา ชาวต่างชาติเขาอยากกินกาแฟไทย
ตอนเริ่มต้นทำ ผมไม่มีเงินแม้แต่จะซื้อนม เพื่อมาฝึกทำฟองนมด้วยซ้ำสิ่งที่ผมทำก็คือพยายามเจียดเงินจากค่าอาหารของตัวเองมาซื้อ ถึงจุดหนึ่งก็ไม่มีเงิน
ให้เจียดแล้ว หลังจากนั้นผมก็ใช้ซันไลต์ มาผสมน้ำเย็นเพื่อฝึกทำฟอง มันก็พอจะใช้ฝึกได้นะ (หัวเราะ)
GM: อยากรู้ว่าตอนนี้ในโลกของเรา วัฒนธรรมการดื่มกาแฟไปกันถึงไหนแล้ว
ลี : วัฒนธรรมการกินกาแฟเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก ตั้งแต่วิธีการปลูก วิธีการนำเสนอ จนถึงวิธีการบริโภค อย่างถ้าไปโซนโอเรกอน ซานฟรานซิสโก แอลเอ โซนนี้เขาจะกินคล้ายๆ กัน คือเสพทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องมีวิทยาศาสตร์ มีศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องมีเรื่องราว ยกตัวอย่าง Stumptown ที่ผมไปมา ที่ Stumptown Coffee Roasters เป็นร้านใหญ่ เขาไม่มีฟาร์ม แต่เขามีทีมงานที่ทำงานร่วมกับ Farmerในต่างประเทศ เพื่อที่จะนำกาแฟเข้ามาในโรงคั่วของเขา ก็จะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกขาย Wholesale เป็นเมล็ดให้กับพวกบริษัท โรงงานต่างๆ แล้วก็ Retail ขายบริเวณหน้าร้าน ความหลากหลายตรงนี้เป็นการเชื่อมโยงระหว่างบุคคล ที่ผมพูดถึงทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และเขาภูมิใจมากที่จะบอกว่ากาแฟนี้มาจากกัวเตมาลา จากครอบครัวนี้ เป็นสายพันธุ์กาแฟนี้ ผ่านกระบวนการนี้มีรสชาตินี้ กินแล้วจะคิดถึงอะไรบ้าง คนกินก็ได้รับความรู้ไปด้วย ทุกอย่างซัพพอร์ตกันไปหมด ไม่มีใครเอาเปรียบใคร คนซื้อก็พร้อมจะยอมจ่าย คนบริการก็พร้อมจะให้เวลาทั้งหมด ทีมที่หาเมล็ดกาแฟก็พร้อมที่จะเต็มที่ในการหาเมล็ดกาแฟดีๆ
GM: บรรยากาศคนที่เข้าร้านกาแฟเป็นเหมือนบ้านเราไหม
ลี : จริงๆ เรารับวัฒนธรรมมาจากเขาครับ เขามีเยอะกว่า ประเทศที่แอดวานซ์เรื่องนี้ก็คือญี่ปุ่น อันนั้นหนักเลยครับ เขาเป็นเจ้าแห่งพิธีกรรม ขณะเดียวกันก็ประณีตมาก สิ่งที่เขาทำไม่ใช่เพื่อโชว์ออฟ แต่มันส่งผลถึงเรื่องคุณภาพของเขาผมไม่เคยไปที่นู่น แต่เคยไปกินที่ร้านกาแฟของคนญี่ปุ่นทำลักษณะนี้ สิ่งหนึ่งที่เรารับรู้ได้คือความใส่ใจ เห็นแค่นั้นเราก็อยากลองแล้วผมชื่นชมในความตั้งใจนะ เพราะมีไม่กี่ประเทศที่เขาพัฒนาไปเร็วมาก แต่เขายังใส่ใจในความช้า ความพิถีพิถันแบบนั้นได้
GM: นอกจากที่ส่งไปประกวดที่อังกฤษและเนเธอร์แลนด์ เสียงตอบรับจากคนดื่มกาแฟทั่วโลก เขามองกาแฟไทยยังไงบ้าง
ลี : ผมบอกเลยว่าดี มีหลายบริษัทที่อยากเอากาแฟเราไปคั่ว แต่ผมไม่มีกาแฟส่งให้เขา เรามีน้อย ในอนาคตเราอาจจะทำได้ แต่เราอยากให้มั่นใจก่อนว่าจะทำได้ดี และมันจะไม่ล้ม ไม่ใช่ส่งไปได้แค่ครั้งเดียวแล้วหลังจากนั้นก็ไม่มีส่ง หรือส่งไปครั้งแรกดี ครั้งต่อไปใช้ไม่ได้ แล้วใครจะเชื่อมั่นในกาแฟไทย ถ้าพูดในแง่ธุรกิจเราก็อยากขาย แต่ขายไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้นก็ต้องคิดให้ดี
GM: ที่เล่ามาว่า คุณเริ่มต้นจากแพสชั่นที่จะช่วยเหลือชุมชน แล้วตอนนี้คุณเอาแพสชั่นในการชงกาแฟและดื่มกาแฟมาจากไหน
ลี : อย่างที่บอกว่า ผมเป็นคนไม่อ่านหนังสือแต่เมื่อผมเห็นว่าอะไรที่สำคัญหรืออะไรที่อยากเรียนรู้ ผมก็พร้อมที่จะลงทุน พร้อมที่จะยอมเสียเวลากับมัน ตอนเริ่มต้นทำ ผมไม่มีเงินแม้แต่จะซื้อนมเพื่อมาฝึกทำฟองนมด้วยซ้ำ สิ่งที่ผมทำก็คือพยายามเจียดเงินจากค่าอาหารของตัวเองมาซื้อ ถึงจุดหนึ่งก็ไม่มีเงินให้เจียดแล้วหลังจากนั้นผมก็ใช้ซันไลต์มาผสมน้ำเย็นเพื่อฝึกทำฟองมันก็พอจะใช้ฝึกได้นะ (หัวเราะ)
GM: แล้วมันได้ผลไหม
ลี : ได้ผลสิ การสตรีมฟองจากซันไลต์ ยากกว่าการสตรีมนม เพราะฉะนั้น ในวันนี้ การสตรีมนมเลยกลายเป็นเรื่องง่ายเลย สิ่งเหล่านี้มันก็เกิดจากการดิ้นรน ช่วงตอนเปิดร้าน ผมต้องกิน
GM: กาแฟแก้วแรกๆ ที่ฝึกชง รสชาติเป็นอย่างไร
ลี : ตอนนั้นก็เข้าข้างตัวเองว่ามันอร่อย (หัวเราะ) แต่บางคนกินแล้วบอกว่ามันขมไป มันเปรี้ยวไป มันกระด้างไป มันจางไป จนบางครั้งผมก็งงว่าตกลงมันเข้มไปหรือว่ามันจางไปกันแน่ แต่ละคนก็บอกไม่เหมือนกัน ผมเลยตัดสินใจว่าเราต้องเป็นตัวของตัวเอง ถ้ามัวแต่ไปตามคนนู้นคนนี้ มันก็ไม่จบ ร้อยคนก็ร้อยคำตอบ สุดท้ายกาแฟที่ดี มันก็คือความชอบส่วนบุคคล ไม่มีใครถูกใครผิด
จนมาถึงการทำร้าน เราก็ต้องอิงความชอบของลูกค้า ก็ต้องมาดูว่าหลักสำคัญของกาแฟที่ดีควรจะเป็นยังไง มันต้องขมพอประมาณ มีความเปรี้ยวที่ดี มีความหวานในตัว ไม่ใช่กินแล้วขมเหมือนนรกอย่างเดียว หรือเปรี้ยวมะนาวก็ไม่ได้ ทุกอย่างต้องบาลานซ์ นี่คือนิยามของกาแฟที่ดี แน่นอนว่าเกี่ยวกับประสบการณ์ด้วย คนเราไม่มีใครเก่งได้โดยไม่ฝึกฝน เพราะฉะนั้นก็ต้องฝึก แล้วก็ฝึก ผมชอบคำพูดของสตีฟ จอบส์ที่บอกว่า “อย่าให้เสียงคนอื่นมากลบเสียงตัวเอง” ถ้าคุณคิดว่านี่คือสิ่งที่คุณหลงใหลและแน่วแน่จริงๆก็อย่าให้คนอื่นมาทำให้ไขว้เขว เพราะไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องมีคนมาบอกคุณแบบนี้แน่นอนอยู่แล้ว
GM: ตอนนี้คุณยังต้องฝึกอะไรเพิ่มเติมอีกไหมเกี่ยวกับกาแฟ
ลี : สองปีมานี้ ผมไม่ได้อยู่หน้าร้านแล้ว แต่มาอยู่ส่วนเบื้องหลัง เป็นทีมซัพพอร์ตด้านการจัดการด้านมาร์เก็ตติ้งบางอย่างที่ผมต้องรับผิดชอบ หลักๆ แล้วผมใช้เวลาไปกับการเดินทางเพื่อไปบรรยายไปเจอะเจอผู้คน ไปเรียนรู้ ผมไม่ได้คิดว่าผมพอใจแล้ว แต่ผมแค่รู้สึกว่าดีใจที่ทุกวันนี้ได้ทำอะไรแบบนี้ ผมได้รับความรู้ ได้มีโอกาสเจอผู้คนมากมาย เพราะฉะนั้นก็พอใจในระดับหนึ่ง แต่ถ้าถามว่าพอแล้วหรือยัง ผมว่าผมยังไปได้อีก ไม่ใช่แค่เรื่องของการเรียนรู้ แต่เรายังต้องเติบโตด้านธุรกิจ เพราะเราต้องดูแลทีมงาน ต้องดูแลชาวบ้าน และก็อยากจะดูแลผู้บริโภคให้กว้างขึ้น เรามองไปถึงระดับ International
GM: คิดว่าอะไรที่ทำให้เครื่องดื่มนี้ครองใจคนทั้งโลกได้
ลี : การขายกาแฟ มันไม่ได้ขายแค่กาแฟ บ่อยครั้งที่คุณไม่ได้ไปร้านกาแฟคนเดียว การที่คุณไปร้านกาแฟ อาจเป็นเพราะคุณรู้จักคนหนึ่งในร้านนั้น คุณชอบอะไรบางอย่างในร้านนั้น มันคือสถานที่ที่คุณจะไปพบเจอคนที่คุณชอบ และมันอาจเป็นที่นั่งทำงานของคุณด้วย
GM: การที่คุณใช้เวลากับกาแฟมากๆ มันให้อะไรกับคุณบ้างไหม
ลี : มันคือ Creativity เหมือนคนที่ขึ้นเวทีแล้วต้องแสดง แสดงในฐานะที่คุณเป็นบาริสต้า คุณคือคนที่ดูแลบาร์ ก็ต้องทำยังไงก็ได้ให้บาร์ของคุณมีชีวิต ทำยังไงก็ได้ให้อาชีพของคุณมีศาสตร์และศิลป์อย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่แค่ทำสวยแล้วกินไม่ได้ แต่มันต้องทั้งสวยและกินได้ด้วย
GM: อยากให้คุณเล่าถึงความคืบหน้าของธุรกิจอาหาร ที่เป็นเรื่องท้าทายตัวคุณในตอนนี้
ลี : ตอนนี้เรากำลังทำโรงงานศูนย์การเรียนรู้ ที่อำเภอแม่ริม ความท้าทายคือผมจะทำให้เป็นพื้นที่อบรมนักกิจกรรมเพื่อสังคมรุ่นเยาว์ ที่จะเติบโตขึ้นมาทำกิจกรรมเพื่อสังคม คาดว่าน่าจะเป็นโรงงานที่ตอบโจทย์หลายอย่างในชีวิตเรา เพราะทุกวันนี้ ที่เก็บกาแฟก็ต้องเช่า โรงสีเราก็ต้องเช่า ต้องเช่าหมด เราหวังว่า
ในอนาคตมันจะเป็น One Stop Service ตั้งแต่สีกาแฟ คั่วกาแฟ แพ็คกาแฟ ในขณะเดียวกันที่พื้นที่อบรม คนที่สนใจก็จะได้เรียนรู้ว่าต้องทำยังไง ได้ปฏิบัติ นี่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายมากว่ามันจะออกมายังไง และเรา
จะทำให้มันยั่งยืนและเติบโตไปได้ขนาดไหน
GM: ตอนนี้คุณทำธุรกิจระดับนานาชาติ เดี๋ยวอยู่กรุงเทพฯ เดี๋ยวไปต่างประเทศ คุณรักษาคุณภาพชีวิตของตัวเอง ในชีวิตที่รวดเร็วแบบนี้อย่างไร
ลี : เร็วขึ้นมากจริงๆ แต่ว่าผมถือว่ามันเป็นชีวิตที่มีคุณภาพนะ เพราะ ณ ตอนนี้ผมมีพลัง มีแรงที่จะเรียนรู้ และผมเชื่อว่าเราไม่ควรปล่อยให้โอกาสที่ได้รับหลุดลอยไปได้ง่ายๆ ผมใช้หลักการแบบนี้นะคือถ้าผมไม่ชอบ ผมก็ไม่จำเป็นต้องทำมัน เพราะสิ่งที่ผมชอบทำ มันมีเยอะกว่าสิ่งที่ผมทำได้อยู่แล้ว สุดท้ายคือผมไม่มีเหตุผลอะไร ที่จะต้องทำสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ ยกเว้นการบริหารธุรกิจ ที่ผมยังต้องทำงบดุล จัดการเรื่องภาษีนู่นนี่ (หัวเราะ) ผมอยากรู้สึกเป็นธรรมชาติให้ได้มากกว่านี้ แต่มันก็เป็นไปไม่ได้ทั้งหมดบนโลกแห่งความเป็นจริง ก็ต้องยอมรับบ้าง ผมไม่ได้บอกว่าทุกคนต้องเป็นอย่างผมนะ แต่ทุกคนมีสิทธิที่จะบาลานซ์ชีวิตของตัวเอง
GM: ชีวิตในทุกวันนี้ ยังสโลว์ไลฟ์เหมือนกับสมัยที่คุณอยู่ในหมู่บ้านชาวเขาไหม
ลี : ที่หมู่บ้านเราก็ถือว่าเป็นสโลว์ไลฟ์ เพราะมีการพึ่งพาตัวเองค่อนข้างสูง ผมมองว่าอะไรก็ตามที่พึ่งพาตัวเองเป็นหลัก นั่นแหละคือสโลว์ไลฟ์ ที่หมู่บ้านพึ่งพาตัวเองได้เรื่องอาหารการกิน ที่อยู่อาศัย เขาก็ทำไร่ทำสวน ชีวิตของเขาช้า ไม่ใช่ว่าแอ็คชั่นช้านะ แต่เขาไม่ต้องไปแข่งขันกับใคร เขาก็แข่งขันกับตัวเอง ดูแลตัวเอง ไม่เหมือนในเมืองที่แข่งขันกันเอง แข่งขันกับใครก็ไม่รู้ แต่เราก็ต้องรีบทำงาน ถ้าไม่งั้นเราก็ไม่รอด หรืออาจจะรอด แต่ถึงวันหนึ่งก็ทนไม่ไหว ต้องกลับไปหาพ่อหาแม่
GM: กับพ่อแม่ หรือคนในหมู่บ้าน ตอนนี้แฮปปี้ดีไหม
ลี : แฮปปี้ครับ เขาก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีโอกาสได้เรียนรู้อะไรเยอะขึ้น ซึ่งผมว่ามันอาจไม่ได้จำเป็น แต่มันสำคัญที่คุณจะต้องรู้จักโลกกว้าง เพราะถ้าคุณรู้แค่ในชุมชนตัวเอง ก็ยากล่ะ สังคมภายนอกเขาพร้อมที่จะทิ่มแทง บางอย่างเราก็ต้องรับรู้เพราะเราอยู่ในสังคมใหญ่ มันมีกฎเกณฑ์ มีขื่อ มีแป
GM: สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณได้รับกลับมาจากการให้คนอื่นคืออะไร
ลี : สิ่งที่ดีที่สุด คือชาวบ้านดูแลตัวเองได้ วันหนึ่งเขาต้องดูแลตัวเองได้ โดยที่เราไม่ต้องไปช่วยเขาอีกแล้ว แต่ถ้าถาม ณ ตอนนี้ ผมมีความสุขที่ได้เห็นการพัฒนาของหมู่บ้าน หมู่บ้านผมมีประชากรประมาณ 212 คนครับ เป็นภูเขาล้อมรอบไปด้วยป่า บ้านเรือนเริ่มพัฒนา มีทั้งบ้านไม้ บ้านกึ่งปูนก็มี แต่ไฟฟ้าเรายังไม่มีเสาไฟฟ้าเข้าไปครับ เราใช้พลังงานแสงอาทิตย์
W
GM: ตั้งแต่ชงกาแฟมา มีแก้วไหนที่คุณคิดว่ามันสำคัญที่สุด
ลี : เวลาที่ชงกาแฟให้แม่กินนี่แหละ (หัวเราะ) อาจจะฟังไม่ตื่นเต้น แต่ผมว่ามีความหมายแม่ไม่เคยกินกาแฟมาก่อนในชีวิต และยิ่งไม่เคยกินกาแฟของตัวเอง ที่ตัวเองปลูกมาก่อน สิ่งที่ผมทำคือชงกาแฟของเขาให้เขากิน เขาไม่รู้หรอกว่ามันดีหรือไม่ดี เขาบอกไม่ได้ว่าชอบหรือไม่ชอบ แต่สิ่งที่เราเห็น คือเขามีความสุข
GM: เขาชิมแล้วพูดว่ายังไง
ลี : เขาพูดว่า “คนเรามันกินได้ยังไงวะ” (หัวเราะ) คือรสชาติไม่ได้เป็นอย่างที่เขาคิดไว้ มันไม่เหมือนขนมหวาน ซึ่งก็น่าคิดนะ แต่มันก็เป็นโมเมนต์ที่ผมรู้สึกภูมิใจมากๆ แล้วทุกครั้งที่กลับบ้าน ผมก็ไปชงกาแฟกินกับชาวบ้าน จนตอนนี้ชาวบ้านชงกินเองได้แล้ว
GM: คุณพูดในตอนต้น ว่ามีหนุ่มสาว
บางคน ‘กลับบ้านไม่เป็น’ สำหรับคุณเอง วันนี้คุณคิดว่าตัวเองกลับบ้านหรือเปล่า
ลี : ผมถือว่าผมกลับบ้านนะ อาจจะไม่เต็มร้อย การกลับบ้านของผม เป็นวิธีที่คนอื่นอาจจะไม่เข้าใจ การกลับบ้านสำหรับผมไม่ใช่แค่เอาตัวเองไปอยู่ที่บ้าน แต่หมายความว่านอกจากคุณจะกลับไปเยี่ยม ไปดูแล ในฐานะที่คุณเป็นผู้มี ความรู้ คุณต้องทำให้ได้มากกว่าคนอื่น คือกลับไปช่วยเหลือชุมชนของตัวเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่นั่นก็ได้ แต่สิ่งที่ผมทำอยู่ที่นี่ทุกๆ วัน มันคือสิ่งที่ผมทำเพื่อชุมชนที่บ้านผม และก็เหมือนผมได้กลับบ้านทุกวัน ผมไม่ได้อยู่ที่นี่ตลอดเวลา ผมยังกลับบ้าน ไปทำความรู้จัก ไปเรียนรู้กับเขาตลอดเวลา การกลับบ้านไม่ได้หมายความว่าคุณต้องละทิ้งทุกอย่างจากเมือง เพื่อที่จะไปอยู่กับพ่อแม่ คนในหมู่บ้านก็กลับบ้านช่วยพ่อแม่นะ เราเห็นแล้วก็ดีใจว่าสิ่งที่เราทำมันไม่ใช่แค่
สร้างมูลค่าบางอย่าง แต่มันสร้างคุณค่า สร้างความหมายในการใช้ชีวิตที่ไม่ต้องไปเบียดเบียน ได้ใช้ชีวิตแบบบาลานซ์