การเติบโตของซีรีส์ Y บนการแบนสื่อรักร่วมเพศในจีน
เ รื่ อ ง : สุ ธ า ม า ส ท วิ นั น ท์
- แม้ตลาดซีรีส์ Y (Yaoi) หรือ Boy’s Love กำลังเติบโตอย่างมากในสังคมจีน แต่วัฒนธรรมดังกล่าวไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ เพราะแท้จริงแล้ว Sub-culture นี้ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ช่วงยุค 90’sหลังจากแอนิเมชันและการ์ตูนญี่ปุ่นขยายความนิยมเข้ามาสู่ฮ่องกง จนกระทั่งไปแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ โดยในจีน Yaoi เป็นที่รู้จักกันในนามว่า ‘ตันเหม่ย’(耽美)
- สมัยนั้น Y ยังเป็นเพียงวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มเล็กๆ ที่ติดต่อสื่อสารกันผ่านช่องทางเฉพาะกลุ่ม ต่อมาในปี 1999 นิตยสารการ์ตูน Y ชื่อว่า ‘Danmei Season ก็ถูกตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในจีน และไม่กี่ปีต่อมาเว็บไซต์ Y ยุคแรกก็ถูกก่อตั้งขึ้นมาในชื่อ lucifer-club.com และ sun_sun.yeah.net ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการถือกำเนิดเว็บไซต์หรือบล็อกออนไลน์สำหรับเขียนวรรณกรรม ทำให้สาว Y ยุคนั้นสามารถพูดคุย เสพงาน รวมถึงเขียนนวนิยาย Y ของตัวเองขึ้นมาผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ยิ่งเมื่อสื่อออนไลน์แพร่หลายมากขึ้น ก็ยิ่งส่งผลให้วัฒนธรรม Y ที่เคยอยู่ใต้ดินขยายตัวและปรากฏออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัดในรูปของสื่อประเภทต่างๆ ทั้งนวนิยาย การ์ตูน แอนิเมชัน ซีรีส์ และภาพยนตร์
อย่างไรก็ตาม การรักร่วมเพศยังคงเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนภายใต้สังคมจีนที่ครอบไว้ด้วยความเชื่อตามวัฒนธรรมขงจื๊อ แม้ในปี 1997 ทางรัฐจีนจะเปิดรับความเป็นสากลด้วยการถอดการกำหนดโทษแก่ผู้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศออกจากประมวลกฎหมายอาญา และต่อมาในปี 2001 ก็ได้ถอดถอนพฤติกรรมรักร่วมเพศ ออกจากเอกสารมาตรฐานการแบ่งประเภทและวินิจฉัยอาการจิตเภทของประเทศจีน แต่ก็ใช่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะสามารถปรับทัศนคติของคนจีนส่วนมากได้ เห็นได้จากที่ทางรัฐบาลจีนยังคงมีกฎและข้อห้ามไม่ให้ซีรีส์หรือภาพยนตร์แนวรักร่วมเพศออกฉายได้อย่างสาธารณะยกตัวอย่างเหตุการณ์ในปี 2018 กรณี เกม ‘The Sims FreePlay’ ที่ผู้เล่นสามารถเลือกให้ตัวละครมีความสัมพันธ์กับเพศเดียวกันได้ก็ถูกแบนจาก App Store หรือภาพยนตร์เรื่อง ‘Call Me by Your Name’ ก็ถูกสั่งห้ามฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ รวมถึง Weibo ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของจีนก็ถูกไล่กวาดล้างเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่ม LGBTQ
แต่เหตุการณ์ใหญ่ที่เป็นประเด็นร้อนทั่วโลกอินเทอร์เน็ตก็คือ นักเขียนนวนิยาย Y ชื่อดังผู้ใช้นามปากกา ‘เทียนอี’ ถูกตำรวจเมืองอู๋หูเข้าจับกุมและมีโทษจำคุกถึง 10 ปี เนื่องจากนวนิยายที่เธอเขียนมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักร่วมเพศ ทั้งมีฉากกิจกรรมทางเพศระหว่างชายรักชายอย่างโจ๋งครึ่ม โดยทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้เหตุผลผิดศีลธรรมและเป็นภัยต่อความสงบสุขของสังคม
ทั้งนี้ เงื่อนไขดังกล่าวเป็นการออกอากาศในช่องทางทีวีสาธารณะ ดังนั้น จึงยังคงมีซีรีส์ Y ของจีนจำนวนมากเลือกออกอากาศผ่านทางอินเทอร์เน็ตทีวีแทน เพราะรัฐบาลจีนก็มีมาตรฐานของการเซ็นเซอร์ทีวีอินเทอร์เน็ตที่แตกต่างจากทีวีสาธารณะ แต่ถึงแม้จะมีการต้องส่งบทและพล็อตให้พิจารณาก่อนฉาย ก็ยังมีหลายเรื่องถูกแบนไปจำนวนมากเช่นกัน อย่างกรณีซีรีส์เรื่อง Addicted ที่ถูกระงับการออกอากาศกลางคัน
ในช่วง 3 ตอนสุดท้าย แม้ภายหลังจะให้ฉายลงในอินเทอร์เน็ตต่อได้ แต่ก็มีการตัดและเซ็นเซอร์ฉากต่างๆ ที่แฟนๆ รอคอยออกไปจนเกือบหมด
นอกจากนี้บรรดาสาว Y เองก็ไม่สามารถที่จะดูซีรีส์หรืออ่านการ์ตูนได้อย่างเปิดเผย เพราะอาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าตัวเองมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศได้แม้การเป็นสาว Y ในจีนจะดูยากลำบาก แต่ซีรีส์และนวนิยาย Y ในจีนก็ยังคงเป็นตลาดที่เติบโตสวนทางกับการแบนและเซ็นเซอร์ของจีน ซึ่งในไทยก็มีสำนักพิมพ์ที่นำนวนิยาย Y ภาษาจีนมาแปลค่อนข้างเยอะ และในปีนี้ ‘The Untamed’ หรือ ‘ปรมาจารย์ลัทธิมาร’ นวนิยาย Y ขายดีของนักเขียนโม่เซียงถงซิ่ว ก็ถูกดัดแปลงเป็นซีรีส์ฟอร์มยักษ์ หลังจากที่ก่อนหน้านั้นถูกนำไปสร้างเป็นแอนิเมชัน หนังสือการ์ตูน ละครวิทยุ ฟิกเกอร์และของสะสมอื่นๆ
ไทยกับการเป็นฮับใหม่ในการส่งออกซีรีส์ Y สู่จีน
นับตั้งแต่ซีรีส์ Y เรื่อง ‘Love Sick The Series’ ที่ออกอากาศทางช่องโมเดิร์นไนน์บุกตลาดจีนสำเร็จเมื่อหลายปีก่อน ซีรีส์ Y สัญชาติไทยรุ่นถัดๆ มาก็ได้รับกระแสความนิยมจากชาวจีนอย่างมาก จนถึงขั้นมีมีตติ้งกับนักแสดงนำอยู่หลายครั้ง แต่ที่โด่งดังเป็นพลุแตกต้องยกให้ ‘สิงโต-ปราชญา เรืองโรจน์’ และ ‘คริส-พีรวัส แสงโพธิรัตน์’ นักแสดงนำจากเรื่อง ‘SOTUS The Series พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง’ ที่มีการจัดแฟนมีตติ้งถึงสองรอบ และต้องใช้บอดี้การ์ดดูแลไม่ต่ำกว่าร้อยชีวิต เพราะแฟนคลับชาวจีนแห่มารอที่สนามบินกันแน่นขนัด แถมทั้งคู่ยังสามารถชนะคะแนนโหวตจากงาน ‘The 5th V Chart Awards’ ที่มาเก๊าอีกด้วย
นอกจากนี้ซีรีส์ Y เรื่องอื่นๆ อย่าง ‘เดือนเกี้ยวเดือน 2Moons2 The Series’ ก็มีฐานแฟนคลับชาวจีนที่ติดตามตั้งแต่ยังเป็นนวนิยาย ทำให้ก่อนซีรีส์จะออกฉาย นักแสดงนำทั้ง 3 คู่ถูกจองตัวเดินสายพบปะแฟนคลับในจีนแล้วถึง 5 มณฑล หรือซีรีส์เรื่อง ‘รุ่นพี่ Secret Love’ และ ‘บังเอิญรัก Love By Chance’ ก็ได้กระแสตอบรับจากแฟนคลับชาวจีนอย่างท่วมท้นเช่นกัน ซึ่งบางครั้งกองทัพสาว Y จากจีนก็เดินทางมาหานักแสดงนำที่เมืองไทยโดยไม่ต้องรอให้บินไปหาเลยก็มี ผศ.ดร.อัมพร จิรัฐติกร จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคละครไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน และการบริโภคละครไทยในประเทศจีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ยังเคยให้สัมภาษณ์ถึงความนิยมซีรีส์ Y ของไทยในจีนว่า มีบ้านแฟนซับในจีนที่แปลซีรีส์ Y จากไทยกว่า 10 กลุ่ม โดยเฉพาะบ้านที่ชื่อว่า ‘เทียนฝู่ไท่จี้ว์’ มีผู้ติดตามใน Weibo กว่า 2,850,000 คน และเมื่อความนิยมซีรีส์ Y ของไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บ้านแฟนซับก็ขยับจากการทำแฟนซับ มาเป็นบริษัทที่จัดกิจกรรมแฟนมีตติ้งปัจจุบันทางผู้ผลิตซีรีส์ Y ในไทยก็เหมือนจะเล็งเห็นเม็ดเงินมหาศาลจากตลาดสาว Y ในจีน เพราะมีการประกาศสร้างซีรีส์ Y หลายเรื่องเพื่อบุกตลาดจีนและเอเชียอย่างจริงจัง ทั้งยังปั้นนักแสดงที่มาจากซีรีส์ Y ส่งไปร่วมแสดงในซีรีส์ต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็มีการร่วมทุนจากบริษัทต่างชาติในการสร้างซีรีส์ Y ที่กำกับโดยผู้กำกับชาวไทย และแสดงโดยนักแสดงชาวไทย จนเรียกได้ว่าตอนนี้ไทยก้าวขึ้นมาเป็นฮับ
ในการส่งออกซีรีส์ Y เรียบร้อยแล้วรศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ “วัฒนธรรมนี้เกิดจากญี่ปุ่นก็จริง แต่ว่าคนที่ทำให้มันเป็นอุตสาหกรรมขั้นสุดน่าจะเป็นประเทศเรา เพราะการเซ็นเซอร์หรือการตรวจสอบโดยรัฐของเราไม่ได้เข้มข้นเท่าประเทศอื่น ตรงนี้มันจึงเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้วัฒนธรรม Y ในประเทศเราเฟื่องฟูมากพอที่จะส่งออกไปประเทศต่างๆ ในเอเชีย”
ทั้งนี้ อาจารย์นัทธนัยยังเสริมอีกว่า ปัจจุบันฐานแฟนคลับของซีรีส์ Y ไทยไม่ได้จำกัดเฉพาะในประเทศเอเชียเท่านั้น แต่มีกลุ่มแฟนคลับใหม่ๆ เกิดขึ้นในแถบประเทศอเมริกาใต้ด้วย ซีรีส์ที่เราดูกันอย่างกว้างขวางอย่าง ‘เดือนเกี้ยวเดือน 2Moons2 The Series’ ก็มีซับไตเติ้ลภาษาสเปน และใน Instagram หรือ Facebook Fanpage ที่เกี่ยวข้องกับซีรีส์ Y ของไทย ก็พบว่ามีการเขียนเป็นภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปนคำถามก็คือ – เพราะอะไรซีรีส์ Y ของคนไทยถึงได้รับการตอบรับมากขนาดนั้น
Pure Love รักแนวใหม่ในสายตาสาวจีน
เหตุผลของคนที่เสพคอนเทนต์ Y นั้นมีแตกต่างกันออกไป บางงานวิจัยกล่าวว่าวัฒนธรรม Y มีความเกี่ยวข้องกับความไม่เท่าเทียมกันทางเพศระหว่างหญิงและชายในสังคมชายเป็นใหญ่ Y จึงเป็นเสมือนพื้นที่และเครื่องมือให้ผู้หญิงได้มีโอกาสเล่นกับเรื่องทางเพศที่เป็นเรื่องต้องห้ามผ่านการจ้องมองความสัมพันธ์ของตัวละครชายในเรื่อง และการที่ผู้หญิงได้จ้องมองตัวละครชายทั้งสองก็เปรียบเสมือนการให้อำนาจแก่พวกเธอ เพราะอย่าลืมว่าต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่นที่เพศหญิงถูกกดทับในสังคม
นอกจากนี้ Y ยังขยับขยายไปสู่ประเด็นเพศสถานะได้เช่นเดียวกัน เพราะการจับคู่ตัวละครชายที่หลากหลาย และสามารถสลับบทบาทการเป็นผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำแบบไม่มีการจับคู่แบบตายตัวนั้น เป็นภาพสะท้อนว่า Y ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อหลบหนีจากความหวาดกลัวต่อความสัมพันธ์ทางเพศหรือแรงกดดันทางสังคมที่กระทำต่อผู้หญิงเท่านั้น
แต่ยังทำให้พวกเธอได้ปรับเปลี่ยนเพศสถานะที่เลื่อนไหลของตนไปตามรสนิยมที่แตกต่างกันได้เช่นเดียวกัน แต่คอนเทนต์ Y ที่เสนอภาพตัวแทนของกลุ่มคนรักเพศเดียวกันนั้นก็บิดเบือนไปจากความเป็นจริงมาก ฝั่งผู้สร้างหรือคนเสพเองก็ยืนยันว่ามันเป็นเพียงจินตนาการเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มรักเพศเดียวกันในโลกความเป็นจริงแต่อย่างใด
เพราะฉะนั้นไม่ได้หมายความว่าคนเสพคอนเทนต์ Y จะต้องเป็น LGBTQ แต่ Y คือโลกในอุดมคติที่เราสามารถเล่นสนุกกับจินตนาการของตัวเองได้กลับมาที่เรื่องของซีรีส์ Y ของไทยว่าทำไมถึงได้โดนจิตโดนใจสาวจีนขนาดนั้น อาจารย์อัมพร ให้เหตุผลว่าซีรีส์ Y ไทยคือเรื่องราวที่ทำให้รู้สึกว่าเป็น ‘Pure Love’ โดยเสนอภาพความสัมพันธ์ของบรรดานักแสดงที่กำลังแสวงหาตัวเอง เพื่อเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นพัฒนาการตัวละครที่มีการเปลี่ยนแปลงในสังคมอันขัดแย้งกับสภาพโครงสร้างการเมือง ศาสนา ของประเทศเหล่านั้น พวกเขาจึงรู้สึกว่ามันตอบโจทย์ที่มันขาดหายไปในซีรีส์ชายรักหญิงอีกประเด็นก็คือเรื่องความต่างทางวัฒนธรรม ซีรีส์ Y ส่วนใหญ่ของไทยเป็นเรื่องราวในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งคนจีนมองว่านี่เป็นสิ่งที่เขาไม่มี เขาไม่มีวัฒนธรรมรุ่นพี่รุ่นน้องแบบเรื่อง ‘SOTUS The Series พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง’หรือมีการประกวดดาว-เดือนอย่างในเรื่อง ‘เดือนเกี้ยวเดือน’ มันจึงเป็นเหมือนการหลุดกรอบหลายๆ อย่างจากวัฒนธรรมของเขา
อย่างไรก็ตาม การสร้างซีรีส์ Y ให้คนดูอินได้นั้นกฎเหล็กสำคัญคือ ห้ามสร้างตัวละครให้ใครให้ออกหญิงโดยเด็ดขาด เพราะผู้ชมส่วนใหญ่เป็นหญิงแท้ พวกเธอจึงไม่ได้ต้องการเสพเนื้อหาในระดับเพศสัมพันธ์ของคู่รักร่วมเพศ แต่เป็นระดับของความกุ๊กกิ๊กของผู้ชายสองคนที่รักกันเท่านั้น ฉะนั้นจะเห็นว่าในซีรีส์มีการใช้สรรพนาม ‘กู’ ‘มึง’ หรือให้ตัวละครเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์เพื่อสร้างคาแรคเตอร์ความเป็นชาย แต่ในต่างประเทศบางระดับก็จะพยายามมองหาว่าใครเป็นรุก ใครเป็นรับอยู่ในนั้นด้วย เหมือนการจำลองภาพ Hetero-sexual ไปอยู่ในร่างของผู้ชายสองคนพฤติกรรมการเสพซีรีส์ Y เหล่านี้ทำให้เห็นว่าผู้ชมชื่นชอบในสิ่งที่เขาหาไม่ได้ในสังคมเขา ที่ไม่ได้หมายถึงแค่ความเป็นไทยหรือความเป็นจีน แต่เป็นการหลีกหนีจากอุดมการณ์กระแสหลักผ่านความรักในอุดมคติ
https://thepeople.co/why-y-natthanaiprasannam-yaoi/https://themomentum.co/amporn-jirattikorn-interview/
https://www.tvdigitalwatch.com/analysis-by-panta-15-11-62/
https://lib.dr.iastate.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=4758&context=etd
https://www.thairath.co.th/entertain/news/1567056
http://www.maya-channel.com/news/detail/909
https://workpointnews.com/2019/ห้ามแรง ห้ามผี ห้ามรักร่วมเพศอรสุธี ชัยทองศรี. (2560). Boys Love Manga and Beyond: History, Culture, and Community in Japan. วารสารมนุษยศาสตร์ 24(2), 345-359.